รัฐสุลต่านอาเจะฮ์
รัฐสุลต่านอาเจะฮ์ (อังกฤษ: Sultanate of Aceh) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรอาเจะฮ์ดารุสซาลาม (อังกฤษ: Kingdom of Aceh Darussalam; อาเจะฮ์: Keurajeuën Acèh Darussalam / كاورجاون اچيه دارالسلام) เป็นรัฐที่มีสุลต่านเป็นผู้ปกครองอยู่ในบริเวณที่ปัจจุบันคือจังหวัดอาเจะฮ์ ประเทศอินโดนีเซีย ครองอำนาจในราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22 ก่อนจะเสื่อมอำนาจลง เมืองหลวงตั้งอยู่ที่กูตาราจา ปัจจุบันคือบันดาอาเจะฮ์ ในช่วงที่มีอำนาจ อาเจะฮ์พยายามเข้ายึดครองรัฐสุลต่านยะโฮร์ และมะละกาที่อยู่ภายใต้การปกครองของโปรตุเกส พยายามเข้าควบคุมช่องแคบมะละกา และพื้นที่ที่มีพริกไทยและดีบุกมาก อาเจะฮ์เป็นศูนย์กลางของนักปราชญ์อิสลามและการค้า
ราชอาณาจักรอาเจะฮ์ดารุซซาลัม Keurajeuën Acèh Darussalam كاورجاون اچيه دارالسلام | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 2039–พ.ศ. 2446 | |||||||||
การขยายตัวของรัฐสุลต่านอาเจะฮ์ระหว่างสมัยของอิสกันดาร์ มูดา พ.ศ. 2151 - 2180 | |||||||||
สถานะ | รัฐในอารักขาของจักรวรรดิออตโตมัน (1569–1903) | ||||||||
เมืองหลวง | กูตาราจา, บันดาอาเจะฮ์ดารุซซาลัม (ปัจจุบันคือบันดาอาเจะฮ์) | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาอาเจะฮ์, ภาษามลายู, ภาษาอาหรับ | ||||||||
ศาสนา | ศาสนาอิสลามซุนนี | ||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||
สุลต่าน | |||||||||
• พ.ศ. 2039 - 2071 | อาลี มูฆายัต ชาห์ | ||||||||
• พ.ศ. 2418 - 2446 | อลาอุดดิน มูฮัมหมัด ดาอูด ชาห์ที่ 2 | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• การขึ้นครองราชย์ของสุลต่านองค์แรก | พ.ศ. 2039 | ||||||||
พ.ศ. 2446 | |||||||||
สกุลเงิน | ทองธรรมชาติและเหรียญเงิน | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | อินโดนีเซีย มาเลเซีย |
การก่อตั้งและความรุ่งเรือง
แก้ประวัติศาสตร์ช่วงแรกของอาเจะฮ์ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โดยมีทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่ากำเนิดจากชาวจาม ภาษาอาเจะฮ์เป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาอาเจะฮ์-จาม 10 ภาษา ตามประวัติศาสตร์มลายู กษัตริย์จามปา ซยาห์ เปา กูบะห์ มีโอรสชื่อ ซยาห์ เปาลิง ได้อพยพออกมาเมื่อเมืองวิชายาถูกราชวงศ์เลของเวียดนามตีแตกใน พ.ศ. 2014 และมาก่อตั้งราชอาณาจักรอาเจะฮ์ ผู้ปกครองอาเจะฮ์หันมานับถือศาสนาอิสลามในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 21 สุลต่านองค์แรกคืออาลี มูฆายัต ชาห์ ผู้ปกครองสุมาตราเหนือใน พ.ศ. 2063 โดยเข้ายึดครองเดลี เปอดีร ปาไซ และเข้าโจมตีอารู โอรสของพระองค์คือ อะลาอุดดีน อัลกาฮาร์ พยายามขยายอิทธิพลลงไปทางใต้ของสุมาตรา และพยายามข้ามช่องแคบไปยึดครองยะโฮร์และมะละกา อาเจะฮ์ได้รับการสนับสนุนจากจักรวรรดิออตโตมันที่ส่งทหารมาช่วย
ในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2142 กอร์เนลียึส เฮาต์มัน ชาวดัตช์ได้เดินทางมาถึงอาเจะฮ์และต้องการยึดครองให้เป็นส่วนหนึ่งของอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ พวกเขาได้รับอนุญาตจากสุลต่านให้เข้ามาซื้อขายพริกไทยได้ ชาวดัตช์เหล่านี้ได้พักอยู่ 3 เดือน ได้ออกซื้อพริกไทยและเครื่องเทศ แต่ถูกชาวพื้นเมืองโจมตีเสียชีวิตไป 68 คน ในปีเดียวกันนั้น ตัวแทนจากบริษัทอินเดียตะวันออกได้เดินทางมาถึงและกลับไปใน พ.ศ. 2145[1][2]
สุลต่านระหว่าง พ.ศ. 2132 – 2147 คือ อาลาอุดดีน เรียยัก ชาห์ อิบน์ ไฟร์มัน ชาห์ ความยุ่งยากภายในทำให้การขยายอำนาจของสุลต่านเป็นไปได้ไม่เต็มที่ จนกระทั่ง อิสกันดาร์ มูดาขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 2150 เขาขยายอำนาจยึดครองไปทั่วเกาะสุมาตรา และขยายอำนาจเข้าควบคุมปาหังซึ่งเป็นแหล่งผลิตดีบุกในคาบสมุทรมลายา อาเจะฮ์เรืองอำนาจจนถึง พ.ศ. 2172 จึงพ่ายแพ้มะละกาที่ร่วมมือกับโปรตุเกสและยะโฮร์ ซึ่งได้ทำลายกองทัพเรือและทหารราว 19,000 คน ตามบันทึกของโปรตุเกส[3][4] อย่างไรก็ตาม อาเจะฮ์ไม่ได้ถูกทำลายทั้งหมด เพราะยังสามารถไปรุกรานเคดะห์ได้ในปีเดียวกัน และกวาดต้อนพลเมืองมายังอาเจะฮ์ อิสกันดาห์ กานี เจ้าชายจากปาหังซึ่งเป็นพระราชบุตรเขยได้ครองราชย์ต่อมา ในสมัยนี้ อาเจะฮ์ได้เน้นความเป็นเอกภาพทางศาสนาและความเข้มแข็งภายใน เมื่อสิ้นสุดรัชกาลของทานี อาเจะฮ์ปกครองโดยสุลต่านหญิง ในช่วงนี้ อำนาจปกครองของอาเจะฮ์อ่อนแอลง ในขณะที่อำนาจทางศาสนาเพิ่มสูงขึ้น สุลต่านกลายเป็นตำแหน่งเชิงสัญลักษณ์ ดังที่ นักเดินทางชาวเปอร์เซียได้กล่าวถึงสุมาตราเหนือใน พ.ศ. 2223 ว่ามีผู้ปกครองท้องถิ่นแยกกันปกครองเป็นอิสระ
วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ
แก้อาเจะฮ์ถือว่าตนเองสืบทอดมาจากรัฐสุลต่านปาไซ รัฐอิสลามแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสืบทอดงานเผยแผ่ศาสนาและเป็นศูนย์กลางของนักวิชาการทางด้านอิสลาม หลังจากที่มะละกาถูกโปรตุเกสยึดครอง ได้แปลอัลกุรอ่านและเอกสารทางศาสนาอิสลามเป็นภาษามลายู นักวิชาการที่เป็นที่รู้จักกันคือ ฮัมซะห์ ปันซูรี ซัมซุดดินแห่งปาไซ อับดูรราอูฟแห่งซิงกิลและนูร์รุดดิน อาร์รานีรี ชาวอินเดีย[5]
อาเจะฮ์ได้กำไรจากการส่งออกพริกไทย จันทน์เทศ กานพลู หมาก [6]และดีบุกหลังเข้ายึดครองปาหังได้ใน พ.ศ. 2160 อัตราการลงทุนต่ำและใช้ทองเป็นสกุลเงินทำให้เศรษฐกิจอ่อนแอ ไม่สามารถผลิตอาหารให้เพียงพอกับกองทัพและการค้าของรัฐ จนในราวพุทธศตวรรษที่ 22 ที่บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ได้เข้ามามีบทบาททั้งการทหารและเศรษฐกิจจนสามารถยึดครองมะละกาได้สำเร็จใน พ.ศ. 2185
ช่วงสุดท้ายและการยึดครองของเนเธอร์แลนด์
แก้ใน พ.ศ. 2422 สุลต่านบัดร์ อัลอลาม ชารีฟ อาซิม ญามาล อัดดิมขึ้นครองบัลลังก์ ซึ่งเป็นสุลต่านชายคนแรกในรอบ 60 ปี จากนั้น เป็นการปกครองโดยผู้ปกครองหลายองค์ในช่วงสั้นๆ จนใน พ.ศ. 2270 สมาชิกจากราชวงศ์บูกิส สุลต่านอลาอัดดิน อะห์หมัด ชาห์ ขึ้นครองอำนาจ สุลต่านได้ได้อนุญาตให้โกห์ ลายฮวน กัปตันชาวจีนจากปีนัง นำพริกไทยจากอาเจะฮ์ไปปลูกที่ปีนัง ต่อมาใน พ.ศ. 2362 โกห์ได้ช่วยสุลต่านปราบปรามผู้ปกครองท้องถิ่นในอาเจะฮ์[7]
ในช่วง พ.ศ. 2463 อาเจะฮ์ผลิตพริกไทยได้ครึ่งหนึ่งของผลผลิตในโลก ตนกู อิบราฮิมได้ฟื้นฟูอำนาจของสุลต่านและเข้าควบคุมรายาพริกไทยที่ต้องส่งบรรณาการให้สุลต่าน และมีอำนาจในช่วงที่พี่ชายของเขา มูฮัมหมัด ชาห์ เป็นสุลต่าน และในรัชกาลต่อมาคือสุไลมาน ชาห์ ก่อนจะขึ้นเป็นสุลต่านองค์ต่อมาคือ สุลต่าน อาลี อลาอุดดิน มันซูร์ ชาห์ เขาขยายเขตควบคุมของอาเจะฮ์ลงไปทางใต้ ในเวลาเดียวกันที่เนเธอร์แลนด์ขยายอำนาจขึ้นเหนือ
สหราชอาณาจักรที่ได้รับรองเอกราชของอาเจะฮ์เพื่อปกป้องให้พ้นจากการยึดครองของเนเธอร์แลนด์ ได้ทบทวนนโยบายของตนใหม่ และได้ลงนามในสนธิสัญญาสหราชอาณาจักร-เนเธอร์แลนด์เกี่ยวกับสุมาตรา ยอมให้เนเธอร์แลนด์ควบคุมเกาะสุมาตราทั้งหมด แลกเปลี่ยนกับการผนวกโกลด์โคสต์และสิทธิทางการค้าที่เท่าเทียมกันในอาเจะฮ์ สนธิสัญญานี้นำไปสู่สงครามอาเจะฮ์ใน พ.ศ. 2416 เมื่ออาเจะฮ์ลงนามในสนธิสัญญาทางการค้ากับสหรัฐ เมื่อเนเธอร์แลนด์เตรียมตัวทำสงครามนั้น มะห์มุด ชาห์ได้ขอความช่วยเหลือจากนานาชาติแต่ไม่สำเร็จ
สุลต่านได้ออกจากเมืองหลวงเมื่อพระราชวังถูกยึดเมื่อ 31 มกราคม พ.ศ. 2416 ออกไปสู่เขตเทือกเขา เนเธอร์แลนด์ได้ประกาศผนวกอาเจะฮ์ สุลต่านเสียชีวิตลงด้วยอหิวาตกโรค ชาวอาเจะฮ์ได้ยกหลานของสุลต่านตนกูอิบราฮิมขึ้นมาเป็นผู้นำ ผู้นำท้องถิ่นแม้จะยอมรับอำนาจของเนเธอร์แลนด์แต่ก็ให้ความช่วยเหลือฝ่ายต่อต้านด้วย ในเวลานั้น นักการเมืองอาเจะฮ์ขอความช่วยเหลือจากอาณาจักรออตโตมันแต่ไม่สำเร็จ ตำแหน่งผู้นำในการต่อต้านเปลี่ยนมือไปสู่เจ้าของที่ดินและเป็นผู้นำทางศาสนาในที่สุด ที่ปรึกษาของสุลต่านอับด์ อัรเราะห์มาน อัลซาอีร์กลับมามีอำนาจควบคุมขบวนการเรียกร้องเอกราช แต่สุดท้ายก็ยอมมอบตัวต่อเนเธอร์แลนด์แลกเปลี่ยนกับการไปอยู่ที่เมกกะ
เนเธอร์แลนด์ขยายอิทธิพลจากเขตชายฝั่งเพื่อควบคุมพื้นที่ทั้งหมด สร้างทางรถไฟเชื่อมถึงเมืองหลวง ทำให้ประเทศสงบลงได้ใน พ.ศ. 2427 กระบวนการทางสันติภาพเชื่องช้าลงหลังจากนั้น แต่ก็ก้าวหน้าอีกครั้งระหว่าง พ.ศ. 2441–2446 ซึ่งเจ้าของที่ดินได้เซ็นสัญญาสงบศึกกับเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์สามารถจัดตั้งรัฐบาลในอาเจะฮ์ได้ และทำให้สุลต่านยอมมอบตัวใน พ.ศ. 2446 และได้ลี้ภัยใน พ.ศ. 2450 โดยไม่ได้ระบุนามรัชทายาท แต่ฝ่ายต่อต้านก็ยังสู้รบต่อจนถึง พ.ศ. 2455[8][7]
สุลต่าน
แก้อ้างอิง
แก้- J.M. Barwise and N.J. White. A Traveller’s History of Southeast Asia. New York: Interlink Books, 2002.
- M.C. Ricklefs. A History of Modern Indonesia Since c. 1300, 2nd ed. Stanford: Stanford University Press, 1994.
- ↑ Michael Hicks, ‘Davis , John (c.1550–1605)’, Oxford Dictionary of National Biography, Oxford University Press, 2004; online edn, Jan 2008
- ↑ Ooi Keat Gin, บ.ก. (2004). Southeast Asia. Santa Barbara, Calif. [u.a.]: ABC Clio. p. 120. ISBN 1-57607-770-5.
- ↑ Ricklefs, 34
- ↑ *D. G. E. Hall, A History of South-east Asia. London: Macmillan, 1955.
- ↑ Ricklefs, 51
- ↑ Barwise and White, 115–116
- ↑ 7.0 7.1 The Cambridge History of Southeast Asia By Nicholas Tarling Published by Cambridge University Press, 1999 ISBN 978-0-521-66370-0; pg. 260
- ↑ Ricklefs, 146