สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก

สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก (เดนมาร์ก: Margrete Valdemarsdatter, นอร์เวย์: Margrete Valdemarsdatter, สวีเดน: Margareta Valdemarsdotter, อังกฤษ: Queen Margaret I of Denmark; 15 มีนาคม ค.ศ. 1353 - 28 ตุลาคม ค.ศ. 1412) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินี (พระอัครมเหสี) แห่งนอร์เวย์ (ค.ศ. 1363 - 1380) และสวีเดน (ค.ศ. 1363 - 1364) และจากนั้นทรงเป็นพระประมุขตามสิทธิในราชบัลลังก์ของเดนมาร์ก นอร์เวย์และสวีเดน ซึ่งในภายหลังนี้เกิดความคลุมเครือและสับสนถึงการเรียกพระบรมราชอิสริยยศของพระองค์ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 ทรงเป็นผู้ก่อตั้งสหภาพคาลมาร์ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมทั่วคาบสมุทรสแกนดิเนเวียเป็นระยะเวลากว่าศตวรรษ[3][4] พระองค์ทรงเป็นผู้นำที่ทรงปัญญา ขะมักเขม้นและมีความสามารถ ทรงได้รับพระสมัญญาว่า "เซมิรามิสแห่งอุดรทิศ" (Semiramis of the North)[5] หรือ "เลดี้คิง" (the Lady King) แม้ว่าพระนามชื่อหลังนี้เป็นพระนามที่เย้ยหยันอันมาจากศัตรูของพระองค์ คือ อัลเบิร์ตแห่งเมคเลินบวร์ค[6] แต่กลับกลายว่าชื่อนี้เป็นที่นิยมใช้เมื่อมีการกล่าวถึงความสามารถของพระองค์[7][8][9][10]

มาร์เกรเธอที่ 1
พระบรมรูปสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 ที่มีการสร้างขึ้นในปีค.ศ. 1423 บนโลงพระบรมศพของพระองค์ในมหาวิหารรอสกิลด์[1]
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก
ครองราชย์10 สิงหาคม ค.ศ. 1387 - 28 ตุลาคม ค.ศ. 1412
(25 ปี 79 วัน)
ก่อนหน้าโอลาฟที่ 2
ถัดไปอีริคที่ 7
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งนอร์เวย์
ครองราชย์3 สิงหาคม ค.ศ. 1387 - 28 ตุลาคม ค.ศ. 1412
(25 ปี 86 วัน)
ก่อนหน้าโอลาฟที่ 4
ถัดไปอีริคที่ 3
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งสวีเดน
ครองราชย์24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1389 - 28 ตุลาคม ค.ศ. 1412
(23 ปี 247 วัน)
ก่อนหน้าอัลเบรกท์
ถัดไปอีริคที่ 13
พระราชสมภพ15 มีนาคม ค.ศ. 1353(1353-03-15)[2]
ปราสาทซือบอร์ก
ประเทศเดนมาร์ก
สวรรคต28 ตุลาคม ค.ศ. 1412(1412-10-28) (59 ปี)
บนเรือพระที่นั่ง ณ ท่าเรือเฟล็นส์บวร์ค, ชเลสวิช, เดนมาร์ก (ปัจจุบันอยู่ในเยอรมนี)
ฝังพระศพมหาวิหารรอสกิลด์, เดนมาร์ก
คู่อภิเษกพระเจ้าโฮกุนที่ 6 แห่งนอร์เวย์
พระราชบุตรพระเจ้าโอลาฟที่ 2 แห่งเดนมาร์ก
พระนามเต็ม
มาร์เกรเธอ วัลเดมาร์สแด็ทเทอร์ แอสตริดเซน
ราชวงศ์ราชวงศ์แอสตริดเซน
พระราชบิดาพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 4 แห่งเดนมาร์ก
พระราชมารดาเฮลวิกแห่งชเลสวิช
ศาสนาโรมันคาทอลิก

พระองค์เป็นพระราชธิดาองค์สุดท้องในพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 4 แห่งเดนมาร์กกับพระนางเฮลวิกแห่งชเลสวิช พระองค์ประสูติที่ปราสาทซือบอร์ก สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 ทรงเป็นผู้ที่โปรดการทรงงาน บริหารราชอาณาจักรด้วยความอดทนและเป็นนักการทูตผู้มีชั้นเชิง[11] ทรงเป็นผู้ที่มีปณิธานอย่างแรงกล้าในการรวมสแกนดิเนเวียให้เป็นรัฐอัตลักษณ์หนึ่งเดียวและมีความแข็งแกร่งมากพอที่จะแข่งขันทางอำนาจกับสันนิบาตฮันเซอ[12] พระองค์ไม่ทรงมีรัชทายาทตามสายพระโลหิตที่จะมาสืบบัลลังก์ต่อ[13][14][15] ด้วยพระโอรสเพียงพระองค์เดียวได้สิ้นพระชนม์ลงเสียก่อนที่พระองค์จะครองราชย์ แม้ว่านักประวัติศาสตร์เชื่อว่าพระองค์ทรงมีพระราชธิดานอกสมรสอีกพระองค์หนึ่งอันประสูติแต่อับราฮัม บรอเดอร์สัน ที่ปรึกษาชาวสวีเดนคนสนิทของพระนาง[16] อย่างไรก็ตามสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 ทรงใช้ความพยายามอย่างถึงที่สุดในการประคับประคองกษัตริย์พระองค์ต่อไปซึ่งไร้ความสามารถ โดยทรงอบรมและให้ความรู้แก่อีริคแห่งพอเมอเรเนีย และเจ้าหญิงฟิลิปปาแห่งอังกฤษ พระชายาของพระองค์ อีริคแห่งพอเมอเรเนียเป็นพระนัดดา (หลานยาย) ของพระเชษฐภคินีในพระนางมาร์เกรเธอ โดยพระนางมาร์เกรเธอที่ 1 ทรงครองราชย์ร่วมกันกับอีริคแห่งพอเมอเรเนีย เป็นพระเจ้าอีริคที่ 7 แห่งเดนมาร์ก ทำให้มีพระประมุขสองพระองค์ สมเด็จพระราชินีฟิลิปปาเป็นนักเรียนที่ยอดเยี่ยมภายใต้การอบรมของพระองค์ แต่สิ้นพระชนม์เร็วเกินไป ในที่สุดสหภาพที่สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 ทรงพยายามอย่างมากที่จะรักษาไว้สืบไปต้องสลายตัวลงอย่างช้าๆ

นักประวัติศาสตร์บางคนวิพากษ์วิจารณ์สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 ว่าทรงฝักใฝ่เดนมาร์กมากเกินไป และปกครองด้วยเผด็จการอย่างหนัก แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วพระองค์ทรงได้รับการยกย่องอย่างสูงในนอร์เวย์ และเป็นที่เคารพนับถืออย่างยิ่งในเดนมาร์กและสวีเดน พระองค์ทรงถูกแต่งเติมเรื่องราวในแง่ลบจากพงศาวดารทางศาสนาร่วมสมัย ว่าพระองค์ไม่ทรงมีความปราณี ทรงปราบปรามศาสนจักรเพื่อสร้างพระราชอำนาจของราชวงศ์[17][18][19][20][21][22]

ปัจจุบันพระองค์ทรงถูกเรียกว่า "มาร์เกรเธอที่ 1" ในเดนมาร์ก เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนกับอดีตสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ซึ่งเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10 แห่งเดนมาร์ก กษัตริย์องค์ปัจจุบันของเดนมาร์ก[23]

ช่วงต้นพระชนมชีพและอภิเษกสมรส

แก้

เจ้าหญิงมาร์เกรเธอประสูติในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1353 ทรงเป็นพระราชบุตรพระองค์ที่หก และเป็นองค์สุดท้องในพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 4 แห่งเดนมาร์กกับเฮลวิกแห่งชเลสวิช[2][24] เจ้าหญิงประสูติที่ปราสาทซือบอร์ก ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระราชบิดาของเจ้าหญิง ทรงกักขังพระราชินีเฮลวิก พระราชมารดา[25] เจ้าหญิงทรงเข้ารับบัพติศมาที่รอสกิลด์ และในปีค.ศ. 1359 ขณะมีพระชนมายุ 6 พรรษา ทรงหมั้นหมายกับพระเจ้าโฮกุนที่ 6 แห่งนอร์เวย์ วัย 18 พรรษา พระโอรสองค์สุดท้องในพระเจ้ามักนุสที่ 4 และที่ 6 แห่งสวีเดนและนอร์เวย์ตามลำดับ[24] ในสนธิสัญญาการอภิเษกสมรสได้มีข้อตกลงให้กษัตริย์วัลเดมาร์แห่งเดนมาร์กทำการช่วยเหลือกษัตริย์มักนุสแห่งสวีเดนในการต่อต้านพระเจ้าอีริคที่ 12 แห่งสวีเดน พระโอรสในกษัตริย์มักนุสซึ่งในปีค.ศ. 1356 ทำการยึดครองดินแดนภาคใต้ของสวีเดน ซึ่งต่อต้านอำนาจพระราชบิดา[24] การอภิเษกสมรสของเจ้าหญิงมาร์เกรเธอแห่งเดนมาร์กจึงเป็นส่วนหนึ่งของการแย่งชิงอำนาจในกลุ่มอาณาจักรนอร์ดิก มีความไม่พอใจถึงเหตุการณ์นี้ในกลุ่มแวดวงการเมืองต่างๆ นักกิจกรรมทางการเมืองอย่าง บริจิตแห่งสวีเดน ได้เขียนบรรยายถึงเหตุการณ์นี้ไปยังสมเด็จพระสันตะปาปาว่าเหมือน "พวกเด็กๆเล่นตุ๊กตา"[24] เป้าหมายของกษัตริย์วัลเดมาร์ในการอภิเษกสมรสของพระธิดานี้คือการครอบครองแคว้นสคาเนีย ซึ่งถูกจำนองไปให้กับสวีเดนตั้งแต่ปีค.ศ. 1332 [26] ในรัชสมัยกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ที่ 2 ตามแหล่งหลักฐานร่วมสมัยระบุว่า สนธิสัญญาการอภิเษกสมรสมีการระบุถึงข้อตกลงในการคืนปราสาทเฮลซิงบอรย์แก่เดนมาร์ก แต่สิ่งนี้ไม่เพียงพอสำหรับกษัตริย์วัลเดมาร์ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1359 ทรงระดมกองทัพขนาดใหญ่กรีฑาทัพข้ามเออเรซุนด์และยึดครองแคว้นสคาเนีย[26] การโจมตีทางตอนใต้ของสวีเดนนี้ถิอเป็นการแสดงให้เห็นว่าเดนมาร์กโจมตีกษัตริย์อีริคที่ 12 และสนับสนุนกษัตริย์มักนุส แต่ในเดือนเดียวกันนั้นกษัตริย์อีริคเสด็จสวรรคต เป็นผลให้สมดุลแห่งอำนาจเปลี่ยน ข้อตกลงระหว่างกษัตริย์วัลเดมาร์และกษัตริย์มักนุสถูกยกเลิกเสียสิ้น รวมถึงการเตรียมอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าหญิงมาร์เกรเธอและกษัตริย์โฮกุนแห่งนอร์เวย์ต้องยกเลิกไปด้วย[26]

แต่การยกเลิกสัญญานี้ไม่ได้ทำให้กษัตริย์วัลเดมาร์ถอนทัพออกจากสคาเนีย พระองค์ทรงเดินทัพต่อบุกยึดเกาะเกิทลันด์ในทะเลบอลติก[26] เมืองวิสบี เป็นเมืองที่ชาวเยอรมันอาศัยจำนวนมาก เป็นเมืองหลักบนเกาะนี้และเป็นเมืองสำคัญที่ควบคุมยุทธศาสตร์ของทะเลบอลติก[26] ในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1361 เกิดการสู้รบระหว่างทหารติดอาวุธเดนมาร์กและชาวนากอทลันด์ ทหารเดนส์ชนะและยึดครองวิสบี โดยที่พวกเยอรมันไม่ได้มีส่วนร่วมด้วย[26] กษัตริย์มักนุสและสันนิบาตฮันเซอไม่สามารถละเลยต่อการยั่วยุของเดนมาร์กได้ และได้ออกกฎหมายห้ามทำการค้ากับเดนมาร์กในทันทีและได้มีข้อตกลงทางทหารร่วมกันหากจำเป็น[27] ในขณะเดียวกันกษัตริย์มักนุสทรงเปิดการเจรจากับเฮนรีที่ 2 เคานท์แห่งฮ็อลชไตน์-เรนส์บวร์ก เกี่ยวกับข้อตกลงอภิเษกสมรสระหว่างกษัตริย์โฮกุนแห่งนอร์เวย์ พระโอรสกับเอลิซาเบธแห่งฮ็อลชไตน์ น้องสาวของเคานท์เฮนรี[27] ในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1362 ได้มีการออกเรือเพื่อนำเอลิซาเบธมาเสกสมรสที่สวีเดน[27] แต่ด้วยลมพายุได้พัดเรือจากฮ็อลชไตน์หันไปทางเดนมาร์กแทนที่จะเป็นสวีเดน ถูกซัดไปเทียบท่าที่เกาะบอร์นโฮล์มของเดนมาร์ก ซึ่งอาร์กบิชอปแห่งลุนด์ได้ประกาศทันทีว่าการเสกสมรสครั้งนี้เป็นการทำลายกฎของศาสนจักร ซึ่งฝ่ายกษัตริย์มักนุสนั้นทรงหมั้นกับเจ้าหญิงมาร์เกรเธออยู่แล้ว[27] ในท้ายที่สุดกองทัพสวีเดนและฮันเซอได้ถอนทัพออกจากการโจมตีเมืองเฮลซิงบอรย์[27] หลังจากนี้ ได้เกิดสนธิสัญญาสันติภาพ สันนิบาตฮันเซอและกษัตริย์มักนุสละทิ้งสงคราม[28] ซึ่งหมายความว่า การอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าหญิงมาร์เกรเธอวัย 10 พรรษา กับกษัตริย์โฮกุนแห่งนอร์เวย์เริ่มเข้ามาสู่ประเด็นเจรจาอีกครั้ง พระราชพิธีอภิเษกสมรสถูกจัดขึ้นในโคเปนเฮเกนในวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1363[28]

การอภิเษกสมรสของกษัตริย์โฮกุนและเจ้าหญิงมาร์เกรเธอเป็นการทำสนธิสัญญาพันธมิตร และเจ้าหญิงน่าจะทรงประทับอยู่ที่เดนมาร์กเป็นเวลานานหลังเสกสมรส[28] แต่ในที่สุดทรงถูกพามาที่อาร์เคอเซาส์ในออสโลฟยอร์ด ซึ่งเจ้าหญิงทรงถูกอบรมอภิบาลโดยมาร์ธา อูล์ฟสด็อทเทอร์[29] มาร์ธา อูล์ฟสด็อทเทอร์เป็นสตรีชนชั้นขุนนางที่มีชื่อเสียง และเป็นบุตรสาวของบริจิตแห่งสวีเดน ผู้โด่งดัง และมาร์ธายังเป็นภรรยาในคนุต อัลก็อตสัน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ติดตามคนสนิทของกษัตริย์มักนุส[29] เจ้าหญิงมาร์เกรเธอทรงถูกเลี้ยงดูมาพร้อมกับบุตรสาวของมาร์ธา คือ อิงเกเกิร์ด คนุตสด็อทเทอร์[29] ซึ่งทำการอบรมให้การศึกษาแก่เจ้าหญิงในเรื่องศาสนาและสถาบันกษัตริย์[29] บุตรสาวของมาร์ธาคือ อิงเกเกิร์ด และแคทเทอรีน จะเป็นพระสหายสนิทของเจ้าหญิงมาร์เกรเธอที่สุด ด้วยต่อมาจะทรงชื่นชอบการดำเนินงานของอิงเกเกิร์ดในฐานะที่เป็นหัวหน้านางชีและศาสนสถานของนาง นอกจากนี้พระนางจะทรงมีแนวโน้มในการสนับสนุนคณะนางชีบริจิตทีนด้วยความเคารพนับถือและความสนใจทางการเมืองด้วย[30][31] การศึกษาของเจ้าหญิงด้านอื่นค่อนข้างจำกัด แต่ก็ทรงเรียนรู้การเขียน การอ่าน และยังทรงได้รับการศึกษาได้ศิลปการปกครองประเทศ[29] เจ้าหญิงทรงสามารถแสดงอำนาจทางการปกครองและดูเหมือนจะทรงอำนาจอย่างแท้จริง[32]

หลังจากอภิเษกสมรส เจ้าหญิงมาร์เกรเธอ ซึ่งเป็นสมเด็จพระราชินีมาร์เกรเธอแห่งนอร์เวย์ ในฐานะพระมเหสี ก็ต้องทรงพบกับความวุ่นวายทางการเมืองในสแกนดิเนเวีย ไม่กี่เดือนหลังอภิเษกสมรส พระเชษฐาของพระนางคือ เจ้าชายคริสตอฟเฟอร์แห่งเดนมาร์ก ดยุกแห่งลอลันด์ สิ้นพระชนม์ ซึ่งหมายความว่าราชอาณาจักรเดนมาร์กไร้รัชทายาท พระราชบิดาของพระนางไม่มีทายาทที่เป็นชายอีกแล้ว[33] ในปีค.ศ. 1364 ขุนนางสวีเดนยึดอำนาจปลดกษัตริย์มักนุสที่ 4 ออกจากราชบัลลังก์ และกีดกันกษัตริย์โฮกุนที่ 6 พระสวามีของพระนางออกจากราชบัลลังก์สวีเดน เหล่าขุนนางเลือกอัลเบิร์ตแห่งเมคเลินบวร์ค ครองราชย์เป็นกษัตริย์อัลเบรกท์แห่งสวีเดน[29]

สำเร็จราชการแผ่นดิน

แก้
 
พระบรมสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระราชีนีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 ไม่ทราบปีและชื่อผู้วาด

บทบาทแรกของสมเด็จพระราชินีมาร์เกรเธอแห่งนอร์เวย์หลังการสวรรคตของพระราชบิดาในปี ค.ศ. 1375 คือ การเตรียมการจัดการเลือกตั้งกษัตริย์ให้เจ้าชายโอลาฟแห่งนอร์เวย์ พระโอรสวัยทารกของพระนางขึ้นเป็นกษัตริย์เดนมาร์ก ทั้งๆที่สิทธิในบัลลังก์ควรเป็นของดยุกเฮนรีที่ 3 แห่งเมคเลินบวร์ค พระสวามี และอัลเบิร์ต พระโอรสของเจ้าหญิงอิงเงอบอร์กแห่งเดนมาร์ก ดัชเชสแห่งเมคเลินบวร์ค พระเชษฐภคินีของพระนางมาร์เกรเธอที่สิ้นพระชนม์ไปก่อนแล้ว พระนางมาร์เกรเธอทรงยืนยันต่อขุนนางว่า เจ้าชายโอลาฟจะได้รับการประกาศให้เป็นรัชทายาทโดยชอบธรรมแห่งราชบัลลังก์สวีเดนและตำแหน่งต่างๆ ซึ่งกษัตริย์โอลาฟที่ 2 ทรงพระเยาว์เกินกว่าจะปกครองแผ่นดิน และสมเด็จพระราชินีมาร์เกรเธอทรงสามารถพิสูจน์พระองค์เองว่าเป็นผู้นำที่ทรงอำนาจและชาญฉลาดในช่วงหลายปีนี้ กษัตริย์โฮกุน พระสวามีของพระนางสวรรคตในปีค.ศ. 1380 กษัตริย์โอลาฟจึงทรงสืบราชบัลลังก์นอร์เวย์ด้วย แต่กษัตริย์โอลาฟกลับสวรรคตอย่างกระทันหันในปีค.ศ. 1387 ขณะมีพระชนมายุ 17 พรรษา และพระนางมาร์เกรเธอซึ่งปกครองในนามของกษัตริย์ได้รับการสถาปนาเป็นผู้สำเร็จราชการแห่งนอร์เวย์และเดนมาร์กในปีถัดมา พระนางทรงมีความสามารถทางการปกครองโดยทรงสามารถทวงคืนชเลสวิชมาจากเหล่าเคานท์แห่งฮ็อลชไตน์-เรนด์บวร์กได้ เคานท์แห่งฮ็อลชไตน์ถือครองชเลสวิชมาหลายชั่วอายุคนและต่อมาได้ดินแดนกลับคืนมาตามข้อตกลงนีบอร์ก ค.ศ. 1386[34] แต่ด้วยข้อตกลงที่เข้มงวดในสัญญาดังกล่าว กลายเป็นว่าราชสำนักเดนมาร์กได้ประโยชน์ทั้งหมดจากการทำข้อตกลงนี้ ด้วยข้อตกลงที่เข้มงวดนี้ ทำให้เหล่าขุนนางชาวจูตที่มักจะแข็งข้อต่อราชวงศ์เดนมาร์กสูญเสียกำลังสนับสนุนจากดินแดนชเลสวิชและฮ็อลชไตน์ เมื่อพระนางมาร์เกรเธอทรงแก้ปัญหาภายในอาณาจักรได้แล้ว พระนางจึงหันไปสนใจสวีเดน ซึ่งเกิดขุนนางที่ทำการแข็งข้อต่อกษัตริย์สวีเดน นำโดย บีร์เกอร์ (บุตรชายของบริจิตและพี่ชายของมาร์ธา)[5] เตรียมพร้อมก่อกองกำลังต่อต้านกษัตริย์อัลเบรกท์ ผู้ไม่เป็นที่นิยม ขุนนางผู้มีอำนาจหลายคนเพียนสาส์นถึงพระนางมาร์เกรเธอว่า ถ้าพระนางช่วยสวีเดนกำจัดกษัตริย์อัลเบรกท์ พระนางจะได้รับการสถาปนาเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พระนางจึงทรงรีบรวบรวมกองทัพเข้ารุกรานสวีเดน

จากการประชุมกันที่ปราสาทดาลาบอร์กในสวีเดน ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1388 ชาวสวีเดนถูกบังคับให้ยอมรับเงื่อนไขของพระนางมาร์เกรเธอทุกข้อ และทรงได้รับเลือกตั้งเป็น "จอมราชันสตรีและองค์ประมุข" (Sovereign Lady and Ruler) และชาวสวีเดนต้องยอมรับกษัตริย์องค์ใดก็ตามที่พระนางทรงเลือก กษัตริย์อัลเบรกท์ทรงเรียกขานพระนางว่า "กษัตริย์ไร้กางเกง" (King Pantsless) พระองค์รีบเสด็จกลับเมคเลินบวร์ค และกลับมายังสวีเดนด้วยกองทัพทหารรับจ้าง ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1389 เกิดการสู้รบอย่างตัดสินใกล้ฟาลเคอปิง นายพลเฮนริก ปาโรว์ แม่ทัพชาวเมคเลินบวร์คของกองทัพมาร์เกรเธอ เสียชีวิตในสนามรบ แต่กลศึกของเขาทำให้พระนางได้รับชัยชนะ[35] พระนางมาร์เกรเธอตอนนี้กลายเป็นสตรีผู้ทรงอำนาจเหนือสามราชอาณาจักร[11]

สต็อกโฮล์ม ซึ่งเป็นเมืองที่เกือบจะเป็นเมืองชาวเยอรมันยังคงแข็งข้อ ด้วยความกลัวกองทัพของมาร์เกรเธอได้กระตุ้นให้เหล่าเจ้าเมคเลินบวร์คและเมืองของชาวเวนด์พยายามรีบเร่งหาความช่วยเหลือ เราคนที่อาศัยแถบทะเลบอลติกและทะเลเหนือต่างหลั่งไหลขึ้นเรือของวิกชัวบราเทอร์ส (Victual Brothers) เพื่อหลบหนี สันนิบาตฮันเซอได้ยื่นมือเข้ามาแทรกแซง ภายใต้ข้อตกลงลินด์โฮล์ม ค.ศ. 1395 พระนางมาร์เกรเธอต้องปล่อยตัวกษัตริย์อัลเบรกท์ โดยที่กษัตริย์อัลเบรกท์จะต้องทรงจ่ายเงินค่าไถ่ให้พระนาง 60,000 มาร์กภายในสามปี ในขณะที่ฮันเซอจะให้เมืองสต็อกโฮล์มเป็นสิ่งค้ำประกัน ต่อมากษัตริย์อัลเบรกท์ไม่สามารถจ่ายค่าไถ่ภายในเวลาที่กำหนดได้ ฮันเซอจึงต้องยอมยกสต็อกโฮล์มให้แก่พระนางมาร์เกรเธอในเดือนกันยายน ค.ศ. 1398 เพื่อแลกกับสิทธิพิเศษทางการค้าของสันนิบาตฮันเซอในน่านน้ำนี้

อีริคแห่งพอเมอเรเนีย

แก้
 
ภาพอุปมานิทัศน์ อันเป็นสัญลักษณ์ของการก่อตั้งสหภาพคาลมาร์ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 ทรงสวมมงกุฎเหนือพระเศียรของอีริคแห่งพอเมอเรเนีย กษัตริย์แห่งนอร์เวย์ ภาพนี้เป็นภาพกระจกสีที่พระราชวังเปนา ประเทศโปรตุเกส

เป็นที่เข้าใจกันว่าพระนางมาร์เกรเธอ จะทรงจัดหาโอกาสที่เหมาะสมในการตั้งกษัตริย์ขึ้นปกครองทั้งสามราชอาณาจักร ซึ่งกษัตริย์จะต้องมีสายพระโลหิตสืบจากราชวงศ์เก่าของทั้งสามอาณาจักรด้วย แม้ว่าในนอร์เวย์มีการกำหนดให้พระนางต้องทรงปกครองร่วมกับกษัตริย์พระองค์ใหม่ แต่ในสวีเดนนั้น ขุนนางแจ้งแก่พระนางมาร์เกรเธอว่า พวกเขาพึงพอใจที่พระนางจะปกครองโดยไม่มีการตั้งกษัตริย์ตลอดจนพระชนมชีพของพระนางเลยก็ได้ ซึ่งพวกเขาหวังว่าพระนางจะทรงปกครองอย่างยาวนาน[36] ในปีค.ศ. 1389 พระนางทรงประกาศสถาปนา พระนัดดาชื่อว่า โบกิสลาฟ ซึ่งเปลี่ยนพระนามเป็น อีริคแห่งพอเมอเรเนีย ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ (สมเด็จยายของเจ้าชายอีริคเป็นพี่สาวของพระนางมาร์เกรเธอ) ด้วยทรงรับเจ้าชายอีริคกับเจ้าหญิงคาทารีนาแห่งพอเมอเรเนีย พระขนิษฐาของเจ้าชายอีริค เป็นบุตรบุญธรรม ในปีค.ศ. 1396 อีริคแห่งพอเมอเรเนียได้เข้ารับการถวายบังคมจากขุนนางในเดนมาร์กและสวีเดน ในขณะที่พระนางมาร์เกรเธอขึ้นดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในช่วงที่กษัตริย์อีริคยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในวันที่ 20 กรกฎาคม พระนางมาร์เกรเธอทรงใช้โอกาสที่ประชาชนทั้งสามอาณาจักรกำลังยินดีปรีดา ในการจัดทำสนธิสัญญาคาลมาร์ที่สร้างชื่อเสียงแก่พระนางขึ้นไปอีก "เป็นเอกสารที่มีการเขียนอย่างเชี่ยวชาญลงตราประทับของสหภาพนอร์เวย์ สวีเดนและเดนมาร์ก"[36] วันที่เธอเลือกลงนามในสัญญานั้นไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เป็นความตั้งใจของพระนางที่จะใช้วันเฉลิมฉลองนักบุญมาร์กาเรตแห่งแอนติออก ผู้ซึ่งเป็น "เลดี้คิง" คล้ายพระนางเอง ที่นักบุญถูกพ่อทอดทิ้งและถูกจับโยนเข้าคุก[37] ในสนธิสัญญาได้เสนอ "สหภาพอันเป็นนิรันดร์" ซึ่งสะท้อนให้เห็นความทะเยอทะยานอันแรงกล้าของพระนางในการรวมสามแผ่นดินเข้าด้วยกัน ด้วยว่า "ราชอาณาจักรทั้งสามควรอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคีและความรัก เมื่อมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นอย่างเช่น สงครามและข่าวลือว่าจะเกิดสงคราม หรือ การรุกรานจากชาวต่างชาติ ซึ่งทั้งสามอาณาจักรจะต้องช่วยกัน และจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างภักดีต่อกัน หลังจากนี้ขอบขัณฑสีมาของนอร์ดิกจะมีกษัตริย์เพียงพระองค์เดียวและจะไม่มีกษัตริย์หลายพระองค์"[37] ด้วยทรงมีความทระนงและความผยองต่อภูมิภาคนี้ พระนางจึงทรงดำเนินกลยุทธ์อย่างระมัดระวัง เพื่อให้มั่นใจว่าแต่ละรัฐสามารถปกครองตามกฎหมายและประเพณีของแต่ละรัฐได้ จะไม่มีการนำกฎหมายมาใช้โดยปราศจากความยินยอมของเจ้าหน้าที่ผู้ปกครองจนถึงเหล่าทหาร ซึ่งบุคคลเหล่านี้มาจากประชาชนในท้องที่แต่ละรัฐ เป็นการแสดงให้พสกนิกรของพระนางเห็นว่า พวกเขาจะได้รับผลประโยชน์ทุกอย่างจากการรวมเป็นสหภาพเดียวกันโดยที่ไม่ต้องกังวลว่าจะถูกคุกคามทางอัตลักษณ์ของชาติตนเอง[38] เพื่อประสานความใกล้ชิดทั้งสามอาณาจักรมากขึ้น พระนางมาร์เกรเธอจึงทรงเรียกประชุมสภาราชอาณาจักรที่เมืองคาลมาร์ ของสวีเดนในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1397 ซึ่งเป็นวันอาทิตย์องค์สาม (Trinity Sunday) 17 มิถุนายน กษัตริย์อีริคได้รับการสวมมงกุฎเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก นอร์เวย์และสวีเดน แต่พระราชบัญญัติก่อตั้งสหภาพนั้นไม่ได้มีการหารืออย่างเสร็จสมบูรณ์ นักวิชาการทั้งหลายต่างโต้เถียงกันด้วยเหตุผลต่างๆ แต่สหภาพก็คงมีอยู่โดย "พฤตินัย" จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในรัชสมัยพระเจ้าคริสเตียนที่ 2 แห่งเดนมาร์ก และสหภาพระหว่างเดนมาร์กกับนอร์เวย์ยังคงดำรงอยู่ต่อไปจนถึงค.ศ. 1814[5]

ไม่กี่ปีหลังก่อตั้งสหภาพคาลมาร์ กษัตริย์อีริควัย 18 พรรษา ได้รับการประกาศว่าทรงบรรลุนิติภาวะ และมีการถวายบังคมต่อพระองค์ในทั้งสามอาณาจักร แม้ว่าพระนางมาร์เกรเธอจะลงจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ แต่พระนางก็ทรงเป็นผู้ปกครองที่ใช้พระราชอำนาจแท้จริงในสแกนดิเนเวียตลอดพระชนม์ชีพของพระนาง

พระราโชบาย

แก้
 
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอทรงม้า ณ ใจกลางเมืองรอสคิลด์ สร้างโดย แอนน์ มารี คาร์ล-นีลเซน

เมื่อสหภาพยังไม่มั่นคง พระนางมาร์เกรเธอยังคงต้องปรากฏพระองค์ในสภาริคสรัด แต่ถึงกระนั้นอิทธิพลของพวกขุนนางยังน้อย ส่วนพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ยังทรงอำนาจสูงสุด ตำแหน่งขุนนางผู้ตรวจการณ์สูงสุดและตำแหน่งจอมพลถูกปล่อยให้ว่างไว้ พวกสภาเดนฮอฟก็หมดบทบาทลง และ "พระราชินีผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้ทรงอำนาจอันเด็ดขาด"[39] ทรงปกครองข้าราชสำนักผ่านข้าราชการผู้ชำนาญ ไม่ว่าเหตุการณ์ใด กฎหมายและความสงบเรียบร้อยถูกบังคับใช้อย่างเคร่งครัด สิทธิต่างๆของเหล่าขุนนางถูกลิดรอนอย่างเข้มงวด ราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์ถูกปฏิบัติเสมือนเป็นรัฐหนึ่งของเดนมาร์ก การตื่นตัวเรื่องชาตินิยมจะถูกตรวจสอบและกดดัน โดยนอร์เวย์ มีความจงรักภักดีมากกว่าก็จะได้รับการปฏิบัติที่ดีกว่าสวีเดนซึ่งคอยต่อต้านเนืองๆ

ตามงานเขียนของเกอร์เธอ จาค็อบเซนระบุว่า ในปีค.ศ. 1396 พระนางมาร์เกรเธอทรงออกพระราชโองการว่าสิ่งใดควรจะอยู่ในระดับชั้นที่สูงกว่าและได้รับการเคารพมากกว่า เป็นการสร้างสันติภาพมาสู่โบสถ์ (pax dei), บ้านเรือน, ท้องนา, สถานที่ราชการ, เหล่าคนงานตามท้องนาและผู้หญิง ซึ่งผู้หญิงมีการเขียนเป็นคำว่า "kvindefred" จาค็อบเซนเชื่อว่ามีการลงโทษในข้อหาข่มขืนกระทำชำเรา โดยกฎหมายนี้มีการลงโทษเป็นปกติซึงไม่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสันติภาพตามนโนบาย "pax dei" สิ่งนี้อาจแสดงให้เห็นถึงมุมมองของพระนางมาร์เกรเธอที่มีต่อผู้หญิงว่า ผู้หญิงเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงอันตรายเป็นพิเศษในช่วงที่เกิดความไม่สงบขึ้นในประเทศ และทรงมองว่าในฐานะประมุขจะต้องเป็นผู้ปกป้องขจัดความทุกข์ยากของประชาชน ซึ่งรวมถึงเหล่าสตรีและหญิงม่ายด้วย พระราโชบายอีกประการคือ ในพระราชโองการปี 1411 พระนางทรงแจกจ่ายเงินจำนวน 500 มาร์ก แก่เหล่าสตรีและหญิงสาว ผู้ถูก "ทำร้ายและถูกลดทอนคุณค่า" ในช่วงสงครามระหว่างสวีเดนกับเดนมาร์กในปีค.ศ. 1388 - 1399[40]

พระนางมาร์เกรเธอทรงฟื้นฟูทรัพย์สินของกษัตริย์ในที่ดินทั้งหมดที่เคยมีปัญหาในรัชกาลกษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 4 พระราโชบายนี้เรียกว่า "reduktion" หรือการกู้คืนที่ดิน ซึ่งมีการดำเนินการอย่างเข้มงวดสูงสุดและที่ดินหลายร้อยแห่งตกเป็นในทรัพย์สินของกษัตริย์ พระนางยังทรงปฏิรูประบบเงินตราของเดนมาร์ก มีการแทนที่เหรียญทองแดงไร้ค่าด้วยเหรียญเงินชั้นดี เพื่อสร้างผลประโยชน์แก่ทั้งพระนางและรัฐ พระนางทรงมีพระราชทรัพย์จำนวนมากในการจัดการ และส่วนมากทรงใช้เพื่อการกุศล

ตามงานเขียนของโทมัส คิงส์ตัน เดอร์รี ระบุว่า พระนางมาร์เกรเธอทรงพยายามทำให้พื้นฐานเศรษฐกิจของสหภาพมีความมั่นคง แต่ละมาตรการของพระนาง (การกู้คืนที่ดินของกษัตริย์มาจากพวกขุนนางและศาสนจักร การมีระบบภาษีใหม่และระบบเหรียญเงินใหม่) ได้ทำลายผลประโยชน์ของของชนชั้นต่างๆผู้ทรงอำนาจ แต่พระนางก็ทรงกีดกันพวกเขาจากการก้าวมาเป็นผู้นำ โดยมีการแบ่งแยกสภาเป็นสามอาณาจักร ซึ่งสมาชิกสภาเป็นผู้ที่พระนางทรงเลือกเองจากเหล่าเจ้าพนักงานพลเรือนและนักบวชที่มีทักษะสูง พระนางทรงแต่งตั้งพระชาวเดนส์ในเขตสังฤมณฑลของสวีเดนและนอร์เวย์ ในขณะที่ที่ดินและปราสาทของพระราชวงศ์ทรงให้ผู้บังคับบัญชาประจำป้อมและผู้ดูแลที่ดินชาวต่างชาติทำการบริหารจัดการ โดยสิ่งนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการส่งเสริมชาวเดนมาร์ก และทอดทิ้งชาวสวีเดนและนอร์เวย์ เดอร์รีมองว่า พระนางก็ทรงจ้างชาวเยอรมันให้มาบริหารจัดการในเดนมาร์กมากกว่าชาวเดนมาร์กด้วยกันเอง พระนางทรงมั่นพระทัยว่าจะสามารถรักษาความสงบเรียบร้อยปกป้องพระราชวงศ์และสร้างการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพด้วย[41]

พระนางทรงเดินทางบ่อยครั้ง ในช่วงปลายรัชกาล ทรงประทับในสวีเดนมากกว่าเดนมาร์ก พระนางสนับสนุนการสมรสของตระกูลขุนนางทั้งสามอาณาจักร ความเคร่งครัดในศาสนาของพระนางมาร์เกรเธอเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว ทรงเป็นผู้สนับสนุนหลักในการประกาศเป็นนักบุญของบริจิตแห่งสวีเดน ทรงผลักดันเมืองวัดสเตนาให้เป็นเมืองศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและทรงสนับสนุนการเผยแพร่ "ภาษาบริจิตทีน" ซึ่งเป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมของสวีเดนจำนวนมากในหมู่ชาวเดนมาร์กและนอร์เวย์[42]

ในด้านการต่างประเทศทรงมีพระราโชบายที่ตรงกันข้ามกับนโยบายสงครามที่มีความเสี่ยงของพระราชบิดา พระนางมาร์เกรเธอทรงดำเนินนโยบายอย่างรอบคอบและเป็นกลางอย่างเหนียวแน่นในช่วงสงครามนองเลือดระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส รวมถึงความขัดแย้งอื่นๆในยุโรป[5] อย่างไรก็ตาม พระนางก็ไม่ทรงต้องเจ็บปวดจากการพยายามกู้คืนดินแดนเดนมาร์กที่เสียไป พระนางทรงซื้อเกาะกอตแลนด์จากผู้ครอบครองที่แท้จริงได้แก่ อัลเบิร์ตแห่งเมคเลินบวร์คกับภาคีลิโวเนียน และพระนางสามารถซื้อดินแดนชเลสวิชส่วนใหญ่ได้

ในปีค.ศ. 1402 พระนางมาร์เกรเธอทรงดำเนินการเจรจากับพระเจ้าเฮนรีที่ 4 แห่งอังกฤษ เกี่ยวกับการอภิเษกสมรสสองคู่ระหว่างอังกฤษกับสหภาพนอร์ดิก ข้อเสนอคือให้กษัตริย์อีริคอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงฟิลิปปาแห่งอังกฤษ พระราชธิดาของพระเจ้าเฮนรีที่ 4 และเฮนรี เจ้าชายแห่งเวลส์ พระราชโอรสของพระเจ้าเฮนรีที่ 4 อนาคตของพระเจ้าเฮนรีที่ 5 ให้อภิเษกสมรสกับคาทารีนาแห่งพอเมอเรเนีย พระขนิษฐาของกษัตริย์อีริค ตามงานเขียนของมาร์ค เชลล์ ระบุว่า พระนางมาร์เกรเธอทรงปรารถนาที่จะสร้างจักรวรรดิแห่งภาคเหนือของพระเจ้าคนุตมหาราชขึ้นมาอีกครั้ง[43] ฝ่ายอังกฤษต้องการให้การอภิเษกสมรสครั้งนี้เป็นการอภิเษกสมรสเพื่อการสงคราม โดยต้องการให้เหล่าอาณาจักรนอร์ดิกเข้ามามีส่วนร่วมในสงครามร้อยปีต่อต้านฝรั่งเศส พระนางมาร์เกรเธอทรงตั้งใจที่จะทำตามข้อเสมอร่วมกันโดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับความเป็นพันธมิตรในสงคราม และดังนั้นจึงทรงปฏิเสธข้อเสนอของอังกฤษ การอภิเษกสมรสของทั้งสองคู่พร้อมกันจึงไม่เกิดขึ้น แต่ก็ได้เพียงคู่เดียวคือ กษัตริย์อีริคอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงฟิลิปปา พระชนมายุ 13 พรรษา พระราชธิดาของพระเจ้าเฮนรีที่ 4 ที่ประสูติแต่แมรีแห่งโบฮุน พระราชพิธีจัดขึ้นที่เมืองลุนด์ในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1406 ในฐานะพันธมิตรเชิงป้องกันไม่ใช่รุกราน ส่วนเจ้าหญิงคาทารีนา พระขนิษฐาของกษัตริย์อีริค ได้อภิเษกสมรสกับจอห์น เคานท์พาลาทีนแห่งเนามาร์ก พระนางทรงหวังว่าจะได้พันธมิตรจากกลุ่มเยอรมันทางใต้ ซึ่งจะช่วยคานอำนาจกับพวกเจ้านครเยอรมันทางตอนเหนือและเหล่าเมืองต่างๆ

สวรรคต

แก้
 
โลงหินพระศพของพระนางมาร์เกรเธอ ตั้งอยู่ใกล้กับโลงหินของเชื้อพระวงศ์ในวิหารรอสกิลด์

ในปีค.ศ. 1412 พระนางมาร์เกรเธอทรงพยายามเรียกร้องดินแดนดัชชีชเลสวิชคืน จึงทรงประกาศสงครามกับฮ็อลชไตน์ ก่อนหน้านั้นทรงพยายามเรียกคืนดินแดนฟืนแลนด์และกอตแลนด์ ในขณะที่ทรงกำลังจะชนะสงคราม พระนางมาร์เกรเธอสวรรคตอย่างกระทันหันบนเรือพระที่นั่งที่เมืองท่าเฟล็นส์บวร์ค[44]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1412 พระนางทรงล่องเรือไปยังซีแลนด์ ในบันทึก Trinity ระบุว่าพระนางทรงมีกรณีพิพาทหลายเรื่อง ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับการเมือง เมื่อทรงเสด็จขึ้นเรือเพื่ออกจากท่าเรือไป พระนาง "ประชวรอย่างกะทันหันและรุนแรง" พระนางมาร์เกรเธอทรงทราบว่านี้เป็นจุดจบของพระชนม์ชีพของพระนาง พระนางจึงมีรับสั่งให้นำเงินจำนวน 37 มาร์กไปบริจาคตามอารามใกล้ๆแคมเปน เพื่อประกอบศีลมหาสนิทสุดท้ายของพระนาง นอกจากนี้ไม่มีการบันทึกทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับรายละเอียดการสวรรคตของพระนาง พระนางมาร์เกรเธอสวรรคตในวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1412 โดยมีการสวดภาวนาถึงนักบุญซีโมนเศโลเทและยูดาอัครทูต[45] มีการบรรยายถึงเหตุการณ์ที่เป็นไปได้คือเกิดโรคระบาด หรือทรงตกพระทัยจากการตายของอับราฮัม บรอเดอร์สันที่ปรึกษาคนสนิทของพระนาง[46][47] หรือบ้างก็ว่าทรงถูกลอบวางยาพิษโดยกษัตริย์อีริค[48]

โลงหินของพระนางนั้นแกะสลักโดยโจฮันเนส จุนเก ประติมากรชาวลือแบร์ก ในปี 1423 และประดิษบานเบื้องหลังแท่นบูชาสูงของมหาวิหารรอสกิลด์ ใกล้เมืองโคเปนเฮเกน พระนางทรงพระราชทานทรัพย์สมบัติแก่มหาวิหารเพื่อประกอบศีลมหาสนิทซึ่งเป็นสิ่งที่พระนางพึงปฏิบัติบ่อยครั้งและดำเนินประกอบพิธีศีลต่อไปเรื่อยๆหลังสวรรคตไปแล้ว แต่ก็ต้องหยุดลงในปี 1536 ระหว่างการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ แต่ก็มีการสั่นระฆังดังสองครั้งต่อวันเพื่อเป็นการระลึกถึงพระนาง

รูปลักษณ์และบุคลิกภาพ

แก้

มีการบรรยายว่าพระนางเป็นสตรีที่ทรงพระสิริโฉม มีพระเกศาสีดำ พระเนตรดำ ทรงมีสายพระเนตรที่ข่มขู่ให้กลัว และทรงมีรัศมีของความเป็นผู้นำที่มีอำนาจเด็ดขาด[49] พระนางทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงในช่วงวัยชรา มีความเป็นเผด็จการ และไม่ทรงย่อท้อต่อเรื่องใดๆ ด้วย "สติปัญญาที่แหลมคมเหมือนบุรุษ"[50][51] และยังทรงถูกบรรยายว่าทรงเฉลียวฉลาด ยุติธรรม มีไหวพริบและมีเมตตา [52][49] ฮัดสัน สตรอด์เขียนว่า "พระนางมาร์เกรเธอทรงเป็นเหมือนนักบุญบริจิต คือมีความไม่ย่อท้อเหมือนบุรุษเพศ ซึ่งทำให้ทรงมีความแข็งแกร่งโดยไม่ต้องสงสัย ไม่มีข้าราชการชายคนใดทำงานหนักเท่า พระนางทรงใช้ความสามารถเชิงสร้างสรรค์ ความสามารถทางการทูต และความตั้งมั่นในการทำให้สหภาพประสบความสำเร็จและสามารถรักษาอภิสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์ได้ด้วย"[53]

ความคลุมเครือเกี่ยวกับพระอิสริยยศ

แก้

ในเดนมาร์ก พระนางมาร์เกรเธอทรงถูกเรียกว่า "ท่านหญิงพระประมุขและลอร์ด และผู้พิทักษ์แห่งราชอาณาจักรเดนมาร์กทั้งมวล" (ต่อมาในนอร์เวย์และสวีเดนก็มีพระอิสริยยศคล้ายกัน) เป็นความพิเศษเมื่อมีคตำแหน่งของทั้งสองเพศในอิสริยยศเดียวกันซึ่งมีทั้งอำนาจของผู้ชาย (ลอร์ด) และผู้หญิง (sovereign lady-ท่านหญิงพระประมุข) และตำแหน่งทั้งสองเพศอย่าง "ผู้พิทักษ์" (Guardian) หลังจากนั้นเมื่ออีริคทรงได้รับเลือกเป็นกษัตริย์แห่งนอร์เวย์ในปี 1392 พระนางจึงทรงสละพระอิสริยยศของนอร์เวย์ และในปี 1396 เมื่อกษัตริย์อีริคสวมมงกุฎเป็นกษัตริย์แห่งเดนมาร์กและสวีเดน พระนางจึงทรงหยุดใช้พระอิสริยยศของทั้งสองประเทศต่อ แม้ว่าจะทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อก็ตาม[54]

พระนางทรงมีพระอิสริยยศเพียง "สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก" ในปีค.ศ. 1375 ทรงมักจะบรรยายพระนามของพระนางเองว่า "มาร์เกรเธอ โดยความดีงามของพระผู้เป็นเจ้า สมเด็จพระราชธิดาในวัลเดมาร์ พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก" และ "องค์รัชทายาทผู้มีสิทธิโดยชอบธรรมแห่งเดนมาร์ก" เมื่อยามที่ทรงกล่าวถึงตำแหน่งของพระนางในเดนมาร์ก พระอิสริยยศในเดนมาร์ทรงได้รับมาจากพระราชบิดาของพระนางคือ พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 4 แห่งเดนมาร์ก บางแห่งมีการบรรยายถึงพระนางว่า "เลดี้ควีน" (ท่านหญิงพระราชินี) โดยไม่มีการระบุว่าทรงเป็นพระราชินีจากอาณาจักรใด แต่ถึงกระนั้น สมเด็จพระสันตะปาปาบอนิเฟซที่ 9 ทรงมีลายพระหัตถ์ถึงพระนางว่า "ธิดาผู้เป็นที่รักยิ่งของเราในคริสต์ มาร์เกรเธอ สมเด็จพระราชินีนาถผู้ทรงประเสริฐที่สุดแห่งเดนมาร์ก สวีเดนและนอร์เวย์" ("Carissime in Christo filie Margarete Dacie Suecie et Norwegie regine illustri")[55]

เมื่อพระนางทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าโฮกุนที่ 6 แห่งนอร์เวย์ในปีค.ศ. 1363 พระองค์เป็นกษัตริย์ร่วมแห่งสวีเดน ทรงสถาปนามาร์เกรเธอเป็นสมเด็จพระราชินี และแม้ว่าจะทรงถูกถอดจากบัลลังก์ ทั้งสองพระองค์ก็ไม่ทรงเคยถูกริบอิสริยยศคืน ในทางทฤษฎี การขับไล่พระเจ้าอัลเบรกท์แห่งสวีเดนออกจากบัลลังก์ในปีค.ศ. 1389 ได้ทำให้พระนางมาร์เกรเธอทรงกลับคืนสู่ตำแหน่งเดิม ตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 1353[2] ถึง 28 ตุลาคม ค.ศ. 1412 พระนางทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก นอร์เวย์และสวีเดน และทรงเป็นผู้ก่อตั้งสหภาพคาลมาร์ ซึ่งรวมประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวียเป็นเวลากว่าศตวรรษ พระนางทรงดำรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก แม้ว่าในช่วงยุคสมัยนั้นธรรมเนียมของชาวเดนมาร์กยังไม่อนุญาตให้สตรีครองราชสมบัติ[56]

เกียรติภูมิ

แก้
 
พระนางมาร์เกรเธอและอีริคแห่งพอเมอเรเนียในพระราชพิธีราชาภิเษก ฮันส์ ปีเตอร์ ฮันส์เซนวาดภาพเหตุการณ์จากจินตนาการ วาดในปี 1884

เอลิซ ออตต์ได้เขียนไว้ในปี 1874 ว่า "ถ้าพระนางมาร์เกรเธอทรงมีผู้สืบบัลลังก์ โดยเป็นผู้นำที่มีความสามารถเหมือนพระนาง พระราชบัญญัติสหภาพคาลมาร์จักเป็นประโยชน์ต่อทั้งสามราชอาณาจักร เพราะมันเป็นเรื่องจริงตามที่สมเด็จพระราชินีนาถทรงตรัสว่า แต่ละรัฐดำรงอยู่รัฐเดียวอย่างโดดเดี่ยวอ่อนแอ เปิดให้อันตรายเข้ามาจากทุกฝ่าย แต่เมื่อสามอาณาจักรรวมเป็นหนึ่งจะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์แข็งแกร่งพอที่จะต่อต้านการโจมตีและแผนการของพ่อค้าฮันเซอ และเหล่าศัตรูทั้งหลายจากด้านนอกเยอรมนี และจะทำให้ทะเลบอลติกไร้อันตรายจากพวกต่างชาติ แต่อย่างไรก็ตามไม่มีประมุของค์ใดหลังจากนี้ที่ทรงปรีชาเทียบเท่าพระนางมาร์เกรเธอ และไม่มีใครที่จะมาเทียบพระนางได้"[57]

ตามงานเขียนของสไตนาร์ อิมเซน ระบุว่า ไม่มีใครมาโต้แย้งความชาญฉลาดทางการเมืองของพระนางได้ แต่แรงจูงใจของพระนางมักจะเป็นเป้าของการโต้เถียง ในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระนางมักจะทรงถูกอธิบายว่าเป็นนักอุดมคตินิยมที่ต่อสู้เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับอิทธิพลเยอรมัน หลังจากเดนมาร์กพ่ายแพ้สงครามต่อปรัสเซียในปี 1864 ภาพลักษณ์ของพระราชินีมาร์เกรเธอผู้รักชาติก็เกิดขึ้น เมื่อไม่นานมานี้ พระนางทรงได้รับการยกย่องอย่างสูงว่าเป็นแบบแมคคิเวลเลียน (Machiavellist) ผู้ทรงต่อสู้เพื่อพระราชอำนาจและผลประโยชน์ของราชวงศ์เป็นหลัก[58]

ริชาร์ด ไวท์ เขียนว่า "มีการเขียนว่าพระนางมาร์เกรเธอทรงทำให้เกิดปัญหามากมาย แต่การรวมอำนาจสามแผ่นดินของพระนางได้ก่อให้เกิดจุดเริ่มต้นใหม่และความรุ่งโรจน์แก่ชาวสแกนดิเนเวีย ในแง่ของประวัติศาสตร์อันสับสนวุ่นวายของอาณาจักรเหล่านั้น เป็นประวัติศาสตร์ของสงคราม โรคระบาดและการแย่งชิงอำนาจ ชัยชนะของพระนางมาร์เกรเธอทำให้ทรงเป็นหนึ่งในพระมหากษัตริย์ที่โดดเด่นที่สุดของยุโรป แต่ชื่อเสียงของพระนางก็ยังคงตามติดไม่หนีหายไปไหน ประวัติศาสตร์เป็นเกมที่ดีที่สุดสำหรับโอกาสและชื่อเสียงจะมีเมตตาต่อสายลมทุกสายที่พัดผ่าน ซึ่งนักเขียนประวัติศาสตร์จะกังวลถึงความยุติธรรม พระนามของมาร์เกรเธอ พระราชธิดาของวัลเดมาร์ กษัตริย์แห่งชาวเดนส์ จะมีชื่อเสียงขจรขจายไกลและจะเป็นหนึ่งในอีกหลายๆชื่อที่เด็กๆจะรู้จักในโรงเรียน"[59]

ใน The Middle Ages: Dictionary of World Biography, Volume 2 แม็คฟัดเดนได้ระบุว่า "ความสำเร็จของพระนางมาร์เกรเธอนั้นเกิดขึ้นเมื่อเหล่าสแกนดิเนเวียทั้งมวลถูกคุกคามโดยวัฒนธรรมเยอรมันและการครอบงำทางเศรษฐกิจ ทำให้ต้องรวมอาณาจักรเข้าด้วยกัน และไม่เพียงแต่เอาคืนพวกเยอรมันเท่านั้นแต่ยังได้ดินแดนที่สูญเสียไปกลับคืนด้วย ในช่วงที่สวรรคต สหภาพสแกนดิเนเวียมีอำนาจสูงสุดในทะเลบอลติก กลายเป็นดินแดนที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของยุโรปซึ่งอยู่ภายใต้พระประมุของค์เดียว"[60]

พงศาวลี

แก้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. พระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
8. พระเจ้าอีริคที่ 5 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. มาร์เกเรเธ ซัมบีเรีย
 
 
 
 
 
 
 
4. พระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. จอห์นที่ 1 มาร์เกรฟแห่งบรันเดนบวร์ก
 
 
 
 
 
 
 
9. อักเนสแห่งบรันเดินบวร์ค
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. จัตตาแห่งแซ็กโซนี
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 4 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. บาร์นิมที่ 1 ดยุกอห่งพอเมอเรเนีย
 
 
 
 
 
 
 
10. บอกิสเลาส์ที่ 4 ดยุกอห่งพอเมอเรเนีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. เจ้าหญิงมาเรียนาแห่งสวีเดน?
 
 
 
 
 
 
 
5. ยูเฟเมียแห่งพอเมอเรเนีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. วิสเลาว์ที่ 2 เจ้าชายแห่งรือเก็น
 
 
 
 
 
 
 
11. มาร์กาเร็ตแห่งรือเก็น (ตาย 1320)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. แอ็กเนสแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค
 
 
 
 
 
 
 
1. สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. อีริคที่ 1 ดยุกแห่งชเลสวิช
 
 
 
 
 
 
 
12. วัลเดมาร์ที่ 4 ดยุกแห่งชเลสวิช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. มาร์กาเร็ตแห่งรือเก็น (ตาย 1272)
 
 
 
 
 
 
 
6. อีริคที่ 2 ดยุกแห่งชเลสวิช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. จอห์นที่ 1 ดยุกแห่งแซ็กโซนี
 
 
 
 
 
 
 
13. เอลิซาเบธแห่งซัคเซิน-เลาบวร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. อิงเงบอร์ก เบอร์เกอร์สด็อทเทอร์แห่งบีเจลโบ
 
 
 
 
 
 
 
3. เฮลวิกแห่งชเลสวิช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. เกอร์ฮาร์ดที่ 1 เคานท์แห่งฮ็อลชไตน์-อิตเซโฮ
 
 
 
 
 
 
 
14. เฮนรีที่ 1 เคานท์แห่งฮ็อลชไตน์-เรนส์บวร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. เอลิซาเบธแห่งเมคเลินบวร์ค
 
 
 
 
 
 
 
7. อเดลไฮด์แห่งฮ็อลชไตน์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. วิเลเลียม เคานท์แห่งบร็อนก์โฮลร์ท-เร็คเฮล์ม
 
 
 
 
 
 
 
15. ไฮวิก ฟอน บร็อนก์โฮลร์ท
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. เออร์เมนการ์ดแห่งรันเดอโรด
 
 
 
 
 
 

เชิงอรรถ: [61] [62] [63] [64] [65] [66] [67] [68] [69] [70] [71]

พระราชลัญจกร

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1
 
ตราประจำพระอิสริยยศ
การทูลHendes Majestæt
(ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับDeres Majestæt
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)

อ้างอิง

แก้
  1. "Margrete Valdemarsdatter" (ภาษานอร์เวย์). Norsk biografisk leksikon. สืบค้นเมื่อ 28 August 2012.
  2. 2.0 2.1 2.2 Colliers Encyclopedia. 1986 edition. p.386
  3. Jacobsen, p. 1. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFJacobsen (help)
  4. Earenfight, Theresa (2013). Queenship in Medieval Europe. Palgrave Macmillan. p. 238. ISBN 9781137303929.[ลิงก์เสีย]
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Magill 2012, p. 627. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFMagill2012 (help)
  6. Goodrich, Samuel Griswold (1852). The Second Book of History: Including the Modern History of Europe, Africa, and Asia ... : Designed as a Sequel to the First Book of History. Jenks, Hickling & Swan. p. 154.
  7. Williamson, David (1988). Debrett's Kings and Queens of Europe. Salem House. p. 106. ISBN 9780881623642.
  8. White 2010, pp. 1, 39. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFWhite2010 (help)
  9. Derry 2000, pp. 72. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFDerry2000 (help)
  10. Hooper Gottlieb, Agnes (1998). 1,000 years, 1,000 people: ranking the men and women who shaped the millennium. Kodansha International. p. 221. ISBN 9781568362533.
  11. 11.0 11.1 Chisholm 1906, p. 702.
  12. Kuiper, Kathleen (2009). The 100 Most Influential Women of All Time. The Rosen Publishing Group. p. 53. ISBN 9781615300105.
  13. Durant, Will (2011). The Reformation: The Story of Civilization. Simon and Schuster. p. 156. ISBN 9781451647631.
  14. Otte 1874, p. 180. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFOtte1874 (help)
  15. Everett Green, Mary Anne (1851). Lives of the Princesses of England: From the Norman Conquest, Volume 3. H. Colburn. pp. 360, 388.
  16. Marryat, Horace (1862). One Year in Sweden: Including a Visit to the Isle of Götland, Volume 2. J. Murray. p. 302.
  17. Otte 1874, pp. 183–184. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFOtte1874 (help)
  18. Larsen, Karen (2015). History of Norway. Princeton University Press. p. 212. ISBN 9781400875795.
  19. Geijer, Erik Gustaf (1845). The History of the Swedes. Whittaker. p. 62.
  20. Magill 2012, p. 628. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFMagill2012 (help)
  21. Strindberg, August (1959). The saga of the Folkungs: Engelbrekt. University of Washington Press. p. 123.
  22. Oakley, Stewart (1972). A Short History of Denmark. Praeger Publishers. p. 81.
  23. Chelminski, Rudolph (28 Jan 1972). Margrethe of Denmark - 'Best damn queen there is'. LIFE 28 Jan 1972 (Vol. 72, No. 3 ed.). Time Inc. p. 68. ISSN 0024-3019.
  24. 24.0 24.1 24.2 24.3 Etting 2009, p. 12.
  25. Hare, Augustus J. C. (2005). Sketches in Holland and Scandinavia. Cosimo, Inc. p. 74. ISBN 9781596053434.
  26. 26.0 26.1 26.2 26.3 26.4 26.5 Etting 2009, p. 13.
  27. 27.0 27.1 27.2 27.3 27.4 Etting 2009, p. 15.
  28. 28.0 28.1 28.2 Etting 2009, p. 16.
  29. 29.0 29.1 29.2 29.3 29.4 29.5 Etting 2009, p. 17.
  30. Duggan, Anne J. (1997). Queens and Queenship in Medieval Europe: Proceedings of a Conference Held at King's College London, April 1995. Boydell Press. ISBN 9780851158815.
  31. Higgins, Sophia Elizabeth (1885). Women of Europe in the Fifteenth and Sixteenth Centuries, Volume 1. Hurst and Blackett. p. 8.
  32. Nagle (Editor), Jeanne; Britannica Educational Publishing (2014). Top 101 Remarkable Women. Britannica Educational Publishing. p. 134. ISBN 9781622751273. {{cite book}}: |last1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  33. Etting 2009, p. 19.
  34. Chisholm, Hugh; Garvin, James Louis (1926). The Encyclopædia Britannica: A Dictionary of Arts, Sciences, Literature & General Information, Volumes 17–18. Encyclopædia Britannica Company, Limited. p. 702.
  35. Daniel Scott, Franklin (1988). Sweden, the Nation's History. SIU Press. p. 82. ISBN 9780809314898.
  36. 36.0 36.1 White 2010, p. 56. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFWhite2010 (help)
  37. 37.0 37.1 White 2010, p. 57. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFWhite2010 (help)
  38. White 2010, pp. 57–58. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFWhite2010 (help)
  39. Yust, Walter; University of Chicago (1950). Encyclopædia Britannica: A New Survey of Universal Knowledge, Volume 14. Encyclopædia Britannica. p. 876.
  40. Jacobsen, Grethe. Page 1 Less Favored – More Favored: Queenship and the Special Case of Margrete of Denmark, 1353–1412 (PDF). pp. 9–10.
  41. Derry 2000, pp. 73–74. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFDerry2000 (help)
  42. Derry 2000, p. 74. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFDerry2000 (help)
  43. Shell, Marc (2014). Islandology: Geography, Rhetoric, Politics. Stanford University Press. p. 131. ISBN 9780804786294.
  44. Derry, T. K. (2000). History of Scandinavia: Norway, Sweden, Denmark, Finland, and Iceland. U of Minnesota Press. pp. 73–74. ISBN 9780816637997.
  45. Wakefield, Andrew. "Queen Margaret of Denmark, Norway, and Sweden (1353–1412). 2005". Prof. Pavlac's Women's History Resource Site. สืบค้นเมื่อ 9 September 2016.
  46. Smollett, Tobias George (1762). The Critical Review, Or, Annals of Literature, Volume 12. W. Simpkin and R. Marshall. p. 170.
  47. White 2010, p. 210. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFWhite2010 (help)
  48. Higgins, Sophia Elizabeth (1885). Women of Europe in the fifteenth and sixteenth centuries, Volume 1. Oxford University. p. 69.
  49. 49.0 49.1 White 2010, p. 40. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFWhite2010 (help)
  50. Williams, Henry Smith (1907). The Historians' History of the World: A Comprehensive Narrative of the Rise and Development of Nations as Recorded by Over Two Thousand of the Great Writers of All Ages, Volume 6. Hooper & Jackson, Limited.
  51. MacDonald, Michael H. (1996). Europe, a Tantalizing Romance: Past and Present Europe for Students and the Serious Traveler. University Press of America. p. 155. ISBN 9780761804116.
  52. Durant, Will (Jun 7, 2011). The Reformation: The Story of Civilization. Simon and Schuster. p. 156. ISBN 9781451647631.
  53. Strode, Hudson (1949). Sweden: Model for a World. Harcourt, Brace. p. 130.
  54. Jacobsen, p. 7-9. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFJacobsen (help)
  55. Lange, Christian Christoph Andreas; Unger, Carl Rikard; Huitfeldt-Kaas, Henrik Jørgen; Storm, Gustav; Bugge, Alexander; Brinchmann, Christopher; Kolsrud, Nils Oluf (1861). Diplomatarium Norvegicum, Volume 5. P.T. Malling. p. 251.
  56. Schnith, Karl Rudolf (1997). Frauen des Mittelalters in Lebensbildern (ภาษาเยอรมัน). Styria. p. 396. ISBN 3-222-12467-1.
  57. Otte, E.C. (1874). Scandinavian History. p. 180.
  58. Schaus, Margaret (2006). Women and Gender in Medieval Europe: An Encyclopedia. Taylor & Francis. p. 510. ISBN 9780415969444.
  59. White, Richard (2010). These Stones Bear Witness. AuthorHouse. p. 59. ISBN 9781452017198.
  60. Magill, Frank N. (2012). The Middle Ages: Dictionary of World Biography, Volume 2. Routledge. p. 628. ISBN 9781136593130.
  61. "Margrete 1. (1387 - 1396) - Denmark's National Museum". Nationalmuseet - Museer i hele Danmark. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-12. สืบค้นเมื่อ August 12, 2016.
  62. "Christoffer 2. (1320–1326 og 1330–1332) - Denmark's National Museum". Nationalmuseet - Museer i hele Danmark. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-12. สืบค้นเมื่อ August 12, 2016.
  63. Ulwencreutz, Lars (2013). Ulwencreutz's The Royal Families in Europe V. Lulu.com. pp. 219–220. ISBN 9781304581358.
  64. "Generation: die Kinder Wizlaws II". Die Website zum slawischen Fürstentum Rügen im Mittelalter. สืบค้นเมื่อ August 12, 2016.
  65. Collegium medievale, Volumes 5-6. Collegium Medievale (Interdisciplinary journal of Medieval Research). 1992.
  66. Verein für Mecklenburgische Geschichte und Alterthumskunde (1887). Mecklenburgische Jahrbücher, Volumes 31-60. Schwerin. p. 127.
  67. Rudolf Vierhaus, Rudolf (Jan 1, 2006). Einstein - Görner. Walter de Gruyter. ISBN 9783110946550.
  68. Damberger, Josef Ferdinand (1831). Fürstenbuch zur Fürstentafel der europäischen Staatengeschichte: Sechzig genealogische, auch chronologische und statistische Tabellen zu Fürstentafel und Fürstenbuch der europäischen Staatengeschichte, Volume 2. Pustet. p. 92.
  69. Donald Lines Jacobus, D.L. (1970). The American Genealogist, Volumes 46-47. D.L. Jacobus. p. 154.
  70. Baanderheren boeren & burgers. Uitgeverij Æneas BV. 2004. p. 27. ISBN 9789075365689.
  71. Wildeisen, Johann Melchior (1680). Hoch-fürstl. Brandenburg. Onolzbach. Genealogischer Lust-Wald.
ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก ถัดไป
บลานซ์แห่งนามูร์    
สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์
(ค.ศ. 1363 - ค.ศ. 1380)
  'ว่าง'
ลำดับถัดไป
เจ้าหญิงฟิลิปปาแห่งอังกฤษ
บลานซ์แห่งนามูร์    
สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน
(ค.ศ. 1360 - ค.ศ. 1364)
  'ว่าง'
ลำดับถัดไป
ริชาร์ดิสแห่งชเวรีน
พระเจ้าโอลาฟที่ 2    
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก
(10 สิงหาคม ค.ศ. 1387 - 28 ตุลาคม ค.ศ. 1412)
  พระเจ้าอีริคที่ 7
พระเจ้าโอลาฟที่ 4    
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งนอร์เวย์
(3 สิงหาคม ค.ศ. 1387 - 28 ตุลาคม ค.ศ. 1412)
  พระเจ้าอีริคที่ 3
พระเจ้าอัลเบรกท์    
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งสวีเดน
(24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1389 - 28 ตุลาคม ค.ศ. 1412)
  พระเจ้าอีริคที่ 13