จักรพรรดิมมมุ
จักรพรรดิมมมุ (ญี่ปุ่น: 文武天皇; โรมาจิ: Monmu-tennō) เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 42 แห่ง ราชวงศ์ญี่ปุ่น[1] อ้างอิงจากการสืบราชสันตติวงศ์ตามประเพณี[2]
จักรพรรดิมมมุ | |
---|---|
![]() | |
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |
22 สิงหาคม ค.ศ. 697 - 18 กรกฎาคม ค.ศ. 707 (9 ปี 330 วัน) | |
พิธีราชาภิเษก | 23 กันยายน ค.ศ. 697 |
รัชกาลก่อนหน้า | จิโต |
รัชกาลถัดไป | เก็มเม |
พระราชสมภพ | ค.ศ. 683 |
พระบรมนามาภิไธย | เจ้าชายคะรุ |
พระอิสริยยศ | จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น |
สวรรคต | 18 กรกฎาคม ค.ศ. 707 |
พระราชบิดา | จักรพรรดิเท็มมุ |
พระราชมารดา | จักรพรรดินีเก็มเม |
จักรพรรดิมมมุครองสิริราชสมบัติทอดยาวจากปี ค.ศ. 697 - ค.ศ. 707[3]
พระราชประวัติแก้ไข
ก่อนจะขึ้นสืบ ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ จักรพรรดิมมุมีพระนามเดิมว่า เจ้าชายคะรุ (ญี่ปุ่น: 珂瑠親王; โรมาจิ: Karu-shinnō)
พระองค์เป็นพระราชนัดดาใน จักรพรรดิเท็มมุ และ จักรพรรดินีจิโต โดยพระองค์เป็นพระโอรสองค์ที่ 2 ใน เจ้าชายคุซะกะเบะ พระราชโอรสในจักรพรรดิเท็มมุและจักรพรรดินีจิโตขณะที่พระมารดาได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์เป็น จักรพรรดินีเก็มเม[4]
เหตุการณ์ในพระชนมชีพของจักรพรรดิมมมุแก้ไข
เจ้าชายคะรุขณะพระชนมายุเพียง 6 พรรษาพระบิดาคือ เจ้าชายรัชทายาทคุซะกะเบะ ก็สิ้นพระชนม์
- 22 สิงหาคม พ.ศ. 1240 (วันที่ 1 เดือน 8 ปีมมมุ): ในปีที่ 10 ของรัชสมัยจักรพรรดินีจิโต (持統天皇十年) จักรพรรดินีสละราชบัลลังก์ และได้รับการสืบทอดตำแหน่งโดยพระราชนัดดาของ จักรพรรดิเท็มมุ หลังจากนั้นไม่นาน จักรพรรดิมมมุได้ขึ้นเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ[5]
จักรพรรดิมมมุปกครองจนเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1250 เมื่อถึงจุดนั้นพระองค์ก็ถูกสืบทอดตำแหน่งโดยพระราชมารดาของพระองค์ จักรพรรดินีเก็มเม
รัชสมัยของจักรพรรดิมมมุอยู่ได้ 10 ปี พระองค์สวรรคตเมื่อพระชนมายุ 25 พรรษา[6]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Imperial Household Agency (Kunaichō): 文武天皇 (42); retrieved 2013-8-22.
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 55.
- ↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 60–63, p. 63, ที่ Google BooksBrown, Delmer M. (1979). Gukanshō, pp. 270–271; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki. pp. 137–140.
- ↑ Varley, p. 138.
- ↑ Titsingh, p. 60; Brown, p. 270; Varley, pp. 44, 137–138; a distinct act of senso is unrecognized prior to Emperor Tenji; and all sovereigns except Jitō, Yōzei, Go-Toba, and Fishimi have senso and sokui in the same year until the reign of Emperor Go-Murakami.
- ↑ Varley, p. 140.