พระเจ้าอีริคที่ 7 แห่งเดนมาร์ก

พระเจ้าอีริคที่ 7 แห่งเดนมาร์ก หรือเป็นที่รู้จักในพระนาม อีริคแห่งพอเมอเรเนีย (ค.ศ. 1381 หรือ 1382 - 24 กันยายน ค.ศ. 1459) ทรงเป็นประมุขผู้ปกครองสหภาพคาลมาร์ตั้งแต่ค.ศ. 1396 ถึง 1439 ทรงสืบบัลลังก์จากสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก ผู้ทรงเป็นพระขนิษฐาในพระอัยยิกาของพระองค์ พระองค์ทรงถูกเรียกขานพระนาม อีริคที่ 3 ในฐานะพระมหากษัตริย์นอร์เวย์ (1389-1442) อีริคที่ 7 ในฐานะพระมหากษัตริย์เดนมาร์ก (1396-1439) และ อีริคที่ 13 ในฐานะพระมหากษัตริย์สวีเดน[a] (1396-1434, 1436-39) ต่อมาทรงเป็นที่รู้จักในทั้งสามประเทศว่า อีริค อัฟ พอมเมิร์น[b] (Erik av Pommern) เป็นคำเหยียดหยามว่าพระองค์มาจากที่อื่น[1] ในที่สุดกษัตริย์อีริคทรงถูกขับไล่ออกจากทั้งสามอาณาจักรของสหภาพ แต่ในค.ศ. 1449 พระองค์ทรงได้รับมรดกส่วนหนึ่งของดัชชีพอเมอเรเนีย และปกครองในฐานะดยุกจนกระทั่งสวรรคตในค.ศ. 1459

อีริค
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก, สวีเดนและนอร์เวย์
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์กและสวีเดน
ครองราชย์28 ตุลาคม ค.ศ. 1412 - 24 กันยายน ค.ศ. 1439
(26 ปี 331 วัน)
ราชาภิเษก 17 มิถุนายน ค.ศ. 1397 สตอร์กยีร์กัน (ถูกทำลายปี 1678) คาลมาร์, สวีเดน
ก่อนหน้ามาร์เกรเธอที่ 1
ถัดไปคริสตอฟเฟอร์ที่ 3
พระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์
ครองราชย์8 กันยายน ค.ศ. 1389 - 4 มิถุนายน ค.ศ. 1442
(52 ปี 269 วัน)
ราชาภิเษก ค.ศ. 1392, มหาวิหารออสโล
ก่อนหน้ามาร์เกรเธอ
ถัดไปคริสตอฟเฟอร์
ผู้สำเร็จราชการ ซิเกิร์ด จอนสัน
ดยุกแห่งพอเมอเรเนีย-สโต๊ร์ป
ครองราชย์7 ธันวาคม ค.ศ. 1446 - 24 กันยายน ค.ศ. 1459
(12 ปี 291 วัน)
ก่อนหน้าบอกึสเลาว์ที่ 9
ถัดไปอีริคที่ 2
ผู้สำเร็จราชการ มาเรียแห่งมาโซเวีย (1446-49)
พระราชสมภพค.ศ. 1381 หรือ 1382
ปราสาทดาร์โลโว ดัชชีพอเมอเรเนีย
สวรรคต24 กันยายน ค.ศ. 1459 (ราว 76-78 ปี)
ปราสาทดาร์โลโว ดัชชีพอเมอเรเนีย
ฝังพระศพโบสถ์นักบุญแมรี ดาร์โลโว, พอเมอเรเนีย
ชายาฟิลิปปาแห่งอังกฤษ
(แต่ง 1406 ตาย 1430)
เซซิเลีย (ต่างฐานันดร)
พระนามเต็ม
บอกึสเลาว์ กริฟฟิน
อีริค แอสตริดเซน
ราชวงศ์กริฟฟิน (โดยประสูติ)
แอสตริดเซน (โดยการได้รับเป็นบุตรบุญธรรม)
พระราชบิดาวาร์ทิสเลาว์ที่ 7 ดยุกแห่งพอเมอเรเนีย
พระราชมารดามาเรียแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเวรีน
ศาสนาโรมันคาทอลิก

เบื้องหลังการสืบราชสันตติวงศ์

แก้

อีริคประสูติในปีค.ศ. 1381 หรือ 1382 ที่ปราสาทดาร์โลโว ดัชชีพอเมอเรเนีย (โปแลนด์) เดิมมีพระนามว่า บอกึสเลาว์ เป็นโอรสในวาร์ทิสเลาว์ที่ 7 ดยุกแห่งพอเมอเรเนียกับมาเรียแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเวรีน

สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก ผู้ปกครองราชอาณาจักรเดนมาร์ก นอร์เวย์และสวีเดน ทรงต้องการให้ราชอาณาจักรของพระนางรวมเป็นหนึ่งเดียวและมีความสงบสุข และทรงเตรียมการไว้เผื่อยามที่พระนางสวรรคต พระนางทรงเลือก บอกึสเลาว์แห่งพอเมอเรเนียเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์ของพระนาง เนื่องจากบอกึสเลาว์เป็นพระนัดดาของอิงเงอบอร์กแห่งเดนมาร์ก ดัชเชสแห่งเมคเลินบวร์ค (ค.ศ. 1347-1370) พระเชษฐภคินีของพระนาง

ในค.ศ. 1389 บอกึสเลาว์ถูกนำตัวมายังเดนมาร์กและได้รับการอภิบาลจากพระนางมาร์เกรเธอ พระนามได้ถูกเปลี่ยนเป็น อีริค เพื่อให้มีความเป็นวัฒนธรรมนอร์ดิกมากขึ้น ในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1389 พระองค์ได้รับเลือกให้เป็นพระมหากษัตริย์นอร์เวย์ที่ทิงในทร็อนไฮม์ พระองค์อาจได้รับการประกอบพิธีราชาภิเษกที่ออสโลในค.ศ. 1392 แต่กรณีนี้ยังเป็นที่ถกเถียง

ดยุกวาร์ทิสเลาว์ บิดาของกษัตริย์อีริคสิ้นพระชนม์ในช่วงพฤศจิกายน ค.ศ. 1394 ถึง 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1395[2] เมื่อวาร์ทิสเลาว์สิ้นพระชนม์ ตำแหน่งทั้งหมดจึงตกแก่อีริคซึ่งเป็นทายาท[3]

ในค.ศ. 1396 พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์เดนมาร์กและจากนั้นคือพระมหากษัตริย์สวีเดน ในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1397 พระองค์ประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ในทั้งสามราชอาณาจักรนอร์ดิกที่มหาวิหารในคาลมาร์ ในขณะเดียวกันสนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพได้ถูกร่างขึ้น และประกาศจัดตั้งสหภาพคาลมาร์อย่างเป็นทางการ แต่สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอยังทรงเป็นพระประมุขทางพฤตินัยของทั้งสามราชอาณาจักรจนกระทั่งพระนางเสด็จสวรรคตในค.ศ. 1412[4][5][6]

อภิเษกสมรส

แก้
 
พระเจ้าอีริคที่ 7 แห่งเดนมาร์ก หรือ อีริคแห่งพอเมอเรเนียกับพระราชินีฟิลิปปา ภาพวาดราวทศวรรษที่ 1590 วาดโดยคอร์เนเลียส ครอมเมนี

ในค.ศ. 1402 สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอทรงเจรจากับพระเจ้าเฮนรีที่ 4 แห่งอังกฤษเกี่ยวความเป็นไปได้ในการสร้างพันธมิตรระหว่างสหภาพนอร์ดิกกับราชอาณาจักรอังกฤษ ข้อเสนอเป็นการจัดพิธีเสกสมรสคู่ โดยกษัตริย์อีริคอภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของกษัตริย์เฮนรี คือ เจ้าหญิงฟิลิปปาแห่งอังกฤษ และระหว่างพระราชโอรสของกษัตริย์เฮนรีคือ เจ้าชายแห่งเวลส์ หรือ พระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษในอนาคต ซึ่งจะต้องเสกสมรสกับพระขนิษฐาของกษัตริย์อีริคคือ คาทารีนาแห่งพอเมอเรเนีย (ราวค.ศ. 1390-1426)[7][8]

แต่พิธีอภิเษกสมรสคู่ก็ไม่เกิดขึ้น มีเพียงพิธีอภิเษกสมรสระหว่างกษัตริย์อีริคกับเจ้าหญิงฟิลิปปาแห่งอังกฤษเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จในการเจรจา ในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1406 พระองค์อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงฟิลิปปา พระชนมายุ 12 พรรษาที่ลุนด์ การอภิเษกสมรสเป็นการสร้างพันธมิตรป้องกันระหว่างอังกฤษและเดนมาร์ก หลังจากสมเด็จพระราชินีฟิลิปปาสิ้นพระชนม์หลังค.ศ. 1430 กษัตริย์อีริคทรงคบหากับเซซิเลีย นางสนองพระโอษฐ์ในพระราชินีฟิลิปปา และนางกลายมาเป็นพระสนม จากนั้นได้เสกสมรสแบบต่างฐานันดร ความสัมพันธ์ดังกล่าวถือเป็นเรื่องอื้อฉาวและมีการยื่นคำร้องจากสภาอย่างเป็นทางการต่อพฤติกรรมของกษัตริย์[9][10]

รัชกาล

แก้
 
พระราชสาส์นราชาภิเษกของอีริคแห่งพอเมอเรเนีย

ในช่วงต้นรัชกาล กษัตริย์อีริคทรงทำให้เมืองโคเปนเฮเกนเป็นทรัพย์สินของพระราชวงศ์เดนมาร์กในค.ศ. 1417 จึงเป็นการรับรองสถานะเมืองหลวงของเดนมาร์ก พระองค์ได้ริบสิทธิในการครอบครองปราสาทโคเปนเฮเกนจากบิชอปแห่งรอสคิลด์ และตั้งแต่นั้นมาปราสาทก็อยู่ภายใต้การครอบครองของพระองค์[11]

จากแหล่งข้อมูลร่วมสมัย มีการบรรยายว่ากษัตริย์อีริคทรงมีความชาญฉลาด มีวิสัยทัศน์ ขะมักเขม้นและทรงมีความแน่วแน่ มีการบรรยายว่าทรงเป็นบุรุษที่มีเสน่ห์และตรัสด้วยถ้อยคำที่ไพเราะจากการที่เสด็จประพาสทั่วยุโรปครั้งใหญ่ในทศวรรษที่ 1420 แต่ในทางลบมีการบรรยายว่าพระองค์ค่อนข้างอารมณ์ร้อน ขาดแนวคิดทางด้านการทูตและทรงดื้อรั้นอย่างที่ควบคุมไม่ได้ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 2 ขณะทรงเป็นบิชอปได้บรรยายถึงกษัตริย์อีริคว่า ทรงมี "พระวรกายงดงาม พระเกศาสีเหลืองอมแดง ใบหน้าแดง พระศอยาวแคบ...พระองค์ไม่ต้องการความช่วยใดๆ ทรงทำทุกอย่างด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงกระโดดขึ้นประทับหลังม้าโดยไม่ต้องเหยียบโกลน พระองค์สามารถดึงดูดผู้หญิงทุกคนได้ โดยเฉพาะองค์จักรพรรดินีที่ทรงโหยหาความรัก"[12]

ตั้งแต่ค.ศ. 1423 จนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1425 กษัตริย์อีริคเสด็จการจาริกแสวงบุญไปยังเยรูซาเลม หลังจากเสด็จพระราชดำเนินถึง พระองค์ได้รับการขนานพระนามให้เป็นอัศวินแห่งภาคีพระคูหาศักดิ์สิทธิ์โดยคณะฟรันซิสกัน ผู้พิทักษ์ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ และในภายหลังพระองค์ก็ขนานนามให้แก่อีวาน อันซ์ ฟรันโคปัน พระสหายผู้ร่วมคณะจาริกแสวงบุญด้วย ในช่วงที่พระองค์เสด็จจาริกแสวงบุญ พระราชินีฟิลิปปาทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของทั้งสามอาณาจักรโดยบัญชาการจากโคเปนเฮเกน[13]

 
ตราพระราชลัญจกรของอีริคแห่งพอเมอเรเนีย (1398) ภาพวาด: (กลาง) สิงโตยืนด้วยขาหลังสวมมงกุฎและรักษาขวาน (แทนนอร์เวย์) ภายในโล่มีกางเขนพาดผ่านแบ่งเป็น 4 ส่วน: ส่วนซ้ายบน สิงโตสามตัวสวมมงกุฎสีจาง ถือธงเดนเนบอร์กเหนือรูปหัวใจ (แทนเดนมาร์ก) ส่วนขวาบน: มงกุฎทั้งสาม (แทนสวีเดนและสหภาพคาลมาร์) ส่วนซ้ายล่าง: สิงโตยืนด้วยขาหลัง (สิงโตฟอลกุง) (แทนสวีเดน) และส่วนขวาล่าง (ขวา): นกกริฟฟินแยกตัวออกมาจากส่วนขวา (แทนพอเมอเรเนีย)

การปกครองของกษัตริย์อีริคเพียงพระองค์เดียวเกือบทั้งหมดได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งกับเคานท์แห่งชอนบวร์คและฮ็อลชไตน์ พระองค์ทรงพยายามยึดคืนจัตแลนด์ใต้ (ดัชชีชเลสวิช) ซึ่งสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอทรงเคยเอาชนะได้มาแล้ว แต่กษัตริย์อีริคทรงเลือกใช้นโยบายการสงครามแทนการเจรจา ผลทีได้คือสงครามที่มีการทำลายล้างซึ่งไม่จบเพียงแค่พระองค์ไม่สามารถพิชิตจัตแลนด์ใต้ได้เท่านั้น แต่ยังนำไปสู่การสูญเสียพื้นที่จัตแลนด์ใต้ในส่วนที่พระองค์ครอบครองอยู่แล้วด้วย ในช่วงสงคราม พระองค์ทรงแสดงพลังและความหนักแน่นอย่างมากแต่ทรงขาดความเชี่ยวชาญเป็นสำคัญ ในค.ศ. 1424 คำตัดสินชี้ขาดของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์โดยซีกิสมุนท์ กษัตริย์แห่งเยอรมนีที่ทรงยอมรับให้กษัตริย์อีริคเป็นผู้ปกครองโดยชอบธรรมตามกฎหมายของจัตแลนด์ใต้ คำตัดสินนี้ถูกละเลยโดยพวกขุนนางฮ็อลชไตน์ สงครามที่ยาวนานสร้างความตึงเครียดแก่เศรษฐกิจเดนมาร์กและเช่นเดียวกับความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของแถบภาคเหนือ[14]

การกระทำที่มองการณ์ไกลของกษัตริย์อีริคคือ ความพยายามเสนอสิทธิค่าใช้จ่ายเซาด์ (เออเรซุนด์โทลเดน; Øresundtolden) ในค.ศ. 1429[15] ซึ่งมีการบังคับใช้จนถึงค.ศ. 1857 เป็นการให้เรือทุกลำที่ต้องการเข้าหรือออกจากทะเลบอลติกโดยผ่านเดอะเซาด์ ("เออเรซุนด์") ต้องชำระค่าธรรมเนียมทุกลำ และเพื่อช่วยบังคับใช้แนวทางนี้ กษัตริย์อีริคทรงสร้างปราสาทครอนบอร์ก ซึ่งเป็นป้อมปราการขนาดใหญ่ทรงพลังตั้งอยู่บนส่วนที่แคบที่สุดของเดอะเซาด์ ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1400[16] ส่งผลให้มีการควบคุมการเดินเรือทั้งหมดผ่านเออเรซุนด์และสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่ราชอาณาจักรของพระองค์ให้มีความมั่งคั่ง[15] และทรงทำให้เมืองเฮลซิงเงอร์มีการขยายตัวอย่างมาก สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าพระองค์สนพระทัยในการค้าขายและอำนาจทางทะเลของเดนมาร์ก แต่ก็เป็นการท้าทายอำนาจอื่นทางแถบทะเลบอลติก โดยเฉพาะเมืองสันนิบาตฮันเซอที่พระองค์ทรงสู้รบด้วย ตั้งแต่ค.ศ. 1426 ถึง 1435 พระองค์ทรงทำสงครามเดนมาร์ก-ฮันเซอ (1426-1435) พวกฮันเซอและพวกฮ็อลชไตน์โจมตีเมืองหลวงในการระดมยิงโคเปนเฮเกน (1428) ซึ่งกษัตริย์อีริคได้เสด็จออกจากโคเปนเฮเกน ส่วนพระราชินีฟิลิปปา พระมเหสีทรงพยายามป้องกันเมืองหลวง[17]

ในช่วงทศวรรษที่ 1430 นโยบายของกษัตริย์ก็ล้มเหลว ในค.ศ. 1434 ชาวนาและคนงานเหมืองในสวีเดนได้เริ่มก่อจลาจลในระดับอาณาจักรและสังคม ซึ่งในไม่ช้ากลายเป็นเครื่องมือทางอำนาจของขุนนางสวีเดนทำให้กษัตริย์อ่อนแอลง กบฏเอ็งเงลเบรกท์ (ค.ศ. 1434-1436) นำโดยเอ็งเงลเบรกท์ เอ็งเงลเบรกท์สัน ขุนนางสวีเดน (ราวค.ศ. 1390-4 พฤษภาคม ค.ศ. 1436) ชาวสวีเดนได้รับผลกระทบจากการทำสงครามกับสันนิบาตฮันเซอ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการค้าและเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าสวีเดนไปยังชเลสวิช, ฮ็อลชไตน์, เมคเลินบวร์คและพอเมอเรเนีย การก่อกบฏบั่นทอนความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของสหภาพคาลมาร์ นำมาสู่การขับไล่กองทัพเดนมาร์กออกจากสวีเดนชั่วคราว ในนอร์เวย์ เกิดการกบฏเช่นกันในค.ศ. 1436 นำโดยอามุนด์ ซีเกิร์ดสัน โบลท์ (ค.ศ. 1400-1465) ทำให้เกิดการปิดล้อมเมืองออสโลและป้อมปราการอาเกิชฮืส แต่ก็มีการเจรจาสงบศึก[18][19]

กษัตริย์อีริคทรงยอมจำนนต่อข้อเรียกร้องทั้งจากพวกฮ็อลชไตน์และสันนิบาตฮันเซอ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1435 พระองค์ลงพระปรมาภิไธยในสนธิสัญญาสันติภาพที่วอร์ดิงบอร์กกับสันนิบาตฮันเซอและฮ็อลชไตน์ ภายใต้ข้อกำหนดของสนธิสัญญา สันนิบาตฮันเซอได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมสิทธิค่าใช้จ่ายเซาด์และดัชชีชเลสวิชถูกผนวกเข้ากับฮ็อลชไตน์

รัฐประหาร

แก้
 
ภาพปรากฎในค.ศ. 1424 สามประมุขที่มีอิสริยยศทัดเทียมกัน[20] กษัตริย์อีริค (ขวา) พบปะกับจักรพรรดิจอห์นที่ 8 พาลาโอโลกอส และซีกิสมุนท์ กษัตริย์แห่งเยอรมันในบูดอ

เมื่อขุนนางเดนมาร์กต่อต้านการปกครองของพระองค์ในเวลาต่อมา และปฏิเสธที่จะให้สัตยาบันรับรอง บอกึสเลาว์ที่ 9 ดยุกแห่งพอเมอเรเนีย ซึ่งเป็นตัวเลือกของกษัตริย์อีริคให้เป็นผู้สืบทอดราชบัลลังก์เดนมาร์ก กษัตริย์อีริคเสด็จออกจากเดนมาร์กเพื่อตอบโต้การกระทำนั้นและเสด็จไปประทับถาวรที่ปราสาทวิสบอร์กในเกาะเกิตลันด์ ซึ่งทำให้เกิดการโค่นพระองค์ออกจากราชบัลลังก์ด้วยการรัฐประหารจากสภาเดนมาร์กและสวีเดนในค.ศ. 1439[21] ใน ค.ศ. 1440 ผู้สืบบัลลังก์ต่อจากอดีตกษัตริย์อีริคคือ คริสโตเฟอร์แห่งบาวาเรีย พระนัดดาของพระองค์ซึ่งได้รับเลือกจากทั้งเดนมาร์กและสวีเดน ในตอนแรกสภาริคสรัดในนอร์เวย์ยังคงจงรักภักดีต่อพระองค์ และต้องการให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์นอร์เวย์ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1439 กษัตริย์อีริคพระราชทานยศ ดร็อทเซเต แก่ซิเกิร์ด จอนส์สัน โดยให้เขาปกครองนอร์เวย์ภายใต้พระปรมาภิไธยของพระองค์ แต่ด้วยกษัตริย์ทรงโดดเดี่ยวพระองค์เองอยู่ในเกิตลันด์ ขุนนางนอร์เวย์ก็รู้สึกเหมือนถูกบีบให้ปลดกษัตริย์อีริคจากการรัฐประหารเช่นกันในค.ศ. 1440 และพระองค์ถูกปลดอย่างเป็นทางการในค.ศ. 1442 เมื่อซิเกิร์ด จอนส์สันก้าวลงจากตำแหน่ง ดร็อทเซเต และคริสโตเฟอร์ได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์[22]

หลังการสวรรคตของกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ในค.ศ. 1448 กษัตริย์พระองค์ถัดไปเป็นพระญาติของอดีตกษัตริย์อีริค คือ คริสเตียนแห่งอ็อลเดินบวร์ค (โอรสในศัตรูของกษัตริย์อีริคช่วงต้นรัชกาล คือ ดีทริช เคานท์แห่งอ็อลเดินบวร์ค) ซึ่งได้สืบราชบัลลังก์เดนมาร์ก ในขณะที่คาร์ล คนุตสัน บอนเด ได้สืบราชบัลลังก์สวีเดน การแข่งขันระหว่างกษัตริย์คริสเตียนและกษัตริย์คาร์ลเพื่อแย่งชิงบัลลังก์นอร์เวย์จึงเกิดขึ้น ในค.ศ. 1450 กษัตริย์คาร์ลทรงถูกบังคับให้สละราชบัลลังก์นอร์เวย์แก่กษัตริย์คริสเตียน[23][24]

ดยุกแห่งพอเมอเรเนีย

แก้
 
พระบรมราชานุสาวรีย์กษัตริย์อีริค ณ ปราสาทดาร์โลโว

เป็นเวลากว่าสิบปีที่อดีตกษัตริย์อีริคประทับในเกาะเกิตลันด์และทรงสู้รบเพื่อต่อต้านสมาพันธ์การค้าในทะเลบอลติก ตั้งแต่ค.ศ. 1449 ถึง 1459 อดีตกษัตริย์อีริคสืบตำแหน่งต่อจากบอกึสเลาว์ที่ 9 ในฐานะดยุกแห่งพอเมอเรเนีย ปกครองพอเมอเรเนีย-รือเกินวัลเดอ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดัชชีพอเมอเรเนีย-สโต๊ร์ป (ภาษาโปแลนด์: Księstwo Słupskie)[25] ในฐานะ "อีริคที่ 1" พระองค์สวรรคตในค.ศ. 1459 ณ ปราสาทดาร์โลโว ดัชชีพอเมอเรเนีย และได้รับการฝังพระศพที่โบสถ์นักบุญแมรี ดาร์โลโว, ใน พอเมอเรเนีย[26]

พระอิสริยยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าอีริคที่ 7
 
ตราประจำพระอิสริยยศ
การทูลHans Majestæt
(ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับDeres Majestæt
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)

กษัตริย์อีริคทรงมีพระอิสริยยศเต็มว่า "พระมหากษัตริย์เดนมาร์ก, พระมหากษัตริย์สวีเดนและพระมหากษัตริย์นอร์เวย์, ชาวเวนด์และชาวกอท, ดยุกแห่งพอเมอเรเนีย"[27]

พงศาวลี

แก้
พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 4 แห่งเดนมาร์ก
บอกึสเลาว์ที่ 5 แห่งพอเมอเรเนียอิงเงอบอร์กแห่งเดนมาร์กสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก
บอกึสเลาว์ที่ 8 แห่งพอเมอเรเนียวาร์ทิสเลาว์ที่ 7 แห่งพอเมอเรเนียมาเรียแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเวรีน
บอกึสเลาว์ที่ 9 แห่งพอเมอเรเนียคาทารีนาแห่งพอเมอเรเนียอีริคแห่งพอเมอเรเนีย
คริสตอฟแห่งบาวาเรีย
(พระมหากษัตริย์เดนมาร์ก)

ขยายความ

แก้
  1. อ้างถึงอีริคแห่งพอเมอเรเนียในฐานะ "กษัตริย์อีริคที่ 13 แห่งสวีเดน"-เช่นเดียวกับอนุสาวรีย์ที่สร้างในศตวรรษที่ 18 ในเมืองลันด์สครูนาที่ระบุว่าเมืองนี้ก่อตั้งโดยกษัตริย์อีริคที่ 13 ในค.ศ. 1413 ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทีหลังและนับย้อนจากพระเจ้าอีริคที่ 14 แห่งสวีเดน (1560-68) ซึ่งทรงนับเลขพระนามรัชกาลของพระองค์ตามประวัติศาสตร์จากพงศาวดารสวีเดน ซึ่งไม่มีการทราบว่ามีพระมหากษัตริย์สวีเดนพระนามว่า "อีริค" จำนวนกี่พระองค์ก่อนหน้า (อย่างน้อยปรากฎอยู่ 6 พระองค์)
  2. Erik af Pommern ในภาษาเดนมาร์ก

อ้างอิง

แก้
  1. Dick Harrison in Kalmarunionen ISBN 978-91-7789-167-3 2020 p. 70
  2. Zdrenka, Joachim (1995). "Die Pilgerfahrten der pommerschen Herzöge ins Heilige Land in den Jahren 1392/1393 und 1406/1407". Baltische Studien. Marburg: Elwert. 81 (127): 10–11.
  3. The King Who Became a Pirate, Story by Anja Klemp Vilgaard · Illustrations by Darya Malikova · Edited by Shawna Kenney · 20 April 2020, narratively.com.
  4. "Erik av Pommern". Svenskt biografiskt lexikon. สืบค้นเมื่อ 1 June 2018.
  5. Lenore Lindström. "Erik Av Pommern". landskronahistoria. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-24. สืบค้นเมื่อ 1 June 2018.
  6. Hans Jacob Orning. "Kalmarunionen". University of Oslo. สืบค้นเมื่อ 1 June 2018.
  7. Terje Bratberg. "Filippa Av England". Norsk biografisk leksikon. สืบค้นเมื่อ 1 June 2018.
  8. "Cathrine, Prinsesse, var en Datter af Hertug Vartislavs VII af Pommern". Dansk biografisk Lexikon. สืบค้นเมื่อ 1 June 2018.
  9. Erik af Pommern ca. 1382–1459 (Danmarkshistorien)
  10. Higgins, Sofia Elizabeth (1885). Women of Europe in the fifteenth and sixteenth centuries. Hurst and Blackett. pp. 169–171.
  11. Lund, Hakon (1987). "Bind 1: Slotsholmen". ใน Bramsen, Bo (บ.ก.). København, før og nu - og aldrig (ภาษาเดนมาร์ก). Copenhagen: Palle Fogtdal. ISBN 87-7807720-6.
  12. Gyldendal og Politikens Danmarkshistorie, book 6, 1400–1500, by Troels Dahlerup
  13. Fratris Felicis Fabri Evagatorium in Terrae sanctae, Arabiae et Aegypti peregrinationem, Felix Fabri
  14. Mimmi Tegnér (2010). "Erik av Pommern 1382-1459". Kulturarv Malmö. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-17. สืบค้นเมื่อ 1 June 2018.
  15. 15.0 15.1 Bagge, Sverre (2014). Cross and Scepter: The Rise of the Scandinavian Kingdoms from the Vikings to the Reformation (ภาษาอังกฤษ). Princeton University Press. p. 279. ISBN 978-1-4008-5010-5.
  16. Nielsen, Heidi Maria Møller (2008). "Krogen: The Medieval Predecessor of Kronborg" (PDF). Château Gaillard: Études de castellologie médiévale. 23: 322. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-11-26. สืบค้นเมื่อ 2022-03-01.
  17. Aksel E. Christensen. "Øresund og øresundstold, et historisk rids" (PDF). Handels- og Søfartsmuseets årbog 1957; s. 22-40. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-02-28. สืบค้นเมื่อ 1 June 2018.
  18. "Engelbrekt Engelbrektsson". Nordisk familjebok. 1881. สืบค้นเมื่อ 1 June 2018.
  19. Magne Njåstad (9 June 2017). "Amund Sigurdsson Bolt". Norsk biografisk leksikon. สืบค้นเมื่อ 1 June 2018.
  20. Biography 2021 by Herman Lindqvist (Libris listing) pp. 11-12
  21. "Bogislaw IX". ruegenwalde.com. สืบค้นเมื่อ 1 June 2018.
  22. Erik Opsahl. "Sigurd Jonsson". Norsk biografisk leksikon. สืบค้นเมื่อ 1 June 2018.
  23. Flemberg, Marie-Louise (2014). Filippa: engelsk prinsessa och nordisk unionsdrottning (ภาษาสวีเดน). Stockholm: Santérus. pp. 341 & 434. ISBN 978-91-7359-072-3. SELIBR 14835548.
  24. Carl Frederik Bricka. "Christian (Christiern) I, 1426-81, Konge". Dansk biografisk Lexikon. สืบค้นเมื่อ 1 June 2018.
  25. The Encyclopedia Americana. Grolier Inc. 1999.
  26. Erik 7. af Pommern (Danmarks historie)
  27. Diplomatarium Norvegicum

แหล่งข้อมูล

แก้
  • Albrectsen, Esben (1997) Fællesskabet bliver til : 1380–1536 (Oslo : Universitetsforl.) ISBN 82-00-22790-1
  • Christensen, Aksel E. (1908) Kalmarunionen og nordisk politik 1319–1439 (Oslo: Gyldendal) ISBN 87-00-51833-6
  • Haug, Eldbjørg (2000), Margrete – den siste dronning i Sverreætten (Oslo: Cappelen) ISBN 82-02-17642-5
  • Haug, Eldbjørg (2006) Provincia Nidrosiensis i dronning Margretes unions- og maktpolitikk (Trondheim : Institutt for historie og klassiske fag) ISBN 9788277650470
  • Larsson, Lars-Olof (2003) Kalmarunionens tid (Stockholm: Prisma) ISBN 91-518-4217-3


ก่อนหน้า พระเจ้าอีริคที่ 7 แห่งเดนมาร์ก ถัดไป
มาร์เกรเธอที่ 1    
พระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์
ร่วมกับ
มาร์เกรเธอที่ 1
(1389-1412)

(ค.ศ. 1389 - ค.ศ. 1442)
  คริสตอฟเฟอร์ที่ 3
มาร์เกรเธอที่ 1    
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก
ร่วมกับ
มาร์เกรเธอที่ 1
(1396-1412)

(ค.ศ. 1396 - ค.ศ. 1439)
  คริสตอฟเฟอร์ที่ 3
มาร์เกรเธอที่ 1    
พระมหากษัตริย์แห่งสวีเดน
ร่วมกับ
มาร์เกรเธอที่ 1
(1396-1412)

(ค.ศ. 1396 - ค.ศ. 1434)
  ว่าง
ว่าง    
พระมหากษัตริย์แห่งสวีเดน
(ค.ศ. 1435 - ค.ศ. 1436)
  ว่าง
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
คาร์ล คนุตสัน บอนเดอ
ว่าง
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
คาร์ล คนุตสัน บอนเดอ
   
พระมหากษัตริย์แห่งสวีเดน
(ค.ศ. 1436 - ค.ศ. 1439)
  ว่าง
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
คาร์ล คนุตสัน บอนเดอ
ตำแหน่งถัดไป
คริสตอฟเฟอร์
บอกึสเลาว์ที่ 9    
ดยุกแห่งพอเมอเรเนีย-สโต๊ร์ป
(ค.ศ. 1446 - ค.ศ. 1459)
  อีริคที่ 2