สมเด็จพระราชินีนาถ
สมเด็จพระราชินีนาถ[1] (อังกฤษ: Queen Regnant) คือ พระมหากษัตริย์หญิงผู้ครองราชสมบัติด้วยสิทธิ์ของพระองค์เอง ต่างจาก "สมเด็จพระราชินี" (Queen Consort) ซึ่งเป็นพระมเหสีในพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัติ และไม่ทรงมีอำนาจในการบริหารราชกิจของบ้านเมืองอย่างเป็นทางการใด ๆ
โดยหลักการแล้ว พระมหากษัตริย์มีทั้ง "สมเด็จพระราชาธิบดี" (King Rex) และ "พระมหากษัตริย์พระราชสวามี" (King Consort) แต่เกิดขึ้นได้ยาก และมีการใช้พระอิสริยยศเพียงสองครั้งในประวัติศาสตร์ราชวงศ์อังกฤษ ระบอบราชาธิปไตยในปัจจุบันที่ให้สมเด็จพระราชินีนาถทรงครองราชบัลลังก์ พระสวามีของพระองค์จะไม่ได้มีพระอิสริยยศเป็นพระราชา แต่เป็นเพียงแค่ชั้นเจ้าชายเท่านั้น พระราชสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ และพระสวามีคนที่สองของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสก็อตแลนด์ ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชสวามีในอาณาจักรของพระองค์เอง แต่ไม่เป็นที่ชื่นชอบของพสกนิกรและการอภิเษกสมรสกินเวลาเพียงไม่นาน พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ และพระราชินีนาถแห่งชาวสก็อต ทรงได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี พระมหากษัตริย์ที่ปกครองร่วมกันเป็น พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ ที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ และที่ 1 แห่งไอร์แลนด์ แต่ถือเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองร่วมกันครั้งเดียว และเป็นทางการที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ แต่หลังจากนั้นมา พระสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถในประเทศอังกฤษได้รับการสถาปนาเป็น "เจ้าชายพระราชสวามี" (Prince Consort) (มีเพียงคนเดียวที่ได้รับการแต่งตั้งพระอิสริยยศนี้อย่างเป็นทางการคือ เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร)
การเสวยราชสมบัติของสมเด็จพระราชินีนาถจะเกิดขึ้นเมื่อลำดับการสืบราชบัลลังก์เอื้ออำนวย วิธีการสืบราชสมบัติ (เป็นพระมหากษัตริย์ หัวหน้าเผ่า ฯลฯ) และรวมถึงการแต่งตั้ง (พระมหากษัตริย์ในรัฐสภา หรือ คณะมนตรีแต่งตั้งรัชทายาท) การให้สิทธิพระโอรสธิดาตามลำดับการประสูติก่อนที่สุด (primogeniture) การให้สิทธิพระโอรสธิดาตามลำดับการประสูติหลังที่สุด (ultimogeniture) ขอบเขตในการสืบราชสมบัติอาจยึดจากสายทางพระชนก สายทางพระชนนีหรือทั้งสองฝ่าย หรือที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น (เมื่อถึงคราวจำเป็น) มาจากการออกเสียงเลือกตั้ง สิทธิในการสืบราชสมบัติโดยตามเพศ อาจจะให้ทั้งชายและหญิง จำกัดแต่เพศชายเท่านั้น หรือจำกัดแต่เพศหญิงเท่านั้น
การสืบราชบัลลังก์ที่เป็นแบบแผนมากที่สุดตั้งแต่สมัยกลางตอนปลายตลอดจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นแบบการให้สิทธิพระราชโอรสก่อนพระราชธิดา (male-preference primogeniture) กล่าวคือ ลำดับการสืบราชบัลลังก์อยู่ในบรรดาพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ตามลำดับการประสูติก่อนแล้วจึงตามมาด้วยของพระราชธิดา ในบางอาณาจักรทางประวัติศาสตร์ห้ามมิให้มีการสืบราชสมบัติโดยผู้หญิงหรือผ่านทางเชื้อสายของผู้หญิง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบางแห่งที่ยังคงยึดถือหลักเกณฑ์นี้ตามกฎหมายแซลิก
ดังตัวอย่างเช่น สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนเธอร์แลนด์เป็นแกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก แต่เมื่อกษัตริย์ดัตช์พระองค์สุดท้ายเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2433 และสืบราชบัลลังก์ต่อมาโดยพระราชธิดา กฎหมายแซลิกจึงไม่ยอมให้ลักเซมเบิร์กยอมรับพระองค์ในฐานะเป็นแกรนด์ดัชเชสผู้ปกครองตามพระราชสิทธิของพระองค์เอง เช่นเดียวกับตอนที่ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ พระองค์ไม่ได้เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งแฮโนเวอร์ด้วย ถึงแม้ว่าสมเด็จพระปิตุลาธิราชของพระองค์ทรงเคยเป็นกษัตริย์ของทั้งสองประเทศมาก่อน
ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประเทศสวีเดน นอร์เวย์ เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ได้แก้ไขพระราชบัญญัติการสืบราชบัลลังก์จากการให้สิทธิพระราชโอรสก่อนพระราชธิดามาเป็นมีสิทธิสืบราชสมบัติเท่ากันตามลำดับการประสูติโดยไม่จำกัดเรื่องเพศ ในบางกรณี การเปลี่ยนแปลงอาจยังไม่ส่งผลอะไรมากมายจนกว่ารุ่นต่อจากรุ่นปัจจุบันเกิดขึ้นมา เพื่อหลีกเลี่ยงการยึดตำแหน่งของบุคคลที่อยู่ในลำดับการสืบราชบัลลังก์มาก่อน โดยเฉพาะในพระอิสริยยศพิเศษ
รายพระนาม
แก้ต่อไปนี้คือรายพระนามสมเด็จพระราชินีนาถบางประเทศ และบางพระองค์ที่สำคัญ
สหราชอาณาจักร / อังกฤษ / บริเตนใหญ่ / ประเทศในเครือจักรภพ
แก้- จักรพรรดินีมาทิลดา
ทรงเรียกพระองค์เองว่า "Lady of the English." (คุณหญิงแห่งอังกฤษ) [2] พระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษ พระราชบิดาทรงเลือกพระองค์เป็นพระรัชทายาท อย่างไรก็ตามมีการคัดค้าน ท้ายที่สุดพระองค์ทรงสละราชสมบัติพระราชทานให้พระราชโอรส พระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ บางครั้งพระองค์ได้รับการยอมรับว่าเป็นพระราชินีนาถพระองค์แรกของอังกฤษ - สมเด็จพระราชินีนาถมาร์กาเร็ตแห่งสก็อตแลนด์
- สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์
เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนม์ได้ 6 วัน และทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อพระชนม์ 5 พรรษา ทรงหมั้นกับมกุฎราชกุมารแห่งฝรั่งเศส ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าฟร็องซัวที่ 2 แห่งฝรั่งเศส - สมเด็จพระราชินีนาถเจน เกรย์แห่งอังกฤษ
หรือที่รู้จักในพระนาม "เลดี้เจน เกรย์" เป็นพระราชปนัดดาในพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ ฟรานซิส ดัชเชสแห่งซัฟฟอล์ค มาชันเนสดอร์เส็ท พระมารดาจึงเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 พระมหากษัตริย์พระองค์นี้ทรงเลือกเลดีเจน เกรย์ ซึ่งตามศักดิ์เป็นพระราชนัดดาให้เป็นพระรัชทายาท โดยการทรงตัดสิทธิ์ในการสืบราชบัลลังก์ของพระเชษฐภคินีทั้งสองพระองค์คือ เจ้าหญิงแมรี และเจ้าหญิงอลิซาเบธออกไป พระราชโองการนั้นไม่ได้ผ่านรัฐสภา และมีการย้อนถามถึงว่ามันถูกต้องหรือไม่ (คือสามารถบังคับใช้ได้ตามกฎหมายหรือไม่) อย่างไรก็ตามเจ้าหญิงแมรีเสด็จทรงกรีธาทัพเข้ามาเพื่อทวงพระราชสิทธิ์ พระองค์ทรงปลดเลดีเจนลงจากราชบัลลังก์ และทรงสำเร็จโทษในเวลาต่อมา เลดี้เจน เกรย์เป็นที่รู้จักกันดีในพระราชสมัญญา "ราชินี 9 วัน" บางครั้งพระองค์ได้รับการยอมรับว่าเป็นพระราชินีนาถองค์แรกของอังกฤษ[3]
- สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ (19 กรกฎาคม พ.ศ. 2096 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101)
ทรงปลดเลดี้เจน เกรย์ออกจากราชบัลลังก์ และให้นับว่าทรงครองราชสมบัติภายหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 พระราชอนุชา โดยไม่ถือว่าเลดี้เจนเคยเป็นพระราชินีนาถแห่งอังกฤษเลย พระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถพระองค์แรกของอังกฤษ ที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ[4] - สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2146)
ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระเชษฐภคินีซึ่งไม่มีพระราชโอรสและธิดา และสวรรคตโดยปราศจากรัชทายาทด้วย การเสด็จสวรรคตนี้ส่งผลให้เกิดการรวมราชบัลลังก์อังกฤษและสก็อตแลนด์เข้าด้วยกัน (Union of the Crown) โดยกษัตริย์พระองค์ใหม่ พระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของอังกฤษ - สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษ (13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2232 – 28 ธันวาคม พ.ศ. 2237)
ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชชนกและทรงครองราชสมบัติร่วมกับพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 พระราชสวามี - สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่ (8 มีนาคม พ.ศ. 2245 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2257)
ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 พระราชสวามีในสมเด็จพระเชษฐภคินี และทรงเป็นผู้ออกพระราชบัญญัติการรวมประเทศ (Act of Union) ซึ่งเป็นการรวมราชอาณาจักรอังกฤษและสก็อตแลนด์ให้เป็นประเทศหนึ่งเดียวคือ บริเตนใหญ่ (Great Britain) - สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร (20 มิถุนายน พ.ศ. 2380 – 22 มกราคม พ.ศ. 2444)
ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 พระราชปิตุลา และเป็นพระราชินีนาถที่ยิ่งใหญ่ของอังกฤษ นอกจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 โดยทรงครองราชสมบัตินานถึง 63 ปี ซึ่งยาวนานกว่ารัชกาลใดในบรรดาพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ และทรงปกครองจักรวรรดิอังกฤษอันกว้างใหญ่ไพศาล ที่ในบางครั้งเรียกว่า "จักรวรรดิวิกตอเรีย" (Victorian Empire) อีกทั้งยังเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ฉายพระรูปด้วย[5] - สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 – 8 กันยายน พ.ศ. 2565) ทรงสืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระราชบิดา ด้วยทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ โดยทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถที่ครองราชยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ เป็นเวลาถึง 70 ปี และเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์นานที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก
- พระนางจิรประภาเทวี (พ.ศ. 2088 — พ.ศ. 2089)
- พระนางวิสุทธิเทวี (พ.ศ. 2107 — พ.ศ. 2121)
- พระนางเชงสอบูแห่งหงสาวดี (พ.ศ. 1996 — พ.ศ. 2013)
-
พระนางเชงสอบู
- กษัตรีองค์มีแห่งกัมพูชา (พ.ศ. 2378 — พ.ศ. 2384 และ พ.ศ. 2387 — พ.ศ. 2388)
- นางแก้วพิมพาแห่งล้านช้าง (พ.ศ. 1976 — พ.ศ. 1981)
- สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์ (23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433 - 4 กันยายน พ.ศ. 2491)
ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถพระองค์แรกและครองราชสมบัติยาวนานที่สุดของเนเธอร์แลนด์จนถึงการสละราชสมบัติให้แก่พระราชธิดา ถ้าหากพระองค์ทรงอยู่ในราชสมบัติจนถึงการเสด็จสวรรคตจะทรงครองราชสมบัติยาวนานถึง 72 ปี - สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ (4 กันยายน พ.ศ. 2491 - 30 เมษายน พ.ศ. 2523)
- สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ (30 เมษายน พ.ศ. 2523 - 30 เมษายน พ.ศ. 2556)
- สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 1 แห่งเดนมาร์ก
(พระองค์เดียวกันกับพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก ดูด้านล่าง) - สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน
- สมเด็จพระราชินีนาถอูลริกาแห่งสวีเดน
ต่อมาทรงสละราชสมบัติให้แก่พระราชสวามี โดยยังคงทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน แต่มิใช่ในฐานะกษัตริย์ [6]
- สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 1 แห่งเดนมาร์ก (พ.ศ. 1918 - พ.ศ. 1955)
เป็นพระมหากษัตรีย์พระองค์แรกแห่งเดนมาร์ก นอกจากนี้ยังเป็นพระมหากษัตรีย์แห่ง นอร์เวย์ และสวีเดนอีกด้วย - สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 2 แห่งเดนมาร์ก (14 มกราคม พ.ศ. 2515 - 14 มกราคม พ.ศ. 2567)
- สมเด็จพระราชินีนาถเจดวิกาแห่งโปแลนด์ (พ.ศ. 1925 - พ.ศ. 1942)
- สมเด็จพระราชินีนาถแอนนาแห่งโปแลนด์ (พ.ศ. 2118 - พ.ศ. 2129)
- สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา
เป็นพระราชชนนีในเจ้าหญิงแคทเธอรีนแห่งอารากอน พระราชชนนีในสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ - สมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาแห่งกัสติยา (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2047 - 12 เมษายน พ.ศ. 2098)
พระราชธิดาในสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาและทรงเป็นที่รู้จักกันดีว่า "ราชินีคลั่ง" หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระสวามี [7] พระองค์ทรงถูกสมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์แห่งอารากอน พระราชชนกปลดออกจากราชบัลลังก์ และได้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการจนกระทั่งเสด็จสวรรคต จากนั้นสมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 5 แห่งอารากอน ซึ่งเป็นพระราชโอรสเสวยราชสมบัติต่อมา (ตามกฎหมายซาลิก) เป็นผู้สำเร็จราชการจนสมเด็จพระราชินีนาถเสด็จสวรรคต หลังจาการสละราชสมบัติของสมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 5 สมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน พระราชโอรสทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของราชอาณาจักรสเปนที่รวมกันแล้ว - สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 2 แห่งสเปน (29 กันยายน พ.ศ. 2376 - 30 กันยายน พ.ศ. 2411)
สมเด็จพระราชินีนาถพระองค์เดียวแห่งสเปน [8]
- สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริซแห่งโปรตุเกส (22 ตุลาคม พ.ศ. 1926 - 6 เมษายน พ.ศ. 1928) (ยังเป็นที่ถกเถียง) [9]
- สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกส (24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2320 - 20 มีนาคม พ.ศ. 2359)
- สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส (29 เมษายน พ.ศ. 2369 - 11 สิงหาคม พ.ศ. 2371 และ พ.ศ. 2377 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2396)
- อาร์ชดัชเชสมาเรีย เทเรซา แห่งออสเตรีย (20 ตุลาคม พ.ศ. 2283 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2323)
- สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งฮังการี (พ.ศ. 1925 - พ.ศ. 1928 / พ.ศ. 1929 - พ.ศ. 1938)
- สมเด็จพระราชินีนาถมาเรีย เทเรซา แห่งฮังการี (20 ตุลาคม พ.ศ. 2283 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2323)
- สมเด็จพระราชินีนาถมาเรีย เทเรซา แห่งโบฮีเมีย (20 ตุลาคม พ.ศ. 2283 - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2284 / 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2286 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2323)
- สมเด็จพระราชินีนาถมาเรีย เทเรซา แห่งโครเอเชีย (20 ตุลาคม พ.ศ. 2283 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2323)
- สมเด็จพระราชินีนาถชาร์ลอตต์แห่งไซปรัส (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2001 - พ.ศ. 2007)
- สมเด็จพระราชินีนาถแคทเทอรีนแห่งไซปรัส (สิงหาคม พ.ศ. 2017 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2032)
- ฟาโรห์หญิงโซเบคเนฟรู
- ฟาโรห์หญิงฮัตเชปซุต [10]
- ฟาโรห์หญิงทาวอสเรต
- คลีโอพัตราที่ 1
- คลีโอพัตราที่ 2
- คลีโอพัตราที่ 3
- คลีโอพัตราที่ 4
- คลีโอพัตราที่ 5
- คลีโอพัตราที่ 6
- คลีโอพัตราที่ 7 ฟาโรห์หญิงที่มีชื่อเสียงที่สุดของอียิปต์โบราณ
- สมเด็จพระจักรพรรดินีแคทเธอรีนที่ 1 แห่งรัสเซีย (8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2268 - 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2270)
พระมเหสีองค์ที่สองในสมเด็จพระจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ซึ่งทรงได้รับการสถาปนาให้ปกครองร่วมกัน และทรงปกครองจักรวรรดิรัสเซียด้วยพระองค์เองนับตั้งแต่การเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 - สมเด็จพระจักรพรรดินีแอนนาแห่งรัสเซีย (29 มกราคม พ.ศ. 2273 - 28 ตุลาคม พ.ศ. 2283)
- สมเด็จพระจักรพรรดินีเอลิซาเบธแห่งรัสเซีย (6 ธันวาคม พ.ศ. 2284 - 5 มกราคม พ.ศ. 2305)
พระราชธิดาในสมเด็จพระจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 และ สมเด็จพระจักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 1 แห่งรัสเซีย - สมเด็จพระจักรพรรดินีแคทเธอรีนที่ 2 แห่งรัสเซีย (28 มิถุนายน พ.ศ. 2305 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2339)
แรกเริ่มทรงอภิเษกสมรสกับแกรนด์ดยุคปีเตอร์ ซึ่งทรงเป็นองค์รัชทายาทของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเอลิซาเบธ หลังจากการเสวยราชสมบัติของพระราชสวามี พระองค์จึงทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น จักรพรรดินีมเหสีแห่งรัสเซีย ต่อมาหลังเหตุการณ์งานเลี้ยง พระองค์ทรงขับพระราชสวามีออกจากราชบัลลังก์ และเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติเอง พระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถแห่งรัสเซียเพียงพระองค์เดียวที่เป็น มหาราชินี[11][12]
- จักรพรรดินีบูเช็กเทียน
พระสนมในจักรพรรดิถังไท่จง และต่อมาเป็นพระสนมเอกในจักรพรรดิถังเกาจง หลังจากชิงพระราชอำนาจจากฮองเฮาหวังได้สำเร็จ พระนางก็ได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮา หลังจากถังเกาจงสวรรคต พระราชโอรสของพระนางสืบราชสมบัติเป็นฮ่องเต้แห่งจีนสองพระองค์ แต่ถูกบูเชกเทียนถอดลงเสีย และพระองค์ได้เสด็จขึ้นทรงราชย์เสียเองเป็น ฮ่องเต้หญิง เพียงพระองค์เดียวของจีน อย่างไรก็ตามในบั้นปลายพระชนม์ชีพ พระนางมีพระราชโองการให้ลบพระปรมาภิไธยออกจากการเป็นฮ่องเต้ โดยให้เหลือประวัติศาสตร์เพียงว่าทรงเป็นฮองเฮาในฮ่องเต้ถังเกาจงเท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]
- จักรพรรดินีจิงงุ
พระองค์นี้มิได้เป็นจักรพรรดินีที่ครองราชย์ (Empress Regnant) แต่เป็นจักรพรรดินีผู้สำเร็จราชการ และทรงสำเร็จราชการยาวนานถึง 60 ปี พระนางทรงเป็นผู้หญิงคนแรกที่เป็นผู้นำประเทศญี่ปุ่น ทรงพระปรีชาสามารถถึงขนาดขณะมีพระครรภ์ 7 เดือนก็ยังเสด็จออกทรงรบร่วมกับพระราชสวามีได้ และทรงตัดหัวแม่ทัพฝ่ายตรงข้ามได้ด้วย ชาวญี่ปุ่นถือเป็นต้นแบบของผู้หญิงเก่ง - จักรพรรดินีซุอิโกะ
- จักรพรรดินีโคเคียวคุ (ทรงราชย์สองครั้ง)
- จักรพรรดินีจิโต
- จักรพรรดินีเกงเม
- จักรพรรดินีเกงโช
- จักรพรรดินีโคเก็ง (ทรงราชย์สองครั้ง)
- จักรพรรดินีเมโช
- จักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิ
ทุกพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์คล้ายกัน คือเพราะพระราชบิดาไม่มีพระราชโอรสจึงทรงเลือกเป็นรัชทายาท หรืออาจให้เสกสมรสกับพระปิตุลา (น้องชายพ่อ) เพื่อให้ทรงราชย์ร่วมกัน หลังจากพระราชสวามี (ซึ่งเป็นอาของพระองค์) สวรรคต สมเด็จพระจักรพรรดินีเหล่านี้จึงทรงปกครองญี่ปุ่นอยู่ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้มกุฎราชกุมารมีพระชนมายุพอที่จะครองราชย์เองได้ (ยกเว้นสมเด็จพระจักรพรรดินีเกงโช ซึ่งเป็นพระปิตุจฉา (ป้า) ของจักรพรรดิองค์ต่อมา สมเด็จพระจักรพรรดิเก็มมุ) แต่ทั้งนี้ก็เพื่อเหตุผลเดียวกันคือรอจนกว่าพระราชวงศ์ฝ่ายหน้าที่เหมาะสมจะมีพระชนม์มากพอเสด็จขึ้นทรงราชย์ได้
- ดัสเชสมาเรียที่ 2 เทเรซา แห่งลักเซมเบิร์ก (20 ตุลาคม พ.ศ. 2283 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2323)
- แกรนด์ดัชเชสมารี อเดเลดแห่งลักเซมเบิร์ก (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 - 14 มกราคม พ.ศ. 2462)
ทรงเป็นแกรนด์ดัชเชสผู้ปกครองลักเซมเบิร์กพระองค์แรกที่แกรนด์ดยุคกิโยมที่ 4 พระราชชนกทรงเลือกให้เป็นรัชทายาท พร้อมกับทรงแก้ไขกฎมณเทียรบาลให้ผู้หญิงสืบราชสมบัติได้ แกรนด์ดัชเชสมารี อเดเลดจึงทรงเป็นแกรนด์ดัชเชสผู้ปกครองพระองค์แรกแห่งลักเซมเบิร์ก[13] พระองค์เป็นพระประมุขแห่งรัฐซึ่งมีบทบาทมาก โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยท้ายสุดรัฐสภามีฉันทามติให้พระองค์สละราชสมบัติ และภายหลังจากความขัดแย้งอย่างรุนแรงกับนายกรัฐมนตรี พระองค์จึงทรงสละราชสมบัติแก่พระกนิษฐา - แกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก (14 มกราคม พ.ศ. 2462 - 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507)
เป็นพระกนิษฐาในแกรนด์ดัชเชสมารี อเดเลด และเป็นพระชนนีในแกรนด์ดยุคฌ็อง ซึ่งเป็นพระชนกในแกรนด์ดยุคอ็องรีที่ 1 แกรนด์ดยุคแห่งลักเซมเบิร์กพระองค์ปัจจุบัน โดยทรงเป็นผู้ที่ปกครองราชรัฐลักเซมเบิร์ก ยาวนานที่สุดเป็นเวลา 45 ปีจนกระทั่งถึงการสละราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสในปี พ.ศ. 2507
- สมเด็จพระราชินีนาถรานจิตาแห่งเมรีมันจากา (พ.ศ. 2063 - พ.ศ. 2073)
- สมเด็จพระราชินีนาถราฟอไฮแห่งอาราโซรา (พ.ศ. 2073 - พ.ศ. 2083)
- สมเด็จพระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 1 แห่งมาดากัสการ์ (พ.ศ. 2325 - 16 สิงหาคม พ.ศ. 2404)
- สมเด็จพระราชินีนาถราซอเฮอรินาแห่งมาดากัสการ์ (พ.ศ. 2357 - 1 เมษายน พ.ศ. 2411)
- สมเด็จพระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 2 แห่งมาดากัสการ์ (พ.ศ. 2372 - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2426)
- สมเด็จพระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 3 แห่งมาดากัสการ์ (22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404 - 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2460)
- สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย (พ.ศ. 2434 - พ.ศ. 2436)
เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรฮาวาย พระองค์ทรงถูกล้มล้างราชบัลลังก์ในการล้มล้างราชอาณาจักรฮาวาย
เชิงอรรถ
แก้- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, ราชวงศ์แห่งมหาอำนาจยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ : กษัตริย์และสมเด็จพระราชินีนาถ, 2556
- ↑ เพราะพระอิสริยยศราชินีแห่งอังกฤษยังไม่เคยมี พระราชินีคอนสอร์ทแห่งอังกฤษพระองค์แรกที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการคือสมเด็จพระราชินีมาทิลดา แห่งฟลานเดอร์ พระมเหสีในพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ ซึ่งได้มีพระราชพิธีราชาภิเษกสถาปนาพระองค์เป็นพระราชินีพร้อมกับพระเจ้าวิลเลียม ส่วนพระราชินีนาถพระองค์แรกแห่งอังกฤษ ยังเป็นที่ถกเถียง
- ↑ เพราะอ้างว่าจักรพรรดินีนาถมาทิลดาเป็นเพียงผู้สำเร็จราชการระหว่างการเลือกพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ และไม่เคยทรงปกครองอังกฤษจริง ๆ เลย
- ↑ เพราะมาทิลดา กับเจนบางครั้งไม่ถูกนับรวมเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษ
- ↑ ดูเพิ่ม พระราชินีนาถวิกตอเรีย พระนิพนธ์ ว.ณ.ประมวลมารค
- ↑ She was continue to be Quuen of Sweden, but as Queen Cosort not Queen Regnant, however her title didn't changed.
- ↑ อ่านเพิ่มใน ว.ณ.ประมวลมารค "คลั่งเพราะรัก"
- ↑ เพราะสองพระองค์ข้างต้นเป็นเพียงพระราชินีนาถแห่งคาสตีล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสเปนเท่านั้น
- ↑ เพราะผู้ปกครองที่แท้จริงคือพระราชสวามีของพระองค์ พระองค์น่าจะเป็นเพียงพระราชินีมเหสีมากกว่า
- ↑ ดูเพิ่มใน ธุวตารา งานเขียนของทมยันตี
- ↑ ดูเพิ่มในคัทริน มหาราชินี พระนิพนธ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
- ↑ ต่างจากพระราชินีอูลเรก้า และพระจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา ซึ่งเป็นกษัตริย์ก่อน และค่อยเป็นพระมเหสี พระจักรพรรดินีแคทเธอรีนเป็นพระมเหสีก่อน แล้วจึงเป็นกษัตริย์ อย่างไรก็ตามผลก็คือไม่มีการเปลี่ยนแปลงพระอิสริยยศเหมือนกัน
- ↑ เพราะถือว่าสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮมมินา แห่งเนเธอร์แลนด์ (ดูด้านบน) ไม่เคยเป็นแกรนด์ดัชเชสแห่งลักเซมเบิร์กเลย