ฉบับร่าง:ราชวงศ์โฮตัก

ราชวงศ์โฮตัก

امپراتوری هوتکیان  (เปอร์เซีย)
د هوتکيانو ټولواکمني  (ปาทาน)
1709–1738
ช่วงเวลาที่ราชวงศ์โฮตักย่ิงใหญ่ที่สุด
ช่วงเวลาที่ราชวงศ์โฮตักย่ิงใหญ่ที่สุด
เมืองหลวงกันดะฮาร์ (1709–1722), (1725–1738)
เอสแฟฮอน (1722–1729)
ภาษาทั่วไปPashto (poetry)[1]
Persian (poetry)
ศาสนา
Sunni Islam
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
เอมีร์ 
• 1709–1715
มีร์ไวส์ โฮตัก
• 1715–1717
อับดุลอาซิซ โฮตัก
• 1717–1725
มาห์มุด โฮตัก
• 1725–1730
อัชราฟ โฮตัก
• 1725–1738
ฮุสเซน โฮตัก
ยุคประวัติศาสตร์ยุคสมัยใหม่ตอนต้น
21 เมษายน 1709
24 มีนาคม 1738
ก่อนหน้า
ถัดไป
อิหร่านซาฟาวิด
จักรวรรดิโมกุล
อิหร่านแอฟชอรีด

ราชวงศ์โฮตัก (امپراتوری هوتکیان  (เปอร์เซีย)
د هوتکيانو ټولواکمني  (ปาทาน)) เป็นราชวงศ์อัฟกันที่ปกครองส่วนหนึ่งของอิหร่านและอัฟกานิสถานในช่วงสั้น ๆ ระหว่างคริสต์ทศวรรษที่ 1720[2][3] ถูกก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน 1709 โดยมีร์ไวส์ โฮตัก ผู้นำการกบฏที่ประสบความสำเร็จต่อต้านจักรวรรดิซาฟาวิดของชาวเปอร์เซียที่เสื่อมโทรมในภูมิภาค Loy Kandahar ("Greater Kandahar") ทางตอนใต้ของอัฟกานิสถานในปัจจุบัน[2]

ในปี 1715 มีร์ไวส์สวรรคตด้วยสาเหตุธรรมชาติ ขณะมีพระชนมายุเพียง 42 พรรษา และอับดุล อาซิซ ซึ่งเป็นพระเชษฐาหรือพระอนุชาของพระองค์ก็ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อมา พระองค์ครองราชย์เป็นเวลาเพียง 2 ปี ก่อนจะถูกปลงพระชนม์โดย มาห์มูด พระราชนัดดาของพระองค์ ซึ่งเป็นโอรสของมีร์ไวส์ ในเวลาต่อมา มาห์มูดได้ก่อกบฏโค่นล้มกษัตริย์ราชวงศ์ซาฟาวิด และขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ใหม่ของเปอร์เซีย ต่อมา มาห์มูดถูกโค่นอำนาจจากการรัฐประหารในวังเมื่อปี 1725 และอัชรัฟ โอรสของอับดุลอัซซิซและเป็นพระราชภาติยะของพระองค์ ก็ขึ้นครองราชย์แทน

การสถาปนา

แก้

ราชวงศ์โฮตักมีต้นกำเนิดจากเผ่ากิลซัยซึ่งเป็นหนึ่งในเผ่าที่สำคัญของชาวปาทาน ชนเผ่านี้อาศัยอยู่ในภูมิภาคกันดะฮาร์ ของอัฟกานิสถานโดยมี มีรไวส์ โฮตัก เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์โฮตัก ในปี 1709 มีร ไวส์ โฮตัก นำการกบฏต่อจักรวรรดิอิหร่านซาฟาวิดซึ่งในขณะนั้นกำลังอ่อนแอลงจากปัญหาภายในและการโจมตีจากภายนอก ไวส์ โฮตักได้ทำการกบฏและสังหารผู้ว่าราชการซาฟาวิดในกันดาฮาร์ จากนั้นได้สถาปนาตนเองเป็นผู้ปกครองกันดะฮาร์และประกาศอิสรภาพจากอิหร่านซาฟาวิด หลังการสิ้นพระชนต์ของมีรไวส์ ในปี 1715 มาห์มูด โฮตัก บุตรชายได้ขึ้นเป็นผู้นำ มาห์มุด โฮตักได้ขยายอำนาจของอาณาจักรโฮตักและโจมตีเปอร์เซีย ในปี 1722 มาห์มุด โฮตักได้นำกองทัพเข้ายึดเมืองหลวงของเปอร์เซีย เอสแฟฮอน และโค่นล้มราชวงศ์ซาฟาวิด ตั้งตนเป็นกษัตริย์แห่งเปอร์เซีย ราชวงศ์โฮตักจึงได้ปกครองเปอร์เซียในช่วงปี 1720[2][3] จนจบราชวงศ์

การล่มสลาย

แก้

หลังการเสียชีวิตของมาห์มูด โฮตักในปี 1725 อัชราฟ โฮตักขึ้นครองราชย์ แต่ต้องเผชิญกับการต่อต้านจากราชวงศ์ซาฟาวิดที่พยายามฟื้นฟูอำนาจ นำโดยนัดอีร์ ชาห์ ที่ภายหลังจะกลายเป็นจักรพรรดิแห่งเปอร์เซีย แม้ว่าโฮตักจะสามารถยึดครองอาณาจักรเปอร์เซียได้ แต่การปกครองของเขาในเปอร์เซียกลับไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากการต่อต้านจากประชากรในท้องถิ่นและการบริหารที่ไม่เป็นระเบียบ ทำให้เกิดความไม่สงบภายใน ในปี 1729 นัดอีร์ ชาห์นำกองทัพเข้าตีและยึดครองเอสแฟฮอน คืนอำนาจให้กับราชวงศ์ซาฟาวิด และขับไล่อัชรัฟ โฮตักและกองกำลังโฮตักกลับไปยังอัฟกานิสถาน หลังจากการล่มสลายของอำนาจในเปอร์เซีย ราชวงศ์โฮตักพยายามรักษาการปกครองในอัฟกานิสถาน แต่เผ่ากิลซัยต้องเผชิญกับการต่อสู้ภายในและการรุกรานจากเผ่าดุรานี ซึ่งเป็นเผ่าพาทานที่แข็งแกร่ง มีรฮุสเซน โฮตัก เป็นผู้นำคนสุดท้ายของราชวงศ์โฮตัก ซึ่งถูกโค่นล้มโดยอาเหม็ด ชาห์ ดุรรานี ในปี 1738 อาเหม็ด ชาห์ ดุรรานี ได้สถาปนาราชวงศ์ดุรรานีและกลายเป็นผู้ปกครองอัฟกานิสถาน

อ้างอิง

แก้
  1. Bausani 1971, p. 63.
  2. 2.0 2.1 2.2 Malleson, George Bruce (1878). History of Afghanistan, from the Earliest Period to the Outbreak of the War of 188. London: Elibron.com. p. 227. ISBN 1402172788. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-10. สืบค้นเมื่อ 2010-09-27.
  3. 3.0 3.1 Ewans, Martin (2002). Afghanistan: a short history of its people and politics. New York: Perennial. p. 30. ISBN 0060505087. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-10. สืบค้นเมื่อ 2010-09-27.