พรพิมล ธรรมสาร (เกิด 7 มิถุนายน พ.ศ. 2507) ชื่อเล่น ก้อย เป็นศิลปินและนักการเมืองชาวไทย เคยเป็นนักร้องนำวงโอเวชั่นระหว่างปี 2530–2532 และอดีตสมาชิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี สังกัดพรรคเพื่อไทย ปัจจุบันสังกัดพรรคภูมิใจไทย

พรพิมล ธรรมสาร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าเกียรติศักดิ์ ส่องแสง
ถัดไปมนัสนันท์ หลีนวรัตน์
ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
26 กันยายน พ.ศ. 2566
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
รัฐมนตรีช่วยทรงศักดิ์ ทองศรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 มิถุนายน พ.ศ. 2507 (60 ปี)
อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ประเทศไทย
พรรคการเมืองพลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2564)
ภูมิใจไทย (2564–ปัจจุบัน)
คู่สมรสสมชาย รังสิวัฒนศักดิ์[1]
บุตร2 คน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
พรพิมล ธรรมสาร
สมัยอยู่ในวงดนตรี โอเวชั่น
สมัยอยู่ในวงดนตรี โอเวชั่น
ข้อมูลพื้นฐาน
แนวเพลงป็อบ สตริง สากล คันทรี่ เพื่อชีวิต ลูกทุ่ง
อาชีพนักร้อง
ค่ายเพลงนิธิทัศน์

ประวัติ

แก้

เธอได้มาเป็นนักร้องนำของวงสตริงชื่อดังในยุคนั้นอย่าง โอเวชั่น แทน พัชรา แวงวรรณ นักร้องนำคนเก่าที่ นิธิทัศน์ โปรโมชั่น เห็นว่าเหมาะกับร้องเพลงช้ามากกว่าเพลงเร็วจึงได้แยกให้ไปทำอัลบั้มเดี่ยว และทางบริษัทจึงให้วงไปหานักร้องนำคนใหม่ ขาว-ไวยวุฒิ สกุลทรัพย์ไพศาล มือคีย์บอร์ดและนักร้องนำ พี่ชายของ วิรุฬ สกุลทรัพย์ไพศาล (ดำ ฟอร์เอฟเวอร์) จึงได้ชักชวน ก้อย พรพิมล ซึ่งเป็นเพื่อนมาเทสต์เสียงที่บริษัท ซึ่งเธอได้ผ่านการเทสต์เสียงและได้เป็นนักร้องนำคนใหม่ในอัลบั้ม "เริ่มวัยรัก" ใน พ.ศ. 2530 และเมื่ออัลบั้มนี้ขายดีจึงเร่งทำอัลบั้มชุดต่อมาโดยในปี พ.ศ. 2532 พรพิมลได้ออกอัลบั้มชุดใหม่กับวงโอเวชั่น ในชื่อว่า "ไม่มีวันนั้นอีกแล้ว" หลังจากอัลบั้มนี้ทางบริษัทได้ให้เธอออกมาทำอัลบั้มเดี่ยว ในปี พ.ศ. 2533 ทำให้โอเวชั่นที่กำลังจะหมดสัญญากับนิธิทัศน์ต้องไปสังกัดค่ายอื่น ส่วนเธอได้ออกอัลบั้มเดี่ยวโดยใช้ชื่อเล่นและชื่อจริงของตนเองเป็นชื่ออัลบั้ม โดยในอัลบั้ม "ก้อย ซูเปอร์ฮิต" มีเพลงดังคือเพลง "เอาความรักฉันคืนกลับมา" ซึ่งเป็นเพลงแก้กับเพลง เอาความรักเธอนั้นคืนกลับไป ของดอน สอนระเบียบ และเพลง "สาวอีสานรอรัก" จนโด่งดังเป็นพลุแตกทั่วประเทศ ในช่วงยุคเวลานั้น หลังจากนั้น เธอได้ลาออกไปแต่งงานสมรสกับ สมชาย รังสิวัฒนศักดิ์ มีบุตรด้วยกัน 2 คน

งานการเมือง

แก้

เธอลงเล่นการเมืองตามสามี เริ่มที่ตำแหน่งสมาชิกสภาจังหวัดปทุมธานี ส่วนสามีเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 พรพิมลได้ลงรับสมัครเลือกตั้งระดับชาติเป็นสมัยแรก และได้รับเลือกตั้งให้เป็น ส.ส.ปทุมธานี เขต 2 สังกัดพรรคพลังประชาชน ต่อมาเมื่อพรรคพลังประชาชนถูกยุบพรรคจากคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551 เธอก็ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 พรพิมลก็ได้ลงสมัครเลือกตั้ง สส. จังหวัดปทุมธานีอีกครั้งในนามพรรคเพื่อไทย ในเขตเลือกตั้งที่ 4 และได้รับการเลือกตั้งอีกครั้ง จนกระทั่งการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เธอก็ได้รับเลือกให้เป็น สส.ปทุมธานี เป็นสมัยที่ 3 ในสังกัดพรรคเพื่อไทย

ในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2564 กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยมีมติให้นาง พรพิมล ธรรมสาร พ้นสภาพสมาชิกพรรคเพื่อไทย พร้อมกับนาย ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ[2] ต่อมาเธอได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย[3] ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เธอลงสมัคร สส. จังหวัดปทุมธานี เขต 7 อีกครั้ง แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยพ่ายแพ้ให้กับประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ของพรรคก้าวไกล[4] ต่อมาในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566 ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแต่งตั้งให้พรพิมลเป็นข้าราชการการเมือง ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (ทรงศักดิ์ ทองศรี) โดยให้มีผลทันที[5]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

พรพิมล ธรรมสาร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดปทุมธานี สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)พรรคเพื่อไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดปทุมธานี สังกัดพรรคเพื่อไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดปทุมธานี สังกัดพรรคเพื่อไทย → พรรคภูมิใจไทย

ผลงานในวงการบันเทิง

แก้

อัลบั้มในนาม โอเวชั่น

แก้

อัลบั้มเดี่ยว

แก้

อัลบั้มที่ร่วมร้องกับศิลปินคนอื่นๆ

แก้

ละคร

แก้

ภาพยนตร์

แก้
  • 2530 นานาจิตตัง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ชาญว่าไง "พรพิมล" สายบิ๊กแจ๊ส สวมเสื้อภูมิใจไทย
  2. "พรพิมล" ปัดซบภท. รับดีลพรรคการเมืองย้ายค่าย ไม่เกิน30วันรู้คำตอบ
  3. พรพิมล ส.ส. ปทุมธานี ย้ายสังกัดเข้าภูมิใจไทย หลังพรรคเพื่อไทยมีมติขับออกจากสมาชิก
  4. บูรพาวิถี, ประชา (2023-05-16). "ผลเลือกตั้ง 2566 'ล้มช้าง' ทั้งแผ่นดิน ปรากฏการณ์ 'กระแส' ชนะกระสุน". มังกรซ่อนพยัคฆ์. กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 2023-10-28.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. เช็ครายชื่อ! ครม.มีมติแต่งตั้งข้าราชการหลายตำแหน่ง
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาน ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้