ประเทศอุซเบกิสถาน

ประเทศในเอเชียกลาง
(เปลี่ยนทางจาก Uzbekistan)

พิกัดภูมิศาสตร์: 42°N 63°E / 42°N 63°E / 42; 63

อุซเบกิสถาน (อังกฤษ: Uzbekistan; อุซเบก: O'zbekiston) หรือชื่ออย่างเป็นทางการก็คือ สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน (อังกฤษ: Republic of Uzbekistan; อุซเบก: O‘zbekiston Respublikasi) เป็นประเทศในทวีปเอเชียกลางที่ถูกล้อมรอบด้วยประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตติดกับประเทศอัฟกานิสถานในทวีปเอเชียใต้ ประเทศคาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน และมีชายฝั่งบนทะเลอารัล อุซเบกิสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน

Oʻzbekiston Respublikasi (อุซเบก)
ที่ตั้งของ ประเทศอุซเบกิสถาน  (เขียว)
ที่ตั้งของ ประเทศอุซเบกิสถาน  (เขียว)
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ทาชเคนต์
41°19′N 69°16′E / 41.317°N 69.267°E / 41.317; 69.267
ภาษาราชการอุซเบก[2][3] และรัสเซีย (โดยพฤตินัย)
การากัลปัก (ในการากัลปักสถาน)[2]
ภาษาสื่อสารระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์รัสเซีย
ภาษาพูดอุซเบกรัสเซียทาจิกคาซัคการากัลปักคีร์กีซเติร์กเมนตาตาร์ไครเมียและโวลกาตาตาร์โครยอ-มาร์อาร์มีเนียตะวันออกยูเครนอาเซอร์ไบจานอุยกูร์อาหรับเอเชียกลางยูโด-ทาจิกิปาร์ยา และอื่น ๆ
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2021[4])
ศาสนา
เดมะนิมชาวอุซเบกิสถาน[5]
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดีและระบบพรรคเด่น
ชัฟคัต มีร์ซีโยเยฟ
อับดุลลา โอรีพอฟ
• ประธานวุฒิสภา
Tanzila Narbayeva
Nurdinjan Ismailov
สภานิติบัญญัติสภาสูงสุด
วุฒิสภา
สภานิติบัญญัติ
ก่อตั้ง
ค.ศ. 1370
27 ตุลาคม ค.ศ. 1924
• เป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียต
1 กันยายน ค.ศ. 1991a
• ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ
26 ธันวาคม ค.ศ. 1991
2 มีนาคม ค.ศ. 1992
8 ธันวาคม ค.ศ. 1992
พื้นที่
• รวม
448,978 ตารางกิโลเมตร (173,351 ตารางไมล์) (อันดับที่ 56)
4.9
ประชากร
• ค.ศ. 2020 ประมาณ
35,011,180[6] [7] (อันดับที่ 41)
74.1 ต่อตารางกิโลเมตร (191.9 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 132)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2021 (ประมาณ)
• รวม
275.806 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[8] (อันดับที่ 55)
7,830 ดอลลาร์สหรัฐ[8] (อันดับที่ 154)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2021 (ประมาณ)
• รวม
60.490 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[8] (อันดับที่ 78)
1,775 ดอลลาร์สหรัฐ[8] (อันดับที่ 173)
จีนี (ค.ศ. 2013)positive decrease 36.7[9][10]
ปานกลาง · อันดับที่ 88
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.720[11]
สูง · อันดับที่ 106
สกุลเงินซอมอุซเบกิสถาน (UZS)
เขตเวลาUTC+5 (เวลาอุซเบกิสถาน)
ไฟบ้าน220 โวลต์, 50 เฮิรตซ์
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+998
โดเมนบนสุด.uz
เว็บไซต์
gov.uz/ (ในภาษาอุซเบก อังกฤษ และรัสเซีย)
  1. ในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1991 สภาโซเวียตสูงสุดแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบกลงคะแนนเสียงให้ประเทศเป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียต วันถัดมาได้รับการประกาศเป็นวันหยุดแห่งชาติและกลายเป็นวันเอกราชอุซเบกิสถาน

ภูมิศาสตร์ แก้ไข

 
แผนที่ประเทศอุซเบกิสถาน
  • พื้นที่ มีพื้นที่ 447,400 ตารางกิโลเมตร
  • ภูมิประเทศ เป็นทะเลทรายล้อมรอบด้วยเทือกเขาสูง
  • ภูมิอากาศ ทะเลทรายแบบภาคพื้นทวีป หน้าร้อน ๆ นาน หน้าหนาวอากาศเย็นสบาย
  • ที่ตั้ง ภูมิภาคเอเชียกลาง ทางเหนือของประเทศอัฟกานิสถาน

สิ่งแวดล้อม แก้ไข

ประวัติศาสตร์ แก้ไข

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แก้ไข

 
รูปหล่อเล็กหญิง ทำจากคลอไรและหินปูน จุดเริ่มต้นของสหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช
 
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ยึดครองดินแดนของฮ่อเมื่อปี 367 ก่อนคริสตกาล ในภายหลังดินแดนนี้ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เซียในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6 ก่อนจะถูกยึดครองโดยจักรวรรดิมองโกลของเจงกีส ข่าน เมื่อ ค.ศ. 1220

ยุคประวัติศาสตร์ แก้ไข

ในศตวรรษที่ 13 ขุนศึกชื่อเตมือร์ได้มีอำนาจเหนือมองโกลและตั้งอาณาจักรของตนเองขึ้นที่เมืองซามาร์กันต์ เตมือร์ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ในการสร้างชาติอุซเบกิสถานในยุคปัจจุบัน

ศตวรรษที่ 19 แก้ไข

คริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อจักรวรรดิรัสเซียได้ขยายอำนาจมาในย่านเอเชียกลาง

ศตวรรษที่ 20 แก้ไข

อุซเบกิสถานได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในสหภาพโซเวียต มีชื่อว่าสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก ก่อนจะได้รับอิสรภาพหลังจากการล่มสลายของโซเวียตเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1991

การเมืองการปกครอง แก้ไข

รัฐธรรมนูญปี 1993 กำหนดให้อุซเบกิสถานมีการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย

บริหาร แก้ไข

ประธานาธิบดีเป็นประมุขและนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารประเทศ

นิติบัญญัติ แก้ไข

 
รัฐสภาอุซเบกิสถาน.

ระบบสภาเดี่ยว

สถานการณ์การเมือง แก้ไข

เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2548 ได้มีการประท้วงรัฐบาลที่เมือง Andijan ราว 200 กิโลเมตรจากกรุงทาชเคนต์ และต่อมาที่เมือง Korasuv ในเขตหุบเขา Ferghana ทางภาคตะวันออกใกล้พรมแดนคีร์กีซสถาน ซึ่งเป็นเขตที่ถูกจับตามองจากทางการอุซเบกิสถาน เนื่องจากรัฐบาลเชื่อว่ามีกลุ่มมุสลิมที่ต่อต้านรัฐบาลและมีแนวความคิดที่จะแยกตัวเป็นอิสระ แหล่งข่าวต่าง ๆ เชื่อว่าการประท้วงมีสาเหตุจากความไม่พอใจการบริหารประเทศของประธานาธิบดี ที่ละเลยต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ในการปะทะกันของกองทัพของรัฐบาลและผู้ชุมนุมประท้วงเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตราว 750 คน และบาดเจ็บอีกนับพันคน (ตัวเลขทางการมีผู้เสียชีวิต 187 คน) ซึ่งรัฐบาลอุซเบกิสถานได้กล่าวหากลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง (Hizb ut-Tahrir) ว่าอยู่เบื้องหลังการก่อเหตุจลาจลดังกล่าว และเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2548 ศาลสูงสุดของอุซเบกิสถานได้ตัดสินจำคุกผู้ต้องหา 15 คน ซึ่งรัฐบาลกล่าวหาว่ามีส่วนก่อเหตุความไม่สงบที่เมือง Andijan ซึ่งผู้ต้องหาทั้งหมดให้การสารภาพ โดยแหล่งข่าวต่าง ๆ เชื่อว่ากระบวนการตัดสินไม่โปร่งใส และน่าจะเป็นเพียงการจัดฉากของฝ่ายรัฐบาลเท่านั้น

หลังจากที่สหรัฐฯ ลังเลที่จะแสดงท่าทีในเรื่องนี้ เนื่องจากความร่วมมือด้านการทหารที่มีอยู่ แต่ต่อมาสหรัฐฯ EU และ OSCE ได้เรียกร้องให้องค์การนานาชาติเข้าไปสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ประธานาธิบดี Karimov ปฏิเสธและยืนยันไม่ให้มีการสอบสวนดังกล่าว เมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากองค์การสหประชาชาติที่สหรัฐฯ เป็นแกนนำได้ช่วยเหลือนำผู้ลี้ภัยชาวอุซเบกที่ลี้ภัยไปยังประเทศคีร์กีซสถานส่งต่อไปยังประเทศโรมาเนีย รัฐบาลของประธานาธิบดีคารีมอฟได้ออกคำสั่งให้ถอนฐานทัพของสหรัฐที่ประจำอยู่ที่เมือง Karshi-Khanabad ซึ่งเป็นเมือง หน้าด่านชายแดนติดกับประเทศอัฟกานิสถานออกจากเทศอุซเบกิสถานภายในสิ้นปี 2548 เมื่อเดือนตุลาคม 2548 ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของ EU ได้มีมติให้ใช้มาตรการคว่ำบาตรกับอุซเบกิสถาน โดยจะงดค้าอาวุธ ลดเงินทุนช่วยเหลือและระงับโครงการบางส่วนของ The EU - Uzbek Partnership and Cooperation Agreement (PAC) รวมทั้งงดการตรวจลงตราแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอุซเบกิสถานอีก 12 คนด้วย ล่าสุด ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2550 มีมติให้ยกเลิกการระงับการให้วีซ่าเข้าสหภาพยุโรปแก่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของอุซเบกิสถานจำนวน 4 คน จาก 12 คนที่สหภาพยุโรปเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์รุนแรงที่ Andijan

สำหรับรัสเซียได้แสดงการสนับสนุนอุซเบกิสถานในเรื่องนี้มาโดยตลอด โดยเชื่อว่าการจลาจลที่เมือง Andijan มีผู้อยู่เบื้องหลังไม่ใช่เกิดขึ้นจากความไม่พอใจต่อรัฐบาลต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมอย่างที่ประเทศส่วนใหญ่เข้าใจกัน โดยเมื่อวันที่ 14 - 15 พฤศจิกายน 2548 ประธานาธิบดีคารีมอฟเยือนรัสเซียอย่างเป็นทางการ โดยได้มีการลงนามความร่วมมือทางการทหารร่วมกัน ซึ่งรวมถึงการอนุญาตให้ใช้อาวุธของตนในเขตแดนของกันและกัน และการช่วยเหลือทางการทหารต่อกันในกรณีที่ถูกรุกราน

การแบ่งเขตการปกครอง แก้ไข

ประเทศอุซเบกิสถานแบ่งออกเป็น 12 แคว้น (viloyat), 1 สาธารณรัฐปกครองตนเอง* (avtonom respublikasi) และ 1 นครอิสระ** (shahar) ได้แก่

ชื่อหน่วยการปกครอง เมืองหลัก เนื้อที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร รหัส
ไอเอสโอ 3166-2
แผนที่
การ์ชือ 28,400 2,029,000 UZ-QA  
เนอกึส 160,000 1,200,000 UZ-QR
อูร์แกนช์ 6,300  1,200,000 UZ-XO
จึซซัฆ 20,500 910,500 UZ-JI
ซามาร์กันต์ 16,400 2,322,000 UZ-SA
กือลึสตอน 5,100 648,100 UZ-SI
เตร์มึส 20,800 1,676,000 UZ-SU
นูรัฟชอน 15,300 4,450,000 UZ-TO
UZ-TK
นามังแกน 7,900 1,862,000 UZ-NG
นาวออีย์ 110,800 767,500 UZ-NW
บูฆอรอ 39,400 1,384,700 UZ-BU
ฟาร์ฆอนา 6,800 2,597,000 UZ-FA
อันดือจอน 4,200 1,899,000 UZ-AN

เศรษฐกิจ แก้ไข

โครงสร้างทางเศรษฐกิจ แก้ไข

 
ทาชเคนต์
  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ 13.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
  • การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.2 (2549)
  • มูลค่าการส่งออก 5.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • สินค้าส่งออกสำคัญ ฝ้าย 41.5 % ก๊าซธรรมชาติ ปิโตรเลียม ถ่านหิน โลหะ ทองและเงิน เครื่องนุ่งห่ม สิ่งทอ
  • ตลาดส่งออกสำคัญ รัสเซีย จีน ยูเครน ตุรกี ทาจิกิสถาน บังคลาเทศ
  • มูลค่าการนำเข้า 4.19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักรและชิ้นส่วน (50%) ผลิตภัณฑ์อาหาร (16%) เคมีภัณฑ์ โลหะ
  • แหล่งนำเข้าสำคัญ รัสเซีย เกาหลีใต้ เยอรมนี จีน คาซัคสถาน ตุรกี
  • ทรัพยากร ก๊าซธรรมชาติ ปิโตรเลียม ถ่านหิน ทองคำ ยูเรเนียม เงิน ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ทังสเตน
  • อุตสาหกรรมหลัก สิ่งทอ อาหารแปรรูป เครื่องจักรกล อุตสาหกรรมโลหะ ก๊าซธรรมชาติ เคมีภัณฑ์

สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน แก้ไข

อุซเบกิสถานมีจุดแข็งที่สำคัญคือเป็นตลาดขนาดใหญ่เป็นลำดับ 3 ของประเทศ CIS และมีความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตรโดยเฉพาะพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม อีกทั้งมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและน่าสนใจ ได้แก่ เมือง Samarkand , Bukara และ Khiva ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และอารยธรรมบนเส้นทางสายไหมในอดีต

รัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ การปฏิรูปการเกษตร การเปิดเสรีทางการค้าต่างประเทศและการเงิน การปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีพของประชาชน

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันธุรกิจส่วนใหญ่ของประเทศเป็นธุรกิจผูกขาดที่ดำเนินการโดยเครือข่ายของบุคคลในตระกูลและกลุ่มผลประโยชน์ของบุคคลในรัฐบาล อีกทั้งระบบการจัดเก็บภาษียังไม่โปร่งใส ตลอดจนการกระจายรายได้ไม่ถึงประชาชนอย่างแท้จริง ทำให้ประชากรยังประสบกับปัญหาความยากจน

ประชากรศาสตร์ แก้ไข

เชื้อชาติ แก้ไข

 
 
เด็กๆ ชาวอุซเบก

ประชากร 27.7 ล้านคน (2549) ประกอบด้วยชาวอุซเบกร้อยละ 80 รัสเซียร้อยละ 5.5 ทาจิกร้อยละ 5 คาซัคร้อยละ 3 คาราคาลปักร้อยละ 2.5 ตาตาร์ร้อยละ 1.5 อื่น ๆ ร้อยละ 2.5 รวมถึงชนกลุ่มน้อยมากมายหลายกลุ่ม แต่ที่มีจำนวนมาก คือ พวกคีร์ คาซัค อุซเบก ทาจิก เติร์กเมน รัสเซียน อาเซอรี และเคิร์ด

ศาสนา แก้ไข

อิสลาม นิกายสุหนี่ ร้อยละ 88 คริสต์ นิกายอีสเทิร์นออโธด๊อกซ์ ร้อยละ 9 อื่นๆ ร้อยละ 3

ภาษา แก้ไข

อุซเบก 74.3% รัสเซีย 14.2% ทาจิก 4.4%

วัฒนธรรม แก้ไข

 
พาโลฟ (Palov) อาหารประจำชาติ

วันหยุด แก้ไข

วันหยุดนอกเหนือจากทางราชการ

  • End of Ramazon Ramazon Hayit Eid al-Fitr
  • 70 days later Qurbon Hayit Eid al-Adha

อ้างอิง แก้ไข

  1. "Constitution of the Republic of Uzbekistan". ksu.uz. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2016. สืบค้นเมื่อ 1 January 2015.
  2. 2.0 2.1 "Uzbekistan: Law "On Official Language"". Refworld.
  3. "Constitution of the Republic of Uzbekistan". constitution.uz. constitution.uz. สืบค้นเมื่อ 1 September 2020.
  4. Опубликованы данные об этническом составе населения Узбекистана. The State Statistics Committee. สืบค้นเมื่อ 26 August 2021.
  5. "Uzbekistan - The World Factbook". www.cia.gov. สืบค้นเมื่อ 2021-05-08.
  6. "Demografiya va mehnat statistikasi (Yanvar - Dekabr, 2020)" (PDF). Stat.uz. 20 January 2021.
  7. "Население Узбекистана превысило 35 миллионов)". Gazeta.uz (ภาษารัสเซีย). 2021-09-07.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Uzbekistan. International Monetary Fund
  9. "Income Gini coefficient | Human Development Reports". hdr.undp.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2010. สืบค้นเมื่อ 6 December 2017.
  10. "GINI index – Uzbekistan". MECOMeter – Macro Economy Meter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2015. สืบค้นเมื่อ 6 December 2017.
  11. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.

อ่านเพิ่ม แก้ไข

  • Nahaylo, Bohdan and Victor Swoboda. Soviet Disunion: A History of the Nationalities problem in the USSR (1990) excerpt
  • Rashid, Ahmed. The Resurgence of Central Asia: Islam or Nationalism? (2017)
  • Smith, Graham, ed. The Nationalities Question in the Soviet Union (2nd ed. 1995)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข

ข้อมูลทั่วไป

สื่อ