จักรวรรดิข่านชากาทาย

จักรวรรดิข่านชากาทาย (มองโกเลีย: Цагаадайн улс; จีน: 察合台汗國; อังกฤษ: Chagatai Khanate หรือ Chagata, Chugta, Chagta, Djagatai, Jagatai, Chaghtai) เป็นจักรวรรดิมองโกลแต่ต่อมาเปลี่ยนไปเป็นเตอร์กิก[1] จักรวรรดิข่านปกครองโดยชากาทาย ข่าน พระราชโอรสองค์ที่สองของเจงกิส ข่าน และผู้สืบเชื้อสายต่อจากพระองค์ เดิมจักรวรรดิข่านชากาทายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมองโกลแต่ต่อมาแยกตัวมาเป็นอาณาจักรอิสระ

จักรวรรดิข่านชากาทาย

Цагадайн улс
Tsagadai Khan Uls
察合台汗國
ค.ศ. 1225ค.ศ. 1687
ธงชาติจักรวรรดิข่านชากาทาย
ธงชาติ
จักรวรรดิข่านชากาทาย (เขียว) ราว ค.ศ. 1300
จักรวรรดิข่านชากาทาย (เขียว) ราว ค.ศ. 1300
สถานะส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมองโกลและเป็นจักรวรรดิอิสระต่อมา
เมืองหลวงอัลมาลิค, คาร์ชิ
ภาษาทั่วไปมองโกล, เตอร์กิก
ศาสนา
ลัทธิเตงกรี, พุทธศาสนา ต่อมา อิสลาม
การปกครองราชาธิปไตยกึ่งโดยเลือกตั้ง, ต่อมาเป็นราชาธิปไตยโดยสืบราชสันตติวงศ์
ข่าน 
• ค.ศ. 1225–1242
ชากาทาย ข่าน
• ค.ศ. 1388-1402
สุต่านมาห์มุด
• ค.ศ. 1681-1687
มุฮัมมัด อิมิน ข่าน
สภานิติบัญญัติKurultai
-
-
ยุคประวัติศาสตร์ยุคกลางตอนปลาย
• ชากาทาย ข่าน ได้รับบางส่วนของจักรวรรดิมองโกล
ค.ศ. 1225
• จักรวรรดิแทบเป็นอิสระหลังจากการเสียชีวิตของมองเค ข่าน
ค.ศ. 1260
• ทำสัญญาสงบศึกกับเตมูร์ ข่านแห่งราชวงศ์หยวน และจักรวรรดิข่านอื่น ๆ ของจักรวรรดิมองโกลและยอมรับอำนาจการเป็นเกรตข่าน
ค.ศ. 1304
• ยึดทรานส์อ็อกเซียนาโดยตีมูร์
ค.ศ. 1370
• ดินแดนที่เหลือตกไปเป็นของ Apaq Khoja และ Ak Tagh ด้วยความช่วยเหลือของดซูงการ์
ค.ศ. 1687
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิมองโกล
จักรวรรดิข่านซูงการ์
Aqtaghlyq
จักรวรรดิตีมูร์

ในจุดที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 จักรวรรดิข่านมีอาณาบริเวณตั้งแต่แม่น้ำอามูดาร์ยา (Amu Darya) ทางใต้ของทะเลอารัลไปจนถึงเทือกเขาอัลไตในบริเวณเขตแดนที่ปัจจุบันคือมองโกเลียและจีน[2]

จักรวรรดิข่านรุ่งเรืองในรูปใดรูปหนึ่งมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1220 จนกระทั่งถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 แม้ว่าทางครึ่งตะวันตกของจักรวรรดิจะเสียไปกับตีมูร์ ในคริสต์ทศวรรษ 1360 แต่ครึ่งตะวันออกยังคงอยู่ในมือของข่านชากาทายที่บางครั้งก็เป็นปฏิปักษ์ต่อหรือบางครั้งก็เป็นพันธมิตรกับผู้ครองจักรวรรดิตีมูร์ต่อมา ในที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 17 จักรวรรดิข่านชากาทายที่ยังคงเหลือก็ตกไปอยู่ภายใต้การปกครองของระบบเทวาธิปไตยของ Apaq Khoja และผู้สืบเชื้อสาย, โคจิจัน (Khojijan) ผู้ครองเติร์กสถานตะวันออก (East Turkestan) ภายใต้ดซูงการ์ (Dzungar) และในที่สุดประมุขของแมนจู

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Xinjiang: China's Muslim Borderland, S. Frederick Starr, pg. 243
  2. See Barnes, Parekh and Hudson, p. 87; Barraclough, p. 127; Historical Maps on File, p. 2.27; and LACMA for differing versions of the boundaries of the khanate.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้