สมเด็จพระราชินีนาถยัดวีกาแห่งโปแลนด์

สมเด็จพระราชินีนาถแห่งโปแลนด์ (ครองราชย์ ค.ศ. 1384–1399)

สมเด็จพระราชินีนาถยัดวีกาแห่งโปแลนด์ (โปแลนด์: Jadwiga, ออกเสียง: [jadˈviɡa] ( ฟังเสียง); 3 ตุลาคม ค.ศ. 1373 - 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1399) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรโปแลนด์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1384 จวบจนสวรรคต พระองค์เป็นพระราชธิดาองค์สุดท้องในพระเจ้าลุดวิกที่ 1 แห่งฮังการีกับอลิซาเบธ สมเด็จพระราชินีแห่งฮังการีและโปแลนด์[2]พระองค์ทรงเป็นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์กาเปเซียงสายอ็องฌู แต่ก็ทรงสืบเชื้อสายราชวงศ์เปียสต์ของโปแลนด์ด้วยเช่นกัน พระองค์ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นนักบุญโดยศาสนจักรโรมันคาทอลิกในปี ค.ศ. 1997

ยัดวีกา
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งโปแลนด์[nb 1]
ครองราชย์16 ตุลาคม ค.ศ. 1384 – 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1399
ราชาภิเษก16 ตุลาคม ค.ศ. 1384
อาสนวิหารวาแวล กรากุฟ
ก่อนหน้าพระเจ้าลุดวิกที่ 1
ถัดไปพระเจ้าววาดึสวัฟที่ 2 ยากีแยววอ
พระราชสมภพระหว่างวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1373 และ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1374[1]
บูดอ ฮังการี
สวรรคต17 กรกฎาคม ค.ศ. 1399 (พระชนมมายุ 25 พรรษา)
กรากุฟ โปแลนด์
พระราชสวามีพระเจ้าววาดึสวัฟที่ 2 ยากีแยววอ
พระราชบุตรเจ้าหญิงอลิซาเบท โบนิฟาเซีย
ราชวงศ์อ็องฌู
พระราชบิดาพระเจ้าลุดวิกที่ 1 แห่งฮังการี
พระราชมารดาเอลิซาเบธแห่งบอสเนีย
ศาสนาโรมันคาทอลิก

พระองค์เคยถูกวางแผนให้อภิเษกสมรสกับวิลเฮล์มแห่งออสเตรีย บุตรของเลโอพ็อลท์ที่ 3 ดยุกแห่งออสเตรีย ในปี ค.ศ. 1375 และพระองค์ก็ถูกส่งตัวไปอยู่ที่เวียนนาระหว่าง ค.ศ. 1378-1380 ซึ่งภายในฮังการี พระองค์และวิลเฮล์มต่างก็ถูกมองว่าเป็นผู้สืบทอดบัลลังก์ที่พระราชบิดาพอพระทัย หลังจากที่พระเชษฐภคินีแคทเธอรีนแห่งฮังการี สิ้นพระชนม์ลงใน ค.ศ. 1379 ในปีเดียวกันนั้นเอง ขุนนางชาวโปแลนด์ก็ได้กระทำการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระราชธิดาพระองค์ที่สองของพระเจ้าลุดวิก เจ้าหญิงแมรี่ และพระคู่หมั้น เจ้าชายซีกิสมุนท์แห่งลักเซมเบิร์ก ต่อมา เมื่อพระเจ้าลุดวิกเสด็จสวรรคต เจ้าหญิงแมรี่ก็ถูกสถาปนาขึ้นเป็น "กษัตริย์แห่งฮังการี" ตามคำเรียกร้องของพระราชมารดาในปี ค.ศ. 1382 เจ้าชายซีกิสมุนท์พยายามยึดโปแลนด์ แต่พวกขุนนางโปแลนด์ตอบโต้โดยบอกว่า พวกตนจะสวามิภักดิ์กับพระราชธิดาของพระเจ้าลุดวิกเท่านั้น หากพระนางจะมาประทับในราชอาณาจักร พระนางเอลิซาเบธแห่งบอสเนีย พระราชมารดา จึงเสนอพระนามพระองค์ให้ขึ้นครองราชบัลลังก์โปแลนด์ แต่จะยังไม่ส่งพระองค์ไปทำพิธีราชาภิเษกที่นครกรากุฟ ซึ่งในระหว่างช่วงผลัดเปลี่ยนรัชกาล เซียโมวิตที่ 4 ดยุกแห่งมาโซเวีย ก็ถูกเสนอชื่อขึ้นให้ขึ้นครองราชบัลลังก์ โดยขุนนางแคว้นโปแลนด์ใหญ่ซึ่งสนับสนุนเขา เสนอให้เขาอภิเษกสมรสกับพระองค์ แต่ทว่าพวกขุนนางแคว้นโปแลนด์น้อย ก็คัดค้านการสถาปนานี้ และโน้มน้าวขอให้พระนางเอลิซาเบธส่งพระองค์มาที่โปแลนด์โดยไว

พระองค์ทรงได้รับการราชาภิเษกขึ้นเป็น "กษัตริย์" ในนครกรากุฟ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ 1384 ขณะมีพระชนมมายุ 10-11 พรรษา โดยพิธีครั้งนี้อาจะเป็นการสะท้อนเสียงคัดค้านของเหล่าขุนนางโปแลนด์ที่มีต่อพระราชสวามีในอนาคต วิลเฮล์ม ซึ่งอยากจะเป็นกษัตริย์ร่วมกับพระนางโดยสิทธิ์แห่งการสมรส หรือมันอาจจะเป็นแค่การรับรองสถานะของพระองค์ในฐานะสมเด็จพระราชินีนาถ

หลังจากที่ได้รับการยินยอมจากพระราชมารดา เหล่าที่ปรึกษาชาวโปแลนด์ของพระองค์ก็เริ่มทำการเจรจากับยอกายลา แกรนด์ดยุกแห่งลิทัวเนียซึ่งในขณะนั้นยังเป็นพวกเพแกน ว่าด้วยเรื่องการอภิเษกสมรสกับพระนางยัดวีกา โดยแกรนด์ดยุกยอกายลาก็ลงนามในพระราชบัญญัติสหภาพเครโว ทรงสัญญาว่าจะเข้ารีตเป็นโรมันคาทอลิกและสนับสนุนให้ราษฎร์ของพระองค์เข้ารีตตาม แต่ทว่าวิลเฮล์ม ก็รีบรุดหน้ามาที่กรากุฟ เรียกร้องที่จะพบกับพระองค์ ตามสัญญาหมั่นที่จัดแจงไว้ แต่พวกขุนนางโปแลนด์ก็ทำการขับไล่เขาออกไปในช่วงปลายเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1385 แกรนด์ดยุกยอกายลา ซึ่งได้รับศีลล้างปาปพร้อมกับพระนามใหม่ว่า ววาดึสวัฟ (Władysław) เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับพระองค์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1386 โดยในตำนานพื้นบ้านระบุว่า พระองค์ยินยอมอภิเษกสมรสด้วย หลังจากที่สวดภาวนาอยู่นาน เพื่อรอการดลใจจากพระผู้เป็นเจ้า

แกรนด์ดยุกววาดึสวัฟ-ยอกายลา ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งโปแลนด์ในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1386 ในฐานะผู้ปกครองร่วมกับพระนางยัดวีกา โดยพระองค์และพระราชสวามีก็ปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยกันอย่างใกล้ชิด และหลังจากที่พวกขุนนางทำการก่อกบฏและทำการจองจำพระราชมารดาและพระเชษฐภคินี พระองค์ก็นำกองทัพบุกเข้าแคว้นรูเธเนีย ที่ในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของฮังการี และโน้มน้าวให้ราษฎร์ในแคว้นนั้นหันมาสวามิภักดิ์กับโปแลนด์แทน ซึ่งก็ทำได้อย่างไม่ยากเย็น

พระองค์ยังทำหน้าที่เป็นผู้เจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างพระประยูรญาติของพระราชสวามี และไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทระหว่างโปแลนด์กับอัศวินทิวทอนิก หลังจากที่พระเชษฐภัคนี แมรี่ สวรรคตลงใน ค.ศ. 1395 พระองค์และพระเจ้าววาดึสวัฟ-ยอกายลาก็ทำการอ้างสิทธิ์เหนือฮังการี ที่พระเทวัน (พี่เขย) คือ พระเจ้าซีกิสมุนท์ครองอยู่ แต่เหล่าขุนนางฮังการีไม่สนับสนุนการอ้างสิทธิ์ของพระองค์

ช่วงทรงพระเยาว์ (ค.ศ. 1373 หรือ 1374–82) แก้

การเจรจาเพื่อขึ้นครองราชย์ (ค.ศ. 1382–84) แก้

การครองราชย์ แก้

พิธีราชาภิเษก (ค.ศ. 1384) แก้

การปฏิเสธการหมั่นกับวิลเฮล์ม (ค.ศ. 1385) แก้

อภิเษกสมรสกับแกรนด์ดยุกยอกายลา (ค.ศ. 1385–92) แก้

ความบาดหมางกับพระเจ้าซีกิสมุนท์ (ค.ศ. 1392–95) แก้

กรณีพิพาทกับอัศวินทิวทัน (ค.ศ. 1395–99) แก้

ทรงพระครรภ์และสวรรคต (ค.ศ. 1399) แก้

พระองค์ทรงไร้พระราชบุตร ทั้งที่ทรงอภิเษกสมรสมานานแล้ว ซึ่งตามพงศวดารฝ่ายอัศวินทิวทัน กล่าวไว้ว่านี้ทำให้พระองค์กับพระราชสวามีทะเลาะกัน พระองค์ทรงมีพระครรภ์ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1388 หรือ ต้นปี ค.ศ. 1399 พระเจ้าซีกิสมุนท์เสด็จมายังกรุงกรากุฟเพื่อหารือเกี่ยวกับการช่วยป้องกันวัลลาเซีย จากพวกออตโตมัน แกรนด์ดยุกไวทาวทัสแห่งลิทัวเนีย ทรงตัดสินใจบุกตีมูร์ ผู้ทำลายโกลเดนฮอร์ด เพื่อเสริมสร้างอิทธิพลของลิทัวเนียในดินแดนราชรัฐรัสเซีย ตามที่พงศวดารของยัน ดิกิร์ซ (Jan Długosz) ได้บันทึกไว้ว่า พระองค์ได้เตือนเหล่าขุนนางโปแลนด์ว่าอย่าสนับสนุนการทัพของแกรนด์ดยุกไวทาวทัส เพราะว่ามันจะจบลงด้วยความล้มเหลว นักประวัติศาสตร์ อ็อสคาร์ เฮเลกี ได้กล่าวว่า จากหลักฐานต่างๆ ที่แสดงถึงอัศวินโปแลนด์จำนวนมากในกองทัพลิทัวเนีย ทำให้สามารถปักใจเชื่อได้ว่าข้อความของดิกิร์ซไม่เป็นความจริง

เมื่อข่าวการทรงพระครรภ์เป็นที่ล่วงรู้ ไวทาวทัส แกรนด์ดยุกแห่งลิทัวเนีย พระราชภาดา (ลูกพี่ลูกน้อง) ในพระเจ้าพระเจ้าววาดึสวัฟ-ยอกายลา จึงทรงส่งของกำนัลราคาแพงมาถวาย หนึ่งในนั้นมีพระอู่ลงเงินรวมอยู่ด้วย โดยถือว่าของกำนัลนี้เป็นของแทนพระองค์และพระมเหสีแอนนา ในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1399 พระองค์ก็มีประสูติกาลพระราชธิดา เอลิซาเบธ โบนิฟาเซีย แต่ทว่าพระราชธิดาก็สิ้นในวันที่ 13 กรกฎาคม ปีเดียวกันนั้นเอง สตานิสลาฟแห่งสการ์บิเมียร์ซ นักพงศวดาร บันทึกไว้ว่า เขาหวังว่าพระองค์จะปลอดภัย โดยพรรณนาถึงพระองค์ว่าทรงเป็นพระแม่ของคนจน คนอ่อนแอและคนเจ็บแห่งโปแลนด์ แต่ทว่าอาการของพระนางก็ทรุดหนักและใกล้สวรรคต พระองค์จึงเสนอว่า หากพระองค์สวรรคตแล้ว พระราชสวามีก็จงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแอนนาแห่งชิลลี พระราชนัดดาของพระเจ้ากาซีเมียร์แยซที่ 3 มหาราช กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ปิอาสต์ เพื่อสร้างความชอบธรรมในราชบัลลังก์ของพระองค์ต่อไป

พระนางสวรรคตลงเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม สิริพระชนมายุ 25 พรรษา โดยพระนางกับพระราชธิดาได้รับการฝังพระบรมศพร่วมกันที่อาสนวิหารวาแวล ในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1399

พงศาวลี แก้

สิ่งสืบทอด แก้

ความสำเร็จ แก้

บทบาทที่สำคัญขององค์ร่วมกับพระราชสวามีมักจะเป็นในเรื่องวัฒนธรรมและกิจกรรมการกุศล โดยพระนางอุปถัมป์นักเขียนและศิลปิน บริจาคเงินส่วนพระองค์เพื่อการกุศลโดยเฉพาะการสร้างโรงพยาบาล พระองค์ทรงออกเงินเป็นทุนการศึกษาให้ชาวลิทัวเนียยี่สิบคนไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยคาร์ลแห่งกรุงปราก เพื่อช่วยให้ชาวลิทัวเนียเข้าใจในหลักธรรมของคริสต์ศาสนามากยิ่งขึ้นและพระองค์ก็ทรงเป็นผู้ก่อตั้งสังฆมณฑลบิชอปแห่งวิลนีอัส พระราชกรณียกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพระองค์ก็คือการบูรณะวิทยาลัยกรากุฟ ซึ่งต่อมาใน ค.ศ. 1817 ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยยากีลลันเนียน เพื่อเป็นเกียรติแด่พระองค์กับพระราชสวามี

การสถาปนาเป็นนักบุญ แก้

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย แก้

ภาพยนตร์ แก้

เกมคอมพิวเตอร์ แก้

พระองค์ทรงเป็นผู้นำอารยธรรมโปแลนด์ในเกมวางแผน ซิวิไลเซชัน VI ซึ่งมีความสามารถพิเศษในด้านการศาสนาและการขยายดินแดน

หมายเหตุ แก้

  1. พระนางทรงได้รับการสวมมงกุฎเป็นกษัตริย์เยื่ยงบุรุษ ทรงใช้พระราชอิสริยยศว่า Hedvig Rex Poloniæ มิใช่ Hedvig Regina Poloniæ. กฎมนเทียรบาลโปแลนด์มิได้มีกฎเกี่ยวกับผู้ปกครองที่เป็นสตรี (สมเด็จพระราชินีนาถ) แต่ก็มิได้เจาะจงว่าผู้ปกครองจำต้องเป็นบุรุษ การใช้ตำแหน่งอย่างบุรุษยังเป็นการตอกยํ้าว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์โดยสิทธิ์ของพระองค์เอง มิใช่โดยการอภิเษกสมรส

อ้างอิง แก้

  1. Sroka, S. A. Genealogia Andegawenów, Kraków
  2. Norman Davies (2005). "Jadwiga (chapter Jogalia)". God's Playground: A History of Poland in Two Volumes, Volume 1. Oxford University Press. pp. 94–96. ISBN 0-19-925339-0. สืบค้นเมื่อ April 10, 2012.
ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีนาถยัดวีกาแห่งโปแลนด์ ถัดไป
พระเจ้าลุดวิกที่ 1    
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งโปแลนด์
(16 ตุลาคม ค.ศ. 1384 – 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1399)
  พระเจ้าววาดึสวัฟที่ 2 ยากีแยววอ