การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก

การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (อังกฤษ: East Asia Summit ย่อว่า EAS) เป็นการประชุมสุดยอดของผู้นำประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก จำนวน 16 ประเทศ โดยมีกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นศูนย์กลาง การประชุมครั้งแรกจัดที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียในวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2005[1]

การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก
East Asia Summit
  • 东亚峰会 (จีน)
    東アジアサミット (ญี่ปุ่น)
    동아시아 정상회의 (เกาหลี)
    Саммит стран Восточной Азии (รัสเซีย)
    Konferensi Tingkat Tinggi Asia Timur (อินโดนีเซีย)
    Sidang Kemuncak Asia Timur (มลายู)
    Pulong-Panguluhan ng Silangang Asya (ฟิลิปปินส์)
    အရှေ့အာရှထိပ်သီးအစည်းအဝေး (พม่า)
    ກອງປະຊຸມສຸດຍອດອາຊີຕາເວັນອອກ (ลาว)
    កិច្ចប្រជុំអាស៊ីបូព៌ា (เขมร)
    Hội nghị cấp cao Đông Á (เวียดนาม)
    கிழக்கு ஆசியா உச்சி மாநாடு (ทมิฬ)
    पूर्व एशिया शिखर सम्मेलन (ฮินดี)
สมาชิกและผู้สมัครในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก
  สมาชิกดั้งเดิม
  สมาชิกจากการประชุมครั้งที่ 6
  ผู้สมัคร
ผู้เข้าร่วม
 ออสเตรเลีย
นายกรัฐมนตรี แอนโทนี แอลบานีส
 บรูไน
สุลต่าน ฮัสซานัล โบลเกียห์
 กัมพูชา
นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน
 จีน
ประธานคณะมนตรีรัฐกิจ หลี่ เฉียง
 อินเดีย
นายกรัฐมนตรี นเรนทระ โมที
 อินโดนีเซีย
ประธานาธิบดี โจโก วีโดโด
 ญี่ปุ่น
นายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ
 ลาว
นายกรัฐมนตรี สอนไซ สีพันดอน
 มาเลเซีย
นายกรัฐมนตรี อันวาร์ อิบราฮิม
 พม่า
ที่ปรึกษาแห่งรัฐ มี่นอองไลง์
 นิวซีแลนด์
นายกรัฐมนตรี คริส ฮิปกินส์
 ฟิลิปปินส์
ประธานาธิบดี บองบอง มาร์กอส
 รัสเซีย
นายกรัฐมนตรี มีฮาอิล มีชุสติน
 สิงคโปร์
นายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง
 เกาหลีใต้
ประธานาธิบดี ยุน ซ็อก-ย็อล
 ไทย
นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน
 สหรัฐ
ประธานาธิบดี โจ ไบเดิน
 เวียดนาม
นายกรัฐมนตรี ฝั่ม มิญ จิ๊ญ

ประวัติ แก้

การก่อตั้งการประชุม แก้

แนวคิดกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกถูกเสนอเป็นครั้งแรกในปี 1991 โดยนายกรัฐมนตรีมหาเธร์ โมฮัมหมัดของประเทศมาเลเซีย ในรายงานของ East Asia Study Group ในปี 2002 ได้ก่อตั้งกลุ่มอาเซียนบวกสาม ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศเอเชียที่นำโดยอาเซียน และประเทศที่เกี่ยวข้อง และใช้ชื่อนี้แทนการประชุมอาเซียนเรื่อยมา

การจัดการประชุมกลุ่มอาเซียนบวกสามในปี 2004 ได้ลงมติให้จัดการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก และการประชุมในระดับรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสมาชิกก่อตั้ง 16 ชาติได้จัดขึ้นนำร่องที่ประเทศลาว ในเดือนกรกฎาคม 2005

การประชุมสุดยอดประจำปี แก้

การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกอย่างเป็นทางการ
ครั้งที่ วันที่ ประเทศ ที่จัดงาน หัวหน้างาน หมายเหตุ
1 14 ธันวาคม ค.ศ. 2005   มาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์ นายกรัฐมนตรี อับดุลละฮ์ อะฮ์มัด บาดาวี ประธานาธิบดีรัสเซียได้รับเชิญเข้าประชุม
2 15 มกราคม ค.ศ. 2007   ฟิลิปปินส์ มันดาเว ประธานาธิบดี กลอเรีย มาคาปากัล-อาร์โรโย ย้ายจากวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2006
มีการลงนามปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก
3 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007   สิงคโปร์ สิงคโปร์ นายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง ปฏิญญาสิงคโปร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ พลังงานและสิ่งแวดล้อม[2]
ข้อตกลงว่าด้วยการก่อตั้งสถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชียตะวันออก
4 25 ตุลาคม ค.ศ. 2009   ไทย ชะอำและหัวหิน นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ วันที่และสถานที่ประชุมมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง โดยมีการประกาศในช่วงปลายตุลาคม ค.ศ. 2008 ว่าย้ายที่จัดการประชุมสุดยอดจากกรุงเทพไปเชียงใหม่ เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองในกรุงเทพ
5 30 ตุลาคม ค.ศ. 2010   เวียดนาม ฮานอย ประธานาธิบดี เหงียน มิญ เจี๊ยต เชิญสหรัฐและรัสเซียเข้าร่วมการประชุม
6 18–19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011   อินโดนีเซีย บาหลี ประธานาธิบดี ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน เชิญสหรัฐและรัสเซียเข้าร่วมการประชุม
7 19–20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012   กัมพูชา พนมเปญ นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน ความตึงเครียดในข้อพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวันออกบดบังความก้าวหน้าในการทำข้อตกลงทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างสมาชิกในการประชุม[3]
8 9–10 ตุลาคม ค.ศ. 2013   บรูไน บันดาร์เซอรีเบอกาวัน สุลต่าน ฮัสซานัล โบลเกียห์
9 12–13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014   พม่า เนปยีดอ ประธานาธิบดี เต้นเซน
10 21–22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015   มาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์ นายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัก
11 6–8 กันยายน ค.ศ. 2016   ลาว เวียงจันทน์ นายกรัฐมนตรี ทองลุน สีสุลิด
12 13–14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017   ฟิลิปปินส์ ปาไซ ประธานาธิบดี โรดรีโก ดูแตร์เต นายกรัฐมนตรีแคนาดาเข้าร่วมประชุม
13 14–15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018   สิงคโปร์ สิงคโปร์ นายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน เข้าร่วมประชุม[4]
14 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019   ไทย กรุงเทพ นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา
15 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020   เวียดนาม ฮานอย (ในฐานะสถานที่จัดงาน) นายกรัฐมนตรี เหงียน ซวน ฟุก จัดออนไลน์เพราะโรคระบาดโควิด-19[5]
16 26–27 ตุลาคม ค.ศ. 2021   บรูไน บันดาร์เซอรีเบอกาวัน (ในฐานะสถานที่จัดงาน) สุลต่าน ฮัสซานัล โบลเกียห์ จัดออนไลน์เพราะโรคระบาดโควิด-19
17 ค.ศ. 2022   กัมพูชา พนมเปญ นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน


ประเทศที่เข้าร่วม แก้

 
แผนที่แสดงประเทศที่เกี่ยวข้อง กลุ่มอาเซียนแสดงด้วยสีแดง, กลุ่มอาเซียนบวกสามแสดงด้วยสีเขียว, ประเทศอื่นๆ แสดงด้วยสีฟ้า และรัสเซียซึ่งยื่นเป็นสมาชิก แสดงด้วยสีเหลือง
กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ
อีก 6 ประเทศจากกลุ่มอาเซียนบวกหก
ประเทศที่อยู่ในระหว่างการขอเป็นสมาชิก

ผู้นำคนปัจจุบันในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "About | EAS | ASEAN India". mea.gov.in (ภาษาอังกฤษ).
  2. Singapore Declaration on Climate Change, Energy and the Environment เก็บถาวร 13 พฤษภาคม 2012 ที่ Library of Congress Web Archives
  3. Branigan, Tania (20 พฤศจิกายน 2012). "Obama urges Asian leaders to step back from territorial disputes". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2018.
  4. "Singapore to host 13th East Asia Summit in November". Connected to India. 23 March 2018. สืบค้นเมื่อ 23 March 2018.
  5. "Ha Noi Declaration on the 15th Anniversary of the East Asia Summit". Association of Southeast Asian Nations. November 15, 2020. สืบค้นเมื่อ November 19, 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้