เขตสงวนอินเดียน

เขตสงวนอินเดียน (อังกฤษ: Indian reservation) เป็นเขตที่รัฐบาลสหรัฐกำหนดให้ชาวอเมริกันอินเดียนใช้เป็นที่ตั้งถิ่นฐานตามการประกาศของรัฐบาล ให้ชาวอินเดียนแดงทุกคนย้ายเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1876) ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการกระทำที่โหดร้าย ทารุณต่อมนุษย์

เขตสงวนอินเดียน
หรือเรียกว่า
ประเทศที่พึ่งพาภายในประเทศ
หมวดหมู่ฝ่ายการเมือง
ที่ตั้งสหรัฐอเมริกา
ก่อตั้ง1658 (เผ่า Powhatan)
จำนวน326[1]
ประชากร123 (several) – 165,158 (Navajo Nation)[2]
พื้นที่ตั้งแต่สุสานของชนเผ่า Pit River Tribe ขนาด 1.32 เอเคอร์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ไปจนถึงเขตสงวนแห่งชาตินาวาโฮขนาด 16 ล้านเอเคอร์ (64,750 ตารางกิโลเมตร) ที่ตั้งอยู่ในรัฐแอริโซนา รัฐนิวเม็กซิโก และรัฐยูทาห์[1]

ในสหรัฐอเมริกามีประมาณ 300 เขตสงวนซึ่งบางเผ่าอาจจะมีอยู่ภายในหลายเขตสงวน โดยมี 9 เขตสงวนที่ใหญ่กว่า 5,000 กม² และ 12 เขตสงวนที่มีขนาดใหญ่กว่า 3,000 กม² โดยในแต่ละเขตสงวนจะมีดินแดนที่ต่างกัน รวมถึงภูมิประเทศและภูมิอากาศ พื้นดินในบางดินแดนไม่สามารถทำเกษตรกรรมได้

ในปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) กฎหมายที่ให้ชาวอเมริกันอินเดียนเปิดกาสิโนอย่างถูกกฎหมายผ่านสภา ซึ่งรัฐบาลสหรัฐอเมริกาหวังว่าชาวอเมริกันอินเดียนสามารถมีรายได้เพียงพอสำหรับคนในเผ่า ภายใต้ชื่อว่า "1988 Indian Gaming Regulatory Act"

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Frequently Asked Questions, Bureau of Indian Affairs". Department of the Interior. สืบค้นเมื่อ 8 August 2015.
  2. "Navajo Population Profile 2020 U.S. Census" (PDF). สืบค้นเมื่อ 7 October 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้