วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/กรุ 24

กรุ 20 กรุ 22 กรุ 23 กรุ 24 กรุ 25 กรุ 26 กรุ 27

อ๊อกซฟอร์ด / อ็อกซฟอร์ด / อ็อกซ์ฟอร์ด

สอบถามการสะกดคำนี้ครับ Oxford ในบทความ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ว่าตัวแรกต้องใช้ ไม้ตรี หรือ ไม้ไต่คู้ หรือไม่ใช้ครับ แล้วก็พยางค์หลังต้องมีการันต์เหนือ ซ.โซ่ หรือไม่ครับ --Manop | พูดคุย -   22:43, 26 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
Oxford Dictionary ฉบับแปลไทย เขียนไว้บนหน้าปกอย่างเด่นชัดว่า "ออกซ์ฟอร์ด" ครับผม --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 17:18, 26 มีนาคม 2007 (UTC)
แล้วอย่างนี้ชื่อมหาวิทยาลัยสะกดเหมือนกันหรือเปล่าครับ

อักษรย่อ ในภาษาอื่น นอกจากอังกฤษ

ถามความเห็นครับ ว่าการอ่านชื่ออักษรย่อในภาษาอื่นนอกจาภาษาอังกฤษนี่เราจะอ่านตามต้นฉบับภาษานั้นไหมครับ ถ้าชื่อนี้เป็นคำจากต้นฉบับเดิมที่ไม่ใช่อังกฤษ เราจะใช้ตามภาษาต้นฉบับนั้น หรือว่าใช้ตามอังกฤษ ที่คนไทยคุ้นเคย ดีครับ ตัวอย่าง

  • A = เอ (อังกฤษ) / อา (อิตาลี)
  • AG = เอจี (อังกฤษ) / อาเก (เยอรมัน)
  • PSV = พีเอสวี (อังกฤษ) / เปเอสเว (ดัตช์)

ตัวอย่างเช่นทีมฟุตบอล PSV Eindhoven ควรจะเป็น เปเอสเวแองโธเฟิน หรือ พีเอสวีแองโธเฟิน (หรือว่า ที่คนไทยใช้ พีเอสวี ไอด์โฮเฟ่น) --Manop | พูดคุย -   22:51, 12 ธันวาคม 2006 (UTC)

เห็นว่าควรอ่านตามภาษาเดิมเป็นหลักครับ แต่อาจมีกำกับด้วยคำอ่านที่นิยม -- bact' คุย 21:33, 19 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

เขียนวรรณยุกต์ในชื่อทับศัพท์

พอดีเพิ่งสังเกต พวกสื่อหนังสือพิมพ์ใหญ่ ๆ อย่าง ผู้จัดการ หรือ สยามกีฬา จะใช้วรรณยุกต์หมดเลย (เสียงโทสำหรับคำลงท้าย) ฝรั่งเองมาฟังคงงงมากกว่าเสียงแบบโมโนโทน ตัวอย่างเช่น เอเชี่ยน / เอเชียน ไม่ว่า เอเชี่ยนเกมส์ เอเชี่ยนคัพ หรือหน้าอื่นที่เกี่ยวข้อง อย่างนี้ทางวิกิพีเดียต้องทำหน้าเปลี่ยนทางไปทุกหน้าไหมครับ เพราะเวลาค้นหาจากกูเกิลแล้วเจอคำพวกนี้ซะมากกว่า เพราะคนไทยตอนนี้คงคุ้นเคยกับการสะกดแบบตามหนังสือพิมพ์มากกว่าครับ พอมีใครมีความเห็นอย่างไรบ้างครับ --Manop | พูดคุย -   23:25, 22 ธันวาคม 2006 (UTC)
เอ๋ แล้วตอนนี้ไม่ได้ทำหน้าเปลี่ยนทางเหรอครับ ก็น่าจะทำนะครับ ถ้าเป็นการสะกดที่นิยม kinkku ananas (talk) 10:26, 23 ธันวาคม 2006 (UTC)
มีหลายหน้านะครับอย่างเช่น เอเชียนคัพ 2007, เอเชียนคัพ 2004, 2000, 1996, ... ไม่รู้ว่าต้องทำ เอเชี่ยนคัพ 2007, เอเชี่ยนคัพ 2004, ... (ที่มีไม้เอก) ไล่ตามหรือเปล่านะครับ ตอนแรกเคยคิดว่าไม่จำเป็นเท่าไร --Manop | พูดคุย -   00:31, 24 ธันวาคม 2006 (UTC)

ไม้ยมก (อีกครั้ง)

ตอนนี้ผู้ใช้ Sharky แนะนำว่ามีหนังสือราชบัณฑิตฯ ฉบับตีพิมพ์ใหม่กำหนดให้ใช้ไม้ยมกเว้นวรรคคำ เช่น "มาก ๆ เลย" ไม่ใช่ "มาก ๆ เลย" เลยน่าจะมีการตกลงกันใหม่ครับว่าสรุปในวิกิพีเดียจะใช้แบบไหนครับเพราะตอนนี้ก็มีหลายแบบ พูดคุยได้ที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน/ไม้ยมก

Version Edition Build..

อยากขอความคิดเห็นครับ เกี่ยวกับคำ version edition และ build ซึ่งปกตินั้นทับศัพท์เป็น "รุ่น" กันหมดทำให้สับสนได้ จึงมีความคิดกันอย่างไรบ้างไหมครับว่าจะใช้คำอะไรสำหรับ edition และ build ให้แตกต่างจากรุ่น? --Jutiphan | พูดคุย - 04:42, 21 มกราคม 2007 (UTC)
2nd edition - แก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 2 -- bact' คุย 21:30, 19 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
build นี่ ใช้ "ปรุง" ได้ไหม ? เหมือนสคส.ในหลวงน่ะ -- bact' คุย 21:31, 19 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
edition นี่น่าจะเรียกว่า พิมพ์ครั้งที่..., ฉบับที่ (หนังสือ) เพราะ edition ก็คือรุ่นเดิมนั่นแหละแล้วแต่นำมาปรับปรุง หรือจะใช้คำว่า"รุ่น"ก็ได้ถ้าใช้สำหรับ DVDหนัง เช่น limited edition (รุ่นปรับปรุงพิเศษมีจำนวนจำกัด) ส่วนคำว่า build ก็ความหมายเหมือนกันนั่นแหละครับ
ป.ล.ตามหลักแล้ว 3 คำนี้เขาไม่เขียนให้อยู่ด้วยกันหรอกครับ เพราะความหมายใช้แทนกันได้หมดแล้วแต่ความเหมาะสมว่าควรใช้ในตอนไหน Prince 09:55, 25 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
คือความจริงในทางเทคนิคแล้วอาจแตกต่างกันได้ครับเช่น Windows Vista คือชื่อรุ่น แต่รุ่นคือ 6.0 แล้ว Build คือ 6000 ครับ, ส่วนรุ่น (edition) ก็มีย่อยไปเช่น Home Basic, Home Prenium, etc. --Jutiphan | พูดคุย - 18:33, 22 มีนาคม 2007 (UTC)

สถานีอวกาศมีร์หรือเมียร์กันแน่

เมื่อกี้ดูจากบทความสถานีอวกาศมีร์มา ผมสงสัยว่าตามหลักควรจะใช้คำว่า"มีร์"หรือ"เมียร์"ดี เพราะถ้าจำไม่ผิด คำว่า"เมียร์"เป็นสำเนียงภาษารัสเซียส่วนคำว่า"มีร์"เป็นสำเนียงภาษาอังกฤษ คิดว่าควรจะใช้คำไหนดีละครับ (แต่ถ้าเรียกว่า"เมียร์"คนจะคุ้นหูกว่าผมว่า) Prince 09:55, 25 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
Мир ทับศัพท์ได้เป็น มีร์ นะครับ--Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 07:57, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

สำหรับเลขอารบิกนั้นคิดว่าสามารถใช้ได้ในทุกบทความอยู่แล้วเพราะมันเป็นสากล แต่เมื่อใดควรใช้เลขไทยแทนเลขอารบิก?--Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 07:43, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

อยากทราบเหมือนกันครับ เรื่องเลขนี้ เห็นหลัง ๆ มีใช้ไทยกับอารบิกเยอะ บางบทความมีปนกันในบรรทัดเดียวกันด้วย -_-" --Manop | พูดคุย -   07:51, 5 มีนาคม 2007 (UTC)

เห็นว่า

  • ควรจะใช้เลขอารบิกเป็นหลัก
  • โดยยกเว้นให้ใช้เลขไทย ในกรณียกคำพูด (เอกสารต้นฉบับ) มา เท่านั้น

-- bact' คุย 08:05, 5 มีนาคม 2007 (UTC)

เห็นบทความเกี่ยวกับพระราชวงศ์ไทยในอดีตใช้เลขไทยครับ ซึ่งผมก็คิดว่าเหมาะสม คนอื่นว่ายังไงครับ --  ~ ScorpianPK | คุยแค่ "คลิก" 08:08, 5 มีนาคม 2007 (UTC)
ทำไมจึงคิดว่าเหมาะสมครับ ? -- bact' 04:21, 26 มีนาคม 2007 (UTC)
ผมไม่รู้ว่าคนเขียนบทความพระราชวงศ์ไทยทำไมถึงใช้เลขไทยนะครับ แต่ส่วนตัวผมชอบและเห็นว่าเหมาะสมดี ผมไม่รู้ว่าประเทศไทยเริ่มใช้อารบิคแทนเลขไทยเมื่อไหร่ แต่ผมว่าก็คงจะเหมาะถ้าบทความในอดีตบางกลุ่มจะใช้เลขไทย เลขไทยก็เป็นเอกลักษณ์ที่ใช้กันในอดีต สะท้อนถึงความเป็นไทยและอนุรักษ์ไม่ให้การใช้เลขไทยหายสาบสูญไปด้วยครับ ถ้าวิกิพีเดียสามารถทำตรงนี้ได้ก็น่าจะดีครับ --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 04:41, 26 มีนาคม 2007 (UTC)
แล้วท่านทำไมถึงคิดว่าจะไม่เหมาะสมละครับ :D --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 17:15, 26 มีนาคม 2007 (UTC)
ผมเห็นว่า เราควรจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งให้สม่ำเสมอตลอดสารานุกรมครับ (เว้นกรณี "ยกคำพูด/ตัวบทอ้างอิง" ที่ต้องการคงข้อความตามต้นฉบับ) -- bact' 17:18, 26 มีนาคม 2007 (UTC)
มีคนขอความเห็นผมใน หน้่าพูดคุยใน en.wiki ผมก็เลยตอบเป็นภาษาอังกฤษในที่นั้น และขอก็อปมาไว้ที่นี่ด้วยเป็นการออกความเห็น
My preference is Arabic. For a few reasons, ranked by importance:
  1. In Thailand, arabic numeration is more common than thai numeration. Arabic numbers are used by the media (e.g., thairath.co.th), government (mict.go.th), business, etc. Even the ราชบัณฑิตยสถาน uses arabic in its home page. The primary naming convention in en.wiki for setting the title of an article is most recognizable usage for readers. And since arabic usage is more common, arabic article titles are more recognizable.
  2. Chinese/Japanese wikipedia use arabic numeration for article titles.
  3. Thai scientific articles exclusively use arabic numeration - anything else would just be silly. It would be absurd to use arabic numeration for scientific articles and thai numeration for non-scientific articles. So it makes more sense to standardize on arabic numbers.
  4. We can have a seperate article for ๑ (ตัวเลข) which talks about the thai etymology, evolution of the thai glyph, and other thai specific topics.
  5. Personal preference. I'll use arabic even if the concensus is to use thai numeration - I'll just let a bot do the changes. Patiwat 05:10, 26 March 2007 (UTC) ใน en:User talk:Patiwat
อย่างไรก็ตาม... th.wiki ไม่เหมือน en.wiki. en.wiki มีหลักว่า บทความที่ดีไม่ควร "คลาดเคลื่อนอย่างร้ายแรง จากมาตรฐานคู่มือในการเขียน" หมายความว่า ถ้าคู่มือในการเขียนบอกให้ใช้อารบิก บทความทุกบทความก็ควรจะใช้อารบิก แต่ th.wiki มีหลักว่า "การเขียนที่คลาดเคลื่อนจากมาตรฐานคู่มือในการเขียนนั้น ไม่ใช่ความผิดที่ร้ายแรง" หมายความว่า อยากใช้อารบิก ก็ใช้อารบิกไปซะ อยากใช้ไทย ก็ใช้อารบิกไปซะ อย่าไปบังคับให้ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งให้สม่ำเสมอเลย ใน th.wiki ต้องประนีประนอมกัน ยอมรับในความชอบที่แตกต่างกันของคนแต่ละคน การบังคับจะเป็นการทำลายน้ำใจกัน. สรุปความเห็น: ควรใช้อารบิค แต่ถ้าไม่ใช้ก็ไม่เป็นไร. Patiwat 22:05, 26 มีนาคม 2007 (UTC)
แหม่ ตอบแบบปากหาเรื่องนะครับคุณปฏิวัติ ตอบแบบนี้ไม่ตอบมายังจะมีประโยชน์มากกว่า หลายคนก็เตือนไปแล้วว่าการใช้ภาษาของคุณนั้นมันเป็นยังไง คุณก็ยังทะลึ่งดึงดังที่จะยังยืนยันที่จะใช้ภาษาแบบนี้ ก้คงเป็นเรื่องของคุณ แล้วมันไม่เกี่ยวกับกฏเลยยังจะโยงมากันได้ สุดยอดครับ คุณนี่ช่างสรรหาอะไรที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อวิกิพีเดียไทยจริง ๆ เลยครับ ขอชมเชยอย่างใจจริง แต่อย่างว่าครับถ้าส่วนมากเห็นว่าต้องใช้มันก็ต้องใช้ เรื่องนี้คั้งค้างมานาน สะสางกันซะทีก้อคงดี ใครอยากจะออกความเห็นก็ออกได้ บางคนไม่กล้าออกก็ไปชวนคนอื่นมาออกก็ดีครับ จกที่ลองถามดูตอนนี้เห็นว่าใช้อารบิคจะสะดวกดีครับ ยังไงก็รบกวนเปลี่ยนเป็นอารบิคให้หมดด้วยนะครับผม คนอื่นว่าไง--ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 03:42, 27 มีนาคม 2007 (UTC)
  • ไม่ได้หาเรื่ิองจริง ๆ นะครับ วิกิพีเดีย เป็นสารานุกรมเสรี กฎเกณฑ์รายละเอียดเล็กน้ิอยอย่างนี้ มีความสำคัญน้อยกว่าเสรีภาำพของผู้ใช้แต่ละคน ในการมีส่วนร่วมในรูปแบบที่ตัวเองต้องการ อีกอย่าง หลักเกณฑ์ที่ผมอ้าง มันเป็นหลักเกณฑ์จาก en.wiki ซึ่งคนใน th.wiki ควรรู้ไว้ แต่ไม่ควรทำตามเป็นกฏตายตัว ถ้าคิดว่าไม่สมควรกับสภาพวัฒนธรรม ภาษา หรือความชอบของชุมชนวิกิไทย. Patiwat 16:51, 27 มีนาคม 2007 (UTC)
คุณก้อไม่ดูเลยว่าตอนนี้เขาพูดถึงอะไร ไม่มีใครเขามานั่งบอกว่าให้ใช้เลขไทยในวิกิทุกบทความนะครับ แต่ตอนนี้ที่เป็นอยู่ คือ บทความพระราชวงศ์ไทยนั้นเขาใช้เลขไทย แล้วเราก็กำลัง discuss ว่า ควรจะเปลี่ยนเป็นเลขไทย หรืออารบิคดี เข้าใจไหมครับ ไอ้ที่คุณยกตัวอย่างไทยรัฐบ้าง ราชบัณฑิตบ้างนี่ ไม่ต้องยกมาก้อได้ ใคร ๆ เขาก็รู้ว่าประเทศไทยตอนนี้เขาก็ใช้เลขอารบิคกันมากกว่าเลขไทยแล้วคุณ กลับมาเมืองไทยบ้างเน้อ แต่ไม่ต้องกลับมาจะดีกว่ามั้ง ถ้าอยากจะยกตัวอย่างทำไมไม่ลองยกให้ครอบคลุมหน่อย เช่น ประกาศราชกิจจานุเบกษา ทำไมเขายังคงใช้เลขไทยอยู่ เขาตกยุค เขาไม่ทันสมัย ไม่อินเตอร์ เป็นต้น ไหนว่าจงรักภักดีต่อราชวงศ์นักหนาละครับคุณ เห็นเข้าไปป้วนเปี้ยนกับรูปพระราชวงศ์บ้าง ติดอ้างอิงพระราชวงศ์บ้าง แล้วไม่เคยเห็นหรือไงว่าบทความพระราชวงศ์ส่วนใหญ่เขาใช้เลขไทย หรือไม่เคยอ่าน ติดป้ายลูกเดียว อย่างอื่นไม่สน หรือสนแต่ TKNS ว่าจะหาเอาเวปแปลจากที่ไหนมาให้คนไทยอ่านดีน้า แหม่ ช่างแสดงความจงรักภักดีแบบออกนอกหน้าแบบนี้ ผมอายแทนเลยครับผม --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 18:02, 27 มีนาคม 2007 (UTC)
กรุณาระมัดระวังถ้อยคำด้วยครับ - อย่าทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว -- bact' 18:07, 27 มีนาคม 2007 (UTC)
ผมรักในหลวงนะครับ อย่าเอาเรื่องความจงรักภักดีในสถาบัน เป็นจุดโจมตีเลย. Patiwat 02:52, 28 มีนาคม 2007 (UTC)
ผมแค่ตั้งข้อสังเกตนะครับ ไม่ได้โจมตีคุณปฏิวัตินะครับ กรุณาเข้าใจใหม่นะครับ ผมสังเกตุคนโดยดูจากสิ่งที่เขากระทำครับ ซึ่งถ้าผมสังเกตุคุณปฏิวัติผิดไปก็ต้องขอโทษด้วยนะครับ มิได้มีเจตนาโจมตีแต่ประการใด --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 03:34, 28 มีนาคม 2007 (UTC)
กรุณาเตือนคนอื่นด้วยนะครับ อย่า 2 มาตรฐาน --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 18:10, 27 มีนาคม 2007 (UTC)
ผมเคยเตือนคุณ Patiwat ไปทีหนึ่ง ระหว่างพิจารณา สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ / สำหรับในการพูดคุยข้างต้น ยังไม่พบข้อความส่วนไหนที่เป็นเรื่องส่วนตัวหรือนอกเหนือจากขอบเขตของสารานุกรมครับ. ขอบคุณครับ. -- bact' 19:02, 27 มีนาคม 2007 (UTC)

ผมคิดว่าโดยทั่วไปแล้ว ทุกคนเห็นด้วยว่า ควรใช้เลขอารบิกเป็นหลัก แต่ที่เห็นแตกต่างกันก็คือเรื่อง บทความไทย ๆ ที่บางคนเห็นว่า ใช้เลขไทยก็น่าจะเหมาะ

ประเด็นตอนนี้
  1. ถ้าจะใช้เลขไทยกับ "บทความไทย ๆ" - อะไรคือ "ความไทย ๆ" ที่จะมาตัดสิน ?
    1. ในปัจจุบัน บทความในสถานีย่อย สารานุกรมประเทศไทย มีใช้ทั้งเลขอารบิกและเลขไทย
  2. ไม่เกี่ยวกับระบบเลขโดยเฉพาะ, ที่คุณ Patiwat ยกมาคือ นโยบายวิกิพีเดียไทยปัจจุบันนั้น "การเขียนที่คลาดเคลื่อนจากมาตรฐานคู่มือในการเขียนนั้น ไม่ใช่ความผิดที่ร้ายแรง" - เป็นเรื่องที่ควรจะปรับปรุงไหม
    1. ส่วนตัว ผมเห็นว่า "ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง" หมายถึง ผู้แก้ไขสามารถกระทำสิ่งที่กล่าวได้ โดยไม่ถือเป็นความผิดร้ายแรง - แต่ไม่ได้หมายความว่า ผลจากการกระทำดังกล่าวนั้น จะเป็นเรื่องที่ต้องยอมรับ
      1. เช่น ถ้ามีผู้สร้างชื่อบทความ ดร. สมปอง น้องสมชาย เราไม่ถือว่านี่เป็นการกระทำผิดร้ายแรง - แต่เราก็จะไม่ยอมรับชื่อบทความลักษณะนี้ และแก้ไขให้มันเป็น สมปอง น้องสมชาย เสีย เพื่อให้ตรงกับคู่มือการเขียน

-- bact' 18:25, 27 มีนาคม 2007 (UTC)

คุณ Bact สรุปประเด็นผิดนะครับผม ไม่มีใครแนะนำว่า "บทความไทย ๆ" ควรจะใช้เลขไทยนะครับ ซึ่งอันนี้ผมไม่เห็นด้วยถ้าจะให้บทความเกี่ยวกับไทยใช้เลขไทยทั้งหมด แต่ที่เป็นประเด็นกันอยู่นั้น คือ บทความในกลุ่ม "พระราชวงศ์ไทย" ที่ส่วนมากใช้เลขไทยครับ ที่เห็นก็มีกลุ่มนี้เท่านั้นนะครับที่เด่นมาก ๆ ดังนั้น ประเด็น คือ บทความพระราชวงศ์ไทยควรใช้เลขไทยหรือไม่ต่างหาก ซึ่งเท่าที่สอบถามมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ส่วนตัวผมนั้น ไม่มีปัญหาอะไรทั้งสิ้นที่จะใช้เลขไทยหรืออารบิคกับบทความในกลุ่มนี้นะครับ ถ้าจะเปลี่ยนเป็นเลขอารบิคก็เปลี่ยนได้ทันทีครับ--ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 18:37, 27 มีนาคม 2007 (UTC)
พบว่าในกลุ่มประวัติศาสตร์ไทย ก็ยังพบเห็นการใช้เลขไทย (ผสมอารบิก) อยู่เช่นกันครับ แม้จะไม่มากเท่ากับกลุ่มราชวงศ์ไทยก็ตาม เช่นบทความ ธนบุรี ทวารวดี ละโว้ - ซึ่งถ้าพูดโดยรวมแล้ว ก็คือ ประวัติศาสตร์และบุคคลในประวัติศาสตร์ (ซึ่งก็เข้ากับแนวคิดที่มีผู้อภิปรายด้านบนผู้ถึง "อดีต"/"อนุรักษ์") จึงขออนุญาตอภิปรายในคราวเดียวกัน เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องใกล้กันครับ (แต่ไม่จำเป็นว่า จะต้องได้ข้อสรุปเดียวกันก็ได้) -- bact' 19:02, 27 มีนาคม 2007 (UTC)

งั้นขอถามใหม่ให้ชัดเจน เฉพาะประเด็นเดียว ว่า บทความเกี่ยวกับราชวงศ์ไทย ควรจะใช้เลขไทยหรือเลขอารบิกครับ ? อย่างใดอย่างหนึ่ง -- bact' 19:02, 27 มีนาคม 2007 (UTC)

ถ้าต้องการทำให้เป็นมาตรฐานระหว่างบทความ (เช่นในคู่มือการเขียน) ผมสนับสนุนเลขอารบิกครับ เพราะเห็นว่าเป็นรูปแบบที่ใช้กันทั่วไปอยู่แล้ว และลดปัญหาที่อาจเกิดตามมาอีกว่า "แล้วบทความxxควรใช้แบบไหน" (ตอนนี้ยังดูว่าเส้นแบ่งมันชัด แต่ต่อไปก็อาจจะสับสนได้ถ้าบทความมากขึ้น) kinkkuananas 07:56, 28 มีนาคม 2007 (UTC)
สนับสนุนเลขอารบิกทุกประเภทบทความ กรณีนี้ ไม่ควรจะแบ่งว่าบทความประเภทนี้ ๆ หรือนี้ ๆ ใช้เลขแบบนี้ และบทความนี้ ๆ และนี้ ๆ ใช้เลขรูปแบบนี้ เริ่มแรกคือบางทีเส้นมันไม่ชัดเจนครับ จะเอาบทความเกี่ยวเกับราชวงศ์ไทย เดี๋ยวบทความไหนอย่างโครงการหลวง หรืออีกหน่อย องค์มนตรี หรือจะเป็นประวัติรถไฟไทย หรือแม้แต่โรงเรียน มหาวิทยาลัย ที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ไทยได้หมด แล้วจะไปใช้เลขไทยกันหมดไหม และอีกหย่างทำให้รูปแบบบทความในวิกิพีเดีย ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกันครับ สรุปคือควรใช้แบบใดแบบหนึ่ง และหากดูอย่างหนังสือพิมพ์ หรือข่าวหลายฉบับนั้น เท่าที่ผมสังเกตคือเขาเลือกใช้เลขอารบิก ก็ใช้เลขอารบิกแทบทั้งหมด และสำหรับข่าวราชวงศ์ต่าง ๆ ก็เห็นใช้เลขอารบิกกัน อย่าง[1] [2] และบางเว็บอาจเลือกใช้เลขไทยทั้งหมด ก็ใช้เลขไทยแทบทั้งหมด ซึ่งเราเป็นสารานุกรม ควรจะใช้รูปแบบเลขเดียวกันทั้งหมด และหลังจาดูความคิดเห็นหลาย ๆ ท่าน รวมถึงผมเอง เลขอารบิกน่าจะเหมาะสมอยู่แล้วครับ สำหรับทุกบทความ ส่วนเรื่องอนุรักษ์นั้น ผมกังวลเรื่องภาษาไทยวิบัติมากกว่าเยอะ นอกจากนั้น หากคนที่ยังสนใจจะเขียนเลขไหน ก็คงจะไม่มีการบังคับกัน แต่เพื่อให้รูปแบบเดียวกัน บอตและสคริปต์จะช่วยทำการเปลี่ยนเพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันเป็นระยะ ๆ สำหรับเนมสเปซหลัก ----Jutiphan | พูดคุย - 19:59, 28 มีนาคม 2007 (UTC)
สำหรับผมแล้ว สนับสนุนเลขอารบิก"เกือบ"ทุกบทความ ทุกบทความเลขอารบิกหมด ยกเว้น หน้าพระราชวงศ์ ก็คือหมายความหมายหน้าที่เป็นราชวงศ์จริง ๆ คือเป็นหน้าบุคคล โรงเรียน โครงการพระราชดำริ หรืออะไรต่าง ๆ นา ๆ ก็ขอให้ใช้เลขอารบิก ส่วนสถานีย่อยภาษาไทย ผมขอใช้เลขไทย เพราะจะได้รู้ว่าเป็นไทย คิดอย่างไงครับ Mda, 1 เมษายน 2007
สำหรับ สถานีย่อยภาษาไทย ผมเห็นดีด้วยที่จะใช้เลขไทยครับ อาจจะเป็นที่เดียวในวิกิพีเดียภาษาไทย ที่ใช้เลขไทย -- bact' 08:15, 6 เมษายน 2007 (UTC)
สำหรับที่อื่น ๆ เห็นว่าควรเป็นอารบิกหมดครับ (รวมถึงหน้าพระราชวงศ์ด้วย, อย่างที่คุณ Jutiphan กล่าวมาคือ จำนวนนั้นเยอะและไม่ชัดเจน ราชวงศ์ที่เกี่ยวข้องกับไทยมีหลายสาย เช่น สุโขทัย อยุธยา ล้านนา - กรณีนี้ล้านนาก็ไม่ได้ใช้อักษรไทยเลยด้วยซ้ำ ตรงนี้เลยเป็นความยากน่ะครับ) -- bact' 08:15, 6 เมษายน 2007 (UTC)

Weasel words หรือ Peacock words

เคยมีคนแปลคำว่า Weasel words หรือ Peacock words เป็นไทยมั้ย? Ex: นักประวัติศาสตร์กล่าวกันว่า... หรือ มีผู้วิจารณ์ว่า... หรือ xxx อาจถูกกล่าวได้ว่าเป็น... ในโลก โดยไม่ระบุว่า "นักประวัติศาสตร์"คนใหน เมื่อไหร่ ในสื่ิออะไร หรืิอ "ผู้วิจารณ์"คือใคร ถ้ามีคนแปลคำว่า Weasel words หรือ Peacock words เป็นไทยได้อย่างจับใจความ เดี๋ยวผมจะเอาตัวอย่างไปเสริมใีน วิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา. Patiwat 08:21, 25 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

Weasel word = ถ้อยคำคลุมเครือ ถ้อยคำกำกวม (คำไม่เป็นทางการ) ที่มา --Bond the Magic Dragon lived by the Sea 11:18, 25 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

เพศ

บทความอังกฤษมีทั้ง en:Sex และ en:Gender อย่างไหนควรจับคู่กับบทความ เพศ แล้วอีกอันหนึ่งจะใช้ชื่อบทความอะไร --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 15:34, 22 มีนาคม 2007 (UTC)

  • sex มีใช้ว่า "เพศ", "เพศสรีระ", "เพศชีวะ" เช่น ในการสืบพันธุ์
    • sexuality ใช้ว่า "เพศวิถี"
  • gender มีใช้ว่า "เพศสภาพ", "เพศสถานะ", "เพศภาวะ" เช่น ในสตรีศึกษา

-- bact' 04:17, 26 มีนาคม 2007 (UTC)

ชื่อบทความ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่

เช่น

สองประเด็น

  1. จำเป็นต้องมีคำว่า ", เจ้าผู้ครองนคร..." ต่อท้ายด้วยหรือ ?
  2. ถ้าจำเป็นต้องมี น่าจะใช้เลขอารบิกแทนไหม ?

-- bact' 04:24, 26 มีนาคม 2007 (UTC)

ไม่จำเป็น แค่พระนามก็พอแล้วครับ ส่วนในบทความใช้เลขไทยก็ได้ --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 17:07, 26 มีนาคม 2007 (UTC)

อะไรคือเหตุผลที่ ในบทความใช้เลขไทยก็ได้ ครับ ? บทความเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ มีลักษณะต่างกับบทความปกติซึ่งใช้เลขอารบิกอย่างไร ? -- bact' 17:12, 26 มีนาคม 2007 (UTC)

นั่นมันประเด็นอื่น ไปคุยในหัวข้อ เลขอารบิก vs เลขไทย ที่อยู่ข้างบน --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 17:13, 26 มีนาคม 2007 (UTC)

ก็ต้องไปดูพระนามเต็ม เพราะถ้าพระนามเต็ม มีคำว่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ก็ต้องตามนั้น แต่ถ้าพระนามในสุพรรณบัตรไม่ได้เขียนไว้ ก็ไม่ต้องใส่ ครับ --AiqcueA 18:36, 27 มีนาคม 2007 (UTC)

ประเด็นน่าสนใจ -- bact' 19:11, 27 มีนาคม 2007 (UTC)

การใช้ภาษาสำหรับพระ

ตอนนี้เขียนบทความ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) อยู่ ขอคำิแนะนำเรื่องการใช้ภาษาสำหรับพระ. Patiwat 00:47, 29 มีนาคม 2007 (UTC)

  • เมื่อไหร่ควรจะใช้ชื่อเดิม (เกี่ยว โชคชัย)
    • ตอนยังไม่ได้บรรพชา ดูบริบทด้วย
  • เมื่อไหร่ควรจะใช้สมณศักดิ์ (สมเด็จพระพุฒาจารย์) และควรใช้สมณศักดิ์ใหน (สมณศักดิ์ปัจจุบัน หรือสมณศักดิ์ที่ใช้ในอดีต)
    • หลังจากที่ได้รับแต่งตั้ง ดูบริบทด้วย
  • เมื่อไหร่ควรจะสรรพนาม (เจ้าประคุณ สมเด็จฯ)

พระมหากษัตริย์ไทย vs. พระมหากษัตริย์สยาม

ขณะนี้มีบทความ พระมหากษัตริย์ไทย บทความ ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย และ หมวดหมู่ พระมหากษัตริย์ไทย แต่ประ้เทศเราพึ่งใช้ชื่อ "ไทย" เป็นชื่อเรียกประ้เทศมาในช่วงจอมพล ป. ในประวัติศาสตร์ มีพระมหากษัตริย์ไทยอยู่เัพียงแค่สององค์เอง นอกนั้นเป็นพระมหากษัตริย์กรุงสยามหมด ถ้างั้นเราควรใช้ชื่อบทความ พระมหากษัตริย์สยาม บทความ ลำดับพระมหากษัตริย์สยาม และ หมวดหมู่ พระมหากษัตริย์สยาม สำหรับ พระมหากษัตริย์กรุงสยามก่อนปี 2482 ดีมั้ย? Patiwat 18:50, 2 เมษายน 2007 (UTC)

ถ้าจะพูดย้อนไปถึง สุโขทัย อยุธยา เอาเป็น กษัตริย์ในดินแดนสุวรรณภูมิ จะครอบคลุมกว่าไหม ?
(เพราะถ้าพูดถึง "สยาม" มันน่าจะกินพื้นที่แค่ภาคเหนือตอนล่าง/ภาคกลาง รึเปล่า? ในสมัยก่อน)
ตัวอย่างที่น่าจะพอได้: en:List of monarchs in the British Isles vs en:List of English monarchs, en:List of monarchs of Scotland
-- bact' 09:57, 3 เมษายน 2007 (UTC)
รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ vs รายพระนามกษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษ -- bact' 13:09, 26 เมษายน 2007 (UTC)

คุยต่อที่ พูดคุย:ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย#ชื่อ ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย vs. ลำดับพระมหากษัตริย์สยาม

เก็บตกมาฝาก

พอดีไปอ่านเจอในเว็บราชบัณฑิตฯ เลยได้ความคิดว่า วิกิพีเดียไทยจะใช้ รูปแบบไหนดี ทั้งการใช้ ไทยคำ English คำ (อาจจะมีพ่วง ญี่ปุ่น จีน เยอรมัน คำสองคำหรือเปล่านะครับ) คิดว่าภาษาอังกฤษเริ่มเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของภาษาไทยแล้ว แล้วยังมีการใช้ตัวเลขผสม เลขไทย เลขอารบิก ซึ่งค่อนข้างน่าตกใจสำหรับตัวเลขสองรูปแบบในประโยคเดียวกัน : ส่วนเรื่องการใช้คำไทยผสมอังกฤษ คิดว่าที่ใช้คงเพราะจะได้เข้าใจกับคนทั่วไป เพราะใคร ๆ ก็ใช้กัน หรืออย่างในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ก็มีการใช้เลขผสม ในย่อหน้าเดียวกันแต่คนละประโยค (สงสัยจะลืมตรวจทาน) เช่น

  • เอกสารแนบท้ายประกาศสอบราคาซื้อครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ลงวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. 2550 [3] (หน้า 4)
  • หน่วยประมวลผลกลาง แบบ Dual Core รองรับการทำงานแบบ 64 Bits ได้ มีขนาดของ front side bus ที่...
  • กระแสไฟฟ้าในทิศทางย้อนมีค่า ๑ ส่วนใน ๑๐๗ ของกระแสไฟฟ้าในทิศทางตาม ... ใน หัวต่อ PN จะหายไปหมดต้องใช้เวลาบ้างนั่นเอง ปรกติสวิชชิ่งไดโอดจะมีค่าเวลานี้ประมาณ 10-8 ~ 10-9 วินาที ซึ่งมีค่าที่น้อยมาก [4]

ซึ่งนอกจากนี้ก็เจอเว็บไซต์ที่กล่าวถึงการทับศัพท์ในวิกิพีเดียในเชิงไม่ค่อยเห็นด้วยที่ http://www.isriya.com/node/1405 คิดว่าคนทำเว็บนี้คงใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษจนติด แล้วเลยรู้สึกแปลกเมื่อมาเจอภาษาไทย ซึ่งก็คงเป็นกับหลายคนเช่นกัน ซึ่งความเห็นส่วนตัวผมเห็นว่า รูปแบบตอนนี้ที่ใช้อยู่ (ใช้เลขอารบิกเป็นหลัก หรือ ใช้การทับศัพท์ภาษาไทยมากกว่าใช้ศัพท์อังกฤษ) ก็ดีอยู่แล้ว เพราะจะได้เป็นรูปแบบเดียวกัน ยิ่งการใช้คำไทยสะกดเพราะจะทำให้เกิดลักษณะการอ่านที่ถูกต้องมากกว่ามานั่งเดากันว่าอ่านว่าอะไรเหมือนอย่าง Adobe ที่มีบางคนเห็นแล้วไม่รู้ว่าอ่าน อะโดบี หรือ อะโด้บ กันแน่ --Manop | พูดคุย -   22:55, 9 เมษายน 2007 (UTC)

ถ้าเวลาเขียนอะไรของตัวเอง (เขียนงาน บลอก ฯลฯ) ผมก็ไม่ค่อยถอดเป็นอักษรไทยนะครับ แต่อย่างในวิกิพีเดีย ผมก็คิดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร ไม่น่าสับสนอยู่แล้ว มีระบบลิงก์ไปหาที่ชัดเจน เพราะว่าเวลาพิมพ์อักษรละติน (จะภาษาอังกฤษ เยอรมัน โรมาจิ หรืออะไรก็ตาม) แทรกในประโยคภาษาไทยเยอะ ๆ มันก็ลายตาเหมือนกันน่ะครับ แล้วประโยคมันจะัขาด ๆ ด้วย (เพราะเวลาพิมพ์ภาษาอื่น เราก็มักจะต้องเว้นวรรคหน้าหลัง ในขณะที่ประโยคภาษาไทยทั่วไปจะเว้นเมื่อจบวลีหรือประโยค) kinkkuananas 07:13, 10 เมษายน 2007 (UTC)

ดูแล้วทางเขาคงเป็นการรวบรวมงานเขียนจากหลาย ๆ ท่านมากกว่าครับ และคงไม่ได้ตรวจทานอะไรกันเท่าไร หรือไม่ได้มีแนวทางรวมทั้งหมด เลยขึ้นอยู่กับคนที่เขียนมากกว่า ส่วนเรื่องการทับศัพท์นั้น ผมเองตอนแรกก็ไม่ชินเหมือนกัน แต่ตอนหลังก็พอเข้าใจ แล้วก็นึกถึงคนจำนวนมากที่อาจอ่านไม่ออก อ่านไม่ถูก การทับศัพท์อาจช่วยให้อ่านได้ถูกต้องขึ้น (หากทับศัพท์ตามเสียง หรือใกล้เคียง) --Jutiphan | พูดคุย - 15:34, 12 เมษายน 2007 (UTC)

แต่บทความที่เป็นตัวย่อ เช่น MSN ผมว่าควรใช้ตัวเดิมไปเลยดีกว่าทับศัพท์ว่า เอ็มเอสเอ็น นะครับ (ต้องเขียนยาวขึ้นอีก (ถึงแม่จะมีหน้าเปลี่ยนทางก็เถอะ) )
ป.ล.นอกจากตัวย่อที่อ่านเป็นคำนะครับ (จะได้อ่านออก) เช่น ซีเกมส์ (Southeast Asian Games, SEA Games) Prince 13:02, 1 พฤษภาคม 2007 (UTC)

การใช้ราชาศัพท์สำหรับพระประมุขและพระราชวงศ์ของประเทศที่กลายเป็นสาธารณรัฐแล้ว

พอดีไปเจอบทความ "จักรพรรดินีเฮวอน" น่ะครับ เห็นว่าราชาศัพท์ที่ใช้ยังไม่ค่อยจะถูก พอจะแก้ก็ไม่แน่ใจว่าจักรพรรดินีที่มีพระฐานะเช่นนี้จะต้องใช้ศัพท์อย่างไร มีใครพอจะรู้หรือมีความเห็นอย่างไรบ้างครับ Cakra 00:29, 4 พฤษภาคม 2007 (UTC)

แฮร์รี่ พอตเตอร์...

พอดีเห็นว่าบางที่เขาเขียนว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ บางที่เขียนว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์ หรือไม่ก็ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับ ศิลาอาถรรพ์ เลยสงสัยว่าตามที่นานมีบุ๊คส์เขาพิมพ์ออกมามันเว้นวรรคยังไงครับ (ไม่เคยซื้อหนังสือด้วย) Prince 06:45, 8 พฤษภาคม 2007 (UTC)

แบบแรกสุดครับ คำว่าพอตเตอร์ติดกับชื่อตอน และเขียนแบบนี้ตลอดมาทุกเล่มเลยครับ --Pi@k 07:35, 8 พฤษภาคม 2007 (UTC)

virtual reality

ไม่แน่ใจว่าควรใช้คำไทยคำไหน พอดีเพิ่งเปลี่ยนชื่อจาก ความจริงเสมือน เป็น ความเป็นจริงเสมือน ตามที่ปรากฏในศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิต แต่พอลองกูเกิลดูปรากฏว่า คนนิยมใช้คำว่า "ความจริงเสมือน" มากกว่า "ความเป็นจริงเสมือน" เลยไม่แน่ใจว่าควรจะเปลี่ยนกลับหรือไม่ครับ --Manop | พูดคุย -   20:42, 17 พฤษภาคม 2007 (UTC)

ความจริงเสมือน = virtual truth ?? -- 58.136.73.25 10:23, 21 พฤษภาคม 2007 (UTC)

น่าจะแปลว่า "ระบบคอมพิวเตอร์เสมือนจริง" มากกว่านะครับ เพราะคำว่า ความเป็นจริงเสมือน จะไม่ได้บอกอะไรเกี่ยวกับบทความเท่าไหร่ (คำว่า virtual truth ก็เกี่ยวกับคอมฯ อยู่แล้ว) Prince 11:35, 21 พฤษภาคม 2007 (UTC)
ไม่ทราบเหมือนกันครับ ต้องลองถามทางราชบัณฑิตฯ คิดว่าคำว่า "ความจริงเสมือน" คงเป็นคำนามสื่อความหมายในตัวมากกว่านะครับ เพราะหมายถึงระบบรวม ๆ ไม่ได้หมายถึงส่วนการนำมาประยุกต์ของคอมพิวเตอร์เท่าไร ส่วนเรื่องคำนี้คงต้องถามผู้เรียนมาทางนี้ ไม่งั้นก็ทับศัพท์ไปเลยเป็น เวอร์ชวลเรียลลิตี - เวอร์ชวลรีอัลลิตี (vir·tu·al re·al·i·ty) หรือเปล่า --Manop | พูดคุย -   20:55, 21 พฤษภาคม 2007 (UTC)

ชื่อบทความ เขตการปกครองญี่ปุ่น

ปรึกษาหน่อยครับ ว่าควรตั้งชื่อบทความว่าอย่างไรดี เกี่ยวกับ จังหวัด และ เมือง ในประเทศญี่ปุ่น เพราะมีชื่อจังหวัดและชื่อเมืองซ้ำกันหลายบทความ ซึ่งเมืองเหล่านี้เป็นเมืองหลวงของจังหวัด คล้าย ๆ กับ อำเภอเมืองบ้านเราที่เป็นชื่อจังหวัด ตอนนี้ที่ใช้คือ เช่น จิบะ (ชิบะ)

และจังหวัด/เมืองอื่น

เลยคิดว่าน่าจะปรับให้เหมือนกันหมดครับ ใครมีความเห็นอย่างไรบ้างครับ

ตัวอย่างในวิกิพีเดียอังกฤษจะใช้คำว่า Prefecture ตามหลัง (เหมือนที่ตอนนี้วิกิพีเดียไทยใช้จังหวัดนำหน้า) ส่วนเมืองจะใช้แค่ชื่อเฉย ๆ ไม่มีคำนำหน้าหรือตามหลัง เช่น Hiroshima Prefecture และ Hiroshima ส่วนวิกิพีเดียญี่ปุ่นจะใช้คำตามหลังทั้งคู่ เช่น 広島県 (Hiroshima-ken) และ 広島市 (Hiroshima-shi) ส่วน 広島 เฉย ๆ จะเป็นหน้าแก้ความกำกวม --Manop | พูดคุย -   07:07, 16 มิถุนายน 2007 (UTC)

ควรจะทำให้เป็นแบบ จิบะ ให้หมดนะครับ (จะได้ไม่สับสน เพราะใน en:wiki ใช้สลับไปมา) และก็ผมเห็นใน en:wiki มา เขาใช้เป็น ผมว่าShimonoseki, Yamaguchi (ชื่อเมือง, จังหวัด) แต่แบบนี้ใช้ในภาษาไทยมันจะดูแปลก ๆ ครับ ตัวอย่าง:ฮิโระชิมะ, ฮิโระชิมะ Prince 07:38, 16 มิถุนายน 2007 (UTC)

ผมว่าใช้เป็น เมือง..... นน่าจะดีกว่าครับ เพราะถ้าเป็น จิบะ (เมือง) มันดูแล้วมันไม่ค่อยสวยครับ (สาเหตุอาจจะติ๊งต๊องหน่อย) แล้วก็ ถ้ารวมเอากันหมดมันก็แปลก ๆ เหมือนกันครับ เพราะ เมือง กับ จังหวัดมันคนละอันกัน และเมืองของญี่ปุ่นก็ไม่ค่อยจะคล้ายกับอำเภอเมืองของเรา เมืองของเขาเป็นแบบคล้าย ๆ กับเทศบาลหน่ะครับ Mdaaaaaaaaaaaaaa 17:35, 16 มิ.ย.

ส่วนตัวผมอยากให้ใช้ตามแบบของวิกิ Eng เลยนะฮะ ภูมิภาคก็ใช้เป็นเขตไปฮะ เช่น Kantō region ก็เป็น เขตคันโต แต่ผมยังติดใจตรง Prefectures นี่ล่ะฮะ ถ้าจะใ้ช้คำว่า จังหวัด จะได้หรือเปล่าหนอ? หรือถ้าจะใช้ เขตการปกครองพิเศษ มันก็จะไปตรงกับ Designated cities ที่จะต้องถูกจัดหมวดหมู่ไปด้วยนี่สิฮะ Evaneyline 11:44, 16 มิถุนายน 2007 (UTC)

ปกติ เขตของญี่ปุ่นจะมี หมู่ หรือ หมู่บ้านด้วยนิฮะ เหมือนจะนับด้วยนะ ส่วนพวกการแบ่งการปกครองหลัก ส่วนใหญ่ ก็คงใช้คำว่า เขต หรือ แทบ ต่อมาก็จะเป็นจังหวัด แล้วก็ เมือง -> หมู่ ตามลำดับ บางจังหวัดก็จะมีเมืองชื่อเหมือนกับจังหวัด ซึ่งเป็นอำเภอเมือง ส่วนที่ใช้แบบ Shimonoseki, Yamaguchi ผมคิดว่ามันไม่ค่อยสวยฮับ--明 アキラ - คุย   15:48, 16 มิถุนายน 2007 (UTC)

ผมว่าแบบจิบะก็ดีครับ ตอนแรกก็ใช้ชื่อเมืองเฉย ๆ ถ้าไปซ้ำกับชื่อเขตการปกครองค่อยไปวงเล็บว่า "เมือง" ดีกว่า จะได้เหมือนกับชื่อบทความเมืองของประเทศอื่น ที่เกือบทั้งหมดไม่มีคำว่า "เมือง" นำหน้าชื่อ แล้วก็จะเหมือนวิกิอังกฤษที่บางเมืองก็ใส่วงเล็บว่า city ไว้ด้วย แต่ที่เป็นเขตปกครองก็บอกลักษณะไว้ข้างหน้า เช่น รัฐ จังหวัด เขต ฯลฯ --Potapt 16:11, 17 มิถุนายน 2007 (UTC)

ไม่อยากให้ใช้คำว่าเมืองนำหน้าครับ ตามเหตุผลของคุณ Potapt ส่วนจะใช้หน้าหลัก (ที่เป็นชื่อเปล่า ๆ) เป็นหน้าแก้กำกวมหรือหน้าของเมืองก็ขึ้นอยู่กับความสำคัญของแต่ละตัว --KINKKUANANAS 17:45, 17 มิถุนายน 2007 (UTC)
ผมไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการแบ่งเขตการปกครองของญี่ปุ่นซักเท่าไหร่ แต่จากที่ดูมา ผมว่าตัวอย่างของ จิบะ น่าจะเป็นที่เข้าใจได้ดี เพราะมีการบอกทางเอาไว้ในตัวอย่างชัดเจนว่าชื่อนี้ใช้เรียกเขตการปกครองแบบใดบ้าง ทำให้ผู้อ่านหรือผู้ค้นคว้าสามารถจะเข้าไปได้ถูกจุดยิ่งขึ้น -- Glass Mask ๑๔.๕๒ น. ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ (UTC)
ตอนนี้ผมไล่เปลี่ยนเมืองอื่นให้เหมือนจิบะแล้วนะครับ โดยชื่อเปล่า ๆ จะเป็นหน้ากำกวม เพื่อให้คนอ่านกดเข้าไปเลือกได้ว่าจะอ่านที่ จังหวัด หรือ เมือง ครับ ตอนนี้ลองใช้ดูก่อน ถ้าอย่างไรค่อยว่ากันอีกทีครับ --Manop | พูดคุย -   19:40, 19 มิถุนายน 2007 (UTC)

การใช้ภาษาสำหรับบทความทางการแพทย์

  • ในบทความทางการแพทย์หลายบทความ มีการใช้การเขียนทับศัพท์พวกศัพท์เทคนิคต่าง ๆ หลากหลายมาก ผู้เขียนบทความบางท่านก็ใช้การถอดเสียงเอา (เช่น axon ใช้ว่า แอกซอน) หรือบางท่านก็ใช้ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน (เช่นผมเอง ใช้ว่า แกนประสาท) ผมเลยคิดว่า เราน่าจะมีระบบการแปลที่ให้เหมือน ๆ กัน เพื่อที่ว่าจะได้อ่านได้ง่าย และดูเป็นระเบียบแบบแผน มาตรฐานเดียวกันตลอดในทุก ๆ บทความ ซึ่งผมเลยอยากเสนอให้ใช้มาตรฐานของราชบัณฑิตยสถาน เพราะว่ามีความเป็นระบบดีในระดับหนึ่งอยู่แล้ว
  • แต่ก็มีปัญหาว่า ศัพท์บัญญัติบางคำก็ฟังดูไม่ make sense หรือฟังดูแปลก ๆ ตลก ๆ (เช่น action potential ใช้ศัพท์บัญญัติว่า ศักยะทำงาน ฟังดูพิกล ๆ บางท่านจึงเลี่ยงไปใช้คำว่า แอกชั่น โพเทนเชียล ทับศัพท์เอา) ผมเลยเกิดคำถามที่ว่า เราจะทำอย่างไรกับศัพท์ทางการแพทย์นี้ดี เพราะว่า บางคำแปลแล้วดูพิกล ๆ ดังกล่าว และบางคำ ทางราชบัณฑิตยสถานก็ไม่ได้กำหนดศัพท์บัญญัติไว้ (เช่น gap junction ไม่มีศัพท์บัญญัติ บางท่านจึงใช้ว่า แกป จังชั่น) หรือบางคำก็ไม่เป็นที่นิยมใช้กัน (เช่น action potential ดังกล่าวข้างต้น หรือคำว่า autonomic nervous system ที่ราชบัณฑิตให้ใช้ว่า ระบบประสาทอิสระ ในขณะที่สถานศึกษาทั่วไปใช้กันว่า ระบบประสาทอัตโนวัติ หรือบางที่ใช้ ระบบประสาทอัตโนมัติ) ผมเลยอยากลองถามเพื่อน ๆ ชาววิกิพีเดียดูว่า เราควรจะทำอย่างไร เราควรจะยึดมาตรฐานของราชบัณฑิตยสถานหรือไม่ หรือว่าเราควรมาตั้งมาตรฐานของวิกิพีเดียเอง ว่าคำใดจะใช้ตามหลักราชบัณฑิตยสถาน คำใดจะใช้ทับศัพท์ คำใดจะใช้ตามความนิยม
  • เพราะว่าศัพท์ทางการแพทย์นั้นมีเป็นภาษาอังกฤษมาก ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการตั้งชื่อบทความ เพราะนโยบายของวิกิพีเดียให้ใช้ชื่อบทความเป็นภาษาไทย แต่ชื่อทางการแพทย์บางอย่างเป็นภาษาอังกฤษที่ไม่มีศัพท์บัญญัติ ครั้นจะใช้ทับศัพท์ก็ดูแปลก ๆ อีกแล้ว (เช่น corpora quadrigermina ถ้าทับศัพท์ก็เป็น คอร์พอราควอไดร์เจอมินาร์ ซึ่งน่าจะค้นหาเจอยากมากถ้าผู้ค้นหาเขียนทับศัพท์ได้ไม่ตรงกับชื่อบทความ) ผมเลยมีคำถามที่สองอยากลองถามว่า ถ้าชื่อบทความที่เป็นทางการแพทย์ (หรือสาขาวิชาอื่น ๆ ก็ได้) ที่เป็นภาษาอังกฤษแต่ไม่มีศัพท์บัญญัติ จะตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษได้หรือไม่ หรือถ้าไม่ได้ ให้ใช้ทับศัพท์ หรืออย่างไร
  • ผมคิดจนปวดหัวก็คิดไม่ออกครับ วานเพื่อน ๆ ช่วยกันลงความเห็นหน่อยครับ ถ้าอ่านข้อความข้างบนไม่รู้เรื่อง ลองถามกลับมาได้นะครับ · Dr.Garden · พูดคุย · 10:45, 26 มิถุนายน 2007 (UTC)
นอกเหนือจากที่กล่าวการทับศัพท์ไว้ที่ วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ#การทับศัพท์ชื่อ แล้ว ผมก็มีปัญหาเหมือนกันครับ พวกศัพท์คอมพิวเตอร์ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นภาษาอังกฤษเหมือนกัน ซึ่งส่วนใหญ่ที่ผมใช้คือ ถ้าศัพท์คำไหนไม่ยาวส่วนมากก็ทับศัพท์ไทย แต่ถ้าศัพท์ยาวมากพอทับศัพท์แล้วจะยิ่งไม่คุ้น จะใช้เป็นชื่อภาษาอังกฤษเป็นชื่อบทความไปเลย โดยตรงส่วนหัวใส่แม่แบบ {{ชื่อภาษาอื่น}} หรือ {{ชื่ออังกฤษ}} ไว้ และในตัวบทความเองมีเขียนกำกับในตัวบทความว่าอ่านอย่างไรครับ ลองดูความเห็นของท่านอื่นดูบ้างว่าคิดกันอย่างไรครับเกี่ยวกับเรื่องนี้ --Manop | พูดคุย -   22:00, 26 มิถุนายน 2007 (UTC)
    • ตรงนี้ผมเองก็มีปัญหาในการเขียนทับศัพท์ชื่อทางด้านกายวิภาคเหมือนกันครับ ซึ่งที่ผมตั้งไว้เป็นหลักคร่าว ๆ ในการเขียนในบทความของผมคือ
  1. ศัพท์ที่พอจะเขียนแปลเป็นภาษาไทยได้ โดยที่ความหมายไม่เกิดความสับสนในทางกายวิภาค ก็จะใช้ชื่อนั้นไปก่อน เพื่อให้คนอ่านเข้าใจได้ง่าย เช่น Brachial artery = หลอดเลือดแดงต้นแขน (brachial = ต้นแขน) หรือ Temporal bone = กระดูกขมับ (temporal = ขมับ)
  2. ศัพท์ที่ไม่สามารถเขียนเป็นคำแปลภาษาไทยได้ หรือถ้าเขียนแล้วจะทำให้สับสนไม่เข้าใจ ก็จะใช้การเขียนทับศัพท์ชื่อภาษาอังกฤษ เช่น กระดูกเรเดียส กระดูกอัลนา (แต่อาจจะมีหน้าเปลี่ยนทางมา ถ้าสามารถสะกดได้หลายแบบ เช่น ไฮโปธาลามัส ที่บางตำราเขียนว่า ฮัยโพธาลามัส)
  3. จากข้อ 2. ถ้าเป็นศัพท์ที่เฉพาะเจาะจงมาก ๆ หรือไม่สามารถเขียนทับศัพท์ให้พอเข้าใจได้ ก็อาจจำเป็นต้องมีหน้าที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ แล้วค่อยเปลี่ยนทางมาหน้าที่เขียนด้วยภาษาไทยแทน

ต้องขอย้ำว่านี่เป็นหลักคร่าว ๆ ในการเขียนของผมเท่านั้น ไม่ได้ยึดตามหลักของราชบัณฑิตยสถานเสียเท่าไหร่ เพราะสาเหตุตามที่คุณ Drgarden ได้เปิดประเด็นไว้ (บางคำมันฟังดูแปลกจริง ๆ) อย่างไรก็จะรอรับฟังความเห็นของผู้ใช้ท่านอื่น ๆ ครับ --Nerveplexus 08:33, 27 มิถุนายน 2007 (UTC)

ไม่ขอให้ความเห็นเรื่องการตั้งชื่อ เพราะไม่ได้เขียนบทความพวกนี้เท่าไรนัก แต่คิดว่า ทุกหน้าเหล่านี้ควรจะมีหน้าเปลี่ยนทางจากคำภาษาอังกฤษทั้งหมดครับ (ถ้าไม่ใช้เป็นชื่อหลัก) --KINKKUANANAS 11:47, 27 มิถุนายน 2007 (UTC)

ก็คงไม่เฉพาะศัหท์แพทย์มังครับ ผมอยากจะเขียนเรื่องทางพันธุศาสตร์ลงระดับโมเลกุล ระดับยีน ยังคิดแล้วคิดอีก และได้ลองเขียนให้บางท่านได้อ่านก่อนด้วยซ้ำ ยังส่ายหัวงก ๆ เพราะถ้าบางคำเขียนเป็นไทยแล้วจะงงกว่าเขียนทับศัทพ์ด้วยซ้ำ บางครั้งอุปสรรคเหล่านี้อาจจะเป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้บทความทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพดูจะไม่ก้าวหน้านักสำหรับวิกิพีเดียไทย แนวทางของคุณ Nerveplexus ดูจะเข้าท่านะครับ เห็นด้วยครับ --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 04:56, 29 มิถุนายน 2007 (UTC)

การทับศัพท์ชื่อชาวจีน ชาวเกาหลี ชาวเวียดนาม

ถ้าการพูดคุยส่วนนี้ได้ข้อสรุป ให้นำไปปรับปรุงที่ วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ

ผมมีปัญหาตรงที่ไม่รู้ว่าชื่อคนจีนที่มี 2 พยางค์ หรือ 3 พยางค์นั้น เวลาเขียนทับศัพท์เป็นภาษาไทยแล้วต้องเขียนติดกัน หรือเขียนแยกกัน กันแน่ครับ

เช่น ชื่อ Li Chun (李純 แปลจากพินอินแล้ว จะอ่านว่า หลี่-ฉุน) จะเขียนว่า "หลี่ ฉุน" แบบแยกกัน หรือว่า "หลี่ฉุน" แบบติดกัน ครับ

ขอบคุณคร้าบ -- Glass Mask ๑๖.๓๔ น. ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ (UTC)

ที่มีเขียนในหน้านโยบาย วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ#ชื่อบุคคลชาวจีน ที่นามสกุลนำหน้า เขียนให้แยกนามสกุลกับชื่อออกจากกันครับ --Manop | พูดคุย -   05:20, 29 มิถุนายน 2007 (UTC)
เรื่องนี้ไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่เลยค่ะ เพราะอย่างภาษาอังกฤษ คุณ Manop (ขอโทษด้วยนะคะที่ต้องอ้างชื่อ) ยังบอกว่าเวลาเขียนเป็นคำภาษาไทยไม่น่าจะเว้นวรรคเยอะแบบอังกฤษ ซึ่งเราคิดว่าชื่อภาษาจีนก็น่าจะเหมือนกัน เช่น Li Chun ที่จะออกเสียงว่า หลี่ฉุน ติดกันไปเลย ไม่ใช่ หลี่..ฉุน (ต่างกับชื่อภาษาญี่ปุ่นที่สมควรมีการเว้นวรรคระหว่างชื่อและสกุล เพราะออกเสียงแยกกันจริง ๆ) คุณ Phisite เองก็เคยบอกไว้ในหน้านี้ว่าชื่อคนจีนเมื่อถอดเป็นอักษรไทยไม่นิยมเว้นวรรคระหว่างแซ่กับชื่อ
ก็พูดในฐานะคนไม่มีความรู้ภาษาจีนนะคะ หากนั่นเป็นนโยบายที่ตัดสินแล้ว ก็คงไม่คัดค้านอะไรค่ะ (เพียงแต่มันไม่ค่อยคุ้นเท่านั้นเอง) --Piggy 15:07, 11 กรกฎาคม 2007 (UTC)
น่าจะคัดค้านหรือสรุปใหม่ได้นะครับ ถ้าจำไม่ผิดนโยบายนี้ไม่มีการเสนอไม่มีการตัดสินอะไรเท่าที่ผ่านมา เพียงแต่เขียนไว้เป็นแนวทางซะมากกว่า ผมว่าลองเสนอใหม่ และดูความเห็นจากหลาย ๆ ท่านครับ เพราะตอนนี้คงมีคนหลายคนเข้ามาเขียนในวิกิพีเดียเยอะ น่าจะมีความเห็นที่หลากหลายขึ้น อันนี้อาจจะรวมขอความเห็นรวมไปถึง ชื่อจีน เกาหลี เวียดนาม ที่นามสกุลนำหน้าชื่อครับ ส่วนตัวแล้วผมไม่มีความรู้เรื่องนี้เลยว่าจะเขียนติดกันหรือเขียนแยก
ตอนนี้คงสรุปได้คร่าว ๆ ว่าใช้นามสกุลนำหน้าชื่อสำหรับ ชาวจีน เกาหลี เวียดนาม (ถ้าไม่เห็นด้วยค้านได้ครับ) ส่วนญี่ปุ่นก็สลับชื่อเหมือนที่ปรากฏ ส่วนการเว้นวรรคนี่ฝากทุกท่านช่วยออกความเห็นครับ ตัวอย่างชื่อตอนนี้
ถ้าสรุปได้จะได้ปรับแก้ในหน้า วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ และแก้ไขบทความให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันครับ --Manop | พูดคุย -   18:45, 11 กรกฎาคม 2007 (UTC)
เวลาชื่อคนจีนเขียนเป็นภาษาอังกฤษ จะเว้นวรรคนามสกุลกับชื่อออกจากกันโดยนำนามสกุลขึ้นก่อน ส่วนในนามสกุลหรือชื่อตัวจะเขียนติดกันไม่ว่าจะมีกี่พยางค์ เช่น
  • {1}_{2}
  • {1}_{2}{3}
  • {1}{2}_{3}
  • {1}{2}_{3}{4}
ซึ่งแซ่จีนไม่ได้มีคำเดียวเสมอไป ในภาษาไทยจึงควรเขียนตามนี้เพราะจะได้รู้ว่าตรงไหนเป็นชื่อหรือแซ่ เพราะถ้าเว้นทั้งหมดหรือติดกันหมดก็จะไม่รู้อะไรเลย (ก็เหมือนชื่อไทย) ตรงนี้อาจารย์ชาวจีนเป็นคนบอกมาเอง สำหรับชื่อชาวเกาหลีและเวียดนามสามารถเขียนให้เป็นอักษรจีนได้ทุกคน ดังนั้นก็ควรใช้หลักเดียวกันนี้ --Octahedron80 04:37, 12 กรกฎาคม 2007 (UTC)
เห็นด้วยกับที่คุณออกตาฯ80บอกครับ ยกเว้นอันที่มีชื่อพยางค์เดียว นามสุกลพยางค์เดียวครับ อันนี้ผมว่าควรเขียนติดกันเลย--Mda
เข้าใจแล้วค่ะ ขอบคุณมากสำหรับความเห็น เพราะเราก็ไม่มีความรู้เรื่องภาษาจีนเลย แค่รู้สึกคุ้นเคยกับการเขียนชื่อแซ่ติดกันมากกว่าเท่านั้นเอง ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรแล้วล่ะ ที่เหลือก็แค่ไล่แก้ชื่อให้เหมือนกันหมดทุกบทความ --Piggy 13:49, 12 กรกฎาคม 2007 (UTC)
ขอใช้สิทธิพาดพิงเล็กน้อยครับ :) ในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาจีนและภาษาฮินดี ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (ฉบับล่าสุด) ในส่วนของภาษาจีนระบุไว้ว่า "การแยกคำให้ยึดตามต้นฉบับ ยกเว้นคำที่ใช้ในภาษาไทยจนเป็นที่ยอมรับแล้ว เช่น Kǒng zǐ = ขงจื่อ (ขงจื๊อ) " ถ้าถือตามหลักเกณฑ์นี้ การเขียนชื่อบุคคลร่วมสมัยก็น่าจะเว้นวรรคระหว่างชื่อสกุลกับชื่อตัวเหมือนในพินยิน ส่วนชื่อที่เป็นที่รู้จักกันดีแล้วก็ให้เขียนต่อไปตามเดิมได้ครับ --Phisite 15:58, 12 กรกฎาคม 2007 (UTC)
ท่านขงจื๊อ ท่านไม่ได้ชื่อจื๊อ/จื่อ นะครับ ทั้งสองคำรวมกันเป็นนามแฝง ซึ่งมีชาวตะวันตกเรียกท่านว่า ขงฟู่จื่อ (Confucius) อีกด้วย ทั้งสองอย่างแปลรวมกันว่า "อาจารย์ขง" ไม่จำเป็นต้องแยกอยู่แล้ว ไม่เข้าข่ายการพิจารณา --Octahedron80 16:07, 12 กรกฎาคม 2007 (UTC)
เสริมนิดหน่อยครับตามคุณ Octahedron80 ชื่อ จื๊อ จะเป็นชื่อที่ใช้เรียกยกย่องเหมือนคำว่าอาจารย์ ประมาณนั้นนะครับ คล้าย ๆ กับ เล่าจื๊อ เม่งจื๊อ --Manop | พูดคุย -   16:39, 12 กรกฎาคม 2007 (UTC)
ชาวเวียดนาม ส่วนใหญ่มีสามส่วนครับ นามสกุลหลัก นามสกุลรอง และ ชื่อ อยู่ท้ายสุด ควรเขียนแยกกัน คนที่มีสองส่วน คือ นามสกุลและชื่อ ครับ ควรแยกตามภาษาเดิม -- Liger (~ /|\ ~ ) คุยกันได้ 16:44, 12 กรกฎาคม 2007 (UTC)
แล้วจะเว้นวรรคระหว่างนามสกุลหลักกับนามสกุลรองไหมครับ--Octahedron80 04:22, 13 กรกฎาคม 2007 (UTC)
ผมเห็นด้วยกับการแยกระหว่างชื่อกับนามสกุล ของคนจีน เวียดนาม เกาหลี โดยให้นามสกุลขึ้นก่อน และเห็นว่าควรแยกตามระบบนี้แม้ว่าชื่อจะมีคำเดียวและนามสกุลคำเดียวครับ และเห็นว่าน่าจะแยกระหว่างนามสกุลหลักกับนามสกุลรองของคนเวียดนามด้วยครับ Saeng Petchchai 07:06, 13 กรกฎาคม 2007 (UTC)
ผมลองเขียนสรุปในหน้า วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ ตามความเห็นด้านบนนะครับ อย่างไรช่วยปรับปรุงด้วยครับ --Manop | พูดคุย -   22:38, 16 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ดีเจ

ดีเจ กับ นักจัดรายการวิทยุ ต่างกันตรงไหน เห็นหมวดหมู่ ดีเจ เป็นหมวดย่อยของ นักจัดรายการวิทยุ --Octahedron80 05:33, 1 กรกฎาคม 2007 (UTC)

เท่าที่รู้นะครับ ดีเจ มาจากคำว่า Disk Jockey จะหมายถึงคนที่เป็นผู้เปิดแผ่นซีดีเพลงตามที่ต่าง ๆ เช่น ผับ ดิสโก้เทค ตามงานแสดงบางงาน บางคนอาจรวมนักจัดรายการวิทยุเป็นดีเจด้วย :nop_s

เริ่มแรก คำว่าดีเจ ก็คือ Disk Jockey คนเปิดเพลง โดยเริ่มจากเป็นนักจัดรายการวิทยุ ซึ่งมีมาร่วม 100 ปีได้แล้ว ต่อมามีคนคิดคำว่า DJ ขึ้นมาคือ Walter Winchell (1934) อธิบายถึงนักจัดรายการวิทยุ...ซึ่งเป็นคนเลือกแผ่นเปิดเพลง ต่อมาเมื่อมีนักเปิดแผ่นงานปาร์ตี้ในปี 1943 (เปิดเพลงแนวแจ๊ส) เป็นครั้งแรกก็เรียกดีเจเหมือนกัน จนกระทั่งเพลงแนวฮิปฮอปเกิดขึ้นช่วงทศวรรษที่ 70 พวกที่เปิดเพลงตามปาร์ตี้ก็เรียกดีเจเหมือนกัน ปัจจุบัน ซึ่งมีดีเจหลายคนก็ออกแผ่นขาย สำหรับคนไทย ดีเจน่าจะหมายถึงนักจัดรายการวิทยุที่รายการเปิดเพลงด้วย ส่วนนักจัดรายการวิทยุ คงหมายถึง ผู้ที่จัดรายการวิทยุที่พูดอย่างเดียว ไม่เปิดเพลง จำพวก จ.ส.100 ส่วนดีเจคือ นักจัดรายการวิทยุที่เปิดเพลง เลือกเพลงให้ฟัง คิดว่าอย่างนั้นครับ --Sry85 15:08, 29 กรกฎาคม 2007 (UTC)

แก้กำกวม

ผมต้องการเขียนบทความเกี่ยวกับ Roland Kent Lavoie หรือโลโบนั่นเองครับ พอดูวิกิอังกฤษ ก็ได้พบ...โลโบ เต็มไปหมด ต้องทำหน้าแก้กำกวมให้ครบไหมครับเนี่ย.. (รวมถึงเครื่องแกงโลโบด้วย) ปกตินี่แก้กำกวมกันแค่ไหนครับ เอ้อ..รบกวนใครสักคนช่วยถอดเสียง Kent Lavoie ให้ด้วยครับ ได้โปรด..--Shā Azunaburu | คุยกันได้ 07:38, 9 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ผมว่าสร้างหน้าแก้ความกำกวมไว้ก็ดีนะครับ โลโบ ผมไม่รู้จักนักดนตรี แต่รู้จักตัวการ์ตูน กับเครื่องแกง แฮะ --Manop | พูดคุย -   03:18, 10 กรกฎาคม 2007 (UTC)
ทดลองแล้วครับ นอกจากนักร้องกับตัวโลโบของดีซี ผมก็ไม่รู้จักเหมือนกัน ใครแก้ไขได้ก็ลองเลยละกันครับ--Shā Azunaburu | คุยกันได้ 08:08, 10 กรกฎาคม 2007 (UTC)

make sense

พอมีใครสามารถแปลสำนวน make sense ให้เป็นไทยได้บ้างครับ เพราะบทความอังกฤษมีปรากฏอยู่ ผมจะแปลไม่รู้จะแทนด้วยอะไร --Octahedron80 03:40, 30 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ไม่มีคำแปลตรง ๆ นะ ผมจะแปลประมาณว่า สมเหตุสมผล น่ะครับ --PaePae 04:39, 31 กรกฎาคม 2007 (UTC)
น่าจะแปลว่า ให้ใช้วิจารณญาณและจิตสำนึกแห่งความเป็นมนุษย์ นะคะ

Krungthep Mahanakhon

HI, where can I find that famous long long long name - in ภาษาไทย & ภาษาอังกฤษ ?

believe me or not, I used to recite that name in ภาษาจีน - now I can only manage up to the "Rattanakosin" bit :- ( ( (

Mori Riyo 00:10, 1 สิงหาคม 2007 (UTC)

Let see en:Bangkok#Full name :-) --PaePae 02:28, 1 สิงหาคม 2007 (UTC)

กรุงเทพมหานคร#ชื่อเมือง See the bold name in paragraph 1 and the first italics name in paragraph 3. --Octahedron80 03:48, 1 สิงหาคม 2007 (UTC)

That's Soooooo Cool ! Thank you guys !!
Mori Riyo 04:36, 1 สิงหาคม 2007 (UTC)

บริษัท - ธุรกิจ

อะไรคือความแตกต่างของ หมวดหมู่:ธุรกิจข้ามชาติ - หมวดหมู่:บริษัทข้ามชาติ, หมวดหมู่:ธุรกิจรถยนต์ - หมวดหมู่:บริษัทรถยนต์, หมวดหมู่:ธุรกิจสิ่งพิมพ์ - หมวดหมู่:บริษัทสิ่งพิมพ์ เท่าที่เห็นใช้ตอนนี้ ไม่มีความแตกต่างกันเท่าไรนัก --KINKKUANANAS 04:22, 11 สิงหาคม 2007 (UTC)

เรื่อง "ธุรกิจ" ทั้งหลายแหล่เป็นความรู้ในทางเศรษฐศาสตร์ เป็นหัวข้อเรียนรู้เอาไว้ศึกษา ส่วน "บริษัท" คือองค์กรที่เอาความรู้ทางธุรกิจนั้นไปแสวงหาผลประโยชน์ ตัวอย่างเช่น แฟรนไชส์ ควรไปอยู่ที่ธุรกิจ ส่วน ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว ที่ทำธุรกิจแฟรนไชส์ ควรไปอยู่ที่บริษัท เข้าใจไหมครับ ถ้าจะให้ดีช่วยจัดหมวดหมู่ใหม่ด้วยแล้วกันครับ--Octahedron80 05:19, 11 สิงหาคม 2007 (UTC)

ก่อนหน้านี้มีการย้ายบางบทความจาก "บริษัท" ไป "ธุรกิจ" ถ้าอย่างนั้นผมจะจัดใหม่เลยนะครับ --KINKKUANANAS 10:49, 11 สิงหาคม 2007 (UTC)

Los Angeles

Los Angeles คำนี้อ่านว่าอย่างไร และเขียนอย่างไรดีครับ

  • ลอส
  • แอง/แอน
  • เจ/เจอ
  • ลิส/ลีส

ฝากตามไปตอบที่ พูดคุย:ลอสแองเจลีส เนื้อหาจะได้อยู่ในตัวบทความไปด้วย --Manop | พูดคุย 18:52, 11 สิงหาคม 2007 (UTC)

ชื่อสโมสรฟุตบอลต่างประเทศ

มีหลักการตั้งชื่อบทความอย่างไรครับ สังเกตว่า สโมรสรอังกฤษส่วนใหญ่จะมี F.C. (Football club) ซึ่งเวลาเป็นภาษาไทยมักจะใช้ สโมสรฟุตบอล เช่น สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล แต่พอเป็นภาษาอื่น จะเริ่มมีปัญหาบ้าง อย่างเช่นทีมจากประเทศอิตาลี ที่มีชื่อค่อนข้างหลากหลาย มีทั้ง ภาษาอังกฤษเป็น F.C. เช่น สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส เป็นภาษาอิตาลี เช่น Associazione Calcio Milan (สโมสรฟุตบอลมิลาน? - ปัจจุบันใช้เอซี มิลาน) และยังมีชื่อความหมายอื่น ๆ เช่น Associazione Sportiva Roma (สโมสรกีฬาโรมา? - ปัจจุบันใช้สโมสรฟุตบอลโรม่า) Società Sportiva Lazio (สโมสรกีฬาลาซิโอ? - ปัจจุบันใช้สโมสรฟุตบอลลาซิโอ) ในกรณีหลังนี้ โรมาเป็นเพียงสโมสรฟุตบอล แต่ลาซิโอเป็นสโมสรกีฬาหลากหลายชนิด (แต่มีชื่อเสียงที่สุดคือฟุตบอล)

การใช้คำว่า "สโมสรฟุตบอล" ควรดูตามลักษณะองค์กรหรือตามชื่อครับ เช่น โรม่า ควรจะเป็นสโมสรกีฬาโรมา (ตามชื่อ) หรือสโมสรฟุตบอลโรมา (ตามลักษณะ) หรือถ้าใช้ตามแบบเอซี มิลาน ก็อาจจะเป็น เอเอส โรมา (อาเอสเส โรมา?) จริง ๆ อาจจะไม่จำเป็นต้องเหมือนกันเป๊ะ ๆ ทุกบทความ เพียงแต่เห็นว่า มีบางอันที่อาจจะดูแปลก ๆ (เช่น สโมสรฟุตบอลลาซิโอ มีกีฬาหลายชนิด? - Società Sportiva) และบางอันที่อาจจะเป็นกรณีเดียวกัน (เอซี มิลาน - เอเอส โรมา?) --KINKKUANANAS 17:52, 3 สิงหาคม 2007 (UTC)

พ่วงไปอีกอันละกันครับว่า ลาซิโอ หรือ ลาซีโอ ตอนนี้มี สโมสรกีฬาลาซีโอ แล้วก็ตัวอักษรนี่จะใช้คำอ่านตามอังกฤษ หรืออิตาลีดีครับ A - เอ/อา เหมือนกับ เซเรียอา/ซีรีย์เอ แล้วก็ีอกย่างฝากสอบถามว่า ชื่อทีมจะเว้นวรรคระหว่างชื่อดี หรือว่าเขียนติดกันดี (ผมเคยเสนอให้เว้นวรรคระหว่างชื่อไป แต่ท่าทางอาจต้องเปลี่ยน) ตอนนี้มีตัวอย่างเช่น แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด กับ ลอสแอนเจลิส แกแลกซี กับ เอซี มิลาน
ส่วนรายชื่อทั้งหมดตอนนี้ลองดูได้ที่ หมวดหมู่:สโมสรฟุตบอล --Manop | พูดคุย 22:37, 23 สิงหาคม 2007 (UTC)

ในหน้า หมวดหมู่:สโมสรฟุตบอล มีชื่อหมวดหมู่ย่อยแบบนี้

  • สโมสรฟุตบอลอาร์เจนตินา
  • สโมสรฟุตบอลเวียดนาม
  • สโมสรฟุตบอลในประเทศไทย
  • สโมสรฟุตบอลอังกฤษ
  • สโมสรฟุตบอลอิตาลี

ควรจะใช้แบบ "สโมสรใน (ชื่อประเทศ) "หรือ "สโมสร (สัญชาติ) " ดีครับ ? 58.136.73.234

number vs numeral

  • number แปลว่า จำนวน
  • numeral แปลว่า เลขหรือตัวเลข

อย่าแปลผิดกันนะครับ ตัวอย่างเช่น

--Octahedron80 05:01, 27 สิงหาคม 2007 (UTC)

นักกฎหมาย

ตามราชบัณฑิตฯ

jurist แปลว่า นักนิติศาสตร์

lawyer แปลว่านักกฎหมายหรือทนายความ

บทความนักกฎหมายที่ต้องการคืออะไร ลองนิยามคร่าว ๆ ได้ไหมครับ --Shā Azunaburu | คุยกันได้ 16:14, 7 กันยายน 2007 (ICT)

ผมคงแปลผิดนะครับ ช่วยจับคู่ให้ไหม่ด้วย (ราชบัณฑิตฯ มีพจนานุกรมอังกฤษ-ไทยด้วยเหรอ) --Octahedron80 14:53, 24 กันยายน 2007 (ICT)

ผมได้มาเป็นซีดีจากราชบัณฑิตฯ ครับ (ไถคนอื่นมาอีกที) (แต่ใช้หาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ..) แล้วก็มีเล่มศัพท์กฎหมายของราชบัณฑิตฯ เท่าที่อ่านในหน้าวิกิอังกฤษผมรู้สึกว่าความหมายมันยังแปลก ๆ อยู่ ตอนแรกผมว่าจะแปลก็เลยไม่ได้แปลครับ คิดว่าน่าจะลองนิยามคร่าว ๆ ว่าบทความนี้จะสื่อถึงอะไร เพราะวิกิอังกฤษในหน้านี้ผมว่ามันไม่ค่อยเคลียร์ (เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ) แต่ถ้าคิดว่าเคลียร์กันแล้วก็ลอกตามวิกิอังกฤษก็ได้ เพราะผมหาอ้างอิงภาษาไทยไม่ได้--Shā Azunaburu | คุยกันได้ 15:07, 24 กันยายน 2007 (ICT)

นอกจากนี้ ยังมีคำว่า นิติกร solicitor barrister attorney อีกครับ ไม่รู้ว่าเมืองไทยจะแปลกันว่าอย่างไรบ้าง

solicitor กับ barrister และ attorney ผมเขียนในหัวข้อ ทนายความ แล้วครับ แต่เขียนไม่จบ (ยังหาอ้างอิงไม่ได้ เพราะขี้เกียจหาอ่ะ...) แต่จำได้ว่าน่าจะมีในหนังสือพวกหลักวิชาชีพนักกฎหมายน่ะครับ (มีวิชานี้จริง ๆ แต่ผมก็ไม่รู้จะเขียนเรื่องนักกฎหมายยังไง) ถ้าเขียนได้แค่หมายถึงผู้ที่จบนิติศาสตร์ หรือผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมาย ก็เขียนเป็นบทความไม่ได้หรอกครับ--Shā Azunaburu | คุยกันได้ 16:14, 24 กันยายน 2007 (ICT)

เจออ้างอิงแล้วครับ ผมตกลงจะเขียนตามหนังสือหลักวิชาชีพนักกฎหมายของท่านอาจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ท่านแปล lawyer ไว้ทั้งทนายความและนักกฎหมายเลย ผมจึงจะทำหน้าเปลี่ยนทางต่อไป และท่านได้บัญญัติศัพท์คำว่านักนิติศาสตร์ไว้แยกจากนักกฎหมายด้วยครับเป็นคำว่า doctrine (ชัดที่สุดเท่าที่ผมจะหาได้แล้ว) --Shā Azunaburu | คุยกันได้ 23:31, 29 กันยายน 2007 (ICT)

เสร็จแล้ว..ลองอ่านดูนะครับว่าเข้าในหรือเปล่า นักกฎหมาย--Shā Azunaburu | คุยกันได้ 14:23, 21 ตุลาคม 2007 (ICT)

ขอคำแปล

อยากได้คำแปลไทยของคำนี้ครับ GNU Free Documentation License พอมีใครแปลได้ไหมครับ --Manop | พูดคุย 05:12, 19 กันยายน 2007 (ICT)

Free แปลว่าสาธารณะ Documentation แปลว่าการหาเอกสารมาประกอบ License แปลว่าอนุญาต

รวมกัน (พยายามสุดชีวิต) เป็น สัญญาอนุญาตให้ใช้เอกสารโดยกำหนดให้เป็นสมบัติของสาธารณะ ผมว่าอย่าแปลเลยครับ เขียนคำอธิบายง่ายกว่า..ผมเคยเห็นมาหลายคำแล้ว มันไม่รุ่งเช่น ละมุนภัณฑ์ไงครับ...--Shā Azunaburu | คุยกันได้ 14:49, 24 กันยายน 2007 (ICT)

"สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู" --Octahedron80 20:18, 24 กันยายน 2007 (ICT)
ไม่ได้กะให้รุ่งนะครับ กะแค่เอาไว้เรียกเฉย ๆ หรืออาจจะทับศัพท์ เหมือนอย่าง Wikipedia -> วิกิพีเดีย, computer -> คอมพิวเตอร์ ยังมีใช้เป็นคำไทยนะครับ
จะว่าไปคำนี้คนไทยหรือขนาดในวิกิเองก็คงยังไม่รู้จักนะครับ คือตอนนี้ต้องการปรับปรุงข้อความทั้งหมดของวิกิพีเดียไทยครับ เพราะถ้าเป็นอย่างสมัยก่อนจะเป็นเมนูไทยคำอังกฤษคำ แบบ //th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81&uselang=en
--Manop | พูดคุย 23:38, 24 กันยายน 2007 (ICT)
เอาตามคุณบอร์นก็ได้ครับ เพราะมีคำอธิบายในบทความแล้ว แล้วค่อยไล่ทำหน้าเปลี่ยนทางในคำใกล้เคียงไปเรื่อย ๆ Shā Azunaburu | คุยกันได้ 23:44, 29 กันยายน 2007 (ICT)
ถ้ามีความเห็นเพิ่ม ต่อได้ที่ พูดคุย:สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู ครับ --Manop | พูดคุย 06:48, 5 ตุลาคม 2007 (ICT)

ห้างสรรพสินค้า

ห้างสรรพสินค้า ควรจับคู่กับอะไรระหว่าง en:Department store กับ en:Shopping mall แล้วอีกอันนึงล่ะ?

ส่วนคำอื่นที่จับคู่ไว้แล้วเช่น

--Octahedron80 20:14, 24 กันยายน 2007 (ICT)

ส่วนตัวคิดว่า ห้างสรรพสินค้า = en:Department store เช่น ห้างสรรพสินค้า.... (เติมแบรนด์ต่าง ๆ ได้ในช่องว่าง) แยกเป็นแผนก ๆ เสื้อผ้า เครื่องหนัง เครื่องใช้ไฟฟ้า
ศูนย์การค้า = en:Shopping mall เช่น ศูนย์การค้าสยาม ศูนย์การค้าอินทรา สมัยก่อน แต่ละร้านแยกกันเป็นเอกเทศ ร้านขายเสื้อผ้าอาจอยู่ห้องติดกับร้านเฟอร์นิเจอร์
แต่ห้างสรรพสินค้าในปัจจุบันมักมีศูนย์การค้าอยู่ด้วยในอาคารเดียวกันทำให้ยากต่อการแยกแยะ
--TinWristle 18:48, 25 กันยายน 2007 (ICT)
Shopping mall จะมีลักษณะเหมือน ซีคอนสแควร์ หรือ มาบุญครอง นะครับโดยเป็นสถานที่จัดแล้วจะมีแต่ละร้านมาเช่าที่แล้วเปิดขายของตัวเอง
Department store จะเหมือน โรบินสัน ที่ทางห้างขายเองหมดโดยแยกแผนกเหมือนที่คุณ TinWristle ว่าไว้ด้านบน
--Manop | พูดคุย 10:48, 4 ตุลาคม 2007 (ICT)

งั้นจับคู่ตามคุณทินเลย --Octahedron80 17:55, 8 ตุลาคม 2007 (ICT)

ชื่อประเทศ (อีกรอบ)

ความเดิมจากหน้า คุยกับผู้ใช้:Kinkku Ananas

- สวัสดีครับ ยินดีที่ได้รู้จัก ผมว่าเอาชื่อที่เข้าถึงได้ง่ายที่สุด สั้นที่สุด แต่ก็ถูกต้องอยู่ ดีที่สุดครับ ประเทศที่มีชื่อเรียกทั่วไปกับชื่อทางการยาว ๆ เหมือนกัน อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา, สาธารณรัฐเช็ก ผมว่าใช้แบบนี้ไปเลยดีแล้วครับ ไม่ต้องมีคำว่าประเทศนำหน้าก็เข้าใจได้แล้วว่าเป็นประเทศ

แต่อย่างประเทศที่มีชื่อเรียกกันทั่วไป เช่น ประเทศไทย, ประเทศอินเดีย ก็ใช้แบบนี้ก็ OK ครับ

ถ้าใช้ "ไทย" หรือ "อินเดีย" เฉย ๆ เดี๋ยวไม่รู้ว่าหมายถึงประเทศหรือเชื้อชาติ

หรือถ้าจะเป็น "ราชอาณาจักรไทย" หรือ "สาธารณรัฐอินเดีย" ให้เป็นทางการอย่างข้างบน คงไม่ต้องถึงขนาดนั้น บอกไว้ข้างในเนื้อหาก็ได้ เพราะบางประเทศก็ไม่มีชื่อทางการที่บอกระบอบการปกครอง เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศมาเลเซีย หรือบางประเทศก็มีชื่อทางการเป็นอย่างอื่น เช่น สาธารณรัฐเฮลเลนิก (ประเทศกรีซ) สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต (ประเทศติมอร์ตะวันออก)

ส่วนที่บางบทความใช้ชื่อประเทศเป็นทางการ แต่ก็มีชื่อเรียกสั้น ๆ อย่าง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ฯลฯ อย่างนี้ผมอยากให้ใช้ว่า ประเทศลาว ประเทศจีน ประเทศอินโดนีเซีย อะไรแบบนี้มากกว่า (รู้สึกว่าตอนแรกชื่อบทความก็จะเป็นแบบนี้นะครับ แต่ทำไมถึงเปลี่ยนผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน)

เท่าที่เห็น ยังไม่มีใครคุยเรื่องนี้นะครับ แต่ถึงจะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน ยังไงก็ได้ครับ เพราะยังไงในเนื้อหา ก็ใช้ชื่อเรียกทั่วไป ไม่นิยมเขียนยาว ๆ อยู่แล้ว อีกอย่างเวลาเราใส่ชื่อ ประเทศลาว ประเทศอินโดนีเซีย ก็จะ redirect ไปหน้านั้นอยู่แล้ว

ส่วนรูปแบบอื่น ๆ ถ้าเป็นแบบเดียวกัน ก็ดีแน่นอนครับ --Potapt 05:09, 3 ธันวาคม 2006 (UTC)

- ขอเพิ่มเติมครับงั้นผมว่า มาช่วยกันไล่เปลี่ยนให้เป็นรูปแบบเดียวกันหมดดีไหมครับ อาจมาช่วยกันคิดก่อนว่า มีอันไหนบ้างที่อาจจะมีปัญหา เช่น สหรัฐอเมริกา ถามเพิ่มอีกอย่างครับเรื่อง ประเทศอังกฤษ กับ ประเทศเวลส์ และอื่น ๆ ว่าจะใช้คำอะไรดีครับ --Manop | พูดคุย -   05:20, 3 ธันวาคม 2006 (UTC)

- คำว่า "แคว้น" คิดว่ายังไงครับ ถ้าใช้ "ประเทศ" อาจจะสับสน เพราะประเทศในที่นี้และในความหมายทั่วไป หมายถึงเฉพาะดินแดนที่มีเอกราชเท่านั้น --Potapt 05:51, 3 ธันวาคม 2006 (UTC)

- คราวก่อนผมเปลี่ยนจากคำว่าหว่า แคว้นอังกฤษ เป็น ประเทศอังกฤษ ครับ ^_^ ตอนนั้นลองกูเกิลหาข้อมูลดู ปรากฏว่าไม่ค่อยมีคนใช้กันเท่าไรคำนี้ มีเฉพาะในวิกิพีเดียเท่านั้น (รวมถึงเว็บอีกหลายเว็บที่เอาข้อมูลจากวิกิพีเดียไปใช้) ตอนนั้นเลยเปลี่ยนกลับมาแล้วอธิบายในบทความแทนครับ แต่ถ้าจะเปลี่ยนกลับเป็น"แคว้น"เหมือนเดิมก็ได้ครับ --Manop | พูดคุย -   06:42, 3 ธันวาคม 2006 (UTC)

- คือ อย่างสาธารณรัฐเช็ก ชื่อทางการอย่างสั้นก็คือแบบนี้อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเปลี่ยน แต่อย่างประเทศลาว กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผมว่าใช้อย่างแรกน่าจะดีกว่า เพราะตามหลักวิกิพีเดียก็น่าจะใช้ชื่ออย่างสั้น

สหรัฐอเมริกา ผมว่าน่าจะเป็นข้อยกเว้น เพราะชื่อทางการอย่างสั้นว่าสหรัฐมันไม่ค่อยจะชัดเท่าไหร่ ส่วนเรื่องอังกฤษ เวลส์ ผมเคยได้ยินคนใช้คำว่าแคว้นครับ แต่ก็จะใช้แต่พวกหนังสือที่เน้นว่ามันไม่ใช่ประเทศ คนทั่วไปก็จะเรียกมันว่าประเทศมากกว่า ผมไม่ค่อยแน่ใจด้วยว่า คำว่าประเทศนั้น จำเป็นต้องเป็นรัฐหรือเปล่าครับ เท่าที่ความหมายในวิกิพีเดียไืทยจะบอกไว้แบบนั้น ถ้าเกิดใช้เรื่องความถูกต้อง ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นแคว้น แล้วทำเปลี่ยนทางไปหา แต่ถ้าเอาตามความนิยม ก็ใช้คำว่าประเทศ แล้วอธิบาย (อย่างที่เป็นอยู่) ว่ามันไม่ใช่ประเทศ ไปก่อนครับ เดี๋ยวจะกลับมาดูอีกที kinkku ananas (talk) 07:40, 4 ธันวาคม 2006 (UTC)

- ขอบคุณคับสำหรับ โครงการวิกิประเทศ ผมเพิ่มเข้าไปใน แม่แบบ:คุณทำได้ และจะปรากฏใน หน้าหลัก และ วิกิพีเดีย:ศาลาประชาคม ครับ --Manop | พูดคุย -   00:04, 9 ธันวาคม 2006 (UTC)

ภาคต่อ

พบมีการไล่เปลี่ยนชื่อบทความประเทศจำนวนมาก โดยไม่ได้อภิปรายใด ๆ โดยที่ตามที่เคยคุยกันไว้ในสภากาแฟ เคยมีตกลงกันคร่าว ๆ ว่า ให้ใช้ชื่ออย่างสั้น (common name) และประเทศที่ชื่ออย่างสั้นขึ้นด้วย "สหรัฐ" "สาธารณรัฐ" และคำอื่นที่ใกล้เคียงกัน จะไม่ใส่คำว่าประเทศนำหน้า (ดูเพิ่มที่ /กรุ 2#ชื่อบทความประเทศต่าง ๆ ซึ่งผมก็ได้นำไปสรุปไว้ในวิกิพีเดีย:โครงการวิกิประเทศ เพื่อเป็นแนวทาง ผมได้เปลี่ยนกลับไปบางส่วน ก่อนจะพบว่ามีบทความที่ถูกเปลี่ยนไปเยอะมาก จึงอยากจะขอความเห็นอีกครั้ง ว่าจะวางแนวทางอย่างไรครับ --KINKKUANANAS 21:44, 5 ตุลาคม 2007 (ICT)

ผมว่าใช้ชื่ออย่างสั้นแบบที่ใช้อยู่ก็ดูโอเคนะครับ เพราะมีกำหนดไว้อย่างเป็นทางการใน ประกาศสำนักนายกฯ ด้วย และก็เป็นชื่อที่คนทั่วไปรู้จักกัน ส่วนชื่อเต็มก็อธิบายอีกทีในบทความ ไม่งั้น บทความ ประเทศไทย ต้องเปลี่ยนชื่อเป็น ราชอาณาจักรไทย แล้วจะไม่คุ้นกันเสียเปล่า ๆ --Manop | พูดคุย 03:04, 6 ตุลาคม 2007 (ICT)

ประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีสหรัฐ สาธารณรัฐ ฯลฯ เมื่อลองดูจากวิกิภาษาอื่น (โดยเฉพาะวิกิอังกฤษ) ส่วนใหญ่ก็ไม่มีการใช้ชื่อประเทศเต็มยศสำหรับชื่อบทความนะครับ เช่น Thailand ไม่เป็น Kingdom of Thailand ดังนั้นใช้ชื่อแบบสั้นก็น่าจะเข้ากับภาษาอื่นอย่างลงตัวอยู่แล้ว ผมอยากให้ดูก่อนว่าบทความประเทศที่จับคู่ไว้กับภาษาอื่นตั้งชื่ออย่างไร ก็เอาตามนั้น (สรุปคือของเก่าดีอยู่แล้ว ประเทศที่ไม่มีให้ดูจากภาษาอื่นเอา) --Octahedron80 03:22, 6 ตุลาคม 2007 (ICT)

  • ขออภัย แหะ ๆ เห็นว่ามันไม่เป็นแบบแผนเดียวกัน

(แล้วก็ไม่มีอภิปรายไว้ ที่จริงผมคงพลาดเอง หาไม่เจอเอง ลอง search ก็ไม่เจอประเด็นที่ตรง อย่างหน้านี้ ถ้าไม่ไปเจอที่หน้าพูดคุยของท่าน Manop ก็ไม่เจอเช่นกัน)

  • ผมว่า น่าจะมีหน้าสรุป หรือหน้ารายการ หัวข้อเรียงตามประเด็นที่พูดคุยไปแล้ว (หัวข้อกว้าง ๆ) จะได้ค้นได้ง่ายกว่านี้
  • กรณี สหรัฐอเมริกา ฯลฯ เห็นด้วยครับ ชื่ออย่างย่อไม่ได้หมายความว่าต้องย่อถึงพริกถึงขิง ถ้า"ย่อมาก" แล้วสับสน ก็"ย่อน้อย" ก็พอ

แต่ขอให้ ยกเว้น (ไม่ต้องย่อ) เฉพาะ ชื่อที่ถ้าย่อแล้วสับสนจริง ๆ เท่านั้น

  • ขยายประเด็นอีกนิด ปัญหานี้แก้ไม่ยาก ทำหน้ารายการ และทำหน้าแก้ความกำกวม เช่น
    • ถ้าใครหา "สหรัฐฯ" หรือ "สหรัฐ" ก็เปลี่ยนทางที่ " สหรัฐ หมายถึง ประเทศที่มี .. ได้แก่ *.. *.. (ลิงก์) "
    • ถ้าใครหา "อเมริกา" ก็เปลี่ยนทางที่ " อเมริกา (แก้ความกำกวม) อาจหมายถึง *.. *.. (ลิงก์) "
  • เมื่อดูวิกิภาษาอื่น เขาก็ไม่มีคำว่า ประเทศ

จริงอยู่ว่าภาษาไทยมีคำขยาย แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป เช่น กรณีธาตุเคมี ก็ไม่มีตั้งชื่อว่า ธาตุไฮโดรเจน ฯลฯ หรือกรณีกีฬา ก็ไม่มี กีฬาเบสบอล ฯลฯ ไม่ใช่พวก ปลา, พรรณไม้, ทวีป, ถนน ฯลฯ ก็ว่าไปอย่าง สรุปว่าไม่ค่อยพบปัญหานี้ จะมีเฉพาะบางประเทศน้อยมาก ที่ชื่อซ้ำกับพวกเกาะหรือทวีป ซึ่งวิธีแก้น่าจะทำหน้าแก้ความกำกวม ไว้ที่หัวก็พอ ฉะนั้น เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกัน และง่าย ฉะนั้น ผมว่าถ้าแก้เป็นชื่อย่อ ก็ ไม่ต้อง มีคำว่า ประเทศ ด้วย ก็จะดีมาก
ข้อดี

  • มีระเบียบแบบแผนชัดเจน
  • สะดวกในการตั้งชื่อ ไม่ต้องคิดว่าอันไหนต้องชื่อประเทศอันไหนไม่ต้อง
  • เขียนลิงก์มาที่บทความง่าย

เช่น อิตาลี เยอรมนี ไทย ฯลฯ (แล้วทำหน้าเปลี่ยนทาง redirect ที่มีคำว่าประเทศให้หน้าชื่อแบบนี้หมดด้วย)
ข้อเสีย

  • ส่วนบทความ เกี่ยวกับไทยทั้งหมดหรือความเป็นไทย (หรือเกี่ยวกับอังกฤษ ฯลฯ) ก็ใช้แก้คำกำกวมไปที่ อีกบทความ อาจจะตั้งชื่อ เกี่ยวกับ

ตรงนี้ เทียบกับวิกิอื่น ก็ทำนองนี้ เขาใช้คำอื่นถ้าพูดถึง (ซึ่งปกติเราก็ไม่เรียกให้สับสนอยู่แล้ว)

  • ชื่อเชื้อชาติ ใช้คำว่า ชาว.. นำหน้า เสมอ (ไม่เห็นกำกวมเลยครับ ^-^)
  • คือจะบอกเพิ่มว่า ที่แก้ไป ไม่มากหรอกครับ (ถ้าไม่ได้มีใครมาบ้าจี้ต่อจากผมนะ เหอ ๆ) ประมาณ 9-10 ประเทศเอง เข้าไปดูรายชื่อประเทศ ช่วยตรวจดูตรวจแก้กันได้ที่ ทวีปยุโรป ทั้งหมดครับไม่ได้นอกเหนือ คือว่าทำไปไม่ถึงครึ่ง ก็ฉุกคิดเหมือนที่ท่าน Manop ว่ามาเปี๊ยบเลย (อ่า ประเทศราชอาณาจักรไทย งงตาย 555+)

เพราะไปเจอ ราชอาณาจักรสเปน กับ ราชอาณาจักรฝรั่งเศส เข้า ก็เลยหยุดแค่ก่อนหน้านั้น กะว่าจะมาถามทางไปคุยหารือเสียก่อน (หลังจากที่หาทางไปไม่เจอ คิดว่าจะใช้วิธีถามทางกับท่าน Manop ดีกว่า) กำลังเรียบเรียงคำพูด ก็พอดีท่าน Kinkku Ananas มาช่วยพอดี

  • ไหน ๆ ท่าน Manop มาพอดีเลย เดี๋ยวถ้าได้ข้อสรุปเรียบร้อย (ตอนนี้อย่าเพิ่ง เดี๋ยวไม่นิ่งแล้วงง)

รบกวนท่าน Manop ช่วยลบ หน้าเปลี่ยนทาง (ชื่อที่ถูก) ด้วย จะได้เปลี่ยนชื่อกลับไปได้ ขอบคุณครับ ขออถัยที่ทำให้เหนื่อย --Sirius (TeeTaweepo)   05:55, 6 ตุลาคม 2007 (ICT)

- นอกจากประกาศของราชบัณฑิตแล้ว ลองอ่านนี่เพิ่มเติมด้วยครับ [5] [6] เพราะบางประเทศก็มีการเปลี่ยนชื่อเต็ม เรื่องบทความประเทศบางอันที่ใช้ชื่อเต็มเพราะว่ามีชื่อประเทศซ้ำกันหรือกำหนดไว้ในประกาศเพียงชื่อเดียว (อ่านประกาศในหน้าโครงการด้วยนะครับ) เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) กับ สาธารณรัฐจีน (จีนไต้หวัน) และ สาธารณรัฐคองโก กับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เป็นต้น --Octahedron80 10:45, 6 ตุลาคม 2007 (ICT)

สัญชาติ-เชื้อชาติ

ถอดความ.. ชาว+อิตาลี=อิตาเลียน, ชาวอิตาเลียน=ชาว+ชาว+อิตาลี ?! .. ดังนั้น.. ผมคิดว่า..

  • ชาวอิตาลี (ถูก), อิตาเลียน (ถูก), ชาวอิตาเลียน (ผิด)
  • ชาวเยอรมนี (ถูก), เยอรมัน (ถูก), ชาวเยอรมัน (ผิด) ฯลฯ

ตัวอย่าง..

  • "กาลิเลโอ เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี" หรือ "กาลิเลโอ เป็นนักวิทยาศาสตร์อิตาเลียน" ก็ได้
  • "คาร์ล เป็นนักฟุตบอลเยอรมัน" หรือ "คาร์ล เป็นนักฟุตบอลชาวเยอรมนี" ก็ได้ ฯลฯ

ขยายประเด็น นอกจากนี้ลองพิจารณาชื่อพวกนี้ อันไหนควรเป็นชื่อหลัก (ถ้าจะเอา ชาวเยอรมัน หรือ ชาวอเมริกัน ..ก็ควรใช้ ชาวโปรตุกิส หรือ ชาวสวีดิช ด้วย ..ตามรากของคำทับศัพท์ เพื่อเป็นมาตรฐานเดียว)

  • ชาวเยอรมนี - ชาวเยอรมัน
  • ชาวอเมริกา - ชาวอเมริกัน
  • ชาวสก๊อตแลนด์ - ชาวสก๊อต
  • ชาวสเปน - ชาวสเปนิช
  • ชาวอิตาลี - ชาวอิตาเลียน
  • ชาวโปรตุเกส - ชาวโปรตุกิส
  • ชาวสวีเดน - ชาวสวีดิช
  • ชาวสวิสเซอร์แลนด์ - ชาวสวิส
  • ชาวรัสเซีย - ชาวรัสเซียน
  • ชาวออสเตรเลีย - ชาวออสเตรเลียน
  • ชาวอเมริกาพื้นเมือง - ชาวอเมริกันอินเดียน - อินเดียนแดง ฯลฯ

อย่างไรก็ตามประเด็นนี้ แก้ไม่ยาก แค่ทำหน้าเปลี่ยนทางก็พอ คิดเห็นกันว่าไงบ้างครับ --Sirius (TeeTaweepo)  

- ชาวต่างประเทศ ไม่ต้องมี "เอียน" หรือ "อิช" หรือ "อีส" ทั้งหมดครับ ไม่ใช้หลักเกณฑ์การแปรรูปตามภาษาอังกฤษ ดังนั้น ชาวอิตาลี ชาวรัสเซีย ชาวอังกฤษ ชาวสเปน ชาวสวีเดน ชาวโปรตุเกส ชาวจีน ชาวเวียดนาม ชาวญี่ปุ่น ชาวสยาม ชาวมาเลย์ ฯลฯ จะไม่เป็น อิตาเลียน รัสเซียน อิงลิช สเปนิช สวีดิช โปรตุกีส ไชนีส เวียดนามีส เจแปนีส สยามีส มาเลเซียน ฯลฯ ไม่ว่าจะมี "ชาว" หรือไม่ก็ตาม ยกเว้นสัญชาติที่นอกเหนือจากสามคำข้างต้นจะใช้ชื่อตามอังกฤษเพราะมันไม่ใช่หลักเกณฑ์การแปรรูป แต่เป็นคำที่กำหนดขึ้นมาเลย เช่น ชาวอเมริกัน ชาวเยอรมัน ชาวไทย ชาวดัตช์ ชาวสวิส ชาวกรีก ชาวสกอต จะไม่เป็น ชาวอเมริกา ชาวเยอรมนี ชาวไทยแลนด์ ชาวเนเธอร์แลนด์ ชาวสวิสเซอร์แลนด์ ชาวกรีซ/ชาวเฮเลนิก ชาวสกอตแลนด์ สำหรับเรื่องอินเดียนแดง พวกเขาไม่ได้เกี่ยวกับอินเดียแต่อย่างใด มันเป็นชื่อชนเผ่า อย่าเรียกอินเดียแดงเด็ดขาด

- หลักเกณฑ์นี้เข้าทำนองเดียวกับชื่อภาษาด้วยครับ --Octahedron80 11:06, 6 ตุลาคม 2007 (ICT)

- ตามที่คุณบอนด์ว่าครับ ถ้าจำไม่ผิดจะเป็นแบบที่ราชบัณฑิตใช้ (หาอ้างอิงไม่เจอครับ) --KINKKUANANAS 19:26, 6 ตุลาคม 2007 (ICT)

- รับทราบเข้าใจแล้วครับ ขอบคุณมากครับ (แหะ ๆ รู้สึกผมยังต้องเรียนรู้อีกมาก)

  • อีกนิดครับ เพิ่งเจอเลยสงสัย

ทำไม "ชาวสกอต" "สกอตแลนด์" แต่ ชื่อคน "สก๊อต" ทั้งที่รากเดียวกัน สืบค้นในหน้าที่มีเกณฑ์ต่าง ๆ ก็ไม่พบเหตุผล

ประเด็นนี้ตกลงว่าอย่างไรหรือครับ หรือว่าเป็นศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตฯ, หรือเป็นข้อตกลง/ข้อยกเว้น ทำนองเดียวกับข้างต้น, หรือมีอันไหนผิด, หรือยังไม่คุยกัน รบกวนเรียนถามครับ --Sirius (TeeTaweepo)   09:44, 19 ตุลาคม 2007 (ICT)

พระราม-พระรามที่

 
ป้ายถนนพระราม ๙

ชื่อถนนและสะพานที่ มีคำนำหน้าด้วย “พระราม” เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยถนนมีคำว่า “ที่” ต่อท้าย คือ ถนนพระรามที่ ๑ ถนนพระรามที่ ๔ ถนนพระรามที่ ๕ และถนนพระรามที่ ๖ ทั้งได้รับพระราชทานชื่อภาษาอังกฤษว่า Rama I, Rama IV, Rama V และ Rama VI ส่วนเหตุที่ถนนพระราม ๙ ไม่มีคำว่า “ที่” ต่อท้ายนั้น ปรากฏชัดเจนจากพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและ ปลัดกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ว่า ไม่มีพระราชประสงค์ให้มีคำ “ที่” ต่อท้ายคำ “พระราม” ซึ่งควรถือว่าเป็นพระราชนิยมในรัชกาลปัจจุบัน ส่วนชื่อสะพานและเขื่อนนั้นจะไม่มีคำว่า “ที่” ต่อท้าย เช่น สะพานพระราม ๖ เขื่อนพระราม ๖ [7]

ผมสงสัยอีกข้อหนึ่งว่า ตัวเลขต้องใช้เลขไทยด้วยไหม เพื่อรักษาไว้ตามต้นฉบับตามหลักการตั้งชื่อบทความ ตามป้ายจราจรหลังชื่อพระรามก็ใช้เลขไทยกันนะครับ เช่นรูปภาพนี้ (พบได้ทั่วไป ไม่ได้มีที่เดียว) มีการปิดแก้ให้เป็นเลขไทย (อาจจะปิดคำว่า “ที่” ออกไปด้วย?) --Octahedron80 11:26, 6 ตุลาคม 2007 (ICT)

ชื่อเมืองในสหรัฐอเมริกา

สอบถามเกี่ยวกับชื่อเมืองที่ คนไทยคุ้นเคย กับ ชื่อที่คนอเมริกันอ่าน ควรจะใช้แบบไหนดีครับ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีพูดคุยเกี่ยวกับเรื่อง ฮอกไกโด-ฮกไกโด ไว้แล้วได้ข้อสรุปที่ วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ#การทับศัพท์ชื่อ ตัวอย่างชื่อเมืองเช่น

โดยส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นเสียง อะ/อา -> ที่อเมริกันจะใช้เป็นเสียง แอ ครับ --Manop | พูดคุย 05:27, 8 ตุลาคม 2007 (ICT)

ใช้ตัวเอนสำหรับชื่อเรียก

ต้องการความเห็นสำหรับ การใช้ตัวเอนสำหรับชื่อเรียก คุยต่อได้ที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน#ใช้ตัวเอนสำหรับชื่อเรียก --Manop | พูดคุย 06:30, 9 ตุลาคม 2007 (ICT)

มหาศาลาประชาชน หรือ มหาศาลาประชาคม

ควรจะเอามหาศาลาประชาชน หรือ ประชาคม ดีครับ เห็นในภ.อังกฤษเขียนว่า The Great Hall of People เลยน่าจะเป็นประชาชนมากกว่า แต่พอหาในกูเกิ้ล มี ประชาคม มากกว่า แต่ถ้าไปเปิดที่ราชบัณฑิต ประชาคม ก็จะแปลว่า ชุมชน, กลุ่มชนซึ่งอยู่รวมกันและมีการติดต่อสัมพันธ์กัน ดังนั้น ควรเอาอันไหนดีครับ Mda, 16 ต.ค.

รีบอร์น

ผมลองทำหน้าแก้กำกวมดู แต่นอกจากการ์ตูนแล้วไม่รู้เลยสักอย่างรีบอร์น ช่วยด้วยครับ..--Shā Azunaburu | คุยกันได้ 13:41, 30 ตุลาคม 2007 (ICT)

การสะกดชื่อภาษาฝรั่งเศส

ฝากท่านอื่นดู และอภิปรายกันที่ พูดคุย:รายนามประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ที่มีการสะกดหลายแบบครับ --Manop | พูดคุย 01:29, 11 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

หมวดหมู่กำกวม

  1. ภาชนะ กับ บรรจุภัณฑ์ ต่างกันตรงไหน
  2. เครื่องมือ กับ อุปกรณ์ ต่างกันตรงไหน

ถ้าไม่แตกต่างกันให้รวมไปเลยดีกว่าไหม --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 11:56, 12 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

ผมว่าน่าจะรวมนะครับ ความหมายมันใกล้กันเหลือเกิน --Manop | พูดคุย 03:16, 14 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

income/revenue/cost/expense

ไม่ทราบว่าในทางเศรษฐศาสตร์ ได้จับคู่ความหมายของคำเหล่านี้กับคำในภาษาไทยไว้อย่างไร

เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมีบทความทั้งหมดแยกกันอยู่ ความหมายก็พอจะทราบ แต่อย่างไหนควรจับคู่กับ

ส่วน en:profit คำนี้ผมจับคู่กับ กำไร ไปแล้วครับ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 08:38, 27 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

en:cost น่าจะจับกับคำว่าต้นทุนครับ เพิ่มลิงก์ไปภาษาอื่นให้แล้ว ค่าใช้จ่ายก็คงจะเป็น expense ส่วน income ปกติจะใช้รายได้ revenue อาจจะเป็นคำว่า รายรับ หรือเปล่าครับ --KINKKUANANAS 21:06, 1 ธันวาคม 2007 (ICT)

แล้วค่าใช้จ่ายกับรายจ่ายเหมือนกันบ่? --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 17:00, 3 ธันวาคม 2007 (ICT)

เมื่อกี้พยายามลองค้นดูเล็กน้อย พบว่า มีการใช้คำว่า รายได้ หมายถึงทั้ง income และ revenue ก็เลยไม่รู้ว่าจะใช้ยังไงดี --KINKKUANANAS 19:01, 3 ธันวาคม 2007 (ICT)

ขอคำทับศัพท์

ขอคำทับศัพท์ 4 คำครับ northern, southern, western, eastern ตอนแรกกะเขียนใน วิกิพีเดีย:คำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย แต่ไม่รู้ว่าร้างไปหรือยัง ^_^ --Manop | พูดคุย 16:45, 3 ธันวาคม 2007 (ICT)

นอร์เทิร์น, เซาเทิร์น, เวสเทิร์น, อีสเทิร์น เรื่องคำว่านอร์เทิร์นนี่ถ้าเป็นชื่อเฉพาะภาษาไทยที่สะกดด้วย ธ หรือมีการเบิ้ล ทท ก็ใช้ตามต้นฉบับไปครับ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 16:53, 3 ธันวาคม 2007 (ICT)

นั่นละครับที่จะถามทับศัพท์ชื่อเฉพาะ พอดีเหลือบไปเห็นมหาวิทยาลัยไทย ไม่ได้ใช้ตัวเบิ้ลสองตัวเลยสงสัยกลัวพลาด มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น และ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย มึน--Manop | พูดคุย 16:59, 3 ธันวาคม 2007 (ICT)

อย่างอันนี้ครับ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์นไทยแลนด์ จ.พิษณุโลก เทียบกับ หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 17:03, 3 ธันวาคม 2007 (ICT)

แล้ว North ล่ะฮับ นอร์ธ รึเปล่า ::-- Lv 26 ไชน์นิ่งอะควา × บลิซซาร์ด ไฟล์:WikiBotany tap.png 17:06, 3 ธันวาคม 2007 (ICT)

ตามหลักก็ใช้ นอร์ท เว้นแต่เป็นชื่อเฉพาะ ก็เรื่องเดิม ๆ อ้ะ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 17:23, 3 ธันวาคม 2007 (ICT)

นั่นละครับที่จะถามทับศัพท์ชื่อเฉพาะ พอดีเหลือบไปเห็นสนามกอล์ฟไทย ไม่ได้ใช้ ท.ทหาร เลยสงสัยกลัวพลาด นอร์ธปาร์ค also: สโมสรราชพฤกษ์ ::-- Lv 28 อะควาดื่ม ตราบางม่วง ไฟล์:WikiBotany tap.png 17:42, 3 ธันวาคม 2007 (ICT)

กรุณากวนเฉพาะที่หน้าผู้ใช้ครับ อย่ากวนที่สภาชาเขียว --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 17:55, 3 ธันวาคม 2007 (ICT)

ชื่อเฉพาะคงปล่อยละครับ อย่างมหาวิทยาลัยไทยที่คุณมานพเห็นยังมี มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น เลยครับ ส่วนชื่อตามหลัก อันนี้ไม่ทราบนะครับ เชิญคุยกันต่อไปตามสะดวกครับ--ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 18:41, 3 ธันวาคม 2007 (ICT)
ท่าทางตามหลักจะวุ่นนะครับ มีหลัก (+ตอ) ที่ไม่มีใครใช้กันแฮะ สงสัยต้องสร้างหลักใหม่หรือเปล่าครับ 555 --Manop | พูดคุย 09:51, 4 ธันวาคม 2007 (ICT)

หมายความว่าอะไร หลักอะไร กรุณาระบุให้ชัดเจน คุณกำลังจะบอกว่าผมเขียนไม่ดีงั้นเหรอ คราวก่อนก็ทีนึงแล้วนะ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 17:32, 4 ธันวาคม 2007 (ICT)

อ้าว ซะงั้น อย่าคิดมากซิครับ ผมหมายถึงว่าคำเดียวกันมีคนสะกดได้สิบแบบ ขณะที่สะกดตามหลักดันไม่มีคนทราบ อย่าคิดมากนะครับ ผมไม่ง้อนะครับ --Manop | พูดคุย 00:01, 5 ธันวาคม 2007 (ICT)

พจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์ สสวท.

พจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์ สสวท. ใช้เมื่อหาจากศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตไม่เจอ http://escivocab.ipst.ac.th/ แต่ก็มีไม่หมดทุกคำหรอก เพราะอยู่ในระหว่างการปรับปรุง --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 10:41, 16 ธันวาคม 2007 (ICT)

ทับศัพท์

แอนตาร์กติกา, เวสต์, ส่วน commando น่าจะเป็น คอมมานโด ครับ --Manop | พูดคุย 09:44, 24 ธันวาคม 2007 (ICT)

การใช้ พ.ศ. หรือ ค.ศ. และ การแก้ไข พ.ศ. เป็น ค.ศ.

ข้อความด้านล่างนี้ย้ายไปที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:โครงการวันเดือนปี#การใช้ พ.ศ. หรือ ค.ศ. และ การแก้ไข พ.ศ. เป็น ค.ศ.

Elizabeth

ข้อความนี้เดิมย้ายมาจาก คุยกับผู้ใช้:Manop ถ้าได้ข้อตกลงแล้วให้นำไปเขียนเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการคำทับศัพท์/คำทับศัพท์ชื่อบุคคล
เผอิญผมเปิดไปมา ปรากฏว่าไปเจอหน้า สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (ซึ่งสะกด Elizabeth ว่า "อลิซาเบธ")
แต่พอไปดูอีกพระองค์หนึ่ง ก็ใช้ชื่อ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร (สะกดด้วย "เอลิซาเบธ")
ก็เลยไม่ทราบว่า บทความควรจะใช้ชื่อไหนดี เพราะทั้งสองพระองค์ก็ใช้ชื่อภาษาอังกฤษที่สะกดเหมือนกันน่ะครับ --V i P 20:11, 16 มกราคม 2551 (ICT)
คิดว่าควรจะเป็น เอลิซาเบธ ครับ เพราะเห็นชื่อบทความนี้ในภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า エリザベス "erizabesu" จะออกเสียงเป็นเสียง "เอะ" ครับ -- Portalian 15:46, 18 มกราคม 2551 (ICT)
ผมอยากจะบอกว่าญี่ปุ่นอ่าน "e" เป็น เอะ หมด ครับผม ไม่ว่าศัพท์ภาษาอังกฤษจะอ่าน อิ/อี ก็ตาม เช่น "zero" อังกฤษอ่าน ซีโร [8] ญี่ปุ่นทับศัพท์ว่า เซะโระ ดังนั้นถ้าไม่ใช่คำศัพท์จากญี่ปุ่น ให้ทับศัพท์ตามแบบภาษาดั้งเดิม ดังนั้น Elizabeth อ่านว่า อิลิเซอเบิธ [9] หรือถ้าเขียนแบบคงรูปต้องเป็น อิลิแซเบธ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 16:24, 18 มกราคม 2551 (ICT)
ผมย้ายมาวันก่อน (ลืมใส่ความเห็น) ซึ่งคำว่า Elizabeth แยกพยางค์เป็น E-liz-a-beth ส่วนการอ่านนี้ผมเองก็ไม่รู้ครับ แต่ถ้าเป็นชื่อเมืองในรัฐนิวเจอร์ซีย์ ในชื่อ Elizabeth อ่านตามสำเนียงอเมริกันว่า อี-ลีซ-เซอ-เบธ (ลงท้ายด้วยเสียง th) และไม่แน่ใจว่าต้องสะกด "ท" แทน "ธ" หรือเปล่า ตามระบบราชบัณฑิตฯ ส่วนชื่อบุคคลในประวัติศาสตร์อังกฤษ เห็นในพจนานุกรมหลายที่ก็มีสะกดหลากหลายเหลือเกิน ไม่ว่า
  • \i-liz-uh-buhth\ - dictionary.com (ด้านบน)
  • \i-ˈli-zə-bəth\ - m-w.com
  • [iːlɪzæbɛθ] - วิกิพีเดียอังกฤษ
  • เอลิซาเบท - ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิต
  • อะลิซาเบ็ธ - longdo.com
สงสัยต้องรอผู้รู้มาฟันธงครับ --Manop | พูดคุย 04:18, 20 มกราคม 2551 (ICT)
ในภาษาอังกฤษคำส่วนใหญ่ที่สะกดด้วย th จะออกเสียงควบเป็นเสียง th เช่น Than Think Thousand Theodore Therapy Elizabeth ถ้าออกเสียงควบจึงควรสะกดเป็นภาษาไทยโดยใช้ เพื่อให้แตกต่างกับ th ที่ออกเสียงเป็น t
แต่จะมีบางคำที่สะกดด้วย th แต่จะออกเสียงเป็น t เฉย ๆ เช่น Thames (แม่น้ำเทมส์) Thomas (ทอมัส) Anthony (แอนโทนี) หรือ Thyme (ไทม์ -- เครื่องเทศชนิดหนึ่ง) ถ้าไม่ออกเสียงควบจึงควรสะกดด้วย -- ถ้านึกข้อยกเว้นคำอื่นได้ก็จะเติมให้ อ้อเกือบลืมคำว่า Thai สะกดด้วยตัว แน่!!!
ถ้ามีกฏอย่างนี้แล้วก็จะทราบได้เลยว่าคำนั้นออกเสียงอย่างไรในภาษาอังกฤษ --Mattis 06:11, 20 มกราคม 2551 (ICT)
ประเด็นของการอภิปรายนี้อยู่ที่พยางค์แรกนะครับ หลักการทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานก็บอกอยู่ว่า ให้เลือกเสียงที่ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด (แต่ไม่มีตัวที่ดีที่สุดสำหรับ ชวา ə) ดังนั้นพยางค์แรกตามหลักควรใช้ อิ/อี ไม่ใช่ เอ หรือ อะ สำหรับ th คงไม่ต้องบอกว่าออกเสียงอย่างไร เพราะการทับศัพท์ (ไม่ใช่ศัพท์บัญญัติ) ที่นิยมใช้ (ธ) ไม่เข้ากับหลักการที่กำหนดออกมา (ท) ผมจะไม่พูดตรงนี้ และในเมื่อวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ อ่านพยางค์ที่สาม-สี่ เป็น แซ-เบธ นั่นหมายความว่า ชวา ที่เป็น unstressed obscure vowel สองตัวนั้นสามารถแทนได้ด้วย แอ และ เอ ตามลำดับ สรุปแล้วด้วยเหตุผลที่กล่าวมา ควรใช้คำทับศัพท์ว่า {อิ|อี}ลิแซเบ{ท|ธ}
ปล. ถ้าคลิกที่ Show IPA Pronunciation ใน dictionary.com จะให้ผลลัพธ์คล้ายกับ m-w.com --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 13:07, 20 มกราคม 2551 (ICT)
ผมสนับสนุนให้เป็น อีลิแซเบธ นะครับ (ถึงแม้ว่าไม่ค่อยเห็นชอบก็ตาม) เนื่องจากว่า ตามวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ... i: จะเป็นเสียงยาว ซึ่งให้ใช้ อี ตามที่ Phonetic Alphabet บัญญัติไว้... แล้ว bɛθ b คือ บ ɛ คือ เ- และ θ คือเสียง th ซึ่งน่าจะทับศัพท์ด้วย ธ ธง เนื่องจากว่าส่วนใหญ่จะใช้ ธ ทับศัพท์ครับ ดังนั้นผมขอเลือก อีลิแซเบธ --Petje Bellพูดคุย 14:04, 20 มกราคม 2551 (ICT)
อยู่ที่ว่าจะใช้ตามหลักเกณฑ์ไหนนะครับ จะทับตามเสียงให้ตรงที่สุด ก็ว่ากันไป อาจจะขัดตาหน่อย ถ้าใช้ตามนั้นก็ได้ แต่คำอื่น ๆ ก็ควรจะว่าไปตามแนวเดียวกัน จะได้ไม่สับสนครับ --ธวัชชัย 00:12, 21 มกราคม 2551 (ICT)
อ่านเจอจากกูเกิลนะครับ ว่าไม่ใช้ อิ/อี นำหน้าเพราะไม่สุภาพ เป็นสาวใช้อีนำหน้าไม่ดี (ไม่มีอ้างอิง + ขำขำ) --Manop | พูดคุย 17:19, 21 มกราคม 2551 (ICT)
ราชบัณฑิตใช้ เอลิซาเบท ทั้งที่เป็นพระนามของสมเด็จพระราชินีนาถ (ในสารานุกรมประวัติศาสตร์สากล) และชื่อเมือง (ในพจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากล) แต่ถ้าจะทับศัพท์ตามการออกเสียง ควรเป็น อีลิแซเบ็ท/อีลิแซเบ็ธ เพื่อให้เห็นว่าเป็นเสียงสั้น ต่างจากเสียงเอ /e/ (หรือ /eɪ/) --Potapt 23:21, 22 มกราคม 2551 (ICT)
สรุปว่าอย่างไรกันดีครับ ตามราชบัณฑิต หรือตามเสียงอ่านดีครับ --Manop | พูดคุย 12:21, 3 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

ชื่อบทความตัวละครการ์ตูน

ถ้าได้ข้อตกลงแล้วให้นำไปเขียนเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียนสารานุกรมการ์ตูน (แต่ท่าทางไม่ได้อัปเดตมานาน)

รูปแบบของชื่อบทความเกี่ยวกับตัวละครการ์ตูนควรจะเป็นรูปแบบใดดีครับ ตอนนี้เท่าที่เห็นมีอย่างน้อย 7 แบบแล้ว น่าจะตกลงเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งไปเพื่อให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน

  1. ตัวละคร_{ชื่อเรื่อง} เช่น ตัวละคร โดราเอมอน
  2. ตัวละคร{ชื่อเรื่อง} เช่น ตัวละครเปลวฟ้าผ่าปฐพี
  3. ตัวละครใน{ชื่อเรื่อง} เช่น ตัวละครในมาจิเรนเจอร์
  4. ตัวละครใน_{ชื่อเรื่อง} เช่น ตัวละครใน เดกะเรนเจอร์
  5. ตัวละครจากเรื่อง_{ชื่อเรื่อง} เช่น ตัวละครจากเรื่อง คุณครูจอมเวท เนกิมะ!
  6. ตัวละครในเรื่อง{ชื่อเรื่อง} เช่น ตัวละครในเรื่องดราก้อนบอล
  7. รายชื่อตัวละครใน_{ชื่อเรื่อง} เช่น รายชื่อตัวละครใน ลัคกี้ สตาร์ -- Portalian 15:42, 18 มกราคม 2551 (ICT)

ถ้าบทความมีหลายตัว ให้ใช้แบบ "รายชื่อตัวละครใน{ชื่อเรื่อง}" ถ้ามีบทความตัวละครตัวเดียวโดยเฉพาะ ให้ตั้งชื่อตามตัวละคร และแก้ความกำกวมถ้าจำเป็น --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 16:20, 18 มกราคม 2551 (ICT)

ส่วนตัวคิดว่า "ตัวละครในเรื่อง{ชื่อเรื่อง}" เหมาะกับบทความที่รวมข้อมูลของตัวละครซึ่งอาจจะไม่มากพอจนไปสร้างเป็นบทความตัวละครเดี่ยว ๆ ได้ แต่ "รายชื่อตัวละครใน_{ชื่อเรื่อง}" นั้น น่าจะเหมาะสำหรับบอกว่าในเรื่องนั้น มีตัวละครอะไรบ้าง และมีข้อมูลเสริมนิดหน่อยหรือไม่มีเลยครับ ดังนั้น ถ้าจะให้เลือก ก็ขอให้แบบที่ 6 แล้วกันครับ--ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 01:32, 19 มกราคม 2551 (ICT)
จะว่าไปก็มีหลายแบบจริง ๆ ขอเลือกแบบที่ 6 ละกันค่ะ ส่วนตัวไม่อยากให้ใช้คำว่ารายชื่อเท่าไหร่ เหตุผลเดียวกับคุณ PK
อ้อ ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว ขอถามเรื่องหมวดหมู่ด้วยสิคะ ตอนนี้มีอยู่ประมาณ 3 แบบ
  1. ตัวละครการ์ตูน{ชื่อเรื่อง} (ใช้เยอะที่สุด)
  2. ตัวละคร_{ชื่อเรื่อง}
  3. ตัวละครใน{ชื่อเรื่อง}
เอาแบบไหนดี? หรือจะรอตกลงเรื่องชื่อบทความก่อน แล้วใช้ให้เหมือน ๆ กัน --Piggy 02:21, 19 มกราคม 2551 (ICT)
ถ้าจะให้เลือกขอเป็นไม่ 3 ก็ 6 ครับ น่าจะกระชับและเข้าใจสุด ส่วนหมวดหมู่น่าจะเป็นแบบเดียวกับชื่อด้านบนครับ --Manop | พูดคุย 03:42, 19 มกราคม 2551 (ICT)

ถ้าจะไม่เอาคำว่า "รายชื่อ" นำหน้า ผมก็จะเลือกแบบที่ 3 คือ "ตัวละครในมาจิเรนเจอร์" อ่านแล้วกระชับกว่า "ตัวละครในเรื่องมาจิเรนเจอร์" ผมไม่อยากใช้คำว่า "เรื่อง" ใส่ลงไปด้วย มันจะเป็นการใช้คำสิ้นเปลืองไปโดยไม่จำเป็น เพราะทุกอย่างมันก็เป็น "เรื่อง" อยู่แล้ว --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 14:57, 19 มกราคม 2551 (ICT)

ขอเลือก ตัวละครใน{ชื่อเรื่อง} กระชับดีและน่าจะได้ใจความแล้ว --Sry85 14:18, 20 มกราคม 2551 (ICT)

เขียนตัวละครการ์ตูนมาก็พอสมควร แหะ แหะ ก็ยังตั้งชื่อบทความตัวละครผิด ๆ ถูก ๆ มาเยอะเหมือนกัน ^^ ส่วนมากจะใช้เป็นตัวละครแล้วตามด้วยชื่อเรื่อง อย่างตัวละครเปลวฟ้าผ่าปฐพี ก็เป็นคนตั้งเอง แต่คิดว่าน่าจะใช้รูปแบบการตั้งชื่อบทความเป็น ตัวละครใน{ชื่อเรื่อง} จะเหมาะสมกว่าค่ะ เพราะแยกให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าตัวละครนี้มาจากการ์ตูนเรื่องใด--Se:Rin | พูดคุย - 11:10, 21 มกราคม 2551 (ICT)

สำหรับตัวผมก็คิดว่าน่าจะเป็นแบบ ตัวละครใน{ชื่อเรื่อง} ด้วย ซึ่งเท่าที่โหวตมาตอนนี้ก็เป็นไปทางแบบที่ 3 เยอะสุดนะครับ ก็ขออนุญาตสรุปเลยละกัน แล้วทีนี้เรื่องหมวดหมู่ ถ้าจะใช้ชื่อแบบเดียวกับชื่อบทความเลย เป็น หมวดหมู่:ตัวละครใน{ชื่อเรื่อง} น่าจะทำให้สะดวกดี คิดว่ายังไงครับผม -- Portalian 20:11, 27 มกราคม 2551 (ICT)
ดีครับ แต่บางบทความก็ยังคงต้องใช้ รายชื่อ นำหน้าอยู่นะครับ เช่น รายชื่อหุ่นยนต์ในกันดั้มซีรีย์ เพราะมีแต่ชื่อเท่านั้น --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 20:22, 27 มกราคม 2551 (ICT)
ว่าไปก็ลืมนึกถึงหมวดหมู่และบทความตัวละครอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การ์ตูน เช่น "ตัวละครในแฮร์รี่ พอตเตอร์" หรือ "ตัวละครในลอร์ดออฟเดอะริงส์" ก็ใช้รูปแบบที่ 3 เพราะงั้นแบบที่ 3 ดีแล้วล่ะค่ะ จะได้เหมือน ๆ กัน ตกลงถ้าสรุปแล้ว เดี๋ยวจะได้เริ่มทยอยเปลี่ยน --Piggy 15:27, 3 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
งั้นตอนนี้เอาเป็นว่าถ้าอันไหนเป็นบทความที่มีเนื้อหาเต็มแล้วใช้แบบที่ 3 ส่วนที่มีแต่รายชื่อ อย่างในกันดั้ม ค่อยว่ากันอีกที ฮิฮิ ถามต่อเพิ่มนะครับ
  1. ลองเปลี่ยน ตัวละครในนินจาคาถาโอ้โฮเฮะ ไปแล้ว แต่มีหน้าเปลี่ยนทางเยอะมากเลย ที่เป็นชื่อตัวละครแต่ละตัวเปลี่ยนทางมา เช่น เท็นเท็น หรือ โคโนฮะมารุ เลยอยากถามความเห็นว่าจะแก้หน้าเปลี่ยนทาง หรือว่าจะลบออกไปดีครับ สำหรับชื่อตัวละครย่อย
  2. พวกหน้าย่อยอื่น จะเปลี่ยนยังไงดีครับ บางหน้าใช้คำว่า "ใน" แล้วอ่านแปลก เนื้อเรื่อง นินจาคาถาโอ้โฮเฮะ ท่าไม้ตาย นินจาคาถาโอ้โฮเฮะ --Manop | พูดคุย 02:21, 4 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

เนื้อเรื่องนินจาคาถาโอ้โฮเฮะ ไม่เป็นสารานุกรมครับ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 10:37, 4 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

เนื้อเรื่องของนินจาคาถาโอ้โฮเฮะ กับ ท่าไม้ตายในนินจาคาถาโอ้โฮเฮะ มั้ยคะ? ส่วนเรื่องหน้าเปลี่ยนทาง เราว่าน่าจะลบไปเลยนะคะ แต่ก็แค่ความเห็นส่วนตัว --Piggy 17:44, 4 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
ตอนนี้ช่วยไล่เปลี่ยนเหมือนกันครับ ติดปัญหาหน่อยนึงตรง หมวดหมู่:ตัวละครการ์ตูนของมาร์เวลคอมิกส์ เปลี่ยนอย่างไรดีครับ เพราะอันนี้ไม่ใช่ชื่อการ์ตูน แต่เป็นสำนักพิมพ์ --Manop | พูดคุย 03:16, 10 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
ไล่เกือบหมดแล้วครับ เหลือแค่ 3 หมวดหมู่สุดท้ายแล้ว หมวดหมู่:ตัวละครการ์ตูน Kyo Kara Maoh! หมวดหมู่:ตัวละครการ์ตูนซามูไรทรูปเปอร์ หมวดหมู่:ตัวละครจากเรื่อง My Life as a Teenage Robot --Manop | พูดคุย 01:43, 21 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
ขอเลือกแบบที่ 6 ครับ ตามลักษณะของภาษาไทยแล้วควรจะเป็นข้อนี้ จะได้เป็นแบอย่างให้คนที่เข้ามาอ่านด้วย--pop 16:28, 16 มีนาคม 2551 (ICT)

ทับศัพท์ -ht และ -t

สอบถามความเห็นครับ ว่าควรทับศัพท์แยกกันหรือเปล่า เพราะในหน้า การถอดเสียงภาษาอังกฤษ ไม่ได้มีการชี้ชัดเท่าไรว่า -ht ควรเป็นอย่างไร มีแต่ -t ที่ลงท้ายใช้ ต.เต่า เช่นคำว่า light และ lite --Manop | พูดคุย 04:31, 4 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

gh มาด้วยกันครับ ซึ่งไม่ออกเสียง แล้วมันตามด้วย t ดังนั้นทับศัพท์แบบธรรมดา (light = ไลต์) — อย่าไปแยกเป็น g กับ ht --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 10:39, 4 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

ชื่อเมืองในพม่า

กระทรวงการต่างประเทศได้หารือมาทางราชบัณฑิตยสถานว่า สมควรจะกำหนดการเรียกชื่อประเทศพม่าที่ได้เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการนี้อย่างไร ราชบัณฑิตยสถานโดยคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยเห็นว่า คนไทยรู้จักและมีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์กับประเทศนี้ในชื่อว่า พม่า มาแต่โบราณกาล จึงเห็นควรให้เรียกชื่อนี้อย่างเป็นทางการว่า “สหภาพพม่า” ตามที่เคยใช้มาแต่เดิม เช่นเดียวกับที่เรียกชื่อประเทศอื่น ๆ อีกมากมายโดยไม่ตรงกับชื่อภาษาอังกฤษของประเทศนั้น เช่น จีน (China) ญี่ปุ่น (Japan) โปรตุเกส (Portugal) อังกฤษ (England) ฝรั่งเศส (France).

อ้างอิงจากการให้ใช้ชื่อภาษาไทยกับคำว่า สหภาพพม่า แทน สหภาพเมียนมาร์ จึงอยากถามว่า จะอนุมานเอาแนวทางเดียวกันไปใช้กับชื่อเมือง แขวง เขต รัฐ และชื่ออื่น ๆ ด้วยหรือไม่ ทุกวันนี้มีชื่อในพม่าจำนวนมาก ที่มีชื่อไทยอยู่แล้วแต่ต่างกับชื่อใหม่ที่ใช้กันอยู่เช่น พุกาม (พม่า: ปะกัน) หงสาวดี (พม่า: พะโค) สิเรียม (พม่า: ตันลยิน) เชียงตุง (ไทใหญ่: เก็งตุง) -- Lv.60 อะควากับศาสดาบูจู ไฟล์:WikiBotany tap.png 16:33, 6 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

ไม่มีความเห็นเรื่องพม่าครับ (ไม่มีความรู้ครับ) แต่อาจลองเอาในกรณีของ ปักกิ่ง กับ เซี่ยงไฮ้ ของจีนไหมครับ หรือไม่ก็อย่าง โรม กับ มิลาน ของอิตาลี --Manop | พูดคุย 04:06, 8 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
สงสัยจะไม่มีคนตอบ :) --Manop | พูดคุย 08:07, 15 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
ถ้าอย่างนั้นใช้ตามเกณฑ์นั้นเลยละกัน - -" -- Lv.60 อะควากับศาสดาบูจู ไฟล์:WikiBotany tap.png 09:08, 15 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

ชื่อทีมฟุตบอลในสวิส

สอบถามทับศัพท์ครับว่า Grasshopper-Club Zürich คำว่า Grass จะทับแบบ กราส- หรือ กราสส์- ดีครับ แบบ "กราส-" รู้สึกจะคุ้นกว่า แต่ขณะที่แบบ "กราสส์-" ก็ทับมาทั้งรูปเลย --Manop | พูดคุย 08:07, 15 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

เป็นชื่อเฉพาะก็ต้องคงรูปไว้ครับ ควรใช้ กราสส์– หรือ แกรสส์– --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 09:04, 24 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

การันต์

สอบถามผู้รู้หน่อยครับ ไม่แน่ใจว่าทับศัพท์การันต์ แบบ "พยัญชนะทัณฑฆาตมากกว่าหนึ่งตัว" ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ หรือ วิทยาศาสตร์ สำหรับศัพท์ภาษาอังกฤษนี่จะมีการใช้กันดีไหมครับในวิกิพีเดีย หลัง ๆ เริ่มเห็นเยอะ อย่าง ไจแอนตส์ (อ่านแปลก ๆ) หรืออย่าง โรเจอรส์ มีความเห็นกันอย่างไรบ้างครับ หรือว่าจะตัดพยางค์ที่เสียงน้อยสุดออก นอกจากนี้ก็เริ่มมีเห็นการใช้การันต์สองตัวในคำเดียวบ้างแล้ว อย่าง เชอร์ล็อก โฮล์มส์ (เห็นเข้าเสนอในส่วนบทความคุณภาพ) --Manop | พูดคุย 15:16, 15 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

เพิ่มอีกเรื่องตอนนี้เหมือนกำลังจะฮิตใช้การันต์สองตัว ลองดูได้ที่ ฌอง ปอล ซาร์ตร์ --Manop | พูดคุย 04:49, 17 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
  • ภาษาอังกฤษตามหลักแล้ว ถ้ามันเยอะเกินไปให้เหลือตัวที่สำคัญไว้ตัวเดียว เช่น เวิลด์ ซาวด์ เทกซ์ สฟิงซ์ ไม่เป็น เวิรลด์ ซาวนด์ เทกซต์ สฟิงกซ์
  • ภาษาฝรั่งเศสตามหลักแล้ว ตัวที่ไม่ออกเสียง ไม่ต้องใส่
  • อย่าเอาไปเทียบกับคำเหล่านั้นในภาษาไทย เพราะมันเป็นรูปคำศัพท์มาจากบาลีสันสกฤตซึ่งตัดทิ้งไม่ได้

--ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 08:59, 24 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

นี่คือหมวดหมู่อะไร?

en:หมวดหมู่:Nothing ถ้าแปลไทยผมคงใช้ "หมวดหมู่:ไม่มี" ? แถมมีบทความ en:Nothing อีกต่างหาก --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 17:41, 11 มีนาคม 2551 (ICT)

"ความไม่มี" ??? --Manop | พูดคุย 00:06, 12 มีนาคม 2551 (ICT)

ใช้ตามนั้นเลยแล้วกัน --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 17:49, 14 มีนาคม 2551 (ICT)

ชื่อบุคคลญี่ปุ่น

ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ#ชื่อบุคคลชาวญี่ปุ่น ที่นามสกุลนำหน้า และ วิกิพีเดีย:ภาษาญี่ปุ่น

ลองเสนอความเห็นนะครับ ชื่อบุคคลญี่ปุ่นควรใช้เหมือนต้นฉบับหรือเปล่าที่ นามสกุล นำหน้า ชื่อ เช่นเดียวกับ ชาวจีน เกาหลี และเวียดนาม (ที่ใช้กันในวิกิพีเดียว่า นามสกุลนำหน้าชื่อ) ซึ่งปัจจุบันนโยบายด้านนี้ใช้ ชื่อ นำหน้า นามสกุล แต่บทความในวิกิพีเดียมีผสมผสานกันเยอะเหลือเกิน ไม่ว่าชื่อนำหน้า หรือสกุลนำหน้า ฝากสอบถามความเห็นท่านอื่นครับ --Manop | พูดคุย 04:38, 12 มีนาคม 2551 (ICT)

ปกติแล้วก็ควรจะเอานามสกุลขึ้นก่อน แต่ว่ามีนโยบายที่ตกลงกันไว้อีกข้อคือ "ชื่อตัวละครให้ใช้ตามต้นฉบับ" ดังนั้นถ้าเอาตามต้นฉบับจะกลายเป็นว่า บางคนเอาชื่อขึ้นก่อน หรือว่าเราควรจะละทิ้งข้อนี้ไปดีสำหรับชื่อบุคคล (การสะกดไม่ใช่ประเด็นในที่นี้) แล้วเปลี่ยนไปใช้นามสกุลขึ้นก่อนให้หมด ไม่ว่าจะคนจริง ๆ หรือตัวละครสมมติ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 12:57, 14 มีนาคม 2551 (ICT)

ผมว่าเอาชื่อคนขึ้นก่อนน่าจะดีครับ เพราะว่าสื่อไทยทุกที่ใช้แบบนี้ไปแล้ว และในความคิดของผมถ้าเอานามสกุลขึ้นก่อนก็คงไม่มีปัญหาอะไรมั้งครับ แต่ขอบอกว่าเมื่อตอนแรก ๆ ก็ไม่ค่อยชอบแบบที่เอาชื่อขึ้นก่อนหรอกครับ แต่พอฟังไปเรื่อย ๆ มันก็คุ้นหู เลยคิดว่าไม่มีปัญหา "มั้ง" ครับ --Mdafion 14:30, 14 มีนาคม 2551 (ICT)
สำหรับชื่อบุคคล คิดว่าควรจะใช้ชื่อก่อนนามสกุลครับ เพราะว่าตามสื่อต่าง ๆ ก็ล้วนแต่ใช้ชื่อแบบนี้ทั้งนั้น ส่วนตัวละครการ์ตูนก็ใช้ตามต้นฉบับของสำนักพิมพ์ที่ตีพิมพ์ในไทย-- Portalian 16:59, 14 มีนาคม 2551 (ICT)
โดยปกติชื่อภาษาญี่ปุ่นที่แปลเป็นภาษาอื่น โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ (เขียนแบบโรมาญิ) เท่าที่ผมเห็นตามสื่อมักจะใช้ชื่อขึ้นก่อน แต่พวกหนังสือ นิตยสารวิชาการเท่าที่เห็นมักจะใช้นามสกุลขึ้นก่อน ซึ่งเกิดความสับสนพอประมาณยกเว้นคนที่รู้ภาษาญี่ปุ่นอยู่แล้วส่วนใหญ่ก็พอจะดูออกว่าอันไหนชื่ออันไหนนามสกุล แต่โดยสรุปคือผมคิดว่าเอาชื่อขึ้นก่อนตามแบบสากลดีกว่าครับ ส่วนตัวผมคิดว่าชื่อญี่ปุ่นแบบคนธรรมดา (ยกเว้นไม่ใช่พวกเชื้อเจ้าที่มีวรรคกลางหรือคำเสริมยาว ๆ) ค่อนข้างวางตามแบบสากลได้ง่ายกว่าพวก ชื่อจีนหรือเกาหลีที่เป็นคำ ๆ และยังพอดูสละสลวยน่ะครับ--J-Government 15:41, 15 มีนาคม 2551 (ICT)
ที่จริงก็เฉย ๆ ค่ะ แต่บางครั้งรู้สึกอยากให้เอานามสกุลนำหน้าชื่อ เนื่องจากชื่อตัวละครในการ์ตูนหรือนิยายแปล ต้องเขียนตามต้นฉบับคือเอานามสกุลนำหน้า ชื่อบุคคลจริงในประวัติศาสตร์ เวลาเขียนเป็นภาษาอังกฤษก็เอานามสกุลนำหน้า (เพราะสมัยนั้นยังปิดประเทศ เลยไม่เขียนชื่อตามแบบสากล??) เช่น Oda Nobunaga หรือ Tokugawa Ieyasu แต่ชื่อบุคคลจริงในปัจจุบัน กลับต้องเอาชื่อนำหน้า แล้วบางครั้งมันก็ถูกเขียนรวมอยู่ในหน้าเดียวกัน ดังที่เคยยกตัวอย่างไปแล้ว เช่น ซานาดะ เรียว พากย์เสียงโดย ทาเคชิ คุซาโอะ
เจอแบบนี้ คนที่ไม่ได้คลุกคลีกับอะไรที่เป็นญี่ปุ่น ๆ คงจะงุนงงไม่น้อยว่าไหนเป็นชื่อ ไหนเป็นนามสกุลกันแน่
บวกกับผู้ใช้บางส่วนที่ยังไม่ทราบถึงนโยบาย "เอาชื่อนำหน้า" สำหรับบุคคลจริง (หรือทราบแล้วแต่ไม่เห็นด้วยก็ตาม) ก็จะตั้งชื่อบทวามโดยใช้นามสกุลนำหน้าชื่อ (ส่วนใหญ่จะอยู่ใน หมวดหมู่:จูเนี่ยร์) ซึ่งตอนนี้มันมีเยอะจนตามแก้ไม่ไหว
ก็เลยคิดว่าเพื่อตัดปัญหาเช่นนี้ เอานามสกุลนำหน้าชื่อให้หมดไปเลยดีกว่าไหม --Piggy 21:17, 15 มีนาคม 2551 (ICT)
ผมเสนอเรื่องการคงรูปแบบตามเจ้าของภาษาครับ สมมุติอย่างเราที่มีการเรียงชื่อ มานัด กลดี ในภาษาไทย ถ้ามีชาติอื่นเอาไปเรียงตามแบบตัวเองว่า กลดี มานัด เวลาเราฟังก็แปร่ง ๆ ครับ ที่สำคัญ โดยเฉพาะเวลาที่ เด็ก ๆ หรือคนที่จำแบบเรียงชื่อก่อนนามสกุล ไปคุยกับเจ้าของภาษา ถ้าเรียกผิด เรียกชื่อก่อน ทั้งที่ยังไม่สนิทแล้วถือว่าเสียมารยาทค่อนข้างมาก อยากให้คำนึงผลกระทบของการสร้างความเคยชินข้อนี้ด้วย--pop 16:22, 16 มีนาคม 2551 (ICT)
สำหรับบทความชีวประวัติของคนญี่ปุ่นในประวัติศาสตร์ ที่คงชื่อตามแบบญี่ปุ่น เช่น โอดะ โนบุนากะ ในวิกิอังกฤษจะมีแม่แบบ japanese name ใส่ไว้ที่หัวเพื่อไม่ให้ความสับสนครับ ซึ่งผมได้ลองทำ {{ชื่อญี่ปุ่น}} สำหรับติดไว้ที่ส่วนหัวของบทความที่เป็นชื่อในประวัติศาสตร์มาใช้ดู น่าจะป้องกันปัญหาการสับสนเรื่องชื่อ-นามสกุลได้ครับ
ส่วนเรื่องปัญหาในชื่อตัวละครการ์ตูนก็คงต้องเป็นแบบนี้แหละครับ ถ้ายึดตามนโยบายคงตามต้นฉบับเดิม เพราะในการ์ตูนแต่ละเรื่องก็ยังเรียงชื่อ-นามสกุลแตกต่างกันเลย (มีการ์ตูนหลาย ๆ รื่องที่เอาชื่อขึ้นก่อนนามสกุล) คิดว่าถ้ายึดตามนโยบายเดิมคือชื่อบุคคลให้เอาชื่อขึ้นก่อนก็น่าจะดีที่สุดแล้วครับ เพราะสะดวกและเป็นชื่อที่รู้จักกันทั่วไปมากที่สุด -- Portalian 16:38, 21 มีนาคม 2551 (ICT)

ชื่อสกิน

เห็นแล้วแปลกตา แล้วก็บางคำก็เป็นชื่อเฉพาะ อย่างตอนนี้สกิน

  • nostalgia แปลว่า อดีต (ทับศัพท์ดีกว่าไหม)
  • simple แปลว่า เรียบง่าย

และอื่น ๆ --Manop | พูดคุย 02:10, 13 มีนาคม 2551 (ICT)

nostalgia = ความอาลัยอาวรณ์, โรคคิดถึงบ้าน ไม่ได้แปลว่าอดีตนะครับ :D --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 14:08, 14 มีนาคม 2551 (ICT)
เจอตัวแล้วครับ อยู่ที่ http://translatewiki.net/wiki/MediaWiki:Sp-translate-data-SkinNames/th แปลโดยคุณ Ans (ไม่รู้ว่าคนเดียวกับในวิกิพีเดียหรือเปล่า) ผมคิดว่าน่าจะแปลงกลับเป็นชื่อภาษาอังกฤษเหมือนเดิมนะครับ --Manop | พูดคุย 13:23, 24 เมษายน 2551 (ICT)

เพลง

เพลงเพื่อชีวิต คือเพลงโฟล์คซอง ใช่หรือไม่ เพราะภาษาอังกฤษไม่มีคำว่าเพลงเพื่อชีวิต แต่มีเพลงโฟล์คซองซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกัน --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 09:27, 18 มีนาคม 2551 (ICT)

sitcom

รบกวนขอคำสะกดว่า ซิทคอม (ที่สะกดกันทั่วบ้านทั่วเมือง) หรือ ซิตคอม (ตามระบบถอดศัพท์ราชบัณฑิตฯ) ดีครับ --Manop | พูดคุย 02:56, 23 มีนาคม 2551 (ICT)

น่าจะใช้คำว่า "ซิทคอม" ดีกว่าครับ เพราะใช้กันทั่ว แม้แต่ในโทรทัศน์ส่วนใหญ่ก็สะกดแบบนี้ มีการใช้คำว่า "ซิตคอม" น้อย และจากที่พี่มานพบอกมาคำว่า sit ต้องมีเสียงตัว t ด้วยนะครับ แล้วทำไมถอดตามศัพท์ราชบัณฑิตฯออกมามันใช้ ต สะกดล่ะครับ -- Prince | พูดคุย 11:42, 23 มีนาคม 2551 (ICT
คือตัว t ลงท้าย สามารถออกเสียงได้ทั้ง [ท] และ [ต] นะครับ แล้วแต่คำศัพท์ซึ่งยากเหมือนกันที่จะรู้ว่าคำไหนออกเสียงไหน ซึ่งทางราชบัณฑิตฯ คงเล็งเห็นส่วนนี้ก็เลยกำหนดว่าคำที่ลงท้ายด้วย t ให้ใช้ "ต" ไปเลยนะครับ แต่คนไทยจะมีคุ้นเท่าไรเพราะว่า ตัว "ที" ก็เป็น ท.ทหาร ตามสื่อเลยนิยมสะกด "ท" มากกว่า โดยศัพท์เก่า ๆ หรือศัพท์ในพจนานุกรมส่วนใหญ่จะเป็น "ต" ขณะที่ศัพท์ใหม่จะเห็น "ท" เยอะครับ --Manop | พูดคุย 15:30, 23 มีนาคม 2551 (ICT)

Gregorian

รบกวนเรื่องสะกดคำนี้ครับ พอดีเจอทางราชบัณฑิตสะกดแปลก ๆ ดี และราชบัณฑิต 2 ท่านก็สะกดกันคนละแบบ ฝากตอบได้ที่ พูดคุย:ปฏิทินเกรโกเรียน --Manop | พูดคุย 06:26, 24 มีนาคม 2551 (ICT)