ซีเคียวร์เชลล์
เครื่องมือที่ช่วยให้สามารถส่งข้อมูลได้อย่างปลอดภัยระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่อง โดยสาม
(เปลี่ยนทางจาก Secure Shell)
ซีเคียวร์เชลล์ (อังกฤษ: Secure Shell) หรือ SSH คือโพรโทคอลเข้ารหัส สำหรับการปฏิบัติการด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ SSHทำงานได้อย่างปลอดภัยแม้จะอยู่ในเครือข่ายที่ไม่ปลอดภัย[1][2] พอร์ตมาตรฐานของ SSH คือพอร์ต 22 นอกจากนี้ SSH ยังเป็นพื้นฐานของการสื่อสารอื่น ๆ เช่น SFTP หรือ SCP
โพรโทคอลสแตก | |
วัตถุประสงค์ | secure connection, remote access |
---|---|
ผู้พัฒนา | Tatu Ylönen, Internet Engineering Task Force (IETF) |
มีมาตั้งแต่ | 1995 |
ชั้นในแบบจำลองโอเอสไอ | Transport layer through application layer |
พอร์ต | 22 |
เอกสารขอความเห็น | RFC 4250, RFC 4251, RFC 4252, RFC 4253, RFC 4254 |
ความเป็นมา
แก้เวอร์ชันแรกของ SSH (ปัจจุบันเรียกว่า SSH-1) ได้ถูกออกแบบมาโดย Tatu Ylönen ในปี พ.ศ. 2538 ซึ่งตอนนั้นเขาเป็นนักวิจัยอยู่ที่ Helsinki University of Technology ในขณะนั้น[3] จุดประสงค์ของการสร้าง SSH ในตอนนั้น คือเพื่อใช้ทดแทน rlogin, เทลเน็ต FTP และ rsh เนื่องด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย[4]
การใช้งาน
แก้SSH เป็นโพรโทคอลที่สามารถใช้ประโยชน์ได้มากมายรวมถึงในระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ (ลินุกซ์, BSD, แมคโอเอส และ โซลาริส) รวมถึงบน ไมโครซอฟท์ วินโดวส์
อ้างอิง
แก้- ↑ T. Ylonen; C. Lonvick (January 2006). The Secure Shell (SSH) Protocol Architecture. IETF Trust. doi:10.17487/RFC4251. RFC 4251.
- ↑ การใช้ Secure Shell ในการเข้าถึงระบบจากระยะไกล เก็บถาวร 2010-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Tatu Ylönen. "The new skeleton key: changing the locks in your network environment". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-20.
- ↑ Tatu Ylönen. "SSH Port". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-03.