ไดโจเท็นโน
บทความนี้เกี่ยวกับพระอิสริยยศ สำหรับจักรพรรดิที่ดำรงตำแหน่งนี้อยู่ ดูที่ สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ
ไดโจเท็นโน (ญี่ปุ่น: 太上天皇, Daijō Tennō แปลตรงตัวว่า "มหาจักรพรรดิ")[1] หรือเรียกโดยย่อว่า โจโก (ญี่ปุ่น: 上皇, Jōkō)[2] เป็นพระอิสริยยศของจักรพรรดิญี่ปุ่นที่สละราชสมบัติ

จักรพรรดิโคกากุ จักรพรรดิพระองค์หนึ่งที่มีพระอิสริยยศเป็นไดโจเท็นโน
ตามประมวลกฎหมายไทโฮ ไดโจเท็นโนยังสามารถใช้พระราชอำนาจบางประการของกษัตริย์ได้ การใช้อำนาจเช่นนี้ปรากฏครั้งแรกในสมัยจักรพรรดินีจิโตเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7
ไดโจเท็นโนที่ผนวชจะได้รับสมัญญาว่า ไดโจโฮโอ (มหาธรรมราชา) การออกผนวชดังกล่าวประพฤติกันมากในยุคเฮอัง
ทั้งนี้ สำนักพระราชวังญี่ปุ่นกำหนดคำแปลภาษาอังกฤษของ โจโก ว่า "Emperor Emeritus"[3]
ดูเพิ่มแก้ไข
- พระเจ้าหลวง - สมัญญาทำนองเดียวกันของไทย
- ไท่ช่างหฺวัง (太上皇) - สมัญญาทำนองเดียวกันของจีน
- แทซังวัง (태상왕) - สมัญญาทำนองเดียวกันของเกาหลี
- ท้ายเทืองฮว่าง (Thái thượng hoàng) - สมัญญาทำนองเดียวกันของเวียดนาม
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ทิพย์เทียมพงษ์, โฆษิต (2017-11-27). "สะดุดคำ สถานะของ "จักรพรรดิญี่ปุ่น" หลังสละราชสมบัติ กับหลากประเด็นที่ต้องคิด". ญี่ปุ่นมุมลึก. Bangkok: ผู้จัดการ. สืบค้นเมื่อ 2019-05-01.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-25. สืบค้นเมื่อ 2019-04-30.
- ↑ "Emperor Akihito to Be Called Emperor Emeritus after Abdication". nippon.com. 25 February 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-21. สืบค้นเมื่อ 30 April 2019.