การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 เป็น การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 10[1] ในประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 ผลเป็นชัยชนะของพรรคประชาธิปัตย์ที่จดทะเบียนขึ้นใหม่ โดยได้ 72 ที่นั่งจากทั้งหมด 269 ที่นั่ง แต่ยังไม่ถึงกึ่งหนึ่งของรัฐสภาที่ 135 ที่นั่ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งคิดเป็น 47.2%[2]

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518

← พ.ศ. 2512 26 มกราคม พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2519 →

ทั้งหมด 269 ที่นั่งในรัฐสภาไทย
ต้องการ 135 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ผู้ใช้สิทธิ47.5% ลดลง
  First party Second party Third party
 
ผู้นำ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ทวิช กลิ่นประทุม ประมาณ อดิเรกสาร
พรรค ประชาธิปัตย์ ธรรมสังคม ชาติไทย
เขตของผู้นำ 22 เมษายน 2511

ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 6

20 พฤศจิกายน 2517

ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

19 พฤศจิกายน 2517

ส.ส.สระบุรี

เลือกตั้งล่าสุด 57 ไม่ได้ลงเลือกตั้ง ไม่ได้ลงเลือกตั้ง
ที่นั่งที่ชนะ 72 45 28
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น 17 เพิ่มขึ้น 45 เพิ่มขึ้น 28
คะแนนเสียง 3,176,398 2,669,736 2,220,897
% 17.2% 14.5% 12.1%

  Fourth party Fifth party Sixth party
 
ผู้นำ เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์
พรรค เกษตรสังคม กิจสังคม สังคมชาตินิยม
เขตของผู้นำ 14 พฤศจิกายน 2517

ส.ส.ระยอง

4 พฤศจิกายน 2517

ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 1

19 พฤศจิกายน 2517

ส.ส.ฉะเชิงเทรา

เลือกตั้งล่าสุด ไม่ได้ลงเลือกตั้ง ไม่ได้ลงเลือกตั้ง ไม่ได้ลงเลือกตั้ง
ที่นั่งที่ชนะ 19 18 16
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น 19 เพิ่มขึ้น 18 เพิ่มขึ้น 16
คะแนนเสียง 1,982,168 1,387,451 1,299,613
% 10.8% 7.5% 7.0%

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

สัญญา ธรรมศักดิ์
อิสระ

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
กิจสังคม

โดยการเลือกตั้งครั้งนี้ เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ที่ถูกร่างขึ้นหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกด้วยที่เปลี่ยนจากการเลือกเป็นเขตจังหวัด เป็นหลายอำเภอรวมกันเป็นหนึ่งเขตเลือกตั้ง และมีจำนวน ส.ส. ได้เขตละ 3 คน [3]

ผลการเลือกตั้ง

แก้
ชื่อพรรค หัวหน้าพรรค[4] จำนวน ส.ส. (คน)
พรรคประชาธิปัตย์ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 72
พรรคธรรมสังคม ทวิช กลิ่นประทุม 45
พรรคชาติไทย พลตรีประมาณ อดิเรกสาร 28
พรรคเกษตรสังคม เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ 19
พรรคกิจสังคม หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช 18
พรรคสังคมชาตินิยม ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ 16
พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย พันเอก สมคิด ศรีสังคม 15
พรรคพลังใหม่ กระแส ชนะวงศ์ 12
พรรคแนวร่วมสังคมนิยม แคล้ว นรปติ 10
พรรคสันติชน ดรงค์ สิงห์โตทอง 8
พรรคประชาธรรม (พ.ศ. 2517) ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ 6
พรรคไท แผ่พืชน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา 4
พรรคฟื้นฟูชาติไทย พันเอก สวัสดี ศิริโพธิ์ 3
พรรคสยามใหม่ เปรม มาลากุล ณ อยุธยา 3
พรรคประชาธิปไตย (พ.ศ. 2517) ชุมพล มณีเนตร 2
พรรคอธิปัตย์ พลตำรวจโทประชา บูรณธนิต 2
พรรคแผ่นดินไทย[remark 1] สุนีรัตน์ เตลาน 2
พรรคพลังประชาชน[remark 2] บุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์ 2
พรรคพัฒนาจังหวัด สฤษดิ์ เพ็ญสุภา 1
พรรคเสรีชน พลเอก ประพันธ์ กุลพิจิตร 1
พรรคเกษตรกร (พ.ศ. 2517) อภิรัตน์ บริบูรณ์ 1
พรรคแรงงาน เชื้อ กาฬแก้ว 1
พรรคเศรษฐกร ทิม ภูริพัฒน์ 1
รวม 269

การจัดตั้งรัฐบาล

แก้

หลังการเลือกตั้ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 โดยมติของสภาผู้แทนราษฎรด้วยคะแนนเสียง 133 ต่อ 52 เสียง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2518 โดยมีหม่อมราชวงศ์เสนีย์เป็นผู้นำรัฐบาลเสียงข้างน้อย

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 6 มีนาคม สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจด้วยคะแนนเสียง 152 ต่อ 111 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง หลังจากที่หม่อมราชวงศ์เสนีย์แถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎร หม่อมราชวงศ์เสนีย์จึงประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช น้องชายของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคกิจสังคมซึ่งมี ส.ส. 18 คนในสภาสามารถรวบรวมเสียงในสภาผู้แทนราษฎรได้จึงได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ด้วยคะแนนเสียง 135 ต่อ 59 เสียง งดออกเสียง 75 เสียง

แต่ความเป็นรัฐบาลต้องเผชิญกับแรงกดดันต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะเสถียรภาพรัฐบาล ที่มีจำนวน ส.ส.ในสภาแบบก้ำกึ่ง ในที่สุด ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ต้องตัดสินใจยุบสภา เนื่องจาก ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลหันไปเข้าร่วมกับฝ่ายค้าน เสนอญัตติขอร่วมเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล รวมเวลาที่บริหารประเทศได้ประมาณ 1 ปี 1 เดือน

หลังจากยุบสภามีการจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่คือ การเลือกตั้ง วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519[5] [6][7]

เชิงอรรถ

แก้
  1. เป็นคนละพรรคกับ พรรคแผ่นดินไทย ที่ถูกยุบพรรคในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549
  2. เป็นคนละพรรคกับ พรรคพลังประชาชน ที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2541

อ้างอิง

แก้
  1. การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2539. ศูนย์บริการข้อมูลและกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 1996. pp. 5–7.
  2. Dieter Nohlen, Florian Grotz & Christof Hartmann (2001) Elections in Asia: A data handbook, Volume II, p284 ISBN 0-19-924959-8
  3. "วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 22 04 58". ยูทิวบ์. 22 April 2015. สืบค้นเมื่อ 23 April 2015.
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนพิเศษที่ 193ง วันที่ 18 กันยายน 2518
  5. คึกฤทธิ์ เป็นนายกฯ แทนพี่ชาย, หน้า 149. กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3
  6. Nohlen, D, Grotz, F & Hartmann, C (2001) Elections in Asia: A data handbook, Volume II, p284 ISBN 0-19-924959-8
  7. Sangchai, Somporn (1979), "Some Observations on the Elections and Coalition Formation in Thailand, 1976", Modern Thai Politics (Transaction Publishers): p. 378,