นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย

นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย (มลายู: Perdana Menteri Malaysia; อักษรยาวี: ڤردان منتري مليسيا) เป็นหัวหน้ารัฐบาลของประเทศมาเลเซีย นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ควบคุมฝ่ายอำนาจบริหารของรัฐบาลกลาง ยังดีเปอร์ตวนอากงทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้มีความเห็นว่ามีแนวโน้มสูงสุดที่จะได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ นายกรัฐมนตรีมักจะเป็นผู้นำของพรรคที่ได้รับที่นั่งมากที่สุดในการเลือกตั้งทั่วไป

นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย
Perdana Menteri Malaysia
ڤردان منتري مليسيا
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
อันวาร์ อิบราฮิม
ตั้งแต่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022
รัฐบาลมาเลเซีย
สำนักนายกรัฐมนตรี
การเรียกขานท่านนายกรัฐมนตรี
(ไม่ทางการ)
ยังอามัตเบอร์โฮร์มัต
(ทางการ)
เดอะไรต์ออนะระเบิล
(ในเครือจักรภพแห่งประชาชาติ)
ฮิสเอ็กเซลเลนซี
(ทางการทูต)
สมาชิกของ
รายงานต่อรัฐสภา
จวนเซอรีเปอร์ดานา ปูตราจายา
ที่ว่าการเปอร์ดานาปูตรา ปูตราจายา
ผู้แต่งตั้งยังดีเปอร์ตวนอากง
วาระ5 ปี, ต่ออายุได้
ตราสารจัดตั้งรัฐธรรมนูญมาเลเซีย
ผู้ประเดิมตำแหน่งตุนกู อับดุล ระฮ์มัน
สถาปนา31 สิงหาคม 1957; 67 ปีก่อน (1957-08-31)
เงินตอบแทน22,826.65 ริงกิต หรือ 5,106 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน[1]
เว็บไซต์www.pmo.gov.my

หลังการสถาปนามาเลเซียในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1963 ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน หัวหน้าคณะรัฐมนตรีแห่งสหพันธรัฐมาลายา กลายเป็นนายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนแรก

การดำรงตำแหน่ง

แก้
 
สำนักนายกรัฐมนตรีที่เปอร์ดานาปูตรา ปูตราจายา

ตามรัฐธรรมนูญมาเลเซีย ยังดีเปอร์ตวนอากงจำเป็นต้องแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นสมาชิกเดวันรักยัต (สภาผู้แทนราษฎร) และตามดุลพินิจของพระมหากษัตริย์ มีแนวโน้มที่จะได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกสภาฯ ส่วนใหญ่ นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นพลเมืองมาเลเซียที่ไม่ได้รับสัญชาติโดยการแปลงสัญชาติหรือจดทะเบียน ยังดีเปอร์ตวนอากงจะแต่งตั้งรัฐมนตรีคนอื่น ๆ จากเดวันรักยัตหรือเดวันเนอการา (วุฒิสภา) โดยได้รับคำแนะนำจากนายกรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจะต้องสาบานตนและลงนามในคำสาบานในการรับตำแหน่งและแสดงความจงรักภักดี รวมถึงสาบานตนว่าจะรักษาความลับต่อหน้ายังดีเปอร์ตวนอากงก่อนจึงจะปฏิบัติหน้าที่ได้ คณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภามาเลเซียโดยรวม รัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีถูกห้ามไม่ให้ดำรงตำแหน่งอื่น ๆ ที่จะก่อให้เกิดการขัดกันแห่งผลประโยชน์ สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานและกระทรวงที่นายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่และมีอำนาจ

ในกรณีที่รัฐบาลไม่สามารถผ่านร่างกฎหมายการจัดสรรงบประมาณผ่านสภาผู้แทนราษฎรได้ หรือเมื่อสภาผู้แทนราษฎรลงมติ "ไม่ไว้วางใจ" รัฐบาล นายกรัฐมนตรีจะต้องลาออกทันทีตามระเบียบแบบแผน รัฐมนตรีทุกคนดำรงตำแหน่งตามพระราชประสงค์ของยังดีเปอร์ตวนอากง เว้นแต่พระมหากษัตริย์จะเพิกถอนการแต่งตั้งรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี

หลังจากการลาออกในสถานการณ์อื่น ๆ การพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง หรือการเสียชีวิตของนายกรัฐมนตรี โดยทั่วไปแล้ว ยังดีเปอร์ตวนอากงจะแต่งตั้งผู้นำคนใหม่ของพรรครัฐบาลหรือพรรคร่วมรัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่

รายชื่อ

แก้

ตัวช่วยสี (สำหรับกลุ่มการเมือง/พรรคการเมือง):

      พรรคพันธมิตร (2)       บารีซันนาซีโยนัล (6)       ปากาตันฮาราปัน (2)       เปอรีกาตันนาซีโยนัล (1)

ลำดับ รูปภาพ ชื่อ
(เกิด–เสียชีวิต)
เขตเลือกตั้ง
ดำรงตำแหน่ง อาณัติ[a] พรรค[b] รัฐบาล พระมหากษัตริย์
เข้ารับตำแหน่ง พ้นจากตำแหน่ง ระยะเวลา
1   ฮิสไฮเนส
ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน
تونکو عبد الرحمن
(1903–1990)
สส. จากกัวลาเกอดะฮ์
31 สิงหาคม
1957
22 กันยายน
1970
13 ปี 23 วัน 1955 พันธมิตร (อุมโน) ระฮ์มันที่ 1 อับดุล ระฮ์มัน

ฮีซามุดดิน


ปูตรา


อิซมาอิล นาซีรุดดิน


อับดุล ฮาลิม

1959 ระฮ์มันที่ 2
1964 ระฮ์มันที่ 3
1969 ระฮ์มันที่ 4
2   ตุน ฮาจี
อับดุล ราซัก ฮุซเซน
عبد الرزاق حسين
(1922–1976)
สส. จากเปอกัน
22 กันยายน
1970
14 มกราคม
1976[c]
5 ปี 115 วัน พันธมิตร (อุมโน) ราซักที่ 1 อับดุล ฮาลิม

ยะฮ์ยา เปตรา

1974 BN (อุมโน) ราซักที่ 2
3 ตุน
ฮุซเซน อนน์
حسين عون
(1922–1990)
สส. จากซรีกาดิง
15 มกราคม
1976
16 กรกฎาคม
1981
5 ปี 183 วัน BN (อุมโน) ฮุซเซนที่ 1 ยะฮ์ยา เปตรา

อะฮ์มัด ชะฮ์

1978 ฮุซเซนที่ 2
4   ตุน ดร.
มาฮาดีร์ โมฮามัด
محاضير محمد
(เกิด ค.ศ. 1925)
สส. จากกูบังปาซู
16 กรกฎาคม
1981
30 ตุลาคม
2003
22 ปี 107 วัน BN (อุมโน) มาฮาดีร์ที่ 1 อะฮ์มัด ชะฮ์

อิซกันดาร์


อัซลัน ชะฮ์


จาอ์ฟาร์


ซาลาฮุดดิน


ซีราจุดดิน

1982 มาฮาดีร์ที่ 2
1986 มาฮาดีร์ที่ 3
1990 มาฮาดีร์ที่ 4
1995 มาฮาดีร์ที่ 5
1999 มาฮาดีร์ที่ 6
5   ตุน
อับดุลละฮ์ อะฮ์มัด บาดาวี
عبد الله أحمد بدوي
(1939–2025)
สส. จากเกอปาลาบาตัซ
31 ตุลาคม
2003
3 เมษายน
2009
5 ปี 155 วัน BN (อุมโน) อับดุลละฮ์ที่ 1 ซีราจุดดิน

มีซัน ไซนัล อาบีดิน

2004 อับดุลละฮ์ที่ 2
2008 อับดุลละฮ์ที่ 3
6   ดาโต๊ะ ซรี ฮาจี
นาจิบ ราซัก
نجيب رزاق
(เกิด ค.ศ. 1953)
สส. จากเปอกัน
3 เมษายน
2009
9 พฤษภาคม
2018
9 ปี 37 วัน BN (อุมโน) นาจิบที่ 1 มีซัน ไซนัล อาบีดิน

อับดุล ฮาลิม


มูฮัมมัดที่ 5

2013 นาจิบที่ 2
7   ตุน ดร.
มาฮาดีร์ โมฮามัด
محاضير محمد
(เกิด ค.ศ. 1925)
สส. จากลังกาวี
10 พฤษภาคม
2018
24 กุมภาพันธ์
2020
1 ปี 291 วัน 2018 PH (เบอร์ซาตู) มาฮาดีร์ที่ 7 มูฮัมมัดที่ 5

อับดุลละฮ์

ในช่วงเวลาดังกล่าว มาฮาดีร์ โมฮามัด นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี (24 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2020) อับดุลละฮ์
8   ตัน ซรี ดาโต๊ะ ฮาจี
มุฮ์ยิดดิน ยัซซิน
محيي الدين ياسين
(เกิด ค.ศ. 1947)
สส. จากปาโกะฮ์
1 มีนาคม
2020
16 สิงหาคม
2021
1 ปี 169 วัน PN (เบอร์ซาตู) มุฮ์ยิดดิน
ในช่วงเวลาดังกล่าว มุฮ์ยิดดิน ยัซซิน นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี (16–21 สิงหาคม 2021)
9   ดาโต๊ะ ซรี
อิซมาอิล ซับรี ยักกบ
إسماعيل صبري يعقوب
(เกิด ค.ศ. 1960)
สส. จากเบอรา
21 สิงหาคม
2021
24 พฤศจิกายน
2022
1 ปี 96 วัน BN (อุมโน) อิซมาอิล ซับรี
10   ดาโต๊ะ เซอรี
อันวาร์ อิบราฮิม
أنوار إبراهيم‎
(เกิด ค.ศ. 1947)
สส. จากตัมบุน
24 พฤศจิกายน
2022
ดำรงตำแหน่ง 2 ปี 154 วัน (2022) PH (พีเคอาร์) อันวาร์ อับดุลละฮ์

อิบราฮิม อิซกันดาร์

หมายเหตุ

แก้
  1. รายละเอียดในส่วนอาณัติ:
    1955
    ปี
    ระบุการเลือกตั้งทั่วไปที่รัฐบาลได้รับชัยชนะหรือนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาล (ปีเชื่อมโยงกับบทความการเลือกตั้ง);
    (2022)
    ปีในวงเล็บ
    ระบุการเลือกตั้งที่ไม่มีพรรคการเมืองหรือกลุ่มพันธมิตรใดได้รับชัยชนะเหนือเสียงข้างมากในรัฐสภา (ปีเชื่อมโยงกับบทความการเลือกตั้ง);
    ยัติภาค
    ระบุการจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากโดยไม่มีการเลือกตั้ง
  2. คอลัมน์นี้ระบุชื่อพรรคของนายกรัฐมนตรีเท่านั้น รัฐบาลอาจเป็นกลุ่มพันธมิตรที่ซับซ้อนซึ่งประกอบด้วยพรรคการเมืองและพรรคอิสระหลายพรรค ซึ่งไม่ได้ระบุไว้ในนี้
  3. เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง

อดีตนายกรัฐมนตรีที่ยังมีชีวิตอยู่

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "CPPS Policy Factsheet: Remuneration of Elected Officials in Malaysia" (PDF). Centre for Public Policy Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 May 2016. สืบค้นเมื่อ 11 May 2016.