ฮงอินโบ ชูซะกุ

นักหมากล้อมชาวญี่ปุ่น

ฮงอินโบ ชูซะกุ (ญี่ปุ่น: 本因坊秀策; อังกฤษ: Honinbo Shusaku) เจ้าของฉายา ชูซะกุ ผู้คงกระพัน หรือชื่อแรกเกิด คุวะบะระ โทะระจิโร (ญี่ปุ่น: 桑原虎次郎; อังกฤษ: Kuwabara Torajiro; 6 มิถุนายน ค.ศ. 1829 – ค.ศ. 1862) เป็นนักหมากล้อมระดับอาชีพชาวญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 19 เขาเป็นที่รู้จักจากหมากไร้พ่าย ในการแข่งขันศึกหน้าปราสาท; สามสิบเกมประจำปีกับโอตะ ยูโซ กับการเปิดหมากแบบชูซะกุด้วยตัวหมากสีดำ หลังจากการเสียชีวิต เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นปราชญ์หมากล้อม และอยู่ถัดจากฮงอินโบ ชูวะ ผู้เป็นอาจารย์ของเขา ฮงอินโบ ชูซะกุ ได้รับการยกย่องเป็นผู้เล่นที่แข็งแกร่งที่สุดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1847/8 จนถึงปีที่เขาเสียชีวิตใน ค.ศ. 1862 เขาได้รับฉายาว่าเป็นชูซะกุ ผู้คงกระพัน เนื่องจากการเดินหมากที่ไร้เทียมทาน ของการแข่งขันศึกหน้าปราสาท

ฮงอินโบ ชูซะกุ
ชื่อเต็มฮงอินโบ ชูซะกุ
คันจิ本因坊秀策
วันเกิด6 มิถุนายน ค.ศ. 1829(1829-06-06)
วันที่เสียชีวิตค.ศ. 1862
ครูผู้สอนฮงอินโบ ชูวะ
อันดับอาชีพ 7 ดั้ง

ประวัติ

แก้

การเสียชีวิตและมรดกสืบทอด

แก้
 
อนุสรณ์สถานแห่งปรมาจารย์ฮงอินโบ ชูซะกุ

ในปี ค.ศ. 1862 เกิดการระบาดของอหิวาตกโรคไปทั่วประเทศญี่ปุ่น ชูซะกุมีแนวโน้มที่จะติดโรคในสำนักฮงอินโบ แล้วเขาก็ล้มป่วยลง กระทั่งเสียชีวิตลงในวันที่ 8 สิงหาคม ขณะมีอายุได้เพียง 33 ปี

ชื่อของชูซะกุ มีความเกี่ยวข้องกับการเปิดหมากแบบชูซะกุ ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการเปิดเกมด้วยตัวหมากสีดำ โดยได้รับการพัฒนาสู่ความเป็นปรมัตถ์ (แต่ไม่ได้คิดค้น) โดยตัวเขาเอง และเป็นพื้นฐานของการเปิดเกมที่ได้รับความนิยมจึงถึงช่วงทศวรรษที่ 1930

ชูซะกุยังได้รับการจดจำโดยหมายเลขชูซะกุ ซึ่งมีความเทียบเท่ากับหมายเลขแอร์ดิชสำหรับผู้เล่นหมากล้อม

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 2014 กูเกิล ดูเดิล ได้ฉลองวันคล้ายวันเกิดเพื่อระลึกถึง 185 ปีของชูซะกุ โดยเรื่องนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งในสหราชอาณาจักร เนื่องด้วยความรู้สึกที่ถูกตัดหน้าสำหรับวาระครบ 70 ปีการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี พวกเขาเห็นว่าไม่เหมาะสมสำหรับการให้เกียรติแก่ชาวญี่ปุ่นในครั้งนี้ ส่งผลให้มีการแก้ไขหน้าเว็บ Google.uk อย่างรีบเร่ง[1][2]

การปรากฏตัวในเรื่องแต่ง

แก้

ในมังงะและอะนิเมะซีรีส์ ฮิคารุเซียนโกะ ชูซะกุได้พบกับวิญญาณของนักเล่นหมากล้อมที่มีชื่อว่าฟูจิวาระ โนะ ซาอิ ชูซะกุจึงได้เป็นสื่อกลางให้วิญญาณของซาอิได้เดินหมากที่แข็งแกร่ง โดยการบอกให้ชูซะกุเป็นผู้เดินหมากตามที่ตนกำหนด

อ้างอิง

แก้
  1. Williams, Rhiannon (2014-06-06), "Google apologises over D-Day Doodle blunder", The Telegraph, สืบค้นเมื่อ 2014-06-06
  2. "Google blunder over D-Day doodle", BBC News, 2014-06-06, สืบค้นเมื่อ 2014-06-06

หนังสืออ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้