เอกสารขอความเห็น

เอกสารขอความเห็น (อังกฤษ: Request for Comments (RFC)) เป็นสิ่งพิมพ์จากหน่วยงานที่ทำหน้าที่พัฒนาทางเทคนิคหลักและกำหนดมาตรฐานสำหรับ อินเทอร์เน็ต โดยมักจะเป็น คณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet Engineering Task Force (IETF)) RFC แต่ละฉบับจะจัดทำโดยบุคคลหรือกลุ่มวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ในรูปแบบของบันทึกที่อธิบายวิธีการ พฤติกรรม การวิจัย หรือนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของอินเทอร์เน็ตและระบบที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต RFC จะถูกส่งเพื่อรับพิชญพิจารณ์ หรือเพื่อถ่ายทอดแนวคิด ข้อมูลใหม่ๆ หรืออารมณ์ขันทางวิศวกรรมในบางครั้ง [1]

คณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ตนำข้อเสนอบางส่วนที่เผยแพร่เป็น RFC มาใช้เป็นมาตรฐานบนอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม RFC จำนวนมากมีลักษณะเป็นการให้ข้อมูลหรือเป็นการทดลอง และไม่ใช่มาตรฐาน [2] ระบบ RFC ถูกคิดค้นโดยสตีฟ คร็อกเกอร์ (Steve Crocker) ในปี 2512 เพื่อช่วยบันทึกบันทึกอย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับการพัฒนา ARPANET ตั้งแต่นั้นมา RFC ได้กลายเป็นเอกสารอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับข้อกำหนดอินเทอร์เน็ต โพรโทคอล ขั้นตอน และเหตุการณ์ต่างๆ [3] ตามข้อมูลของคร็อกเกอร์ เอกสารดังกล่าว "กำหนดรูปแบบการทำงานภายในของอินเทอร์เน็ตและเกื้อหนุนความสำเร็จของระบบอินเตอร์เน็ต" แต่ไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางภายนอกชุมชนนักพัฒนาอินเทอร์เน็ต[4]

ภายนอกชุมชนนักพัฒนาอินเทอร์เน็ต เอกสารอื่นๆ ที่เรียกว่า Request for Comments ก็ได้รับการตีพิมพ์โดย รัฐบาลกลางสหรัฐ เช่น การบริหารความปลอดภัยการจราจรบนทางหลวงแห่งชาติ [5]

การเข้าดูเอกสารขอความเห็น

แก้

แหล่งเก็บ RFC อย่างเป็นทางการคือ RFC Editor โดย RFC ที่ได้รับการเผยแพร่แล้วสามารถเข้าถึงได้โดยยูอาร์แอล เช่น http://www.rfc-editor.org/rfc/rfc5000.txt จะนำทางไปยัง RFC 5000 เป็นต้น

ลิขสิทธิ์

แก้

โดยทั่วไปจะถือว่าผู้เขียนเอกสารขอความเห็นนั้นๆ หรือผู้ว่าจ้างของเขาได้ถือลิขสิทธิ์ เว้นแต่ถ้าพวกเขาโอนย้ายลิขสิทธิ์อย่างชัดแจ้ง[6]

อ้างอิง

แก้
  1. A Standard for the Transmission of IP Datagrams on Avian Carriers. doi:10.17487/RFC1149. RFC 1149.
  2. Huitema, Christian; Postel, Jon; Crocker, Steve (April 1995). Not All RFCs are Standards. IETF. doi:10.17487/RFC1796. RFC 1796. สืบค้นเมื่อ May 15, 2018.
  3. "RFC's, Internet Request For Comments". Livinginternet.com. สืบค้นเมื่อ April 3, 2012.
  4. "Stephen D. Crocker, How the Internet Got Its Rules, The New York Times, 6 April 2009". The New York Times. April 7, 2009. สืบค้นเมื่อ April 3, 2012.
  5. "Notice and Request for Comments". Federal Register. 2018-01-16.
  6. "Reproducing RFCs". IETF Trust. สืบค้นเมื่อ 2021-08-12.