ฮิคารุเซียนโกะ หรือ ฮิคารุ : เซียนโกะ เกมอัจฉริยะ (ญี่ปุ่น: ヒカルの碁โรมาจิฮิคะรุโนะโกะ) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมสูงเรื่องหนึ่ง มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกมหมากกระดานที่ในญี่ปุ่นเรียกว่า โกะ แต่งเรื่องโดยยูมิ ฮตตะ และวาดภาพโดยทาเกชิ โอบาตะ และการ์ตูนชุดดังกล่าวได้รับรางวัลโชกาคุคังมังงะอะวอร์ด (Shogakukan Manga Award) สาขา โชเน็ง (Shōnen) ใน พ.ศ. 2542 [1][2]

ฮิคารุเซียนโกะ
ヒカルの碁
ชื่อภาษาอังกฤษHikaru no Go
แนวกีฬา เกมกลยุทธ์(หมากล้อม), เหนือธรรมชาติ, ตลก, ดราม่า
มังงะ
เขียนโดยยูมิ ฮตตะ (เรื่อง)
ทาเกชิ โอบาตะ (ภาพ)
ยูการิ โยชิฮาระ (ที่ปรึกษา)
สำนักพิมพ์ญี่ปุ่น ชูเอชะ
สหรัฐ Viz Media
ไทย เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
อนิเมะ
กำกับโดยชิง นิชิซาวะ
จุง คามิยะ
เท็ตสึยะ เอ็นโด
สตูดิโอปิเอโร

ในญี่ปุ่น ฮิคารุเซียนโกะ เคยตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นจัมป์รายสัปดาห์ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ ส่วนในประเทศไทย ผู้ได้รับสิทธิ์ในการตีพิมพ์ได้แก่ เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ โดยลงตีพิมพ์เป็นรายสัปดาห์ในนิตยสารบูม ตั้งแต่ตอนแรกจนกระทั่งจบชุด และตีพิมพ์ในรูปแบบฉบับรวมเล่ม รวม 23 เล่มจบ ส่วนฉบับอนิเมะ ออกจำหน่ายในรูปแบบ VCD ลิขสิทธิ์โดย ไทก้า และเคยออกอากาศทางช่อง 3 ช่วงบ่ายโมงทุกวันเสาร์ โดยบริษัท ฮาวคัม เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (ปัจจุบันคือ บริษัท วอยซ์ทีวี จำกัด) ของพานทองแท้ ชินวัตร

หนังสือการ์ตูนชุดดังกล่าวสร้างยอดจำหน่ายกว่า 22,000,000 เล่มในญี่ปุ่น[3] ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 หนังสือการ์ตูนเล่มที่ 22 ได้วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา และเล่ม 23 ซึ่งเป็นเล่มสุดท้าย กำหนดวางจำหน่ายในเดือนพฤษภาคมที่สหรัฐอเมริกา[4]

เนื้อเรื่อง

แก้

ฮิคารุ ชินโด (進藤ヒカル, ชินโด ฮิคารุ) นักเรียนชั้น ป.6 ได้พบกระดานโกะเก่าแก่ที่ห้องเก็บของที่บ้านคุณตาโดยบังเอิญ วินาทีนั้นวิญญาณของ ฟุจิวาระ โนะ ซาอิ ครูสอนโกะของจักรพรรดิสมัยเฮอังที่สิงอยู่ในกระดานนั้นได้ปรากฏกายขึ้นและย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ยังซอกมุมหนึ่งในจิตใต้สำนึกของฮิคารุแทน ด้วยความฝังใจอันลึกซื้งของซาอิที่มุ่งมั่นเข้าสู่ความเป็น "หัตถ์เทวะ" ทำให้ซาอิต้องผลักดันให้ฮิคารุก้าวเข้าสู่เส้นทางแห่งโกะจนได้มาพบกับ โทยะ อากิระ นักเรียนชั้นป.6 ผู้มีความสามารถในเชิงโกะเทียบเท่ามืออาชีพและได้เล่นโกะด้วยกัน

ซาอิในคราบของฮิคารุได้แสดงฝีมืออันน่าทึ่งจนทำให้ฮิคารุกลายเป็นเป้าหมายของอากิระ ส่วนความมุ่งมั่นของอากิระก็ได้จุดประกายและกลายเป็นเป้าหมายของฮิคารุ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะตามอากิระให้ทันฮิคารุจึงปฏิเสธที่จะเดินหมากกับอากิระต่อไป แต่ได้ฝึกฝนตัวเองด้วยการเข้ามาอยู่ในชมรมโกะ โรงเรียน "ฮาเซะ" ตอนม.ต้นในทีมมี ซึซึอิ มิทานิ คาเนโกะ และ อาคาริ และจะลงแข่งขันในการแข่งขันใหญ่ระหว่างโรงเรียน ฝ่ายอากิระเมื่อทราบว่าฮิคารุปฏิเสธที่จะเดินหมากกับตนแต่จะลงแข่งใหญ่ จึงเข้าร่วมเป็นสมาชิกชมรมโกะโรงเรียนไคโอเพื่อต้องการเดินหมากกับฮิคารุ แต่เมื่อได้เดินหมากด้วยกัน อากิระผิดหวังจนถึงขนาดล้มเลิกความคิดว่าฮิคารุเป็นเป้าหมายในเส้นทางโกะเนื่องจากฮิคารุเองก็ต้องการทราบระยะห่างของฝีมือระหว่างตนกับอากิระ

จากนั้นอากิระก็ได้สอบเป็นมืออาชีพและเลิกสนใจฮิคารุ วันหนึ่งฮิคารุได้มาพบกับประธานชมรมโกะโรงเรียนไคโอโดยบังเอิญ หลังจากได้เดินกับฮิคารุหนึ่งกระดานเพื่อรับทราบระดับของฮิคารุแล้ว ได้ทำให้ฮิคารุตระหนักถึงเส้นทางที่อากิระกำลังก้าวเดิน เมื่อฮิคารุทราบถึงระยะห่างระหว่างตนเองและความแตกต่างในความมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงจุดหมายกับอากิระแล้ว ทำให้ฮิคารุไปสอบอินเซย์ (ที่ฝึกโกะให้เป็นมืออาชีพ) และในที่สุดก็ได้เป็นมืออาชีพและได้ประลองกับอากิระอีกครั้งในฐานนะชินโด ฮิคารุ ไม่ใช่ซาอิในคราบของฮิคารุ

ตัวละคร

แก้
  • ชินโด ฮิคารุ (ญี่ปุ่น: 進藤 ヒカルโรมาจิShindō Hikaru) - ตัวเอกของเรื่อง เกิดวันที่ 20 กันยายน ฮิคารุมักจะถูกออกแบบให้ใส่เสื้อที่แสดงเลข 5 ซึ่งเลขห้าในภาษาญี่ปุ่นออกเสียงว่าโกะ
  • ฟูจิวาระ โนะ ซาอิ (ญี่ปุ่น: 藤原佐為) - วิญญาณครูสอนโกะให้จักรพรรดิสมัยเฮอัง วันหนึ่งมีการประลองกันระหว่างครูสอนโกะสองคนขององค์จักรพรรดิ ระหว่างการแข่งขันอีกฝ่ายกระทำการโกง แต่ซาอิกลับถูกโยนความผิดให้ ทำให้จิตใจว้าวุ่นและพ่ายแพ้จึงโดนไล่ออกจากเมืองหลวง ด้วยความอับอายซาอิจึงปลิดชีพตนเอง แต่ความรู้สึกต้องการเล่นโกะมีมากนัก วิญญาณของซาอิจึงเข้าสิงในกระดานโกะ จนได้พบกับโทะระจิโร หรือ "ฮงอินโบ ชูซะกุ" และเล่นโกะเรื่อยมา จนในที่สุดชูซะกุได้จากไป ซาอิจึงสิงอยู่ในกระดานโกะต่อ จวบจนกระทั่งฮิคารุเข้าไปพบกับกระดานเก่าแก่ในห้องเก็บของ ซาอิจึงได้ปรากฏตัวอีกครั้ง
  • ฟูจิซากิ อาคาริ (ญี่ปุ่น: 藤崎 あかりโรมาจิFujisaki Akari) - เพื่อนในวัยเด็กของฮิคารุ แม่ของเธอกับแม่ของฮิคารุเป็นเพื่อนกัน
  • โทยะ อากิระ (ญี่ปุ่น: 塔矢 アキラโรมาจิTōya Akira) - คู่ปรับตลอดกาลของฮิคารุและลูกชายคนเดียวของ โทยะเมย์จิน (โทยะ โคโย) (โทยะ อากิโกะ) พ่อแม่ของอากิระ
  • โค ยงฮา (เกาหลี: 고영하) - นักหมากล้อมตัวแทนทีมชาติเกาหลีใต้


  • อิสึมิ ชินอิจิโร่ รุ่นพี่อิเซย์ของฮิคารุ เสียสมาธิในการแข่งจนทำให้เดินผิดพลาดแล้วต้องเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต่อฮิคารุไป เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้อิสึมิเสียความมั่นใจเป็นอย่างมาก พร้อมกับการสอบไม่ผ่านมืออาชีพ แต่อิสึมิก็สามารถสอบผ่านได้ในปีถัดมาโดยไม่ได้รับความพ่ายแพ้แม้แต่ครั้งเดียว


  • วายะ โยชิทากะ เพื่อนอินเซย์ของฮิคารุ สามารถสอบผ่านมืออาชีพพร้อมฮิคารุด้วยการชนะ ฟูคุ ที่ตนเองแพ้ทางตั้งแต่เรียนอินเซย์


  • โอจิ โคสึเกะ อินเซย์ฝีมือในระดับแนวหน้า สอบมืออาชีพผ่านด้วยการชนะทุกกระดาน แต่ก็ต้องมาแพ้กระดานสุดท้ายให้กับฮิคารุ


  • โทยะ โคโย พ่อของโทยะอากิระ เคยครองตำแหน่งในมืออาชีพถึง 5 ตำแหน่ง (เมย์จิน โอสะ เท็นเง็น จูดัง โกะเซย์) ผู้ชายที่ซาอิคิดว่าฝีมือของเขาเข้าใกล้หัตถ์เทวะที่สุดในยุคนี้ ทั้งสองได้เผชิญหน้ากันในโกะทางอินเทอร์เน็ต ฝ่ายซาอิเป็นผู้ชนะ โทยะ โคโย เขาจึงประกาศลาออกจากวงการหมากล้อมมืออาชีพตามที่ได้ลั่นวาจาไว้

รายชื่อตอน

แก้
ตอนที่ ชื่อตอน   ออกอากาศ
1 "ดาวโกะจุติ คู่อริชั่วนิรันดร์"  10 ตุลาคม 2544
2 "จุดชี้ขาดที่มองไม่ขาด"  17 ตุลาคม 2544
3 "อากิระ ผู้กำลังลับเขี้ยว"  24 ตุลาคม 2544
4 "คางะแห่งชมรมหมากรุก"  31 ตุลาคม 2544
5 "ลางสังหรณ์แห่งการตื่น"  7 พฤศจิกายน 2544
6 "หนึ่งเกมที่งดงาม"  14 พฤศจิกายน 2544
7 "ฉันไม่เล่นกับนาย"  21 พฤศจิกายน 2544
8 "แผนร้ายในสายฝน"  28 พฤศจิกายน 2544
9 "คนเกะกะขวางลูกตา"  5 ธันวาคม 2544
10 "สมาชิกคนที่ 3"  12 ธันวาคม 2544
11 "การกระทำที่ต่ำช้าที่สุด"  19 ธันวาคม 2544
12 "ขุนพลคนที่ 3 คือนาย"  2 มกราคม 2545
13 "การตัดสินใจของแต่ละคน"  9 มกราคม 2545
14 "การดวลครั้งที่ 3"  16 มกราคม 2545
15 "ผู้ที่แฝงตัวในโลกอินเทอร์เน็ต"  23 มกราคม 2545
16 "ซาอิ นายคือใคร"  30 มกราคม 2545
17 "หนึ่งกระดานเตือนความทรงจำ"  6 กุมภาพันธ์ 2545
18 "อากิระ กับ ซาอิ"  13 กุมภาพันธ์ 2545
19 "ฝีมือที่แท้จริงของฮิคารุ"  20 กุมภาพันธ์ 2545
20 "หนทางสู่มืออาชีพ"  27 กุมภาพันธ์ 2545
21 "ชมรมโกะโรงเรียนฮาเซะ"  6 มีนาคม 2545
22 "การสอบอินเซย์"  13 มีนาคม 2545
23 "ยูเก็นโนะมะ"  20 มีนาคม 2545
24 "โอสะ กับ อากิระ"  27 มีนาคม 2545
25 "ความกลัวและความร้อนรน"  3 เมษายน 2545
26 "ขอต้อนรับสู่กลุ่ม 1"  10 เมษายน 2545
27 "ที่ที่ซึ่งอยากจะหวน กลับไปในบางครั้ง"  17 เมษายน 2545
28 "ศึกวาคาจิชิ"  24 เมษายน 2545
29 "คุวาบาระ ฮงอินโบ"  1 พฤษภาคม 2545
30 "โองาตะ กับ ฮงอินโบ"  8 พฤษภาคม 2545
31 "เริ่มต้นสอบมืออาชีพ"  15 พฤษภาคม 2545
32 "รอบคัดเลือกวันสุดท้าย"  22 พฤษภาคม 2545
33 "ตั้งทีม"  29 พฤษภาคม 2545
34 "จะชนะไม่ได้"  5 มิถุนายน 2545
35 "ผู้ชนะมีเพียงหนึ่งเดียว"  12 มิถุนายน 2545
36 "ชื่อของฉันคือ..."  19 มิถุนายน 2545
37 "เริ่มต้นสอบจริง"  26 มิถุนายน 2545
38 "เหล่าผู้ท้าชิง"  3 กรกฎาคม 2545
39 "ชั่วพริบตาแห่งมารร้าย"  10 กรกฎาคม 2545
40 "มุ่งสู่ดาวสีขาว"  17 กรกฎาคม 2545
41 "เพียง 3 สัปดาห์ไม่ทันการ"  24 กรกฎาคม 2545
42 "ผู้สอบผ่านคนแรก"  31 กรกฎาคม 2545
43 "ฮิคารุ กับ วายะ"  7 สิงหาคม 2545
44 "ฟื้นคืนชีพ"  14 สิงหาคม 2545
45 "ฮิคารุ กับ โอจิ"  21 สิงหาคม 2545
46 "วันสุดท้ายของการสอบมืออาชีพ"  28 สิงหาคม 2545
47 "สู่โลกของมืออาชีพ"  4 กันยายน 2545
48 "ซาอิ กับ เมย์จิน"  11 กันยายน 2545
49 "หนึ่งกระดานที่ถูกลืม"  18 กันยายน 2545
50 "ฟูจิวาระโนะซาอิ"  25 กันยายน 2545
51 "คุราตะ 6 ดั้ง"  2 ตุลาคม 2545
52 "ฮิคารุ กับ อากิระ"  9 ตุลาคม 2545
53 "คำสารภาพของซาอิ"  16 ตุลาคม 2545
54 "หัวใจที่ภาคภูมิ"  23 ตุลาคม 2545
55 "ซาอิ กับ โทยะ โคโย"  30 ตุลาคม 2545
56 "คำตอบพันปี"  6 พฤศจิกายน 2545
57 "ขอเล่นกับซาอิด้วยคน"  13 พฤศจิกายน 2545
58 "หมากสีเดียว"  20 พฤศจิกายน 2545
59 "โทยะ โคโย ลาออก"  27 พฤศจิกายน 2545
60 "ลาก่อนฮิคารุ"  4 ธันวาคม 2545
61 "ซาอิหายตัวไป"  11 ธันวาคม 2545
62 "ยอดฝีมือโกะแห่งฮิโรชิม่า"  18 ธันวาคม 2545
63 "จะไม่เล่นอีกแล้ว"  25 ธันวาคม 2545
64 "แจกันเคย์โจ"  8 มกราคม 2546
65 "โกะของอิสึมิ"  15 มกราคม 2546
66 "การพบกันของโชคชะตา"  22 มกราคม 2546
67 "อิสึมิผู้ถูกทดสอบ"  29 มกราคม 2546
68 "แพ้ผ่าน"  5 กุมภาพันธ์ 2546
69 "ผู้มาเยือนด้วยความมุ่งมั่น"  12 กุมภาพันธ์ 2546
70 "เจอซาอิ"  19 กุมภาพันธ์ 2546
71 "ศึกแรกหลังคืนสังเวียน"  26 กุมภาพันธ์ 2546
72 "การก้าวทะยานของสองคน"  5 มีนาคม 2546
73 "ชินโดปะทะโทยะ"  12 มีนาคม 2546
74 "อยู่ในตัวนาย"  19 มีนาคม 2546
75 "รอยยิ้มที่อาวรณ์"  26 มีนาคม 2546

ภาพยนตร์

แก้
ตอนที่ ชื่อตอน   ออกอากาศ
1 "ฮิคารุเซียนโกะ เดอะมูฟวี่ ตอน เส้นทางสู่ถ้วยโฮคุโตะ"  1 มีนาคม 2547

รายชื่ออื่นๆ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "小学館漫画賞: 歴代受賞者" (ภาษาญี่ปุ่น). Shogakukan. สืบค้นเมื่อ 2018-05-07.
  2. "Shogakukan Manga Award" (ภาษาอังกฤษ). Shogakukan. สืบค้นเมื่อ 2018-05-07.
  3. "The Rise and Fall of Weekly Shōnen Jump: A Look at the Circulation of Weekly Jump". สืบค้นเมื่อ 2008-02-28.
  4. Hikaru No Go 23[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้