วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/กรุ 23
หน้านี้เป็นหน้ากรุของการอภิปรายอภิปรายในอดีต อย่าแก้ไขเนื้อหาของหน้านี้ หากต้องการเริ่มการอภิปรายใหม่หรือรื้อฟื้นการอภิปรายเดิมโปรดใช้หน้าพูดคุยปัจจุบันของหน้านี้ |
กรุ 20 | กรุ 21 | กรุ 22 | กรุ 23 | กรุ 24 | กรุ 25 | → | กรุ 27 |
1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25, 26, 27 |
เว้นวรรคระหว่างคำ ของชื่อจากภาษาต่างประเทศ
ในหัวข้อ วินโดวส์ วิสตา มีการใช้คำว่า วินโดวส์ วิสตา (Windows Vista), วินโดวส์เอ็กซ์พี (Windows XP) และ วินโดวส์เซิรฟเวอร์ (Windows Server)
จะเห็นว่า มีทั้งแบบเว้นวรรคตามภาษาอังกฤษ และแบบเขียนติดกัน
รวมถึงตัวอย่างอย่าง ลองบีช, ไมอามี บีช, นิวยอร์ก ซิตี้, เม็กซิโกซิตี้ (จากหน้า นางงามจักรวาล)
ไม่ทราบว่ามีหลักในการเขียนอย่างไรครับ จะได้ทำให้เหมือน ๆ กันให้หมด
-- bact' 12:30, 23 กรกฎาคม 2005 (UTC)
- เนื่องจากเป็นชื่อทับศัพท์มา ผมคิดว่าน่าจะเว้นวรรคตามชื่อต้นฉบับนะ ....แต่สงสัยจะยกเว้น ตระกูลไมโครซอฟท์ อย่างไมโครซอฟท์วินโดวส์, ไมโครซอฟท์ออฟฟิศ แฮะ :-/ -- PaePae 12:53, 23 กรกฎาคม 2005 (UTC)
- อ่อ ขอบคุณครับ ลืมไปแล้วว่ามีข้อนี้ด้วย ต้องกลับไปอ่านหลักเกณฑ์ใหม่อีกแล้วแฮะ -- PaePae 17:00, 23 กรกฎาคม 2005 (UTC)
มีใครสร้างหน้า en:Wikipedia:Manual_of_Style คล้ายแบบนี้ขึ้นมาหรือยังครับ ความคิดส่วนตัว คิดว่าน่าจะมีไว้เป็นหลักหรืออ้างอิง พวก การใช้คำ การใช้ตัวอักษร การเว้นวรรค การใช้ไม้ยมก และอื่น ๆ โดยข้อมูลที่เอามา ไม่จำเป็นต้องเขียนขึ้นมาใหม่ ตัวอย่างของ ภาษาัอังกฤษ ใช้ หลักอ้างอิงตาม Chicago Manual of style --Manop 15:51, 12 สิงหาคม 2005 (UTC)
- ผมสร้างหน้า วิกิพีเดีย:Manual of Style ไว้ ถ้าใครว่างช่วยไปเขียนให้เต็มหน่อยครับ หรือว่าทำลิงก์ไปยังบทความที่มีแล้ว ส่วนชื่อหัว กำลังคิดว่าจะใช้ชื่อภาษาไทยว่าอะไรดี (ที่ความหมายครบ) --Manop 20:03, 22 สิงหาคม 2005 (UTC)
แล้วคำว่า ดิ เอ็มไพร์ สไตรค์ แบ็ค เขียนติดหรือแยกครับ สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 5 : ดิ เอ็มไพร์ สไตรค์ แบ็ค --Manop | พูดคุย 21:54, 21 ตุลาคม 2005 (UTC)
บทความที่ชื่อเป็นตัวเลข
ชื่อบทความที่เป็นตัวเลข เช่น 1, 2, 3, ... ควรจะ Redirect ไปที่หน้าใด
- 1 (จำนวน), 2 (จำนวน), 3 (จำนวน), ...
- พ.ศ. 1, พ.ศ. 2, พ.ศ. 3, ...
- ค.ศ. 1, ค.ศ. 2, ค.ศ. 3, ... เหมือนภาษาอื่น ๆ
หรือทำเป็นหน้าแก้ความกำกวมสำหรับสามหัวข้อข้างบน ขอความเห็นครับ …WATCHARAKOяN166,643 09:24, 10 กันยายน 2005 (UTC)
ถ้าคำนึงถึงการใช้งานจริง
- ถ้าเป็นเลขหลัก <1000 น่าจะเป็นจำนวนนะครับ
- ถ้าเป็นเลขหลัก 1500 - 2600 น่าจะเป็น พ.ศ.
- อื่น ๆ ก็เป็นจำนวน
แต่มันดูไม่เป็นระเบียบยังไงชอบกลนะครับ เอาเป็นแก้ความกำกวมดีกว่าครับ --Wap 13:17, 15 กันยายน 2005 (UTC)
- ความเห็นส่วนตัวผมว่า เอาเป็นจำนวนตัวเลข เป็นตัวเลข (พวกตัวเล็กน้อย ๆ จริง ๆ เดือนก่อน ไปแก้มาหมดแล้ว) :P ส่วนพวกตัวเลขเยอะ ๆ คงต้องเป็น "แก้ความกำกวม" น่าจะดีกว่า เพราะเป็นได้ทั้ง พ.ศ. และ ค.ศ.
ผมมีคำถามต่อไปอีกว่า อย่าง หนึ่ง กับ 1 โยงกันยังไงดีครับ --Manop 22:25, 5 ตุลาคม 2005 (UTC)
หนึ่ง โยงไปหา 1 นั่นแหละครับ ดีแล้ว …[[ผู้ใช้:Watcharakorn|ผู้ใช้:Watcharakorn/Sign]] 12:46, 11 ตุลาคม 2005 (UTC)
คำแปลส่วน user interface
- Preferences <-- ช่วย กัน เลือก หน่อย ครับ, ว่า จะ ใช้ อัน ไหน ดี. หรือ เสนอ อันอื่น ก็ได้. --Ans 12:21, 14 ตุลาคม 2005 (UTC)
th - ท - ธ
- 1อ้างอิงจาก หลักการราชบัณฑิตฯ หรือดูบทความที่คัดลอกมาแล้วได้ที่ การถอดเสียงภาษาอังกฤษ หรือดูที่ ตารางเปรียบเทียบสัทอักษร อังกฤษ-ไทย
- 2ไม่กล่าวถึง th ที่ออกเสียงใกล้เคียงกับเสียง / ด / เช่น this, that
th - ท - ธ - อ่านเจอในบทพูดคุย พูดคุย:อาเธอร์ โคแนน ดอยล์ ผมสงสัยว่า จริง ๆ "หลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถาน" ข้อที่ว่า th = ท อันนี้ตกหล่นว่า th = ธ ได้ หรือว่าจริง ๆ แล้วไม่มีครับ
เพราะถ้าเป็น ท.ทหาร จะออกเสียงซ้ำกับ / t / และ /th/ เพราะเห็นหลักข้ออื่นก่อนหน้านี้ที่กล่าวไว้ ให้คงรูปเสียงเดิมจะได้ไม่สับสนกับคำที่สะกดคนละแบบ (เหมือนอย่างที่ภาษาไทย มี ph-ภ)
ตัวอย่างคำ th เช่น โธมัส กับ โทมัส, อาเธอร์ กับ อาเทอร์, รุ่นเฟเธอร์เวท กับ รุ่นเฟเทอร์เวท, สมิธ กับ สมิท --Manop | พูดคุย 23:20, 4 พฤศจิกายน 2005 (UTC)
- เข้าใจว่าไม่ตกหล่นครับ เท่าที่สังเกตจากหลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตยฯ จะจำกัดพยัญชนะไทยที่ใช้ทับศัพท์ภาษายุโรปไว้ โดยพยัญชนะตัวใดออกเสียงเหมือนกันในภาษาไทย จะเลือกใช้เพียงตัวเดียว เช่น ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ ที่ออกเสียงในภาษาไทยเป็น /tʰ/ (ท) เหมือนกัน จะเลือกใช้เพียง ท ตัวเดียว (มียกเว้นเฉพาะอักษรสูงบางตัว ได้แก่ ส กับ ห) และถ้าสังเกตตัวอย่างในหลักเกณฑ์ฯ จะพบว่าในกรณีของภาษาอังกฤษ จะทับศัพท์ t กับ th เมื่อเป็นตัวสะกดต่างกัน โดยจะทับศัพท์เป็น ต และ ท ตามลำดับ เช่น boot เป็น บูต แต่ booth เป็น บูท ซึ่งน่าจะเพียงพอในการจำแนกคำที่สะกดคล้ายกันในภาษาอังกฤษออกจากกันได้ระดับหนึ่งครับ
- ส่วนรูปแบบการทับศัพท์ที่ใช้ ธ แทน th จะเป็นวิธีทับศัพท์ในสมัยก่อนที่นิยมจับคู่รูปตัวเขียนในภาษาอังกฤษแบบหนึ่งเข้ากับรูปพยัญชนะไทยตัวหนึ่ง โดยถือรูปตัวเขียนเป็นหลัก (ไม่ถือการออกเสียงเป็นหลัก) เช่น brush เป็น บรัฌ, office เป็น ออฟฟิศ, Athens เป็น เอเธนส์ ผมเห็นว่าการทับศัพท์ในวิกิพีเดียโดยทั่วไปควรทับศัพท์โดยถือหลักเกณฑ์ใดหลักเกณฑ์หนึ่งเป็นหลัก เพื่อให้สอดคล้องตรงกัน ในเมื่อปัจจุบันมีหลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตยฯ ซึ่งชัดเจนในระดับหนึ่งออกมาแล้ว ก็ควรใช้ตามนั้นครับ
- สำหรับเสียง th ที่ออกเสียงเป็น /ð/ (เสียงคล้าย ด) อันที่จริงน่าจะทับศัพท์เป็น ด แต่ในหลักเกณฑ์ฯ จะทับศัพท์เป็น ท ทั้งหมดครับ ทั้ง th ที่ออกเสียงเป็น /θ/ (เสียงคล้าย ท) เช่น Smith (สมิท), เป็น /ð/ (เสียงคล้าย ด) เช่น them (เทม), และเป็น /tʰ/ (เสียงเหมือน ท) เช่น Thomas (ทอมัส เสียงพยางค์แรกเหมือนกับ Tom) โดยส่วนตัวผมเห็นว่าถ้าจะมีส่วนที่หลักเกณฑ์ฯ น่าจะแก้ไข ก็คงมีแต่ตรง th ที่ออกเสียงเป็น /ð/ ควรทับศัพท์เป็น ด เท่านั้นครับ ส่วนอื่น ๆ ของหลักเกณฑ์น่าจะเหมาะสมดีอยู่แล้ว --Phisite 02:37, 11 พฤศจิกายน 2005 (UTC)
- สงสัยผมอธิบายผิดนะครับ ที่เสียงหายหมายถึงเสียงที่คำไทยทับศัพท์มา ที่ไม่ใช่หลักเกณฑ์นะครับ แฮะแฮะอธิบายไม่ถูก รอคนอื่นมาอธิบายน่าจะดีกว่า ตัวอย่างเหมือนกับ คำว่า boot booth บูทบูท (บูทขายรองเท้าบูท) หรือ en:Engrish นะครับ ที่ภาษาญี่ปุ่น อ่านเสียง l, r เป็นเสียงเดียวกันเพราะตัวอักษรใกล้เคียงสุดมีตัวเดียวแถว ระ (เวลาอ่าน hello, I'm lonely จะอ่านเป็น herro, I'm ronery)
กระบวนการบัญญัติศัพท์ และการทับศัพท์ inter- ของราชบัณฑิตฯ
ขอแยกออกมาตอบเป็นอีกกรณีหนึ่ง
กระบวนการจัดทำศัพท์บัญญัติเกิดขึ้นจากราชบัณฑิตยสถานแต่งตั้งราชบัณฑิตที่เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาขึ้นเป็น "คณะกรรมการบัญญัติศัพท์" ทำให้การทำงานแบ่งแยกจากกันโดยอิสระ การบัญญัติคำศัพท์คำเดียวกันหลาย ๆ ครั้งจึงแตกต่างกันไปตามแต่ละสาขา ซึ่งทางราชบัณฑิตยสถานเองก็มีความพยายามแก้ไขให้ตรงกันอยู่ (อันนี้ก็ต้องรอดูกันต่อไป)
สำหรับคำว่า inter- ถือว่าเป็นกรณีพิเศษ การบัญญัติศัพท์คำว่า "อินเทอร์เน็ต" นั้นอ้างอิงจาก "วิธีการทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ฉบับเดิม" (ที่ใช้อยู่ในตอนนั้น) ที่ระบุให้การถอดเสียงพยัญชนะต้น t เป็น ท ซึ่งจะแตกต่างจากฉบับปัจจุบัน [2] ที่มีการยกเว้นคำว่า anti-, auto-, inter-, multi-, photo-, ta, -ter, -ti, -tic, -ting, -tis, -to, -ton, - tor, -tre, - tum, -tus และ -ty ให้ใช้เสียง ต ตามความนิยมและเคยชินแทน
เรื่องมันก็เป็นเช่นนี้แล :-/ ---PaePae 16:58, 14 ธันวาคม 2005 (UTC)
ปริยาย
เห็นว่ามีหลายคำ โผล่มานะครับ เลยอยากถามว่าแปลว่าอะไรหรือครับ บางคำใช้แทนคำว่า "default"--Manop | พูดคุย - 02:38, 8 ธันวาคม 2005 (UTC)
- ความหมายตามพจนานุกรมฉบับมติชนนะครับ:
- ปริยาย [ปะ-ริ-ยาย] น. อย่าง, ทาง, หนทาง; การกล่าวอ้อมค้อม, นัยทางอ้อม; การสอน, การเล่าเรื่อง. ว. อ้อม. (เป็นภาษาบาลี)
- ---Jittat 10:11, 10 ธันวาคม 2005 (UTC)
- งั้นก็ไม่ใช่ default ซิครับ ฮิฮิ --Manop | พูดคุย - 21:07, 14 ธันวาคม 2005 (UTC)
- ยิ่งไปกว่านั้นนะครับ default เพิ่งรู้ว่า แปลว่า (ตาม [3])
- default [N] ; การผิดสัญญา
- Syn. failure; lack; delinquency
- Related. การละเลย, การเพิกเฉย.
- default [N] ; ค่าที่เลือก หรือตัวเลือกอัตโนมัติ (ทางคอมพิวเตอร์)
- เหมือนว่าในคอม น่าจะมาจากการที่คิดว่าเป็นค่าที่จะใส่ให้ถ้าผู้ใช้ละเลย โหย เอาเข้าไปนั่น
- แต่ถ้าลองคิดว่าน่าจะเหมือนกับคำว่า โดยปริยาย มากกว่า (นั่นคือ, โดยนัยทางอ้อม) --- Jittat 05:14, 15 ธันวาคม 2005 (UTC)
- ยิ่งไปกว่านั้นนะครับ default เพิ่งรู้ว่า แปลว่า (ตาม [3])
- งั้นก็ไม่ใช่ default ซิครับ ฮิฮิ --Manop | พูดคุย - 21:07, 14 ธันวาคม 2005 (UTC)
- default ความหมายหลัก เป็น การผิดสัญญา เจอบ่อยตอนเรียน
- ความหมายอื่น "default message = ข้อความโดยปริยาย ??? ไม่มีความหมาย, ค้นหาในกลุ่มชื่อนี้โดยปริยาย (ค้นหาโดยปริยาย, ชื่อโดยปริยาย???)
รัฐในสหรัฐอเมริกา
ชื่อภาษาอังกฤษของรัฐนี่
ทำไม Illinois เขียน อิลลินอยส์ แต่ Arkansas เขียน อาร์คันซอ ครับ ไม่เป็น อาร์คันซอส์ คำทั้งสองคำไม่ออกเสียง s ลงท้ายทั้งคู่--Manop | พูดคุย - 09:31, 16 ธันวาคม 2005 (UTC)
- ได้คำตอบแล้วครับ อ้างอิงจากราชบัณฑิตยสถาน ตาม รายชื่อประเทศและดินแดนตามประกาศราชบัณฑิตยสถาน
Neutral point of view :: วิกิข่าว
ตอนนี้ทาง วิกิข่าว มีประเด็นเรื่องนิยามของคำว่า Neutral point of view (NPOV) ครับ อยากขอความเห็นชาววิกิพีเดียหน่อยนึงอ่ะครับ รายละเอียด ที่นี่
ทับศัพท์คำว่า state
สะกดอย่างไรครับ
--Manop | พูดคุย - 11:37, 20 ธันวาคม 2005 (UTC)
น่าจะเป็น สเตท นะครับ -- จุง 08:29, 30 ธันวาคม 2005 (UTC)
การเว้นวรรคในวงเล็บในชื่อสารเคมี
ปกติเวลาเขียนวงเล็บ เรามักจะเว้นวรรคก่อน และหลังคำในวงเล็บ เช่น กีบ (สกุลเงิน) ผมสังเกตเห็นว่าในกรณีของชื่อทางเคมี เช่น Gadolinium (III) chloride มักจะไม่เว้นวรรคก่อนวงเล็บ เพื่อแสดงว่าเป็น (III) ของธาตุด้านหน้า... ในภาษาไทยผมเอาตามนั้นก่อนแล้วกันครับ คือเป็นแกโดลิเนียม (III) คลอไรด์ ท่านอื่น ๆ คิดว่าอย่างไรครับ?? --- Jittat 04:46, 25 ธันวาคม 2005 (UTC) เห็นด้วยครับ จุง 08:31, 30 ธันวาคม 2005 (UTC)
CAS registry numbers
CAS registry numbers ในภาษาไทยควรใช้คำไหนดีครับ เป็น เลขทะเบียนแคส หรือ เลขทะเบียน CAS หรืออะไรดีครับ--Chuansin 01:45, 26 ธันวาคม 2005 (UTC)
- เท่าที่ดูมาจาก en:CAS registry number CAS นี่เป็นตัวย่อน่ะครับ และน่าจะออกเสียงเป็น "แคส" ผมคิดว่าน่าจะเขียนเป็นเลขทะเบียนแคส ได้นะครับ (ตาม [4]) ท่านอื่น ๆ คิดว่าอย่างไรครับ? --- Jittat 05:52, 26 ธันวาคม 2005 (UTC)
- เห็นด้วยครับ แล้วค่อยทำรีไดเร็ก --จุง 08:31, 30 ธันวาคม 2005 (UTC)
"สถานะ" และ "เฟส"
รบกวนช่วยเหลือคำที่เหมาะสมหน่อยครับ จากข้อแนะนำของคุณ Pramook ดังข้อความต่อไปนี้ครับ กรุณาใช้คำว่า "สถานะ" แทนคำว่า "เฟส" ในบทความเกี่ยวกับเคมีที่จะเขียนต่อไปด้วยนะครับ -->คุยกับผู้ใช้:Chuansin#ชื่อกรด การทับศัพท์ และการเขียนหน้งสือ ผมได้ไปดูความหมายภาษาไทยใน ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน พบว่า phase มีความหมายดังนี้นะครับ
- สาขาวิชา แพทยศาสตร์
- ๑. วัฏภาค
- ๒. ระยะ (เวลา)
- สาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ
- ๑. วัฏภาค, ขั้น
- ๒. เฟส
- สาขาวิชา ปรับอากาศ
- เฟส
จึงอยากรบกวนเพื่อนสมาชิกช่วยพิจารณาคำที่เหมาะสมให้หน่อยครับ--Chuansin 02:21, 29 ธันวาคม 2005 (UTC)
- ผมไม่แน่ใจว่านักเคมีใช้คำไหนนะครับ ความเห็นส่วนตัวที่เรียนมาทางฟิสิกส์ คือ เฟส (phase) มีความหมายกว้างกว่าสถานะ (state) เฟสรวมเอาสมบัติอื่น ๆ ของสสารเข้าไปด้วย เช่น ความหนาแน่น ดัชนีหักเห ความดัน ฯลฯ ตัวอย่างที่ง่ายที่สุด คือ น้ำกับน้ำมันในแก้วเดียวกัน ทั้งน้ำและน้ำมันมีสถานะเดียวกัน คือ ของเหลว แต่มีเฟสต่างกัน (ความหนาแน่นไม่เท่ากัน เป็นต้น) อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าในบทความทางเคมี เราน่าจะแทนที่คำว่า 'เฟส' ด้วย 'สถานะ' เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ แล้วไปอธิบายความต่างกันของเฟสกับสถานะในบทความเรื่องเฟสอีกทีหนึ่ง (ส่วนจะใช้คำไทยของเฟสว่าอะไร เอาไว้คิดอีกที) --Pi@k 04:08, 29 ธันวาคม 2005 (UTC)
- เพิ่มเติมครับ จาก en:State (physics) State is sometimes used as a synonym for phase of matter. ฝรั่งเองบางทีก็ใช้คำนี้แทนเฟส ถ้าอย่างนั้นจะใช้คำว่าสถานะในบริบททางเคมีก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาครับ --Pi@k 04:32, 29 ธันวาคม 2005 (UTC)
- ตามราชบัณฑิตยสถานบอกว่า Phaseมีความหมายในภาษาไทยว่า วัฏภาคหรือ เฟส หรือ ระยะ (เวลา) หรือ ขั้น ไม่มีคำว่า สถานะผมสงสัยว่าทำไมเราไม่เลือกคำที่ ราชบัณฑิตยสถาน กำหนดให้ซักคำละครับ ผมเห็นว่าเราควรใช้คำว่า เฟสอย่างเดิมซึ่งเป็นคำที่มีในราชบัณฑิตยสถานด้วย หรือไม่ก็ใช้วัฏภาคซึ่งมีในราชบัณฑิตยสถานเหมือนกันครับ--Chuansin 05:11, 29 ธันวาคม 2005 (UTC)
- ที่คุณ Chuansin ค้นมาข้างบนไม่มีคำแปลของ phase จากวิชาเคมีหรือฟิสิกส์เลยนะครับ ถ้าจะใช้ผมว่าน่าจะคิดให้ดี ๆ ก่อน --Pramook 09:07, 29 ธันวาคม 2005 (UTC)
- ตามราชบัณฑิตยสถานบอกว่า Phaseมีความหมายในภาษาไทยว่า วัฏภาคหรือ เฟส หรือ ระยะ (เวลา) หรือ ขั้น ไม่มีคำว่า สถานะผมสงสัยว่าทำไมเราไม่เลือกคำที่ ราชบัณฑิตยสถาน กำหนดให้ซักคำละครับ ผมเห็นว่าเราควรใช้คำว่า เฟสอย่างเดิมซึ่งเป็นคำที่มีในราชบัณฑิตยสถานด้วย หรือไม่ก็ใช้วัฏภาคซึ่งมีในราชบัณฑิตยสถานเหมือนกันครับ--Chuansin 05:11, 29 ธันวาคม 2005 (UTC)
สถานะของเหลว ของแข็ง และก๊าส หรือเฟสของแข็ง เฟสของเหลว เฟสก๊าส ทะแม่ง ๆ ชอบกล
- ถ้าพูดถึงของแข็ง ของเหลว ใช้คำว่าสถานะ น่าจะเป็นมาตรฐานและเข้าใจง่ายที่สุดครับ เนื่องจากหนังสือแบบเรียนมาตรฐานระดับมัธยมก็ใช้คำนี้ แต่ถ้าในแง่คุณสมบัติอื่นทางฟิสิกส์ ก็เป็นอย่างที่คุณ Pi@k ว่าน่ะครับ คำว่า "เฟส" อาจจะมีความหมายไม่ตรงกับ "สถานะ" และเราอาจจำเป็นต้องใช้ทับศัพท์ -- จุง 16:17, 29 ธันวาคม 2005 (UTC)
อันนี้ค้นมาให้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมครับ
- ศัพท์การเชื่อม
- phase angle; firing angle = มุมเฟส
- phase displacement = การจัดเฟส
- phase shift = การปรับเฟส
- ศัพท์เทคโนโลยีทางภาพ
- phase alternate by line (PAL) = ระบบสลับเฟสด้วยเส้นกราด (พัล)
- phase cancellation; phase distortion; phasing = ความเพี้ยนเฟส
- phase distortion; phase cancellation; phasing = ความเพี้ยนเฟส
- phase-change disk = จาน (บันทึก) แบบเปลี่ยนเฟส
- ศัพท์พลังงาน
- phase-change storage = ๑. ตัวสะสมแบบเปลี่ยนสถานะ ๒. การสะสมแบบเปลี่ยนสถานะ
- solid-phase storage = ๑. ตัวสะสมในสถานะของแข็ง ๒. การสะสมในสถานะของแข็ง
- ศัพท์วิทยาศาสตร์
- phase = ๑. วัฏภาค ๒. เฟส
- phase velocity = ความเร็วเฟส
ที่มา: ศัพท์บัญญัติ อังกฤษ-ไทย ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน รูปแบบซีดีรอม รุ่น ๑.๑ -- PaePae 19:24, 29 ธันวาคม 2005 (UTC)
- ผมไปพบคำว่า Phase ในเว็บ TECHNOLOGY MEDIA ซึ่งมีที่มาจาก :วิศวกรรมสาร ฉบับ ว.ส.ท. เทคโนโลยี ปีที่ 53 เล่มที่ 7 เดือนกรกฎาคม 2543 อธิบายความหมายของ Phase ในสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนี้ครับ
- ซีก [สำรวจ];
- เฟส, วัฏภาค [ไฟฟ้าสื่อสาร, อิเล็กทรอนิกส์];
- เฟส [ไฟฟ้ากำลัง, การปรับอากาศ];
- สถานะ [ศัพท์พลังงาน];
- เฟส, สภาวะ, ช่วง [สิ่งแวดล้อมน้ำ]
ในนี้มีคำว่า สถานะ ด้วยครับ และเป็นศัพท์ในสาขาพลังงาน ซึ่งถ้าเกี่ยวกับสสารและพลังงานน่าจะใช้กันได้ครับ ดังนั้นหน้าที่เป็น สถานะ (สสาร) น่าจะใช้ได้ครับ--Chuansin 01:58, 30 ธันวาคม 2005 (UTC)
รบกวนช่วยออกความเห็นครับ
- solid-state physics ผมใช้คำในภาษาไทยว่า ฟิสิกส์สถานะของแข็ง
- condensed matter physics ผมใช้คำในภาษาไทยว่า ฟิสิกส์สสารอัดแน่น
- Solid-state chemistry ผมใช้คำในภาษาไทยว่า เคมีสถานะของแข็ง
- Superfluid ผมใช้คำในภาษาไทยว่า ของไหลยิ่งยวด
- Supersolid ผมใช้คำในภาษาไทยว่า ของแข็งยิ่งยวด
- Degenerate matter ผมใช้คำในภาษาไทยว่า สสารเสื่อม
- Strongly symmetric matter ผมใช้คำในภาษาไทยว่า สสารสมมาตรแก่
- Weakly symmetric matter ผมใช้คำในภาษาไทยว่า สสารสมมาตรอ่อน
- Strange matter ผมใช้คำในภาษาไทยว่า สสารประหลาด
- Bose-Einstein condensate ผมใช้คำในภาษาไทยว่า โบส-ไอน์สไตน์ คอนเดนเซต
- Fermionic condensate ผมใช้คำในภาษาไทยว่า เฟอร์มิโอนิค คอนเดนเซต
- Quark-gluon plasma ผมใช้คำในภาษาไทยว่า ควาร์ก-กลูออน พลาสม่า
สมาชิกท่านใดมีความเห็นเป็นอย่างอื่นโปรดแสดงครับ--Chuansin 03:15, 30 ธันวาคม 2005 (UTC)
- 5 ชื่อแรกผมว่าน่าจะ ok ครับ เช็คกับชื่อที่ใช้ทางมหาวิทยาลัยแล้วตรงกัน แต่ว่านอกนั้นไม่แน่ใจ แต่คิดว่า Strongly symmetric matter อาจจะใช้คำว่าสสารสมมาตรเข้ม แทน สสารสมมาตรแก่ ไว้จะลองหาข้อมูลเพิ่มเติมดูครับ -- จุง 08:23, 30 ธันวาคม 2005 (UTC)
ผมอาจจะนอกเรื่องหน่อย แต่คิดว่าคำที่ใช้ คงต้องขึ้นอยู่กับว่าหมายถึง สถานะหรือหมายถึงเฟส ถ้าความหมายเดียวกันคงต้องใช้คำที่นิยมมากกว่า แล้วขึ้นกับคนเขียนด้วย เพราะถ้าบทความนั้นเขียนคนเดียวแต่ถ้ามีคนเขียนมากกว่าหนึ่งคนอาจต้องตกลงกันมากกว่า --Manop | พูดคุย - 07:40, 30 ธันวาคม 2005 (UTC)
ศัพท์บัญญัติ หรือ ไม่ศัพท์บัญญัติ
- แนะนำให้อ่านที่ ศัพท์บัญญัติและ การถอดเสียงภาษาอังกฤษ ก่อน
สอบถาม การใช้คำในวิกิพีเดีย นี่คือ อ้างอิงจากไหนตามลำดับครับ ถ้าเป็นศัพท์จากภาษาอังกฤษ ว่าจะใช้ ศัพท์บัญญัติ หรือ การถอดเสียง ตามราชบัณฑิตฯ กรณีศึกษาที่พบ เช่นคำว่า Gasohol - ใช้กันทั่ว แก๊สโซฮอล์ ค้นหา - ศัพท์บัญญัติ --> แกโซฮอล ค้นหา หรือคำว่า Web browser - ศัพท์บัญญัติ --> โปรแกรมค้นดูเว็บ และ เว็บเบราว์เซอร์ - การถอดเสียง --> เว็บเบราว์เซอร์ (W ซ้ำ) และไม่ค่อยเจอเว็บไหนใช้คำว่า "โปรแกรมค้นดูเว็บ" เท่าไรส่วนมากจะเห็นทับศัพท์ --Manop | พูดคุย - 00:26, 5 ธันวาคม 2005 (UTC)
- กรณีเป็นชื่อเฉพาะ ให้ใช้ชื่อเฉพาะ
- กรณีเป็นศัพท์บัญญัติ ใช้ศัพท์บัญญัติเป็นบรรทัดฐาน
- ไม่เป็นทั้งสองอย่าง ใช้การถอดเสียงของราชบัณฑิตฯ เป็นบรรทัดฐาน
- อย่างคำว่า อินเทอร์เน็ต กับ อีเมล เมื่อสักหนึ่งปีที่แล้วก็ถือว่าไม่เป็นที่นิยมเหมือนกัน แต่เมื่อมีความพยายามในการใช้ตามที่ราชบัณฑิตฯ บัญญัติไว้ ก็เริ่มเป็นที่คุ้นตาและนิยมใช้กันมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกันครับ -- PaePae 08:13, 5 ธันวาคม 2005 (UTC)
- งงนะครับ อย่าง ศัพท์บัญญัตินี้เค้าถอดเสียงมาจากไหนหรือครับ ไม่ได้อยู่หน่วยงานเดียวกับราชบัณฑิตฯหรือครับ อย่าง อินเทอร์เน็ต ไม่ใช้ อินเทอร์เน็ต แต่การถอดศัพท์ ให้ใช้ ต.เต่า สำหรับ inter- แต่ถ้าเป็นคำอื่น เช่น อินเตอร์คอม ไม่ใช่ อินเทอร์คอม ประหลาดดี อย่างคำว่า แก๊สโซฮอล์ ก็ใช้กันมาก แต่ในวิกิต้องเปลี่ยนเป็น แกโซฮอล (ที่ไม่มีใครใช้) ตามศัพท์บัญญัติหรือเปล่าครับ มึน สงสัยต้องหาเจ้าหน้าที่จากราชบัณฑิตฯ มาถามซะแล้น --Manop | พูดคุย - 20:51, 7 ธันวาคม 2005 (UTC)
- น่าจะใช้ตามนิยมได้นะครับ... ทีนี้ จะบอกอย่างไรว่าเป็น "ตามนิยม" คงมีหลักฐานเป็นเรื่องเป็นราวสักหน่อย เช่น ต้องค้น google มาแล้วแสดงจำนวน page น่ะครับ อ้อ ถ้าตามนิยมแล้วสะกดแบบไม่เป็นทางการมาก ๆ (เช่น คับ แทน ครับ) นี่อาจต้องคุยอีกทีน่ะครับ (อิอิ) --- Jittat 02:59, 8 ธันวาคม 2005 (UTC)
- popularity vs authority
- แต่การใช้ hits ของเสิร์ชเอนจิ้น ก็เป็นที่กังขาอยู่ดี 1) เสิร์ชเอนจิ้นจำนวนมากยังตัดคำไทยไม่ได้ 2) hits ที่ได้ก็มาจากจำนวนจากหน้าที่เสิร์ชเอนจิ้นนั้นทำดัชนีไว้ (=ไม่ได้หมายถึงเอกสารทั้งหมดบนอินเทอร์เน็ต) 3) ถึงจะทำดัชนีทั้งหมดของเอกสารบนเน็ตได้ แต่ก็ยังมีเอกสารเป็นจำนวนมากกว่า ที่ยังไม่ได้อยู่บนเน็ต (หรือแม้แต่เก็บอยู่ในรูปแบบดิจิทัล) 4) การตีพิมพ์บนอินเทอร์เน็ตนั้นทำได้โดยสะดวกและง่าย ทำให้มีจำนวนเอกสาร ที่ไม่ผ่านการตรวจตัวสะกด/การใช้ภาษา จำนวนมาก (เช่นที่คุณ Jittat ยกตัวอย่างมา "คับ") -- แค่ 4 ข้อนี้ ก็น่าจะทำให้เราเชื่อ hits จากเสิร์ชเอนจิ้นได้น้อยลงนะครับ ... คือเอามาใช้เป็นแนวทางได้ แต่คงไม่ใช่ตัวตัดสินชี้ขาด เช่นถ้ายังไม่มีการบัญญัติ ก็อาจจะยึดตามที่นิยม[ในอินเทอร์เน็ต] แต่ถ้ามีการบัญญัติแล้ว ก็ควรจะยึดตามที่ได้บัญญัติไว้
- -- 172.158.198.244 11:30, 30 พฤษภาคม 2006 (UTC)
- น่าจะใช้ตามนิยมได้นะครับ... ทีนี้ จะบอกอย่างไรว่าเป็น "ตามนิยม" คงมีหลักฐานเป็นเรื่องเป็นราวสักหน่อย เช่น ต้องค้น google มาแล้วแสดงจำนวน page น่ะครับ อ้อ ถ้าตามนิยมแล้วสะกดแบบไม่เป็นทางการมาก ๆ (เช่น คับ แทน ครับ) นี่อาจต้องคุยอีกทีน่ะครับ (อิอิ) --- Jittat 02:59, 8 ธันวาคม 2005 (UTC)
- Higher-order function ควรทับศัพท์หรือไม่? (ผมมาถาม off topic ไปหรือเปล่า?) Vee 20:21, 7 มิถุนายน 2006 (UTC)
หลักเกณฑ์การเขียนคำทับศัพท์
(ช่วยกันเติมและจะเอาไปอัปเดตใน หน้าหลักการเขียนชื่อ)
- กรณีเป็นชื่อเฉพาะที่ทางเจ้าของชื่อตั้ง ให้ใช้ชื่อเฉพาะ
- ใช้ศัพท์บัญญัติเป็นบรรทัดฐาน ถ้าไม่ขัดกับข้อกับข้อที่กล่าวมา
- ใช้การถอดเสียงของราชบัณฑิตฯ เป็นบรรทัดฐาน ถ้าไม่ขัดกับข้อกับข้อที่กล่าวมา
อย่าง "แก๊สโซฮอล์" ก็ไม่เป็นทั้ง ศัพท์บัญญัติ และ การถอดเสียง จะไปอยู่ตรงไหนดีครับ
ชื่อซอฟต์แวร์ ชื่อรุ่นรถ
- ดูก่อนที่ หลักการตั้งชื่อบทความ
คำถาม 2 ข้อครับ (1) ชื่อซอฟต์แวร์ จะเว้นวรรค ชื่อซอฟต์แวร์ กับชื่อบริษัท หรือเปล่า ดูที่ ไมโครซอฟท์วินโดวส์, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ และ แมโครมีเดีย แฟลช เพิ่มชื่อรุ่นรถด้วยเช่น ฮอนด้า แอคคอร์ด กับ โตโยต้า เซลิก้า (2) ชื่อซอฟต์แวร์ ใช้หลักการยังไง ว่าอันไหนใช้ชื่อไทย อันไหนใช้ชื่ออังกฤษครับ ดูที่ Chantra ภาษาพีเอชพี --Manop | พูดคุย - 01:38, 16 มกราคม 2006 (UTC)
- แสดงความเห็น: ผมว่าคำอย่างพวก ภาษาพีเอชพี เขียนว่า ภาษา PHP น่าจะง่ายต่อการอ่านและการเข้าใจมากกว่านะครับ เหมือนกับที่เรามักจะเขียนว่า ภาษา C, ภาษา Java เรามักจะไม่เขียนว่า ภาษาซี ภาษาจาวา.
- นอกจากนี้ คำประเภทคำย่อแบบกล่าวซ้ำ ผมขอสนับสนุนว่าน่าจะคงรูปแบบเดิมไว้มากกว่าการสะกดตัวอักษรแต่ละตัวด้วยภาษาไทยนะครับ เพราะจะทำให้บทความกระชับและอ่านง่ายขึ้นแต่ก็ควรจะมีการใส่วงเล็บกำกับการอ่านไว้ในตอนต้นของบทความ--Chaiwat 08:13, 25 มกราคม 2006 (UTC)
- แสดงความเห็น: ผมว่าเขียนเป็นภาษาไทยว่า ภาษาซี ภาษาจาวา ภาษาพีเอชพี เอเอสทีวี เอไอเอส ฯลฯ ก็เข้าใจง่ายดีอยู่แล้ว และเพราะว่าความหมายของคำไทยและคำอังกฤษไม่แตกต่างกัน ไมโครซอฟท์วินโดวส์ ที่จริงผมว่าควรเว้นวรรคเป็น ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ มากกว่านะครับ
ชื่อต่างชาติ
- ต่อเนื่องจาก #ชื่อซอฟต์แวร์ ชื่อรุ่นรถ
สอบถามความเห็นว่าคำคำไหนที่ควรคงชื่อไว้ หรือคำไหนที่ควรเขียนทับศัพท์ครับ ตอนนี้ที่มีใน หมวดหมู่:บทความที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ก็น่าจะแบ่งได้เป็น
- ชื่อซอฟต์แวร์ MySQL Chantra Adobe PageMaker
- ชื่อทางคอมพิวเตอร์ Secure Shell Internet Protocol CASE
- ชื่อที่ไม่รู้จะแปลยังไง Thai RDI GFDL W3C
- ชื่อที่ต้องการแสดงถึงความหมายของคำ Hello world Xing Manifest Destiny
- นามสกุลไฟล์ JPEG PNG
จะได้มีเทมเพลตแยกไว้ระหว่าง ชื่อที่ต้องการคงไว้ชื่อเดิม กับชื่อที่รอ (คนอื่น) มาเปลี่ยนชื่อที่เหมาะสมให้ --Manop | พูดคุย - 17:27, 2 กุมภาพันธ์ 2006 (UTC)
- ความเห็นเพิ่มเติมยังไงบอกได้นะครับ ถ้าไม่มีผมจะปรับแก้หน้านโยบายใหม่ สอดคล้องกับข้อความด้านบนครับ --Manop | พูดคุย - 16:27, 15 พฤษภาคม 2006 (UTC)
- เห็นด้วยกับการแยก {{คงชื่อภาษาเดิม}} กับ {{รอเปลี่ยนเป็นชื่อไทย}} ออกจากกันครับ เพื่อความชัดเจนในการแบ่งบทความที่จงใจจะใช้ชื่อภาษาต่างชาติ; กับบทความที่ไม่รู้จะแปลยังไงก็ช่วยกัน ลงความเห็น/หาข้อสรุป กำหนดชื่อไทยที่เหมาะสม--Chaiwat 08:47, 9 มิถุนายน 2006 (UTC)
ถ้าใช้ชื่อว่า หมวดหมู่:บทความที่มีชื่อเป็นภาษาต่างชาติ หรือ หมวดหมู่:บทความที่มีชื่อเป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาไทย หรือ หมวดหมู่:บทความที่มีชื่อเป็นภาษาดั้งเดิม จะครอบคลุมว่ารึเปล่าครับ ? เพราะน่าจะมีบางคำที่เป็นตัวละติน แต่ไม่ได้เป็นภาษาอังกฤษ -- แล้วก็อาจจะใช้ {{คงชื่อภาษาเดิม}} กับ {{รอเปลี่ยนเป็นชื่อไทย}} -- 172.158.198.244 11:36, 30 พฤษภาคม 2006 (UTC)
- "เพราะน่าจะมีบางคำที่เป็นตัวละติน แต่ไม่ได้เป็นภาษาอังกฤษ" — อันนี้รวมถึงอักษรย่อที่ใช้อักษรละตินหลาย ๆ ตัวด้วย เช่น A.D. (ค.ศ./จากภาษาละติน) BMW (ยี่ห้อรถ/จากภาษาเยอรมัน) และก็รวมถึงพวกที่เหมือนจะเป็นอักษรย่อ แต่ไม่ใช่ด้วย เช่น ISO (ดัดแปลงจากภาษากรีก) -- 172.158.46.248 00:59, 27 มิถุนายน 2006 (UTC)
เมื่อใดควรใช้ เลขไทย หรือ เลขอารบิก ?
เมื่อใดควรใช้ เลขไทย หรือ เลขอารบิก ?
ข้อเสนอแบบต่าง ๆ
- ใช้เลขอารบิกหมด (ยกเว้นกรณี ยกอ้างข้อความ ให้คงตามต้นฉบับ, แต่ถ้าเป็นกรณีเรียบเรียงใหม่แล้ว ให้ใช้เลขอารบิกตามปกติ)
- ใช้เลขไทยหมด (ยกเว้นกรณี ยกอ้างข้อความ ให้คงตามต้นฉบับ, แต่ถ้าเป็นกรณีเรียบเรียงใหม่แล้ว ให้ใช้เลขไทยตามปกติ)
- ใช้เลขไทยในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (อยู่ใน {{วิกิประเทศไทย}}) นอกนั้นใช้เลขอารบิก
- (..เพิ่มเติมที่นี่..)
Harvard เขียนเป็นไทยยังไง ?
โครงการ "คำทับศัพท์"
สวัสดีิครับ คิดว่าหลายคนที่เขียนในวิกิพีเดีย คงประสบปัญหาเรื่องการเขียนคำทับศัพท์มากันแล้ว เลยอยากให้ชาววิกิพีเดียคนอื่น ร่วมแสดงความเห็นหรือสร้างระบบ หรือตารางที่ช่วยให้การทับศัพท์ทำได้ง่ายขึ้นและไปในทิศทางเดียวกันครับที่ วิกิพีเดีย:โครงการคำทับศัพท์ (โครงการเริ่มมีปีนึงแต่หยุดไป 11 เดือนได้) ตอนนี้กะว่าจะหาจุดกึ่งกลางระหว่างระบบบทับศัพท์ที่มีอยู่แล้ว กับระบบทับศัพท์ที่คนไทยทั่วไปนิยมใช้ ไม่ว่าจากหนังสือพิมพ์ นิยายจีน การ์ตูนญี่ปุ่น และอื่น ๆ ครับ
สำหรับคนที่มีความเห็นว่าของเก่าดีอยู่แล้ว ทำไมต้องทำใหม่ให้ยุ่งยาก ขอแนะนำให้ "เริ่ม" อ่านระบบเก่า ๆ ทั้งหมด หลังจากนั้นแนะนำให้เขียนบทความเรื่องที่ตนเองชอบที่มีการทับศัพท์ซัก 2-3 บทความครับ --Manop | พูดคุย - 22:27, 30 มิถุนายน 2006 (UTC)
คำทับศัพท์ ชื่อ รถ
[h] silent
Mathematical science
คำว่า "Mathematical science" จะแปลว่ายังไงดี ? ใช้ คณิตศาสตร์ ก็คงไม่ใช่ ดูใน ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตฯ ก็ไม่พบ (มี mathematical xxx อื่น ๆ แต่ไม่มี science) -- 172.207.29.246 18:18, 2 กรกฎาคม 2006 (UTC)
การเขียนคำทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส
ได้ลองนำการทับศัพท์จากเว็บ ราชบัณฑิตฯ มาจัดหน้าในวิกิพีเดีย ไว้ที่ การเขียนคำทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส รบกวนผู้รู้ภาษาฝรั่งเศสตรวจสอบความถูกต้องครับ (ความรู้ภาษาฝรั่งเศสของผม เป็นศูนย์ ^___^) --Manop | พูดคุย - 23:57, 18 กรกฎาคม 2006 (UTC)
การแยกคำ เช่น india
กำลังสับสนครับ ว่าจะทำอย่างไรดี จะตามหรือไม่ตามดี ตอนนี้มีคำว่า
- india = ซึ่งควรจะเป็น อินเดีย
- Indiana = ราชบัณฑิตฯ กำหนด รัฐอินดีแอนา
- แล้ว Indianopolis = ราชบัณฑิตฯ กำหนดว่า อินเดียแนโพลิส ซึ่งมันควรจะเป็น อีนดีแอนาโพลิส ตามชื่อรัฐ (เป็นเมืองหลวงรัฐ) ฝากรบกวนท่านอื่น ช่วยออกความเห็นด้วยครับ ว่าคำนี้ควรจะอ่าน แยกพยางค์หรือไม่แยกพยางค์อย่างไร ทุกคำในนี้แยกพยางค์หมดเลย
แล้วก็รวมไปถึงคำภาษาญี่ปุ่น ที่อ่านแยกพยางค์ _ะ _ิ เราควรจะรวมพยางค์หรือเปล่าครับ เช่น "ซะอิ" หรือว่า "ไซ" กับ "คุนะอิ" หรือ "คุไน" --Manop | พูดคุย - 09:00, 4 มกราคม 2006 (UTC)
- สำหรับภาษาอังกฤษ นอกจากจะดูการแยกพยางค์ที่คำตั้งแล้ว ผมจะดูสัทอักษรประกอบด้วยครับว่าคำนั้นออกเสียงอย่างไร พจนานุกรมออนไลน์ที่มีสัทอักษรประกอบ เท่าที่ทราบ นอกจากที่ dictionary.com ซึ่งใช้ The American Heritage Dictionary of the English Language เป็นพื้นฐานแล้ว จะมีที่ m-w.com (Merriam-Webster's Online Dictionary) อีกแห่งหนึ่งครับ อย่างไรก็ตาม พจนานุกรมทั้งสองฉบับได้กำหนดสัทอักษรขึ้นใช้เองซึ่งต่างจากสัทอักษรสากล ทำให้ต้องเทียบเสียงจาก pronunciation key ของแต่ละฉบับแทน
- สำหรับคำที่ยกมาเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบ Indiana กับ Indianapolis นั้น ถ้าดูจาก dictionary.com จะพบว่าออกเสียงต่างกันครับ ถึงแม้จะแบ่งพยางค์เหมือนกันก็ตาม โดยหากเทียบเป็นสัทอักษรสากลแล้ว (ถ้าผมเทียบไม่ผิด) Indiana จะออกเสียงเป็น /ˌɪndiˈænə/ ในขณะที่ Indianapolis จะออกเสียงเป็น /ˌɪndiəˈnæpəlɪs/ ซึ่งเมื่อถอดเป็นอักษรไทย เสียง /æ/ จะนิยมถอดเป็น แอ ส่วนเสียง /iə/ จะนิยมถอดเป็น เอีย ครับ (แม้ในความเป็นจริงจะออกเสียงแยกกันก็ตาม)
- สำหรับภาษาญี่ปุ่น หลักเกณฑ์การทับศัพท์ของทางราชบัณฑิตฯ จะออกเสียงสระเรียงกันไปครับ (ไม่เป็นสระประสม) เช่น ai จะถอดเป็น อะอิ ไม่ใช่ ไอ อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวผมเห็นว่าถ้าคำใดเป็นชื่อทางการค้าหรือชื่อบุคคลในนิยาย ควรเขียนตามที่เจ้าของชื่อหรือผู้จัดพิมพ์ใช้ครับ โดยระบุการทับศัพท์ตามหลักเกณฑ์ฯ ไว้ในวงเล็บแทน เช่น ยางามิ ไลท์ (夜神 月 ยะงะมิ ระอิโตะ) แต่หากเป็นบุคคลจริง ให้ทับศัพท์ตามหลักเกณฑ์ฯ ซึ่งดูเหมือนว่าปัจจุบันโครงการสารานุกรมการ์ตูนก็ใช้รูปแบบเช่นนี้อยู่แล้วครับ --Phisite 08:30, 6 มกราคม 2006 (UTC)
- ถามต่อครับ ถ้าเป็นชื่อญี่ปุ่นเลย แล้ว ไซ หรือ ซะอิ ครับ ใน ฮิคารุเซียนโกะ--Manop | พูดคุย - 09:06, 6 มกราคม 2006 (UTC)
- ถ้าผมจำไม่ผิด ในหนังสือการ์ตูน จะสะกดชื่อนี้เป็น ฟูจิวาระ โนะ ซาอิ ครับ (ไม่แน่ใจเรื่องสระว่าเป็นสระอุหรือสระอู) ในบทความอาจใช้รูปแบบการเขียนเป็น ฟูจิวาระ โนะ ซาอิ (藤原佐為 ฟุจิวะระ โนะ ซะอิ) เมื่อกล่าวถึงเป็นครั้งแรก แล้วใช้ ซาอิ ตามการสะกดในหนังสือ เมื่อกล่าวถึงในครั้งถัดไปได้ครับ --Phisite 03:10, 10 มกราคม 2006 (UTC)
- ถามต่อครับ ถ้าเป็นชื่อญี่ปุ่นเลย แล้ว ไซ หรือ ซะอิ ครับ ใน ฮิคารุเซียนโกะ--Manop | พูดคุย - 09:06, 6 มกราคม 2006 (UTC)
ตัวหนา ตัวเอียง เครื่องหมายคำพูด
หาข้อสรุป (คร่าว ๆ) เพื่อนำไปเขียนใน วิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน
(ข้อความนี้ ย้ายจาก คุยกับผู้ใช้:Golffee)
อ้างอิงจาก ฟุตบอลลีก เรื่องตัวหนาในบทความนะครับ หลัก ๆ จะใส่เฉพาะชื่อที่เป็นบทความ และส่วนที่ต้องการเน้นหลัก ๆ ซึ่งถ้าใส่เยอะเกินไปจะกลายเป็นว่า มันจะเน้นไปทุกอย่าง และทำให้ยากต่อการอ่าน ส่วนถ้าอันไหนเป็นชื่อเฉพาะและต้องการเน้น อาจจะใส่เป็นเครื่องหมายคำพูดเข้ามาแทนได้ครับ --Manop | พูดคุย - 21:43, 5 มกราคม 2006 (UTC)
กำลังจะหารือประเด็นดังกล่าวพอดีเชียว ยังงง ๆ กับ "ขนบ" พวกนี้เหมือนกัน สรุปว่า : ตัวหนา > ชื่อหัวเรื่องที่ทำลิงก์เท่านั้น (ไม่ชอบคำว่าบทความเลย ^__^) ชื่อเฉพาะ > ใส่ "อัญประกาศ" แต่ทีนี้ผมยังใช้สับสนอยู่สองแบบระหว่าง "--" กับ '--' อย่างไหนเวิร์คกว่ากันอะ ? ตัวเอียง > เฉพาะชื่อหนังสือ.... หรือมีอย่างอื่นอีก.... ขอบคุณครับ... : > Golffee 01:32, 6 มกราคม 2006 (UTC)
ดีดีครับ ตอนนี้อยากได้ ข้อสรุปตอนนี้อยู่พอดี เพราะว่า แต่ละคนก็จะเขียนตามที่ตัวเองถนัด ตอนนี้หน้าวิธีการเขียนยังไม่ค่อยมีอะไรเลย ดูที่ วิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน
- "คำว่า "บทความ" แต่ก่อนใช้คำว่า "หัวข้อ" แล้วก็มีการแยกกันสองฝ่าย เรียกบทความบ้างหัวข้อบ้าง ตอนนี้หลายอันได้เปลี่ยนเป็นคำว่า "บทความ" ซะส่วนใหญ่
- ตัวหนา อันนี้คิดว่าคงใส่ตามปกติที่ใช้ตัวหนากันนะครับ แต่พอดีบทความ ฟุตบอลลีก ผมว่ามันเยอะไปนิดนึง แต่จะมีพิเศษตรงที่ว่า ชื่อบทความคำแรกที่ปรากฏในนั้นจะใส่ตัวหนา บอกให้รู้ว่านี่คือส่วนชื่อของบทความนั้น ๆ
- ชื่อเฉพาะ อันนี้ไม่ทราบครับ แต่ปกติผมใส่ไปเลย ไม่มีเครื่องหมาย ยกเว้นที่ต้องการเน้นว่าเป็นคำพูด ไม่ใช่ความหมาย ส่วนเครื่องหมายตอนนี้ มีเยอะมาก ตั้งแต่ "___" '___' “___” (ฟันหนูเปิด ปิด แบบของไทย)
- ตัวเอียง เห็นมีคนเขียนไว้ในวิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน แล้วครับ (แต่ส่วนตัวผมไม่ค่อยใช้ เพราะตัวเอียงมันอ่านยาก ไม่เหมือนภาษาอังกฤษ)
--Manop | พูดคุย - 02:44, 6 มกราคม 2006 (UTC)
ว่ากันต่อเลยนะ... สรุปจากข้างต้นและจากประสบการณ์ที่เขียนงานวิชาการมาบ้าง ขอหารือกว้าง ๆ :
- กรณีชื่อเฉพาะ
- เขียนทับศัพท์เพราะยังไม่มีคำใช้ในภาษาไทยอาทิเช่น "แอลกอฮอล์" (alcohol) ก็ต้องใส่อัญประกาศกำกับ พร้อมด้วยวงเล็บที่มาของคำในภาษาแม่ ถ้าปรากฏคำนี้ต่อมาในบทความ ก็เขียนแอลกอฮอล์ธรรมดาเป็นส่วนหนึ่งของประโยคไปได้เลย ใช้เฉพาะเมื่อปรากฏครั้งแรกเท่านั้น... และหากจะทำลิงค์ไปหาบทความชื่อเดียวกัน ก็ควรทำตัวหนาเสียตั้งแต่ครั้งเลยใช่ไหม
- เขียนคำศัพท์ทางวิชาการหรือศัพท์เฉพาะบางคำเช่น "อัตลักษณ์" (identity) ก็เช่นกัน ใช่เฉพาะครั้งแรกเท่านั้น (รวมทั้งทำลิงก์ด้วย?) พอต่อมาก็อัตลักษณ์เฉย ๆ
- ในงานวิชาการ (เรากำลังเขียนสารานุกรม วิชาการแหง ๆ) หากจำเป็นต้องแทรกด้วยภาษาปากบ้าง (ไม่ใช่ประโยคคำพูด) ต้องใส่อัญประกาศ เช่น "ล้วงลูก" "ดาวร่วง" แสดงว่ามันมีความหมายจำเพาะเจาะจง ไม่ใช่ว่าใครกำลังไปล้วงเข้าไปในอะไรสักอย่าง เพื่อหยิบลูกบางอย่าง ไม่ใช่ดาวบนท้องฟ้าจริง ๆ กำลังร่วงหล่นลงมา อันนี้ไม่ต้องเน้นตัวใหญ่
ข้อสังเกต : สำหรับคำศัพท์ภาษาอังกฤษในวงเล็บไม่ต้องขึ้นต้นด้วยพิมพ์ใหญ่นะครับ เพราะไม่ใช่คำต้นประโยค เว้นแต่จะเป็นชื่อคนหรือชื่อเฉพาะ พวกสถาบัน พวกชื่อวิชา อันนั้นละใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ได้ เข้าใจว่าคนสับสนเรื่องนี้มาก พอมีวงเล็บคำศัพท์ภาษาอังกฤษเห็นสาดตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งนั้น
- รูปแบบว่าจะอัญประกาศแบบฟันคู่หรือฟันซี่เดียวนี่ ผมเอาตามความสวยงามนะ ถ้าเขียนบนเปเปอร์แน่นอนว่าใช้ "--" แต่ในหน้าจอคอมรู้สึกว่า '--' ดูสบายตากว่า (อัตวิสัยอย่างยิ่ง) แต่บางทีขี้เกียจสลับคีย์บอร์ดใช้สองซี่ก็ได้ 555 ...ความจริงเราน่าจะคิดธรรมเนียมปฏิบัติพวกนี้ได้เอง อย่าลืมว่าของพวกนี้ติดมาตั้งแต่สมัยใช้พิมพ์ดีด ไอ้เครื่องใหญ่ ๆ ดังต๊อกแต๊ก ต๊อกแต๊กนั่นละครับ ยุคนั้นทำตัวหนาไม่ได้ ทำตัวเอียงไม่ได้ อย่างมากก็แค่ขีดเส้นใต้ ดังนั้น ไอ้วิธีการใช้อัญประกาศ หรืออัศเจรีย์ (!) จึงเกิดขึ้น ถ้าสมัยนี้จะเน้นให้ตกใจก็ใช้ฟ้อนท์ใหญ่ ๆ ใช้ไหม... อิอิ
- แต่ก่อนพิมพ์ดีดมันแยกขาดระหว่างภาษา ไม่ได้กดเปลี่ยนไทย-อังกฤษ ได้อย่างในปัจจุบัน จึงแยกกันอย่างชัดเจน แต่ตอนนี้มันมารวมกันแล้ว น่าจะสร้างสรรค์อะไรใหม่ ๆ ได้ แค่วืธีเขียนในวิกิยังสลับคีย์บอร์ดไปมาเลย จะใส่โค้ดก็ต้องสลับไปอังกฤษ พอจะพิมพ์เนื้อหาก็กลับมาไทย เป็นต้น
- ส่วนตัวเอียง เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ ในบล็อกผมก็อ่านยากมาก ซึ่งเป็นปัญหาที่ติดตัวมาจากขนบงานเขียนทางวิชาการ อันไหนอ้างอิงต้องใส่ตัวเอียง แล้วผมนี่อ้างอิงเป็นพาราก๊าฟ อ่านลำบากมาก
> Golffee 15:25, 6 มกราคม 2006 (UTC)
ขออนุญาตเพิ่มเติมกรณีชื่อเฉพาะ (เพิ่งนึกได้ '_') : สังเกตนะครับว่า มันมีการ "เคาะเว้นวรรค" คั่นไว้ด้วย จะช่วยให้อ่านง่ายขึ้นและช่วยเน้นไปในตัว ใครใช้ไมโครซอฟต์เวิร์ดคงจะชินนะครับ ถ้าจะใส่ "อัญประกาศเปิด" ต้องเคาะเว้นวรรคหนึ่งทีก่อน ถ้าไม่ยอมเคาะมันจะใส่ "อัญประกาศปิด" ให้เลย ตามลำดับดังนี้
- เคาะเว้นวรรค-อัญประกาศเปิด- (พิมพ์คำ) แอลกอฮอล์-อัญประกาศปิด-เคาะเว้นวรรค-วงเล็บเปิด- (พิมพ์คำ) alcohol-วงเล็บปิด-เคาะเว้นวรรค
> Golffee 15:25, 6 มกราคม 2006 (UTC)
ศัพท์การทูต/การต่างประเทศ
ผมเพิ่ม คำศัพท์-คำย่อทางการทูต] โดยกระทรวงการต่างประเทศ ไว้ใน วิกิพีเดีย:แหล่งความรู้ที่เผยแพร่ นะครับ -- bact' คุย 13:35, 6 มกราคม 2006 (UTC)
ชื่อภาษาไทยของพื้นที่ในเยอรมนี (และที่อื่น ๆ)
สวัสดีครับ รบกวนหน่อยเรื่องชื่อเมือง (ตามภาษาเยอรมัน) เป็นภาษาไทย หรือสามารถหาได้ที่ไหนหรือเปล่าครับ เมืองต่อไปนี้
Aachen, Trier, Saarbrucken, Freiburg, Konstanz, Stuttgart, Augsburg, Munchen, Regensburg, Passau, Nurnberg, Wurzburg, Wiesbaden, Frankfurt-M, Fulda, Erfurt, Dresden, Leipzig, Halle, Dortmund, Essen, Dusseldorf, Duisburg, Munster, Osnabruck, Hannover, Magdeburg, Berlin, Frankfurt-o, Torgelow, Rostock, Schwerin, Hamburg, Wilhelmshaven, Cuxhaven, Lubeck, Rostock, Kiel, Flensburg
ขอบคุณมากครับ --Manop | พูดคุย - 00:24, 8 มกราคม 2006 (UTC)
เท่าที่เห็น ชื่อเมือง/แคว้นส่วนใหญ่ในเยอรมนี ในภาษาไทยจะอ่านตามภาษาอังกฤษครับ เช่น
- München ในภาษาเยอรมัน คือ Munich ในภาษาอังกฤษ และ มิวนิก ในภาษาไทย (ตามภาษาอังกฤษ)
- Köln / Cologne / โคโลญ
- Bayern / Bavaria / บาวาเรีย (แต่เดี๋ยวนี้มีใช้ บาเยิร์น บ้าง ตามความนิยมของชื่อสโมสรฟุตบอล)
ส่วน Frankfurt-M กับ Frankfurt-o นี่ M กับ O คืออักษรย่อของแม่น้ำครับ เพื่อกันความสับสน:
- Frankfurt / en:Frankfurt am Main (แฟรงค์เฟิร์ต อัม ไมน์ หมายถึง เมืองแฟรงค์เฟิร์ตบนแม่น้ำไมน์)
- Frankfurt (Oder) / en:Frankfurt an der Oder (แฟรงค์เฟิร์ต อัน เดอร์ โอเดอร์ หมายถึง เมืองแฟรงค์เฟิร์ตบนแม่น้ำโอเดอร์)
เมือง Frankfurt ที่คนส่วนใหญ่รู้จัก จะเป็น Frankfurt am Main ครับ (เป็นศูนย์กลางการเงินของประเทศ) ถ้าเกิดเห็นเขียนโดด ๆ ไม่มี M หรือ O กำกับ ก็จะหมายถึง Frankfurt am Main ครับ
ชื่อทางภูมิศาสตร์ต่าง ๆ แนะนำให้ใช้ตามที่ทีม Thai L10n ได้แปลไว้ที่นี่ครับ http://l10n-status.gnome.org/gnome-2.14/PO/gnome-applets-locations.HEAD.th.po โดยได้อ้างอิงจากพจนานุกรม, ประกาศสำนักนายก, เว็บไซต์กระทวงการต่างประเทศ และแหล่งอื่น ๆ ครับ (เช่น ชื่อเมือง Aachen นั้น ไม่พบแหล่งอ้างอิงจากราชการ จึงใช้ตามเว็บไซต์นักเรียนไทยในอาเค่นครับ) -- bact' คุย 12:33, 8 มกราคม 2006 (UTC)
สำหรับชุดคำแปลล่าสุดนี่ สามารถโหลดดูได้จาก CVS ของโครงการ GNOME ครับ ดูวิธีได้ที่ http://gnome-th.sourceforge.net/
แต่ถ้าไม่อยากยุ่งยาก สามารถดูได้ที่ http://l10n-status.gnome.org/ (ไม่อัปเดตเท่า แต่ก็ใช้ได้)
- ดูด้านซ้าย ตรง Release แล้วเลือกรุ่น GNOME ที่ใหม่ที่สุด
- เลือก Thai (th)
- Desktop
- gnome-applets-locations
-- bact' คุย 12:39, 8 มกราคม 2006 (UTC)
- ขอบคุณครับ แต่หาไม่เจอหลายเมืองเหมือนกัน กะว่าจะเอาไปใส่ใน ฟุตบอลโลก 2006ด้วย แต่เดี๋ยวรอ แอนดี้ มาแล้วเดี๋ยวผมรบกวนแอนดี้แทนครับ --Manop | พูดคุย - 09:55, 9 มกราคม 2006 (UTC)
เว็บราชบัณฑิตใหม่
หน้าตาสวยขึ้น มีเรื่องใหม่ ๆ ให้อ่าน ลองไปดูได้ที่ http://www.royin.go.th/ -- bact' คุย 14:58, 8 มกราคม 2006 (UTC)
AG อ่านแบบไหนดี ? เอจี vs อาเก vs ... ? ภาษาเยอรมัน
ตัวย่อ AG ที่เราเห็นต่อท้ายชื่อบริษัทที่มาจากเยอรมนี/ประเทศที่พูดภาษาเยอรมันนั้น (เช่น เอสเอพี เอจี เชริ่ง) ย่อมาจาก Aktiengesellschaft หมายถึง "บริษัทจำกัด (มหาชน) "
ทีนี้ เราจะอ่าน/ถอดเสียง AG กันยังไงดี ?
ที่เห็นกันเยอะ ๆ ก็คือ อ่านเหมือนมันเป็นภาษาอังกฤษ คือ "เอจี"
หรือจะตามภาษาเยอรมัน ก็ต้องเป็น "อาเก"
หรืออย่าง GmbH (บริษัทจำกัด) จะเป็น "จีเอ็มบีเอช" (อเมริกัน) / "จีเอ็มบีเฮช" (อังกฤษ) .. หรือ "เกเอ็มเบฮา" (เยอรมัน) ? โอ่ย - -
เราควรจะอ่านแบบไหนดีครับ ?
- แบบที่คนไทยคุ้นหู ? (แบบไหนผมก็ไม่รู้) ?
- แบบที่มันถูกต้องตามเจ้าของภาษา (ภาษาที่พูดในประเทศของบริษัทนั้น) ?
- ..อื่น ๆ...
ต่อเนื่องจากประเด็นนั้น ประเด็นถัดมาก็คือ ถ้าตาม (2) นี่ เอสเอพี เอจี ก็อาจจะต้องเปลี่ยนเป็น อาเอสเพ อาเก ด้วย .. ปวดหัวดิ - -"
จะเอาไงดีเนี่ย
(ทั้งนี้มีข้อยกเว้น, ตามนโยบายการตั้งชื่ออื่น ๆ, ก็คือ ถ้าเกิดบริษัทนั้นมีมาตั้งในเมืองไทย ก็ให้ใช้ชื่อตามที่ตัวบริษัทนั้นใช้ เช่นกรณีของ เชริ่ง อันนี้ชัดเจน)
...-based ควรแปลอย่างไร?
คำศัพท์ในภาษาอังกฤษโดยเฉพาะทางด้านคอมพิวเตอร์มีอยู่หลายคำที่จัดอยู่ในพวก [...-based] เช่น computer-based, thread-based, automata-based, ฯลฯ ควรแปลอย่างไรดีครับ?
เห็นว่ามีการแปล computer-based information system ว่า ระบบสารสนเทศบนพื้นฐานคอมพิวเตอร์ ควรจะแปลว่า บนพื้นฐาน... รึเปล่าครับ? สำหรับการแปลโดยใช้คำอื่นที่ผมนึกออก เช่นจะแปล thread-based -> บนพื้นฐานเทร็ด or เชิงเทร็ด or แบบเทร็ด. ผมว่าควรจะกำหนดเป็นมาตรฐานไว้เลยก็ดีนะครับ เห็นว่าอย่างไรกันบ้างครับ?--Chaiwat 07:54, 25 มกราคม 2006 (UTC)
เพิ่มกันมาเลย
- บนพื้นฐานxxx
- แบบxxx
- แนวxxx
- เชิงxxx
- อย่างxxx
-- bact' คุย 12:41, 27 มกราคม 2006 (UTC)
- ไม่รู้เหมือนกันว่าแปลว่าอะไร แต่ฝากสองคำครับ computer-based TOEFL test, paper-based TOEFL test--Manop | พูดคุย - 16:47, 27 มกราคม 2006 (UTC)
- เนื่องจากว่า รูปแบบ -based เป็นไวยกรณ์ของภาษาอังกฤษ ดังนั้น ปกติผมจะแปลตามบริบทมากกว่า เช่น
- web-based game = เกมเล่นบนเว็บ
- computer/paper-based TOEFL test = แบบทดสอบ TOEFL ด้วยคอมพิวเตอร์/กระดาษ
- --PaePae 14:46, 29 มกราคม 2006 (UTC)
กฎ vs กฎ
เมื่อไหร่ใช้ กฎ (ปฏัก) เมื่อไหร่ใช้ กฎ (ชฎา) ครับ ?
- ปรากฏ ใช้อะไร ?
- กฎหมาย ใช้อะไร ? (ชฎา ?)
-- bact' คุย 14:28, 29 มกราคม 2006 (UTC)
- เท่าที่ผมทราบ มีเฉพาะคำว่า "ปรากฏ" ที่ใช้ "ฏ ปฏัก" ครับ :-) -- PaePae 14:42, 29 มกราคม 2006 (UTC)
ขอเท้าความครับ อักษร ฎ และ ฏ แทบทั้งหมดในภาษาไทย มาจากคำบาลีสันสกฤต ซึ่งของเขา ไม่มี ฎ แต่พอมาถึงภาษาไทย แยกใช้ ฎ ชฎาบ้าง ฏ ปฏักบ้าง ก็เลยสับสน (ลองตรวจสอบเบื้องต้นกับ คำที่มักเขียนผิด ด้วยนะครับ) เท่าที่พบ
- ฏ ปฏัก : ปรากฏ ปรากฏการณ์ กุฏิ ปาฏิโมกข์ และชื่อเฉพาะเกี่ยวกับพุทธศาสนา เช่น มหามกุฏราชวิทยาลัย
- ฎ ชฎา : กฎหมาย ชฎา ชฎิล (ใช้ ชฏิล ก็ได้) ฎีกา มงกุฎ มกุฎ กรกฎา
ดู ๆ แล้วก็ไม่สู้จะมีหลักที่แน่นอน ต้องจำลูกเดียวครับ --ธวัชชัย 15:37, 29 มกราคม 2006 (UTC)
เลขไทย
อยากร่างนโยบายในหน้า วิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน พอดี ผู้ใช้:Mdaถามมาอีกทีนะครับ เลยคิดว่าน่าจะเขียนขึ้นมาว่า การใช้เลขไทยในบทความเป็นอย่างไรดี ช่วยแสดงความเห็น และร่วมกันร่างกันนะครับ
- ความคิดเห็นส่วนตัวผม กังวลเรื่องชื่อบทความนะครับ อยากให้ชื่อบทความเป็นเลขอารบิกหมด ยกเว้นชื่อเฉพาะที่เห็นได้ทั่วไป เพราะถ้าวิกิเริ่มโตขึ้นเรื่อย ๆ แล้วถ้าคนนึงเขียนชื่อบทความเป็นเลขไทย อีกคนเป็นเลขอารบิก จะกลายเป็นว่ามีบทความสองบทความ เนื้อหาใกล้เคียงกันออกมาเรื่อย ๆ ส่วนในเนื้อหาผมไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไร แต่แค่อยากให้เป็นว่าถ้าเป็นเลขไทยก็อยากให้เป็นเลขไทยหมด ถ้าเป็นอารบิกก็อารบิกหมดครับ --Manop | พูดคุย - 17:14, 26 กุมภาพันธ์ 2006 (UTC)
โดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องใช้เลขไทย แม้แต่ในบทความเกี่ยวกับพระราชวงศ์ก็ตาม อันนี้เคยออกความเห็นไว้นานแล้ว
- วิกิพีเดีย:นโยบาย - รุ่นเมื่อ 04:39, 15 พฤศจิกายน 2004
- วิกิพีเดีย:นโยบาย - รุ่นเมื่อ 23:23, 9 ธันวาคม 2004
ซึ่งปัจจุบันก็เป็นส่วนหนึ่งใน วิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน#ตัวเลข ครับ -- PaePae 11:27, 5 มีนาคม 2006 (UTC)
ยศนำหน้าชื่อ
อยากร่างนโยบายในหน้า วิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน เหมือนกันครับ--Manop | พูดคุย - 17:14, 26 กุมภาพันธ์ 2006 (UTC)
- เห็นมีเรื่องชื่อบทความว่า ยศในบางลักษณะจำเป็นต้องติดกับชื่อตลอด (อันนี้ผมไม่ค่อยเข้าใจเท่าไร) แต่ถ้าจำเป็นจริง ๆ อาจจะต้องมาเปลี่ยนนโยบายกันครับ อย่างไรอาจจะมาช่วยกันคิดหาวิธีการกัน
ชื่อคนจีน
เห็นเคยมีสรุปว่า ให้ใช้สกุลนำหน้าชื่อ เหมือน โจวเหวินฟะ นะครับ แ้ล้ว อั้งลี่ หรือ ลี่อั้ง ดีครับเนี่ยอันนี้ (李安 - Lǐ Ān) --Manop | พูดคุย - 23:04, 10 มีนาคม 2006 (UTC)
- ชื่อ 李安 เสียงจีนกลาง (อ่านจากพินอิน) อ่านว่า หลี่อัน ครับ ในกรณีนี้ชื่อบทความอาจเลือกระหว่าง หลี่อัน (ตามเสียงจีนกลาง) กับ อัง ลี หรือ แอง ลี (ตามความนิยมของชาวตะวันตก) ก็ได้ แต่ควรเก็บการสะกดแบบอื่นไว้ในตัวบทความด้วย ส่วนตัวผมนิยมเสียงจีนกลางมากกว่า อีกเรื่องหนึ่ง ชื่อคนจีนเมื่อถอดเป็นอักษรไทยไม่นิยมเว้นวรรคระหว่างแซ่กับชื่อครับ --Phisite 02:53, 14 มีนาคม 2006 (UTC)
- ผมว่าใช้เสียงจีนกลางน่าจะเหมาะสมกว่านะครับ (อาจจะต้องตามไปแก้?) เห็นชัด ๆ ก็พวกชื่อดาราเช่น Zhang Zi Yi จริง ๆ ควรเป็น จางจื้ออี่ ไม่ใช่ จางซียี่ กรณี Lǐ Ān ก็น่าจะเป็นหลีอันนะครับ -- Keng 03:38, 14 มีนาคม 2006 (UTC)
- ตามพินอินและพจนานุกรมอ่านว่า หลี่อัน ครับ วิธีอ่านว่าเป็น "ลี", "หลี", "หลี่" หรือ "ลี่" ดูได้จากสัญลักษณ์เหนือสระครับ ดูเพิ่มได้จาก พินอิน#การใส่วรรณยุกต์ -- Lerdsuwa 13:51, 14 มีนาคม 2006 (UTC)
- อ่อ ขออภัยครับ หลี่ อัน ครับ (ใน editor ผมเห็นเป็น Li (1) อ่ะ T_T -- Keng 15:15, 16 มีนาคม 2006 (UTC)
- ผมว่าใช้เสียงจีนกลางน่าจะเหมาะสมกว่านะครับ (อาจจะต้องตามไปแก้?) เห็นชัด ๆ ก็พวกชื่อดาราเช่น Zhang Zi Yi จริง ๆ ควรเป็น จางจื้ออี่ ไม่ใช่ จางซียี่ กรณี Lǐ Ān ก็น่าจะเป็นหลีอันนะครับ -- Keng 03:38, 14 มีนาคม 2006 (UTC)
เมือง จังหวัด เขตการปกครอง ประเทศญี่ปุ่น
ถ้ามีใครรู้เว็บไหนที่มีชื่อที่สะกด เหมือนกับ รายชื่อเขตการปกครอง พอดีนั่งแปลชื่อแล้วมันทะแม่ง ๆ ในส่วน แม่แบบ:เขตการปกครองในญี่ปุ่น ครับ --Manop | พูดคุย - 21:34, 15 มีนาคม 2006 (UTC)
หมวดหมู่ "ชาวไทย" "บุคคลไทย" หรือ "บุคคลชาวไทย"
- ถ้าได้ข้อสรุปในส่วนนี้แล้ว ให้นำเขียนเพิ่มใน วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ
- ปัญหา หมวดหมู่ซ้ำซ้อน เช่นใน หมวดหมู่:บุคคลไทย และ หมวดหมู่:ชาวไทย
เห็นตอนนี้มีความเห็นหลายแบบนะครับ ว่าจะเรียกโดยใช้คำว่า "ชาว" หรือ "บุคคล" ในการจัดหมวดหมู่ เพราะตอนนี้มีซึ่งซ้ำซ้อนกัน และนอกจากนี้ยังมีอีกมากมาย อาทิ เช่น บุคคลอังกฤษ บุคคลจีน ชาวอังกฤษ ชาวเชียงใหม่ ชาวสุพรรณบุรี และอื่น ๆ เลยคิดว่าน่าจะมีข้อตกลงและนำไปเขียนในหน้านโยบายในการตั้งชื่อเพิ่มเติมครับ ฝากคนอื่นเสนอความเห็นเพิ่มเติมครับ มีอีกความเห็นหนึ่งคือใช้คำว่า "คน" แทนที่ "ชาว" หรือ "บุคคล" เช่น คนไทย คนอังกฤษ คนเชียงใหม่ คนกรุงเทพ --Manop | พูดคุย - 07:15, 30 สิงหาคม 2006 (UTC)
- น่าจะใช้ "ชาว" นะครับ จะว่าไป ความหมายน่าจะเหมือนกัน แต่คำว่า ชาว เข้าใจได้ง่ายกว่า สำหรับผู้ใช้ทั้งหมด --ธวัชชัย 00:42, 31 สิงหาคม 2006 (UTC)
- สนับสนุน ชาว ครับ ถ้าเปิดพจนานุกรมจะเห็นว่า "ชาว" ใช้กับกลุ่มคนที่มีเชื้อชาติ ถิ่นฐาน อาชีพ หรือศาสนาเดียวกัน ยกตัวอย่างด้วยว่า ชาวไทย ชาวจีน ชาวไร่ ชาวพุทธ แต่ในคำว่า "คน" หมายถึง มนุษย์ ไม่ได้ยกตัวอย่างเลยว่า คนไทย คนจีน ผมจึงอนุมานเอาเองว่า คนไทย คนจีน คนเชียงใหม่ ฯลฯ อาจจะเป็นภาษาปากมากกว่าภาษาทางการ --Pi@k 03:18, 31 สิงหาคม 2006 (UTC)
- ชาว ดีกว่ามั้งครับ พออ่านแล้ว ก็รู้สึกว่า ชาว จะดูลื่นไหลกว่าด้วย Mda
- เห็นด้วยกับ ชาว อีกคนครับ -- Lerdsuwa 15:33, 31 สิงหาคม 2006 (UTC)
ที่ถูกต้องน่าจะเป็น "บุคคลชาวไทย" ก็ได้ บุคคลบ่งชี้ถึงเฉพาะตัวคนที่กล่าวถึง ส่วน "ชาว" หมายถึงกลุ่มคนจำนวนมากที่มีการร่วมในปัจัยใดปัจจัยหนึ่ง เช่นชาวธรรมศาสตร์ ชาวมอญ ชาววิกิ แต่ถ้าจะให้กะทัดรัด อาจใช้ "บุคคลไทย" จะดีกว่าใช้ "ชาวไทย" ราชบัณฑิตยสถานก็ได้บัญญัติไว้ว่า บุคคล = คน (เฉพาะตัว) ส่วนใหญ่ในวิกิเราก็ใช้กล่าวถึงบุคคลเฉพาะตัวอยู่แล้วนะครับ สำหรับผม จะใช้บุคคลชาวไทย หรือ บุคคลไทยก็เข้าใจได้Heuristics 12:07, 31 สิงหาคม 2006 (UTC)
- ความเห็นผมนะ คำว่า 'ชาว' ฟังดูโอเค เป็นภาษาที่เราคุ้นชินกันอยู่แล้ว และก็มักจะใช้กันในภาษาทางการอย่างภาษาเขียน (หรือภาษาพิมพ์ในโลกไซเบอร์), คำว่า 'คน' ที่จริงแล้วก็ใช้ได้เหมือนกัน แต่คนส่วนใหญ่ไปให้ค่ามันว่า มันเป็นคำที่ควรใช้ในการพูดมากกว่า, ส่วนคำว่า 'บุคคล' ผมชินกับคำนี้ในฐานะที่มันเข้าไปอธิบายกลุ่มคนเฉพาะกลุ่ม อย่างบุคคลสำคัญในด้านต่าง ๆ เช่นด้านกีฬา ด้านวิทยาศาสตร์ อะไรพวกนี้ มันเหมือนมีจุดร่วมกัน แต่เป็นเรื่องเฉพาะเจาะจงมากกว่าสัญชาติจริง ๆ
- แต่ยังไงก็ตามครับ คำใดที่จะเป็น คำพูด คำใดที่จะเป็น คำเขียน สิ่งเหล่านี้ถูกให้ค่าจากคนกลุ่มหนึ่งที่ใช้ภาษานี้ในการสื่อสาร ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจนัก และมันก็ไม่มีอะไรมารับรองด้วยว่า ใช้คำนี้แล้วจะถูก ใช้คำนี้แล้วจะผิด ใครเป็นคนตัดสิน ความจริง หรือความรู้สึก? สรุปแล้ว ก็อยู่ที่คุณ คุณเห็นว่าคำไหนเหมาะสม ใช้เลย ผมขอไม่ส่ง SMS ไปโหวตให้คำไหนอยู่ต่อแล้วกันนะ -- Glass mask หลังโครงสร้างนิยม วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2549, วันศุกร์, เวลาตีหนึ่ง สิบสี่นาที
- สำหรับ "บุคคลไทย" นั้น หมายถึง คนแต่ละคน แต่ควรจะใช้ชื่อ "หมวดหมู่:ชาวไทย" มากกว่า เพราะการใส่ "หมวดหมู่" คือ การจัดรวมเอา "บุคคลไทย" มาอยู่รวมด้วยกัน ซึ่งไม่ใช่การกล่าวเฉพาะตัวบุคคลอีกต่อไป --ScorpianPK 18:30, 31 สิงหาคม 2006 (UTC)
- เห็นด้วยกับการใช้คำว่า ชาว ในการจัดหมวดหมู่นะคะ ส่วนคำว่า "บุคคล" อย่าง "บุคคลไทย" น่าจะใช้สำหรับการเรียกเฉพาะตัวเฉพาะบุคคลไปค่ะ --TuMmY-- 15:10, 2 กันยายน 2006 (UTC)
- อะไรก็ได้ครับ แต่ผมว่า "ชาวไทย" ก็ดีแล้ว ถึงจะดูเป็นทางการน้อยกว่าแต่ก็สื่อความหมายได้แล้วครับ ไม่ต้องใช้คำว่าบุคคลก็ได้ ยังไงก็ตามก็ควรเปลี่ยนของประเทศอื่น ๆ ให้เป็นแบบเดียวกันด้วยนะครับ Potapt 12:09, 5 กันยายน 2006 (UTC)
ย้ายเสร็จหมดเรียบร้อยแล้วครับ ถ้าอันไหนลงเหลืออยู่คลาดสายตาไป ฝากเพื่อน ๆ ช่วยกันย้ายด้วยครับ --Manop | พูดคุย - 19:36, 12 กันยายน 2006 (UTC)
พ.ศ. และ ค.ศ.
บทความต่าง ๆ ใน วิกิพีเดียไทย ควรอ้างอิง เป็น พ.ศ. หรือเปล่าครับ หรือไม่จำเป็นสามารถอิงเป็น ค.ศ. ได้เลย เพราะเห็นหลาย ๆ บทความ จะใช้ ค.ศ. อาจจะเพราะแปลมาจาก วิกิ english หรือตามเว็บไซต์ ภาษาอังกฤษ โดยส่วนตัว ผมว่าน่าจะใช้ พ.ศ. มากกว่า ขอความเห็นหน่อยครับ ?
- ตามคู่มือการเขียน แนะนำให้ใช้ พ.ศ. เป็นหลักเช่นกันครับ แต่ไม่ได้บังคับว่าต้องเป็นอย่างนั้น คงแล้วแต่ความสะดวก ส่วนตัวผมก็ชอบใช้ พ.ศ. เป็นหลักมากกว่า --Pi@k 04:36, 31 ตุลาคม 2006 (UTC)
- ของผมใช้ พ.ศ. เป็นหลักเช่นกันครับ ยกเว้นแต่ชื่อเฉพาะในการแข่งขันฟุตบอลจะใช้เป็นปีค.ศ. กำกับ เช่น ฟุตบอลโลก 2006, เอเชียนคัพ 2007, หรือ พรีเมียร์ลีก 06/07 --Manop | พูดคุย - 05:55, 31 ตุลาคม 2006 (UTC)
ชื่อบทความประเทศต่าง ๆ
คือผมเข้าใจว่า บทความเกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ควรจะใช้ชื่อทางการอย่างสั้น แต่พอดูชื่อบทความแล้ว บางประเทศผมคิดว่า น่าจะมีชื่อที่สั้นกว่านี้ได้ ก็เลยไม่แน่ใจว่า มีหลักการอะไรในการตั้งชื่อครับ ตัวอย่าง สาธารณรัฐคอสตาริกา สาธารณรัฐกัวเตมาลา สาธารณรัฐนิการากัว สาธารณรัฐเอลซัลวาดอร์ สาธารณรัฐปานามา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหพันธรัฐรัสเซีย รวมถึง สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เข้าใจว่าบางประเทศ ชื่ออย่างสั้นก็จะยังมีคำที่ระบุรูปแบบรัฐ เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สาธารณรัฐเช็ก นครรัฐวาติกัน แต่ผมคิดว่าประเทศที่ยกมาข้างบน น่าจะใช้เป็น ประเทศเยอรมนี ประเทศรัสเซีย ประเทศลาว เป็นชื่ออย่างสั้นได้นี่ครับ เพราะขนาดสวิตเซอร์แลนด์ก็ยังใช้ว่า ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไม่ใช่ สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งก็เป็นชื่อที่รู้จักกันทั่วไปเช่นกัน
- น่าสนใจครับอันนี้ ผมเองก็เห็นหลายอันเหมือนกัน บางอันก็ใช้ชื่อยาวบางอันใช้ชื่อสั้น แต่อย่างหน้า ประเทศไทย ก็ใช้ชื่อสั้น ไม่ใช้คำว่า ราชอาณาจักรไทย ครับ --Manop | พูดคุย - 07:20, 2 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
อีกเรื่องหนึ่ง ที่ไม่เกี่ยวกับการใช้ภาษา แต่ก็เกี่ยวเนื่องกับบทความกลุ่มเดียวกัน ก็ขออนุญาตถามไปพร้อมกัน คือ ในการจัดหมวดหมู่ ในหมวดหมู่ประเทศในทวีป... หากมีหมวดหมู่ย่อยเป็นของประเทศนั้นแล้ว ยังต้องมีตัวบทความในหน้าหมวดหมู่หลักไหมครับ (เช่น บทความประเทศกรีซ จัดหมวดหมู่เฉพาะ หมวดหมู่:ประเทศกรีซ หรือว่าต้องใส่ใน หมวดหมู่:ประเทศในทวีปยุโรปด้วยครับ เพราะเท่าที่ดู ยังไม่ค่อยเป็นมาตรฐานเท่าไรนัก CW32 17:31, 31 ตุลาคม 2006 (UTC)
- ตอนนี้เห็นมีผู้ใช้สองสามคนนั่งไล่เก็บหมวดหมู่ย่อยเข้าไปครับ อย่างถ้าประเทศกรีซ ก็อยู่ในหมวดหมู่ประเทศของตัวเอง และหมวดหมู่นั้นก็จะอยู่ใน ทวีปยุโรปอีกทีหนึ่งครับ เพราะจะได้ไม่มีซ้ำซ้อนกันครับ --Manop | พูดคุย - 07:20, 2 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- ขอให้จัดลงหมวดหมู่ย่อยเลย อย่าจัดซ้ำกับหมวดหมู่หลักอีก กำลังพยายามจัดการกับหมวดหมู่ซ้ำซ้อนอยู่ครับ Saeng Petchchai 22:07, 5 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
ตกลงเรื่องชื่อบทความ เอาอย่างไรดีครับ ผมขอเสนอให้ใช้ชื่ออย่างสั้น โดยตั้งชื่อบทความว่า ประเทศ ตามด้วยชื่ออย่างสั้น ที่อยู่หน้าเครื่องหมายโคลอนในหน้า [8] (จริง ๆ จะตั้งชื่ออย่างสั้นหรือยาวก็ได้ครับ แต่น่าจะเป็นมาตรฐานเดียวกัน) ทีนี้ก็สงสัยอีกนิดนึง กรณีที่ว่าใช้ชื่ออย่างสั้น ควรจะเป็น สหราชอาณาจักร หรือประเทศสหราชอาณาจักร (เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐเช็ก หมู่เกาะโซโลมอน ฯลฯ) หรือถ้าเปลี่ยนไปใช้ชื่อเต็มให้หมด (สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ราชอาณาจักรไทย ฯลฯ) ดีครับ cW32 talk 11:06, 22 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- งั้นผมว่าเอาเป็นชื่อ "ประเทศ" ตามด้วยชื่ออย่างสั้นนะครับ จะพยายามไล่เปลี่ยน เพราะตอนนี้ชื่อส่วนใหญ่ก็เป็นชื่ออย่างสั้นแล้ว เหมือนกับชื่อที่เป็นของหมวดหมู่ แต่ถามเพิ่มครับ สำหรับ
- ประเทศจีน / ไต้หวัน - สาธารณรัฐประชาชนจีน / สาธารณรัฐจีน
- คองโก ว่าจะใช้ชื่ออะไรดีครับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก / สาธารณรัฐคองโก
- นครรัฐวาติกัน
- อังกฤษ เห็นว่าใช้คำว่า แคว้นอังกฤษ
ครับ --Manop | พูดคุย - 21:54, 7 ธันวาคม 2006 (UTC)
ในกรณีของประเทศคองโก ราชบัณฑิตฯให้คองโกเป็นชื่ออย่างสั้นของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แต่ว่าทั้งสองประเทศก็เคยถูกเรียกอย่างสั้นว่าคองโก น้ำหนักสองประเทศก็ไม่ต่างกันมาก อาจจะต้องตั้งชื่อเต็มทั้งคู่เพื่อแยกความแตกต่าง (สาธารณรัฐคองโกไม่มีชื่อสั้นในภาษาไทยอยู่แล้ว) สำหรับกรณีประเทศจีนกับไต้หวัน คำว่าประเทศจีนมักจะใช้เรียกถึงจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งปัจจุบันก็อยู่ภายใต้สาธารณรัฐประชาชนจีน ดังนั้น ในความเห็นของผม อาจจะตั้งชื่อประเทศจีนให้สาธารณรัฐประชาชนจีน (ตอนนี้ก็เป็นหน้าเปลี่ยนทางอยู่แล้ว) ส่วนไต้หวันก็อาจจะคงไว้อย่างเดิม (ที่สาธารณรัฐจีน) หรือถ้าคิดว่ามีความกำกวมหรือไม่เป็นกลาง ก็อาจจะต้องตั้งชื่อเต็มทั้งคู่แล้วตั้งหน้าแก้กำกวม (ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นเท่าไหร่) ส่วนนครรัฐวาติกัน น่าจะเป็นชื่อนี้ เหมือนกับสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐเช็ก ฯลฯ เรื่องประเทศอังกฤษ คงต้องเลือกวิธีที่จะให้สอดคล้องกับเวลส์ สกอตแลนด์ ไม่มั่นใจว่าคำว่าประเทศ กับ country นั้นตรงกันทุกประการหรือเปล่า เพราะว่าภาษาอังกฤษก็เรียกอังกฤษว่าเป็น country (countries within a country) จากความหมายในวิกิพีเดียไทย บอกว่าประเทศจะมีอธิปไตยสมบูรณ์ ซึ่งมันก็จะตรงกับคำว่ารัฐ ดู ๆ แล้วก็สับสนเหมือนกัน คำว่าประเทศอังกฤษอาจจะกระชับแล้วก็คุ้นเคยที่สุด kinkku ananas (talk) 08:25, 8 ธันวาคม 2006 (UTC)
ย่อหน้า
ข้อแตกต่างของภาษาอังกฤษกับไทยอย่างหนึ่งก็คือ ภาษาไทยเรานิยมใช้ย่อหน้าครับ ผมเลยลองทำแม่แบบ {{p}} สำหรับเอามาใช้ในหน้าบทความภาษาไทย ขอเสนอไว้ให้พิจารณา --Pi@k 14:05, 1 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- ส่วนตัวผมไม่มีปัญหาครับ ย่อหน้าหรือไม่ย่อหน้า เพราะเริ่มชินกับแบบไม่ย่อหน้านี้แล้วครับ แต่ถ้าจะปรับแก้ทุกบทความ อาจจะแก้ที่ตัว CSS ไฟล์ได้เลยนะครับ ใช้เป็น style="text-indent: 3em;" และแก้ใน <p> และทุกย่อหน้าจะย่อเข้ามาให้อัตโนมัติ แสดงผลเหมือนด้านล่างครับ --Manop | พูดคุย - 07:20, 2 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
ตัวอย่าง
- ขอบคุณครับ ถ้าอย่างนั้นคงต้องรอฟังความเห็นหลาย ๆ คน เพราะมีผลกระทบไปหมดเลย --Pi@k 07:44, 2 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
จะว่าไปก็คุ้นกับการไม่ย่อหน้าเสียแล้ว ถ้าย่อหน้า ก็ไม่ต้องบรรทัดใช่ไหมครับ ไม่ทราบว่ามีผลกับการใส่ภาพ ตาราง หรืออื่น ๆ หรือเปล่า ถ้าไม่มีปัญหา ก็น่าลองดูก่อนสักพัก แล้วค่อยลงมติอีกที --ธวัชชัย 05:23, 3 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- ได้ลองย่อหน้าโดยแก้ไฟล์ monobook.css ของตัวเองตามที่คุณ Manop แนะนำ ผมว่าไม่เลวทีเดียวครับ อ่านง่ายขึ้นเยอะเลย ขอผลักดันอีกสักรอบให้นำมาใช้แบบ global --Pi@k 02:13, 4 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- เห็นด้วยกับการจัดย่อหน้าครับ ตอนเริ่มเขียนใหม่ ๆ พยายามจัดเหมือนกันแต่ไม่ค่อยได้ผล ขอให้เป็นแบบอัตโนมัติ เหมือนการจัดชิดริมแบบเดิมนะครับ Saeng Petchchai 22:07, 5 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- รู้สึกว่ามีหลายท่านที่อยากให้มีการจัดย่อหน้า และไม่มีใครคัดค้านด้วย ผมว่าลองเปลี่ยนเลยดีไหมครับ แต่จะย่อหน้าเท่าไรดีครับ
1 em
2 em (จะเท่ากับการใช้เครื่องหมาย :)
3 em
- -TuMmY- - 06:17, 6 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
โหวตแบบ 3 em ครับ Saeng Petchchai 16:12, 6 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
ลอง 3em ก่อนก็ได้ครับ --Pi@k 04:23, 7 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- ดูดีมากครับ แต่บางหัวข้อ (แบบมีบรรทัดเดียว) พอมีย่อหน้าแล้วมันดูยังไงยังไงอยู่นะครับ แล้วคนอื่นคิดว่าอย่างไรครับ Prince 14:55, 12 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
ชาวอเมริกันหรือชาวสหรัฐอเมริกา???
ขอเสนอให้เปลี่ยนชาวอเมริกันเป็นชาวสหรัฐอเมริกา เหตุผลคือ
- โดยความหมายตามตัวอักษร ชาวอเมริกันอาจหมายถึงผู้อาศัยในทวีปอเมริกาทั้งหมด ไม่เจาะจงประเทศเหมือนชาวเยอรมัน ชาวดัตซ์
- ในหนังสือและหนังสือพิมพ์จะพบคำว่าชาวสหรัฐอเมริกามากกว่า
ช่วยออกความเห็นหน่อยครับ Saeng Petchchai 20:05, 17 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- เข้าใจมาตลอดว่า ชาวอเมริกัน คือ ผู้อาศัยที่ประเทศอเมริกา แต่ถ้ามันไม่เจาะจงดังเหตุผลข้างต้น ผมก็สนับสนุนให้เปลี่ยนนะครับ --ScorpianPK 20:10, 17 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- ที่ผมเสนอให้เปลี่ยนเหตุผลหลัก คืออยากให้วิกิไทย มีความเป็นมาตรฐานเดียวกัน ส่วนใหญ่หมวดหมู่แบ่งตามสัญชาติใช้ชาว + ชื่อประเทศ จึงอยากให้ใช้เหมือนกันทั้งหมด จะได้ไม่สับสนต่อไปข้างหน้า ที่สำคัญคือชื่อหมวดหมู่ทำหน้าเปลี่ยนทางไม่ได้ ไม่ใช่หรือครับ??? Saeng Petchchai 17:41, 18 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- ความเห็นเป็นกลาง (neutral) ผมคิดว่า ในบริบทของภาษาไทย คำว่าอเมริกันจะเป็นคำที่ยึดกับประเทศสหรัฐอเมริกามากกว่าทวีปอเมริกานะครับ เพราะถ้าคนไทยพูดว่า ประเทศอเมริกัน เราจะเข้าใจว่าเป็นสหรัฐฯ ไม่ใช่หมายถึงประเทศในทวีปอเมริกา (American country/ies) และในหลักของราชบัณฑิตฯ ก็กำหนดว่าคำคุณศัพท์ของสหรัฐอเมริกา ใช้คำว่าอเมริกัน [9] ส่วนในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ก็ใช้คำว่า en:หมวดหมู่:American people ซึ่งเป็นหมวดหมู่ย่อยของ en:หมวดหมู่:North American people (แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องยึดตามวิกิอังกฤษ) เห็นว่าไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน แต่ไม่คัดค้านการเปลี่ยนครับ (แต่จะว่าไป ในนั้นใช้ชาวเนเธอร์แลนด์ ไม่ใช่ชาวดัตช์ ผมว่าน่าจะเปลี่ยนสักทางนะครับ จะได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน) CW32 talk 22:21, 17 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- จากพจนานุกรม พ.ศ. 2542 (หน้า 1334) อเมริกัน มีความหมายว่า ชื่อชาวประเทศสหรัฐอเมริกา ... ผมว่าชัดเจนดีแล้วครับ --Pi@k 01:52, 18 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- ขอเพิ่มเติมความเห็นครับ ผมคิดว่าหมวดหมู่ไม่ได้แบ่งตามสัญชาติไม่ได้ใช้ ชาว + ชื่อประเทศ แต่เป็น ชาว + คำคุณศัพท์ของประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะเหมือนกับชื่อประเทศ ยกเว้นชื่อบางชื่อที่ใช้มานาน เช่น กรีก อเมริกัน ดัตช์ ดังนั้น ถ้าจะให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ผมขอเสนอให้เปลี่ยนจากชาวเนเธอร์แลนด์ มาเป็นชาวดัตช์ แทนที่จะเปลี่ยนชาวอเมริกันเป็นชาวสหรัฐอเมริกาครับ (สังเกต ชื่อหมวดหมู่ ชาวกรีก ชาวเยอรมัน ชาวโรมัน ไม่ใช่ ชาวกรีซ ชาวเยอรมนี ชาวโรม) CW32 talk 17:57, 18 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
ผมว่า "ดัตช์" มันจะสับสนหรือเปล่าครับ เพราะชื่อมันค่อนข้างแตกต่างกับชื่อประเทศ --Manop | พูดคุย - 19:59, 23 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- ก็เป็นไปได้ครับ เพียงแต่สังเกตว่าในบทความ เร็ม คูลฮาส มีการใ้ช้อยู่ ก็ไม่ทราบว่าเป็นภาษาที่ผู้ใช้ภาษาไทยส่วนใหญ่เข้าใจหรือเปล่า เฉย ๆ กับประเด็นนี้ครับ แค่ลองเสนอขึ้นมา cW32 talk 20:25, 23 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
รัฐสภา
ตั้งใจจะปรับบทความ รัฐสภา ให้กล่าวถึงรัฐสภาโดยทั่วไป แล้วให้ส่วนของรัฐสภาไทยเป็นส่วนย่อยหรือย้ายไปหน้ารัฐสภาไทย ที่นี้อ่านไปแล้วเริ่มงง สงสัยว่ารัฐสภาน่าจะมีความหมายใกล้เคียงกับ Parliament National Assembly หรือว่า Legislature กันแน่ อ่าน ๆ ดูแล้ว legislature น่าจะหมายถึงสภาที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติ in general ส่วน Parliament กับ National Assembly เป็น title ที่ต่างกัน เข้าใจถูกหรือเปล่าครับ แล้วถ้าจะทำลิงก์ข้ามไป ควรจะจับคู่กับบทความไหนครับ --kinkku ananas (talk) 13:42, 1 ธันวาคม 2006 (UTC)
ลิงก์ภายนอก → แหล่งข้อมูลอื่น
ตอนนี้ผมกะว่าจะเปลี่ยนคำว่า "ลิงก์ภายนอก" ที่อ่านแล้วสับสนได้ง่าย เป็นคำว่า "แหล่งข้อมูลอื่น" นะครับ จริง ๆ แล้วก็เปลี่ยนมาหลายอันแล้วเหมือนกัน เนื่องจากคิดว่าคำแรก คงแปลมาจากภาษาอังกฤษโดยตรงคำว่า external links นะครับ และคำว่า "แหล่งข้อมูลอื่น" น่าจะตรงความหมายและเข้าใจมากกว่า ถ้าไม่มีข้อโต้แย้งยังไงซักอาทิตย์หน้า ผมคงใช้บอต ไล่เปลี่ยนนะครับ --Manop | พูดคุย - 22:51, 26 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- ผมไม่มีปัญหานะครับ ตอนแรกคิดว่าใช้ "แหล่งข้อมูลภายนอก" น่าจะดูดี แต่มันยาวเกินไป "แหล่งข้อมูลอื่น" สั้นและได้ใจความเช่นกันครับ--ScorpianPK 15:42, 1 ธันวาคม 2006 (UTC)
- บอตคุณมานพทำงานได้เปล่าครับ ผมเห็นแต่ผู้ใช้นั่งเปลี่ยนกันเอง อิอิ ^0^ --ScorpianPK 03:25, 19 ธันวาคม 2006 (UTC)