จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2
จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 หรือ อาณาจักรซาร์แห่งบัลแกเรีย (อังกฤษ: Second Bulgarian Empire, บัลแกเรีย: Второ българско царство, Vtorо Balgarskо Tsartsvo) เป็นจักรวรรดิในในยุคกลางของบัลแกเรียที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1185 และรุ่งเรืองมาจนถึงปี ค.ศ. 1396 (หรือ ค.ศ. 1422)[1] จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 เป็นจักรวรรดิที่สืบต่อจากจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 และมามีอำนาจรุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิคาโลยัน และ สมเด็จพระจักรพรรดิไอวาน อาเซนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย ก่อนที่มาจะค่อยๆ เสื่อมโทรมลงจนในที่สุดก็ถูกพิชิตโดยจักรวรรดิออตโตมันในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 ตามมาด้วยราชอาณาจักรที่ปกครองโดยเจ้าชายและต่อมาโดยพระมหากษัตริย์เป็นราชอาณาจักรบัลแกเรียในปี ค.ศ. 1878
จักรวรรดิบัลแกเรีย (อาณาจักรซาร์แห่งบัลแกเรีย) Българско царство Bălgarsko tsarstvo | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1185–ค.ศ. 1396 | |||||||||||
จักรวรรดิบัลแกเรียราว ค.ศ. 1340 ภายใต้ ไอวาน อเล็กซานเดอร์ | |||||||||||
สถานะ | จักรวรรดิ | ||||||||||
เมืองหลวง | ทาร์นาโว (ค.ศ. 1185-1393) | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | บัลแกเรีย | ||||||||||
ศาสนา | อีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ | ||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||
ซาร์ (จักรวรรดิ) | |||||||||||
• ค.ศ. 1185-1190 | ปีเตอร์ที่ 4 | ||||||||||
• ค.ศ. 1396 | คอนสแตนตินที่ 2 | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคกลาง | ||||||||||
• ก่อตั้ง | ค.ศ. 1185 | ||||||||||
• การก่อตั้งใหม่ | ค.ศ. 1185 | ||||||||||
17 กรกฎาคม ค.ศ. 1393 | |||||||||||
• สิ้นสุด | ค.ศ. 1396 | ||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||
คริสต์ศตวรรษที่ 13 | 350,000 ตารางกิโลเมตร (140,000 ตารางไมล์) | ||||||||||
|
มาจนถึงปี ค.ศ. 1256 จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 เป็นจักรวรรดิมหาอำนาจในคาบสมุทรบอลข่าน[2] ระหว่างนั้นไบแซนไทน์ก็ได้รับความพ่ายแพ้หลายครั้งในยุทธการต่างๆ และในปี ค.ศ. 1205 จักรวรรดิละตินที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นก็มาถูกทำลายอย่างย่อยยับในยุทธการอันเดรียโนเปิล โดยคาโลยันแห่งบัลแกเรีย ต่อมาพระราชนัดดาของพระองค์ไอวาน อาเซนที่ 2 ก็ทรงพิชิตอาณาจักรเดสโพเททแห่งเอพิรอส (Despotate of Epiros) ได้ ซึ่งเป็นผลทำให้จักรวรรดิบัลแกเรียกลายเป็นมหาอำนาจของยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 13 แต่ต่อมาจักรวรรดิก็มาเสื่อมโทรมลงหลังจากการรุกรานเป็นระยะๆ ของชนทาร์ทาร์, ไบแซนไทน์, ชนฮังการี และจากการขาดความมั่นคงทางการเมืองและจากการปฏิวัติที่เกิดขึ้นภายในจักรวรรดิเอง ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 จักรวรรดิบัลแกเรียก็ถูกรุกรานโดยทั่วไปโดยจักรวรรดิไบแซนไทน์ผู้เข้ามาบ่อนทำลายเศรษฐกิจและโครงสร้างทางการบริหาร, ลดจำนวนประชากรของบัลแกเรีย และ เข่นฆ่าชนชั้นปกครองของบัลแกเรียไปเป็นจำนวนมาก
ทางด้านวัฒนธรรมจักรวรรดิบัลแกเรียเป็นหนึ่งในดินแดนที่ก้าวหน้าที่สุดในบรรดาประเทศต่างในยุโรปขณะนั้น[3] แม้ว่าไบแซนไทน์จะมีอิทธิพลเป็นอันมากต่อบัลแกเรียแต่ศิลปะและสถาปัตยกรรมของบัลแกเรียก็ยังสามารถดำรงความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองอยู่ได้โดยไม่เปลี่ยนแปลง ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 บัลแกเรียก็มีความรุ่งเรืองทั้งทางด้านศิลปะและวรรณกรรม ประชากรส่วนใหญ่ในบัลเกเรียก็เป็นผู้มีการศึกษาดี[4]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Tjutjundžiev, Ivan; Plamen Pavlov (1992). Bǎlgarskata dǎržava i osmanskata ekspanzija 1369-1422 (ภาษาบัลแกเรีย). Veliko Tǎrnovo.
- ↑ http://www.world66.com/europe/bulgaria/history เก็บถาวร 2009-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Bulgaria history
- ↑ http://www.travel-bulgaria.com/content/unesco_boyana_church.shtml The frescoes of the Boyana Church - predecessors of the European Renaissance
- ↑ "Нетинфо - Учени: Подписът не е на Боянския майстор". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ 2009-06-29.