เวย์แบ็กแมชชีน

บันทึกดิจิตอลโดยอินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์
(เปลี่ยนทางจาก Wayback Machine)

เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ: Wayback Machine) เป็นคลังบันทึกข้อมูลดิจิทัลของเวิลด์ไวด์เว็บที่สร้างขึ้นโดยอินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์ องค์กรที่ไม่แสวงหากำไรสัญชาติอเมริกันที่ตั้งอยู่ที่ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย หน้าต่าง ๆ ได้รับการบันทึกอย่างช้าตั้งแต่ ค.ศ. 1995 และเปิดให้เข้าใช้งานทั่วไปใน ค.ศ. 2001 ช่วยให้ผู้ใช้สามารถ "ย้อนเวลา" ไปดูเว็บไซต์ในอดีต ผู้ก่อตั้ง บรูว์สเตอร์ เคล และบรูซ กิลเลียต พัฒนาเวย์แบ็กแมชชีนเพื่อให้ "ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ทั้งหมดได้" ด้วยการเก็บรักษาสำเนาเว็บเพจที่เลิกใช้งานแล้วไว้ในคลังข้อมูล[2]

เวย์แบ็กแมชชีน
Stylized text saying: "INTERNET ARCHIVE WAYBACK MACHINE". The text is in black, except for "WAYBACK", which is in red.
ประเภทหน่วยเก็บถาวร
ก่อขึ้น
  • 8 พฤษภาคม 1995; 29 ปีก่อน (1995-05-08) (ส่วนตัว)
  • 24 ตุลาคม 2001; 23 ปีก่อน (2001-10-24) (สาธารณะ)
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก (ยกเว้นจีน, อินเดีย[a] และบาห์เรน)
เจ้าของอินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์
ยูอาร์แอล
เชิงพาณิชย์ไม่
ลงทะเบียนไม่จำเป็น
สถานะปัจจุบันเปิดบริการ
เขียนด้วยHTML, CSS, JavaScript, Java, Python

เวย์แบ็กแมชชีนได้บันทึกหน้าเว็บไว้ได้มากกว่า 38,200 ล้านหน้าภายในสิ้น ค.ศ. 2009 ณ เดือนพฤศจิกายน 2024 เวย์แบ็กแมชชีนได้เก็บหน้าเว็บไว้มากกว่า 916,000 ล้านหน้าและข้อมูลราว ๆ 100 เพตะไบต์[3][4]

ประวัติ

แก้

อินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์เริ่มเก็บแคชเว็บเพจเร็วสุดตั้งแต่ ค.ศ. 1995 หนึ่งในหน้าแรกสุดถูกเก็บถาวรเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1995[5]

บรูว์สเตอร์ เคลและบรูซ กิลเลียต ผู้ก่อตั้งเวย์แบ็กแมชชีน เปิดตัวเว็บนี้ที่ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย[6]ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2001[7][8] โดยหลักแล้วเพื่อแก้ไขปัญหาเนื้อหาบนเว็บที่หายไปเมื่อใดก็ตามที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเมื่อเว็บไซต์ถูกปิดลง[9] บริการนี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูหน้าเว็บรุ่นที่จัดเก็บไว้ในเวลาต่าง ๆ ได้ ซึ่งที่อินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์เรียกว่า "ดัชนีสามมิติ"[10] เคลและกิลเลียตสร้างเครื่องกลไกที่หวังจะเก็บถาวรอินเทอร์เน็ตทั้งหมดไว้และเปิดให้ "เข้าถึงความรู้ทั้งหมดได้ทั่วถึง"[11] ชื่อ "เวย์แบ็กแมชชีน" อ้างอิงถึงเครื่องมือเดินทางข้ามเวลาสมมติในการ์ตูนแอนิเมชัน The Adventures of Rocky and Bullwinkle and Friends จากคริสต์ทศวรรษ 1960[12][13][14] ในส่วนของการ์ตูนเรื่อง "ประวัติศาสตร์ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ของพีบอดี" มิสเตอร์พีบอดีและเชอร์แมนใช้ "เวย์แบ็กแมชชีน" เพื่อย้อนเวลากลับไปเพื่อเป็นพยานและมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียง[15]

ในช่วง ค.ศ. 1996 ถึง 2001 ข้อมูลถูกเก็บไว้ในเทปดิจิทัล โดยที่เคลอนุญาตให้นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์เข้าถึงฐานข้อมูล "ที่ยุ่งยาก" เป็นครั้งคราว[16] เมื่อหน่วยเก็บถาวรมีอายุครบ 5 ปีใน ค.ศ. 2001 ได้มีการเปิดตัวและเปิดให้สาธารณชนเข้าชมในพิธีที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์[17] ในช่วงที่เปิดตัวเวย์แบ็กแมชชีน มีหน้าที่เก็บถาวรแล้วมากกว่า 10,000 ล้านหน้า[18][19] ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในคลัสเตอร์โหนด Linux ขนาดใหญ่ของอินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์[11] โดยจะเข้าไปเยี่ยมชมและเก็บถาวรเว็บไซต์เวอร์ชันใหม่เป็นครั้งคราว[20] นอกจากนี้ ยังสามารถจับภาพไซต์ได้ด้วยตนเองโดยป้อนยูอาร์แอลของเว็บไซต์ลงในกล่องค้นหา โดยต้องให้เว็บไซต์อนุญาตให้เวย์แบ็กแมชชีน "รวบรวม" และบันทึกข้อมูล[21]

เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 2020 เวย์แบ็กแมชชีนเริ่มตรวจสอบข้อเท็จจริงของเนื้อหา[22] ณ เดือนมกราคม ค.ศ. 2022 โดเมนของ ad server ถูกห้ามไมให้จับหน้าจอ[23]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปีของอินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์ ทางเวย์แบ็กแมชชีนได้เปิดตัว "เวย์ฟอร์เวิร์ดแบ็กแมชชีน" ที่ให้ผู้ใช้ "เดินทางสู่อินเทอร์เน็ตใน ค.ศ. 2046 ซึ่งเป็นปีที่ความรู้ถูกล้อมโจมตี"[24][25]

หมายเหตุ

แก้
  1. แม้ว่าในอดีตเคยบล็อก การบังคับใช้ไม่สอดคล้องกันและขึ้นอยู่กับภูมิภาค[1]

อ้างอิง

แก้
  1. Ong, Thuy (August 9, 2017). "Wayback Machine has been blocked in India". The Verge.
  2. Kahle, Brewster (November 23, 2005). "Universal Access to all Knowledge". Internet Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 14, 2022. สืบค้นเมื่อ June 5, 2022.
  3. "Internet Archive: Wayback Machine". web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 13, 2023. The current number of archived pages can be seen at the archive's home page.
  4. Kahle, Brewster. "A Message from Internet Archive Founder, Brewster Kahle". Internet Archive. สืบค้นเมื่อ January 10, 2024.
  5. "Eugene Public Library Hours". Internet Archive/Wayback Machine. {{cite web}}: |archive-url= ต้องการ |url= (help); |url= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  6. "Wayback Machine General Information". Internet Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2019. สืบค้นเมื่อ March 2, 2021.
  7. "WayBackMachine.org WHOIS, DNS, & Domain Info – DomainTools". WHOIS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 14, 2020. สืบค้นเมื่อ March 13, 2016.
  8. "InternetArchive.org WHOIS, DNS, & Domain Info – DomainTools". WHOIS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 12, 2020. สืบค้นเมื่อ March 13, 2016.
  9. Notess, Greg R. (March–April 2002). "The Wayback Machine: The Web's Archive". Online. 26: 59–61. INIST:13517724.
  10. "The Wayback Machine", Frequently Asked Questions, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 18, 2018, สืบค้นเมื่อ September 18, 2018
  11. 11.0 11.1 "20,000 Hard Drives on a Mission". Internet Archive Blogs. October 25, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2018. สืบค้นเมื่อ October 15, 2018.
  12. Green, Heather (February 28, 2002). "A Library as Big as the World". BusinessWeek. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2011.
  13. Tong, Judy (September 8, 2002). "Responsible Party – Brewster Kahle; A Library Of the Web, On the Web". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 20, 2011. สืบค้นเมื่อ August 15, 2011.
  14. Keith Scott (2000). The Moose that Roared: The Story of Jay Ward, Bill Scott, a Flying Squirrel, and a Talking Moose. St. Martin's Press. ISBN 0-312-19922-8
  15. Markstein, Don. "Toonopedia: "Peabody's Improbable History"". Toonpedia.com. สืบค้นเมื่อ 2024-11-07.
  16. Cook, John (November 1, 2001). "Web site takes you way back in Internet history". Seattle Post-Intelligencer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 12, 2014. สืบค้นเมื่อ August 15, 2011.
  17. Mayfield, Kendra (October 28, 2001). "Wayback Goes Way Back on Web". Wired. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 16, 2017. สืบค้นเมื่อ October 16, 2017.
  18. Arora, Sanjay K.; Li, Yin; Youtie, Jan; Shapira, Philip (May 5, 2015). "Using the wayback machine to mine websites in the social sciences: A methodological resource". Journal of the Association for Information Science and Technology. 67 (8): 1904–1915. doi:10.1002/asi.23503. hdl:10.1002/asi.23503. ISSN 2330-1635.
  19. "Internet Archive Frequently Asked Questions". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 21, 2009. สืบค้นเมื่อ January 17, 2015.
  20. Leetaru, Kalev (January 28, 2016). "The Internet Archive Turns 20: A Behind the Scenes Look at Archiving the Web". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 16, 2017. สืบค้นเมื่อ October 16, 2017.
  21. "Internet Archive: Wayback Machine". Internet Archive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 3, 2014. สืบค้นเมื่อ October 15, 2018.
  22. Graham, Mark (October 30, 2020). "Fact Checks and Context for Wayback Machine Pages". Internet Archive Blogs. สืบค้นเมื่อ January 17, 2021.
  23. Attempts to 'save page now' domains such as tpc.googlesyndication.com or s0.2mdn.net or atdmt.com or adbrite.com result in "This URL is in our block list and cannot be captured."
  24. "Internet Archive 25th Anniversary – Universal Access to All Knowledge". สืบค้นเมื่อ January 13, 2022.
  25. "Wayforward Machine • Visit the future of the internet". Way Forward Machine. สืบค้นเมื่อ January 13, 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้