สังคมนิยมตลาด (อังกฤษ: Market Socialism) คือระบบเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่ง ที่ปัจจัยการผลิตถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสาธารณะ สังคม หรือในรูปแบบสหกรณ์ ภายใต้กรอบเศรษฐกิจที่มีการใช้กลไกตลาด สังคมนิยมตลาดแตกต่างจากสังคมนิยมไร้ตลาด ในเชิงการใช้ประโยชน์จากกลไกตลาดเพื่อจัดสรรสินค้าทุนและปัจจัยการผลิตต่าง ๆ[1][2][3] กำไรจากผลประกอบการที่ได้จากกิจการที่ถือกรรมสิทธิ์โดยสังคม (เช่น รายได้สุทธิที่มิได้ถูกนำมาลงทุนซ้ำเพื่อขยายกิจการนั้น) อาจนำมาใช้เพื่อจ่ายผลตอบแทนให้แก่ลูกจ้างโดยตรง หรือสมทบกลับเข้าสังคมในรูปแบบแหล่งเงินทุนสาธารณะ หรือจัดสรรกลับสู่ประชากรในรูปของเงินปันผลเพื่อสังคม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะตัวของสังคมนิยมตลาดนั้น ๆ[4]

รูปแบบระบบเศรษฐกิจโดยทั่วไป โดยแบ่งตามกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิต และกลไกการจัดสรรปัจจัยการผลิตดังกล่าว

สังคมนิยมตลาดแตกต่างจากแนวคิดเศรษฐกิจผสม ตรงที่โมเดลของสังคมนิยมตลาดนั้นเป็นระบบที่สมบูรณ์และกำกับดูแลได้ด้วยตนเอง[5] นอกจากนั้นสังคมนิยมตลาดยังมีความแตกต่างจากนโยบายประชาธิปไตยสังคมนิยมที่อยู่ภายใต้เศรษฐกิจตลาดแบบทุนนิยม โดยในขณะที่ประชาธิปไตยสังคมนิยมมีเป้าหมายที่จะบรรลุความมีเสถียรภาพและความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ ด้วยการใช้นโยบายเช่นมาตรการภาษี เงินอุดหนุน หรือโครงการสังคมสงเคราะห์ต่าง ๆ นั้น สังคมนิยมตลาดเล็งที่จะบรรลุผลลัพธ์ที่คล้ายกันด้วยการเปลี่ยนรูปแบบกรรมสิทธิ์และรูปแบบการบริหารในวิสาหกิจ[6]

แม้ว่าจะมีข้อเสนอในรูปแบบเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์โดยสังคมอันมีตลาดสำหรับซื้อขายปัจจัยทุนมาตั้งแต่ช่วงต้นของศตวรรษที่ 19 คำว่าสังคมนิยมตลาดเพิ่งจะปรากฏขึ้นในช่วงทศวรรษ 1920 ระหว่างที่มีการอภิปรายเรื่องการคำนวณเชิงสังคมนิยม[7] ระหว่างนักเศรษฐศาสตร์สังคมนิยมด้วยกันเอง ซึ่งเชื่อว่าเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมนั้นไม่สามารถทำงานในฐานของการคำนวณด้วยหน่วยธรรมชาติ ตลอดจนไม่สามารถทำงานด้วยการแก้โจทย์เชิงระบบพหุสมการสำหรับการประสานงานกันทางเศรษฐกิจ และนั่นหมายความว่าตลาดทุนย่อมมีความจำเป็นในเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม[8]

สังคมนิยมตลาดในยุคต้นมีรากฐานมาจากงานเขียนของอดัม สมิธ และทฤษฎีเศรษฐศาสตร์คลาสสิคอื่น ๆ อันประกอบด้วยข้อเสนอเรื่องวิสาหกิจแบบสหกรณ์ที่ดำเนินงานภายใต้เศรษฐกิจตลาดเสรี ข้อเสนอเหล่านี้มีเป้าหมายที่จะกำจัดการขูดรีด โดยอำนวยให้ปัจเจกบุคคลได้รับผลตอบแทนจากแรงงานของตนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ในขณะที่รื้อทิ้งผลกระทบจากการบิดเบือนตลาด ที่เกิดจากการกระจุกตัวของกรรมสิทธิ์และทรัพย์สินที่อยู่ในมือของเจ้าของเอกชนผู้เป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม[9] ผู้อุทิศตนต่อหลักการสังคมนิยมตลาดในยุคต้นได้แก่นักเศรษฐศาสตร์สังคมนิยมสายริคาร์เดียน และนักคิดสำนักประโยชน์ร่วมนิยม ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ออสการ์ อาร์. แลงจ์ และแอบบา พี. เลิร์นเนอร์ ได้ร่างเค้าโครงโมเดลสังคมนิยมแบบนีโอคลาสสิค ซึ่งกล่าวถึงบทบาทของคณะกรรมการวางแผนส่วนกลางในการกำหนดราคาให้เท่ากับต้นทุนส่วนเพิ่ม เพื่อให้บรรลุประสิทธิภาพพาเรโตในท้ายที่สุด แม้ว่าโมเดลในช่วงต้นเหล่านี้ไม่ได้มีการพึ่งพาตลาดแบบเดิม ๆ แต่ก็ยังนับว่าเป็นสังคมนิยมตลาดเนื่องจากมีการใช้ประโยชน์จากกลไกราคาและด้วยการคำนวณที่เป็นตัวเงิน โมเดลในยุคหลังส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอจากนักเศรษฐศาสตร์สำนักนีโอคลาสสิคชาวอเมริกัน ที่กล่าวว่ากรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตโดยสาธารณะนั้น สามารถบรรลุได้โดยการเข้าไปถือกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์และเข้าไปมีอำนาจควบคุมการลงทุน

ประวัติ แก้

เศรษฐศาสตร์คลาสสิค แก้

หัวใจสำคัญของสังคมนิยมตลาด คือการปฏิเสธหลักการพื้นฐานของการดึงเอามูลค่าส่วนเกินซึ่งมาจากวิถีการผลิตที่ขูดรีด ของแนวคิดเศรษฐศาสตร์อื่น ๆ ทฤษฎีสังคมนิยมที่สนับสนุนกลไกตลาดนั้น ย้อนไปได้ถึงยุคของนักเศรษฐศาสตร์สำนักริคาร์เดียนและสำนักอนาธิปไตย ซึ่งอุทิศตนกับแนวคิดที่ว่าตลาดเสรีนั้นเข้ากันได้กับการที่สาธารณะสามารถมีกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิต หรือให้มีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในปัจจัยการผลิต

ผู้นำเสนอแนวคิดเรื่องสังคมนิยมตลาดในยุคต้น ได้แก่จอห์น สจ๊วต มิลล์ ผู้เป็นทั้งนักเศรษฐศาสตร์สังคมนิยมสายริคาร์เดียน และนักปรัชญาเสรีนิยมคลาสสิค กับปิแอร์-โจเซฟ พรูดอน นักปรัชญาสายอนาธิปไตย โมเดลของทั้งสองท่านนี้ให้แนวคิดที่เป็นมรดกตกทอดด้านการปรับปรุงกลไกตลาดและระบบการกำหนดราคาเสรีให้สมบูรณ์แบบ โดยกำจัดความบิดเบือนของสิ่งเหล่านี้ที่มีสาเหตุมาจากการขูดรีด การมีทรัพย์สินของเอกชน และความรู้สึกแปลกแยกของแรงงาน

สังคมนิยมตลาดรูปแบบนี้ได้รับการขนานนามว่า สังคมนิยมตลาดเสรี เนื่องจากไม่ได้มีกลไกการวางแผนใด ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง[10][11]

จอห์น สจ๊วต มิลล์ แก้

ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ของมิลล์ในช่วงต้นนั้น คือแนวคิดตลาดเสรีซึ่งมิลล์ขยับให้โน้มเอียงไปทางสังคมนิยม และมีการเพิ่มบทในหนังสือ หลักการเศรษฐศาสตร์การเมือง ของตนหลายบทเพื่อปกป้องสังคมนิยมทั้งทางทัศนะและแรงจูงใจ[12] หนังสือฉบับที่พิมพ์ครั้งต่อมามิลล์มีข้อเสนอว่าควรยกเลิกระบบค่าแรงแบบเหมาเพื่อหลีกทางให้กับระบบค่าแรงเชิงปฏิบัติการ อย่างไรก็ดีทัศนะบางประการของมิลล์ที่เกี่ยวกับภาษีอากรแนวราบยังคงมีอยู่[13] แม้กระนั้นหนังสือ หลักการเศรษฐศาสตร์การเมือง ฉบับพิมพ์ครั้งที่สามก็มีการปรับแก้เนื้อหาเพิ่มเติม เพื่อให้สะท้อนความกังวลด้านข้อจำกัดของรายได้ค้างรับ ซึ่งมิลล์สนับสนุน เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ที่ได้รับแล้ว ซึ่งมิลล์ไม่สนับสนุนเท่าใดนัก[14]

หนังสือ นานาหลักการ ของมิลล์ตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี 1848 และกลายเป็นหนังสือเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับเสียงตอบรับอย่างกว้างขวางที่สุดในยุคนั้น[15] มีวุฒิฐานะเสมอกับหนังสือ ความมั่งคั่งของประชาชาติ ของอดัม สมิธ นอกจากนี้ นานาหลักการ ของมิลล์ยังได้ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในฐานะตำราสอนเศรษฐศาสตร์อีกด้วย ในมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดนั้น นานาหลักการ เป็นที่รับรองให้เป็นตำราเรียนมาตรฐานจนถึงปี 1919 จนกระทั่งมีการเปลี่ยนตำราหลักไปเป็นหนังสือ หลักการเศรษฐศาสตร์ ของอัลเฟรด มาร์แชล

ส่วนหนังสือ หลักการเศรษฐศาสตร์การเมือง ฉบับพิมพ์ครั้งหลัง ๆ ของมิลล์นั้น มีข้อวิภาษสำคัญว่า “กล่าวถึงทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ต่าง ๆ นั้น ไม่มีหลักการในทฤษฎีใดที่สามารถขัดขวางระเบียบทางเศรษฐกิจที่มีพื้นฐานของนโยบายแบบสังคมนิยมได้”[16][17]

นอกจากนี้มิลล์ยังส่งเสริมแนวคิดที่จะให้วิสาหกิจแบบสหกรณ์แรงงานมาทดแทนธุรกิจแบบนายทุนอีกด้วย โดยระบุว่า:

"อย่างไรก็ดี ถ้ามนุษยชาติมีจะการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องแล้ว รูปแบบแห่งความร่วมมือกันจะต้องมุ่งหมายไปที่จุดจบของอิทธิพลที่ครอบงำ และมิใช่รูปแบบที่นายทุนดำรงอยู่ในฐานะหัวหน้าในขณะที่คนงานไม่มีสิทธิมีเสียงในการบริหาร แต่ควรจะเป็นรูปแบบการร่วมมือกันที่แรงงานเท่านั้นควรจะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในปัจจัยทุนร่วมกันอย่างเท่าเทียม ซึ่งเขาเหล่านั้นจะสานต่อการดำเนินกิจการ รวมถึงทำงานภายใต้ผู้จัดการที่ได้รับการเลือกตั้งและสามารถถอดถอนได้ด้วยพวกเขาเอง"[18]

ประโยชน์ร่วมนิยม แก้

ปิแอร์-โจเซฟ พรูดอน ได้พัฒนาระบบทฤษฎีที่เรียกว่าประโยชน์ร่วมนิยม ซึ่งโจมตีความชอบธรรมของสิทธิในทรัพย์สิน เงินอุดหนุน บรรษัทยักษ์ใหญ่ ระบบธนาคาร หรือรายได้จากการเช่าที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน ทัศนะของพรูดอนกล่าวถึงกลไกตลาดแบบกระจายศูนย์ ที่ซึ่งผู้คนสามารถเข้าถึงตลาดได้ด้วยอำนาจที่เท่าเทียม และปราศจากความเป็นทาสจากอัตราค่าจ้าง[19] หลายฝ่ายเชื่อว่าระบบสหกรณ์ สหภาพเครดิต และกรรมสิทธิ์โดยคนงานในรูปแบบอื่น ๆ สามารถทำได้จริงโดยมิต้องตกอยู่ใต้อำนาจรัฐ สังคมนิยมตลาดยังเคยมีอรรถาธิบายถึงภารกิจของนักอนาธิปไตยเชิงปัจเจกบางราย ซึ่งโต้แย้งกับความเชื่อที่ว่าตลาดเสรีนั้นจะจุนเจือบรรดาคนงาน และจะบั่นทอนกำลังของนายทุน[20][21]

อนาธิปไตยเชิงปัจเจกในสหรัฐอเมริกา แก้

นักอนาธิปไตยและนักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกัน ยูนิส มิเนตต์ ชูสเตอร์ กล่าวว่า “มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าอนาธิไตยสายพรูโดเนียนได้ลงหลักปักฐานในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ 1848 เป็นอย่างช้า ในขณะที่นักอนาธิปไตยเชิงปัจเจกโจเซฟ วอร์เรน และสตีเฟน เพิร์ล แอนดรูส์ มีทัศนะว่ากลุ่มเหล่านั้นมิได้ตระหนักถึงอัตลักษณ์ดังกล่าว แต่กระนั้นวิลเลี่ยม บี. กรีนน์เสนอว่ามันคือชุมชนประโยชน์ร่วมนิยมสายพรูโดเนียน ที่มีความบริสุทธิ์ที่สุด และอยู่ร่วมกันด้วยรูปแบบที่เป็นระบบ[22] เป็นที่ยอมรับร่วมกันอย่างกว้างขวางว่าโจไซอาห์ วอร์เรน คือนักอนาธิปไตยชาวอเมริกันคนแรก[23] และวารสารรายสัปดาห์ความยาว 4 หน้า นักปฏิวัติผู้รักสันติ ที่เขาเขียนในปี 1833 นั้น ถือเป็นสื่อสิ่งพิมพ์เชิงอนาธิปไตยฉบับแรกที่ได้รับการตีพิมพ์[24] กิจการโรงพิมพ์ที่วอเรนก่อตั้งขึ้นนั้นประดิษฐ์แท่นพิมพ์ ตัวพิมพ์ และจานพิมพ์ ด้วยตนเอง[24]

วอร์เรนนั้นเป็นผู้ติดตามของโรเบิร์ต โอเวน และเข้าร่วมอาศัยในชุมชนของโอเวนที่เมืองนิวฮาร์โมนี่ มลรัฐอินเดียนา โจไซอาห์ วอร์เรน เป็นผู้ประดิษฐ์วลีที่ว่า “ตั้งต้นทุนที่ข้อจำกัดของราคา” ซึ่ง “ต้นทุน” ในที่นี้มิได้หมายถึงราคาชำระในรูปตัวเงิน แต่หมายถึงแรงงานที่คน ๆ หนึ่งใช้ในการผลิตสิ่ง ๆ หนึ่ง[25] ดังนั้น “[วอร์เรน]จึงเสนอระบบที่ชำระคู่ธุรกรรมด้วยใบรับรองซึ่งระบุจำนวนชั่วโมงทำงานที่ได้ลงมือทำ” ทุกคนสามารถใช้เอกสารนี้เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนสินค้า ที่ใช้จำนวนชั่วโมงทำงานเท่ากันในการผลิต ได้ที่ร้านค้าท้องถิ่นที่ยอมรับบันทึกเวลาดังกล่าว[23] เขาทดสอบทฤษฎีนี้ด้วยการก่อตั้ง “ร้านค้าแรงงานเพื่อแรงงาน” ชื่อว่า ร้านค้าเวลาซินซินเนติ ซึ่งยอมรับการแลกเปลี่ยนสินค้าด้วยเอกสารที่รับรองการทำงานของแรงงาน ร้านค้านี้ประสบความสำเร็จและเปิดดำเนินการกว่า 3 ปี หลังจากนั้นจึงปิดตัวลงเพื่อให้วอร์เรนสามารถไปจัดตั้งอาณานิคมเชิงประโยชน์นิยมที่อื่น เช่น ยูโทเปีย และ โมเดิร์นไทม์ส ท้ายที่สุดวอร์เรนเคยกล่าวว่าหนังสือ วิทยาศาตร์แห่งสังคม ของสตีเฟน เพิร์ล แอนดรูส์ ที่ตีพิมพ์ในปี 1852 นั้นสามารถอธิบายทฤษฎีของตัววอร์เรนเองได้อย่างชัดเจนและสมบูรณ์ที่สุด[26]

หลังจากนั้น เบนจามิน ทัคเกอร์ ได้หลอมรวมแนวคิดเศรษฐศาสตร์ของวอร์เรนและพรูดอนเข้าด้วยกัน และตีพิมพ์แนวคิดเหล่านั้นในวารสาร เสรีภาพ โดยเรียกแนวคิดเหล่านี้ว่า “สังคมนิยม-อนาธิปัตย์”[27] ทัคเกอร์กล่าวว่า “ความจริงที่ว่า ในขณะที่ความเป็นอยู่ของชนชั้นหนึ่งพึ่งพิงการขายแรงงานของตนนั้น อีกชนชั้นหนึ่งกลับได้รับอภิสิทธิ์จากการขายสิ่งที่มิใช่แรงงาน […] ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นปฏิปักษ์กับความเป็นไปเช่นนี้เท่า ๆ กับคนอื่น ๆ แต่เมื่อคนเรายกอภิสิทธิ์เหล่านี้ออกไป […] ทุกคนจะกลายเป็นแรงงานที่แลกเปลี่ยนกับมิตรแรงงานด้วยกัน […] ดังนั้นส่วนเกินที่มาจากการขูดรีด จึงเป็นสิ่งที่สังคมนิยม-อนาธิปัตย์เล็งที่จะกำจัด […] และช่วงชิงรางวัลที่บรรดาทุนเคยได้รับ”[27] นักอนาธิปไตยเชิงปัจเจกชาวอเมริกันเช่นทัคเกอร์มองตนเองในฐานะนักสังคมนิยมเศรษฐกิจกลไกตลาด พอ ๆ กับในฐานะปัจเจกชนทางการเมือง ในขณะเดียวกันก็ชี้ข้อโต้แย้งว่าความเป็นนัก “สังคมนิยม-อนาธิปัตย์” หรือ “สังคมนิยมเชิงปัจเจก” ของตนนั้นเป็นแนวคิดที่ “สอดคล้องกับแนวคิดแมนเชสเตอร์นิยม[28] ส่วนอนาธิปไตยตลาดปีกซ้ายนั้นคือสาขาใหม่ของอนาธิปไตยตลาดเสรี ที่มีพื้นฐานของการรื้อฟื้นทฤษฎีเช่นสังคมนิยมตลาด[29][30][31][32]

เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิค แก้

ต้นศตวรรษที่ 20 แก้

ตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิคได้มอบองค์ความรู้พื้นฐานเชิงทฤษฎีที่ครอบคลุมกว่าเดิมแก่โมเดลสังคมนิยมตลาด โมเดลสังคมนิยมแบบนีโอคลาสสิคในยุคต้นนั้นกล่าวถึงบทบาทของคณะกรรมการวางแผนส่วนกลางในการกำหนดราคาให้เท่ากับต้นทุนส่วนเพิ่ม เพื่อให้บรรลุประสิทธิภาพพาเรโตในท้ายที่สุด แม้ว่าโมเดลในช่วงต้นเหล่านี้ไม่ได้มีการพึ่งพาตลาดแบบเดิม ๆ แต่ก็ยังนับว่าเป็นสังคมนิยมตลาดเนื่องจากมีการใช้ประโยชน์จากราคาและการคำนวณที่เป็นตัวเงิน ส่วนแนวคิดอื่น ๆ ของสังคมนิยมตลาดกล่าวถึงวิสาหกิจที่ถือกรรมสิทธิ์โดยสังคม หรือโดยสหกรณ์ผู้ผลิตที่ดำเนินการในระบบตลาดเสรี ภายใต้บรรทัดฐานของความสามารถในการทำกำไร ในขณะที่โมเดลในยุคหลังส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอจากนักเศรษฐศาสตร์สำนักนีโอคลาสสิคชาวอเมริกัน ที่กล่าวว่ากรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตโดยสาธารณะนั้น สามารถบรรลุได้โดยการเข้าไปถือกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์และเข้าไปมีอำนาจควบคุมการลงทุน

โมเดลสังคมนิยมนีโอคลาสสิคช่วงแรกสุดนั้นพัฒนาโดยเลออง วอลรัส, เอ็นริโค บาโรเน่ (1908)[33][34] และออสการ์ อาร์. แลงจ์ (1936)[35] โดยที่แลงจ์และเฟรด เอ็ม. เทย์เลอร์ (1929)[36] เสนอว่าคณะกรรมการวางแผนส่วนกลางควรกำหนดราคาด้วยการลองผิดลองถูก และเข้าไปปรับแก้เมื่อเกิดภาวะขาดแคลนหรือภาวะล้นตลาด แทนที่จะต้องพึ่งพากลไกราคาเสรี กรณีที่เกิดภาวะขาดแคลน ราคาควรปรับสูงขึ้น และถ้าเกิดภาวะล้นตลาด ราคาควรปรับให้ต่ำลง[37] การปรับราคาให้สูงขึ้นจะส่งเสริมให้ธุรกิจต่าง ๆ เพิ่มการผลิต เพราะหน่วยผลิตเหล่านั้นขับเคลื่อนด้วยแรงจูงใจที่จะเพิ่มกำไร และเมื่อการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นก็จะสามารถแก้ปัญหาภาวะขาดแคลนได้ ในขณะที่การปรับราคาให้ต่ำลงจะทำให้กิจการต่าง ๆ บีบตัวการผลิตให้ลดลงเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดทุน ซึ่งสามารถทำให้กำจัดภาวะล้นตลาดได้ ดังนั้นแนวทางปฏิบัติแบบนี้จะทำหน้าที่เสมือนแบบจำลองของกลไกตลาด ซึ่งแลงจ์คิดว่าจะเอื้อให้สามารถบริหารจัดการอุปสงค์และอุปทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ[38]

แม้ว่าโมเดลแลงจ์-เลิร์นเนอร์นั้นนับว่ามีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนิยมตลาด อย่างไรก็ดี ควรมีอรรถธิบายเพิ่มเติมถึงแบบจำลองของกลไกตลาด เนื่องจากตลาดซื้อขายปัจจัยการผลิตนั้นมิได้ดำรงอยู่เพื่อจัดสรรสินค้าทุนจริง ๆ แต่วัตถุประสงค์ของโมเดลแลงจ์-เลิร์นเนอร์นั้นคือการปรับเปลี่ยนจากการใช้กลไกตลาด ไปสู่กลไกไร้ตลาดเพื่อจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ[39][40]

เอช. ดี. ดิกกินสัน ตีพิมพ์บทความสองชิ้นที่กล่าวถึงรูปแบบหนึ่งของสังคมนิยมตลาด เรียกว่า “รูปแบบราคาในชุมชนสังคมนิยม” (The Economic Journal 1933) และ “ปัญหาของเศรษฐกิจสังคมนิยม” (The Economic Journal 1934) ดิกกินสันได้เสนอทางออกเชิงคณิตศาสตร์ประการหนึ่งเพื่อแก้โจทย์ทางเศรษฐกิจสังนิยมที่คณะกรรมการวางแผนส่วนกลางกำลังประสบอยู่ คณะกรรมการฯควรต้องมีข้อมูลเชิงสถิติด้านเศรษฐศาสตร์ที่จำเป็น ตลอดจนควรต้องมีขีดความสามารถในการใช้สถิติที่ได้ไปในการชี้นำการผลิต นอกจากนี้เศรษฐกิจควรเขียนบรรยายได้ด้วยระบบสมการ มูลค่าของคำตอบจากสมการเหล่านี้สามารถนำไปใช้เพื่อกำหนดราคาสินค้าต่าง ๆ ให้เท่ากันกับต้นทุนส่วนเพิ่ม และนำไปใช้เพื่อกำหนดทิศทางการผลิต อย่างไรก็ดี ฮาเยค (1935) ได้โต้แย้งแนวคิดการจำลองตลาดด้วยสมการแบบนี้ ดิกกินสัน (1939) จึงรับเอาข้อเสนอของโมเดลแลงจ์-เทย์เลอร์ในการทำแบบจำลองตลาดด้วยวิธีปฏิบัติแบบลองผิดลองถูก

โมเดลสังคมนิยมตลาดฉบับแลงจ์-ดิกกินสันนั้น ยังรักษาไว้ซึ่งการลงทุนนอกกลไกตลาด แลงจ์ (1926 p65) ยืนกรานว่าคณะกรรมการวางแผนส่วนกลางควรมีสิทธิในการตั้งอัตราการสะสมทุนตามที่เห็นสมควร นอกจากนี้แลงจ์และดิกกินสันยังเล็งเห็นปัญหาการบริหารจัดการแบบราชการในระบบสังคมนิยมตลาดอีกด้วย ตามที่ดิกกินสันเคยกล่าวไว้ว่า “ความพยายามที่จะตรวจสอบความรับผิดรับชอบของผู้จัดการวิสาหกิจที่มากเกินไป จะทำให้ผู้จัดการเหล่านั้นถูกตรึงไว้ด้วยระบบระเบียบแบบราชการ อันจะทำให้สูญเสียความคิดริเริ่มและความอิสระในการดำเนินงาน” (Dickinson 1938, p.214) ในหนังสือ เศรษฐศาสตร์แห่งการมีอำนาจควบคุม: หลักการของเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ (1944) แอ๊บบ้า เลิร์นเนอร์ยอมรับว่าในระบบสังคมนิยมตลาดนั้นอาจมีความเป็นไปได้ว่าการลงทุนมีสิทธิที่จะถูกบิดเบือนด้วยวาระทางการเมือง

ปลายศตวรรษที่ 20 และต้นศตวรรษที่ 21 แก้

ฮยาโรสลาฟ ฟานเน็ก ชาวเช็ค และบรังโก ฮอร์วาท ชาวโครแอท คือนักเศรษฐศาสตร์สองท่านที่นำสังคมนิยมตลาดไปเผยแพร่ในอดีตประเทศยูโกสลาเวีย และขนานนามใหม่ว่าโมเดลอิลลิเรียน มีลักษณะสำคัญว่าวิสาหกิจหรือหน่วยผลิตนั้นถือกรรมสิทธิ์โดยลูกจ้าง และจัดวางโครงสร้างให้คนงานบริหารจัดการตนเอง อีกทั้งแข่งขันกันเองในตลาดเปิดเสรี

นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 มีการพัฒนาฐานโมเดลเช่นสังคมนิยมที่ใช้คูปอง (โดยนักเศรษฐศาสตร์จอห์น โรมเมอร์) และประชาธิปไตยเชิงเศรษฐกิจ (โดยนักปรัชญาเดวิด ชไวการ์ต)

ประนาภ พรฐาน และจอห์น โรเมอร์ ยังได้นำเสนอสังคมนิยมตลาดอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีตลาดหุ้นทำหน้าที่จัดสรรทุนเรือนหุ้นไปสู่พลเมืองเท่า ๆ กัน อย่างไรก็ดี ไม่มีการซื้อหรือขายจริงที่ตลาดหุ้นแห่งนี้ เพราะจะทำให้เกิดผลกระทบด้านลบจากการกระจุกตัวของกรรมสิทธิ์ในทุน ปรากฏว่าโมเดลของพรฐานและโรมเมอร์ตอบโจทย์ข้อเรียกร้องหลักของทั้งสังคมนิยม (คนงานถือกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตทั้งปวง มิใช่แค่ปัจจัยแรงงาน) และเศรษฐกิจแบบกลไกตลาด (ราคาเป็นตัวกำหนดความมีประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรทั้งปวง) นักเศรษฐศาสตร์ชาวนิวซีแลนด์สตีเว่น โอ’ดอนเนล ขยายความโมเดลของพรฐานและโรมเมอร์ไปอีกขั้น ด้วยการแยกองค์ประกอบการทำงานของทุนในระบบดุลยภาพทั่วไป ให้เชื่อมโยงกับกิจกรรมเชิงวิสาหกิจภายใต้เศรษฐกิจแบบสังคมนิยมตลาด โอ’ดอนเนล (2003) ยังได้สร้างโมเดลที่สามารถนำไปใช้เป็นพิมพ์เขียวในประเด็นเรื่องเศรษฐกิจช่วงเปลี่ยนผ่าน ผลของโมเดลชี้ให้เห็นว่าแม้โดยธรรมชาตินั้นโมเดลสังคมนิยมตลาดจะไม่เสถียรในระยะยาว แต่ก็สามารถจัดหาสิ่งที่จำเป็นที่เอื้อให้การเปลี่ยนผ่านจากเศรษฐกิจแบบวางแผนไปเป็นเศรษฐกิจกลไกตลาด ให้กับโครงสร้างเศรษฐกิจในระยะสั้นได้

ช่วงต้นของศตวรรษที่ 21 นักเศรษฐศาสตร์มาร์กเซียนริชาร์ด ดี. วูลฟ์ ได้นำหลักการเศรษฐศาสตร์มาร์กเซียนกลับมาศึกษาใหม่ โดยเจาะลึกไปที่ระดับฐานย่อยขององค์ความรู้ แนวคิดหลักของวูลฟ์คือ การเปลี่ยนผ่านจากทุนนิยมไปสู่สังคมนิยมนั้น จำเป็นต้องมีการปรับผังองค์กรของวิสาหกิจจากระบบบนสู่ล่างตามแบบฉบับโมเดลของทุนนิยม ไปสู่โมเดลที่การตัดสินใจที่สำคัญของกิจการทั้งหมดนั้น (ว่าจะเรื่องการผลิตอะไร อย่างไร ที่ไหน และจะทำอะไรกับผลผลิต) เป็นไปได้ด้วยระบบคนงานหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียง วูลฟ์เรียกสิ่งนี้ว่า วิสาหกิจคนงานดูแลตนเอง (WSDEs) คนงานเหล่านั้นจะมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันหรือกับลูกค้าอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจที่เปิดเผยแบบสังคมประชาธิปไตย อันจะส่งผลไปถึงตลาดหรือการวางแผน หรือทั้งสองอย่าง

ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมนิยมตลาดเช่นฮยาโรสลาฟ ฟานเน็ก อ้างว่าตลาดเสรีที่แท้จริงนั้นเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ ภายใต้เงื่อนไขการถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเพื่อการผลิตโดยเอกชน ในทางกลับกัน ฟานเน็กยืนยันว่าความแตกต่างและความไม่เท่าเทียมทางชนชั้นในเชิงรายได้หรืออำนาจควบคุมอันเป็นผลจากการถือกรรมสิทธิ์โดยเอกชนนั้น เอื้อประโยชน์แก่ชนชั้นที่เป็นผู้ครอบงำ และทำให้ชนชั้นนี้สามารถชี้นำตลาดให้เป็นคุณต่อพวกตนได้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบการผูกขาดตลาดและรูปแบบอำนาจในการควบคุมตลาด หรือโดยใช้ประโยชน์จากความร่ำรวยและทรัพยากรในการให้ภาครัฐออกกฎหมายเชิงนโยบายที่เอื้อประโยชน์ที่เฉพาะเจาะจงให้กับกิจการของชนชั้นนี้ นอกจากนั้น ฟานเน็กยังระบุด้วยว่า คนงานในเศรษฐกิจสังคมนิยมรูปแบบสหกรณ์และวิสาหกิจดูแลตนเองนั้น จะมีแรงจูงใจที่ชัดเจนกว่า ที่จะทำงานให้บรรลุผลิตภาพสูงสุด เพราะคนงานเหล่านั้นจะได้รับส่วนแบ่งกำไร (ในฐานของผลลัพธ์โดยรวมของกิจการ) เพิ่มเติมจากรายได้จากค่าจ้างหรือเงินเดือนตามปกติ แรงจูงใจดังกล่าวอาจสัมฤทธิ์ผลได้ภายใต้เศรษฐกิจตลาดเสรีหากการที่ลูกจ้างถือกรรมสิทธิ์ในบริษัทเป็นค่านิยมปกติ จากการกล่าวอ้างของนักคิดเช่นหลุยส์ โอ. เคลโซ และเจมส์ เอส. อัลบัส[41]

เศรษฐศาสตร์ปรปักษ์ดุลยภาพ แก้

มีโมเดลสังคมนิยมตลาดอีกรูปแบบหนึ่งที่เผยแพร่โดยนักวิพากษ์แนวคิดเรื่องการวางแผนจากส่วนกลาง และนักวิพากษ์แนวคิดเรื่องทฤษฎีดุลยภาพทั่วไปสายนีโอคลาสสิค นักเศรษฐศาสตร์ที่ควรกล่าวถึงได้เหล่านี้แก่ อาเลค โนเฟอ และฮยานอส คอร์ไน โดยที่ อาเลค โนเฟอ เสนอสิ่งที่ตนเรียกว่า สังคมนิยมที่ปฏิบัติได้จริง ซึ่งกอรปด้วยแนวคิดแบบรัฐวิสาหกิจภายใต้เศรษฐกิจผสม บริษัทมหาชนที่พึ่งพาตนเอง สหกรณ์ และวิสาหกิจเอกชนขนาดเล็ก ที่ดำเนินงานในเศรษฐกิจกลไกตลาด แนวคิดนี้ยังรวมไปถึงบทบาทของการวางแผนในระดับเศรษฐกิจมหภาคอีกด้วย[42]

การนำไปใช้ในทางปฏิบัติ แก้

องค์ประกอบของรูปแบบสังคมนิยมตลาดหลายประการได้ปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไปในระบบเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่นระบบเศรษฐกิจของอดีตสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าใช้รูปแบบสังคมนิยมที่มีพื้นฐานของกลไกตลาด โดยมีสหกรณ์ที่ถือกรรมสิทธิ์โดยภาคสังคม โมเดลคนงานดูแลตนเอง ตลอดจนมีการจัดสรรปัจจัยทุนด้วยตลาด นอกจากนี้ มาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจบางประการในช่วงเวลาของการเปิดเสรีทางการเมืองปรากสปริง ของผู้นำประเทศเชโกสโลวาเกีย อเล็กซานเดอร์ ดุปเชค นั้น นับว่ามีองค์ประกอบของสังคมนิยมตลาดอยู่หลายประการ[43]

ด้านเศรษฐกิจกลไกตลาดที่มีรูปแบบสังคมนิยมของเวียดนาม นับว่าเป็นสังคมนิยมตลาดในตัวของมันเอง กิจการสหกรณ์มีความแพร่หลายในระดับที่สูงมาก โดยเฉพาะภาคค้าปลีกและการเกษตร ในขณะเดียวกันก็ยังดำรงไว้ซึ่งภาคเศรษฐกิจที่ถือกรรมสิทธิ์โดยรัฐ โดยที่รัฐยังมีอำนาจควบคุมภาคเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ[44] กิจการสหกรณ์ในเวียดนามยังได้รับการสนับสนุนในรูปเม็ดเงินจากรัฐ ตลอดจนมีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากรัฐอีกหลายประการ ในขณะที่บริษัทเอกชนไม่มี[45]

สหกรณ์คนงาน มอนดราก้อน คอร์ปอร์เรชั่น ในแคว้นบาสก์ สหกรณ์ "โคออป" ในอิตาลี และสหกรณ์ในอีกหลายประเทศ เป็นที่อ้างถึงอย่างกว้างขวาง ว่าเป็นองค์กรกรรมสิทธิ์คนงาน – หรือกรรมสิทธิ์ผู้บริโภค – ซึ่งมีรูปแบบการบริหารที่เป็นประชาธิปไตย ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง ด้านปีเตอร์ ดรักเกอร์ ระบุว่าระบบกองทุนบำเหน็จบำนาญที่มีการกำกับดูแลของสหรัฐอเมริกานั้น มีการลงทุนในตลาดทุนในฐานะ “กองทุนบำเหน็จบำนาญแบบสังคมนิยม”[46] ส่วนวิลเลียม เอช. ไซมอน อธิบายเพิ่มเติมถึงลักษณะของ กองทุนบำเหน็จบำนาญแบบสังคมนิยม ว่าเป็น “สังคมนิยมตลาดรูปแบบหนึ่ง”[47]

เศรษฐกิจของคิวบาภายใต้ผู้นำ ราอุล คาสโตร มีลักษณะของความพยายามที่จะปฏิรูปโครงสร้างให้เป็นแบบสังคมนิยมตลาด[48] และที่คล้ายกันนั้น เศรษฐกิจของลิเบียภายใต้ผู้นำ มูอัมมาร์ กัดดาฟี อาจกล่าวได้ว่าเป็นสังคมนิยมตลาด เนื่องจากทฤษฎีสากลที่สามของกัดดาฟีนั้น มีส่วนเหมือนกันหลายประการเมื่อเทียบกับทฤษฎีบริหารตนเองของชาวยูโกสลาฟ[49][50]

นโยบายที่คล้ายกับแนวทางสังคมนิยมตลาดเช่น มาตรการเงินปันผลเพื่อสังคม และรายได้มูลฐาน นั้นเคยถูกนำมาปฏิบัติจริงในพื้นฐานของกรรมสิทธิ์สาธารณะในทรัพยากรธรรมชาติที่มลรัฐอลาสก้า (กองทุนถาวรอลาสก้า) และที่นอร์เวย์ (กองทุนรัฐบำเหน็จบำนาญแห่งนอร์เวย์) ที่เบลารุส ภายใต้ผู้นำอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโค ก็อาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมตลาด[51] ที่เอธิโอเปีย ภายใต้ผู้นำ อาบีย์ อาห์เม็ด ก็ได้รับการขนานนามระบบเศรษฐกิจว่าเป็นแบบสังคมนิยมตลาดเช่นกัน[52]

ความสัมพันธ์ต่ออุดมการณ์ทางการเมือง แก้

มาร์กซิสม์-เลนินนิสม์ แก้

สังคมนิยมตลาดมักถูกหยิบยกขึ้นมา เพื่ออธิบายความพยายามในการเปิดใช้กลไกตลาดภายใต้ระบบเศรษฐกิจวางแผนแบบโซเวียต ด้วยความที่ว่า สังคมนิยมตลาดเคยจะถูกนำมาใช้ปฏิบัติเป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 1920 ในสหภาพโซเวียต และมีชื่อเรียกว่า “นโยบายเศรษฐกิจใหม่” แต่ต่อมาโซเวียตก็ละทิ้งแนวคิดนี้ไป หลังจากนั้นในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 มีการหยิบใช้องค์ประกอบหลายประการของสังคมนิยมตลาดที่ประเทศฮังการี (มีชื่อเล่นเรียกว่า กูลาชคอมมิวนิสม์) เชโกสโลวาเกีย และยูโกสลาเวีย (ดู ติโตอิสม์) ระบบเศรษฐกิจร่วมสมัยของเบลารุสก็อาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบสังคมนิยมตลาด ในขณะที่การปฏิรูปเปเรสทรอยก้าของสหภาพโซเวียตภายใต้การนำของ มิคาอิล กอร์บาชอฟ ก็มีการแผนงานที่จะเปิดใช้ระบบตลาดในแผนเศรษฐกิจ สอดคล้องกับที่ช่วงปลายนั้นบุคคลสำคัญวงในของสหภาพโซเวียตเคยหารือกันว่าประเทศควรปรับทิศทางไปสู่ระบบสังคมนิยมที่พื้นฐานของกลไกตลาดเช่นกัน

ในอดีตนั้น ระบบสังคมนิยมตลาดเหล่านี้มีเจตนาที่จะรักษาไว้ซึ่งกรรมสิทธิ์ของรัฐในภาคเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ เช่นภาคอุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมพลังงาน และภาคโครงสร้างพื้นฐาน ในขณะที่จะปรับให้กระบวนการตัดสินใจเป็นแบบกระจายศูนย์ โดยอนุญาตให้ผู้จัดการในท้องถิ่นต่าง ๆ มีอิสระในการตัดสินใจที่จะตอบสนองข้อเรียกร้องของตลาด ระบบสังคมนิยมตลาดเหล่านี้อนุญาตให้เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิต ตลอดจนอนุญาตให้เอกชนและผู้ประกอบการประกอบกิจการภายในภาคเศรษฐกิจบริการและภาคเศรษฐกิจชั้นรอง การกำหนดราคาในสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าเกษตรจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกลไกตลาด เกษตรกรได้รับอนุญาตให้ขายผลผลิตของตนบางส่วนในตลาดเปิด และเก็บรักษากำไรทั้งหมด หรือบางส่วน เพื่อเป็นเครื่องมือจูงใจให้มีการพัฒนาการผลิตให้ดีขึ้นต่อไป

สังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์แบบจีน แก้

สังคมนิยมตลาดมักถูกใช้เพื่ออ้างอิงถึงระบบเศรษฐกิจในรัฐที่ใช้อุดมการณ์มาร์กซ์-เลนิน และบ่อยครั้งที่ใช้อ้างถึงเศรษฐกิจร่วมสมัยในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ซึ่งนำระบบกำหนดราคาเสรีมาใช้เพื่อจัดสรรสินค้าทุนทั้งในภาคเอกชนและภาครัฐ อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและการเมืองชาวจีนระบุแย้งว่า เศรษฐกิจสังคมนิยมที่ใช้กลไกตลาดนั้น ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของสังคมนิยมตลาดในทัศนะแบบเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิค[53] อีกทั้งมีนักเศรษฐศาสตร์และนักรัฐศาสตร์จากตะวันตกหลายราย ตั้งคำถามถึงความลึกของการนำรูปแบบสังคมนิยมตลาดไปใช้ในระบบเศรษฐกิจของจีน และมักนิยมเรียกระบบของจีนว่าเป็น ทุนนิยมโดยรัฐ[54]

แม้จะมีชื่อเรียกคล้ายกัน สังคมนิยมตลาดมีความแตกต่างอย่างมากเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจสังคมนิยมที่ใช้กลไกตลาด หรือเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจกลไกตลาดที่มีรูปแบบสังคมนิยม ของสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามตามลำดับ ระบบเศรษฐกิจที่ประกาศอย่างเป็นทางการเหล่านี้นั้น ถือเป็นตัวแทนของกระบวนการที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นสังคมนิยมที่แท้จริงในระยะยาว[55] ข้อแตกต่างสำคัญระหว่างโมเดลสังคมนิยมตลาดเมื่อเทียบกับโมเดลของจีนและเวียดนามนั้นคือ บทบาทของเอกชนที่สามารถลงเม็ดเงินลงทุนในวิสาหกิจ การไม่ปรากฏอยู่ของระบบเงินปันผลเพื่อสังคมหรือระบบรายได้มูลฐาน อันที่จะจัดสรรและกระจายผลกำไรของรัฐไปสู่ประชากรอย่างเท่าเทียม ตลอดจนการดำรงอยู่ในบทบาทของตลาดการเงินกรณีโมเดลของจีน เหล่านี้เป็นลักษณะของตลาดที่ไม่มีปรากฏอยู่ในงานเขียนที่เกี่ยวข้องกับสังคมนิยมที่ใช้กลไกตลาด[54]

แม้ประสบการณ์ของจีนในระบบสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์แบบจีน จะเป็นที่อ้างอิงบ่อยครั้งในฐานะระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมที่ใช้กลไกตลาด ที่ซึ่งรัฐยังถือกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตในภาคเศรษฐกิจที่สำคัญก็ตาม แต่สัดส่วนสำคัญทางเศรษฐกิจทั้งภาครัฐและภาคเอกชนนั้น มีกลไกตลาดทำหน้าที่ดูแล ซึ่งรวมถึงตลาดหลักทรัพย์สำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยนหุ้น ตลอดจนการนำกลไกทางอ้อมต่าง ๆ ของตลาดมาใช้ในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจมหภาค (เช่น นโยบายการเงิน การคลัง และอุตสาหการ) เพื่อชักจูงเศรษฐกิจเสมือนวิถีปฏิบัติของเศรษฐกิจทุนนิยม ตลาดทำหน้าที่เป็นผู้ชี้ขาดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดในจีน โดยรัฐมีบทบาทวางเค้าโครงแผนเศรษฐกิจระดับมหภาค และจะไม่เข้าไปก้าวก่ายกระบวนการตัดสินใจในระดับเศรษฐกิจจุลภาค การตัดสินใจในระดับจุลภาคจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ขององค์กรเอกชนและรัฐวิสาหกิจกระทำกันเอง แม้โมเดลนี้จะมีเอกชนถือกรรมสิทธิ์ในวิสาหกิจและดำเนินกิจการเพื่อแสวงหากำไรก็ตาม แต่นั่นก็จำกัดให้อยู่ในกรอบของกิจการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอุปโภคบริโภคและธุรกิจบริการเท่านั้น[56]

การวางแผนการผลิตโดยการบังคับโควต้าของผลผลิตในระบบเศรษฐกิจเดิมของจีนนั้น ถูกแทนที่ด้วยกลไกตลาดในเกือบทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นในภาครัฐหรือภาคเอกชน แม้ว่ารัฐจะยังคงมีบทบาทในการวางแผนชี้นำให้กับรัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ก็ตาม[56] และเมื่อเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจวางแผนแบบโซเวียตนั้น โมเดลสังคมนิยมที่มีการใช้กลไกตลาดของจีนมีที่มาจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นส่วนใหญ่ ทำให้รัฐวิสาหกิจเหล่านั้นแปรสภาพเป็นบริษัทร่วมทุน ในปี 2008 มีจำนวนรัฐวิสาหกิจดำเนินงานภายใต้รัฐบาลกลางอยู่ 150 แห่ง[57] หลังปฏิรูปพบว่ารัฐวิสาหกิจเหล่านี้มีพลวัตรเพิ่มขึ้น และกลายเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของรัฐในปีเดียวกัน[58][59] อีกทั้งได้นำพาให้เศรษฐกิจจีนพลิกฟื้นในปี 2009 ท่ามกลางวิกฤตทางการเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลก[60]

อย่างไรก็ดีมีนักมาร์กซิสต์-เลนินนิสต์ออกมาปกป้องโมเดลเศรษฐกิจของจีนจากการวิพากษ์วิจารณ์ โดยชี้ว่าเศรษฐกิจสังคมนิยมแบบวางแผนนั้น จะบังเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมือมีการพัฒนาวิถีสังคมนิยมด้วยเศรษฐกิจที่ใช้กลไกตลาดควบคู่ไปกับเศรษฐกิจที่แลกเปลี่ยนโภคภัณฑ์เสียก่อนเป็นอันดับแรก อันจะทำให้ระบบสังคมนิยมปรากฏขึ้นมาหลังจากที่พัฒนาการขั้นตอนแรกหมดความจำเป็นไปเองทางประวัติศาสตร์ และจะแปรสภาพตัวเองไปเป็นสังคมนิยมอย่างช้า ๆ[53] ผู้เชี่ยวชาญโมเดลของจีนยังแย้งเพิ่มเติมอีกว่า ระบบเศรษฐกิจของอดีตสหภาพโซเวียตและประเทศบริวารนั้น ใช้วิถีทางกฎหมายเพื่อบังคับให้มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบเศรษฐกิจธรรมชาติ ไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน โดยข้ามขั้นตอนที่จำเป็นของการพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจที่ใช้กลไกตลาดเสียก่อน[61]

สังคมนิยมประชาธิปไตย แก้

นักสังคมนิยมประชาธิปไตยบางราย ให้การสนับสนุนรูปแบบที่แตกต่างกันไปของระบบสังคมนิยมตลาด บ้างก็สนับสนุนระบบที่มีรูปแบบการบริหารจัดการตนเอง บ้างก็สนับสนุนเศรษฐกิจส่วนร่วมแบบไร้ตลาด ที่มีลักษณะของการวางแผนเศรษฐกิจแบบกระจายศูนย์[62]

อนาธิปไตย แก้

นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ปิแอร์-โจเซฟ พรูดอน คือบุคคลแรกที่เรียกตนเองว่านักอนาธิปไตย และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นนักทฤษฎีอนาธิปไตยที่ทรงอิทธิพลที่สุดผู้หนึ่ง ตลอดจนได้รับการขนานนามว่า “บิดาแห่งอนาธิปไตย”[63] พรูดอนได้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกรัฐสภาฝรั่งเศสหลังเหตุการณ์ปฏิวัติแห่งปี 1848 ซึ่งขณะนั้นพรูดอนได้รับฉายานามว่าเป็น “นักนิยมสหพันธรัฐ” วลีของพรูดอน “[การมี]ทรัพย์สินคือโจรกรรม!” นั้นทำให้พรูดอนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง วลีนี้ปรากฏอยู่ในงานเขียนในปี 1840 ของพรูดอนชื่อ ทรัพย์สินคืออะไร? หนังสือเล่มนี้ทำให้พรูดอนตกเป็นที่จับตาดูของเจ้าหน้าที่รัฐในฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังตกเป็นที่สังเกตของ คาร์ล มากซ์ จึงทำให้เริ่มมีการสื่อสารระหว่างกัน ทั้งคู่ต่างก็มีอิทธิพลทางความคิดต่อกัน ท้ายที่สุดจึงได้มีโอกาสได้พบปะกันที่ปารีสในช่วงที่มาร์กซ์กำลังลี้ภัยอยู่ที่นั่น อย่างไรก็ดีมิตรภาพของทั้งสองจบลงเมื่อมาร์กซ์ได้เขียนงานวิจารณ์หนังสือของพรูดอนที่ชื่อว่า ปรัชญาแห่งความขัดสน ด้วยงานเขียนของตนเองที่ตั้งชื่อว่า ความขัดสนแห่งปรัชญา ความขัดแย้งนี้เป็นที่มาของการแยกตัวกันภายในสมาคมคนงานสากล ออกเป็นปีกอนาธิปไตยและปีกมาร์กซิสต์

อนาธิปไตยตลาดปีกซ้าย คือแนวคิดอนาธิปไตยเชิงปัจเจกที่มีรูปแบบของสังคมนิยมที่ใช้กลไกตลาด บางครั้งก็เรียกขานกันว่า อิสระนิยมซ้าย และสังคมนิยมแบบอิสระนิยม มีบุคคลสำคัญที่ควรกล่าวถึงคือ เควิน คาร์สัน[64][65] ร็อดเดอริก ที. ลอง[66][67] ชาร์ลส ดับเบิ้ลยู. จอห์นสัน[68] แบรด สแปงเกลอร์[69] ซามูเอล เอ็ดวาร์ด คอนคิน ที่ 3[70] เชลดอน ริชแมน[71][72][73] คริส แมทธิว สเชียบาร์รา[74] และแกรี่ ชาร์ติเยร์[75] นักคิดเหล่านี้เน้นถึงความสำคัญของตลาดเสรีที่มีลักษณะของความอิสระอย่างสุดขีด โดยเรียกว่า ตลาดปลดปล่อย เพื่อให้แตกต่างจากความหมายของตลาดทั่วไป โดยมุ่งหวังที่จะกำจัดอภิสิทธิ์ของนายทุนและนักอำนาจรัฐนิยม[76]

ข้อวิพากษ์วิจารณ์ แก้

นักปฏิเสธตลาดเช่น เดวิด แมคนัลลี แย้งแนวคิดแบบมาร์กซิสต์โดยกล่าวว่า เนื้อแท้ของกลไกตลาดนั้นไม่ได้ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม และกล่าวว่าหลักการเจตนาและปรัชญาทางศีลธรรมของอดัม สมิธ ที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนที่เท่าเทียมนั้น ถูกบ่อนทำลายโดยวิถีแห่งตลาดเสรีของสมิธเอง เนื่องจากพัฒนาการของเศรษฐกิจกลไกตลาดย่อมความเกี่ยวข้องกับวิถีแห่งการบีบบังคับ การขูดรีด และความรุนแรง ที่หลักการเจตนาทางศีลธรรมของสมิธเองก็ไม่อาจยอมรับได้ แมคนัลลียังวิจารณ์สังคมนิยมที่ใช้กลไกลตลาดในข้อที่ว่า ระบบนี้ศรัทธาในวิถีของตลาดยุติธรรมที่มีการแลกเปลี่ยนที่เท่าเทียมกัน และเชื่อว่าตลาดจะบรรลุผลสำเร็จได้ด้วยการกรองทิ้งองค์ประกอบที่เป็นเสมือนปรสิตออกไปจากเศรษฐกิจตลาด เช่นกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตของเอกชน ดังนั้นสังคมนิยมตลาดจึงมีความย้อนแย้งทั้งที่ระบบสังคมนิยมมีนิยามว่าเป็นจุดจบของแรงงานที่พึ่งพิงค่าแรง[77]

ดูเพิ่ม แก้

 
Wikiquote
วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: Market socialism

อ้างอิง แก้

  1. O'Hara, Phillip (September 2000). Encyclopedia of Political Economy, Volume 2. Routledge. p. 71. ISBN 978-0415241878. "Market socialism is the general designation for a number of models of economic systems. On the one hand, the market mechanism is utilized to distribute economic output, to organize production and to allocate factor inputs. On the other hand, the economic surplus accrues to society at large rather than to a class of private (capitalist) owners, through some form of collective, public or social ownership of capital."
  2. Buchanan, Alan E. (1985). Ethics, Efficiency and the Market. Oxford University Press US. pp. 104–105. ISBN 978-0-8476-7396-4.
  3. Gregory, Paul R.; Stuart, Robert C. (2003). Comparing Economic Systems in the Twenty-First Century. p. 142. "It is an economic system that combines social ownership of capital with market allocation of capital...The state owns the means of production, and returns accrue to society at large." ISBN 0-618-26181-8.
  4. Marangos, John (2004). "Social Dividend Versus Basic Income Guarantee in Market Socialism". International Journal of Political Economy. 34 (3): 20–40. doi:10.1080/08911916.2004.11042930. JSTOR 40470892.
  5. Bockman, Johanna (2011). Markets in the name of Socialism: The Left-Wing origins of Neoliberalism. Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-7566-3.
  6. Roosevelt III, Franklin Delano; David Belkin (1994). Why Market Socialism?. M.E. Sharpe, Inc. p. 314. ISBN 978-1-56324-465-0. "Social democracy achieves greater egalitarianism via ex post government taxes and subsidies, where market socialism does so via ex ante changes in patterns of enterprise ownership."
  7. Steele, David Ramsay (September 1999). From Marx to Mises: Post Capitalist Society and the Challenge of Economic Calculation. Open Court. p. 177. ISBN 978-0-87-548449-5. "It was in the early 1920s that the expression 'market socialism' (marktsozialismus) became commonplace. A special term was considered necessary to distinguish those socialists prepared to accept some role for factor markets from the now mainstream socialists who were not."
  8. Roemer, John (1 January 1994). A Future for Socialism. Harvard University Press. p. 28. ISBN 978-0-674-33946-0. "The first stage was marked by the realization by socialists that prices must be used for economic calculation under socialism; accounting in some kind of 'natural unit,' such as the amount of energy or labor commodities embodied, simply would not work. The second stage was characterized by the view that it would be possible to calculate the prices at which general equilibrium would be reached in a socialist economy by solving a complicated system of simultaneous equations [...]. The third stage was marked by the realization, by Lange and others, that markets would indeed be required to find the socialist equilibrium [...]."
  9. McNally, David (1993). Against the Market: Political Economy, Market Socialism and the Marxist Critique. Verso. p. 44. ISBN 978-0-86091-606-2. "[...] [B]y the 1820s, 'Smithian' apologists for industrial capitalism confronted 'Smithian' socialists in a vigorous, and often venomous, debate over political economy."
  10. Property and Prophets: the evolution of economic institutions and ideologies, E. K. Hunt, published by M.E. Sharpe, ISBN 978-0-7656-0609-9, p. 72.
  11. Kevin Carson (16 July 2006). "J.S. Mill, Market Socialist". Mutualist Blog: Free Market Anti-Capitalism. Retrieved 2 March 2016.
  12. Mill, John Stuart; Bentham, Jeremy; Ryan, Alan, ed (2004). Utilitarianism and other essays. London: Penguin Books. p. 11. ISBN 978-0-14-043272-5.
  13. Wilson, Fred (2007). "John Stuart Mill: Political Economy". Stanford Encyclopedia of Philosophy. Stanford University. Retrieved 4 May 2009.
  14. Mill, John Stuart (1852). "On The General Principles of Taxation, V.2.14". Principles of Political Economy. [Online Library of Liberty]. Retrieved 6 January 2013. (3rd edition; the passage about flat taxation was altered by the author in this edition, which is acknowledged in this online edition's footnote 8. This sentence replaced in the 3rd ed. a sentence of the original: "It is partial taxation, which is a mild form of robbery".
  15. Ekelund, Robert B. Jr.; Hébert, Robert F. (1997). A history of economic theory and method (4th ed.). Waveland Press [Long Grove, Illinois]. p. 172. ISBN 978-1-57766-381-2.
  16. Wilson, Fred (10 July 2007). "John Stuart Mill". Stanford Encyclopedia of Philosophy. Retrieved 17 March 2008.
  17. Baum, Bruce. "J. S. Mill and Liberal Socialism". In Urbanati, Nadia; Zachars Alex, eds. (2007). J. S. Mill's Political Thought: A Bicentennial Reassessment. Cambridge: Cambridge University Press. "Mill, in contrast, advances a form of liberal democratic socialism for the enlargement of freedom as well as to realize social and distributive justice. He offers a powerful account of economic injustice and justice that is centered on his understanding of freedom and its conditions".
  18. Principles of Political Economy with some of their Applications to Social Philosophy, IV.7.21 John Stuart Mill: Political Economy, IV.7.21.
  19. Kevin Carson (19 January 2006). "Eugene Plawiuk on Anarchist Socialism". Mutualist Blog: Free Market Anti-Capitalism. Retrieved 2 March 2016.
  20. Murray Bookchin, Ghost of Anarcho-Syndicalism.
  21. Robert Graham [en], The General Idea of Proudhon's Revolution.
  22. Eunice Minette Schuster. "Native American Anarchism: A Study of Left-Wing American Individualism". againstallauthority.org. Archived from the original on 14 February 2016. Retrieved 2 March 2016.
  23. 23.0 23.1 Palmer, Brian (29 December 2010) What do anarchists want from us?, Slate.com
  24. 24.0 24.1 William Bailie, "Archived copy" (PDF). Archived from the original (PDF) on 4 February 2012. Retrieved 17 June 2013. Josiah Warren: The First American Anarchist – A Sociological Study, Boston: Small, Maynard & Co., 1906, p. 20.
  25. "A watch has a cost and a value. The COST consists of the amount of labor bestowed on the mineral or natural wealth, in converting it into metals…". Warren, Josiah. Equitable Commerce.
  26. Charles A. Madison. "Anarchism in the United States". Journal of the History of Ideas, Vol. 6, No. 1. (Jan. 1945), p. 53
  27. 27.0 27.1 Benjamin Tucker. Instead of a Book, p. 404
  28. Tucker, Benjamin (1926). Individual Liberty: Selections from the Writings of Benjamin R. Tucker. New York: Vanguard Press. pp. 1–19.
  29. Gary Chartier and Charles W. Johnson (eds). Markets Not Capitalism: Individualist Anarchism Against Bosses, Inequality, Corporate Power, and Structural Poverty. Minor Compositions; 1st edition 5 November 2011.
  30. Gary Chartier, "Advocates of Freed Markets Should Oppose Capitalism," "Free-Market Anti-Capitalism?" session, annual conference, Association of Private Enterprise Education (Cæsar's Palace, Las Vegas, NV, 13 April 2010).
  31. Gary Chartier, "Advocates of Freed Markets Should Embrace 'Anti-Capitalism'".
  32. Gary Chartier, Socialist Ends, Market Means: Five Essays. Cp. Tucker, "Socialism."
  33. F. Caffé (1987), "Barone, Enrico", The New Palgrave: A Dictionary of Economics, ISBN 978-1-56159-197-8, v. 1, p. 195.
  34. Enrico Barone, "Il Ministro della Produzione nello Stato Collettivista", Giornale degli Economisti, 2, pp. 267–93, trans. as "The Ministry of Production in the Collectivist State", in F. A. Hayek, ed. (1935), Collectivist Economic Planning, ISBN 978-0-7100-1506-8. pp. 245–290.
  35. Robin Hahnel (2005), Economic Justice and Democracy, Routledge, ISBN 978-0-415-93344-5, p. 170.
  36. Taylor, Fred M. (1929). "The Guidance of Production in a Socialist State". The American Economic Review. 19 (1): 1–8. JSTOR 1809581.
  37. Mark Skousen (2001), Making Modern Economics, M.E. Sharpe, ISBN 978-0-7656-0479-8, pp. 414–15.
  38. János Kornai (1992), The Socialist System: the political economy of communism, Oxford University Press, ISBN 978-0-19-828776-6, p. 476.
  39. Steele, David Ramsay (September 1999). From Marx to Mises: Post Capitalist Society and the Challenge of Economic Calculation. Open Court. p. 151. ISBN 978-0-87-548449-5. "Finally, there is the curious circumstance that Lange’s system is widely hailed as a pioneering effort in the theory of market socialism, when it is demonstrably no such thing: even the name ‘market socialism’ predates Lange, and Lange’s system is explicitly a proposal to replace the market with a non-market system."
  40. Aslund, Anders (1992). Market Socialism Or the Restoration of Capitalism?. Cambridge University Press. p. 20. ISBN 978-0-521-41193-6. "Usually Oskar Lange is regarded as the originator of the concept of market socialism, in spite of the fact that he never spoke of market socialism and would not have been the first if he had. In fact, Lange's model involves only a partial market simulation for the trial-and-error iterative construction of a central plan, which belongs to the set of decentralization procedures in central planning."
  41. "Cooperative Economics: An Interview with Jaroslav Vanek". Interview by Albert Perkins. Retrieved 17 March 2011.
  42. "Feasible Socialism: Market or Plan – Or Both" เก็บถาวร 2017-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  43. Galia Golan (1971). Reform Rule in Czechoslovakia: The Dubcek Era 1968–1969. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-08586-1.
  44. "Key role of the state economic sector in Vietnam’s socialist-oriented market economy undeniable"[ลิงก์เสีย]. National Defence Journal. 13 August 2019. Retrieved 5 August 2020.
  45. "Vietnam to release white book on cooperatives". VietNam Breaking News. 10 March 2020. Retrieved 5 August 2020.
  46. Drucker, Peter Ferdinand (1976). The Unseen Revolution: How Pension Fund Socialism Came to America. Harper Collins. ISBN 978-0-06-011097-0.
  47. Simon, William H. (1995). "Prospects for Pension Fund Socialism". In McCahery, J.; Picciotto, Sol; Scott, Colin, eds. Corporate Control and Accountability: Changing Structures and the Dynamics. Oxford University Press. p. 167. ISBN 978-0-19-825990-9.
  48. "Cuba inches towards market socialism". BBC News. 27 March 2011. Retrieved 30 December 2019.
  49. Moammar El Khadafi, Le Livre vert, chapitre III: "Les fondements sociaux de la troisième théorie universelle" (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Cujas. 1980. ISBN 978-9-6385-2741-7.
  50. Iveković, Ivan (3 April 2009). "Libijska džamahirija između prošlosti i sadašnjosti - 1. dio" เก็บถาวร 2014-02-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ["Libyan Jamahiriya between past and present - Part 1"]. H-Alter (in Croatian). Retrieved 5 August 2020.
  51. Veselova, E. S. (18 November 2016). "The Market-Socialist Country". Problems of Economic Transition. 58 (6): 546–555. doi:10.1080/10611991.2016.1222209.
  52. "Breaking: Ethiopia to embark on major privatization drive". 5 June 2018. Retrieved 30 December 2019.
  53. 53.0 53.1 Duan Zhongqiao. "Market Economy and Socialist Road" (PDF). Retrieved 4 February 2016.
  54. 54.0 54.1 Market socialism or Capitalism? Evidence from Chinese Financial Market Development, 2005, by Du, Julan and Xu, Chenggang. April 2005. International Economic Association 2005 Round Table on Market and Socialism, April 2005.
  55. Michael Karadjis. "Socialism and the market: China and Vietnam compared". Links International Journal for Socialist Renewal. Retrieved 20 March 2013.
  56. 56.0 56.1 "The Role of Planning in China's Market Economy" Archived 7 June 2011 at the Wayback Machine, presented before the "International Conference on China's Planning System Reform", 24 and 25 March 2004 in Beijing, by Prof. Gregory C. Chow, Princeton University.
  57. "Reassessing China's State-Owned Enterprises". Forbes. 8 July 2008.
  58. Geoff Dyer and Richard McGregor (16 March 2008). "China's champions: Why state ownership is no longer proving a dead hand". Financial Times. Archived from the original on 11 July 2011. Retrieved 2 June 2010.
  59. David A. Ralston, Jane Terpstra-Tong, Robert H. Terpstra, Xueli Wang, "Today's State-Owned Enterprises of China: Are They Dying Dinosaurs or Dynamic Dynamos?" Archived 20 July 2011 at the Wayback Machine.
  60. "China grows faster amid worries". BBC News. 16 July 2009. Retrieved 12 May 2010.
  61. Vuong, Quan-Hoang (February 2010). Financial Markets in Vietnam's Transition Economy: Facts, Insights, Implications. Saarbrücken, Germany: VDM Publishing. ISBN 978-3-639-23383-4.
  62. Anderson and Herr, Gary L. and Kathryn G. (2007). Encyclopedia of Activism and Social Justice. SAGE Publications, inc. p. 448. ISBN 978-1-4129-1812-1. "Some have endorsed the concept of market socialism, a postcapitalist economy that retains market competition but socializes the means of production, and in some versions, extends democracy to the workplace. Some holdout for a nonmarket, participatory economy. All democratic socialists agree on the need for a democratic alternative to capitalism."
  63. Daniel Guerin, Anarchism: From Theory to Practice (New York: Monthly Review Press, 1970).
  64. Carson, Kevin A. (2008). Organization Theory: A Libertarian Perspective. Charleston, SC:BookSurge.
  65. Carson, Kevin A. (2010). The Homebrew Industrial Revolution: A Low-Overhead Manifesto. Charleston, SC:BookSurge.
  66. Long, Roderick T. (2000). Reason and Value: Aristotle versus Rand. Washington, DC:Objectivist Center
  67. Long, Roderick T. (2008). "An Interview With Roderick Long".
  68. Johnson, Charles W. (2008). "Liberty, Equality, Solidarity: Toward a Dialectical Anarchism." Anarchism/Minarchism: Is a Government Part of a Free Country?. In Long, Roderick T. and Machan, Tibor Aldershot:Ashgate. pp. 155–88.
  69. Spangler, Brad (15 September 2006). "Market Anarchism as Stigmergic Socialism Archived 2011-05-10 at Archive.today."
  70. Konkin III, Samuel Edward. The New Libertarian Manifesto เก็บถาวร 2014-06-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  71. Richman, Sheldon (23 June 2010). "Why Left-Libertarian?" The Freeman. Foundation for Economic Education.
  72. Richman, Sheldon (18 December 2009). "Workers of the World Unite for a Free Market Archived 2014-07-22 at the Wayback Machine." Foundation for Economic Education.
  73. Sheldon Richman (3 February 2011). "Libertarian Left: Free-market anti-capitalism, the unknown ideal เก็บถาวร 2019-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Archived 2019-06-10 at the Wayback Machine." The American Conservative. Retrieved 5 March 2012.
  74. Sciabarra, Chris Matthew (2000). Total Freedom: Toward a Dialectical Libertarianism. University Park, PA: Pennsylvania State University Press.
  75. Chartier, Gary (2009). Economic Justice and Natural Law. Cambridge: Cambridge University Press.
  76. Gillis, William (2011). "The Freed Market." In Chartier, Gary and Johnson, Charles. Markets Not Capitalism. Brooklyn, NY: Minor Compositions/Autonomedia. pp. 19–20.
  77. McNally, David (1993). Against the Market: Political Economy, Market Socialism and the Marxist Critique. Verso. ISBN 978-0-86091-606-2.

เอกสารเพิ่มเติม แก้

  • Alejandro Agafonow (2012). “The Austrian Dehomogenization Debate, or the Possibility of a Hayekian Planner,” Review of Political Economy, Vol. 24, No. 02.
  • Chartier, Gary; Johnson, Charles W. (2011). Markets Not Capitalism: Individualist Anarchism Against Bosses, Inequality, Corporate Power, and Structural Poverty. Brooklyn, NY: Minor Compositions/Autonomedia
  • Bertell Ollman ed. (1998). Market Socialism: the Debate Among Socialists, with other contributions by James Lawler, Hillel Ticktin and David Schewikart. Preview.
  • Steven O'Donnell (2003). Introducing Entrepreneurial Activity Into Market Socialist Models, University Press, Auckland
  • John E. Roemer et al. (E. O. Wright, ed.) (1996). Equal Shares: Making Market Socialism Work, Verso.
  • Alec Nove (1983). The Economics of Feasible Socialism, HarperCollins.
  • David Miller (1989). Market, State, and Community: Theoretical Foundations of Market Socialism, Clarendon Press, Oxford.
  • David Schweickart (2002). After Capitalism, Rowman & Littlefield, Lanham, Maryland.
  • Johanna Bockman (2011). Markets in the Name of Socialism: The Left-Wing Origins of Neoliberalism, Stanford University Press, Stanford. Preview. เก็บถาวร 2011-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน