ฟุตบอลทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์

ฟุตบอลทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (ไอริช: Foireann peile náisiúnta Phoblacht na hÉireann) เป็นทีมฟุตบอลของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ในการแข่งขันฟุตบอลระดับชาติ ควบคุมและบริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ (FAI) ใช้สนามอวีวาสเตเดียม กรุงดับลิน เป็นสนามเหย้า

สาธารณรัฐไอร์แลนด์
Shirt badge/Association crest
ฉายาเด็กผู้ชายในชุดเขียว (The Boys in Green; Na buachaillí i nglas)
ยักษ์เขียว (ฉายาในภาษาไทย)[1]
สมาคมสมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ (FAI)
สมาพันธ์ยูฟ่า (ยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนสตีเฟน เคนนี[2]
กัปตันเชมัส โคลแมน
ติดทีมชาติสูงสุดร็อบบี คีน (146)
ทำประตูสูงสุดร็อบบี คีน (68)
สนามเหย้าอวีวาสเตเดียม
รหัสฟีฟ่าIRL
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 60 Steady (20 มิถุนายน 2024)[3]
อันดับสูงสุด6 (สิงหาคม ค.ศ. 1993)
อันดับต่ำสุด70 (มิถุนายน–กรกฎาคม ค.ศ. 2014)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติเสรีรัฐไอริช เสรีรัฐไอริช 1–0 บัลแกเรีย ธงชาติบัลแกเรีย
(กอลงบ์ ประเทศฝรั่งเศส; 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1924)
ชนะสูงสุด
ธงชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ 8–0 มอลตา ธงชาติมอลตา
(ดับลิน ประเทศไอร์แลนด์; 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1983)
แพ้สูงสุด
ธงชาติบราซิล บราซิล 7–0 สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ธงชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์
(อูเบร์ลังเดีย ประเทศบราซิล; 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1982)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม3 (ครั้งแรกใน 1990)
ผลงานดีที่สุดรอบก่อนรองชนะเลิศ (1990)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
เข้าร่วม3 (ครั้งแรกใน 1988)
ผลงานดีที่สุด8 ทีมสุดท้าย (1988)

ทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ แยกตัวออกมาจากทีมชาติไอร์แลนด์ดั้งเดิม โดยหลังจากเกาะไอร์แลนด์​แบ่งแยกออกเป็นไอร์แลนด์เหนือ และ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ฟุตบอลทีมชาติไอร์แลนด์ที่มีมาแต่เดิม ได้เปลี่ยนชื่อเป็นทีมชาติไอร์แลนด์เหนือ ส่วนสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ได้ก่อตั้งทีมชาติของตนเองขึ้นมาใหม่

สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ส่งทีมฟุตบอลเข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1924 ที่ประเทศฝรั่งเศส โดยในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1924–1936 ทีมได้ลงแข่งขันภายใต้ชื่อทีมชาติ เสรีรัฐไอริช (Irish Free State) ก่อนที่สมาคมฟุตบอลแห่งไอร์แลนด์จะเปลี่ยนมาใช้ชื่อการแข่งขันในระดับชาติว่า ไอร์แลนด์ (Ireland) โดยใช้ชื่อนี้จนถึงปี ค.ศ. 1950 ต่อมาฟีฟ่าได้กำหนดชื่อสำหรับลงแข่งขันฟุตบอลระดับชาติของทั้ง 2 ชาติไอริช โดยสมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ (FAI) ให้ใช้ชื่อว่าทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ และ สมาคมฟุตบอลไอริช (IFA) ที่มีมาแต่เดิม ให้ใช้ชื่อว่า ทีมชาติไอร์แลนด์เหนือ[4]

ทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์เคยเข้ารอบฟุตบอลโลก 3 ครั้ง และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปอีก 3 ครั้ง (หรือ 4 ครั้ง หากนับในปี 1964 ด้วย หากแต่การแข่งขันครั้งนั้นคัดเลือกทีมเข้าไปแข่งขันรอบสุดท้ายเพียง 4 ทีมเท่านั้น โดยไอร์แลนด์ผ่านเข้าไปถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย แต่แพ้ต่อ สเปน เสียก่อน[1]) โดยเข้าร่วมการแข่งขันระดับโลกครั้งแรก คือ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1988 และผลงานดีที่สุดในฟุตบอลโลก คือ เข้าถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย ในฟุตบอลโลก 1990[1]

ประวัติทีม

แก้

เสรีรัฐไอริช (1924–1936)

แก้

ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1882–1924 ฟุตบอลในระดับทีมชาติของไอร์แลนด์ มีเพียงหนึ่งเดียวมิได้แยกออกจากกันดั่งเช่นปัจจุบัน บริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลไอริช (IFA) ซึ่งมีที่ทำการตั้งอยู่ที่เมืองเบลฟาสต์ และลงแข่งขันในนาม ทีมชาติไอร์แลนด์

จากความขัดแย้งภายในเกาะไอร์แลนด์ ทำให้ในปี ค.ศ. 1920 สหราชอาณาจักรได้ออกพระราชบัญญัติรัฐสภาไอร์แลนด์ขึ้น โดยในปี ค.ศ. 1921 ได้มีการแบ่งแยกพื้นที่และการปกครองบนเกาะไอร์แลนด์ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland) ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนตอนบนของเกาะ และ ไอร์แลนด์ใต้ (Southern Ireland) ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะ

ในปี ค.ศ. 1922 ไอร์แลนด์ใต้ ได้แยกตัวออกจากการปกครองของสหราชอาณาจักร กลายเป็นเสรีรัฐไอริช (Irish Free State) และมีอำนาจการปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์ ส่วนไอร์แลนด์เหนือ ยังคงขึ้นตรงกับสหราชอาณาจักรเช่นเดิม โดยหลังจากเสรีรัฐไอริชแยกออกจากสหราชอาณาจักร ได้ก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งเสรีรัฐไอริช (Football Association of the Irish Free State) หรือ FAIFS ขึ้น โดยมีสำนักงานอยู่ที่เมืองดับลิน และแยกออกเป็นเอกเทศต่างหากจาก สมาคมฟุตบอลไอริช (IFA) ที่มีมาแต่เดิม[5] และเริ่มพัฒนาลีกอาชีพและทีมชาติของตนเอง

ต่อมาในโอลิมปิกฤดูร้อน 1924 ที่ประเทศฝรั่งเศส ทีมชาติเสรีรัฐไอริช ได้ลงแข่งขันในระดับนานาชาติเป็นครั้งแรก โดยเป็นการพบกับทีมชาติบัลแกเรีย เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม สนามกีฬาโอลิมปิกอีฟว์ ดูว์ มานัวร์ เมืองกอลมเบ โดยการแข่งขันนัดดังกล่าว เสรีรัฐไอริช เอาชนะไปด้วยผล 1–0 จากประตูของ แพดดี ดันแคน ทำให้เขาถูกบันทึกว่าเป็นผู้เล่นคนแรกที่สามารถทำประตูให้กับทีมชาติได้ และทีมสามารถผ่านเข้าไปจนถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย[6][7]

14 มิถุนายน ค.ศ. 1924 ทีมชาติเสรีรัฐไอริช ได้ลงแข่งขันในบ้านเป็นครั้งแรก โดยเป็นการพบกับทีมชาติสหรัฐอเมริกา ที่สนามกีฬาเดลีเมาท์ พาร์ก และสามารถเอาชนะไปได้ 3–1 จากการทำแฮตทริกของ เอ็ด บรูคส์ โดยนับเป็นแฮตทริกแรกของทีมชาติ[8]

 
หนังสือโปรแกรมการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก นัดแรกในประวัติศาสตร์ของทีมชาติเสรีรัฐไอริช โดยเป็นการแข่งขันกับทีมชาติเบลเยี่ยม ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934 จำหน่ายในราคา 1 เพนนี

ต่อมา วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934 เสรีรัฐไอริชได้ลงแข่งขันในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกเป็นครั้งแรก โดยเสมอกับทีมชาติเบลเยี่ยม 4–4 จากการทำคนเดียว 4 ประตูของแพดดี มัวร์ ซึ่งนับเป็นผู้เล่นคนแรกที่สามารถทำได้ถึง 4 ประตูจากการลงเล่นหนึ่งนัดในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก[9]

ไอร์แลนด์ (1937–1952)

แก้

ในปี ค.ศ. 1936 สมาคมฟุตบอลแห่งเสรีรัฐไอริช (FAIFS) ได้เปลี่ยนมาเป็นสมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ (FAI) และใช้ชื่อทีมชาติว่า "ไอร์แลนด์" ทำให้มีฟุตบอลทีมชาติไอร์แลนด์อยู่ถึง 2 ทีม จาก 2 สมาคมฟุตบอล คือทีมชาติไอร์แลนด์ดั้งเดิม ที่ยังอยู่ในความปกครองของสหราชอาณาจักร บริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลไอริช (IFA) และทีมชาติไอร์แลนด์ใหม่ ที่แยกตัวออกมาจากสหราชอาณาจักร บริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ (FAI)

ผลจากกรณีดังกล่าวทำให้เกิดข้อพิพาทกันระหว่าง 2 สมาคมฟุตบอล ในการเรียกตัวผู้เล่นสัญชาติไอริชมาติดทีมชาติ โดยมีผู้เล่นหลายรายที่ต้องเล่นให้ทั้งทีมชาติไอร์แลนด์ดั้งเดิม (IFA) และเล่นให้กับทีมชาติไอร์แลนด์ที่ก่อตั้งใหม่ (FAI)

ในฟุตบอลโลก 1950 รอบคัดเลือก เป็นครั้งแรกที่ทั้ง 2 ไอร์แลนด์ต้องลงแข่งขันรายการเดียวกัน มีผู้เล่นทีมชาติถึง 4 ราย ได้แก่ ทอม อเฮิร์น จากสโมสรลูตัน ทาวน์ , เรก ไรอัน และ เดวี วอลช์ จากเวสต์บรอมมิช อัลเบียน และคอน มาร์ติน จากแอสตันวิลลา ที่ต้องลงเล่นให้กับทั้ง 2 ทีมชาติไอร์แลนด์ในรายการเดียวกัน[10] โดยผู้เล่นทั้ง 4 รายเกิดในดินแดนส่วนใต้ที่เป็นของเสรีรัฐไอร์แลนด์ และลงเล่นให้กับทีมชาติไอร์แลนด์ใหม่ (FAI) ไปแล้ว แต่ภายหลังกลับไปเลือกเล่นให้กับทีมชาติไอร์แลนด์ดั้งเดิม (IFA) เรื่องดังกล่าวทำให้ สมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ (FAI) ที่บริหารทีมชาติไอร์แลนด์ใหม่ ร้องไปยังฟีฟ่า และเรียกร้องให้ สมาคมฟุตบอลไอริช (IFA) ที่บริหารทีมชาติไอร์แลนด์ดั้งเดิม หยุดเรียกผู้เล่นที่เกิดในแดนของตนไปติดทีมชาติซ้ำซ้อน

จากการที่มีทีมชาติไอร์แลนด์อยู่ถึง 2 ทีม และลงแข่งขันในรายการต่างๆพร้อมกัน ทำให้เกิดปัญหาในหลายๆประเด็น ฟีฟ่าจึงยุติปัญหาดังกล่าวโดยมีคำสั่งให้ทีมชาติไอร์แลนด์ดั้งเดิม ที่บริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลไอริช (IFA) เปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า ทีมชาติไอร์แลนด์เหนือ ส่วนทีมชาติไอร์แลนด์ใหม่ ที่บริหารงานโดย สมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ (FAI) ให้ใช้ชื่อว่า ทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์

สาธารณรัฐไอร์แลนด์ (1953–1968)

แก้

หลังจากฟีฟ่าเปลี่ยนชื่อทีมชาติเป็นทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1953 สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก แต่ยังคงไม่ประสบความสำเร็จ โดยไม่สามารถผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายได้

ในปี ค.ศ. 1965 สมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ ได้เรียกตัวผู้เล่นที่เกิดนอกดินแดนของตัวเองมาติดทีมชาติเป็นครั้งแรก โดย เชย์ เบรนแนน กองหลังจากแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ที่เกิดในแมนเชสเตอร์ อันเป็นดินแดนของอังกฤษ ถูกเรียกตัวมาติดทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ จากการที่มีพ่อหรือแม่เป็นชาวไอริช หลังจากนั้นสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ก็มีการเรียกตัวผู้เล่นที่เกิดในดินแดนของอังกฤษ โดยมีพ่อหรือแม่เป็นชาวไอริชหลายรายเข้ามาติดทีมชาติ เช่น มาร์ค ลอว์เรนสัน, เดวิด โอเลียรี่, จอห์น อัลดริดจ์, โทนี่ คาสคาริโน่ หรือ เดวิด เคลลี่ นอกจากนี้ยังมีการเรียกตัวผู้เล่นที่เกิดในดินแดนของสก็อตแลนด์ อย่างเรย์ เฮาจ์ตัน โดยใช้หลักมีพ่อหรือแม่เป็นชาวไอริช เข้ามาติดทีมชาติเช่นเดียวกัน

ตกต่ำ (1969–1985)

แก้

ในปี ค.ศ. 1969 สมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ ได้แต่งตั้งให้ มิค มีแกน อดีตกองหลังทีมชาติให้เป็นผู้จัดการทีมอย่างถาวรเป็นคนแรก แต่ทว่าในช่วงระยะเวลา 2 ปี ที่มิค มีแกน อยู่ในตำแหน่ง ทีมกลับมีผลงานที่ย่ำแย่ลงอย่างมาก โดยในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1970 รอบคัดเลือก ทีมตกรอบด้วยการแพ้ถึง 5 นัดจากการแข่งขันทั้งหมด 6 นัด ต่อมาในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1972 รอบคัดเลือก ทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ก็ยังคงไม่สามารถสร้างผลงานที่ดีขึ้นได้ โดยทีมตกรอบคัดเลือกด้วยการมีคะแนนเป็นอันดับสุดท้ายของกลุ่ม

หลังจากที่มีผลงานย่ำแย่ ทีมได้เปลี่ยนผู้จัดการทีมเป็น เลียม ทูโอฮาย และแม้ทีมจะมีผลงานที่ดีขึ้นแต่ก็ยังไม่ผ่านรอบคัดเลือก ฟุตบอลโลก 1974 ก่อนที่เลียม ทูโอฮาย จะขอลาออกในเวลาต่อมา

ในปี ค.ศ. 1973 สมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ ได้แต่งตั้งให้ จอห์นนี่ กิลส์ อดีตผู้เล่นตำแหน่งกองกลางของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ที่ขณะนั้นยังคงลงเล่นให้กับเวสต์บรอมมิช อัลเบียน เข้ามาทำหน้าที่แทนเลียม ทูโอฮาย โดยจอห์นนี่ กิลส์ นับเป็นผู้เล่นรายแรกของทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ที่ได้รับตำแหน่งผู้เล่น-ผู้จัดการทีม ซึ่งเขาได้ให้โอกาสกองกลางดาวรุ่งอย่าง เลียม เบรดี้ ได้ขึ้นมาติดทีมชาติชุดใหญ่ ก่อนที่เบรดี้จะกลายมาเป็นผู้เล่นระดับตำนานของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ในเวลาต่อมา[11] ส่วนในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1978 รอบคัดเลือก สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ต้องพลาดโอกาสในการไปเล่นรอบสุดท้ายที่ประเทศอาร์เจนตินา ด้วยการมีคะแนนห่างทีมชาติฝรั่งเศสที่เป็นที่ 1 ของกลุ่มเพียงแค่ 2 คะแนน

ต่อมาในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1980 รอบคัดเลือก สาธารณรัฐไอร์แลนด์ยังคงต้องพบกับความผิดหวังเมื่อไม่สามารถผ่านเข้าไปแข่งในรอบสุดท้าย โดยตกรอบคัดเลือกด้วยการมีคะแนนตามหลังทีมชาติอังกฤษที่เป็นที่หนึ่งของสาย และตามหลังทีมชาติคู่แข่งสำคัญอย่างทีมชาติไอร์แลนด์เหนือ ก่อนที่จอห์นนี่ กิลส์จะลาออกจากตำแหน่งในเวลาต่อมา

ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1982 รอบคัดเลือก สมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ ได้แต่งตั้งให้ โอเวน แฮนด์ เข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีมคนใหม่ โดยสาธารณรัฐไอร์แลนด์มีผลงานดีและใกล้เคียงกับการได้เป็นเล่นรอบสุดท้าย แต่ต้องตกรอบเพราะผลต่างประตูได้เสียที่เป็นรองทีมชาติฝรั่งเศส ตามมาด้วยการตกรอบคัดเลือก ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1984 และมีผลงานไม่น่าประทับใจในฟุตบอลโลก 1986 รอบคัดเลือก โดยทีมตกรอบคัดเลือกด้วยการทำคะแนนได้อันดับรองสุดท้ายของกลุ่ม ชนะเพียงแค่ 2 นัดจากการแข่งขันทั้งหมด 8 นัด

ยุคของแจ็ก ชาร์ลตัน (1986–1995)

แก้

ปี ค.ศ. 1986 สมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ ได้แต่งตั้ง แจ็ก ชาร์ลตัน ผู้จัดการทีมชาวอังกฤษชื่อดังในขณะนั้น ให้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมชาติคนใหม่ โดยในสมัยที่แจ็ก ชาร์ลตัน ยังเป็นผู้เล่น เขาเคยเป็นกองหลังทีมชาติอังกฤษผู้เคยคว้าแชมป์ในฟุตบอลโลก 1966 ร่วมกับน้องชายของเขาอย่างบ็อบบี ชาร์ลตัน ผู้เป็นตำนานของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

 
ทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ขณะแข่งขันกับทีมชาติเนเธอร์แลนด์ ที่ซิตรัส โบวล์ เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา, รอบ 16 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 1994

การเข้ามารับตำแหน่งของแจ็ก ชาร์ลตัน นำการเปลี่ยนแปลงและพัฒนามาสู่ทีม โดยเขาสามารถทำให้ทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ผ่านเข้าไปแข่งขันในรายการสำคัญอย่างฟุตบอลโลก รอบสุดท้ายถึง 2 ครั้ง และผ่านเข้าไปแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป รอบสุดท้าย 1 ครั้ง[12]

การผ่านเข้าไปแข่งขันในรายการสำคัญได้เป็นครั้งแรกของทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์คือ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1988 ที่ประเทศเยอรมนีตะวันตก โดยการแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่มนัดแรกที่เมืองชตุทท์การ์ท สาธารณรัฐไอร์แลนด์สามารถเอาชนะทีมชาติอังกฤษไปได้ 1–0 จากลูกโหม่งของเรย์ เฮาจ์ตัน ตามมาด้วยการเสมอกับทีมชาติสหภาพโซเวียต 1–1 จากการทำประตูของรอนนี วีแลน ที่เมืองฮันโนเฟอร์ โดยการแข่งขันนัดสุดท้ายของรอบแบ่งกลุ่มกับทีมชาติเนเธอร์แลนด์ ที่เมืองเกลเซนเคียร์เชิน ทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ต้องการเพียงแค่ผลเสมอก็จะได้ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ แต่กลับโดนวิม เคียฟต์ กองหน้าของเนเธอร์แลนด์ ยิงประตูชัยในช่วง 7 นาทีสุดท้าย และแพ้ไปด้วยผล 1–0 ตกรอบไปอย่างน่าเสียดาย[13]

ต่อมาในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1990 รอบคัดเลือก โซนยุโรป สาธารณรัฐไอร์แลนด์สร้างผลงานเอาชนะได้ถึง 5 นัดจากการแข่งขันรอบคัดเลือก 8 นัด โดยเป็นการเอาชนะทีมชาติสเปน, ทีมชาติไอร์แลนด์เหนือ, ทีมชาติฮังการี และเอาชนะทีมชาติมอลตาได้ถึง 2 นัด ทำให้สาธารณรัฐไอร์แลนด์ผ่านเข้าไปแข่งขันฟุตบอลโลกได้เป็นครั้งแรก ในฟุตบอลโลก 1990 ที่ประเทศอิตาลี

วันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1990 สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ลงแข่งขันฟุตบอลโลก รอบสุดท้ายเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยเป็นการพบกับทีมชาติอังกฤษ ที่สนามสตาดีโอ ซานเตเลีย เมืองคัลยารี การแข่งขันนัดดังกล่าวอังกฤษ เป็นฝ่ายขึ้นนำก่อนจากประตูของแกรี่ ลินิเกอร์ ก่อนที่สาธารณรัฐไอร์แลนด์ จะตีเสมอได้จากเควิน ชีดี้ กองกลางของสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน ทำให้เขาถูกบันทึกว่าเป็นผู้เล่นคนแรกของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ที่สามารถทำประตูได้ในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ก่อนที่จะจบลงด้วยการเสมอกัน 1–1 ต่อมาการแข่งขันในอีก 2 นัดที่เหลือในรอบแบ่งกลุ่ม แม้สาธารณรัฐไอร์แลนด์จะทำได้เพียงแค่เสมอกับทีมชาติอิยิปต์ และทีมชาติเนเธอร์แลนด์ แต่ก็เพียงพอจะผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายไปพบกับทีมชาติโรมาเนีย

การแข่งขันรอบ 16 ทีมสุดท้ายกับทีมชาติโรมาเนีย ที่สนามสตาดีโอ ลุยจิ เฟอร์ราริส เมืองเจนัว จบลงด้วยการเสมอกัน 0–0 ทำให้ต้องชี้ขาดด้วยการดวลจุดโทษ ซึ่งแพท บอนเนอร์ ผู้รักษาประตูของทีมจากสโมสรกลาสโกว์ เซลติก สามารถเซฟลูกจุดโทษของทีมชาติโรมาเนียเอาไว้ได้ ก่อนที่เดวิด โอเลียรี่ จะทำหน้าที่ยิงจุดโทษเข้าเป็นคนสุดท้ายพาสาธารณรัฐไอร์แลนด์เข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายไปพบกับทีมชาติอิตาลี ซึ่งเป็นเจ้าภาพ

แม้ในการแข่งขันรอบ 8 ทีมสุดท้าย ที่สนามสตาดีโอ โอลิมปีโก กรุงโรม สาธารณรัฐไอร์แลนด์จะแพ้ทีมชาติอิตาลีไป 1–0 จากการยิงของซัลวาตอเร่ สกิลลาชี่ ทำให้ตกรอบไปในที่สุด แต่ผลงานของทีมก็ได้รับการสนใจและติดตามจากสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ที่ได้เดินทางมาชมการลงแข่งขันฟุตบอลโลกของทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์[14]

ภายหลังจากที่พลาดโอกาสในการไปแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1992 สาธารณรัฐไอร์แลนด์ก็สามารถผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลกได้อีกครั้ง ในฟุตบอลโลก 1994 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในการแข่งขันรอบแบ่งกลุ่มนัดแรก ที่สนามไจแอนท์ส สเตเดียม เมืองอีสต์ รูเธอร์ฟอร์ด รัฐนิวเจอร์ซีย์ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ต้องพบกับทีมชาติอิตาลี ซึ่งเป็นทีมที่เคยเอาชนะพวกเขาได้ในรอบ 8 ทีมสุดท้ายของฟุตบอลโลกครั้งก่อน ซึ่งการพบกันครั้งนี้สาธารณรัฐไอร์แลนด์สามารถเอาชนะไปได้ 1–0 จากประตูของเรย์ เฮาจ์ตัน ตามมาด้วยการแพ้ต่อทีมชาติเม็กซิโก 2–1 และปิดท้ายรอบแบ่งกลุ่มด้วยการเสมอกับทีมชาตินอร์เวย์ 0–0 ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายไปพบกับทีมชาติเนเธอร์แลนด์ ซึ่งการแข่งขันในรอบ 16 ทีมสุดท้าย จัดขึ้นที่สนามกีฬาซิตรัส โบวล์ เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา ซึ่งสาธารณรัฐไอร์แลนด์เป็นฝ่ายแพ้ไป 2–0 จากการยิงของแด็นนิส แบร์คกัมป์ และวิม ยองค์

ต่อมาในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996 รอบคัดเลือก สาธารณรัฐไอร์แลนด์ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม 6 ร่วมกับทีมชาติโปรตุเกส, ไอร์แลนด์เหนือ, ออสเตรีย, ลัตเวีย และลิกเตนสไตน์ โดยโปรตุเกสสามารถทำคะแนนได้เป็นอันดับ 1 ของกลุ่มและผ่านเข้าไปแข่งในรอบสุดท้ายโดยอัตโนมัติ ส่วนสาธารณรัฐไอร์แลนด์ได้ที่ 2 ของกลุ่ม และต้องไปแข่งในรอบเพลย์ออฟกับทีมชาติเนเธอร์แลนด์

โดยการแข่งขันในรอบเพลย์ออฟที่สนามแอนฟีลด์ จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ 2–0 จากการเหมาทำคนเดียว 2 ประตูของแพทริก ไกลเฟิร์ต ทำให้สาธารณรัฐไอร์แลนด์ตกรอบคัดเลือก และเป็นการคุมทีมนัดสุดท้ายของแจ็กกี ชาร์ลตัน

ทีมงาน

แก้
ตำแหน่ง ชื่อ ตั้งแต่
ผู้จัดการทีม   มิก มักคาร์ที 25 พฤศจิกายน 2018
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม   ร็อบบี คีน 25 พฤศจิกายน 2018
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม   เทอร์รี คอนเนอร์
โค้ชผู้รักษาประตู   อลัน เคลลี จูเนียร์
ประเมินผลระดับสูง   รุด ดอคเตอร์ 5 เมษายน 2013

ผู้เล่น

แก้

ชุดปัจจุบัน

แก้

รายชื่อผู้เล่นที่ลงแข่งขันใน ฟุตบอลโลก 2018 รอบเพลย์ออฟ กับทีมชาติเดนมาร์ก วันที่ 11 และ 14 พฤศจิกายน 2017

ข้อมูลการลงเล่นและการทำประตูนับถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2017

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1 1GK คีวีน เคลลิเฮอร์ (1998-11-28) 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 (25 ปี) 4 0   ลิเวอร์พูล
16 1GK เจมส์ ทัลบ็อต (1997-04-24) 24 เมษายน ค.ศ. 1997 (27 ปี) 0 0   โบฮีเมียนส์
23 1GK แม็กซ์ โอเลียรี (1996-10-10) 10 ตุลาคม ค.ศ. 1996 (27 ปี) 0 0   บริสตอล ซิตี

2 2DF เชมัส โคลแมน (กัปตัน) (1988-10-11) 11 ตุลาคม ค.ศ. 1988 (35 ปี) 64 1   เอฟเวอร์ตัน
3 2DF ไรอัน แมนนิง (1996-06-14) 14 มิถุนายน ค.ศ. 1996 (28 ปี) 6 0   สวอนซี ซิตี
4 2DF เชน ดัฟฟี (1992-01-01) 1 มกราคม ค.ศ. 1992 (32 ปี) 52 7   ไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน
5 2DF จอห์น อีแกน (1992-10-20) 20 ตุลาคม ค.ศ. 1992 (31 ปี) 23 1   เชฟฟีลด์ ยูไนเต็ด
10 2DF แมตต์ โดเฮอร์ตี (1992-01-16) 16 มกราคม ค.ศ. 1992 (32 ปี) 29 1   ทอตนัมฮอตสเปอร์
12 2DF นาธาน คอลลินส์ (2001-04-30) 30 เมษายน ค.ศ. 2001 (23 ปี) 2 0   เบิร์นลีย์
18 2DF ดารา โอเช (1999-03-04) 4 มีนาคม ค.ศ. 1999 (25 ปี) 11 0   เวสต์บรอมมิช อัลเบียน

6 3MF โจช คูลเลน (1996-04-07) 7 เมษายน ค.ศ. 1996 (28 ปี) 16 0   อันเดอร์เลคต์
8 3MF คอเนอร์ ฮูริแฮน (1991-02-02) 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 (33 ปี) 33 1   เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด
11 3MF เจมส์ มักเคลน (1989-04-22) 22 เมษายน ค.ศ. 1989 (35 ปี) 90 11   วีแกน แอทเลติก
13 3MF เจฟฟ์ เฮนดริก (1992-01-31) 31 มกราคม ค.ศ. 1992 (32 ปี) 70 2   ควีนส์ปาร์ก เรนเจอส์
14 3MF อลัน บราวน์ (1995-04-15) 15 เมษายน ค.ศ. 1995 (29 ปี) 19 3   เพรสตัน นอร์ท เอนด์
17 3MF เจสัน ไนท์ (2001-02-13) 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 (23 ปี) 11 1   ดาร์บี เคาน์ตี

7 4FW แคลลัม โรบินสัน (1995-02-02) 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 (29 ปี) 26 7   เวสต์บรอมมิช อัลเบียน
9 4FW วิล คีน (1993-01-17) 17 มกราคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 3 0   วีแกน แอทเลติก
19 4FW สกอตต์ โฮแกน (1992-04-13) 13 เมษายน ค.ศ. 1992 (32 ปี) 0 0   แอสตันวิลลา

ประวัติการแข่งขัน

แก้
ฟุตบอลโลก สถิติผลงานฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก
ปี รอบ อันดับ ลงเล่น ชนะ เสมอ * แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย อันดับ
  1930 ไม่ได้เข้าร่วม
  1934 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 2 0 1 1 6 9 3/3
  1938 2 0 1 1 5 6 2/2
  1950 4 1 1 2 6 7 2/3
  1954 4 2 0 2 8 6 2/3
  1958 4 2 1 1 6 7 2/3
  1962 4 0 0 4 3 17 3/3
  1966 3 1 0 2 2 5 แพ้ เพลย์ออฟ
  1970 6 0 1 5 3 14 4/4
  1974 4 1 1 2 4 5 2/3
  1978 4 1 1 2 2 4 3/3
  1982 8 4 2 2 17 11 3/5
  1986 8 2 2 4 5 10 4/5
  1990 รอบก่อนรองชนะเลิศ 7th 5 0 4 1 2 3 8 5 2 1 10 2 2/5
  1994 รอบ 16 ทีมสุดท้าย 15th 4 1 1 2 2 4 12 7 4 1 19 6 2/7
  1998 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 12 5 4 3 24 11 2/6 แพ้ เพลย์ออฟ
    2002 รอบ 16 ทีมสุดท้าย 12th 4 1 3 0 6 3 12 8 3 1 25 6 2/6 ชนะ เพลย์ออฟ
  2006 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 10 4 5 1 12 5 4/6
  2010 12 4 7 1 13 10 2/6 แพ้ เพลย์ออฟ
  2014 10 4 2 4 16 17 4/6
  2018 12 5 5 2 13 11 2/6 แพ้เพลย์ออฟ
  2022
รวม รอบก่อนรองชนะเลิศ 3/22 13 2 8 3 10 10 141 56 43 42 199 169

สถิติ

แก้
  แถบสีเขียวคือผู้เล่นที่ยังเล่นให้กับทีมชาติ

ผู้เล่นที่ลงแข่งมากที่สุด

แก้
ข้อมูล ณ วันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2021[15]
 
ร็อบบี คีน ได้รับการบันทึกว่าเป็นผู้เล่นที่ลงสนามและยิงประตูให้ทีมชาติได้มากที่สุด
# ผู้เล่น ช่วงเวลา ลงเล่น ประตู
1. คีน, ร็อบบีร็อบบี คีน 1998–2016 146 68
2. กิฟเวน, เชย์เชย์ กิฟเวน 1996–2016 134 0
3. โอเช, จอห์นจอห์น โอเช 2001–2018 118 3
4. คิลบาน, เควินเควิน คิลบาน 1997–2011 110 8
5. สตอนตัน, สตีฟสตีฟ สตอนตัน 1988–2002 102 7
6. ดัฟฟ์, เดเมียนเดเมียน ดัฟฟ์ 1998–2012 100 8
7. มักกีดี, เอเดนเอเดน มักกีดี 2004– 93 5
8. ควินน์, ไนอัลล์ไนอัลล์ ควินน์ 1986–2002 91 21
วีลัน, เกลนน์เกลนน์ วีลัน 2008–2019 91 2
10. คัสคาริโน, โทนีโทนี คัสคาริโน 1985–2000 88 19
ลอง, เชนเชน ลอง 2007– 88 17

ผู้เล่นที่ทำประตูสูงสุด

แก้
ข้อมูล ณ วันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2021[15]
# ชื่อ ช่วงเวลา ประตู ลงเล่น ประตูต่อเกม
1. คีน, ร็อบบีร็อบบี คีน 1998–2016 68 146 0.47
2. ควินน์, ไนออลล์ไนออลล์ ควินน์ 1986–2002 21 91 0.23
3. สเตเปิลตัน, แฟรงก์แฟรงก์ สเตเปิลตัน 1977–1990 20 71 0.28
4. กิฟเวนส์, ดอนดอน กิฟเวนส์ 1969–1981 19 56 0.34
อัลดริดจ์, จอห์นจอห์น อัลดริดจ์ 1986–1997 19 69 0.28
คัสคาริโน, โทนีโทนี คัสคาริโน 1985–2000 19 88 0.22
7. ลอง, เชนเชน ลอง 2007– 17 82 0.21
8. แคนท์เวลล์, โนเอลโนเอล แคนท์เวลล์ 1953–1967 14 36 0.39
ดอยล์, เควินเควิน ดอยล์ 2006–2017 14 64 0.22
จอนาทัน วอลเทอส์ 2010–2018 14 51 0.27
11. ดันน์, จิมมีจิมมี ดันน์ 1930–1939 13 15 0.87
ดาลี, เจอร์รีเจอร์รี ดาลี 1973–1986 13 48 0.27

นักฟุตบอลทีมชาติยอดเยี่ยมแห่งปี

แก้
  • ผู้เล่นที่ได้รางวัลนักฟุตบอลทีมชาติยอดเยี่ยมแห่งปีของสมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989
ปี ผู้เล่น สโมสร
2019 เดวิด แม็คโกลดริค เชฟฟีลด์ ยูไนเต็ด
2018[16] เชน ดัฟฟี ไบรตัน แอนด์ โฮฟ อัลเบียน
2017[17] เชน ดัฟฟี ไบรตัน แอนด์ โฮฟ อัลเบียน
2016[18] ร็อบบี เบรดี นอริช ซิตี/เบิร์นลีย์
2015[19] จอนาทัน วอลเทอส์ สโต๊ก ซิตี
2014[20] จอห์น โอเช ซันเดอร์แลนด์
2013[21] ร็อบบี คีน ลอสแอนเจลิส แกแลกซี
2012[22] คีธ แอนดรูว์ โบลตัน วันเดอเรอส์
2011[23] ริชาร์ด ดันน์ แอสตัน วิลลา
2010[24] เควิน ดอยล์ วุลเวอร์แฮมป์ตัน วอนเดอเรอส์
2009[25] Robbie Keane Liverpool/Tottenham Hotspur
2008[26] Kevin Doyle Reading
2007[27] Richard Dunne Manchester City
2006[28] Shay Given Newcastle United
2005[29] Shay Given Newcastle United
2004[30] Kevin Kilbane Everton
2003[31] No award ceremony.
2002[32] Damien Duff Blackburn Rovers
2001[33] Roy Keane Manchester United
2000[34] Mark Kinsella Charlton Athletic
1999[35] Alan Kelly Sheffield United/Blackburn Rovers
1998[36] Kenny Cunningham Wimbledon
1997[37] Roy Keane Manchester United
1996[38] Alan McLoughlin Portsmouth
1995[36] Andy Townsend Aston Villa
1994[36] Ray Houghton Aston Villa
1993[36] Steve Staunton Aston Villa
1992[36] John Aldridge Tranmere Rovers
1991[39] Paul McGrath Aston Villa
1990[39] Paul McGrath Aston Villa
1989[40] Kevin Moran Sporting Gijón

เกียรติประวัติ

แก้

รายการหลัก

แก้
รอบก่อนรองชนะเลิศ (1): 1990

กระชับมิตร

แก้
  • เซลติกเนชันส์คัพ
ชนะเลิศ (1): 2011
  • ไอซ์แลนด์ไตรแองกูลาร์ทัวร์นาเมนต์
ชนะเลิศ (1): 1986

รางวัลอื่น ๆ

แก้
  • ฟีฟ่าแฟร์เพลย์
ชนะเลิศ (1): 1997
  • ฟุตบอลเวิลด์แชมเปียนชิป (ไม่เป็นทางการ)
ครองแชมป์ (2): 30 มีนาคม 1977 – 1 กรกฎาคม 1977, 31 มีนาคม 2004 – 29 พฤษภาคม 2004

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 หน้า 20 กีฬา, 'ยักษ์เขียว'วิ่งสู้ฟัดสู่รอบน็อกเอาต์... โดย ทีมข่าวกีฬา. "ตะลุยยูโร". เดลินิวส์ฉบับที่ 24,337: วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 แรม 11 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก
  2. "Republic of Ireland & Under-21 Managers Announced | Football Association of Ireland". www.fai.ie.
  3. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
  4. "NIFG: Northern Ireland Programmes 1968–1972". Northern Ireland's Footballing Greats. Jonny Dewart. 27 March 2010. สืบค้นเมื่อ 26 June 2016.
  5. Byrne, Peter (1996). Football Association of Ireland: 75 years. Dublin: Sportsworld. p. 22. ISBN 1-900110-06-7.
  6. "1924 Olympic Games at Rsssf". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation.
  7. "History of Irish Football" เก็บถาวร 4 เมษายน 2005 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. clubi.ie.
  8. "United States results at Rsssf" เก็บถาวร 2010-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation.
  9. "Republic of Ireland Soccer Team Match Results : Result of Irish Football Matches 1940 to 1959". Soccer-Ireland.com. สืบค้นเมื่อ 26 June 2016.
  10. Ryan, op. cit. pg 59.
  11. "Republic of Ireland Soccer Results: Result of all Irish Football Matches 1970 to 1979". Soccer-Ireland.com. สืบค้นเมื่อ 26 June 2016.
  12. SOCCER; "Ireland Brings Cup Team With an English Accent to America", The New York Times, 29 May 1994.
  13. "Ireland at Euro 1988 Finals". Soccer-Ireland.com. สืบค้นเมื่อ 1 February 2016.
  14. "Italia '90 Revisited". entertainment.ie. 16 October 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2012. สืบค้นเมื่อ 16 October 2008.
  15. 15.0 15.1 Ireland – Record International Players Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. Retrieved September 5, 2015.
  16. Malone, Emmet (17 March 2019). "Shane Duffy named Republic of Ireland Player of the Year". The Irish Times. Irish Times Trust. สืบค้นเมื่อ 17 March 2019.
  17. Malone, Emmet (18 March 2018). "Shane Duffy picks up top FAI award; McClean recognised for Wales goal". The Irish Times. Irish Times Trust. สืบค้นเมื่อ 18 March 2018.
  18. "Recap: Robbie Brady scoops hat-trick of FAI awards". RTÉ.ie. RTÉ. 19 March 2017. สืบค้นเมื่อ 19 March 2017.
  19. Barry, Stephen (20 March 2016). "Walters wins Player of the Year gong at FAI awards". Irish Examiner. Landmark Media Investments. สืบค้นเมื่อ 21 March 2016.
  20. "John O'Shea named Ireland player of the year". RTÉ.ie. RTÉ. 22 March 2015. สืบค้นเมื่อ 24 March 2015.
  21. "Keane and McCarthy scoop FAI Player of the Year awards". The Score. Journal Media. 2 March 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2014. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.
  22. "Stars honoured at 23rd International Awards". fai.ie. FAI. 3 February 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 4 February 2013.
  23. "2012 Three FAI International Award Winners Announced". fai.ie. FAI. 26 February 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 27 February 2012.
  24. "21st 3/FAI International Football Award winners announced". fai.ie. FAI. 7 February 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 November 2013. สืบค้นเมื่อ 7 February 2011.
  25. "FAI International Football Award winners announced". fai.ie. FAI. 8 August 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 November 2013. สืบค้นเมื่อ 7 February 2011.
  26. "Doyle named eircom Player of the Year". RTÉ.ie. RTÉ. 8 February 2009. สืบค้นเมื่อ 9 November 2013.
  27. "18th International Soccer Awards Ceremony". rissc.org. Republic of Ireland Soccer Supporters Club. 3 February 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-29. สืบค้นเมื่อ 9 November 2013.
  28. "17th eircom/FAI International Award winners announced". fai.ie. FAI. 4 February 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2012. สืบค้นเมื่อ 7 February 2011.
  29. "Robson leads tributes as Given takes top award". Irish Independent. Independent News & Media plc. 27 February 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 February 2013. สืบค้นเมื่อ 3 April 2011.
  30. McDermott, Gerry (7 February 2005). "Kilbane's great year recognised". Irish Independent. Independent News & Media plc. สืบค้นเมื่อ 3 April 2011.
  31. McDermott, Gerry (12 January 2005). "Duff absent from FAI awards list". Irish Independent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2012.
  32. "Duff wins FAI's senior Player of the Year award". RTÉ.ie. RTÉ. 28 April 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2004. สืบค้นเมื่อ 7 February 2011.
  33. Quinn, Philip (11 February 2002). "Eircom/FAI Awards". Irish Independent. Independent News & Media plc. สืบค้นเมื่อ 10 November 2013.
  34. "Kinsella's good year crowned". Irish Independent. Independent News & Media plc. 13 November 2002. สืบค้นเมื่อ 11 November 2013.
  35. "Injury rules out McPhail". Irish Independent. Independent News & Media plc. 21 February 2000. สืบค้นเมื่อ 13 November 2013.
  36. 36.0 36.1 36.2 36.3 36.4 Quinn, Philip (12 October 1998). "Cunningham Player of the Year". Irish Independent. Independent News & Media plc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2013. สืบค้นเมื่อ 13 November 2013.
  37. Byrne, Peter (27 October 1997). "Keane gets FAI player of the year". The Irish Times. Irish Times Trust. สืบค้นเมื่อ 13 November 2013.
  38. McDonnell, Daniel (3 March 2014). "History will vindicate contentious Keane gong". Irish Independent. Independent News & Media plc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2015. สืบค้นเมื่อ 2 April 2015.
  39. 39.0 39.1 O'Leary, Conor (4 December 2014). "The Black Pearl Of Inchicore – A Tribute To Paul McGrath". Balls.ie. สืบค้นเมื่อ 2 April 2015.
  40. "Inaugural FAI International Football Awards". RTÉ.ie. RTÉ. 11 November 2014. สืบค้นเมื่อ 3 April 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้