เขตการค้าเสรีอาเซียน
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เขตการค้าเสรีอาเซียน (อังกฤษ: ASEAN Free Trade Area) หรือ อาฟตา (AFTA)[1] เป็นข้อตกลงทางการค้า สำหรับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด ซึ่งเป็นข้อเสนอของอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ท่าน อานันท์ ปันยารชุน เมื่อ พ.ศ. 2535[ต้องการอ้างอิง]
หลักการ
แก้- เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้าและการลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี
- กลไกการลดภาษีที่สำคัญของ AFTA คือระบบ CEPT (Common Effective Preferential Tariff Scheme) ซึ่งกำหนดให้ประเทศสมาชิกให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรแก่กันแบบต่างตอบแทน กล่าวคือ การที่จะได้สิทธิประโยชน์จากการลดภาษีของประเทศอื่นสำหรับสินค้าชนิดใด ประเทศสมาชิกนั้นจะต้องประกาศลดภาษีสำหรับสินค้าชนิดเดียวกันด้วย ทั้งนี้ CEPT ได้กำหนดให้สินค้าที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีจะต้องมีสัดส่วนมูลค่าที่เกิดขึ้นในอาเซียน (ASEAN Local Content) อย่างน้อย 40% และสามารถคำนวณวัตถุดิบในอาเซียนแบบสะสม (Cumulative Rules of Origin) โดยกำหนดอัตราขั้นต่ำของวัตถุดิบเท่ากับ 20%
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "AFTA & FTAs". ASEAN Secretariat. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 October 2012.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ASEAN Free Trade Area page on the Rules of Origin Facilitator, with member countries' status and access to legal documents.
- ASEAN Free Trade Agreement
- เขตการค้าเสรีอาเซียน ที่ห้องสมุดดิจิทัล SchoolNET เก็บถาวร 2007-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน