เศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม

เศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม (อังกฤษ: socialist market economy) เป็นระบบเศรษฐกิจและตัวแบบการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่ประกาศใช้ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตัวระบบเป็นเศรษฐกิจตลาดที่ใช้กรรมสิทธิ์สาธารณะอย่างกว้างขวาง และมีรัฐวิสาหกิจถือครองสัดส่วนใหญ่ในระบบเศรษฐกิจ[1] เจียง เจ๋อหมินเป็นผู้เริ่มใช้คำดังกล่าวในช่วงการประชุมสมัชชาแห่งชาติครั้งที่ 14 ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน (CPC) ในปี 1992 เพื่ออธิบายถึงเป้าหมายของการปฏิรูปเศรษฐกิจของจีน[2] ต้นแบบของการปฏิรูปเศรษฐกิจของจีน ริเริ่มขึ้นในปี 1978 เพื่อเป็นการบูรณาการจีนไปสู่เศรษฐกิจแบบโลกาภิวัตน์, เศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยมเป็นตัวแทนที่แสดงถึงการพัฒนาสังคมนิยมใน “ระดับต้น”[3] นักวิจารณ์บางสายกล่าวถึงระบบเศรษฐกิจแบบนี้ ว่าเป็นเพียง “ทุนนิยมโดยรัฐ” รูปแบบหนึ่ง, ในขณะที่อีกสายกล่าวว่าระบบดังกล่าวถือเป็นแบบฉบับแห่งการวิวัฒน์ของลัทธิมาร์กซ์, มีความสอดคล้องกับลัทธิมาร์กซ์-เลนิน และมีความคล้ายคลึงกับนโยบายเศรษฐกิจใหม่ของสหภาพโซเวียต, เป็นการปรับตัวให้สามารถดำรงอยู่ร่วมกันกับระบบทุนนิยมที่ครอบคลุมไปทั่วโลก.[4]

เศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม
อักษรจีนตัวย่อ社会主义市场经济
อักษรจีนตัวเต็ม社會主義市場經濟

รายละเอียด แก้

การปฏิรูปไปสู่รูปแบบเศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม เป็นหนึ่งในพื้นฐานของหลักวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ของลัทธิมาร์กซ์. ช่วงปลายทศวรรษ 1970, เติ้งเสี่ยวผิง ผู้นำสูงสุดในขณะนั้น และบรรดาผู้นำอื่นๆ ของ พคจ. ปัดตกแนวคิดเดิมของหลักความคิดเหมาเจ๋อตง ที่เพียงมุ่งเน้นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจด้วยการเมืองและวัฒนธรรม โดย พคจ. ริเริ่มให้ความสำคัญต่อการพัฒนาที่มุ่งเน้นไปที่พลังการผลิตทางวัตถุ ในฐานะที่เป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐานต่อความก้าวหน้าทางสังคมในรูปแบบสังคมนิยม. นโยบายที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันนี้ของจีน บวกกับมุมมองของลัทธิมาร์กซ์แบบดั้งเดิม – ที่กล่าวว่าเศรษฐกิจสังคมนิยมแบบวางแผนที่พัฒนาเต็มรูปแบบนั้น จะเกิดขึ้นจริงได้ก็ต่อเมื่อเศรษฐกิจแบบตลาดได้รีดเค้นบทบาททางประวัติศาสตร์ของตัวเอง และแปลงรูปตัวเองไปสู่เศรษฐกิจแบบวางแผนตามลำดับ – ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้การวางแผนเศรษฐกิจเป็นไปได้ จึงทำให้ความสัมพันธ์เชิงตลาดมีความจำเป็นน้อยลง.[1]

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนมองเศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยมในฐานะที่เป็นระยะเริ่มแรกของการพัฒนาลัทธิสังคมนิยม (ระยะแรกนี้ อาจเรียกว่า “ระยะเบื้องต้น” หรือ “ระยะอุ่นเครื่อง” ของลัทธิสังคมนิยม), โดยกรรมสิทธิ์สาธารณะดำรงอยู่เคียงกันกับลักษณะกรรมสิทธิ์นอกสาธารณะอื่นๆ. พคจ. ให้เหตุผลว่า แม้จะมีการดำรงอยู่ร่วมกันของนายทุนเอกชน วิสาหกิจสาธารณะ และวิสาหกิจรวมหมู่, จีนก็มิได้เป็นประเทศทุนนิยม เนื่องจากพรรคยังเป็นผู้ควบคุมทิศทางของประเทศ, โดยยังยึดกุมเส้นทางการพัฒนาในรูปแบบสังคมนิยมไว้ได้.[1] นักทฤษฎีที่เสนอรูปแบบทางเศรษฐกิจนี้ ได้แยกตัวแบบทางเศรษฐกิจชนิดนี้ออกจากสังคมนิยมตลาด โดยกล่าวว่านักสังคมนิยมตลาดมีความเชื่อว่าเศรษฐกิจแบบวางแผนนั้นไม่สามารถสร้างให้เป็นจริงได้, ไม่เป็นที่ปรารถนา, หรือไม่มีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นจึงมองตลาดในรูปที่เป็นส่วนสำคัญของลัทธิสังคมนิยม ในขณะที่นักทฤษฎีสายเศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม มองว่าการใช้ระบบตลาดเป็นเพียงระยะชั่วคราวก่อนจะมีการพัฒนาเศรษฐกิจแบบวางแผนเต็มรูปแบบ.[5]

ชุยจือหยวน ทำการศึกษาพื้นฐานทางทฤษฎีของเศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม ย้อนหลังไปถึงตัวแบบสังคมนิยมเสรี ของเจมส์ มีดส์ ที่ว่า รัฐมีฐานะเป็นผู้อ้างสิทธิ์ในผลกำไรของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งดำเนินการเป็นเอกเทศจากการบริหารของรัฐ.[6]

ความเป็นมา แก้

 
นับตั้งแต่ปี 1999 เศรษฐกิจภาคเอกชนเพิ่มสัดส่วนมากขึ้นเรื่อยๆ ในทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจจีน

หลังจากช่วงนโยบายก้าวกระโดด (ปี 1958-1961) และการขับไล่แก๊งสี่คนลงจากอำนาจในปี 1976, เติ้งเสี่ยวผิง (ผู้นำสูงสุด ปี 1978 ถึง 1989) กลับมามุ่งเน้นเรื่องการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน และมองหาระบบที่เข้ากันได้กับเงื่อนไขเฉพาะแบบจีน. อย่างไรก็ดี, แม้จะต้องดำเนินงานดังกล่าว เติ้งเสี่ยวผิงยังคงยึดมั่นในตัวแบบของลัทธิเลนิน ว่าด้วยการควบคุมทางการเมืองจากส่วนกลาง และแนวคิดการปกครองรัฐโดยพรรคเดียว.

เจียงเจ๋อหมิน เป็นผู้ริเริ่มใช้คำศัพท์ “เศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม” ในปี 1992” เจียงได้ทดสอบแนวคิดดังกล่าว เพื่อที่จีนจะสามารถเรียนรู้จากประเทศทุนนิยมได้ โดยที่ไม่ต้องอธิบายเสริมว่า การปฏิรูปนั้นเป็น “สังคมนิยม” หรือ “ทุนนิยม” กันแน่. โดยก่อนหน้านั้นเจียงได้รับความเห็นชอบการใช้คำศัพท์นี้จากเติ้งเสี่ยวผิงล่วงหน้าแล้ว.[2] นโยบายโด๋ยเม้ย ในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ก็เป็นการปรับใช้แนวคิดนี้เช่นกัน.[7] หลังจากที่เริ่มดำเนินการปฏิรูป ระบบเศรษฐกิจรูปแบบนี้ก็ได้เข้าแทนที่เศรษฐกิจวางแผนจากส่วนกลางในสาธารณรัฐประชาชนจีน, และได้เห็นการเติบโตของ GDP ในระดับสูงในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา. ในตัวแบบเศรษฐกิจนี้ วิสาหกิจของเอกชนได้กลายเป็นองค์ประกอบหลักของระบบเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับรัฐวิสาหกิจจากส่วนกลาง ตลอดจนวิสาหกิจแบบรวมหมู่ แบบตำบล และแบบหมู่บ้าน.

การแปลงรูปไปสู่เศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม เริ่มในปี 1978 เมื่อเติ้งเสี่ยวผิงประกาศนโยบายว่าด้วยสังคมนิยมแบบอัตลักษณ์จีน. การปฏิรูประยะแรกเริ่มด้วยการปรับลดภาคการเกษตรจากระบบรวมหมู่ และเปิดประเทศเพื่อรับเงินลงทุนจากต่างชาติในช่วงปลายทศวรรษ 1970 และต้นทศวรรษ 1980 ที่ภายหลังนำไปสู่การปฏิรูปอย่างกว้างขวางและครอบคลุม, รวมถึงการแปลงรูปให้เป็นบรรษัทของวิสาหกิจภาครัฐ, บางส่วนแปลงรูปให้เป็นเอกชน, ปลดข้อจำกัดด้านการค้าและราคา และรื้อระบบ “ชามข้าวเหล็ก” ที่ถือเป็นคติเก่าว่าด้วยความมั่นคงในการจ้างงานในช่วงปลายทศวรรษ 1990. ด้วยการปฏิรูปของเติ้งเสี่ยวผิง, GDP ของจีนพุ่งทะยานจาก 1.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 1.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2004, คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 9.4 ต่อปี.[8]

การวิเคราะห์ แก้

นักวิจารณ์และนักวิชาการหลายสายมองระบบเศรษฐกิจของจีนว่าเป็นเพียงทุนนิยมโดยรัฐรูปแบบหนึ่ง, โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการปฏิรูปอุตสาหกรรมระหว่างทศวรรษที่ 1980 และ 1990, โดยสังเกตว่าแม้เศรษฐกิจของจีนยังคงมีเศรษฐกิจภาครัฐขนาดใหญ่, รัฐวิสาหกิจบางส่วนกลับมีรูปแบบการดำเนินงานเหมือนกับบริษัทเอกชน และเก็บผลกำไรอยู่กับตัว โดยมิได้ปันส่วนดังกล่าวไปสู่ภาครัฐ เพื่อให้รัฐนำไปทำประโยชน์ให้กับประชาชนโดยรวม. ตัวแบบเศรษฐกิจนี้ยังเป็นที่มาของคำถาม ถึงความสมเหตุสมผลของการมีกรรมสิทธิ์สาธารณะที่มากเกินไป ตลอดจนความเข้ากันของนิยามของระบบที่มีต่อความเป็น “สังคมนิยม”, และนำไปสู่ความกังวลและการถกเถียงกัน ว่าด้วยการจัดสรรผลกำไรของรัฐ.[9][10]

อย่างไรก็ดี, นับตั้งแต่ปี 2017 ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ, รัฐบาลกลางเริ่มส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจจ่ายเงินปันผลให้กับรัฐ. นโยบายปฏิรูปนอกจากนี้ ยังมีการโอนถ่ายสินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจไปสู่กองทุนประกันสังคม เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่งบเงินบำนาญ, ตลอดจนรัฐบาลระดับเมืองของเซินเจิ้น ยังได้เสนอให้รัฐวิสาหกิจให้การอัดฉีดในรูปแบบเงินปันผลทางสังคมกับประชาชน.[11]

นักเศรษฐศาสตร์ชาวจีน ชุยจือหยวน ให้ทัศนะถึงตัวแบบของเจมส์ มีดส์ ว่าด้วยสังคมนิยมเสรี ว่ามีความคล้ายคลึงกับเศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยมของจีน และสามารถนำไปพิสูจน์ความสมเหตุสมผลของตัวแบบของจีนได้. ตัวแบบสังคมนิยมตลาดของมีดส์ กล่าวถึงกรรมสิทธิ์สาธารณะในวิสาหกิจ ที่มีการบริหารงานเป็นเอกเทศ – ในขณะที่รัฐเป็นเพียงผู้อ้างสิทธิในกำไรที่ได้จากผลประกอบการของวิสาหกิจ, แต่มิได้มีสิทธิควบคุมการบริหารหรือการดำเนินงานในวิสาหกิจ. ข้อได้เปรียบของตัวแบบนี้คือ รัฐมีแหล่งรายได้นอกเหนือจากรูปแบบภาษีและหนี้เงินกู้ค้างชำระ, ทำให้สามารถลดภาระด้านภาษีเงินได้ให้กับบุคคลธรรมดาและภาคเอกชน ในขณะเดียวกันก็สามารถส่งเสริมความเท่าเทียมได้ด้วย. ชุย ชี้ว่าประสบการณ์ของฉงชิ่ง มีลักษณะที่รัฐวิสาหกิจระดับเมืองช่วยให้ภาครัฐสามารถแบกรับค่าใช้จ่ายด้านสังคมที่สูงได้ ควบคู่ไปกับภาษีระดับต่ำ โดยยังมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงโดยรวม นั้น ถือเป็นข้อพิสูจน์ของตัวแบบเศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม. ตัวแบบฉงชิ่งมีการใช้กำไรจากรัฐวิสาหกิจไปอุดหนุนบริการสาธารณะ (รวมถึงการจัดหาที่อยู่อาศัย), เป็นแหล่งรายได้หลักของการคลังสาธารณะ และยังทำให้ฉงชิ่งสามารถลดอัตราภาษีนิติบุคคล (15% เทียบกับอัตราภาษีนิติบุคคลระดับประเทศที่ 33%) เพื่อจูงใจการลงทุนจากต่างชาติอีกด้วย.[6]

เปรียบเทียบ สังคมนิยมตลาด และทุนนิยม แก้

นักทฤษฎีสายเศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม เทียบตัวแบบเศรษฐกิจนี้กับนโยบายเศรษฐกิจใหม่ แห่งยุคทศวรรษ 1920 ของสหภาพโซเวียต ที่นำเสนอการปฏิรูปเชิงตลาดหลากหลายรูปแบบ ในขณะที่ยังรักษาไว้ซึ่งระบบกรรมสิทธิ์ของรัฐ ว่าด้วยเศรษฐกิจที่มีการสั่งการจากมุมสูง. พบว่าการปฏิรูปมีความชอบธรรม ด้วยความเชื่อที่ว่า การปรับเปลี่ยนเงื่อนไขเป็นความจำเป็นในการออกยุทธศาสตร์ใหม่ๆ สำหรับการพัฒนาสังคมนิยม.[12]


จากข้อมูลของ หลี่หรงหรง, ในปี 2003 ประธานกรรมาธิการตรวจสอบและบริหารสินทรัพย์ของรัฐ ภายใต้คณะรัฐมนตรี, กล่าวว่าระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมของจีน ได้รับการค้ำจุนด้วยบทบาทพื้นฐานของวิสาหกิจแบบสาธารณะ

กรรมสิทธิ์สาธารณะ, ในฐานะที่เป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นพลังขั้นพื้นฐานของรัฐที่จะนำพาและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเป็นหลักประกันการมีผลสัมฤทธิ์ในประโยชน์สุขขั้นพื้นฐาน และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของประชาชนส่วนใหญ่... เศรษฐกิจรูปแบบกรรมสิทธิ์ของรัฐเข้ามามีอิทธิพลต่อการค้าที่สำคัญ มีความใกล้ชิดต่อเส้นชีวิตทางเศรษฐกิจในพื้นที่สำคัญ และของประเทศ, มีการเตรียมพร้อม, ชี้ทาง และนำพาการพัฒนาด้านเศรษฐ-สังคมในทุกมิติ. อิทธิพลและสมรรถภาพของรัฐวิสาหกิจเติบโตขึ้นเป็นลำดับ. เศรษฐกิจของรัฐวิสาหกิจมีบทบาทที่ไม่สามารถทดแทนได้ในการขับเคลื่อนความทันสมัยของสังคมนิยมในจีน.

ในอดีต, แม้วิสาหกิจส่วนใหญ่เป็นของภาครัฐ, แต่วิสาหกิจก็ยังมีการเก็บผลกำไรไว้กับตัว อีกทั้งมีการจ่ายเงินเดือนอัตราสูงให้กับบรรดาผู้จัดการขององค์กร แทนที่จะปันส่วนกลับไปสู่ประชาชน. อย่างไรก็ดี สถานะดังกล่าวมิได้เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป, ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญต่อต้านคอร์รัปชั่นของสีจิ้นผิง, ผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจต้องเผชิญกับการลดเงินเดือนกว่า 50%,[13] บทบาทการกำกับดูแลของพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีอยู่เหนือรัฐวิสาหกิจ ได้รับการรับรองโดยชอบด้วยกฎหมาย[14] และสภาตัวแทนคนงานและพนักงาน, ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบประชาธิปไตยในสถานประกอบการ ได้กลับมามีสถานะเดิมอีกครั้ง เสมือนยุคทศวรรษที่ 1980, รัฐวิสาหกิจมีหน้าที่โดยกฏหมายที่จะต้องรับรองสภานี้ในสถานประกอบการ และกว่า 80% ของวิสาหกิจจดทะเบียนในจีนมีสภานี้ด้วยเช่นกัน, รวมถึงบริษัทภาคเอกชนบางแห่งด้วย. แมกซ์เซนส์ พอลิน นักรัฐศาสตร์การเมืองชาวแคนาดา กล่าวในผลการวิจัยทางวิชาการแห่งปี 2021 ว่า:[4]

วิถีการผลิตของจีนยุคใหม่, นับตั้งแต่ปี 1990, ดำเนินรอยตามตรรกะคล้ายกับสหภาพโซเวียตยุคที่มีการใช้นโยบายเศรษฐกิจใหม่. ตามประสบการณ์ของนโยบายเศรษฐกิจใหม่, งานวิจัยของเราพบว่า ไม่ควรจะไปเข้าใจว่ายุทธศาสตร์การพัฒนาของจีนนั้นเอนเอียงไปทางตัวแบบเสรีนิยมใหม่. ตามจริงแล้วมันคือการวิวัฒนาการอันเป็นต้นฉบับของลัทธิมาร์กซ์, ซึ่งสอดคล้องกับลัทธิมาร์กซ์-เลนิน แบบดั้งเดิม, เป็นการปรับตัวให้สามารถดำรงอยู่ร่วมกันกับระบบทุนนิยมที่ครอบคลุมไปทั่วโลก.[4]

ลักษณะเฉพาะ แก้

วิสาหกิจ และประเภทของกรรมสิทธิ์ แก้

กรรมสิทธิ์สาธารณะภายใต้เศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม ประกอบด้วยสินทรัพย์ของรัฐ, วิสาหกิจรวมหมู่, และวิสาหกิจที่ภาคสาธารณะถือครองหุ้นตามสัดส่วน. ทั้งนี้รูปแบบกรรมสิทธิ์สาธารณะที่หลากหลายมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม ควบคู่ไปกับสัดส่วนเศรษฐกิจจากภาคเอกชน และวิสาหกิจข้ามชาติ.[1]

ตัวอย่างบางรูปแบบของวิสาหกิจของภาครัฐในจีน:

  • รัฐวิสาหกิจ: วิสาหกิจการพาณิชย์ จัดตั้งโดยรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลท้องถิ่น, โดยบรรดาผู้จัดการได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาล และองค์กรการปกครองอื่น. วิสาหกิจประเภทนี้เจาะจงเฉพาะองค์กรที่รัฐบริหารและเป็นเจ้าของทั้งหมด. รัฐวิสาหกิจโดยมากมิได้เป็นของรัฐบาลกลาง. รัฐวิสาหกิจที่เป็นของรัฐบาลกลางถือเป็นหน่วยงานย่อยของกรรมาธิการตรวจสอบและบริหารสินทรัพย์ของรัฐ (SASAC).
  • รัฐวิสาหกิจโฮลดิ้ง: เป็นวิสาหกิจมหาชนที่รัฐถือหุ้น, หรือรัฐควบคุม, ที่รัฐถือครองหุ้นส่วนใหญ่ หรือมีส่วนควบคุมการดำเนินงาน, ดังนั้นจึงสามารถใช้อิทธิพลเข้าไปบริหารจัดการในองค์กร. วิสาหกิจประเภทนี้รวมถึงองค์ที่ได้รับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDA).[15]
  • รัฐวิสาหกิจร่วมทุน

เศรษฐกิจภาครัฐ แก้

เศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม ประกอบด้วยรัฐวิสาหกิจหลากหลายประเภท ที่เป็นตัวแทนรูปแบบของกรรมสิทธิ์สาธารณะ. นับตั้งแต่การปฏิรูปแห่งปี 1978, ทศวรรษ 1980 ระหว่างการปฏิรูปอุตสาหกรรม รัฐวิสาหกิจมีการแปลงรูปเป็นบรรษัท และเปลี่ยนเป็นบรรษัทร่วมทุนตามลำดับ โดยรัฐยังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด หรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในนั้น. ล่วงถึงทศวรรษ 2000, รัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ในภาคเศรษฐกิจนอกยุทธศาสตร์ กลายเป็นกิจการมหาชนในตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้และฮ่องกง และบางส่วนปรับตัวเป็นวิสาหกิจที่มีโครงสร้างกรรมสิทธิ์แบบผสม โดยรัฐบาลกลางและหน่วยงานรัฐอื่นๆ - รวมถึงธนาคารของรัฐ, รัฐวิสาหกิจรายอื่น, รัฐบาลระดับมณฑลและท้องถิ่น – ถือกรรมสิทธิ์ในหุ้นในระดับต่างๆ กัน ควบคู่ไปกับผู้ถือหุ้นเอกชนและต่างชาติ. ยังให้เกิดผลลัพธ์ที่ปรากฏเป็นรูปแบบการกระจายตัวของกรรมสิทธิ์สาธารณะ. สิ่งนี้ทำให้การคำนวณขนาดและขอบเขตที่แท้จริงของเศรษฐกิจภาครัฐมีความยากลำบาก, โดยเฉพาะเมื่อรัฐวิสาหกิจที่มีโครงสร้างกรรมสิทธิ์แบบผสมต้องอยู่ในสมการคำนวณ. ในปี 2013, เศรษฐกิจภาครัฐนับเป็น 30% ของจำนวนวิสาหกิจทั้งหมดในจีน, แต่มีสินทรัพย์กว่า 55%, รายได้กว่า 45% และผลกำไรกว่า 40%.[16]

ปี 1996, จีนดำเนินการปฏิรูปอุตสาหกรรมด้วยหลากหลายนโยบาย โดยรวมเรียกว่า “เก็บส่วนที่ใหญ่, ปล่อยส่วนที่เล็ก”. การปฏิรูปเหล่านี้ทำให้มีการปิดรัฐวิสาหกิจที่ไม่มีกำไร, ควบรวมวิสาหกิจขนาดเล็กเข้าด้วยกัน และแปลงรูปวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนอื่นๆ. รัฐวิสาหกิจของรัฐบาลกลางปรับเปลี่ยนเป็นบริษัทร่วมทุน โดยเล็งที่จะกระจายอำนาจไปสู่เหล่าผู้จัดการของรัฐวิสาหกิจเหล่านั้น. รัฐวิสาหกิจทุกระดับมีการปรับจุดโฟกัสหลักไปสู่การทำกำไร และสละภารกิจด้านสวัสดิการสังคมที่ให้บริการสังคมและประโยชน์แก่คนงาน อันเป็นที่รู้จักว่าระบบ “ชามข้าวเหล็ก”. กรรมาธิการตรวจสอบและบริหารสินทรัพย์ของรัฐ (SASAC) ก่อตั้งขึ้นในปี 2003 เพื่อดูแลการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ของส่วนกลางเหล่านี้.[17]

รัฐวิสาหกิจยุคใหม่มีการดำเนินงานที่แตกต่างกันอย่างมากเมื่อเทียบกับยุคทศวรรษ 1990. วิสาหกิจดังกล่าวมีขนาดใหญ่กว่ามาก แต่มีจำนวนน้อยกว่า, ประกอบไปด้วยวิสาหกิจภายใต้คลัสเตอร์ที่รัฐบาลกลางเรียกว่า “ภาคเศรษฐกิจยุทธศาสตร์” ซึ่งรวมถึงการธนาคาร, การเงิน, เหมืองแร่, พลังงาน, การขนส่ง, โทรคมนาคม และการสาธารณูปโภค. โดยเปรียบเทียบแล้วนั้น, วิสาหกิจระดับมณฑลและระดับเมืองนับพัน ดำเนินการอยู่ในเกือบทุกอุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมสารสนเทศ และ การออกแบบและผลิตยานยนต์. การปฏิรูปเศรษฐกิจภาครัฐยังเป็นการดำเนินที่ต่อเนื่องในปัจจุบัน. ณ ปี 2017, พรรคคอมมิวนิสต์ได้ปฏิเสธที่จะโอบรับและปรับใช้ตัวแบบเทมาเส็กของสิงคโปร์สำหรับกิจการรัฐวิสาหกิจของจีน, ด้วยว่ารัฐวิสาหกิจภายใต้ตัวแบบดังกล่าวดำเนินกิจการพาณิชย์เพื่อแสวงหากำไรสูงสุดเพียงอย่างเดียว. โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว, จีนรักษาไว้ซึ่งรัฐวิสาหกิจของส่วนกลางเพื่อแสวงหาผลสัมฤทธิ์ทางนโยบายอุตสาหกรรม ตลอดจนสนองนโยบายของชาติ.[18] ด้วยเหตุดังกล่าว การปฏิรูปในช่วงหลังจึงตั้งวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไร และเพื่อปลดหนี้, รัฐบาลได้มีรายงานว่าผลกำไรของรัฐวิสาหกิจของส่วนกลาง เพิ่มขึ้นกว่า 15.2% ในปี 2017.

แม้ว่าจะมีผลกำไรเพิ่มขึ้น, รัฐวิสาหกิจของจีนหลายแห่งก็ยังไม่ได้จ่ายเงินปันผลเข้ารัฐ, เป็นเหตุให้นักวิเคราะห์หลายฝ่ายตั้งคำถามถึงตรรกะของการมีกรรมสิทธิ์สาธารณะตั้งแต่แรก.[9][19] ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูปต่อเนื่องของ SASAC, รัฐวิสาหกิจถูกเรียกร้องและต้องให้ความร่วมมือให้ปันผลกำไรในสัดส่วนที่สูงขึ้นเข้ารัฐ, โดยมีการโอนถ่ายสินทรัพย์ของรัฐบางรายการไปสู่กองทุนประกันสังคม เพื่ออุดหนุนเงินบำนาญให้แก่ประชากรผู้สูงวัยของจีน.[20] นี่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการปฏิรูปด้านกว้าง ที่จะปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจภาครัฐ ให้กลายเป็นแหล่งการคลังของภาคสาธารณะ.[21] อีกส่วนหนึ่งของการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจที่ประกาศโดย SASAC ในปี 2015 มีอยู่ว่า รัฐวิสาหกิจต่างๆ จะถูกปรับหมวดหมู่ให้เป็นกิจการพาณิชย์ หรือกิจการบริการสาธารณะ, โดยหมวดหมู่แรกจะต้องให้ความร่วมมือในการจัดสรรเงินปันผลในสัดส่วนที่สูงกว่าเดิม. การชำระเงินปันผลดังกล่าวตั้งให้เพิ่มขึ้นจาก 5-15% เป็น 30% ภายในปี 2020.

เศรษฐกิจภาคเอกชน แก้

วิสาหกิจเอกชน ได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งของเศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม เคียงกันกับรัฐวิสาหกิจ, วิสาหกิจรวมหมู่, และวิสาหกิจเอกเทศอื่นๆ. เศรษฐกิจภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อยมา ตั้งแต่มีการประการกฏหมายบริษัทจำกัดในปี 2014. เส้นแบ่งระหว่างรัฐวิสาหกิจและวิสาหกิจเอกชนเริ่มพร่ามัวขึ้นเรื่อยๆ ในจีน โดยบริษัทมหาชนจำนวนมากมีเจ้าของที่มาจากภาครัฐและนอกภาครัฐ.  นอกจากนั้นแล้ว, บริษัทเอกชนที่ทำกิจการในอุตสาหกรรมที่มีการตั้งเป้าหมายการเติบโต มักได้รับเงินกู้พิเศษ หรือสิทธิพิเศษจากภาครัฐ ในขณะที่รัฐวิสาหกิจนอกยุทธศาสตร์กลับอยู่นอกเกณฑ์ที่จะได้รับเงินอุดหนุน. ยกตัวอย่างเช่น, บริษัท ZTE Corporation เป็นวิสาหกิจที่ภาครัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ถูกบังคับให้พึ่งพาแหล่งเงินทุนจากตลาดทุน ในขณะที่คู่แข่งผู้ที่เป็นวิสาหกิจเอกชน Huawei ถูกมองว่าเป็น “แชมเปี้ยนระดับชาติ” ดังนั้นจึงได้รับเงินช่วยเหลือจำนวนมากจากธนาคารของรัฐ. เช่นเดียวกับกิจการรัฐวิสาหกิจ, วิสาหกิจเอกชนถูกคาดหวังให้ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐ และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของพรรคคอมมิวนิสต์, อันเป็นการบ่งบอกว่าความแตกต่างระหว่างวิสาหกิจของรัฐและเอกชนนั้น ไม่มีนัยยะสำคัญต่อการทำความเข้าใจในตัวแบบเศรษฐกิจของจีน. ณ ปี 2015, พัฒนาการของการกำกับดูแลและการบริหารโดยตรงจากรัฐ (ทั้งในเศรษฐกิจภาครัฐและภาคเอกชน) มีอำนาจเหนือส่วนต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจของจีน และมีบทบาทสำคัญที่มากกว่าการเป็นเพียงผู้มีกรรมสิทธิ์ของสินทรัพย์สาธารณะ.[9]

ขณะที่เศรษฐกิจภาคเอกชนได้รับการยินยอมให้มีบทบาทในเศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม และมีการขยายตัวทั้งในด้านขนาดและขอบเขตเป็นอย่างมากนับตั้งแต่ทศวรรษ 1990, ภาคเอกชนก็มิได้ครองอำนาจเหนือเศรษฐกิจของจีน. ขนาดที่แท้จริงของเศรษฐกิจภาคเอกชนเป็นเรื่องที่ประเมินได้ยาก ส่วนหนึ่งเพราะวิสาหกิจเอกชนอาจถือหุ้นส่วนน้อยในวิสาหกิจของรัฐ และเนื่องจากมาตรฐานการจัดประเภทที่ใช้แยกประเภทวิสาหกิจที่แตกต่างกัน. ยกตัวอย่างเช่น ไตรมาสแรกของปี 2016 สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนรายงานระดับการลงทุนคงที่โดยภาคเอกชนที่ 35%, และโดยวิสาหกิจของรัฐที่ 27%, สัดส่วนที่เหลืออยู่เป็นของกองทุนของรัฐที่ถือครองหุ้นในบริษัทต่างๆ แบบมิได้เป็นเจ้าของทั้งหมด.[22]

การวางแผนเศรษฐกิจ แก้

ช่วงต้นทศวรรษ 1990, การวางแผนเศรษฐกิจแบบสหภาพโซเวียตถูกแทนที่ด้วยระบบตลาด และกลายเป็นกำลังขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม, ผ่านการแปลงรูปจากกรรมาธิการวางแผนของรัฐ ไปเป็นกรรมาธิการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติในปี 2003. การวางแผนแบบชี้นำและนโยบายอุตสาหกรรม เข้าแทนที่การวางแผนแบบดุลยวัตถุ และมีบทบาทสำคัญในการนำพาเศรษฐกิจแบบตลาดของทั้งภาครัฐและเอกชน. ระบบการวางแผนมีอยู่ 3 ระดับ, โดยแต่ละระดับใช้กลไกการวางแผนต่างๆ กัน.

การวางแผนภาคบังคับจำกัดเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการในภาคเศรษฐกิจยุทธศาสตร์, รวมถึงการพัฒนาแผนการวิจัย, การศึกษา, และโครงสร้างพื้นฐาน. การวางแผนภาคบังคับมีการร่างโครงของผลสัมฤทธิ์เป้าหมาย และอุปทานของวัตถุดิบ ตลอดจนทรัพยากรทางการเงินที่จำเป็น. การวางแผนแบบสัญญา จะกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการที่จะทำให้เป้าหมายเหล่านั้นประสบผลสำเร็จ จากนั้นจึงเจรจากับบรรดาวิสาหกิจและรัฐบาลท้องถิ่น เพื่อระบุวัตถุประสงค์ที่มีรายละเอียด ตลอดจนวิธีการจัดสรรทรัพยากรไปสู่ภาคเศรษฐกิจเป้าหมาย. การวางแผนแบบชี้นำ ดำเนินกิจการภายใต้กรอบการวางแผนระดับต่ำสุด, โดยรัฐบาลเพียงตีกรอบเป้าหมายทางอุตสาหกรรม จากนั้นจะใช้กลไกของตลาด (มาตรการยกเว้นภาษี, เงินอุดหนุน, และเงินกู้ธนาคารพิเศษ) เพื่อกระตุ้นให้บรรดาวิสาหกิจในอุตสาหกรรมเป้าหมายบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้[23]

ดูเพิ่มเติม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Ding, Xiaoqin (1 April 2009). "The Socialist Market Economy: China and the World". Science & Society. 73 (2): 235–241.
  2. 2.0 2.1 Vogel, Ezra (2011). Deng Xiaoping and the Transformation of China. Belknap Press. p. 682. ISBN 978-0-674-72586-7.
  3. "Socialist Market Economic System". Ministry of Commerce of the People's Republic of China. 25 June 2004. Retrieved 7 March 2018. "The development of the economic system with public ownership playing a dominant role and diverse forms of ownership developing side by side is a basic characteristic of the socialist economic system at the preliminary stage…The public economy consists not only the state-owned economy and the collective economy, but also the state-owned and collective component in the mixed-ownership economy. The dominant position of the public ownership is represented that: the public assets have a dominant proportion in the overall assets of the society; the state-owned economy controls the lifeline of the national economy and plays a leading role in the economic development, as is from the aspect of the whole country."
  4. 4.0 4.1 4.2 Poulin, Maxence (2 October 2021). "Comparative Analysis of the Economic Structure of the Socialist Market Economy of China and the New Economy Policy". International Critical Thought. 11 (4): 519–534. doi:10.1080/21598282.2021.2007502. ISSN 2159-8282. S2CID 244875301. "Our thesis is that the modern Chinese mode of production, since 1990s, follows a logic similar to the Soviet one during the NEP era. In the light of the NEP experience, our research shows that the Chinese development strategy shouldn't be understood as trending towards a neoliberal model. It is rather an original evolution of Marxism, in line with the tradition of Marxism-Leninism, adapted to the cohabitation with a globalized capitalist system."
  5. "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-10. สืบค้นเมื่อ 2022-07-30.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 Cui, Zhiyuan (2012). "Making Sense of the Chinese 'Socialist Market Economy': A Note". Modern China. 38 (6): 665–676. doi:10.1177/0097700412459700. JSTOR 41702477. S2CID 156702979.
  7. Vuong, Quan Hoang (2010) Financial Markets in Vietnam's Transition Economy: Facts, Insights, Implications. ISBN 978-3-639-23383-4, VDM Verlag, 66123 Saarbrücken, Germany.
  8. "People's Daily Online -- China has socialist market economy in place". en.people.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-16. สืบค้นเมื่อ 2022-07-30.
  9. 9.0 9.1 9.2 Milhaupt, Curtis; Zheng, Wentong (2015-03-01). "Beyond Ownership: State Capitalism and the Chinese Firm". UF Law Faculty Publications.
  10. Sheng & Zhao, Hong & Nong (22 October 2012). China's State-Owned Enterprises: Nature, Performance and Reform. World Scientific Publishing Company. p. 116. ISBN 978-9814383844. "The World Bank report (2005) generated public concerns and debates. Those supportive of the distribution of SOEs dividends hold the following three views: (1) Since the state is the investor of SOEs; it has the right to participate in dividend distribution as a shareholder. By name and under law, the shares of SOEs should belong to all citizens. The governmental departments are only exercising administrative power on their behalf. Therefore, all citizens, as opposed to certain grounds, should become direct beneficiaries. (2) The high wages and welfare benefits of monopolistic SOEs come from their high profitability as they enjoy institutional monopolies. These profits should be turned over to the State and then, through secondary distribution of the government, be used to safeguard public undertakings such as education, medical care and old-age pensions. If a monopoly industry determines the distribution of its profits without the consent of its shareholders (i.e. the people), it has abandoned the people's trust and infringed upon the wealth which ought to be the property of the entire people."
  11. Cheng, Furui. "China: A city social dividend proposal captures national attention | BIEN — Basic Income Earth Network" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-03. สืบค้นเมื่อ 2022-07-30.
  12. "Political Affairs Magazine - The Leninist Heritage of the Socialist Market Economy". web.archive.org. 2008-11-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-22. สืบค้นเมื่อ 2022-07-30.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  13. Hanrahan, Mark (21 August 2014). "China State-Owned Enterprises Chiefs Face 50% Salary Cuts As Xi Jinping Launches Reform". International Business Times.
  14. "China cements Communist Party's role at top of its state firms". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2020-01-08.
  15. "Chinese State-Owned and State-Controlled Enterprises". Center for American Progress Action (ภาษาอังกฤษ).
  16. Feng, Lintong (2016-05-17). "China's SOE sector is bigger than some would have us think". East Asia Forum (ภาษาอังกฤษ).
  17. "The long march to the mixed economy in China". East Asia Forum (ภาษาอังกฤษ). 2015-02-09.
  18. Wildau, Gabriel (20 July 2017). "China rejects Singapore model for state-owned enterprise reform". Financial Times. Retrieved 9 March 2018.
  19. SOE Dividends: How Much and to Whom?, World Bank (17 October 2005): "Since the taxation reform in 1994, most SOEs have not paid any significant dividend to the government of China."
  20. "China to transfer state assets to social security funds - Business - Chinadaily.com.cn". www.chinadaily.com.cn.
  21. Mattlin, Mikael. "Whose Money? The Tug-of-War Over Chinese State Enterprise Profits". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  22. Feng, Lintong (2016-05-17). "China's SOE sector is bigger than some would have us think". East Asia Forum (ภาษาอังกฤษ).
  23. Rambures, Dominique (2015). The China Development Model: Between the State and the Market. Palgrave Macmillan UK. ISBN 9781137465498. "the planning system is a three-layer system: compulsory, contractual and indicative. At the upper level, the planning system is compulsory: documents outlining detailed sets of targets, including the human resources needed and the supply of raw materials and the financing needs, such as infrastructure programmes; development plans of the western provinces; education plans; health expenditures; research objectives, and so on. Generally speaking, included within compulsory planning are state-owned companies and banks and the monopolistic sectors under tight government control such as the Ministry of Railways. At the second level, the planning system is contractual: planning sets the objectives; the ways and means of a given industrial sector; and then negotiates with the corporations and the offices concerned to establish detailed objectives, as well as the allocation of resources to the targeted sectors. At the third and lowest level, the planning system is only an indicative: government schedule; industrial sector targets; the companies involved and inducement measures (government subsidies, tax exemption, bank lending and financial markets)."

เอกสารเพิ่มเติม แก้