จักรพรรดินีจิโต
จักรพรรดินีจิโต(持統天皇 จิโต-เทนโน, พ.ศ. 1188 - 13 มกราคม พ.ศ. 1246) เป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถแห่งญี่ปุ่นพระองค์ที่ 41[1] อันเนื่องมาจากการสืบราชสันตติวงศ์ตามโบราณราชประเพณี[2] จักรพรรดินีจิโตครองราชย์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1229 จนกระทั่งพ.ศ. 1240 เป็นระยะเวลา 11 ปี[3]
จักรพรรดินีจิโต | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระบรมสาทิสลักษณ์จักรพรรดินีจิโต | |||||
จักรพรรดินีนาถแห่งญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 1229 - 22 สิงหาคม พ.ศ. 1240 | ||||
รัชสมัย | 11 ปี | ||||
ราชาภิเษก | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1233 | ||||
ก่อนหน้า | จักรพรรดิเท็มมุ | ||||
ถัดไป | จักรพรรดิมมมุ | ||||
จักรพรรดินีญี่ปุ่น | |||||
ดำรงพระยศ | 673–686 | ||||
พระราชสมภพ | พ.ศ. 1188 อุโน-โนะ-ซะระระ (鸕野讚良) | ||||
สวรรคต | 13 มกราคม พ.ศ. 1246 (58 พรรษา) | ||||
คู่อภิเษก | จักรพรรดิเท็มมุ | ||||
พระราชบุตร | เจ้าชายคุซะคะเบะ | ||||
| |||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิเท็นจิ | ||||
พระราชมารดา | โซงะ โนะ โอจิ-โนะ-อิระสึเมะ |
ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น จักรพรรดินีจิโตเป็นสตรีองค์ที่สามในแปดพระองค์ที่มีบทบาทในฐานะสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถ จักรพรรดินีนาถ 2 พระองค์ก่อนรัชสมัยของพระนางคือ จักรพรรดินีซุอิโกะและจักรพรรดินีโคเงียวกุหรืออีกพระนามหนึ่งคือ จักรพรรดินีเซอิเม จักรพรรดินีนาถอีก 5 พระองค์หลังรัชสมัยของพระนางได้แก่ จักรพรรดินีเก็มเม, จักรพรรดินีเก็นโช, จักรพรรดินีโคเก็งหรืออีกพระนามหนึ่งคือ จักรพรรดินีโชโตะกุ, จักรพรรดินีเมโช และจักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิ
เรื่องราชประเพณี
แก้จักรพรรดินีจิโตเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระจักรพรรดิเท็นจิ พระราชมารดาของพระนางคือ โซงะ โนะ โอจิ-โนะ-อิระสึเมะ ซึ่งเป็นธิดาของขุนนางที่มีชื่อว่า โอโอมิ โซงะ โนะ ยะมะดะ-โนะ อิชิกะวะ มาโระ พระนางเป็นพระมเหสีในสมเด็จพระจักรพรรดิเท็มมุ ผู้เป็นพระอนุชาในจักรพรรดิเท็นจิ พระบิดาของพระนาง หรือในทางเดียวกัน พระนางอภิเษกสมรสกับพระปิตุลาแท้ๆและทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระสวามี[4]
พระนามเดิมของจักรพรรดินีจิโตคือ เจ้าหญิงอุโน-โนะ-ซะระระ หรือ อุโน-โนะ-ซะซะระ(鸕野讚良) หรือ เจ้าหญิงอุโนะ[5]
เหตุการณ์ในรัชสมัยของจักรพรรดินีจิโต
แก้จักรพรรดินีจิโตต้องรับผิดชอบในการบริหารราชกิจทั้งหมดหลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิเท็มมุ พระสวามี และมีศักดิ์เป็นพระปิตุลาของพระนางด้วย พระนางครองราชบัลลังก์ในปีพ.ศ. 1230 เพื่อที่จะแน่นอนพระทัยในสิทธิการสืบราชสมบัติของเจ้าชายคุซะคะเบะ พระโอรส ตลอดรัชสมัยนี้ จักรพรรดินีจิโตว่าราชการจากพระราชวังฟุจิวะระในยะมะโตะ[4]
เจ้าชายคุซะคะเบะได้รับการสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมารเพื่อครองราชบัลลังก์สืบต่อจากจักรพรรดินีจิโต แต่เจ้าชายกลับสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชนมายุ 28 พรรษา เจ้าชายคะรุ-โนะ-โอะ พระโอรสของเจ้าชายคุซะคะเบะได้รับการสถาปนาให้เป็นรัชทายาทสืบต่อจากจักรพรรดินีจิโต ผู้เป็นพระอัยยิกา และต่อมาเจ้าชายครองราชสมบัติเป็น สมเด็จพระจักรพรรดิมงมุ[4]
จักรพรรดินีจิโตครองราชย์เป็นระยะเวลา 11 ปี ถึงแม้ว่ามีจักรพรรดินีนาถพระองค์อื่น 7 พระองค์ รัชทายาทของแต่ละพระองค์มักเลือกจากสายสันตติวงศ์ที่เป็นบุรุษ ที่ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงจากนักปราชญ์สายอนุรักษนิยมเกี่ยวกับสิทธิของสตรีในการสืบราชสันตติวงศ์ และที่ซึ่งประเพณีในการสืบสันตติวงศ์ต้องเป็นบุรุษเท่านั้นยังคงมีการรักษาไว้ดังเดิมในศตวรรษที่ 21[6] จักรพรรดินีเก็มเม ผู้ซึ่งทรงให้พระราชธิดาครองราชสมบัติสืบต่อในพระนามว่า จักรพรรดินีเก็นโช ยังคงเป็นที่ยกเว้นจากการถกเถียงเรื่องสิทธิของสตรีนี้
ในปีพ.ศ. 1240 จักรพรรดินีจิโตสละราชสมบัติแก่เจ้าชายคะรุ-โนะ-โอะ พระนัดดาองค์โปรด ให้ครองราชย์เป็น สมเด็จพระจักรพรรดิมมมุ และพระนางดำรงพระยศไดโจเท็นโน (มหาจักรพรรดิ) มีพระราชอำนาจในราชสำนักเหนือองค์จักรพรรดิ หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ จักรพรรดิพระองค์ต่อ ๆ มาทรงกระทำเช่นเดียวกับพระนาง และดำรงพระอิศริยยศนี้หลังสละราชบัลลังก์[4]
ปัจจุบันสถานที่ฝังพระบรมศพของจักรพรรดินีจิโตเป็นที่รู้จัก[1] พระนางทรงได้รับการเคารพตามโบราณราชประเพณีที่ศาลเจ้าชินโตในเมืองนะระ
สำนักพระราชวังอิมพีเรียลได้จดทะเบียนสถานที่ฝังพระบรมศพของจักรพรรดินีนาถจิโต และได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า โอะจิ-โนะ-โอะกะโนะเอะ โนะ มิซะซะกิ[7]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Imperial Household Agency (Kunaichō): 持統天皇 (41)
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 54.
- ↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, p. 59., p. 59, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Varley, H. Paul. Jinnō Shōtōki, p. 137.
- ↑ Brown, D. (1979). Gukanshō, p. 270.
- ↑ "Life in the Cloudy Imperial Fishbowl, " Japan Times. March 27, 2007.
- ↑ Ponsonby-Fane, p. 420.
- Aston, William George. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. London: Kegan Paul, Trench, Trubner. OCLC 448337491
- Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. 10-ISBN 0-520-03460-0; 13-ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
- MacCauley, Clay. (1900). "Hyakunin-Isshu: Single Songs of a Hundred Poets" in Transactions of the Asia Society of Japan. Tokyo: Asia Society of Japan. ...Click link for digitized, full-text copy (in English)
- __________. (1901). Kokka taikan. Tokyo: Teikoku Toshokan, Meiji 30–34 [1897–1901]. [reprinted Shinten kokka taikan (新編国歌大観), 10 vols. + 10 index vols., Kadokawa Shoten, Tokyo, 1983–1992. 10-ISBN 4-04-020142-6; 13-ISBN 978-4-04-020142-9]
- Nippon Gakujutsu Shinkōkai. (1940). Man'yōshū. Tokyo: Iwanami shoten. [reprinted by Columbia University Press, New York, 1965. 10-ISBN 0-231-08620-2]. Rprinted by Dover Publications, New York, 2005. 10-ISBN 0-486-43959-3; 13-ISBN 978-0-486-43959-4
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Odai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
- Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. 10-ISBN 0-231-04940-4; 13-ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842
ก่อนหน้า | จักรพรรดินีจิโต | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระจักรพรรดิเทงมุ | สมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่น (พ.ศ. 1229 - พ.ศ. 1240) |
สมเด็จพระจักรพรรดิมงมุ |