วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/กรุ 5

รื้อฟื้น เก็บสถิติ

 
สถิติบางส่วนของวิกิพีเดียภาษาไทย เดือน พ.ค. 2550 จาก กูเกิล แอนะลิติกส์

ระบบเก็บสถิติ ผู้เข้ามาอ่านวิกิพีเดียภาษาไทย (มีำคำอธิบายที่หน้า วิกิพีเดีย:สถิติ/จำนวนผู้ใช้งาน) เคยมีเก็บข้อมูลไว้ในช่วงปลายปีก่อนครับ แต่ยกเลิกออกไปตอนช่วงแผ่นดินไหวที่ไต้หวันเพราะช่วงนั้นเน็ตโหลดช้าลง เลยอยากสอบถามว่ามีท่านไหนสนใจจะเก็บสถิติต่อไหมครับ หรือว่ามีวิธีอื่นที่เก็บสถิติได้ครับ --Manop | พูดคุย -   18:10, 23 มีนาคม 2007 (UTC)

ดีเหมือนกันครับ คราวนี้ อาจจะลองหาวิธีเชื่อมต่อกับกูเกิลโดยตรง อาจะทำให้เร็วขึ้นได้ --Jutiphan | พูดคุย - 01:17, 24 มีนาคม 2007 (UTC)
ลองดูก่อนก็ได้ครับ --Pi@k 02:08, 24 มีนาคม 2007 (UTC)
เห็นด้วยครับ --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 04:56, 24 มีนาคม 2007 (UTC)
ตอนนี้ผมลองเปิดใช้แล้วนะครับ คิดว่าสามสี่วันน่าจะได้สถิติมาดูกัน (วันแรกอาจจะได้ไม่ครบ เพราะบางที จาวาสคริปต์อาจจะไม่ได้รีเฟรช) ถ้าใครเขียนโปรแกรมนับสถิติได้โดยตรงที่ทำงานบนเซิร์ฟเวอร์วิกิพีเดีย เลยจะดีมากครับ (เคยมีคนเยอรมันทำไว้ซึ่งติดต่อไม่ได้) --Manop | พูดคุย -   06:55, 28 มีนาคม 2007 (UTC)
จู่ ๆ รู้สึกสงสัยว่าการใช้ Google Analytics ในวิกิพีเดียภาษาไทย ขัดแย้งกับนโยบายความเป็นส่วนตัวของมูลนิธิวิกิมีเดีย รึเปล่าครับ?--Pi@k 11:34, 20 เมษายน 2007 (UTC)
คงต้องดูว่า Google Analytics เก็บข้อมูลอะไรบ้างครับ / ถ้ามีการเก็บข้อมูลส่วนตัว ก็ไม่สมควรทำครับ -- bact' 13:16, 26 เมษายน 2007 (UTC)
อ่า แต่ตรงนี้นี่ อาจจะขัดก็ได้ ไม่แน่ใจนัก ตรง Summary
"If you only read the Wikimedia project websites, no more information is collected than is typically collected in server logs by web sites in general."
หมายถึงว่าเก็บที่เซิีร์ฟเวอร์ของวิกิมีเดียรึเปล่า ? ถ้าเกิดว่าเก็บที่อื่น อาจจะขัดกับนโยบายของวิกิมีเดีย (ซึ่งครอบคลุมโครงการทั้งหมด รวมถึงวิกิพีเดียทุกภาษา) ? -- bact' 13:21, 26 เมษายน 2007 (UTC)
(ขอเริ่มกั้นหน้าซ้ายใหม่นะครับ เพราะเริ่มอ่านยากแล้ว)
จากที่อ่านในส่วนของ meta:Privacy_policy#Private_logging ทั้งหัวข้อแล้ว ผมเข้าใจว่า การเก็บข้อมูลการใช้งานอื่น ๆ นอกเหนือจากการเก็บ server log ตามปกติของโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ น่าจะขัดกับนโยบายความเป็นส่วนตัวของมูลนิธิวิกิมีเดียครับ
อีกเรื่องหนึ่ง ผมเพิ่งอ่านพบว่าทาง Board of Trustee เพิ่งลงมติเมื่อเดือนเมษายนนี้ว่า ผู้ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ไม่เปิดแก่สาธารณะของมูลนิธิฯ ตามที่ระบุในนโยบายความเป็นส่วนตัว (เช่น raw server log) ได้นั้น จำเป็นจะต้องเปิดเผยตัวตนต่อทางมูลนิธิฯ ด้วย --Phisite 14:58, 1 พฤษภาคม 2007 (UTC)
เริ่มเปิดการนับจำนวนอีกครั้ง ช่วงปลายเดือนมีนาคม สถิติดูได้ที่ วิกิพีเดีย:สถิติ/จำนวนผู้ใช้งาน ส่วนเรื่อง Privacy Policy (เท่าที่เข้าใจ) คงไม่น่าขัดนะครับ เพราะข้อมูลจะไม่ใช่ข้อมูลส่วนตัว แต่จะเป็น log file ที่เก็บไว้ ซึ่งอาจจะต้องรอผู้เชี่ยวชาญ ด้านการเขียนโปรแกรมมาตอบอีกที ส่วนถ้าใครพูดภาษาเยอรมันได้หรือติดต่อกับชาวเยอรมันที่เขียนโปรแกรมนับสถิติ หรือเป็นโปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมนับสถิติเป็น น่าสนใจมาทำในเซิร์ฟเวอร์ของวิกิพีเดีย (มีเดียวิกิ) เลยนะครับ จะได้ดูข้อมูลแบบ real time ได้เลย ไม่ต้องไปนับผ่านโปรแกรมตัวอื่น ส่วนสถิติที่เก็บอยู่ ตอนนี้คิดว่าคงไม่มีใครสนใจจะดูข้อมูลอย่างละเอียดเท่าไร เพราะมีคนติดต่อมาเข้าดูข้อมูลอย่างละเอียดมีเพียง 13 คน (และเพียงแค่ 3 คนที่เป็นผู้ดูแลระบบ) --Manop | พูดคุย -   22:22, 5 มิถุนายน 2007 (UTC)

ชื่อหมวดหมู่ที่เกี่ยวกับในหลวงองค์ปัจจุบัน

หมวดหมู่:ภาพฝีพระหัตถ์, หมวดหมู่:พระราชดำรัส, หมวดหมู่:เพลงพระราชนิพนธ์, หมวดหมู่:สุนัขทรงเลี้ยง, หมวดหมู่:แนวพระราชดำริ ฯลฯ ดูเพิ่มที่ หมวดหมู่:รัชกาลที่ 9 หมวดหมู่เหล่านี้ ปัจจุบันถูกจัดให้เป็นหมวดหมู่ย่อยของ หมวดหมู่:รัชกาลที่ 9 ควรจะเปลี่ยนไปใช้ชื่ออะไรดี ให้ระบุชัดเจนว่า เป็นพระราชดำรัส/ฯลฯ ของพระบาทสมเ้ด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ปัจจุบัน ?
หมวดหมู่:พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช vs รัชกาลที่ 9 อะไรคือความแตกต่างของสองหมวดหมู่นี้ ? ดูเพิ่ม, คุยที่ คุยเรื่องหมวดหมู่:พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช#หมวดหมู่:พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช vs รัชกาลที่ 9 - bact' 06:59, 24 เมษายน 2007 (UTC)

วิกิมาเนีย คืออะไร

ตกลงมันคืออะไร มีข้อดีข้อแตกต่างอย่างไรบ้างครับ ผมตกขาว เอ้ย ตกข่าว ^o^
เสนออยากให้มีบทความใน วิกิไทย อธิบายหรือแปลหน่อยว่า วิกิมาเนีย http://wikimania2007.wikimedia.org/wiki/Main_Page คืออะไร มีส่วนร่วมได้อย่างไร (จากการ search เห็นมีเกริ่น ๆ อันเดียวใน กรุ3 ของสภากาแฟ แล้วก็เงียบไปเลย ที่ถามเพราะไป commons มา เห็นเขาปักป้ายซะ) --Sirius (TeeTaweepo) 
มันคือ การประชุมคนบ้าวิกิแห่งปี ครับ --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 07:31, 27 เมษายน 2007 (UTC)
เป็นการประชุมรวมตัวคนเขียนและแก้ไขวิกิพีเดียครับ เป็นงานระดับโลกเหมือนกัน เห็นว่ามีจัดมาหลายปีแล้วนะครับ ปีนี้จัดที่ไต้หวัน ปีก่อนจัดที่เยอรมนีหรือที่อเมริกาไม่แน่ใจครับ แล้วก็คนเข้างานถ้าเป็นผู้เข้าไปชมก็จะเสียค่าเข้า $10-$20 (ประมาณ 400-800 บาท) และนอกจากนี้ก็จะมีการนำเสนอผลงานหรือบทวิจัย จะมีลักษณะออกมาคล้ายการประชุมทางวิชาการนะครับ แต่คงไม่เป็นรูปแบบทางการขนาดนั้น ก็จะมีคนไปพรีเซ็นต์ และอื่น ๆ หลายครั้งก็จะมีคนดัง ๆ ทางวงการคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วมด้วยนะครับ --Manop | พูดคุย -   04:40, 9 พฤษภาคม 2007 (UTC)

แม่แบบ:เรซูเม

สวัสดีคะ ดิฉันได้พูดคุยกับผู้ใช้: Looknarm เกี่ยวกับการที่ดิฉันติดป้าย{{เรซูเม}}ที่บทความชีวประวัติต่าง ๆ ตอนนี้ค่อนข้างสับสนค่ะว่าตกลงการใช้ป้ายมันต้องใช้กรณีไหนบ้างค่ะ เพราะดิฉันติดป้ายที่บทความที่เขียนเป็นหัวข้อ เช่น วิสุทธิ์ ใบไม้ สถิตย์ สิริสิงห ก็โดนเอาป้ายออก ตอนนี้ดิฉันสับสนค่ะว่าตกลงการเขียนชีวประวัติแบบใช้หัวข้ออย่างเช่นบทความที่ดิฉันได้ยกตัวอย่างให้ดูนั้น จัดเป็นการเขียนที่เป็นสารานุกรมหรือไม่ค่ะ และถ้าเป็นสารานุกรมแล้ว ป้ายเรซูเมนั้นจะมีไว้ทำอะไรหรือค่ะ ขอบคุณค่ะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ DSB person (พูดคุยหน้าที่เขียน)
ซึ่งบางทีเข้าข่ายจริง ๆ ครับ แต่บางผู้ใช้ ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ใหม่นั้นอาจจะเจตนาเอาป้ายออก ซึ่งในกรณีดังกล่าวสามารถใส่กลับเข้าไปใหม่ได้ครับผม และอาจพูดคุยกับผู้ใช้ที่เอาป้ายออกได้เช่นกัน โดยดูได้จากประัวัติของบทความนั้น ๆ ครับ --Jutiphan | พูดคุย - 18:07, 4 พฤษภาคม 2007 (UTC)
มีอภิปรายใน แม่แบบ:เรซูเม อีกที่นึงค่ะ ---  ~ Look-Narm ~ คุย 03:00, 5 พฤษภาคม 2007 (UTC)
คืนป้าย {{เรซูเม}} ทุกบทความที่คุณ DSB person ได้ติดไว้ตั้งแต่ครั้งก่อน ทั้งหมดแล้วนะคะ หลังจากแก้ไข template ป้ายให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์มากขึ้นแล้ว ---  ~ Look-Narm ~ คุย 03:09, 6 พฤษภาคม 2007 (UTC)
อธิบายเพิ่มเติมจากที่คุณ Look-Narm บอกนะครับ คือตอนแรกสุดป้าย {{เรซูเม}} จะมีข้อความค่อนข้างกว้างนะครับ มีการบอกว่า "บทความนี้เหมือนเรซูเม หรือ บทความนี้มีผลประโยชน์ทับซ้อนจากผู้เขียน หรือ บทความนี้โปรโมตตัวเอง" ข้อความเลยค่อนข้างกว้างและไม่ตรงประเด็นเท่าไร จากที่คุณ DSB person ติดป้าย เรื่อง คุณวิสุทธิ์ ใบไม้ และ คุณสถิตย์ สิริสิงห (เริ่มเขียนโดย ผู้ใช้:R.A.) ซึ่งสองบทความนี้มีลักษณะการเขียนเหมือนเรซูเม ที่มีการแสดงผลเป็นหัวข้อ ประวัติการทำงาน ประวัติการเรียน ผลงานดีเด่น เป็นข้อซึ่งไม่ได้มีการอ่านที่ต่อเนื่องเป็นสารานุกรมเหมือนบทความอื่น แต่สองบทความนี้ไม่ได้ มีผลประโยชน์ทับซ้อนจากผู้เขียน หรือ บทความนี้โปรโมตตัวเอง และผมเดาว่านั่นเป็นเหตุผลที่คุณ Look-Narm ถอดป้ายออก เพราะมันจะสร้างความสับสนให้ผู้อ่านได้ง่าย หลังจากนั้นทางผู้ใช้วิกิพีเดียหลายคนรวมทั้งผมและคุณ Look-Narm ก็ได้คิดปรับปรุงป้ายเพิ่มเพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์มากขึ้น โดยป้ายเรซูเมเนื้อหาก็จะเป็นเฉพาะรูปแบบการเขียนอย่างเดียว ขณะเดียวกันก็ให้หันไปใช้ป้าย {{อัตชีวประวัติ}} แทนที่สำหรับบทความในรูปแบบอื่น --Manop | พูดคุย -   04:50, 9 พฤษภาคม 2007 (UTC)

ต้องการเป็นอาสาสมัครตอบคำถามในห้องปุจฉา-วิสัชนา

ต้องทำอย่างไรบ้างครับ - วัฒนา
ไม่ต้องทำอะไรมากครับ สามารถมาช่วยตอบคำถามได้ตลอดเวลา แต่ถ้าให้ดี สมัครเป็นสมาชิก เพียงระยุชื่อที่จะใช้ และพาสเวิร์ด เพื่อจะได้ทราบว่าเป็นคุณ เท่านั้นเอง --ธวัชชัย 14:48, 4 พฤษภาคม 2007 (UTC)
ปุจฉา-วิสัชนา ไม่ใช่เว็บบอร์ดครับ ไม่มีผู้ดูแลประจำห้อง (มีแต่ผู้ดูแลทั้งระบบ) ใครมีความรู้อยากตอบอยากแก้ไขก็สามารถทำได้เลย --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 04:16, 5 พฤษภาคม 2007 (UTC)

ต้องการช่วยตอบคำถาม ทำยังไงครับ

เห็นมีแต่ปุ่มตั้งคำถามใหม่ ไมทราบปุ่มตอบคำถามอยู่ตรงไหนครับ -วัฒนา

คลิกที่ [แก้] ในหัวข้อที่ต้องการ เหมือนที่คุณกำลังทำอยู่นี่ไง วิกิไม่เหมือนเว็บบอร์ดครับ อยากแก้ตรงไหนก็แก้เลย --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 07:10, 9 พฤษภาคม 2007 (UTC)

แม่แบบ:จบเสียรส

พอดีเห็นใน en:wiki เขามีแม่แบบ:endspoiler แต่ของเรายังไม่มีเลยลองทำขึ้นมาครับ ดูที่ แม่แบบ:จบเสียรส Prince 08:21, 8 พฤษภาคม 2007 (UTC)

ข้อเสนอโครงการวิกิพีเดีย 0.5 ภาษาไทย

สวัสดีครับ ช่วงนี้ผมได้ทดสอบการใช้งานซีดีรอม Wikipedia 0.5 (ภาษาอังกฤษ) พบว่าน่าจะนำเนื้อหาที่อยู่ในซีดีรอมดังกล่าวมาแปล เพื่อเสริมเนื้อหาในส่วนที่ปัจจุบันวิกิพีเดียภาษาไทยยังขาดอยู่ได้ เลยเขียนข้อเสนอโครงการวิกิพีเดีย 0.5 ภาษาไทยขึ้น รบกวนช่วยกันระดมความคิดเกี่ยวกับข้อเสนอนี้ได้ข้างล่างนี้เลยครับ --Phisite 18:41, 14 พฤษภาคม 2007 (UTC)

สร้างแม่แบบ มุมมองสากล

สำหรับแจ้งเป็นบทความที่ไม่แสดงมุมมองที่เป็นสากลเกี่ยวกับหัวข้อบทความ

พร้อมทั้งสร้างหมวดหมู่ บทความที่ขาดมุมมองสากล และใส่ไว้ในหน้า วิกิพีเดีย:แม่แบบแสดงข้อความ

อิง en:แม่แบบ:Globalize -- RuleByLaw 19:24, 5 มิถุนายน 2007 (UTC)

เพิ่มลิงก์ให้ครับ เผื่อจะได้เห็นชัด ๆ {{มุมมองสากล}} --Manop | พูดคุย -   23:52, 11 มิถุนายน 2007 (UTC)

ต้องการอ้างอิง (อีกแล้ว)

ฝากรบกวน ผู้รักการติดป้าย {{ต้องการอ้างอิง}} ถ้าเจอบทความไหนมีอ้างอิงแล้วช่วยนำป้ายออกด้วยนะครับ อย่าสักแต่ติดป้ายอย่างเดียวท่าจะดี ถ้าต้องการให้วิกิมีอ้างอิงก็น่าจะตามเก็บด้วยก็ดีครับ หลัง ๆ เห็นมีนักติดป้ายเยอะ เลยมาบอกรวมในหน้าทีเดียวน่าจะสะดวกกว่า --Manop | พูดคุย -   00:15, 6 มิถุนายน 2007 (UTC)

แนะแนวทางแก้ปัญหา

สาเหตุหนึ่งคือ คนที่เจอ ไม่ได้เก็บหรือจดจำไว้ ส่วนคนที่แก้ก็อาจมือใหม่ หรือลืมลบ
เราน่าจะใช้ บอต หรือ ทำ include หรืออะไรทำนองนี้ ช่วยบันทึกให้หน้าของคนที่แก้ไขใส่อ้างอิง หรือให้บอตตรวจว่า "บทความที่มีป้าย ต้องการอ้างอิง มีหัวข้อชื่อ == อ้างอิง == หรือยัง ถ้าพบ ให้ส่งข้อความแจ้ง ถ้าไม่พบก็ไม่ต้องส่งข้อความแจ้ง อะไรทำนองนี้ ลองเสนอดู ไม่รู้ว่าเห็นด้วยไหม เรื่องสคริปต์อะไรเนี้ยผมเองก็รู้งู ๆ ปลา ๆ พอเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง ช่วยไม่ไหวจริง ได้แค่แนะแนวทาง --Sirius (TeeTaweepo)  

ภาพลิขสิทธิ์

ช่วยแสดงตัวอย่างภาพลิขสิทธิ์ใน Web เวลา Search หาใน google ด้วยคะ เพราะบางทีก็ไม่ทราบจริง ๆ ขอบคุณคะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 61.19.207.17 (พูดคุยหน้าที่เขียน)

รูปที่เอามาจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่ 90% เป็นรูปสงวนลิขสิทธิ์ (c) ดังนั้นควรใช้แม่แบบ ชอบธรรม (fair-use) ในกรณีทั่วไป หรือหากสามารถระบุประเภทย่อยของรูปภาพนั้นได้เช่น ภาพจอคอม ภาพจากเกม ภาพปกซีดี ภาพการ์ตูน ภาพหนังสือ ฯลฯ ก็เลือกใช้ให้ตรงตามที่ให้ไว้ (ซึ่งทั้งหมดนั้นก็ยังสงวนลิขสิทธิ์) และระบุที่อยู่เต็มของเว็บไซต์ด้วยว่าเอามาจากไหน (ไม่ใช่หน้าเพจของกูเกิล) --Octahedron80 04:46, 24 พฤษภาคม 2007 (UTC)

เนื้อร้องเพลง กับลิขสิทธิ์

การเอาเนื้อร้อง/โน้ตเพลงมาใส่ไว้ในบทความ เป็นการใช้เนื้อร้อง/โน้ตอย่างละเมิดลิขสิทธิ์มั้ย? RuleByLaw 17:59, 31 พฤษภาคม 2007 (UTC)

ถ้าเนื้อหาไม่สามารถนำเสนอภายใต้ GFDL ได้ก็ไม่สามารถนำมาใส่ได้่ครับ kinkkuananas 10:55, 3 มิถุนายน 2007 (UTC)

ตอนนี้ผมกำลังปรับปรุงบทความเพลงต่าง ๆ ที่เป็นเพลงสำคัญของแผ่นดิน ตามมติคณะรัฐมนตรีิลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (ข้อมูลจากสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี) คือ เพลงชาติไทย เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงมหาฤกษ์ เพลงมหาชัย สดุดีมหาราชา และ ภูมิแผ่นดิน นวมินทร์มหาราชา ให้อยู่ใน หมวดหมู่:เพลงสำคัญของแผ่นดิน โดยจัดเป็นหมวดหมู่ย่อยใน หมวดหมู่:เพลงในงานพิธี อีกชั้นหนึ่ง เนื่องจากไม่สามารถแยกเนื้อหาออกจากหมวดหมู่นี้ได้ ในการนี้ผมได้เพิ่มภาพโน้ตเพลงเพื่อประกอบบทความให้สมบูรณ์ขึ้น

เพลงบางเพลง เช่น เพลงชาติ ได้มีการระบุไว้ว่าเพลงนี้ผู้แต่งทั้งเนื้อร้องและทำนองได้ยกให้เป็นสมบัติของชาติ ตามความเห็นผมแล้ว ผมจึงคิดว่าโน้ตเพลงเหล่านี้ทั้งหมดน่าจะเป็นลิขสิทธิ์สาธารณะภายในประเทศไทยเท่านั้น แต่สำหรับภายนอกประเทศน่าจะสงวนสิทธิ์ไว้ เพราะเพลงสำคัญเหล่านี้เกี่ยวข้องกับเกียรติภูมิของชาติ จะมาเล่นแบบซี้ซั้วไม่ได้ (ขออนุญาตใช้ภาษาพูดครับ) ถือว่าเป็นการดูหมิ่นชาติทีเดียว ในชั้นต้นผมไม่ทราบว่าโน้ตเพลงเหล่านี้ควรใช้ลิขสิทธิ์ชนิดใด จึงใส่ลิขสิทธิ์แบบ Fair Use ไปพลางก่อน เพราะอย่างน้อยเพลงเหล่านี้รัฐบาลน่าจะเป็นผู้ดูแลสิทธิ์การใช้งานเรื่องเพลงสำคัญของแผ่นดินทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม ผมเคยทราบมาบ้างว่าต้นฉบับโน้ตเพลงเหล่านี้กรมศิลปากรเป็นผู้เก็บรักษา จึงอยากขอให้ท่านใดก็ตามที่สะดวกช่วยสอบถามเรื่องนี้กับทางกรมศิลปากรด้วย เพราะผมอยู่ที่ขอนแก่น ไม่สะดวกที่จะดำเนินการข้างต้น

สุทธิพงษ์ พื้นแสน 19:52, 7 มิถุนายน 2007 (UTC)

ปล. ผมพบการใช้ภาพ:ยูงทอง.gif ซึ่งเป็นภาพโน้ตเพลงพระราชนิพนธ์ ยูงทอง ลงประกอบในบทความดัวกล่าว ในกรณีนี้ ผมเห็นว่าการนำภาพที่เป็นโน้ตเพลงพระราชนิพนธ์มาเผยแพร่ในที่ใด ๆ ก็ตาม ต้องได้รับพระบรมราชานุญาตก่อนเสมอ เพราะเพลงพระราชนิพนธ์เป็นลิขสิทธิ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตามกฎหมาย ซึ่งในหนังสือต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่โน้ตเพลงพระราชนิพนธ์ จะระบุลิขสิทธิ์ไว้ด้วยเสมอ ในส่วนของคำนำของหนังสือเหล่านี้ก็จะมีการระบุว่าได้รับพระบรมราชานุญาต หรือลงภาพหนังสือพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากสำนักราชเลขาธิการประกอบด้วย ผมจึงขอสรุปกรณีของเพลงพระราชนิพนธ์ในชั้นต้นไว้ก่อนว่า หากไม่ได้รับพระบรมราชานุญาตอย่างเป็นทางการแล้ว การจะเผยแพร่โน้ตเพลงอย่างที่อธิบายข้างต้นย่อมทำไม่ได้ครับ อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบกับสำนักพระราชวังเพิ่มเติมด้วยครับ

สุทธิพงษ์ พื้นแสน 20:06, 7 มิถุนายน 2007 (UTC)

นโยบายการใช้ภาพใหม่

ภาพที่อัปโหลดโดยไม่ระบุแหล่งที่มา ควรใส่ป้ายอะไร?

เจอภาพที่อัปโหลดโดยผู้่อัปโหลดไม่ระบุแหล่งที่มา ไม่รู้ว่าต้องติดป้ายอะไร อยากได้อะไรที่คล้าย ๆ แม่แบบ {{แม่แบบ:Image source}} ของ en.wikipedia แต่หาไม่เจอใน วิกิพีเดีย:ป้ายระบุสถานะลิขสิทธิ์ของภาพ. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 04:07, 21 พฤษภาคม 2007 (UTC)

ที่มีใกล้เคียงที่สุดคือ {{ไม่ได้ระบุ}} ครับ และอย่าลืมแจ้งผู้อัปโหลดด้วยนะครับผม โดยอาจใช้ {{subst:ต้องการสถานะภาพ|ชื่อภาพ}} --Jutiphan | พูดคุย - 17:57, 21 พฤษภาคม 2007 (UTC)
  • น่าจะมีอะไรที่เฉพาะกว่านั้นมั้ย? พอดีผู้อัปโหลดใส่ป้ายสัญญาอนุญาต แต่การไม่ระบุที่มาของภาพ ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็น ป้ายสัญญาอนุญาตที่ถูดต้องหรือเปล่า. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 18:16, 21 พฤษภาคม 2007 (UTC)
คุณ Patiwat จะเริ่มก็ได้ครับผม --Jutiphan | พูดคุย - 18:19, 21 พฤษภาคม 2007 (UTC)
ผมได้เริ่มสร้างให้แล้วนะครับที่ {{ต้องการแหล่งที่มาภาพ}} ซึ่งจะเอาไว้ใช้ตามแนวทางล่าสุดที่ต้องการให้มีการตรวจสอบการใช้ภาพ fair use มากกว่านี้ --Jutiphan | พูดคุย - 17:23, 4 มิถุนายน 2007 (UTC)
  • นั้นคือข้อความสำหรับใส่ใน ห้องสนทนาคนอัปโหลด มีป้ายสำหรับใส่ไว้ใน หน้าข้อมูลรูปภาำพมั้ย? Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 19:38, 4 มิถุนายน 2007 (UTC)
แม่แบบ en:แม่แบบ:Image source ที่คุณให้มามันสำหรับใส่ห้องสนทนาอะครับ หรือว่าผมเข้าใจอะไรผิด คุณ Patiwat ไม่ช่วยสร้างอะครับ เห็นต้องการ --Jutiphan | พูดคุย - 19:41, 4 มิถุนายน 2007 (UTC)
en:แม่แบบ:No source น่าจะหมายถึงอันนี้หรือเปล่าครับ --kinkkuananas 16:49, 5 มิถุนายน 2007 (UTC)
  • ก็บอกแล้วว่าทำไม่เป็น แม่แบบที่มีตัวแปรและที่เกี่ยวกับงาน admin (รูปใหนที่ติดแม่แบบ จะต้องไปใส่หมวดหมู่ "รูปที่ไม่ระบุแหล่งที่มา" และรูปในหมวดหมู่นั้นจะต้องลบภายใน 7 วัน). Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 18:47, 5 มิถุนายน 2007 (UTC)
เรียบร้อยแล้วครับที่ แม่แบบ:ไม่มีแหล่งที่มา ซึ่งสักพักจะเพิ่มไปในสคริปต์จัดให้ และบอตคุงให้ดำเนินการครับผม --Jutiphan | พูดคุย - 15:35, 7 มิถุนายน 2007 (UTC)
อาจไม่เกี่ยวเท่าไร แต่อยากสอบถามว่าถ้าภาพที่โหลดก่อนนโยบายและแม่แบบจะตั้งขึ้นนี่จะทำอย่างไรครับ จะช่วยกันแก้อย่างไรดีครับ เพราะหลายภาพคนที่โหลดไว้คงไม่ได้แวะมาที่วิกิพีเดียแล้ว --Manop | พูดคุย -   17:15, 7 มิถุนายน 2007 (UTC)

Fair use rationale

ตอนนี้ภาพ fair use เริ่มมีเยอะ และมีแนวโน้มว่าจะมีการนำ นโยบาย en:Wikipedia:Fair use rationale guideline ไม่ช้าก็เร็วในวิกิพีเดียภาษาไทยนะครับ เลยมีความเห็นว่าจะเอามาใช้เลยหรือเปล่า เพราะไม่งั้นจะมีการแก้ซ้ำซ้อนกันอีกรอบ หรือว่าจะแทนที่ด้วยการห้ามใช้ fair use ทั้งหมดแบบ วิกิภาษาญี่ปุ่น (ไม่มีภาพ โลโก้ การ์ตูน ภาพยนตร์ ฯลฯ) --Manop | พูดคุย -   03:20, 4 มิถุนายน 2007 (UTC)
สนับสนุนให้มีครับ ห้ามไม่ให้มีเลยรู้สึกว่าจะโหดไป --Pi@k 04:04, 4 มิถุนายน 2007 (UTC)
ผมคิดว่า อาจเริ่มให้ใส่แหล่งที่มาก่อน เพราะว่าบางทีแจ้งเป็น fair use แต่กลับไม่มีแหล่งที่มา เดี๋ยวตรงนี้อีกหน่อยจะเพิ่มบางส่วนที่บอตตรวจได้ เช่นตรวจการใส่คำอธิบาย หรือการใส่ลิงก์ ----Jutiphan | พูดคุย - 04:19, 4 มิถุนายน 2007 (UTC)
  • จากประสบการณ์ใน วิกิภาษาอังกฤษ การถกเถียงเรื่อง Fair use rationale เป็นเรื่องที่น่าปวดหัวสำหรับทุกฝ่าย เถียงกันแรงและเถียงไม่จบ ถ้าไม่เข้าใจจริงหลักของ Fair use rationale จริง ก็ยากที่จะหาข้อสรุปที่เป็นที่พอใจสำหรับทุกฝ่าย คนที่จะมาเป็น "ตำรวจ" ภาพ Fair use จะต้องพร้อม ลบภาพที่ไม่เหมาะสมโดยที่ผู้อัปโหลดไม่พอใจ โดยอาศัย การตีความ Fair use rationale ไม่ทราบว่าจะเป็นไปได้หรือเปล่าในวิกิภาษาไทย เพราำะพวกเราไม่ค่อยอยากให้ใครมาเสียน้ำใจนัก และ Fair use rationale ยังไม่มีแปลเป็นภาษาไทยด้วยซ้ำ การห้ามใช้ภาพ fair use ทั้งหมด มันอาจดูโหดไป แต่มันก็จะตัดปัญหาที่ต้นตอได้ อย่าลืมว่าจุดประสงค์ของ วิกิพีเดีย คือกาีรเป็นสารานุกรมเสรี จะเป็น "เสรี" ไม่ได้ถ้าเต็มไปด้วย fair use violation โออิชิโมะ 06:41, 4 มิถุนายน 2007 (UTC)
โดยส่วนตัวสนับสนุนในระดับหนึ่งครับ แต่ไม่อยากให้ถึงขนาดที่ว่า "เรื่องมาก" และทำให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่ปวดหัว รวมถึงขยาดกับการแก้ไขในวิกิพีเดีย อย่างไำรก็ตาม การใช้ "เพียงเท่าที่จำเป็น" ก็สำคัญต่อการเป็นสารานุกรมเสรี มีวิธีหนึ่งที่เคยมีคนเคยเสนอในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ คือ ไม่บังคับการเขียน rationale กับทุกภาพ แต่ต้องอธิบายได้หากมีการร้องขอ ซึ่งวิธีนี้อาจจะได้ผลในทางปฏิับัติมากกว่า นอกจากนี้ ต้องอธิบาย "ความจำเป็น" ให้ชัดเจน เช่น จำเป็นหรือไม่ที่ทุกบทความเกี่ยวกับอัลบั้มเพลงจะต้องแสดงภาพปก หรือควรจะมีเมื่อภาพปกนั้นมีความสำคัญเป็นพิเศษ (เช่น ได้รับการชื่นชมเรื่องภาพปก หรือเกิดกรณีปัญหา) ส่วนการไม่ใช้ภาพ fair use เลยก็เป็นวิธีหนึ่ง แต่ก็เกิดผลกระทบใหญ่ตามมา เพราะแม้แต่ cc-by-nc-nd ที่ใช้ในภาพของสำนักพระราชวังก็ไม่สอดคล้องกับ GFDL --kinkkuananas 17:54, 5 มิถุนายน 2007 (UTC)
ส่วนตัวแล้วรู้สึกว่า rationale overkill เกินไปครับจากประสบการณ์ซึ่งทำให้ผู้อัปโหลดยุ่งยากขึ้น เหนื่อยขึ้นกว่าเดิม วุ่นวายกว่าเดิมทั้งผู้คอยตรวจสอบด้วย ผมเองจะเริ่มบังคับเรื่องการระบุแหล่งที่มาก่อนขณะนี้ --Jutiphan | พูดคุย - 15:27, 7 มิถุนายน 2007 (UTC)
ลองมาดูตามแต่ละตัวอย่างละกันครับ จะได้เห็นกันว่าควรทำอย่างไรดี เพราะแน่นอนว่ามีหลายบทความและหลายภาพที่โหลดมาก่อนหน้านี้ ก่อนที่จะมีกำหนดว่า ภาพต้องใส่ที่มา หรือภาพต้องใส่ลิขสิทธิ์ ซึ่งหลายภาพก็มีผู้อื่นช่วยติดลิขสิทธิ์ให้

อย่าลืมว่าจุดประสงค์ของ วิกิพีเดีย คือกาีรเป็นสารานุกรมเสรี จะเป็น "สารานุกรม" ได้ก็ต้องมีเนื้อหา --Manop | พูดคุย -   17:53, 7 มิถุนายน 2007 (UTC)

การตรวจสอบแหล่งที่มาสำหรับบอต

ขณะนี้ ผมได้เริ่มให้บอตคุงทำการตรวจสอบแหล่งที่มา โดยนำร่องคัดเลือกภาพบางประเภท ซึ่งขณะนี้พบว่าภาพบางภาพนั้นอาจไม่มีลิงก์ โดยผมกำลังคิดว่าให้ผู้อัปโหลดระบุเป็นคำ (keyword) เช่น สแกนขึ้นเอง จับภาพขึ้นเอง และ ถ่ายขึ้นเอง (หากมี keyword ที่เหมาะสมกว่านี้ ขอคำแนะนำด้วยครับผม ไม่ทราบว่าผู้ใช้ท่านอื่น ๆ มีความคิดอย่างไรบ้างครับเกี่ยวกับแนวทางนี้ --Jutiphan | พูดคุย - 09:52, 8 มิถุนายน 2007 (UTC)

ถ้าเกิดให้เขียนเป็นว่า "แหล่งที่มา:" ล่ะครับ --kinkkuananas 12:02, 8 มิถุนายน 2007 (UTC)
สอบถามครับ อย่างภาพที่จับภาพเอง (Print Screen) ไม่รู้ว่าจะเขียนว่าอะไรดีครับ เพราะภาพเป็นภาพลิขสิทธิ์ของตัวซอฟต์แวร์ โดยเลือกลิขสิทธิ์ตามที่มีไว้ แต่ แหล่งที่มา คิดไม่ออกว่าจะเขียนอะไรดี ตัวอย่างเช่นในภาพ ภาพ:ThaiWP Analytics May2007.jpg --Manop | พูดคุย -   16:04, 8 มิถุนายน 2007 (UTC)
ขอเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการตรวจสอบแหล่งที่มาของภาพสักเล็กน้อย บางบทความผู้เขียนบางคนได้อัปโหลดรูปขึ้นเพื่อประกอบบทความเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะเป็นระยะเวลาที่เนิ่นนานมาแล้ว ประเภทเขียน+อัปโหลดไว้นานจนจำไม่ได้แล้วว่าแหล่งที่มาของภาพที่ได้อัปโหลดไว้นั้น เอามาจากไหน การที่จะแจ้งให้ผู้อัปโหลดรีบระบุแหล่งที่มาของภาพภายใน 7 วัน มิฉะนั้นจะถูกลบออกจากวิกิพีเดีย ออกจะเป็นการขีดเส้นตายที่กระชั้นชิดเกินไป ควรจะให้เวลาผู้เขียนได้ตั้งตัวกันสักนิดนึง อย่างน้อยประมาณ 1 เดือนนับแต่วันที่แจ้ง ก่อนที่จะทำการลบภาพที่ไม่มีแหล่งที่มา ไม่อย่างนั้นภาพเหล่านั้นก็อาจจะถูกลบทิ้งออกไปอย่างน่าเสียดาย เพราะบางภาพหายากและสวยซะด้วยสิ--Se:Rin | พูดคุย - 15:02, 10 มิถุนายน 2007 (UTC)
สำหรับผมแล้ว ต้องเข้าใจนะครับว่าเราจะเริ่มตรวจดังกล่าว โดยจะเน้นภาพที่เข้ามาใหม่มากกว่าครับ จึงเป็นระยะเวลา 7 วัน ส่วนก่อนหน้านี้ผมคงไม่ได้เข้าไปตรวจครับ --Jutiphan | พูดคุย - 03:12, 11 มิถุนายน 2007 (UTC)
ถ้าคิดจะออกนโยบายอะไรก็ต้องครอคลุมให้หมดไม่ว่าเก่าหรือใหม่ ถ้าไม่อยากให้มีผลต่ออันเก่าก็ไม่ต้องออกมานะครับ สนับสนุนแนวคิดคุณ Se-rin ครับ เพราะคนเขียนบทความเยอะ ๆ ก็มักจะโหลดรูปมากกว่าคนไม่ได้เขียนบทความหรือชาติหนึ่งเขียน 1 บทความอยู่แล้ว นโยบายนี้ก็น่าเห็นใจคนเขียนบทความมากกว่าคนไม่ได้เขียนละครับ เพราะเป็นผู้รับผลกระทบโดยตรง และผมยังยืนยันว่าถ้าออกกฏอะไรก็ต้องมีผลกับทุก ๆ คนที่เล่นวิกิพีเดียไม่ควรจะมีข้อยกเว้นใด ๆ ทั้งสิ้นไม่ว่าเก่าหรือใหม่ก็ตาม --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 04:08, 11 มิถุนายน 2007 (UTC)
ไม่ได้เป็นนโยบายใหม่ครับ ซึ่งมีมานานแล้วเพียงแต่ไม่ได้ตรวจสอบ หรือเอาจริงครับผม ส่วนเรื่องของเก่าของใหม่ ไม่ได้มีการยกเว้นหรืออย่างไรในนโยบาย สิ่งที่ผมพูดคือหมายถึงตัวผมเอง ไม่ได้พูดถึงนโยบายแต่อย่างใด การทำงาน หรือสิ่งที่ทำซึ่งอาจแตกต่างกันได้แล้วแต่รูปแบบแต่ละคนหรือสิ่งที่แต่ละคนจะทำครับผม แล้วก็ประเด็นหลักที่ผมพูดถึงเริ่มต้นคือ เกี่ยวกับบอต โดยบอตจะดูภาพที่อัปโหลดใหม่อยู่แล้วครับ ซึ่งเป็นเรื่องที่นำร่องอยู่ ดังที่ประกาศ --Jutiphan | พูดคุย - 05:12, 11 มิถุนายน 2007 (UTC)
แล้วรูปเก่าจะจัดการยังไงมีข้อตกลงกันไปยัง --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 05:23, 11 มิถุนายน 2007 (UTC)
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม หรือพูดคุยเรื่องนี้ อาจสนใจดู หรือเสนอที่วิกิพีเดีย:โครงการเก็บกวาดภาพ ซึ่งมีจุดประสงค์หลักในการเก็บกวาดภาพในวิกิพีเดียภาษาไทย --Jutiphan | พูดคุย - 05:26, 11 มิถุนายน 2007 (UTC)

ผมไม่เข้าใจว่าปัญหาคืออะไรอ่ะครับ เรื่องภาพเก่าภาพใหม่้นี่ ภาพที่อัปโหลดก่อนที่นโยบายจะเริ่มใช้ก็ควรจะได้รับการผ่อนผันเวลาอยู่แล้วนี่ครับ (อย่างที่บอกมาก็คือ ภาพอัปโหลดไว้ตั้งแต่ปีก่อน จะให้ไปไล่แปะแหล่งที่มาให้หมดภายในเจ็ดวันมันก็เกินไป บางรูปคนอัปโหลดไปไหนแล้วก็ไมรู้) แต่ภาพใหม่ที่อัปโหลดหลังจากวางนโยบายแล้ว ก็ควรจะได้รับการตรวจสอบจริงจัง ไม่ให้ปัญหาเพิ่มไปกว่าเดิม (ถ้าถือว่ามันเป็นปัญหา) --kinkkuananas 17:36, 11 มิถุนายน 2007 (UTC)

ปัญหา คือ มีแต่คนออกกฏไม่มีคนวางข้อกำหนดว่าจะจัดการยังไง ไม่มีการกล่าวว่าจะจัดการยังไงกับรูปเก่าอย่างจริงจัง ได้แต่คิดไปเองว่าน่าจะผ่อนผัน แต่ก็ไม่เห็นว่าจะมีการระบุตรงไหนว่าจะมีการผ่อนผันสักนิด จะทำอะไรก็ควรกำหนดหลักให้ชัดเจนและครอบคลุมในทุก ๆ กรณีไม่ใชเอาเฉพาะที่โหลดใหม่ และทภาพเก่าไม่สนใจ ไม่มีการกำหนด ปล่อยให้คนโน่นคนนี้คิดเอาเอง ว่ามันน่าจะเป็นแบบโน้นแบบนี้ --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 21:25, 11 มิถุนายน 2007 (UTC)
ขณะนี้แม้แต่ภาพเก่าที่ไม่ได้ระบุสัญญาอนุญาตกว่า 1,000 ภาพก็ยังไม่ได้มีใครเข้าไปจัดการเท่าไรครับ ซึ่งเป็นไปได้สูงไม่ว่าเรื่องใด ๆ ที่ไม่ใช่ว่าเริ่มอะไรแล้วมันจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นทันทีกับทุกอย่างที่เกี่ยวข้องบนวิกิพีเดียภาษาไทยครับผม ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วผมเองก็ทำตามความเหมาะสมและค่อยเป็นค่อยไป ส่วนเรื่องจัดการอะไรก็ตามก็ต้องช่วย ๆ กันทำครับ ปัญหามันเยอะ ไม่ว่านโยบายใด เรื่องใดไม่ใช่ว่าอยู่ดี ๆ เกิดมาปุ๊ป หรือเริ่มแล้วจะต้องมีเห็นผลหมดทุกอย่างทันที ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับสมาชิกในวิกิพีเดียภาษาไทยเป็นหลักว่าต้องการให้การดำเนินการเป็นไปแนวไหน ปัญหามันเยอะครับ หลายเรื่องก็มีค้างอยู่มากมาย ก็ต้องช่วย ๆ กันแก้ บางเรื่องไม่ใช่ว่าจะชัดเจนไปหมดก็จริง ทุก ๆ คนก็ช่วยกันคิดและทำในสิ่งที่คิดว่าดีที่สุด เหมาะสมที่สุด เป็นไปแนวทางนี้ ทุกอย่างก็น่าจะดีขึ้นครับผม เปลี่ยนไปคุยเรื่องบอตต่อละกันครับ เพราะว่ากำลังดูว่าจะให้บอตมาช่วยตรวจ ดูคำรูปแบบไหนกันบ้าง --Jutiphan | พูดคุย - 21:35, 11 มิถุนายน 2007 (UTC)
ถึงได้บอกว่าจะกำหนดอะไรออกมาต้องครอบคลุม ไม่ใช่ว่าไม่ครอบคลุมแล้วก็ออก ถ้าอยู่ดี ๆ มีคนมาถามว่าทำไมภาพโน้นไม่ไดนเตือน ภาพนี้ไม่โดนเตือนจะได้ตอบคำถามเขาได้ไง ตอนนี้ก็ไม่มีการระบุด้วยซ้ำว่าจะเอายังไงกับรูปเก่า นโยบายถ้าคิดจะออกต้องครอบคลุมและชัดเจน --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 21:42, 11 มิถุนายน 2007 (UTC)
อย่างที่ได้บอกไปแล้วนะครับว่าสำหรับนโยบายนี้ครอบคลุมถึงของเก่าด้วย เพราะว่าเป็นนโยบายเก่าที่มีมานานแล้ว แต่การตรวจสอบสำหรับผมและบอตนั้นเริ่มดำเนินการสำหรับภาพที่อัปโหลดใหม่ก่อน ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่บางกรณีไม่ว่านโยบายใดมักอาจเป็นไปได้ที่มีบางส่วนหรือบางบทความที่ไม่เกิดอะไรขึ้น ซึ่งคุณหรือผู้อื่นก็สามารถแจ้งได้เช่นกัน ส่วนคำตอบก็สามารถตอบได้ว่า ก็ให้แจ้งภาพดังกล่าว หรือทำการแจ้งภาพดังกล่าว ส่วนมากเรื่องใด ๆ ก็เป็นอย่างนี้อยู่แล้วครับผม เช่นอย่าบงบทความคุณภาพ หรือบทความคัดสรร หากพบว่าบทความไหนไม่ถึงขั้นคุณภาพแล้ว แล้วมีคนถามว่าทำไมบทความนี้ไม่โดนมาพิจารณาใหม่ เพราะท่าทางไม่ผ่านแล้ว ก็ตอบได้ว่าก็เสนอให้พิจารณาใหม่ หรือคุณสามารถเสนอเองให้มาพิจารณา --Jutiphan | พูดคุย - 01:41, 12 มิถุนายน 2007 (UTC)
ซึ่งก็เหมือนเรื่องอย่างก่อนหน้านี้ ที่เริ่มตรวจสอบสัญญาอนุญาต โดยผมเองได้เริ่มเข้ามา เพราะก่อนหน้านี้ไม่มีใครดู นโยบายก็มีมาก่อนผมแล้วครับ เพียงแต่เริ่มเข้ามาตรวจสอบและจัดการ จนปัจจุบันนี้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นกว่าเดิม และอย่างที่ได้แจ้งว่ายังมีปัญหาค้างอยู่ 1000 กว่าภาพของเก่า ซึ่งก็ต้องเก็บกวาด และได้เริ่มโครงการเก็บกวาดภาพ เพื่อบริหารเก็บกวาด ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ อย่างที่ผมบอกก่อนหน้านี้ ว่าหากคุณสนใจ อาจไปเข้าร่วมโครงการ เสนอแนวทางจัดการเก็บกวาดภาพต่าง ๆ ในวิกิพีเดียภาษาไทย --Jutiphan | พูดคุย - 01:47, 12 มิถุนายน 2007 (UTC)
ผมว่าผมถามตรงจุดแล้วนะครับ ซึ่งคุณ Manop ก็เคยถามมารอบหนึ่งแล้วแต่ไม่มีผู้ใดให้คำตอบ และผมก็ถามคำถามเดิม ๆ ว่าจะเอายังไงกับภาพเก่า ก็ยังไม่มีใครให้คำตอบ เอางี้ในส่วน GA ถ้าใครมาถามผมว่าทำไมบทความนี้มันไม่ผ่าน ผมก็สามารถตอบได้ว่าทำไมมันไม่ผ่าน แต่ถ้าใครมาถามผมว่าทำไมรูปเก่าถึงไม่โดนตรวจสอบ รูปใหม่ถึงโดนตรวจสอบ ผมไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนกับเขาได้ สั้น ๆ ผมว่าผมพูดตรงจุดมากแล้วนะครับ ไม่รู้ว่าทำไมตอบไม่ตรงจุดสักที --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 04:31, 12 มิถุนายน 2007 (UTC)
ตอบตรง ๆ : ช่วยกันตรวจสอบ แจ้ง ใส่ เก็บกวาดครับผม คุณ PK คิดว่าควรทำอย่างไรที่ดีที่สุดก็ทำเลยครับผม จะไล่แจ้งแล้วก็แจ้งผู้ใช้เห็นที่ทำก่อนหน้านี้ หากดีแล้วก็ทำต่อให้เสร็จครบหมดเลยก็ได้ครับ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาว่าจะจัดการช้าเร็วแค่ไหนเมื่อไรเท่านั้นครับ และหากเห็นได้แจ้งว่าให้เห็นใจผู้เขียน ก็ค่อย ๆ แจ้งก็ได้นะครับ --Jutiphan | พูดคุย - 05:30, 12 มิถุนายน 2007 (UTC)
คำตอบมันไม่ตรงคำถามครับ ถามว่าจะเอาไงกับภาพเก่า ผมคิดว่าคุณ Jutiphan น่าจะเป็นคนวางทิศทางเพราะเป็นผู้เริ่มต้น แต่ผมถามไปเท่าไหร่ก็ตอบไม่ตรงคำถามสักที งั้นผมสรุปให้แล้วกันครับ เห็นคุณ Se-rin และ Kikku เสนอว่าภาพเก่าควรจะให้ระยะเวลา 1 เดือนหลังจากภาพโดนแจ้งเตือน งั้นผมขอใช้ข้อเสนอของคุณ Se-rin และ Kikku เป็นแนวทางเลยแล้วกันครับ สำหรับภาพเก่า จะโดนลบอีก 1 เดือน ภายหลังจากการแจ้งเตือน ถ้าไม่มีใครคัดค้านก็เอาตามนี้เลยแล้วกันครับ อีกประเด็น ผมยังเห็นภาพที่ไม่ระบุสัญญาก็ยังอยู่ดีอยู่ น่าจะทำเป็นเรื่อง ๆ ดีกว่านะครับ--ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 07:29, 12 มิถุนายน 2007 (UTC)

สถานการณ์ภาพปัจจุบัน

ตอนนี้รู้สึกตึงเครียดไงไม่รู้ครับ ทำให้บรรยากาศวิกิพีเดียเริ่มตึงเครียด ทำลายความรู้สึกอยากร่วมมือกัน (เหมือนที่หลายคนสังเกตและถึงขนาดที่คุณตั๋มมี่เขียนเอาไว้) เอาเป็นว่าใจเย็นแล้วมาช่วยกันแก้ปัญหากันดีไหมครับ จากที่ผมอ่านข้างบนมา ลองมาเขียนคร่าว ๆ ถ้าผิดก็ฝากแก้ด้วยละกันครับ คือ ไล่ความต้องการของแต่ละคน นะครับ

  • คุณ Patiwat - ต้องการป้าย {{ไม่มีแหล่งที่มา}} สำหรับตรวจสอบ
  • คุณ Jutiphan, kinkku ● ananas - ต้องการให้ภาพใหม่ที่ไม่มีการระบุแหล่งที่มา ต้องติดป้าย {{ไม่มีแหล่งที่มา}} พร้อมบอกไว้ว่าจะลบภายใน 7 วันถ้าไม่เขียน
  • คุณ Se:Rin, ScorpianPK, และก็ผม - น่าจะมีการจัดการอะไรกับภาพเก่าที่ไม่มีแหล่งที่มานะครับ เพราะถ้าไม่มีแหล่งที่มา แต่ไม่ติดป้าย เดี๋ยวก็จะมีผู้ใช้ใหม่เปรียบเทียบได้ รวมถึงเป็นตัวอย่างให้ผู้ใช้ใหม่ดู

ตอนนี้ลองมาช่วยกันปรับปรุง มีเดียวิกิ:Uploadtext และ วิกิพีเดีย:โครงการเก็บกวาดภาพ กันดีไหมครับ เพราะอย่างป้ายไม่ได้ระบุลิขสิทธิ์ ({{ไม่ได้ระบุ}}) ก็มีลักษณะคล้ายกันคือ ภาพใหม่ก็จะมีบอตตามไปติดป้ายและไปเตือนผู้ใช้ใหม่ที่อัปโหลด และภาพเก่าก็มีบอตไล่ติดป้าย แต่ก็มานั่งไล่ใส่ลิขสิทธิ์ทีหลังจากคนอื่น (ที่ไม่ใช่คนอัปโหลด) อย่างเช่น ภาพ ภาพ:Lvvangpraacinn.jpg อัปโหลด ก.ย. 2005 -> ติดป้าย พ.ย. 2006 -> มาใส่ลิขสิทธิ์ พ.ค. 2007 ซึ่งก็กินเวลานานเหมือนกันเกือบครึ่งปี กว่าจะมีการใส่ลิขสิทธิ์ ซึ่งจริง ๆ แล้วทุกคนคงไม่อยากให้มีการลบเกิดขึ้นซะมากกว่านะครับ คนอื่น ๆ มีความเห็นอย่างไรกันบ้างครับลองมาช่วยกันเสนอไม่ว่าผู้ใช้วิกิใหม่ หรือผู้ใช้วิกิเก่าทุกท่าน --Manop | พูดคุย -   22:49, 12 มิถุนายน 2007 (UTC)

เพิ่มเติมครับ หน้า พิเศษ:Upload นี้น่าจะมีให้ใส่ช่องต่างหาก "แหล่งที่มา" นะครับ คล้าย ๆ กับช่อง "สัญญาอนุญาต" คนใหม่ที่โหลดจะได้ไม่สับสน หรือไม่ก็ทำเป็นหน้าอัปโหลดใหม่ไปเลย เหมือนกับของคอมมอนส์เขา http://commons.wikimedia.org/wiki/Commons:Upload --Manop | พูดคุย -   05:38, 13 มิถุนายน 2007 (UTC)
ผมคิดว่าภาพเก่าก็ต้องติดป้ายนะครับ จะได้รู้ว่ายังมีปัญหาอยู่ (อ่านจากสรุปคุณ Manop แล้วเหมือนว่าผมไม่ต้องการให้ทำอะไรภาพเก่า) แค่คิดว่าไม่สามารถใช้เส้นตายแบบเดียวกับภาพใหม่เท่านั้นเอง เสนอว่า สำหรับภาพเก่า อาจจะให้เวลาสักหนึ่งเดือนแบบที่มีคนเสนอก็ได้ครับ (ขี้เกียจย้อนไปอ่านว่าใครเสนอ) หรือจะมากกว่านั้นเป็นสองเดิอนสามเดือนก็ว่ากันไป ถ้าเกิดคนที่อัปโหลดไม่ active ในวิกิพีเดียแล้ว ก็อาจจะช่วย ๆ กันลองดู ไม่ก็หาภาพใหม่ที่ระบุแหล่งที่มาได้มาแทน ส่วนถ้ามีช่องใส่แหล่งที่มาก็น่าจะดี ดูหน้าคอมมอนส์แล้ว น่าสนใจดีครับ ลองคิดว่า ถ้าทำเป็นแม่แบบ (แบบที่เวลาอัปโหลดในคอมมอนส์) จะทำให้ตรวจสอบง่ายขึ้นไหมครับ (ไม่น่าจะทำให้คนอัปโหลดยุ่งยากมากขึ้นเท่าไหร่ ถ้ามีฟอร์มให้คัดลอก) --KINKKUANANAS 20:52, 14 มิถุนายน 2007 (UTC)

ความละเอียดในการแสดงแหล่งที่มา

เจอหลายรูป อัปโหลดแล้วระบุว่ามาจากเว็บใหน แต่ไม่ระบุว่ามาจาก URL อะไรโดยละเอียด ตัวอย่าง แหล่งที่มา: manager.co.th แล้วอย่างนี้จะไปตรวจสอบได้ไงว่า รูปนั้นมาจากเว็บนั้นจริงหรือเปล่า และใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์รูป (เพราะ้เว็บ manager อาจใช้รูปของ AP หรือ เจ้าของลิขสิทธิ์อื่น ๆ) แหล่งที่มาของรูปควรจะละเอียดพอที่จะหาได้เลยว่ารูป ๆ นั้น มาจากใหน และใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เห็นด้วยมั้ย? RuleByLaw 03:58, 14 มิถุนายน 2007 (UTC)

คุณ RuleByLaw กะคุณ Patiwat น่าจะอธิบายก่อนนะครับว่าทำไมควรจะใส่แหล่งที่มานะครับ อธิบายให้กระจ่างยิ่งดี --Manop | พูดคุย -   06:29, 14 มิถุนายน 2007 (UTC)
อืม ถ้าเกิดว่าไม่รู้แหล่งที่มาที่ชัดเจน ก็คงตรวจสอบสิทธิ์ในการนำมาใช้ลำบากกระมังครับ
เช่น ถ้า A บอกว่าภาพนี้เอามาจาก abc.com/pic/01.jpg หรือนิตยสาร xxx ฉบับ n หน้า nn ซึ่งเป็นของ B และอ้างว่า B ให้ใช้ภายใต้สัญญาอนุญาต GFDL ถ้าเราไม่รู้ว่าจะติดต่อ B ยังไง ก็คงจะยืนยันไม่ได้ว่า B ให้ใช้เช่นนั้นจริง (ไม่ได้หมายถึงว่า เราจะต้องยืนยันกับเจ้าของลิขสิทธิ์ ทุก ๆ รูป - แต่หมายถึงว่า หากจำเป็นจะต้องทำ ก็จะต้องทำได้) ส่วนการบอกที่อยู่ของรูปได้ ก็จะทำให้ B สะดวกในการยืนยันกลับว่า อ๋อ ภาพนี้น่ะเหรอ ใช้ได้/ไม่ได้ -- bact' 23:43, 30 มิถุนายน 2007 (UTC)

"เรซูเม" และ "บทความเหมือนโฆษณา"

ตอนนี้การใส่แม่แบบ {{เรซูเม}} ในบทความจะทำให้บทความนั้นถูกใส่ในหมวดหมู่ บทความเหมือนโฆษณา แตบทความที่ลอกเรซูเมมา ใช่ว่าจะเหมือนโฆษณาทุกบทความ ควรมีการสร้ิางหมวดหมู่ใหม่ อาจชื่อว่า บทความเหมือนเรซูเม ดีมั้ย? หรือว่าจะเปลี่ยนชื่อ หมวดหมู่ บทความเหมือนโฆษณา เป็น หมวดหมู่ บทความเหมือนเรซูเม ดี (เพราะบทความส่วนใหญ่ในหมวด ดูเหมือนจะเกิดจากแม่แบบ {{เรซูเม}}) Aozora 02:53, 14 มิถุนายน 2007 (UTC)

ขอบคุณครับที่ช่วยสังเกต ตอนนี้เปลี่ยนเรียบร้อยแล้วครับผม ดูได้ที่ {{เรซูเม}} --Manop | พูดคุย -   06:26, 14 มิถุนายน 2007 (UTC)

ไม่พรีวิว (ดูตัวอย่าง) ห้ามเซฟ

พอดีเห็นตัวอย่างของวิกิพีเดียญี่ปุ่นมา เขามีระบบที่ว่าถ้าผู้เขียนไม่ล็อกอิน ผู้เขียนจะต้องกด พรีวิว (ดูตัวอย่าง) ก่อน แล้วถึงจะสามารถเซฟได้ ซึ่งลดปัญหาการก่อกวนได้ระดับหนึ่ง ส่วนสำหรับผู้เขียนที่ล็อกอินจะเหมือนเดิมครับ เผื่อมีคนไหนสนใจว่ามาทำแบบนี้บ้างในวิกิพีเดียภาษาไทย --Manop | พูดคุย -   23:02, 6 เมษายน 2007 (UTC)
เห็นด้วยอย่างแรง เคยนึกแว้บ ๆ อยู่เชียวว่า น่าจะเน้นการล็อกอินให้เข้มกว่านี้

นอกจากนี้ยังคิดด้วยซ้ำว่า อยากให้..

  • สมัครสมาชิก ทำแบบ Pantip.com ไปเลยคือ ขอข้อมูลประชาชน
    • วิธีนี้นอกจากช่วยในแง่กรองการก่อกวน ยังช่วยเรื่องความเป็นที่ยอมรับในการเป็นแหล่งอ้างอิงของวิกิด้วย ผู้ใช้สามารถตรวจชื่อจริงผู้ใช้ท่านอื่นได้ (ชื่อจริงไม่แสดงในหน้าหลัก แต่ถ้าอยากดู หาถูกทางก็คลิกดูได้, ส่วนข้อมูลส่วนตัวอื่นปิดเป็นความลับทางเว็บไซต์ต่อไป, ถ้าบริสุทธิ์ใจก็แจ้งชื่อจริง เพื่อให้ใช้ในเชิงอ้างอิงได้ จริงไหมครับ)
  • นอกจากวิธีของท่าน Manop อีกทางที่คิดคือ ถ้าไม่ล็อกอิน ให้เขียนได้เฉพาะ หน้าพูดคุย เขียนในหน้าหลักไม่ได้ (แล้วสมาชิกล็อกอินถ้าตรวจแล้วเห็นน่าเชื่อถือค่อยคัดลอกหรือย้ายไป) --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Teetaweepo (พูดคุยหน้าที่เขียน)
เรื่องการขอข้อมูลประชาชนเป็นไปไม่ได้แน่นอน เพราะผิดหลักพื้นฐานของวิกิพีเดีย kinkkuananas 07:18, 27 เมษายน 2007 (UTC)
ผมว่าขอข้อมูลประชาชนยิ่งไม่ดีครับ ทำให้วิกิปิดกั้นตัวเองมากขึ้นไปกว่าเดิมครับ --Manop | พูดคุย -   21:01, 17 พฤษภาคม 2007 (UTC)
เห็นด้วยในการดูตัวอย่างก่อนครับผม ซึ่งขณะนี้ผมได้ทำการใส่โค้ดทดลองความสามารถดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว โดยขณะนี้ผมตั้งให้ต้องดูตัวอย่างก่อน สำหรับหน้าประเภทบทความ --Jutiphan | พูดคุย - 15:35, 27 มิถุนายน 2007 (UTC)

มีผลแล้วหรือยังครับ มีเงื่อนไขอะไรหรือเปล่า เมื่อสักครู่ผมลองแก้ไขโดยไม่ล็อกอิน ไม่พบว่าต้องพรีวิว --KINKKUANANAS 16:23, 27 มิถุนายน 2007 (UTC)

ผมก็อยากให้ใช้ครับ แต่ใช้เพียงแค่ "ไม่เซฟทันที" แต่ต้อง "พรีวิว" ก่อนทุกครั้ง เหมือนวิกิญี่ปุ่น จะได้แก้นิสัยเซฟแล้วแก้บ่อยของผม ล็อกจะได้ไม่ยาวด้วย --Octahedron80 17:55, 27 มิถุนายน 2007 (UTC)

หากต้องการให้มีผลทันทีให้กด Ctrl+F5 ครับผมเพื่อรีเฟรชโค้ดที่เกี่ยวข้องครับ ^_^ --Jutiphan | พูดคุย - 19:56, 27 มิถุนายน 2007 (UTC)
ท่าทางจะยังไม่ได้ใช้งานกระมังครับ ลองใช้เครื่องตัวเองไม่ล็อกอินก็ต้องพรีวิวก่อน แต่พอลองใช้เครื่องอื่นดูก็ไม่ต้องพรีวิวก็เซฟได้ คงต้องรอซักพัก --Manop | พูดคุย -   06:50, 28 มิถุนายน 2007 (UTC)
ครับ คงใช้เวลาสักพักกว่าแคชจะอัปเดตโค้ดใหม่เข้าไป สำหรับผู้ทดลองสามารถสั่งให้อัปเดตได้ด้วยตัวเองด้วยการกด Ctrl+F5 ซึ่งคาดว่าผู้ใช้ที่ไม่ได้ล็อกอินจำนวนมากอาจไม่ได้รับผลทันที แต่คาดว่าเริ่มต้นเดือนหน้าน่าจะเริ่มเห็นผลครับผม --Jutiphan | พูดคุย - 06:52, 28 มิถุนายน 2007 (UTC)
รับทราบครับ --KINKKUANANAS 16:02, 28 มิถุนายน 2007 (UTC)

Wikimedia Election notice

If you are able, please translate this notice to as many possible languages and post it anywhere applicable.

The Wikimedia Election Committee is accepting candidates for the 2007 Wikimedia Foundation Board of Trustees election. Please see [1] for more information.

There is still time for a new candidate to be considered for election, and you may now endorse the candidate of your choice (up to 3 candidates) on the endorsements page, [2]. Please read the instructions carefully prior to endorsing. If you can translate the instructions, please do.

If you have any questions, please contact any member of the election committee, who are listed here [3].

Posted on behalf of the Election Committee,
--Aphaia 07:26, 21 มิถุนายน 2007 (UTC)

P.S. Also, please see my previous message at MediaWiki talk:Sitenotice. Thank you! --Aphaia 07:26, 21 มิถุนายน 2007 (UTC)

ประโยชน์ของโครงการวิกีพีเดีย

โครงการวิกีพีเดียนั้นจัดว่ามีส่วนช่วยเหลือสำหรับนักเรียนแต่โครงการวิกีพีเดียก็ไม่จำกัดอยู่แต่ว่าความรู้ต่าง ๆ ของโครงการนี้ สามารถช่วยบุคคลอื่น ๆ ได้ เช่น บุคคลที่ต้องการจะรู้ความรู้ใหม่ที่ยังไม่เคยได้พบหรือได้รับความรู้แปลกใหม่ สำหรับนักเรียนที่ได้ประโยชน์จากสารานุกรมวิกีพีเดียหรือที่เราเรียกในสภากาแฟว่า โครงการวิกีพีเดีย --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 202.133.154.248 (พูดคุยหน้าที่เขียน)

วิกิรู้หรือไม่

พอดีว่าง ๆ ก็เลยทำข้อมูลรวบรวมจากหลากเว็บเป็นความรู้รอบตัวขึ้นมาครับ (ถึงบางข้อจะมั่วไปหน่อยก็ตาม) โดยถ้าใครอยากเพิ่มข้อมูลก็แก้ไขได้เลยนะครับ สามารถไปเยี่ยมชมได้ที่ วิกิรู้หรือไม่ ครับ -- Prince 13:57, 13 กรกฎาคม 2007 (UTC)

น่าจะนำไปรวมในหน้าเดียวกันกับ วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า และเสนอใน วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/หัวข้อที่ถูกเสนอ นะครับ จะได้เสนอให้ขึ้นหน้าหนึ่งหน้าหลักของวิกิไปเลย จะได้ผ่านตาคนอื่นมากขึ้นครับ --Manop | พูดคุย -   21:00, 13 กรกฎาคม 2007 (UTC)

1 เดือน ต่อ 1 บทความคัดสรร และ การยุบรวม GA เข้ากับ FA

บทความคัดสรรในวิกิไทย มีข้อกำหนดตรงที่ ต้องหนึ่งเดือนก่อน ถึงจะได้บทความคัดสรร 1 เรื่อง ส่วนในวิกิอังกฤษ พอบทความไหนผ่านเกณฑ์ เป็น FA แล้ว ก็อยู่ใน stock และได้ดาวแปะที่หน้าเลย รอการขึ้นหน้าแรก การพิจารณาว่าบทความไหนควรเป็นบทความคัดสรรเลย มีข้อดีตรงที่ (ตามความคิดผม) คือน่าจะเร่งการเกิดของบทความคัดสรรให้มีจำนวนมากขึ้น เพราะไม่จำเป็นต้องรอถึง 1 เดือน เพราะตอนนี้ คงมีหลาย ๆ คนที่จะเสนอชื่อเป็นบทความคัดสรรหลาย ๆ ท่านคงคิดเหมือนผมว่า ต้องรอก่อน รอให้ถึงเวลา ให้คู่แข่งน้อย ๆ ก่อน ต้องรอเสนอชื่อตอนใกล้ ๆ ปลายเดือนก่อน แล้วค่อยเสนอ ถ้าเสนอกลาง ๆ เดือนจะเสียเปรียบ (หรือว่าผมคิดอย่างนี้คนเดียวหว่า?) --Sry85 16:59, 14 มิถุนายน 2007 (UTC)

ก็ดีครับ ผมแนะนำต่อว่า ยุบ GA ไปรวมกับ FA ไปในคราวนี้เลยก็ได้ครับ เมื่อไม่มีข้อกำหนดของช่วงเวลาที่จะขึ้นเป็น FA แล้ว GA ก็ไม่น่าจะทำหน้าที่ทับซ้อนกันครับผม (เพราะเงื่อนไขในการสร้าง GA เนื่องจากมีบทความดี ๆ เยอะ แต่ไม่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น FA) เสียเวลามานั่งคอมเม้นกันหลาย ๆ รอบด้วยครับ --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 17:34, 14 มิถุนายน 2007 (UTC)
ก็ดีครับ การคัดเลือกบทความคัดสรรประจำเดือน อาจใช้เกณฑ์คล้าย ๆ กับ วิกิอังกฤษ en:Wikipedia:Today's_featured_article/requests คือมีหน้ารีเควสต์ แสดงเหตุผลว่าบทความนั้นสัมพันธ์กับเดือนนั้นอย่างไร หรือมีเหตุผลอะไรที่น่าจะขึ้นหน้าแรก ส่วนบทความคัดสรรอื่น ๆ ก็พิจารณาตามปกติ ไม่มีเรื่องของเวลามาเกี่ยวข้อง--Sry85 16:12, 15 มิถุนายน 2007 (UTC)

น่าสนใจครับ ดูระบบตอนนี้แล้ว ของไทยก็น่าจะปรับได้ไม่ยาก ยกเลิกขั้นบทความคุณภาพ (หรือเปลี่ยนเป็นบทความคัดสรร) แล้วกระบวนการบทความคัดสรรปัจจุบันก็เป็นการเลือกบทความที่จะขึ้นในแต่ละเดือน (เพราะตอนนี้ดูแล้ว ก็ใกล้เคียงทีเดียว ไม่มีเกณฑ์ระหว่างสองขั้นที่ชัดเจนอยู่แล้ว) --KINKKUANANAS 16:47, 15 มิถุนายน 2007 (UTC)

ถ้ายังไม่พร้อมก็เอาเป็นรายสัปดาห์ก็ได้ครับ (พอถึงวันอาทิตย์ก็เปลี่ยน) มีบทความ GA เตรียมไว้อยู่แล้ว (GA บางอันดูดีกว่า FA ซะอีก) Prince 11:35, 16 มิถุนายน 2007 (UTC)

บทความ GA จะมีเพียงพอหรือคะ ถ้าเลือก FA เป็นรายสัปดาห์ แค่สองเดือนก็จะไม่มี GA เหลือให้เลือกอีกแล้ว GA เสนอใหม่ก็ไม่ได้มีมากนัก โออิชิโมะ 16:26, 16 มิถุนายน 2007 (UTC)

น่าสนใจตามที่คุณ ScorpianPK ว่า ให้ยุบรวมกันไปเลยนะครับ คิดว่าตอนนี้มีหลายขั้นตอนเกินไป และไม่ต้องมานั่งจัดการกันหลายรอบ --Manop | พูดคุย -   18:55, 16 มิถุนายน 2007 (UTC)

เท่าที่อ่านดู เป็นการเสนอแยกการเป็นบทความคัดสรรกับการขึ้นหน้าหลักไม่ใช่เหรอครับ (คือถ้าผ่านเกณฑ์ก็เป็นบทความคัดสรรเลย แล้วค่อยต่อคิวกันขึ้นหน้าหลัก แทนที่จะเลือกสร้างบทความคัดสรรกันเืดือนละบทความ) ไม่ได้พูดถึงว่าลดช่วงเวลา --KINKKUANANAS 17:49, 17 มิถุนายน 2007 (UTC)

ผมว่าสถานการณ์ตอนนี้รวมท่าจะเหมาะ ที่ผมเห็นว่าน่าจะยุบรวมเพราะสังเกตุการคอมเม้นของผู้เสนอแนะตั้งแต่บทความ GA แรก ๆ นั้น หนักกว่าตอนมีแค่ FA ด้วยซ้ำ ดังนั้น จะมานั่งเสียเวลาคอมเม้นทั้งตอนเสนอ GA FA ทำไม รวมไปอันเดียวเลยก้ได้ ส่วนข้อดีที่คุณ Sry85 กล่าวมานั้น คงยากครับ (ตอนเริ่มโครงการ GA ก็แอบหวังเหมือนกัน) ขนาด GA ยังไม่มีคนเสนอเลย ปัญหามันน่าจะเป็น ไม่มีคนเขียนให้มันดีพอที่จะเป็น GA FA มากกว่านะครับ คนในวิกิพีเดียมีหลายประเภทครับ เช่น ทำหน้าที่ตรวจสอบ ทำหน้าที่วิจารณ์ เขียนบทความเล็ก ๆ น้อย ๆ และ ปรับปรุงบทความให้ได้ระดับ GA FA ซึ่งกลุ่มหลังดูจะเป็นกลุ่มที่น้อยที่สุดนะครับ ถ้าลองไปดูบทความคุณภาพตอนนี้จะเห็นได้ว่าคนเขียนไม่กี่คนหรอกครับ นับเป็นรายบุคคลได้เลยทีเดียว การเปลี่ยนแปลง GA ไปเป็น FA ตอนนี้ทำได้ง่ายนิดเดียว แค่เปลี่ยนชื่อจาก วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ ---> วิกิพีเดีย:เสนอบทความคัดสรร เปลี่ยนสัญลักษณ์เล็กน้อย ก็เสร็จแล้วครับ ปัญหาที่จะเกิดต่อไป คือ
  1. บทความ GA ตอนนี้ จะต้องนำไปเสนอ FA ใหม่หรือไม่ หรือจะได้สถานะเป็น FA ทันที
  2. การคัดเลือก FA ขึ้นหน้าแรก ควรใช้ระบบใด
    1. เสนอชื่อบทความ+โหวต เหมือนในปัจจุบัน
    2. มาก่อนได้ขึ้นหน้าแรกก่อน
    3. เสนอเป็นกรณีพิเศษแบบที่คุณ Sry 85 บอก
  3. ไหน ๆ ก็กล่าวถึง FA แล้ว จะเอายังไงกับ FA ที่ถูกนำมากลับพิจารณาใหม่

ส่วนเรื่อง FA 1 เรื่องต่อ 1 เดือนนั้น ส่วนตัวเห็นว่า มันก็คงจะเป็นแบบเดิมถ้าสถานะการณ์ยังไม่มีคนเขียน FA แบบนี้ ก็ยังไม่ควรปรับเปลี่ยนระยะเวลา และสิ่งที่ควรพิจารณาอีกอย่างคือ ถ้าคนเขียน FA มีน้อย ความหลากหลายของ FA ก็จะมีน้อยตามมาด้วย ตอนนี้บทความ GA มีบทความชีวประวัติถึง 5 บทความ (ถ้ารวม มอร์นิงมุซุเมะ ไปด้วยจะเป็น 6) เป็นบทความสถานศึกษา 2 ซึ่งมันก็เป็นไปตามความถนัดของผู้เขียนไม่ใช่เรื่องแปลก แต่วิกิพีเดียจะมีบทความขึ้นหน้าแรกเป็นชีวประวัติบ่อยครั้งแน่ ๆ เลยครับ ดังนั้น ใครว่าง ๆ ก็มาเขียนบทความให้มันได้ FA กันเยอะ ๆ นะครับ --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 07:33, 18 มิถุนายน 2007 (UTC)

ผมสนับสนุนยุบบทความคุณภาพให้เหลือเป็นบทความคัดสรรอย่างเดียว ส่วนการคัดเลือก FA ให้ขึ้นหน้าแรก ผมสนับสนุนระบบเสนอชื่อบทความ+โหวดเหมือนในปัจจุบัน ส่วนใครจะมีเหตุผลอะไรก็ว่ากันไป บอกสรรพคุณกันไป สำหรับบทความคุณภาพในปัจจุบันทั้ง 10 บทความที่เหลือ ก็มีความสมบูรณ์อยู่แล้ว (ใช่มั๊ยครับ) ถ้าจะขึ้นเป็น FA เลยก็คงไม่รู้สึกติดขัดอะไรในความคิดของผม

ส่วนในบทความ FA ที่ถูกนำมากลับพิจารณาใหม่ เห็นอยู่อย่างนี้มานาน 2-3 เดือนก็ยังไม่มีใครแก้ไขเป็นเรื่องเป็นราว บทความหลายบทความยังไม่สมบูรณ์ ขาดอ้างอิงบ้าง ตัวผมขอเสนอลดลงจากบทความคัดสรร เป็นบทความคัดสรรในอดีต หรืออะไรก็แล้วแต่

ส่วนเรื่องความหลากหลายของบทความคัดสรร ที่คุณ ScorpianPK กังวัล มันก็ขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้เขียนจริง ๆ แหละครับ และข้อมูลที่มีอยู่ในมือว่ามีขนาดไหน ถ้าไม่มีข้อมูลพร้อม บวกกับความตั้งใจของผู้เขียนและการร่วมมือกัน ผมก็ยังไม่เห็นวี่แววว่าบทความคัดสรรจะเกิดขึ้นตอนไหน ต้องขอซูฮกให้ผู้ที่เขียนบทความดี ๆ ให้เกิดขึ้นมาครับ --Sry85 17:45, 18 มิถุนายน 2007 (UTC)

สนับสนุนหลักการยุบ GA (ไปรวมกับ FA) ครับ --KINKKUANANAS 16:27, 27 มิถุนายน 2007 (UTC)

ผมเองไม่ค่อยสนับสนุนการยุบเท่าไรครับ เพราะมองว่าเป็นก้าวสำคัญที่เราได้เกิด GA ขึ้นมา แม้ว่าช่วงหลัง ๆ ไม่ได้มีบทความมาเสนอเป็นคุณภาพสักเท่าไรก็ตาม ซึ่งขณะนี้ FA ได้มีเดือนละครั้ง และเป้าหมายสำหรับบทความคุณภาพคือ เป็นช่องทางที่ทำให้ผู้เขียนกระตุ้นเขียนบทความดี ๆ เพื่อเป็นบทความคุณภาพ เนื่องจากว่าบทความคุณภาพไม่มีกำหนดจำนวนว่าต้องมีเพียงเดือนละครั้ง นอกจากนั้นยังเป็นก้าวสำคัญในการจัดกระดับบทความที่เพิ่งเกิดไม่นานนี้ เพื่อให้เห็นภาพรวมคุณภาพบทความในวิกิพีเดียมากขึ้น ซึ่งหากยุบ GA ไปจะมีผลกระทบต่อเนื่องไปอีกอะครับ ส่วนเรื่องการกังวลที่ไม่มีบทความให้เลือกใน GA นั้น ปัญหานี้คงไม่ได้หายไปหากยุบรวมไป ก็คงต้องพยายามกันเสนอไป GA มากขึ้นอะครับ ส่วนเรื่อง FA ที่ตกค้างไป เดี๋ยวผมไปช่วยจัดการปิด เห็นค้างมานานแล้วเหมือนกันครับ --Jutiphan | พูดคุย - 20:04, 27 มิถุนายน 2007 (UTC)
ผมคิดว่า การที่ "FA บางอันคุณภาพน้อยกว่า GA อีก" เป็นปัญหาของกระบวนการ FA นะครับ, ส่วนหนึ่งก็มาจากที่ไม่สามารถปลดสถานะ FA ได้เสียที สำหรับบทความที่ไม่ถึงเกณฑ์
ความแตกต่างของ GA กับ FA ตอนนี้ ก็คือ ดี vs ละเอียดสมบูรณ์ (คงเหมือน งานที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ กับ งานที่ส่งประกวด)
เห็นด้วยกับข้อเสนอที่ว่า ให้มีสต็อกของ FA (โหวตล่วงหน้า ไม่ต้องโหวตแบบเดือนต่อเดือน) -- bact' 23:54, 30 มิถุนายน 2007 (UTC)
ผมว่าจาก FA เดือนล่าสุด คงแสดงให้เห็นแล้วนะครับ ว่าควรที่จะยุบรวมอย่างแรง ไม่ว่า FA -> GA หรือ GA -> FA เพราะบทความที่ได้รับเลือกมีผู้สนับสนุนเพียงหนึ่งคน คงแสดงให้เห็นถึงปัญหานะครับ ไม่ว่า ความสับสน การซ้ำซ้อน การไม่มีส่วนร่วม และอื่น ๆ (ว่าไปผมก็ไม่ได้ไปลงชื่อสนับสนุนด้วยแฮะ) --Manop | พูดคุย -   20:25, 1 กรกฎาคม 2007 (UTC)
ผมว่าความแตกต่างที่คุณ bact กล่าวมา ก็ยังไม่เด่นชัดเท่าไหร่ เพราะ GA ก็มีการกำหนดให้บทความมีความสมบูรณ์เหมือนกัน และคนที่เข้ามาเสนอแนะก็แนะให้เพิ่มโน่นเพิ่มนี่เพื่อให้บทความสมบูรณ์อยู่แล้ว ถึงตอนนี้บทความมักพลังจะสามารถผ่าน GA ได้ แต่ไม่ผ่าน FA แต่ที่เห็นคอมเม้นใน FA มันก็คือเกณฑ์ที่ไว้พิจารณา GA นั่นแหละครับ เพียงแต่พึ่งมาคอมเม้นกัน รอบ 2 เท่านั้นเอง อาจจะเนื่องจากมาไม่ทันคอมเม้นรอบแรกหรืออาจจะอยากรอมาคอมเม้นที่ FA ก็แล้วแต่ ดังนั้น ยุบรวมท่าจะดีกว่าครับ--ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 07:08, 2 กรกฎาคม 2007 (UTC)

การยุบรวม GA FA (ต่อ)

สวัสดีครับ ตอนนี้เรื่อง รวม GA เข้า FA ไปถึงไหนแล้วครับผม มีความคืบหน้าเปล่าครับ --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 16:53, 9 กรกฎาคม 2007 (UTC)

สรุปนะครับ มีผู้ลงความเห็น 6 คน
  • ScorpianPK แนะนำต่อว่า ยุบ GA ไปรวมกับ FA
  • Sry85 สนับสนุนยุบ GA เป็น FA และ โหวด FA ประจำเดือน
  • KINKKU ANANAS สนับสนุนหลักการยุบ GA (ไปรวมกับ FA)
  • Manop เห็นด้วยว่า ที่จะยุบรวมอย่างแรง ไม่ว่า FA -> GA หรือ GA -> FA เพราะเห็นถึงปัญหานะครับ ไม่ว่า ความสับสน การซ้ำซ้อน การไม่มีส่วนร่วม และอื่น ๆ
  • bact' เห็นด้วยกับข้อเสนอที่ว่า ให้มีสต็อกของ FA แต่ไม่ได้หมายถึงว่า ยุบ GA -> FA ?
  • Jutiphan ไม่สนับสนุนการยุบ เห็นว่าหากยุบ GA ไปจะมีผลกระทบต่อเนื่องไปอีก
ผมก็ไม่รู้จะดำเนินการต่อยังไง งง ๆ เหมือนกัน คงเป็นเพราะเรื่องใหญ่ ไม่มีใครตัดสินใจ --Sry85 17:25, 9 กรกฎาคม 2007 (UTC)
คือ ตอนนี้ส่วนตัวเริ่มดำเนินโครงการจัดเตรียมยุบ GA--> FA ได้นิดหนึ่งแล้วครับ ช่วงแรก ก็พยายามหาสัญลักษณ์เปลี่ยนจากโครงการ GA --> FA อยู่ครับ แล้วก็กำลังคิด ๆ ว่าถ้าจะเปลี่ยน ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง ผลกระทบและประโยชน์ในการรวม คือ ถ้าคุณ Sry85 มีความเห็นและข้อแนะนำ อะไรเพิ่มเติมก็ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ ตอนนี้อยากได้ไอเดียจากผู้มีประสบการณ์สูงแบบคุณ Sry85 ครับ ขอบคุณมากครับ --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 17:34, 9 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ถ้าจะเปลี่ยน ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง ผลกระทบและประโยชน์ในการรวม ถ้ายุบ บทความคุณภาพ ---> เป็นบทความคัดสรร

ส่วนถ้าพิจารณาว่าเหตุผลที่ควรมี GA อยู่ เท่าที่ผมลองดูบทความภาษาอังกฤษ FA กะ GA มีความแตกต่าง ที่เห็นกันชัด ๆ ก็คือเรื่องความยาว GA ในภาษาอังกฤษจะสั้นกว่า FA และอ้างอิงจะไม่เยอะเท่า FA ส่วนเนื้อหา FA จะเนื้อหาครบทุกด้าน ส่วน GA จะเป็นแก่นของสาระนั้น สามารถพัฒนาต่อเพิ่มเนื้อหาให้ครบทุกด้านจนเป็น FA ได้ และในภาษาอังกฤษ การเสนอชื่อเป็น FA ได้เลยไม่ต้องผ่าน GA ก็ยังได้ เหมือน GA กะ FA การพิจารณา (Criteria) จะเป็นคนละระดับกัน การคอมเมนต์ GA ไม่ต้องคอมเมนต์ทุกด้านเหมือน FA เอาแค่ผ่านเกณฑ์ว่าเป็นบทความดีก็พอ

แต่ในภาษาไทยของเรา เริ่มต้น GA ด้วยบทความที่ละเอียด สมบูรณ์ เปอร์เฟค เรียกว่าแต่ละบทความเป็น FA ได้ทุกบทความเลย เพราะเนื้อหาครบละเอียด สมบูรณ์ พร้อมแล้ว GA ของเราคือ FA ของอังกฤษ ส่วน FA ของเรา คือ FA รายวันของอังกฤษ

ถ้าจะยังคง GA ไว้ก็คงต้องเป็นอีกลีคนึง ที่เกณฑ์การพิจารณาแตกต่างกัน บทความบางบทความในภาษาไทย ที่พอเป็น GA แบบอังกฤษได้ (ตามความเห็นผม) เช่น เพลงลูกทุ่ง เบอร์ลิน เอ็มทีวีไทยแลนด์ คือมีอ้างอิงโอเค เนื้อหาหลัก ๆ ครบ แต่ถามว่าเพิ่มเนื้อหาได้มากกว่านี้ได้มั๊ย ก็เพิ่มได้อีก ถ้ายังคง GA ไว้ ก็ต้องมีการพิจารณาอีกเลเวลของบทความ ให้เข้าใจตรงกัน ว่า GA คือระดับนี้ FA คือระดับนี้ ปรับความเข้าใจกันใหม่

ก็เป็นอีกดิวิชั่นนึง สำหรับบทความอีกประเภทที่ข้อมูลดิบไม่เยอะมาก ๆ และอาจเป็นบันไดสำหรับนักเขียนหน้าใหม่ที่กำลังพัฒนาบทความอยู่ อาจจะมีคนเสนอเป็น GA มากขึ้น เพราะคอมเมนต์ไม่เข้มเท่า FA บทความที่มีเนื้อหาจำกัดอย่าง แก๊กต์ และ กบฏดุซงญอ ที่มีเนื้อหาจำกัดที่เขียนได้เท่านึง ก็เหมาะเป็น GA มากกว่า FA ตามความคิดผม พูดไปพูดมา ก็ยังอยากให้มีทั้ง GA และ FA แต่ว่าต้องปรับเปลี่ยนความคิดของทุกคนเห็นความแตกต่างของ GA และ FA บทความไหนอยากเสนอเป็น FA ไม่ผ่านเป็น GA เลยก็ได้ ส่วนบทความไหนที่โอเคก็เสนอเป็น GA แบ่งเป็น 2 ลีค

คิดเห็นยังไงครับ --Sry85 16:41, 10 กรกฎาคม 2007 (UTC)


อันที่จริงช่วงแรก ๆ ตอนมี GA ผมก็พยายามที่จะเบรค ๆ การคอมเม้นให้อยู่ในกรอบของ GA เหมือนกันครับ แต่ด้วยเหตุผลอะไรบางอย่างซึ่งก็ตามไปดูประวัติการคอมเม้นได้ จะเห็นว่า คอมเม้น GA กลับกลายเป็นคอมเม้น FA เรียบร้อย และก็ยังหาจุดแตกต่างของ GA FA ได้ไม่ชัดเจน ดังนั้น GA จึงถูกกลืนไปเป็น เตรียม FA โดยสมบูรณ์แบบ ผมว่าเกณฑ์ของ GA ที่จริงมันยากตรงข้อที่ว่า "เนื้อหาสมบูรณ์ในตัวบทความเอง" ความสมบูรณ์ตรงนี้แต่ละคนไม่เท่ากัน จะเห็นอยู่บ่อย ๆ เหมือนกันว่ามีข้อเสนอแนะให้เพิ่มตรงโน้นตรงนี้ จนในที่สุดก็สมบูรณ์พร้อมจะเป็น FA ไปโดยปริยาย

ส่วนเรื่องการกำหนดความยาวของเนื้อหานั้น น่าสนใจครับ อาจจะใช้เป็นจุดต่างของ GA FA ได้เหมือนกัน แต่ก็ต้องหาเหตุผลหน่อยว่า ถ้าบทความสั้น ๆ แต่สมบูรณ์ครบตามหลักเกณฑ์ FA เขาจะขึ้นไปเป็น FA ได้หรือไม่ หรือควรจะให้หยุดแค่ GA พอ แต่ต้องตอบคำถามได้ว่าทำไมบทความเขาจึงไม่ควรเป็น FA ครับ ส่วนบทความที่คุณ Sry85 ยกมานั้น ตามความเห็นผม ทั้ง เพลงลูกทุ่ง เบอร์ลิน เอ็มทีวีไทยแลนด์ ก็เกินขอบเขตที่ GA น่าจะเป็นครับ ทั้ง 3 ถ้าจะส่งไปส่ง FA ท่าจะเหมาะกว่า ส่วนบทความที่ผมว่าน่าจะเข้าข่ายGA น่าจะเป็นอย่าง สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มากกว่าครับ

ถ้าจะแยกเป็น 2 ลีค ก็ท่าจะดีครับ แต่ 2 ลีคนี้ต้องแยกชัดเจนว่าต่างกันตรงไหน ผู้เขียนสามารถตัดสินใจได้ง่ายว่าบทความขนาดนี้จะเสนอเข้า GA หรือ FA เพราะถ้าไม่มีจุดต่างที่ชัดเจน ก็จะส่งกันมั่วอีก ปัญหาใหม่ก็จะตามมา ที่อาจจะเห็นก่อนเพื่อนเลย คือ ลองส่ง GA ลองเชิงก่อน ถ้าผ่าน ค่อยไปส่ง FA ต่อ มันก็จะกลับมาเหมือนเดิมอีกอยู่ดี ดังนั้น ต้องหาจุดต่างให้เจอครับ

ส่วนถ้าจะยุบมารวมนั้น ข้อดี คือ คอมเม้นครั้งเดียวเลย ที่สำคัญจะทำให้ผู้ปรับปรุงบทความสามารถแก้ไขบทความให้เป็น FA ได้ในครั้งเดียวเลย เพราะผู้เขียนบางคนเมื่อเสนอ GA ผ่านแล้วก็จบเลย และอาจจะหายไปจากวิกิเลยก็มีบ้าง เช่น คุณ Oong และคุณ Sundae เมื่อมีคนเอาบทความนั้นมาเสนอ FA ผู้เขียนหลักก็ไม่อยู่เสียแล้ว ผู้เสนอ FA ก็อาจจะไม่เข้าใจถ่องแท้ถึงบทความนั้น ๆ ทำให้เสียโอกาสในการปรับปรุงบทความได้ และคงไม่ค่อยมีใครชอบใจมากนักที่จะต้องนำบทความมาให้คนวิจารณ์ถึง 2 รอบ รอบเดียวจบแล้วจบเลยท่าจะดี

ส่วนข้อเสียนั้น บทความที่ไม่อลังการงานสร้าง อาจจะถูกมองว่าไม่มีคุณภาพทั้งที่จริงแล้ว บทความนั้นก็สมบูรณ์แล้ว

คุณ Sry85 ลองร่างหลักเกณฑ์การปรับปรุง GA ดูเลยครับผม เต็มที่ครับ ผมว่าคุณ Sry85 เหมาะที่จะเป็นคนร่างครับ อยากให้คนที่มีประสบการณ์โดยตรงมาร่างครับ เพราะจะเป็นผู้ที่รู้ปัญหาดีที่สุด มีคุณ Se-rin อีกคนที่น่าจะเข้ามาร่วมเสนอหลักเกณฑ์ครับ ขอบคุณมากครับ--ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 17:21, 10 กรกฎาคม 2007 (UTC)


ผมลองเขียนความแตกต่างระหว่างบทความคัดสรรกับบทความคุณภาพแล้วครับ

ความแตกต่างระหว่างบทความคุณภาพกับบทความคัดสรร

บทความคุณภาพเป็นบทความที่น่าพอใจ ที่มีคุณสมบัติดังนี้

  1. เขียนดี เป็นบทความที่เขียนได้ชัดเจน
  2. มีความถูกต้องและตรวจสอบข้อมูลได้ - มีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้
  3. มีเนื้อหาทั่วไป พูดเรื่องกว้าง ๆ ไม่กล่าวถึงรายละเอียดที่ไม่จำเป็น
  4. เป็นกลาง
  5. มีความเสถียรภาพ
  6. ภาพ ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือถ้าเป็น Fair use ให้ระบุแหล่งที่มาครบถ้วน

บทความคัดสรร เป็นบทความตัวอย่างในผลงานที่ดีที่สุด

  1. เขียนอย่างมืออาชีพ มีเนื้อหาครอบคลุม มีข้อเท็จจริงที่แม่นยำ เป็นกลางและเสถียรภาพ
  2. รูปแบบการเขียน มีบทนำ การจัดเรียงหัวข้อตามความสำคัญ
  3. ภาพ ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือถ้าเป็น Fair use ให้ระบุแหล่งที่มาครบถ้วน
  4. ความยาว มีความยาวบทความตามความเหมาะสม โดยเน้นความสนใจที่เนื้อหาหลัก ไม่กล่าวถึงรายละเอียดที่ไม่จำเป็น

ความแตกต่างระหว่างบทความคุณภาพกับบทความคัดสรร

  • บทความคัดสรรคือบทความที่ดีที่สุดในนี้ ส่วนบทควาคุณภาพคือบทความที่น่าพึงพอใจ
  • บทความคุณภาพเขียนดี แต่บทความคัดสรรเขียนอย่างมืออาชีพ
  • บทความคัดสรรมีเนื้อหาครอบคลุม ส่วนบทความคุณภาพพูดในเรื่องกว้าง ๆ
  • บทความคัดสรร มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างละเอียด และน่าเชื่อถือ (มีการอ้างอิงที่สมบูรณ์)
  • ความยาวบทความ ไม่มีข้อจำกัด แต่บทความคัดสรรมักจะเป็นบทความยาว ส่วนบทความคุณภาพเป็นบทความสั้นที่มีคุณภาพเยี่ยม (ความยาวน้อยกว่า 32kb)

สรุปคือที่เห็นชัด ๆ น่าจะเรื่องที่ว่า บทความคุณภาพพูดเรื่องกว้าง ๆ ส่วนบทความคัดสรร ครอบคลุมทุกเรื่อง/ ความยาวของบทความ บทความคุณภาพน่าจะมีความยาวน้อยกว่า 32 kb en:Wikipedia:Article_size /เรื่องการอ้างอิง บทความคัดสรร อ้างอิงได้สมบูรณ์ทุกรายละเอียด คิดว่าน่าจะประมาณนี้ครับ --Sry85 16:52, 13 กรกฎาคม 2007 (UTC)


ผมได้อ่านความแตกต่างที่คุณ Sry85 เสนอแนะมาแล้วครับ ซึ่งก็พอจะเข้าใจได้ในระดับหนึ่งครับ แต่ผมว่ามันออกจะดูเป็นนามธรรมครับ คือ ยังไม่ใช่เกณฑ์ในการแบ่งแยก GA FA ออกจากกันอย่างเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนครับอย่างไรก็ตาม ในข้อที่ "ความยาวบทความ ไม่มีข้อจำกัด แต่บทความคัดสรรมักจะเป็นบทความยาว ส่วนบทความคุณภาพเป็นบทความสั้นที่มีคุณภาพเยี่ยม (ความยาวน้อยกว่า 32kb) " อาจจะนำมาใช้เป็นเกณฑ์แบบรูปธรรมได้ครับโดยอาจจะกำหนดว่า "บทความที่มีความยาวน้อยกว่า 32 kb ให้นำมาเสนอ GA ถ้ามากกว่า ก็ไปเสนอ FA" ตรงนี้น่าจะเป็นจุดหนึ่งที่ใช้แยก 2 โครงการออกจากกันได้

นอกจากนี้ ผมยังมองไปถึงรูปแบบการอ้างอิงที่อาจจะนำมาใช้กำหนดระดับ GA FA เท่าที่ผมคุย ๆ กับผู้ทรงคุณวุฒิบางท่านในนี้ เห็นว่า บทความที่มีคุณภาพไม่จำเป็นต้องอ้างอิงหลังข้อความ และบทความที่มีคุณภาพนั้น ก็ไม่ได้ดูจากว่าบทความนั้นมีการอ้างอิงจำนวนมากหรือไม่ ตรงจุดนี้ผมคิดว่าน่าจะเอามาเป็นจุดต่างของ GA FA ได้เหมือนกันครับ โดย "GA อาจจะไม่กำหนดรูปแบบการอ้างอิง เปิดโอกาสให้อ้างอิงหลายรูปแบบ แต่ถ้าเป็น FA อาจจะกำหนดไปเลยว่าให้อ้างอิงหลังข้อความที่เขียนเท่านั้นครับ (ข้อนี้เป็นข้อเสนอนะครับ) "

เรื่องการใช้ภาพนั้น ทั้งใน GA FA ไม่น่ามีปัญหาครับ ต้องใช้ตามนโยบายเหมือนกัน ดังนั้น ผมว่าเรื่องภาพไม่มีปัญหาที่จะต้องนำมาพิจารณาครับผม รวมทั้ง ความเป็นกลาง ความมีเสถียรภาพ

เรื่องที่สำคัญอีกอย่างคือ ความสมบูรณ์ของเนื้อหา อย่างที่บอกครับ ตรงนี้อาจจะเกิดปัญหาได้ เพราะแต่ละคนมีความคิดต่างกัน คนหนึ่งอาจจะบอกว่าสมบูรณ์แค่นี้ก้อพอ แต่บางคนไม่พอต้องเพิ่มอีก ดังนั้น ข้อนี้อาจจะเป็นนามธรรมไปนิด แต่ก็ต้องกำหนดไว้อย่างที่คุณ Sry85 กล่าวครับ เพียงแต่ต้องควบคุมให้ดีเท่านั้นเอง

ขอสรุปความแตกต่างระหว่าง GA FA ของผมนะครับ

  1. การอ้างอิง ของ GA ไม่กำหนดรูปแบบการอ้างอิง แต่ถ้าถามว่าอ้างอิงมาจากไหนต้องตอบได้ ส่วน FA ให้อ้างอิงเฉพาะอ้างอิงหลังข้อความเท่านั้น
  2. ขนาดของบทความ บทความที่มีความยาวน้อยกว่า 32 kb ให้นำมาเสนอ GA ถ้ามากกว่า ก็ไปเสนอ FA

ตอนนี้คิดออกประมาณนี้ครับ ไม่ทราบว่า คุณ Sry85 มีข้อเสนอแนะ คัดค้านประการใด ก็สามารถบอกกล่าวได้ครับผม--ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 05:21, 14 กรกฎาคม 2007 (UTC)


สรุปว่า GA จะยุบหรือไม่? และถ้าพร้อมที่จะถูกยุบ จะเริ่มดำเนินการเมื่อไหร่? และตอนนี้ยังสามารถที่จะเสนอ GA ได้มั้ย? ถ้ายังเสนอได้ จะเสนอได้อีกนานแค่ไหนกัน?--Se:Rin | พูดคุย - 03:39, 14 กรกฎาคม 2007 (UTC)
ยังคงเสนอได้ต่อไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง--ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 03:40, 14 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ได้เลย...เราน่ะอยากช่วยอยู่แล้ว แต่ก็เห็นประชุมกับอยู่แค่นี้ (จะว่าไป เราเองก็ไม่ได้ไปช่วยสุมหัวด้วยนี่หว่า >.<) เท่าที่เราติดตามและอ่านข้อสรุปและพิจารณาของแต่ละคน ก็สรุปเหมือนกัน ๆ คือ

  • GA เป็นงานเขียนแบบส่งผลงานให้ติชม วิจารณ์เล็กน้อยถึงปานกลาง ประมาณนั้น สำหรับเรานะ ส่วน FA เป็นงานเขียนแบบคัดเลือกออกตีพิมพ์ในหนังสือ แบบเสนอออกสู่สายตาท่านผู้ชม ว่าชั้นมีของดีมาโชว์ไงล่ะ
  • ถ้ายุบ GA ไปรวมกับ FA จะมีข้อดีก็คือ ผู้ที่เขียนบทความ (มีเราล่ะหนึ่งคน) จะไม่ต้องถูกจับผิดในการเขียน โดนยำเละเทะ กัดโน่นนิด กันนี่หน่อย จนกว่าจะฝ่าฝันไป FA ได้เลือดตาแทบกระเด็น ถ้ารวบไปซะเหลือเพียงแค่ FA อย่างเดียว ก็จะมีความเสี่ยงกับตรงนี้น้อยหน่อย หรืออาจจะไม่มีเลยก็ได้ (มั้งนะ???)
  • แต่ใจก็ไม่อยากให้ยุบเหมือนกัน โอย...สองจิตสองใจจริง ๆ เลยชั้นนี่--Se:Rin | พูดคุย - 04:16, 14 กรกฎาคม 2007 (UTC)

อ่านที่เสนอกับ Sry85 แล้ว งั้นขอสรุปมั่งละกัน ส่วนตัวแล้วสำหรับเราการอ้างอิงก็ใช้รูปแบบการอ้างอิงตามหลักของวิกิ มีรูปแบบการอ้างอิงแบบไหนนอกจากการอ้างอิงหลังข้อความอีกเหรอ? แล้วก็ขนาดของความยาว จะเอามาเป็นกำหนดชนิดของ GA FA ไม่ได้มั้ง? เอ...ไม่รู้สินะ เพราะเราไม่เคยเขียนน้อยกว่า 32 kb สักที ^^ ส่วนไอ้ที่บอกติชม วิจารณ์เล็กน้อยถึงปานกลาง เราหมายถึงเมื่อรวมสองอย่างเข้าด้วยกันแล้วไง แนะนำครั้งเดียวจบ ไม่ต้องโดน GA แล้ว พอเสนอ FA ก็โดนอีก ...เออ เขียนเองก็มึนเองนิดหน่อยแฮะ

ถ้าให้เราลองแบ่งแยก GA กับ FA ก็คงจะได้ประมาณเดียวกับเขามั้งนะ ยกเว้นเรื่องความยาวของบทความ เราไม่เห็นว่ามันจะเกี่ยวตรงไหน ถ้าบทความยาวแล้วยังอยู่ในมาตรฐานต้องผ่าน GA ก่อนถึงจะไป FA แบบนี้เราก็อดอ่ะดิ...--Se:Rin | พูดคุย - 05:32, 14 กรกฎาคม 2007 (UTC)


ที่จริงมันก็มีการอเางอิงหลากหลายรูปแบบนั่นแหละ แต่ไม่รู้ใครไปกำหนดให้อ้างอิงแบบหลังข้อความเท่านั้น ลองเิปิดบทความในวิกิดู แล้วจะเห็นเองว่ามีการอ้างอิงแบบอื่นอีก เช่น ถ้าอ้างอิงหนังสือมาเขียน 1 เล่ม 1 บทความ จำเป็นต้องอ้างอิงแบบจุดหมดเปล่า เราว่าไม่จำเป็น เขียนไปเลยว่า

=== อ้างอิง ===

  • หนังสือ 1111111

ประมาณนั้น ลองดู พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ดิ คุณธวัชชัยแนะนำให้เราใส่อ้างอิงแค่นั้นพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงแบบหลังข้อความก็สมบูรณ์แล้ว เพราะถ้าเราจะอ้างอิงแบบจุดก็สามารถทำได้ ก้อเอาแบบอ้างอิงมาจากหน้าไหนของหนังสืเล่มนั้นก็จบ

ส่วนถ้ายังคง GA FA นั้น 2 โครงการนี้จะแยกออกจากกันไปเลย ไม่ต้องเสนอ GA ก่อนค่อยไป FA คราวนี้ ใครอยากเสนอ FA ก็มุ่งไป FA เลย ส่วนบทความที่จะเสนอ GA ก็มา GA เลย ไม่เกี่ยวข้องกัน ดังนั้น ไม่ต้องกลัวว่าไม่ผ่าน GA แล้วจะไปเสนอ FA ไม่ได้อะนะ เลยกำลังหาความแตกต่างระหว่าง 2 อันนี้อยู่เหมือนกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าหาไม่ได้ เราก็ยังคงสนับสนุนการยุบรวม GA เหมือนเดิมนั่นแหละ--ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 05:44, 14 กรกฎาคม 2007 (UTC)


ข้อแบ่งแยก

เอาง่าย ๆ ก็นะ

  1. การเขียนบทความ GA ควรมีความยาวไม่เกิน 32 KB มากสุดไม่เกิน 40 KB ถ้ามากกว่านี้ก็จะกลายเป็น FA ทันที อิอิ
  2. รูปแบบการเขียน ควรจะแบ่งข้อกำหนดให้ชัดเจน GA เช่น
  • เป็นการเขียนแบบกว้างขวาง ครอบคลุมเนื้อหาของบทความแต่ไม่ละเอียดมากนัก งงมะ? มีแหล่งอ้างอิงบางจุดที่สำคัญพอให้ยืนยันได้นิดหน่อย บางทีนักเขียนมือใหม่ ประเภทเริ่มหัดเขียนบทความแต่อยากทำให้ดีที่สุด ก็ให้ลองเสนอบทความของตัวเองให้ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกเพื่อเป็น GA ดูไง เพื่อที่จะได้ลับฝีมือให้ก้าวพัฒนาต่อไปเป็น FA ได้ วิกิจะได้มีบทความดี ๆ เยอะหน่อย
  • ส่วน FA ก็คือการเจาะลึกเนื้อหา เบื้องหลังการถ่ายทำ...เอ๊ย!!! ไม่ใช่ เจาะลึกเนื้อหาแบบละเอียด ครบถ้วนต่างหาก คือครบถ้วนทุกองค์ประกอบ ไม่ขาดตกบกพร่องไปตรงจุดไหน อ้างอิงครบถ้วน เป๊ะ เป๊ะ กันเลยทุกบรรทัด ถ้าเว้ากันง่าย ๆ ก็คือการเขียนแบบพวกเจนเวที ผ่าน GA มาแล้ว อะไรทำนองนี้แหละ รู้จุดหลักของการพิจารณาว่าจะต้องมีตรงไหนบ้าง บทความจึงจะสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ ลองดูตัวอย่างนะ
บทความ GA
  • บทนำ พอที่จะเกริ่นให้รู้ว่าบทความนี้คืออะไร สื่อถึงอะไร?
  • เนื้อหา อาจจะเขียนพอให้รู้ว่ามีอะไรบ้าง เช่น ใคร อะไร ที่ไหน ทำไม อย่างไร
  • รูปภาพ ตาราง สำหรับ GA ไม่มีก็ไม่ผิด
  • แหล่งข้อมูลอื่น
  • ดูเพิ่ม (ถ้ามี)
  • อ้างอิง
  • มีการแก้ไขภายหลังเสนอแนะได้ แต่ก่อนเสนอห้ามมีการแก้ไขบทความเพิ่มเติม
บทความ FA
  • บทนำ เหมือนกับ GA ต้องมีนะ
  • เนื้อหา อันนี้จะแตกออกมาละเอียดถี่ยิบเลยไง นายลองดู GA ของเรา จะเห็นว่าเราเจาะยังไงนะ
  • ส่วน FA ข้อกำหนดมีไว้ว่าต้องมีภาพประกอบ ส่วนตารางถ้ามีก็ต้องทำให้สมบูรณ์ เรียบร้อย
  • แหล่งข้อมูลอื่น
  • ดูเพิ่ม (ถ้ามี)
  • อ้างอิง
  • มีการแก้ไขภายหลังเสนอแนะได้ แต่ก่อนเสนอห้ามมีการแก้ไขบทความเพิ่มเติม
  1. การอ้างอิงที่นายให้ดูเป็นตัวอย่าง ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะท่าที่ให้ดูตัวอย่างพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ก็ใช้ได้ไม่ผิดหลักเกณฑ์
  2. ส่วนรูปภาพ ก็คงกฎเกณฑ์ตามเดิม คือระบุแหล่งที่มาและลิขสิทธิ์สัญญาภาพ

ลองดูนะ ถ้าไม่เห็นด้วยก็ไม่เป็นไร อันนี้เป็นความคิดของเราเอง แหะ แหะ--Se:Rin | พูดคุย - 06:36, 14 กรกฎาคม 2007 (UTC)


เสนอมั่งครับ เห็นเสนอกันเยอะ อย่างเรื่อง อ้างอิงหลังบทความ นี่ไม่เห็นด้วยนิดหน่อย เพราะการอ้างอิงหลังบทความจะเป็นการอ้างอิงเฉพาะจุดมากกว่า ดูตัวอย่าง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) อ้างอิงหลังบทความเกือบทั้งหมด มาจากเว็บหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นข้อมูลใหม่มารวบรวมไว้ในหน้าเดียว หรืออย่าง "บางเรื่อง" ที่มีการอ้างอิงหลังบทความที่ผู้เขียนหาอ้างอิงไม่ได้ ก็สร้างเว็บขึ้นมาเองแล้วอ้างอิงเอง อันนี้ก็ไม่ไหว น่าเกลียดไปหน่อย
ส่วนเรื่องความยาวนี่อาจตัดสินยากหน่อยครับ ไม่แน่ใจว่าวัดกันอย่างไร เพราะถ้าเกิน 32kb แล้วโปรแกรมจะขึ้นเตือน แต่ไม่แน่ใจว่า 40 kb นี่จะวัดอย่างไรครับ
ส่วนเรื่อง แบ่งเป็น 2 ลีกนี่น่าสนับสนุนครับ แยกกันอย่างเห็นได้ชัดไปเลยว่าใครอยากเสนออันไหนก็เลือกที่จะเสนอ โดย FA อาจไม่เกี่ยวกับ GA จะเป็น FA ไม่ต้องผ่าน GA เพราะตอนนี้ค่อนข้างทับซ้อนกันมากและไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจน นอกจากนี้ FA อาจเพิ่มเป็น รายสัปดาห์มากขึ้นก็น่าสนใจเหมือนกันครับ --Manop | พูดคุย -   20:53, 14 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ส่วนตารางด้านล่าง ดัดแปลงจากคุณ Se-rin กล่าวไว้ด้านบนครับ

หัวข้อ FA GA บทความปกติ บทความต่ำกว่ามาตรฐาน
บทนำ มีสรุปภาพรวม ไม่มี
เนื้อหา มีเนื้อหาครบถ้วน มีเนื้อหาหลักครบถ้วน มีเนื้อหาเหมาะสมและจัดแบ่งย่อหน้า มีเนื้อหาที่ไม่ได้จัดเรียง
รูปภาพ ตาราง ถ้ามีภาพหรือตาราง ต้องมีคำอธิบายภาพและตาราง ภาพที่มีอาจะไม่มีคำอธิบาย ลอย ๆ ขึ้นมา
อ้างอิง ครบถ้วน ครบถ้วน มีบางส่วน ไม่มีอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น แหล่งข้อมูลอื่นมีคำอธิบาย ไม่ใช่ลิงก์ http:// ลิงก์ที่มีไม่มีคำอธิบาย

--Manop | พูดคุย -   21:37, 14 กรกฎาคม 2007 (UTC)

เพิ่มเติมอีกอย่างครับ ตอนนี้อาจจะดึงบทความคัดสรรเก่า ที่ควรปรับปรุงมารวดเดียวเลยก็ได้นะครับ --Manop | พูดคุย -   01:02, 15 กรกฎาคม 2007 (UTC)
ตอนนี้ผมขอแยก GA FA ออกจากกันอย่างสิ้นเชิงก่อนนะครับ เป็นการดำเนินการขั้นแรก --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 04:48, 15 กรกฎาคม 2007 (UTC)
สำหรับบทความที่ผ่านเกณฑ์ GA ในตอนนี้แล้วนั้น ผมขอเสนอว่าน่าจะต้องให้นำเข้าไปเสนอ FA ใหม่นะครับ เพราะถ้าจะปล่อยผ่านไปเลยเกรงว่าจะเกิดข้อครหาได้ว่าผ่านเกณฑ์ GA แต่ไม่ผ่านเกณฑ์ FA ดังเช่นบทความ มักซ์ พลังค์ ครับ แต่ถ้าท่านอื่นเ็ห็นว่าเอาไปเป็น FA ได้เลยผทก็ไม่มีข้อขัดแย้งแต่ประการใดครับผม ;) --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 05:49, 15 กรกฎาคม 2007 (UTC)

เสนอมั่งครับ ผมก็ว่า GA ควรจะมีอยู่ต่อไป แต่ลดเกณฑ์ลงมาให้แตกต่างกับ FA ที่ใหนได้ชัด เช่นในวิกิอังกฤษ en:Wikipedia:Compare Criteria Good v. Featured การเสนอจะได้แยกจากกัน แต่ถ้าบทความที่ได้เป็น GA แล้ว แล้วมีการพัฒนาจนผ่านเกณฑ์ FA ก็นำไปเสนอเป็น FA ได้ ส่วน Ga ในตอนนี้ก็ควรนำไปเสนอ FA อีกรอบ เพื่อความเท่าเทียม ซึ่งผมก็ว่า GA ตอนนี้ก็น่าจะผ่านเกณฑ์หมดอยู่แล้ว

และการที่ FA ไม่ขึ้นกับเวลาก็จะมีผลดีเป็นอย่างมากทั้งในด้านการเสนอ และ FA ในอดีตที่คุณภาพไม่ดีก็จะสามารถปลดได้ ซึ่งก็น่าจะทำหน้าสำหรับปลดแยกมาอีกหน้าเลย เช่น วิกิพีเดีย:บทความคัดสรรที่ควรปรับปรุงใหม่ (ในวิกิอังกฤษ en:Wikipedia:Featured article review) ส่วน FA ที่ขึ้นหน้าหลัก ก็น่าจะมีมากพอที่ขึ้นรายสัปดาห์ได้ แล้วการจัดคิวก็อาจจะจัดตามประเภทเนื้อหาด้วย เช่นเนื้อหาที่อยู่ในประเภทเดียวกันไม่ขึ้นติดกัน ฯลฯ -- Portal 06:41, 15 กรกฎาคม 2007 (UTC)


ความยาวของบทความ และ การอ้างอิง (ที่ทำให้บทความนั้นดู "โปร") ผมว่าก็เป็นรูปธรรมที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในการเสนอว่า บทความไหนควรเสนอเป็นบทความคุณภาพ และ บทความไหนควรเสนอเป็นบทความคัดสรร ตามความคิดผมบทความคุณภาพคือบทความสั้นที่ดี ส่วนบทความคัดสรรคือบทความที่กล่าวทุกมุม 360 องศาทุกด้านครอบคลุมหมด แต่ความยาวเป็น Guideline ได้ระดับนึง และก็ขึ้นกับวิจารณญาณของผู้เสนอ และลักษณะของบทความด้วย คือ หากเป็นบทความที่มีเนื้อหาเยอะมาก ๆ (General) อย่างสมมติ บทความเรื่อง "โลก" ลักษณะบทความ ถ้าเขียนได้ที่ 40k และคลุมแก่นจริง ๆ เสนอเป็นบทความคุณภาพก็น่าจะไปทางนั้น (ในภาษาอังกฤษเป็นคัดสรร เขียนได้ 90kb en:Earth) แต่ถ้าจะเสนอให้เป็นคัดสรรก็ควรเขียนให้ครอบคลุมทุกด้าน อาจจะเป็นบทความที่ยาว 90kb อย่างภาษาอังกฤษก็ได้

ส่วนบทความที่สั้นกว่า 32 kb ก็น่าจะเสนอไปในบทความคุณภาพมากกว่า ถ้าเป็นบทความยาวก็เสนอเป็นบทความคัดสรร เท่าที่ดูในวิกิภาษาอังกฤษ บทความที่สั้น ๆ ก็น่าจะเป็น Hurricane Kenna en:Hurricane_Kenna 20kb 21 อ้างอิง มีรูป 5 รูป ก็ถือว่าสมบูรณ์แล้ว เพราะเนื้อหาบทความคงมีไม่เยอะมาก แต่กล่าวได้ครอบคลุม มีรูปประกอบดี อ้างอิงสมบูรณ์ ความยาวก็ไม่ได้เป็นข้อจำกัด แต่เป็น Guideline ให้ผู้เสนอได้ระดับนึง และจำนวนอ้างอิง หากมั่นใจทุก detail มีข้อมูลพร้อม เชื่อถือได้สุด ๆ เป๊ะ ๆ ก็น่าไปทางบทความคัดสรร ส่วนเรื่องการอ้างอิง ก็ไม่น่าจะ fix ว่าต้องเป็นท้ายประโยค แต่ที่ต้องมีอ้างอิงท้ายประโยคคือ การยกประโยคคำพูดมา และ ข้อความที่ยกมาแล้วอาจมีการโต้เถียง พวกอันดับ 1 ของโลก หรือข้อมูลตัวเลข

ผมลองทำตาราง เปรียบเทียบบทความคุณภาพไทยที่มีอยู่ตอนนี้ เรื่องความยาวกับจำนวนอ้างอิง

บทความ ขนาด (kb) จำนวนอ้างอิง
งูจงอาง 48 15
จังหวัดสุราษฎร์ธานี 60 22
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 84 22
เจค กิลเลนฮาล 53 45
ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ 56 4 อ้างอิง 11 เชิงอรรถ
ประเทศฟินแลนด์ 95 53
ภาพยนตร์ไทย 100 61
มอร์นิงมุซุเมะ 127 30
มักซ์ พลังค์ 37 14
มารายห์ แครี 76 62
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 177 96
วชิราวุธวิทยาลัย 28 4
สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี 50 10 เชิงอรรถ 8 อ้างอิง
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) 62 44
สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ 71 11
อาซิโม 99 23

ลองดูของภาษาอังกฤษบ้าง ผมลองสุ่ม ๆ มาดู บทความที่สุ่มมาคือ ศิลปิน สถานที่ บุคคล เหตุการณ์ จะเห็นได้ว่า FA มีความยาว 40kb ขึ้นไป

บทความ ขนาด (kb) จำนวนอ้างอิง ประเภท
Green Day en:Green_Day 37 44 GA
Gwen Stefani en:Gwen_Stefani 44 84 FA
Hirohito en:Hirohito 45 31 GA
Elizabeth I of England en:Elizabeth_I_of_England 72 8 FA
Machu Picchu en:Machu_Picchu 18 6 GA
Shahbag en:Shahbag 40 54 FA
Copenhagen Fire of 1728 en:Copenhagen_Fire_of_1728 22 37 GA
Warsaw Uprising (1794) en:Warsaw_Uprising_(1794) 43 31 FA

--Sry85 07:57, 15 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ส่วนตัวแล้ว ผมนั้นพอใจและยินดีให้กับโครงการ GA ค่อนข้างมาก เพราะว่าเป็นโครงการที่ช่วยยกมาตรฐานคุณภาพบทความของ FA เนื่องจากว่าข้อบังคับให้ผ่าน GA ก่อน และอย่างที่คุณ Sys85 ได้แสดงความคิดเห็นนั้น ทำให้บทความ FA ได้รับผลดีไปด้วย และมีคุณภาพสูงขึ้นจากเดิม เนื่องจากว่าได้ผ่านระยะเวลาการปรับปรุงพัฒนา เปลี่ยนแปลงจากระบบ GA มาก่อน โดยปกติและส่วนมาก FA มักจะเน้นเป็นการโหวตมากกว่า ซึ่งหากคิดอีกแบบอาจมองได้ว่า เป็นการคัดเลือกบทความ GA ให้มาแสดงหน้าหลักนั้นเองอีกทีหนึ่ง และหลาย ๆ ครั้ง เป็นช่วงเปิดให้แสดงความคิดเห็นก่อนได้รับการคัดสรร ในบางส่วนเพื่อให้บทความดียิ่งขึ้นไป ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ผมรู้สึกว่าทั้งสองโครงการมีประโยชน์ และมีหน้าที่ของมันเองดี หลาย ๆ ท่านก็ได้แสดงความคิดเห็นดี ๆ มาเยอะครับ อาจจะแยกกัน หรือจะให้ FA เป็น superset แบบเดิม หรืออย่างไรก็คงต้องว่ากันไป แต่เห็นแสดงไอเดียดี ๆ ช่วยกันคิดดีครับผม --Jutiphan | พูดคุย - 08:36, 15 กรกฎาคม 2007 (UTC)
พวกคุณอย่าลืมกันนะว่า ตัวอักษรไทยจะมีขนาด 3 ไบต์ในยูนิโค้ด ถ้าจะเอาไปเทียบกับภาษาอังกฤษต้องมีขนาดรวมเป็นสามเท่าครับ ดังนั้นใช้แค่ 40 kB ไม่ได้ บทความจะยาวแค่หนึ่งในสามเท่านั้น ต้องเป็น 120 kB หรือประมาณ 90-100 kB ถ้ามีภาษาอังกฤษปน --Octahedron80 08:55, 15 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ว่าไปขนาดนี้ท่าจะนับคงสำคัญน้อยที่สุดนะครับ น่าจะดูที่เนื้อหามากกว่าที่จะครอบคลุมแค่ไหน เพราะอย่างบางบทความเขียนยาว 100 kb 200 kb แต่ถ้ามีเนื้อหาวนไปมา ก็ไม่ต่างอะไรกับเขียนสั้น 30-40 kb นะครับ อยู่ที่ลักษณะการเขียนซะมากกว่า --Manop | พูดคุย -   09:23, 15 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ขออนุญาตสรุปประเด็นเบื้องต้น

ตอนนี้อภิปรายยาวมากครับ ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างดียิ่ง ดังนั้น เพื่อไม่ให้หลุดจากประเด็น ผมจึงขอสรุปจากความเห็นของทุก ๆ คนเบื้องต้นไว้นะครับ อยากให้ทุกคนช่วยกันเลือก หรือเสนอเพิ่มเติมอย่างน้อยประเด็นพวกนี้ครับ หรืออาจจะใช้การลงคะแนนไว้เลยก็ได้ครับ จะได้รู้ว่าแต่ละคนคิดยังไง (สามารถเพิ่ม choice ได้ นะครับ)

แนวทางของGA และ FA
  • ยุบรวม GA FA
  • แยก GA FA
ประเด็นนี้คงสรุปได้แล้วครับว่า ทั้ง GA และ FA ยังคงอยู่ต่อไป แต่แยกเป็น 2 โครงการนะครับ
ขนาดบทความ
  • ควรนำขนาดบทความมาตัดสิน GA และ FA
    • GA ต่ำกว่า 32 kB FA ประมาณ 40 kB ขึ้นไป (คุณ Sry85)
    • FA ประมาณ 90-100 kB ขึ้นไป (คุณ Octahedron80)
  • ไม่ควรนำขนาดบทความมาใช้ในการตัดสิน แต่ควรเป็นข้อสังเกตให้ผู้เสนอใช้ประกอบในการตัดสินใจว่าจะส่ง GA หรือ FA
การอ้างอิง
  • GA ไม่บังคับให้อ้างอิงในรูปแบบอ้างอิงหลังข้อความเท่านั้น แต่ต้องตอบได้ว่าเอาอ้างอิงมาจากไหน
  • FA ต้องอ้างอิงหลังข้อความเท่านั้น
  • ทั้ง GA และ FA ควรอ้างอิงหลังข้อความเท่านั้น
  • ทั้ง GA และ FA ไม่ควรกำหนดรูปแบบการอ้างอิงเฉพาะแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องตอบได้ว่าเอาอ้างอิงมาจากไหน
สถานะบทความที่ผ่าน GA ตอนนี้
FA ในอดีตที่ไม่ได้มาตรฐาน
  • ปลด ถ้าไม่ได้มาตรฐาน
  • ไม่ปลด แต่ติดสัญลักษณ์/ป้ายแสดงให้เห็นว่ายังไม่ได้มาตรฐาน เพื่อรอการปรับปรุง
  • ติดป้ายว่าไม่ได้มาตรฐานตามบทความคัดสรรล่าสุด และอยู่ในระหว่างการปรับปรุง และหากยังไม่ได้รับการปรับปรุงให้ถึงขั้นบทความคัดสรรหลังจาก 1 เดือน ค่อยปลดเป็นบทความคัดสรรในอดีต
การเลือก FA ขึ้นหน้าแรก
  • 1 เดือนต่อ 1 บทความ (เหมือนเดิม)
  • 2 สัดาห์ ต่อ 1 บทความ
  • 1 สัปดาห์ต่อ 1 บทความ

ส่วนเรื่องที่ไม่น่าจะมีปัญหา คือ

  • ต้องเป็นสารานุกรม เป็นกลาง ไม่อยู่ระหว่างการแก้ไข ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่เป็นงานค้นคว้าต้นฉบับรูปภาพ ให้ใช้ตามหลักเดิมทั้ง GA FA เหมือนกัน
  • เนื้อหา GA จะกล่าวภาพรวม แต่ FA ลงลึก ตรงนี้ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหา

ลองเสนอแนะเพิ่มเติมและเลือกกันดูครับ ขอบคุณครับ--ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 09:17, 15 กรกฎาคม 2007 (UTC)

โหวต

ขนาดบทความ
  • ไม่ควรนำขนาดบทความมาใช้ในการตัดสิน แต่ควรเป็นข้อสังเกตให้ผู้เสนอใช้ประกอบในการตัดสินใจว่าจะส่ง GA หรือ FA ควรหาตัวเลขที่เหมาะสม สำหรับเป็น Guideline
การอ้างอิง
  • ทั้ง GA และ FA ไม่ควรกำหนดรูปแบบการอ้างอิงเฉพาะแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องตอบได้ว่าเอาอ้างอิงมาจากไหน
สถานะบทความที่ผ่าน GA ตอนนี้
  • ได้รับสถานะ FA ทันที
FA ในอดีตที่ไม่ได้มาตรฐาน
  • ปลด ถ้าไม่ได้มาตรฐาน (มีบางบทความที่น่าจะถูกปลดอย่างรวดเร็ว เช่นไม่มีอ้างอิง)
การเลือก FA ขึ้นหน้าแรก
  • 1 เดือนต่อ 1 บทความ (เหมือนเดิม)

--Sry85 10:01, 15 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ขนาดบทความ
  • ไม่ควรนำขนาดบทความมาใช้ในการตัดสิน แต่ควรเป็นข้อสังเกตให้ผู้เสนอใช้ประกอบในการตัดสินใจว่าจะส่ง GA หรือ FA
การอ้างอิง
  • ทั้ง GA และ FA ไม่ควรกำหนดรูปแบบการอ้างอิงเฉพาะแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องตอบได้ว่าเอาอ้างอิงมาจากไหน
สถานะบทความที่ผ่าน GA ตอนนี้
  • นำไปเสนอ FA อีกครั้ง
FA ในอดีตที่ไม่ได้มาตรฐาน
  • ไม่ปลด แต่ติดสัญลักษณ์/ป้ายแสดงให้เห็นว่ายังไม่ได้มาตรฐาน เพื่อรอการปรับปรุง
การเลือก FA ขึ้นหน้าแรก
  • 1 เดือนต่อ 1 บทความ (เหมือนเดิม)

--Se:Rin | พูดคุย - 11:20, 15 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ขนาดบทความ
  • ก็คงต้องเป็นเพียงแนวทาง แต่คิดว่า บทความคัดสรรควรมีความยาวและละเอียดในระดับหนึ่ง (หัวข้อที่ไม่มีรายละเอียดหรือเนื้อหามากนัก คงยากที่จะมาเป็น "บทความที่ดีที่สุด" ของวิกิพีเดีย)
การอ้างอิง
  • ผมคิดว่าการอ้างอิงหลังข้อความ ควรจะมีสำหรับข้อความที่ควรมีอ้างอิง (ข้อความที่ไม่ใช่ข้อมูลทั่วไป เป็นที่สงสัย หรือขัดแย้ง) ซึ่งอาจจะมาจากแหล่งข้อมูลในบรรณานุกรมก็ได้ แต่ต้องระบุึเป็นจุดในข้อความจำเป็น (แบบในหนังสือ ที่จะมี reference notes กับ bibliography ลักษณะใกล้เคียงกับที่ใช้ใน กบฏดุซงญอ) ซึ่งผมคิดว่าทุกบทความ จะมีข้อความที่ต้องการอ้างอิงอยู่ ดังนั้นก็น่าจะมีการอ้างอิงหลังข้อความอยู่ ส่วนลักษณะของรายการอ้างอิง อาจมีหรือไม่มีก็ได้
สถานะบทความที่ผ่าน GA ตอนนี้
  • คิดว่าคงต้องนำไปเสนอ แม้จะเสียเวลาบ้าง แต่ก็ทำให้เป็นที่ยอมรับได้มากกว่า
FA ในอดีตที่ไม่ได้มาตรฐาน
  • ปลดเป็น former featured
การเลือก FA ขึ้นหน้าแรก
  • 1 เดือนต่อ 1 บทความ (เหมือนเดิม) อย่างน้อยในระยะนี้ก่อน เพื่อดูแนวโน้มจำนวนบทความคัดสรร

ตอนนี้เห็นว่าคุณ ScorpionPK เอาป้ายทั้งสองโครงการใส่ในหน้าพูดคุยของบทความ ผมคิดว่าถ้าคุยกับสิ้นสุดแล้ว และแยกเป็นสองโครงการโดยให้บทความคัดสรรเป็นโครงการบทความที่มีคุณภาพ "เหนือกว่า" ก็น่าจะใส่แค่บทความคัดสรรอย่างเดียวได้นะครับ --KINKKUANANAS 15:22, 15 กรกฎาคม 2007 (UTC)

เมื่อโครงการทั้ง 2 แยกออกจากกัน ก็ควรแยกทุกอย่างออกจากกันอย่างสิ้นเชิงครับ ไม่ควรใช้คำว่า "เหนือกว่า" มาทำให้โครงการอื่น ๆ ดู "ด้อยค่า" ลงไปครับผม ถ้าคิดอย่างคุณ KINKKU ผมว่า ก็ยุบ GA ไปเลยจะดีกว่าไหมครับ ถ้า GA มันดูด้อยค่ามากนัก --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 15:31, 15 กรกฎาคม 2007 (UTC)
มันไม่เกี่ยวเรื่องด้อยค่านี่ครับ ผมก็เข้าใจว่าที่เปิด GA มาก็เหมือนเป็นการประเมินในระดับคุณภาพที่รองลงมา มีทางไหมที่บทความเป็น FA (ในระบบที่กำลังสร้างกันอยู่) จะไม่ผ่านการประเมินของ GA ผมก็แค่คิดว่า GA กับ FA คือสถานะที่เป็นระดับกัน ถ้าได้ FA แล้ว การคง GA ไว้ก็ไม่ได้บอกอะไรเพิ่มเติม แต่ถ้าคิดว่า FA กับ GA เป็นคนละโครงการ การดำเนินงานแยกกัน เป็นคนละการประเมิน คนละสถานะ ไม่เกี่ยวกันโดยสิ้นเชิง ก็คงไว้ --KINKKUANANAS 14:24, 16 กรกฎาคม 2007 (UTC)
นั่นเป็นสิ่งที่กระทำกันมาตั้งแต่ตั้ง GA ครับ คือให้ GA เป็นเสมือน เตรียม FA ซึ่งถ้าบทความ GA เรื่องใด สามารถพัฒนาเป็น FA แล้วก็ปลด ป้าย GA ออก เป็นเรื่องที่สมควรอยู่แล้ว แต่ถ้าหากแยกเป็น 2 โครงการเมื่อไหร่ ทั้ง 2 โครงการนี้ก็จะไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ดังนั้น บทความที่ผ่านการพิจารณาจากโครงการ GA ก็มีสิทธิ์โดยชอบธรรมที่จะประดับป้ายไว้ว่าบทความนี้ผ่านโครงการ GA มาแล้ว ไม่ว่าต่อไปบทความจะได้รับเลือกเป็น FA หรือไม่ก็ตาม --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 15:23, 16 กรกฎาคม 2007 (UTC)
ขนาดบทความ
  • ไม่ควรนำขนาดบทความมาใช้ในการตัดสิน แต่ควรเป็นข้อสังเกตให้ผู้เสนอใช้ประกอบในการตัดสินใจว่าจะส่ง GA หรือ FA (ขอแค่บทความมีความยาวพอสมควร และมีเนื้อหาสมบูรณ์หรือเกือบสมบูรณ์ตามเงื่อนไข FA, GA ก็คงพอครับ)
การอ้างอิง
  • ทั้ง GA และ FA ไม่ควรกำหนดรูปแบบการอ้างอิงเฉพาะแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องตอบได้ว่าเอาอ้างอิงมาจากไหน
สถานะบทความที่ผ่าน GA ตอนนี้
  • นำไปเสนอ FA อีกครั้ง
FA ในอดีตที่ไม่ได้มาตรฐาน
  • ไม่ปลด แต่ติดสัญลักษณ์/ป้ายแสดงให้เห็นว่ายังไม่ได้มาตรฐาน เพื่อรอการปรับปรุง (อยากให้ช่วยกันปรับปรุงบทความ FA ของเดิมมากกว่าครับ)
การเลือก FA ขึ้นหน้าแรก
  • 2 สัปดาห์ต่อ 1 บทความ (จะได้มีบทความหมุนเวียนบนหน้าหลักมากขึ้น เพราะตอนนี้บทความ GA เริ่มมีมากขึ้นแล้ว อีกทั้งที่ผ่านมาตอนกลั่นกรอง GA ตรวจสอบกันละเอียดมาก ผมว่าละเอียดเกินไปด้วยซ้ำครับ)

--Lerdsuwa 15:33, 15 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ขนาดบทความ
  • ไม่ควรนำขนาดบทความมาใช้ในการตัดสิน แต่ควรเป็นข้อสังเกตให้ผู้เสนอใช้ประกอบในการตัดสินใจว่าจะส่ง GA หรือ FA (ดูเนื้อหาเป็นหลัก)
การอ้างอิง
  • ทั้ง GA และ FA ไม่ควรกำหนดรูปแบบการอ้างอิงเฉพาะแบบใดแบบหนึ่ง
สถานะบทความที่ผ่าน GA ตอนนี้
  • นำไปเสนอ FA อีกครั้ง
FA ในอดีตที่ไม่ได้มาตรฐาน
  • ไม่ปลด แต่ติดสัญลักษณ์/ป้ายแสดงให้เห็นว่ายังไม่ได้มาตรฐาน เพื่อรอการปรับปรุง
การเลือก FA ขึ้นหน้าแรก
  • เดือนละ 2 บทความ และเพื่อให้ง่าย ขอเสนอให้เปลี่ยนทุกวันที่ 1 และ 15 ของเดือน (บทความละเดือนเห็นว่านานไป อีกอย่างตอนนี้มีบทความดี ๆ เพิ่มขึ้นพอสมควร)

--Pi@k 02:01, 16 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ขนาดบทความ
  • ไม่ควรนำขนาดบทความมาใช้ในการตัดสิน แต่ควรเป็นข้อสังเกตให้ผู้เสนอใช้ประกอบในการตัดสินใจว่าจะส่ง GA หรือ FA (ดูเนื้อหาเป็นหลัก)
จีเอกับเอฟเอความต่างคือ เอฟเอน่าจะครอบคลุมกว่าและทำให้ยาวกว่าไปโดยปริยายได้ แต่มันไม่ได้มีอะไรพิเศษหรอก
การอ้างอิง
  • ทั้ง GA และ FA ไม่ควรกำหนดรูปแบบการอ้างอิงเฉพาะแบบใดแบบหนึ่ง
ผมคิดเอาเอง ว่าจีเอคือบทความที่ดี เสนอเป็นตัวอย่างได้ แต่อาจมีข้อมูลเพื่อคนในวงแคบได้ แต่เอฟเอควรเป็นบทความที่ทำให้คนรู้จักอะไรมากขึ้น เช่น บทความเรื่องนายเอ บทความคุณภาพคือนายเอเป็นใคร ทำอะไร มีประวัติอะไร ซึ่งคนในวงการของนายเอก็จะรู้จักนายเอดี แต่ถ้าจะคัดสรรควรให้คนทั่วไปรู้จักว่าสิ่งที่นายเอทำมีความสำคัญอย่างไร พูดอะไรไว้ ส่งผลต่อโลกยังไง และนายเอทำอะไรไปบ้างทั้งหมด เพื่อให้คนนอกวงการของนายเอรู้ด้วย ตัวอย่างความคิดของผม เช่น มักซ์ พลังค์ รุ่นที่ผ่านจีเอ ผ่านจีเอ แต่ยังไม่ได้เอฟเอ ส่วนการอ้างอิงมีสองแบบคือแบบเชิงอรรถและแบบบรรณานุกรม ถ้าโค้ดมาต้องอ้างเป็นเชิงอรรถ แต่ถ้าสรุปความมา ใส่เป็นบรรณานุกรมได้ ไม่เกี่ยวกับแยกจีเอเอฟเอครับ มันเป็นไปตามรูปแบบ
สถานะบทความที่ผ่าน GA ตอนนี้
  • นำไปเสนอ FA อีกครั้ง
ผมว่าก็ดีครับ
FA ในอดีตที่ไม่ได้มาตรฐาน
  • ไม่ปลด แต่ติดสัญลักษณ์/ป้ายแสดงให้เห็นว่ายังไม่ได้มาตรฐาน เพื่อรอการปรับปรุง
การเลือก FA ขึ้นหน้าแรก
  • ดูปริมาณก่อนว่าจะได้เดือนละกี่บทความ

--Shā Azunaburu | คุยกันได้ 02:50, 16 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ถามเพิ่มอีกประเด็นครับ ว่าบทความที่เสนอ FA ต้องผ่าน GA ก่อนหรือเปล่า หรือว่าแยกเป็นสองโครงการต่างหากไม่เกี่ยวกันเลยครับ --Manop | พูดคุย -   04:49, 16 กรกฎาคม 2007 (UTC)
แยกแล้วค่ะ ตอนนี้เริ่มดำเนินการแยก GA FA ออกเป็นคนละโครงการ ถ้าใครอยากเสนอบทความให้ได้รับคัดเลือกเป็นบทความคุณภาพ ก็เสนอผ่าน GA ได้เลยค่ะ แต่สำหรับใครที่ต้องการจะเสนอบทความเพื่อให้ได้รับคัดเลือกเป็นบทความคัดสรร ก็ให้เสนอผ่าน FA ได้เลย ไม่ต้องผ่านการกลั่นกรองจาก GA ก่อน--Se:Rin | พูดคุย - 05:11, 16 กรกฎาคม 2007 (UTC)
ผมว่ามาตรฐาน FA เข้มกว่า GA คือ เอฟเอเป็นจีเอได้เลย เพราะถือเป็นหน้าเป็นตาของวิกิพีเดีย ที่มีครบสรรพ แต่จีเอต้องผ่านมาตรฐานเอฟเอจึงจะเป็นเอฟเอ เพราะจีเอคือบทความที่เป็นมาตรฐานของบทความอื่น ๆ เป็นสิ่งที่จะให้ผู้ใช้ทุกคนดูเป็นแบบอย่าง แต่ไม่ได้อลังการงานสร้าง โดยส่วนตัวผมว่าถ้าอยากเสนอเป็นเอฟเอโดยไม่ผ่านจีเอก็น่าจะได้ แต่คงแก้กันดะเลยครับ และคงโต้เถียงกันแรงมากขึ้น อาจมีการกล่าวอ้างว่าแค่นี้ยังไม่ได้จีเอเลย ทำไมมาเสนอเอฟเอ แต่ถ้ามั่นใจก็ต้องลองครับ--Shā Azunaburu | คุยกันได้ 05:05, 16 กรกฎาคม 2007 (UTC)
ขนาดบทความ
  • ไม่ควรนำขนาดบทความมาใช้ในการตัดสิน แต่ควรเป็นข้อสังเกตให้ผู้เสนอใช้ประกอบในการตัดสินใจว่าจะส่ง GA หรือ FA
การอ้างอิง
  • ทั้ง GA และ FA ไม่ควรกำหนดรูปแบบการอ้างอิงเฉพาะแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องตอบได้ว่าเอาอ้างอิงมาจากไหน
สถานะบทความที่ผ่าน GA ตอนนี้
  • นำไปเสนอ FA อีกครั้ง
FA ในอดีตที่ไม่ได้มาตรฐาน
  • ไม่ปลด แต่ติดสัญลักษณ์/ป้ายแสดงให้เห็นว่ายังไม่ได้มาตรฐาน เพื่อรอการปรับปรุง
การเลือก FA ขึ้นหน้าแรก
  • 1 เดือนต่อ 1 บทความ

-- Glass Mask ๑๔.๓๘ น. ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐ (UTC)

ขนาดบทความ
  • ไม่ควรนำขนาดบทความมาใช้ในการตัดสิน แต่ควรเป็นข้อสังเกตให้ผู้เสนอใช้ประกอบในการตัดสินใจว่าจะส่ง GA หรือ FA
การอ้างอิง
  • ทั้ง GA และ FA ไม่ควรกำหนดรูปแบบการอ้างอิงเฉพาะแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องตอบได้ว่าเอาอ้างอิงมาจากไหน
สถานะบทความที่ผ่าน GA ตอนนี้
  • นำไปเสนอ FA อีกครั้ง
FA ในอดีตที่ไม่ได้มาตรฐาน
  • ปลด ถ้าไม่ได้มาตรฐาน
การเลือก FA ขึ้นหน้าแรก
  • ดูก่อนว่า FA มากขนาดไหน ซึ่งน่าจะพอสำหรับ 1 สัปดาห์ต่อบทความ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตก็สามารถเปลี่ยนระยะเวลาได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของจำนวน FA -- Portal 07:41, 16 กรกฎาคม 2007 (UTC)
ขนาดบทความ
  • ไม่ควรนำขนาดบทความมาใช้ในการตัดสิน แต่ควรเป็นข้อสังเกตให้ผู้เสนอใช้ประกอบในการตัดสินใจว่าจะส่ง GA หรือ FA
การอ้างอิง
  • ทั้ง GA และ FA ไม่ควรกำหนดรูปแบบการอ้างอิงเฉพาะแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องตอบได้ว่าเอาอ้างอิงมาจากไหน
สถานะบทความที่ผ่าน GA ตอนนี้
  • นำไปเสนอ FA อีกครั้ง
FA ในอดีตที่ไม่ได้มาตรฐาน
  • ไม่ปลด แต่ติดสัญลักษณ์/ป้ายแสดงให้เห็นว่ายังไม่ได้มาตรฐาน เพื่อรอการปรับปรุง
การเลือก FA ขึ้นหน้าแรก
  • 1 เดือนต่อ 1 บทความ (อาจสนับสนุนให้เปลี่ยนแปลงเป็น 2 สัปดาห์ต่อ 1 บทความในภายหลัง ต้องขอดูไปก่อน)

--Piggy 13:05, 16 กรกฎาคม 2007 (UTC)

เรื่องการปลดบทความคัดสรรเนี่ย ในวิกิอังกฤษก็มีหน้า en:Wikipedia:Featured article review สำหรับเสนอบทความคัดสรรที่ควรนำมาปรับปรุงใหม่ แล้วก็รอให้ปรับปรุงกันก่อน แต่ถ้าผ่านไปนานแล้วยังไม่มีการปรับปรุง ก็จะมีการโหวตกันว่าจะปลดเป็น former feature article หรือไม่ ซึ่งบทความของวิกิอังกฤษหลาย ๆ เรื่องที่ดูแล้วไม่ผ่านมาตรฐานแล้วถูกปลดก็มีมากเหมือนกัน ดังนั้นผมว่าถ้าบางบทความที่ไม่มีการปรับปรุงมานานหรือคุณภาพแย่จริง ๆ ก็สมควรที่จะปลดเป็น FFA ได้นะครับ อย่างน้อยก็ควรจะมีการให้โหวตว่าจะปลดหรือไม่ -- Portal 02:36, 17 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ข้อสรุปบทความคุณภาพ บทความคัดสรร

เห็นเงียบ ๆ กันไป และจะหมดเดือนแล้ว น่าจะมีการสรุปเรื่องบทความคัดสรรกันหน่อย จะได้มีเวลาทันพอที่จะเสนอบทความคัดสรรประจำเดือนต่อ ๆ ไป

ขอสรุปจากที่โหวดกันไปนะครับ สรุปที่เป็นเสียงส่วนใหญ่

ขนาดบทความ
  • ไม่ควรนำขนาดบทความมาใช้ในการตัดสิน แต่ควรเป็นข้อสังเกตให้ผู้เสนอใช้ประกอบในการตัดสินใจว่าจะส่ง GA หรือ FA
การอ้างอิง
  • ทั้ง GA และ FA ไม่ควรกำหนดรูปแบบการอ้างอิงเฉพาะแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องตอบได้ว่าเอาอ้างอิงมาจากไหน
สถานะบทความที่ผ่าน GA ตอนนี้
  • นำไปเสนอ FA อีกครั้ง
FA ในอดีตที่ไม่ได้มาตรฐาน
  • ไม่ปลด แต่ติดสัญลักษณ์/ป้ายแสดงให้เห็นว่ายังไม่ได้มาตรฐาน เพื่อรอการปรับปรุง
การเลือก FA ขึ้นหน้าแรก
  • 1 เดือนต่อ 1 บทความ

ขั้นตอนต่อไป

  • ต่อไปคือ บทความคุณภาพที่เหลือทั้งหมด นำมาพิจารณา ว่าบทความไหนควรเป็นบทความคัดสรร อาจกำหนดระยะเวลาในการพิจารณา 2 สัปดาห์เหมือนบทความคุณภาพ บทความไหนไม่ผ่านเกณฑ์ ก็ยังคงสถานะที่ บทความคุณภาพ
  • ส่วนบทความ FA ก็ติดป้ายสัญลักษณ์ (ว่าแต่ป้ายอะไร?) ตามความคิดผม ควรมีระยะเวลาพิจารณาด้วย อาจจะ 2 สัปดาห์ มาพิจารณาว่าบทความไหน น่าจะอยู่ในเกณฑ์บทความคุณภาพ บทความไหนผ่านเกณฑ์บทความคัดสรร หรือ ไม่ผ่านเกณฑ์เลย
  • หลังจากพิจารณาได้บทความคัดสรร ก็มาสามารถมาพิจารณา บทความคัดสรรประจำเดือนได้ ควรมีหน้าใหม่เลยรึเปล่าครับที่ไม่ใช่ วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร

ขอความเห็นด้วยครับ --Sry85 06:20, 28 กรกฎาคม 2007 (UTC)

เห็นด้วยกับข้อสรุปที่คุณ Sry85 สรุปมาครับ ส่วนขั้นตอนต่อไปนั้น ขอเสนอความเห็นส่วนตัว ดังนี้ครับ
  • เห็นด้วยให้เริ่มนำบทความคุณภาพมาคัดเลือกเป็นบทความคัดสรร โดยกำหนดระยะเวลา 2 สัปดาห์
  • FA ที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จากข้อสรุปข้างต้นให้ติดป้ายรอการปรับปรุง โดยไม่ปลด ซึ่งเห็นว่ามีการสร้างป้าย {{FormerFA}} แล้ว แต่คงต้องปรับปรุงข้อความใหม่เนื่องจากข้อสรุปเบื้องต้นจะไม่มีการปลด FA
  • ส่วนเรื่องสร้างหน้าใหม่ ไม่ค่อยเข้าใจว่าคถณ Sry85 ต้องการจะบอกอะไร แต่คิดว่าจะสร้างหน้าสำหรับเก็บสต๊อกใช่เปล่า ผมก็คิดว่าสตํอกนาจะเอาไว้ที่ วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร ท่าจะเหมาะกว่าเปล่าครับ จะได้เห็นชัด ๆ ว่ามีเรื่องอะไรบ้าง ส่วนที่ควรจะแยกหน้าออกไปก็พวก FA ที่นำกลับมาพิจารณาใหม่พวกนั้นมากกว่า แล้วระบบการเสนอบทความก็สามารถเอาระบบของ GA มาใช้ได้ทันทีครับ ขอบคุณครับ --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 10:08, 28 กรกฎาคม 2007 (UTC)
  • เห็นด้วยกับแยกหน้า FA ที่นำกลับมาพิจารณาใหม่ เป็นอีกหน้านึง ส่วนหน้า วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร ก็มีทั้งการเสนอสู่บทความคัดสรร และการโหวดบทความคัดสรรประจำเดือน --Sry85 10:40, 28 กรกฎาคม 2007 (UTC)

จะลบภาพพระมหากษัตริย์และภาพรัฐบาลไทยจากวิกิพีเดียอังกฤษ

มีผู้ใช้ในวิกิพีเดียอังกฤษติดป้าย {{ifd}} (ลบรูป) ใส่ภาพพระมหากษัตริย์และภาพรัฐบาลไทยในวิกิพีเดียอังกฤษ โดยอ้างว่า

  1. "รูปภาำพ" ของรัฐบาลไทย ไม่ได้รวมอยู่ใน "รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ" ซึ่งเป็นสิ่งที่้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗.
  2. ไม่ยอมรับว่าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ พระฉายาลักษณ์พระบรมวงศานุวงศ์ ที่ถ่ายโดย สำนักพระราชวัง ถูกปล่อยให้ใช้งาน ด้วย Creative Commons Attribution, Non Commercial, No Derivative Works 2.5 License โดยอ้างว่าไม่มีหลักฐาน พร้อมทั้งอ้างว่า license ดังกล่าว ไม่ได้เป็น free license.

นี้เคยเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงมาแล้วในหน้า คุยเรื่องแม่แบบ:ภาพพระมหากษัตริย์ แต่ผู้ใช้ที่ว่า ไม่ยอมรับเหตุผลและหลักฐานที่เคยอ้างมา เพราำะช่วงนี้ยุ่งมาก ไม่ค่อยมีเวลาถกเถียงกับผู้ใช้คนนี้ กลัวว่าการลบ ภาพพระมหากษัตริย์และภาพรัฐบาลไทยจากวิกิพีเดียอังกฤษ อาจสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้องสำหรับวิกิพีเดียภาษาไทย และจะทำให้บทความเีิีรื่องเมืองไทยในวิกิพีเดียอังกฤษ ต้องเสื่อมคุณภาพลง จึงขอให้ออกความเห็นในหน้่านี้่ด้วย: en:User talk:Iamunknown#Copyright status of Thai State and Thai Royal Household materials (อ้างอิง: รูปที่ติด ifd มีลิสต์ไว้ตรงนี้: en:User talk:Patiwat#Images). Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 17:31, 25 มิถุนายน 2007 (UTC)

ผมไม่ทราบว่า บางรูปเป็นฝีมือถ่ายของ คนในสำนักพระราชวัง จริงหรือเปล่านะครับ คงต้องถามสำนักฯ ทีละภาพไป ขนาดภาพเดียวกันที่ถ่ายมาแต่คนละมุม ในทีวีผมเห็นตากล้องอยู่หน้าพระพักตร์กันเพียบ ซึ่งบางคนอาจจะเป็นตากล้องจากทีวีหรือหนังสือพิมพ์ก็ได้ ซึ่งอาจจะไม่เป็น cc หรือไม่ก็ให้ผู้ใช้ท่านนั้น ติดต่อถามสำนักฯ โดยตรงเลย (ทางอีเมล) เพราะข้อมูลแบบนี้ ไม่ปรากฏบนเว็บหรอกครับ เพราะไม่ใช่หน้าที่ของเขาที่จะต้องใส่ หรือไม่ก็คุณหารูปอื่นที่มีสัญญาอนุญาตชัดเจนมาใช้แทนดีกว่าไหมครับ --Octahedron80 18:02, 25 มิถุนายน 2007 (UTC)

ผมมีข้อสงสัยอีกอย่างหนึ่งว่า "เว็บไซต์ของหน่วยงาน" จัดอยู่ในมาตรา ๗ ไหมครับ --Octahedron80 18:20, 25 มิถุนายน 2007 (UTC)

โดยทั่วไป วิกิพีเดียอังกฤษ (และวิกิมีเดีย คอมมอนส์) ไม่ยอมรับ nc และ nd เรื่องนี้น่าจะเกี่ยวข้องเฉพาะแต่ละโครงการ (เช่นเดียวกับที่บางวิกิพีเดียไม่ยอมรับ fair use) --KINKKUANANAS 07:10, 27 มิถุนายน 2007 (UTC)

เก็บกวาดบทความเก่า

เจอหน้าบทความเก่าเกี่ยวกับพวกนิยายวิทยาศาสตร์ เช่น

เนบิวล่า | กาแลคซี่ | สเปคตรัม | ไดเมนชั่น | ออบิท | ออบิท 1 ออบิท 2:ราชสีห์แห่งคอมมาร์ ออบิท 3:วิถีแห่งอังคาร ออบิท 4:ซากสงคราม ออบิท 5:สนธยาเยือน ออบิท 6:ทาสแห่งกาลเวลา ออบิท 7:สัมผัสแห่งอารยะ ออบิท 8:มฤตยูดำ

และหน้าอื่น ๆ ที่ลิงก์ต่อไปจากหน้าพวกนี้ เห็นว่าไม่ค่อยมีเนื้อหาอะไรเท่าไรนะครับ แต่อยู่ในวิกิพีเดียภาษาไทยมาซัก 3 ปีแล้ว อายุพอ ๆ กับวิกิไทยเลย ^_^ แต่ไม่รู้ว่าจะแก้อย่างไรดีครับ จะแจ้งลบก็รู้สึกไม่ดีหรือเปล่า ฝากคนอื่นที่รู้เรื่องเกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์ ช่วยเข้าไปปรับแก้ แก้ไขด้วยครับ ขอบคุณครับ --Manop | พูดคุย -   22:56, 26 มิถุนายน 2007 (UTC)

บทความเกี่ยวกับตราประจำชาติ

ผมขอเสนอความเห็นหน่อยว่าควรจะเปลี่ยนชื่อบทความเกี่ยวกับตราประจำชาติของประเทศต่าง ๆ เป็น"ตราแผ่นดินของ... (ชื่อประเทศ)..." จะดีหรือไม่ครับ เพราะผมเคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับเรื่องพระราชลัญจกรและตราต่าง ๆ แล้วมีอยู่คำหนึ่งที่ทำให้ชวนสับสนได้ง่าย คือ "ตราประจำชาด" (พ้องเสียงกับ "ตราประจำชาติ" แต่สะกดด้วย ด เด็ก) ซึ่งแปลว่า เป็นตราที่ใช้ประทับด้วยชาดสีแดง อนึ่ีง การใช้คำว่าตราแผ่นดินก็มีการใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ในความหมายเดียวกับคำว่า "ตราประจำชาติ" ที่เราใช้อยู่ในวิกิพีเดียภาษาไทย แต่สำหรับในเมืองไทยแล้ว มักจะหมายถึงตราอาร์มที่ใช้เป็นตราหน้าหมวกของตำรวจเดี๋ยวนี้แหละครับ -- สุทธิพงษ์ พื้นแสน 18:34, 27 มิถุนายน 2007 (UTC)

ผมลองเปลี่ยนเลยละกันครับ ที่ {{กล่องข้อมูล ประเทศ}} และเปลี่ยนชื่อทั้งหมดใน หมวดหมู่:ตราแผ่นดิน ถ้าใครมีความเห็นอย่างอื่นค่อยเปลี่ยนกลับได้นะครับ --Manop | พูดคุย -   19:43, 27 มิถุนายน 2007 (UTC)

นโยบายข้ามปี

เห็นหน้านโยบายร่างมาข้ามปี แล้วยังไม่เสร็จซะที เห็นเป็นลิงก์แดงบ้าง ภาษาอังกฤษบ้าง เลยสงสัยว่าจะรอให้ผู้ใช้ใหม่มาเขียนเติมหรือครับสงสัย ไม่ว่า วิกิพีเดีย:กฎง่าย ๆ (ท่าจะไม่ง่าย) หรือ วิกิพีเดีย:สามสามัญ และอื่น ๆ --Manop | พูดคุย -   07:13, 29 มิถุนายน 2007 (UTC)

ภาพตราประจำจังหวัดที่คอมมอนส์

ผมสงสัยว่าเราควรจะจัดลิขสิทธิ์ตราประจำจังหวัดที่อยู่ในคอมมอนส์อย่างไรดีครับ เพราะตราประจำจังหวัดทั้ง 75 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ล้วนใช้เป็นตราราชการตามกฎหมายดังต่อไปนี้

ว่ากันตามจริงแล้ว ถึงแม้ว่าตราเหล่านี้จะเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายก็ตาม (อย่างน้อยที่สุดก็ตั้งแต่เริ่มมีการเผยแพร่ภาพตารประจำจังหวัดตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2483 - 84 เป็นต้นมา) หากกฎหมายให้ความคุ้มครองถึงเครื่องหมายราชการเหล่านี้ ลิขสิทธิ์ของแต่ละภาพก็ไม่ควรจะเป็นแบบ PD แต่น่าจะเป็นลิขสิทธิ์รูปแบบอื่นมากกว่า

หมายเหตุ: ผมไม่ได้ลงลิงก์ของ พรบ. ไว้ เพราะขณะที่ผมเขียนข้อความนี้อยู่ ผมไม่สามารถเข้าเว็บไซต์ของราชกิจจานุเบกษาได้ครับ (พยายามหลายครั้งแล้ว) ---- สุทธิพงษ์ พื้นแสน 17:27, 2 กรกฎาคม 2007 (UTC)

อาจจะต้องไปแก้ที่ตัวคอมมอนส์เลยครับอย่างนี้ และอธิบาย ซึ่งคิดว่าน่าจะส่งผลให้ภาพทั้งหมดถูกลบออกจากคอมมอนส์ แล้วทางวิกิพีเดียภาษาไทย ค่อยมาอัปโหลดใหม่ แล้วใส่ลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องแทนครับ --Manop | พูดคุย -   19:37, 3 กรกฎาคม 2007 (UTC)
หากต้องมีการอธิบายเหตุผลในการเปลี่ยนลิขสิทธิ์ภาพก็อยากให้คนที่เขียนภาษาอังกฤษดีเป็นคนทำครับ เพราะภาษาอังกฤษของผมแค่สามารถสื่อสารได้เท่านั้น ส่วนประเด็นการลบภาพแล้วอัปโหลดใหม่นี้หมายถึงว่าเราต้องเอามาอัปโหลดใหม่ที่วิกไทยหรือคอมมอนส์กันแน่ครับ ผมไม่เข้าใจตรงจุดนี้ อย่างไรก็ตาม การอัปโหลดภาพตราใหม่ก็เป็นเรื่องผมคิดไว้อยู่แล้ว เพราะต้องการให้ตราที่ใช้เป็นรุ่นที่มีรายละเอียดสูงขึ้นแทน ---- สุทธิพงษ์ พื้นแสน 08:19, 4 กรกฎาคม 2007 (UTC)

การเขียนบทความแค่ไหน ถือว่าสั้นมาก?

การเขียนบทความในวิกิพีเดีย มีการวัดระดับความยาวของบทความว่าควรมีความยาวมากน้อยเพียงใด? จึงจะถือว่าสั้นมาก และสมควรได้รับการแปะป้าย {{สั้นมาก}}

ตัวอย่างเช่น งูเห่า จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลื้อยคลาน ลำตัวยาว มีพิษร้ายแรง แผ่แม่เบี้ยได้และส่งเสียงขู่ฟ่อ ๆ เมื่อพบศัตรู

อย่างนี้ถือว่า {{สั้นมาก}} เพราะมีเนื้อหาเพียงนิดเดียว หรือเมื่อมีการเขียนเพิ่มเติมอีกเพียงแค่ 2-3 บรรทัด จะถือว่าบทความนี้ไม่ {{สั้นมาก}} และเอาป้ายออกได้หรือไม่?--Se:Rin | พูดคุย - 07:25, 20 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ตอนนี้ในวิกิ ก็มี {{โครง}} ไว้ใช้สำหรับบทความสั้นด้วยครับ เลยน่าจะมีไอเดียคร่าว ๆ ว่าแค่ไหนเป็นสั้น แค่ไหนเป็นสั้นมากดี หรือว่าสั้นแค่ไหนควรลบไปเลยดี (ไม่ได้มาตอบคำถามครับ) --Manop | พูดคุย -   08:21, 20 กรกฎาคม 2007 (UTC)
น่าจะมีมาตรฐานกลางไว้ครับ เพราะบางทีคนนึงคิดว่าสั้นมากแต่คนอื่นอาจจะคิดว่าเป็นโครงได้แล้ว โดยส่วนตัว {{สั้นมาก}} หมายความว่ายังบรรยายเรื่องที่เป็นหัวข้อไม่จบ หรือแค่เป็นคำจำกัดความ หรือนิยาม ส่วน{{โครง}} แปลว่ามันสั้นแต่ได้ใจความสมบูรณ์แล้ว เตรียมต่อยอดให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น --Shā Azunaburu | คุยกันได้ 08:39, 20 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ตัวอย่าง

ส่วนตัวแล้วผมนิยาม {{สั้นมาก}} ที่บทความที่อ่านแล้วเราไม่ได้อะไรจากเนื้อหา ไม่เหมือนกับโครงที่เราได้บ้าง แต่สั้นมากจะไม่ถูกลบเพื่อให้คนอื่นเข้ามาเขียนเพิ่มต่อ ลองเอาตัวอย่างมาดูกันไหมครับ ว่าแค่ไหนถึงจะเรียกว่าสั้นมากกันดี อาจจะลองเอามากันซัก 3-5 ตัวอย่าง เพื่อแสดงให้เห็นว่าเข้าใจตรงกัน ห้าตัวอย่างของผมคือ แมกซิส ตำบล จิบะ และ ดับเบิ้ลยู (วงดนตรี) --Manop | พูดคุย -   07:23, 21 กรกฎาคม 2007 (UTC)
ที่ยกมาก็ชัดเจนดีครับ ชักจะเก็ตล่ะ แล้วแบบนี้ล่ะครับ ประธานาธิบดี เห็นติดมันสองอย่างเลย --Shā Azunaburu | คุยกันได้ 09:03, 23 กรกฎาคม 2007 (UTC)
แบบนี้ก็สั้นฮาร์ต-คุง ว่าจะใส่โครงด้วยแหละ ประธานาธิบดีก็สั้น--Se:Rin | พูดคุย - 10:16, 23 กรกฎาคม 2007 (UTC)

พ.ศ.

ขอคำแนะนำครับ กะว่าจะทำหน้าปี พ.ศ. ต่าง ๆ (ที่ตอนนี้มีแต่โครง+สั้นมาก) ให้เหมือนกับหน้า พ.ศ. 2344 มีความเห็นว่าอย่างไรบ้างครับ --Manop | พูดคุย 22:03, 26 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ถ้าไม่มีคำแนะนำอะไรงั้นผมคงไล่ทำตามที่ปรากฏในหน้า พ.ศ. 2342 พ.ศ. 2343 พ.ศ. 2344 ประมาณนี้นะครับ คิดว่าจะใช้รูปแบบนี้กันหมด แล้วอีกอย่างถ้ามี "แมลง" อะไรมากัด มาบ่น มาแพร่ม อะไร ก็ฝากไปตีด้วยละกัน --Manop | พูดคุย 21:18, 29 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ใครช่วนแปล WP:TROLL ที

ช่วงนี้วิกิพีเดียภาษาไทยโตเร็วมาก มีผู้ใช้ใหม่ที่ไม่รู้จักนโยบายและหลักการปฏิบัติที่สร้างสรรค์เพิ่มขึ้นทุกวัน ขอให้ใครที่ว่าง ๆ ช่วยแปล en:WP:TROLL (What is a troll?) ให้ที จะเป็นประโยชน์กับชุมชนวิกิพีเดียเป็นอย่างมาก. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 21:59, 30 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ไม่สนใจแปลเองหรือครับ ทุกคนในวิกิพีเดียสามารถช่วยเหลือและร่วมเขียนนโยบายได้ ไม่ว่าใครก็ตาม :) --Manop | พูดคุย 22:05, 30 กรกฎาคม 2007 (UTC)
  • ช่วงนี้ไม่ค่ิอยว่างมีส่วนร่วมในวิกิพีเดียเท่าเมื่อก่ิอน อีกอย่าง ผมทำอะไรเรื่องนโยบายทีไร ชอบโดนด่าว่าัำฟันธงทุกที. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 22:49, 30 กรกฎาคม 2007 (UTC)
  • เดี๋ยวผมกะว่า (ถ้าว่าง) จะแปล en:Wikipedia:Sock puppetry นะครับ ถ้ามีความเห็นอย่างไร เข้าไปช่วยเหลือได้ครับ --Manop | พูดคุย 05:51, 31 กรกฎาคม 2007 (UTC)
  • กำลังช่วยแปลอยู่ครับ แต่ต้องการผู้อื่นร่วมช่วยกันปรับปรุงด้วย ^^! --Mafuyu 14:03, 19 สิงหาคม 2007 (UTC)

ผมเห็นสะกดผิดเป็น Wikipedie:Troll อันนี้ตั้งใจหรือเปล่า (ถึงจะเปลี่ยนชื่อทีหลังได้ก็เถอะ) เพราะตอนนี้ บอตเอาชื่อนี้ไปอัปเดตกันแล้ว --Octahedron80 16:04, 19 สิงหาคม 2007 (UTC)

  • อันนี้พิมพ์ผิดแน่นอนครับ กำลังหาอยู่ว่าชื่อไหนจะเหมาะสมกว่า ช่วยแก้ด้วยครับ กำลังเมากับการแปล ว่าแล้วก็ช่วยจัดหมวดหมู่ให้ด้วยนะครับ T^T --Mafuyu 18:28, 19 สิงหาคม 2007 (UTC)
  • เดี๋ยวก่อน ผมเชื่อมต่อหน้านี้กับต้นฉบับภาษาอังกฤษ ถูกต้องนี่นา แล้วมันหายไปไหน ได้ยังไง >_< --Mafuyu 18:31, 19 สิงหาคม 2007 (UTC)

วิกิพีเดีย:หุ่นเชิด

ผมแปล + ร่าง นโยบายใหม่ แปลมาจากวิกิพีเดียอังกฤษนะครับ ฝากรบกวนใครสนใจเข้าไปดูที่ วิกิพีเดีย:หุ่นเชิด ขอบคุณครับ --Manop | พูดคุย 21:20, 31 กรกฎาคม 2007 (UTC)