การเลือกตั้งในประเทศไทย

การเลือกตั้งในประเทศไทย เป็นกระบวนการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อให้ได้มาซึ่งบุคคลเข้าไปทำหน้าที่ในการปกครองประเทศไทยทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น ในระดับชาติมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) และอาจรวมถึงสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)ในรัฐธรรมนูญบางฉบับ ปัจจุบันสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนโดยใช้ระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุดและระบบบัญชีรายชื่อ แต่การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาถูกยกเลิกไปตามรัฐธรรมนูญปี 2560 แล้ว ส่วนตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นนั้น ได้แก่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกเมืองพัทยา นายกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และสภา

ประชาชนต่อแถวรอออกเสียงเลือกตั้ง

กฎหมายที่กำหนดการเลือกตั้งในประเทศไทย มีทั้งรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชกฤษฎีกาและระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในอดีตการจัดการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย ก่อนจะเปลี่ยนให้มาเป็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งในรัฐธรรมนูญปี 2538[1]

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

แก้

การเลือกตั้ง จัดขึ้นภายใต้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป (universal suffrage) ตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 อย่างไรก็ตาม มีข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอยู่บางประการ

  • มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด หรือแปลงสัญชาติเป็นไทยมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
  • มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง

ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม คือ ต้องไม่เป็นพระสงฆ์ สามเณร นักพรตหรือนักบวช, ต้องไม่อยู่ในระหว่างเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง, ต้องไม่ถูกคุมขังด้วยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย, ต้องไม่เป็นคนสติฟั่นเฟือน[2]

การเลือกตั้งทั่วไป

แก้

ระบบการเลือกตั้ง

แก้
 
จำนวนเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด (สำหรับการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2557) มีจำนวนเขตเลือกตั้งดังต่อไปนี้ (ข้อมูล ณ สิ้นปี พ.ศ. 2556) [3] [4]

ในระบบบัญชีรายชื่อ จะมีการคัดเลือกด้วยขั้นตอนดังนี้[5]

  1. ให้แต่ละพรรค ส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครจำนวนไม่เกิน 150 คน
    1. บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องประกอบด้วยรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งจากภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม และต้องคำนึงถึงโอกาส สัดส่วนที่เหมาะสมและความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย
    2. รายชื่อในบัญชีต้องไม่ซ้ำกับบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองอื่นจัดทำขึ้น และไม่ซ้ำกับรายชื่อของผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
    3. จัดทำรายชื่อเรียงตามลำดับหมายเลข (จาก 1 ลงไป)
  2. หลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง ให้นับคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อของทุกพรรคการเมืองรวมกันทั้งประเทศ แล้วหารด้วย 125 จะได้คะแนนเฉลี่ยต่อผู้แทน 1 คน
  3. นำคะแนนของแต่ละพรรคการเมือง หารด้วยคะแนนเฉลี่ยที่คำนวณไว้ จะได้จำนวนผู้แทนระบบบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น
    1. เศษทศนิยม ให้ปัดทิ้งทั้งหมด แต่ให้เก็บข้อมูลเศษทศนิยมของแต่ละพรรคไว้ (เช่น พรรค ก ได้ 52.7 คน ปัดทิ้งเหลือ 52)
    2. รวมจำนวนผู้แทนของทุกพรรค หากยังได้ไม่ครบ 125 ให้กลับไปดูที่เศษทศนิยมของแต่ละพรรค พรรคใดที่มีเศษเหลือมากที่สุด ให้เพิ่มจำนวนผู้แทนจากพรรคนั้น 1 คน หากยังไม่ครบ ให้เพิ่มผู้แทนจากพรรคที่มีเศษเหลือมากเป็นอันดับสองขึ้นอีก 1 คน ทำเช่นนี้ตามลำดับจนกว่าจะได้ครบ 125 คน (เช่น พรรค ก ได้ 52.7 คน ตอนแรกได้ 52 เศษ 0.7 แต่ถ้าจำนวนผู้แทนยังไม่ครบ และไม่มีพรรคใดมีเศษมากกว่า 0.7 พรรค ก จะได้เพิ่มเป็น 53 คน)
  4. เมื่อได้จำนวนผู้แทนในระบบนี้ที่ลงตัวแล้ว ผู้สมัครของพรรคนั้น จากอันดับหนึ่ง ไปจนถึงอันดับเดียวกับจำนวนผู้แทนของพรรคนั้น จะได้เป็นผู้แทนราษฎร (เช่น พรรค ก ได้ 53 คน ผู้ที่มีรายชื่อตั้งแต่อันดับ 1 ถึง 53 จะได้เป็นผู้แทน)

ระบบแบ่งเขต

แก้

เกณฑ์การแบ่งเขตเลือกตั้ง 375 เขตนั้น ตามรัฐธรรมนูญ ได้ประกาศให้มีหลักเกณฑ์ในการแบ่ง ดังต่อไปนี้[6]

  1. นำจำนวนราษฎรทั้งประเทศ จากทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีก่อนการเลือกตั้ง หารด้วยจำนวนผู้แทนในระบบเขต (คือ 375) จะได้อัตราส่วนของราษฎรต่อผู้แทน 1 คน
  2. นำจำนวนราษฎรในแต่ละจังหวัด หารด้วยอัตราส่วนที่คำนวณไว้ จะได้จำนวนเขตเลือกตั้งที่มีในจังหวัด
    1. จังหวัดที่ผลหารต่ำกว่า 1 เขต (เช่น 0.86 เขต) ให้ปัดขึ้นเป็น 1 เขต (ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่มีจังหวัดใดเข้าข่ายกรณีนี้)
    2. จังหวัดที่ผลหารมากกว่า 1 และมีเศษทศนิยม ให้ปัดเศษทิ้งทั้งหมด แต่ให้เก็บข้อมูลของเศษทศนิยมไว้ (เช่น 4.93 ปัดทิ้งเหลือ 4)
    3. รวมจำนวนผู้แทนของทั้ง 77 จังหวัด หากยังไม่ครบ 375 เขต ให้เพิ่มจำนวนเขตในจังหวัดที่มีเศษทศนิยมเหลือมากที่สุดขึ้นไป 1 เขต หากยังไม่ครบอีก ให้เพิ่มจำนวนเขตในจังหวัดที่มีเศษทศนิยมเหลือเป็นอันดับสองขึ้นไปอีก 1 เขต ทำเช่นนี้ไปตามลำดับ จนกว่าจะได้จำนวนครบ 375
  3. จังหวัดใดมีจำนวนเขตมากกว่า 1 เขต จะต้องแบ่งเขตโดยให้พื้นที่ของแต่ละเขตติดต่อกัน และแต่ละเขตต้องมีจำนวนราษฎรที่ใกล้เคียงกันด้วย (หลังจากการเลือกตั้ง ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงที่สุดในแต่ละเขต จะได้เป็นผู้แทน)

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้
การเลือกตั้ง รูปแบบ จำนวน ส.ส. ที่เลือกตั้ง จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้มาใช้สิทธิ พรรคที่ชนะ
จำนวน ร้อยละ พรรค ที่นั่ง คะแนน
ครั้งที่ 1
(พ.ศ. 2476)
ทางอ้อม 78 จาก 156 4,278,231 1,773,532 41.45 ไม่มี ส.ส. คนใดสังกัดพรรค
ครั้งที่ 2
(พ.ศ. 2480)
แบ่งเขตคะแนนสูงสุด 91 จาก 182 6,123,239 2,462,535 40.22 ไม่มี ส.ส. คนใดสังกัดพรรค
ครั้งที่ 3
(พ.ศ. 2481)
แบ่งเขตคะแนนสูงสุด 91 จาก 182 6,310,172 2,210,332 35.05 ไม่มี ส.ส. คนใดสังกัดพรรค
ครั้งที่ 4
(มกราคม พ.ศ. 2489)
แบ่งเขตคะแนนสูงสุด 96 จาก 192 6,431,827 2,091,827 32.52 ไม่มี ส.ส. คนใดสังกัดพรรค
เพิ่มเติม
(สิงหาคม พ.ศ. 2489)
แบ่งเขตคะแนนสูงสุด 82 จาก 186 5,819,662 2,026,823 34.92 แนวรัฐธรรมนูญ 57
ครั้งที่ 5
(พ.ศ. 2491)
แบ่งเขตหลายเบอร์
(รวมเขตจังหวัด)
99 จาก 186 7,176,891 2,177,464 29.50 ประชาธิปัตย์ 53
เพิ่มเติม
(พ.ศ. 2492)
แบ่งเขตหลายเบอร์
(รวมเขตจังหวัด)
21 จาก 207 3,518,276 870,208 24.27 ไม่มี ส.ส. คนใดสังกัดพรรค
ครั้งที่ 6
(พ.ศ. 2495)
แบ่งเขตหลายเบอร์
(รวมเขตจังหวัด)
123 จาก 246 7,602,591 2,961,191 38.95 ไม่มี ส.ส. คนใดสังกัดพรรค
ครั้งที่ 7
(กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500)
แบ่งเขตหลายเบอร์
(รวมเขตจังหวัด)
160 จาก 283 9,859,039 5,668,666 57.50 เสรีมนังคศิลา 86
ครั้งที่ 8
(ธันวาคม พ.ศ. 2500)
แบ่งเขตหลายเบอร์
(รวมเขตจังหวัด)
160 จาก 281 9,917,417 4,370,789 44.07 สหภูมิ 44
ครั้งที่ 9
(พ.ศ. 2512)
แบ่งเขตหลายเบอร์
(รวมเขตจังหวัด)
219 14,820,400 7,289,837 49.16 สหประชาไทย 75
ครั้งที่ 10
(พ.ศ. 2518)
แบ่งเขตหลายเบอร์ 269 20,243,791 9,549,924 47.17 ประชาธิปัตย์ 72 17.23%
ครั้งที่ 11
(พ.ศ. 2519)
แบ่งเขตหลายเบอร์ 279 20,623,430 9,072,629 43.69 ประชาธิปัตย์ 114 25.31%
ครั้งที่ 12
(พ.ศ. 2522)
แบ่งเขตหลายเบอร์ 301 21,283,790 9,344,045 43.90 กิจสังคม
(ฝ่ายค้าน)
88 21.26%
ครั้งที่ 13
(พ.ศ. 2526)
แบ่งเขตหลายเบอร์ 324 24,224,470 12,295,339 50.76 ชาติไทย
(ฝ่ายค้าน)
110 23.8%
ครั้งที่ 14
(พ.ศ. 2529)
แบ่งเขตหลายเบอร์ 347 26,224,470 16,670,957 61.43 ประชาธิปัตย์ 100 22.52%
ครั้งที่ 15
(พ.ศ. 2531)
แบ่งเขตหลายเบอร์ 357 26,658,638 16,944,931 63.56 ชาติไทย 87 19.29%
ครั้งที่ 16
(มีนาคม พ.ศ. 2535)
แบ่งเขตหลายเบอร์ 360 31,660,156 19,622,322 59.24 สามัคคีธรรม 79 19.27%
ครั้งที่ 17
(กันยายน พ.ศ. 2535)
แบ่งเขตหลายเบอร์ 360 31,660,156 19,622,322 61.59 ประชาธิปัตย์ 79 21.02%
ครั้งที่ 18
(พ.ศ. 2538)
แบ่งเขตหลายเบอร์ 391 37,817,983 23,462,748 62.04 ชาติไทย 92 22.83%
ครั้งที่ 19
(พ.ศ. 2539)
แบ่งเขตหลายเบอร์ 395 38,564,836 24,040,836 62.42 ความหวังใหม่ 125 29.14%
ครั้งที่ 20
(พ.ศ. 2544)
ระบบคู่ขนาน
(แบ่งเขตคะแนนสูงสุด+บัญชีรายชื่อ)
500
(400+100)
42,759,001 29,909,271 69.95 ไทยรักไทย 248 39.91%
ครั้งที่ 21
(พ.ศ. 2548)
ระบบคู่ขนาน
(แบ่งเขตคะแนนสูงสุด+บัญชีรายชื่อ)
500
(400+100)
44,572,101 32,341,330 72.56 ไทยรักไทย 377 60.48%
ครั้งที่ 22
(พ.ศ. 2549)
ระบบคู่ขนาน
(แบ่งเขตคะแนนสูงสุด+บัญชีรายชื่อ)
500
(400+100)
44,778,628 29,088,209 64.77 ไทยรักไทย 461 59.91%
การเลือกตั้งเป็นโมฆะ[a]
ครั้งที่ 23
(พ.ศ. 2550)
ระบบคู่ขนาน
(แบ่งเขตหลายเบอร์+สัดส่วน)
480
(400+80)
44,002,593 32,792,246 74.52 พลังประชาชน 233 38.61%
ครั้งที่ 24
(พ.ศ. 2554)
ระบบคู่ขนาน
(แบ่งเขตคะแนนสูงสุด+บัญชีรายชื่อ)
500
(375+125)
46,939,549 35,220,208 75.03 เพื่อไทย 265 47.03%
ครั้งที่ 25
(พ.ศ. 2557)
ระบบคู่ขนาน
(แบ่งเขตคะแนนสูงสุด+บัญชีรายชื่อ)
500
(375+125)
43,024,042 20,531,073 47.72 การเลือกตั้งเป็นโมฆะ[b]
ครั้งที่ 26
(พ.ศ. 2562)
ระบบเสียงเดียวผสม
(แบ่งเขตคะแนนสูงสุด+บัญชีรายชื่อ)
500
(350+150)
51,239,638 38,268,375 74.69 เพื่อไทย
(ฝ่ายค้าน)
136 21.92%
ครั้งที่ 27
(พ.ศ. 2566)
ระบบคู่ขนาน
(แบ่งเขตคะแนนสูงสุด+บัญชีรายชื่อ)
500
(400+100)
52,287,045 39,293,867 75.22 ก้าวไกล
(ฝ่ายค้าน)
151 36.54%
ที่มา: คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ, ect.go.th

การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา

แก้

ในรัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2560 ความส่วนหนึ่งคือจะมีคณะสรรหาคัดเลือกสมาชิกวุฒิสภา 250 คนและจะต้องผ่านการลงมติเห็นชอบจากทางสภาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาจะมีเสียงในสภาโดยมีวาระ 5 ปี

ครั้งที่ วันที่ วิธีการเลือกตั้ง จำนวน
ผู้สมัคร
จำนวน
ส.ว.
ผู้มีสิทธิ
เลือกตั้ง
ผู้มาใช้สิทธิ
เลือกตั้ง
ร้อยละ จังหวัดที่มีผู้ใช้
สิทธิมากที่สุด
ร้อยละ จังหวัดที่มีผู้ใช้
สิทธิน้อยที่สุด
ร้อยละ หมายเหตุ
1 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 แบ่งเขต - 200
2 19 เมษายน พ.ศ. 2549 แบ่งเขต 1,477 200
3 2 มีนาคม พ.ศ. 2551 รวมเขต 505 76 44,911,254 24,981,247 55.62 ลำพูน 79.58 กรุงเทพมหานคร 40.05
4 30 มีนาคม พ.ศ. 2557 รวมเขต 471 77 48,786,842 20,873,688 42.79 ลำพูน 68.39 ชลบุรี 24.99

การเลือกตั้งท้องถิ่น

แก้

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

แก้

การเลือกตั้งนายกเมืองพัทยา

แก้

การเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

การลงประชามติ

แก้

ในประเทศไทยมีการลงประชามติแล้ว 2 ครั้ง ได้แก่ การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550 และ การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2559 เพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญที่ยกร่างในช่วงคณะรัฐประหารทั้ง 2 ครั้ง

หมายเหตุ

แก้
  1. การเลือกตั้งเป็นโมฆะ เนื่องจากตุลาการรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 ว่าพรรคไทยรักไทยได้ว่าจ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กให้ลงรับสมัครรับเลือกตั้ง
  2. การเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 เนื่องจากไม่สามารถจัดการเลือกตั้งในวันเดียวกันได้ทั่วราชอาณาจักร จากกรณีปิดล้อมหน่วยเลือกตั้งในหลายพื้นที่โดยกลุ่ม กปปส.

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ความเป็นมา". สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดอ่างทอง. สืบค้นเมื่อ 14 May 2022.
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เก็บถาวร 2013-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. คณะกรรมการการเลือกตั้ง. สืบค้น 6-7-2554.
  3. เดลินิวส์. "กกต.ประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งแต่ละจังหวัดแล้ว" [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2556. 21 ธันวาคม 2556.
  4. ทำความรู้จัก375เขต. เดลินิวส์. (13 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 16-5-2554.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2011-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๑๓ก, ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2011-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๑๓ก, ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑