ภาษานอร์เวย์ เป็นภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก เป็นภาษาราชการของประเทศนอร์เวย์ และมีความใกล้ชิดกับภาษาสวีเดนและเดนมาร์ก ภาษานอร์เวย์มีรูปแบบการเขียน 2 แบบ คือ บูกโมล (bokmål) (หมายถึง "ภาษาหนังสือ") และ นีน็อชก์ (nynorsk) (หมายถึง "ภาษานอร์เวย์ใหม่")

ภาษานอร์เวย์
norsk
ออกเสียง[ˈnɔʂk] (ภาคตะวันออก กลาง และเหนือ)
[ˈnɔʁsk] (ภาคตะวันตกและใต้)
ประเทศที่มีการพูดนอร์เวย์ (รวมสฟาลบาร์และยานไมเอน)
ชาติพันธุ์ชาวนอร์เวย์
จำนวนผู้พูด5.32 ล้านคน  (2020)
ตระกูลภาษา
อินโด-ยูโรเปียน
รูปแบบก่อนหน้า
ระบบการเขียนอักษรละติน (อักษรเดนมาร์กและนอร์เวย์)
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการธงของประเทศนอร์เวย์ นอร์เวย์
คณะมนตรีนอร์ดิก
ผู้วางระเบียบสภาภาษานอร์เวย์
รหัสภาษา
ISO 639-1no — นอร์เวย์
nbบูกโมล
nnนีน็อชก์
ISO 639-2[[ISO639-3:nor — นอร์เวย์
nobบูกโมล
nnoนีน็อชก์|nor — นอร์เวย์
nobบูกโมล
nnoนีน็อชก์]]
ISO 639-3มีหลากหลาย:
nor – นอร์เวย์
nob – บูกโมล
nno – นีน็อชก์

การเขียนและสะกดคำ

แก้

ตัวอักษร

แก้

ในภาษานอร์เวย์นี้จะมี 29 ตัวอักษร[1]

A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z Æ Ø Å
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z æ ø å

ตัวอักษร c, q, w, x และ z นี้จะใช้ในเฉพาะคำยืมเท่านั้น เนื่องจากคำยืมนั้นถูกหลอมรวมเข้ากับภาษานอร์เวย์ การสะกดคำเหล่านั้นอาจเปลี่ยนไปเพื่อสะท้อนถึงการออกเสียงภาษานอร์เวย์และหลักการของการสะกดภาษานอร์เวย์ เช่น คำว่าม้าลายในภาษานอร์เวย์เขียนว่า sebra และเนื่องจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์ ชื่อสกุลนอร์เวย์บางชื่ออาจจะเขียนโดยใช้ตัวอักษรเหล่านี้ด้วยเช่นกัน

ตัวอักษรบางตัวอาจจะมีการแก้ไขโดยการเพิ่มเครื่องหมายเสริมสัทอักษร: é, è, ê, ó, ò และ ô[ต้องการอ้างอิง] ในนีน็อชก์ ì และ ù และ ỳ ก็มีให้เห็นเป็นครั้งคราวเช่นกัน[ต้องการอ้างอิง] ตัวเครื่องหมายเสริมสัทอักษรนั้นไม่ได้บังคับ แต่ในบางกรณีอาจแยกความแตกต่างระหว่างความหมายที่แตกต่างกันของคำ เช่น: for ('สำหรับ/ถึง'), fór ('ไป'), fòr ('ร่อง') และ fôr ('อาหารสัตว์')[ต้องการอ้างอิง] คำยืมอาจสะกดด้วยตัวกำกับเสียงอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ü, á และ à[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

แก้
  1. Torp, Arne (2001). "Bokstaver og alfabet" [Letters and alphabet]. Språknytt (ภาษานอร์เวย์) (4): 1–4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2015. สืบค้นเมื่อ 23 June 2018.