อาทิตย์ กำลังเอก

อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย
(เปลี่ยนทางจาก พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก)

พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก (31 สิงหาคม พ.ศ. 2468 – 19 มกราคม พ.ศ. 2558) เป็นนายพลชาวไทย เป็นผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ท่านเป็นผู้มีอิทธิพลอย่างยิ่งในสมัยรัฐบาลของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์

อาทิตย์ กำลังเอก
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ดำรงตำแหน่ง
26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2526 – 30 กันยายน พ.ศ. 2529
ก่อนหน้าพลเอก สายหยุด เกิดผล
ถัดไปพลเอก สุภา คชเสนี
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2525 – 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2529
ก่อนหน้าพลเอก ประยุทธ จารุมณี
ถัดไปพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
รักษาการหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา
ดำรงตำแหน่ง
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2541
ก่อนหน้าชาติชาย ชุณหะวัณ
ถัดไปกร ทัพพะรังสี
หัวหน้าพรรคปวงชนชาวไทย
ดำรงตำแหน่ง
13 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 – 21 มกราคม พ.ศ. 2535
ก่อนหน้าระวี วันเพ็ญ
ถัดไปพล เริงประเสริฐวิทย์
ประธานที่ปรึกษาพรรคสามัคคีธรรม
ดำรงตำแหน่ง
21 มกราคม พ.ศ. 2535 – 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2535
ก่อนหน้าสถาปนาตําแหน่ง
ถัดไปตําแหน่งถูกยุบ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด31 สิงหาคม พ.ศ. 2468
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
เสียชีวิต19 มกราคม พ.ศ. 2558 (89 ปี)
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ถ.ราชวิถี แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวีกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองปวงชนชาวไทย (2531–2535)
สามัคคีธรรม (2535)
ชาติพัฒนา (2535–2543)
คู่สมรสท่านผู้หญิงประภาศรี กำลังเอก
(3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2526)
นางพรสรร กำลังเอก
(พ.ศ. 2533 - 19 มกราคม พ.ศ. 2558)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2487–2529
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก[1]
บังคับบัญชากองบัญชาการทหารสูงสุด, กองทัพบกไทย
ผ่านศึกสงครามมหาเอเชียบูรพา
สงครามเกาหลี
สงครามเวียดนาม

ประวัติ แก้

สื่อมวลชนเรียกเล่น ๆ ว่า "บิ๊กซัน" เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของร.ต. พิณ และสาคร กำลังเอก ชีวิตครอบครัวสมรสกับ ท่านผู้หญิงประภาศรี กำลังเอก (3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2526) [2]บุตรธิดา 3 คน คือ

  • พล.อ. ฐิติวัจน์ กำลังเอก ราชองครักษ์พิเศษ[3]กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง[4] ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ บริษัท เอ็ม.ซี.เอส.สตีล จำกัด (มหาชน) และสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
  • พ.ต.อ. ทินภัทร กำลังเอก (เสียชีวิต)
  • พล.ท. คุณหญิงเวณิกา ทวีชัยการ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

และสมรสครั้งที่ 2 กับนางพรสรร กำลังเอก (พ.ศ. 2533 - 31 มกราคม พ.ศ. 2558) ธิดาของ ดร.ถาวร พรประภา กับ ดร.อุษา พรประภา[5] มีบุตรบุญธรรม 1 คน คือ ร.อ. ประพุทธ กำลังเอก (พระประพุทธ พุทฺธิพโล)

การศึกษา แก้

สำเร็จชั้นประถมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนพรหมวิทยามูล เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร (โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ในปัจจุบัน) เลขประจำตัว 3827 สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยม 6 ในปี พ.ศ. 2484 และโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร เข้าศึกษาโรงเรียนเตรียมทหารบก รุ่นที่ 5 (ตทบ. 5) ระหว่าง พ.ศ. 2487 - 2491 รุ่นเดียวกับ [6]

  1. พล.อ. เทียนชัย สิริสัมพันธ์
  2. พล.อ. บรรจบ บุนนาค
  3. พล.อ.อ. ประพันธ์ ธูปะเตมีย์

ตำแหน่งทางทหารและการเมือง แก้

พล.อ. อาทิตย์ เคยได้รับฉายาว่า "วีรบุรุษสะพานมัฆวาน" จากกรณีที่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประชาชนเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 โดยที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้นได้สั่งห้ามทหารทำร้ายประชาชนโดยเด็ดขาดและเปิดทางให้ขบวนประท้วงเดินข้ามสะพานมัฆวานรังสรรค์ไปจนถึงทำเนียบรัฐบาลได้โดยดีโดย พล.อ. อาทิตย์ เป็นหนึ่งในกลุ่มทหารเหล่านั้น ขณะนั้นยังมียศเพียงร้อยเอก[7] [8]

ในเหตุการณ์กบฏเมษาฮาวาย พ.ศ. 2524 พล.อ. อาทิตย์ ขณะที่ยศ "พลตรี" มีตำแหน่งเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 2 ถือเป็นกำลังสำคัญในการปราบกบฏทำให้ได้เลื่อนยศและตำแหน่งสู่แม่ทัพภาคที่ 1 และผู้บัญชาการทหารบกในเวลาต่อมา[8]

พล.อ. อาทิตย์ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2525 ต่อจาก พล.อ. ประยุทธ จารุมณี ที่เกษียณอายุราชการจากนั้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2526 ต่อจากพล.อ. สายหยุด เกิดผล โดยดำรงตำแหน่งทั้งสองควบคู่กัน

ขณะนั้นพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง โดย สมหมาย ฮุนตระกูล ลดค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 ถึง 14.8% จาก 23 บาท เป็น 27 บาท ต่อ ดอลลาร์สหรัฐ พล.อ. อาทิตย์ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างรุนแรง[9] ทำให้เกิดความบาดหมางจน พล.อ. อาทิตย์ ไม่ได้รับการต่ออายุราชการและถูกปลดจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกอย่างกะทันหันเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 ทำให้เหลือตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียวและแต่งตั้งพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ดำรงตำแหน่งแทน [10]

หลังเกษียณอายุราชการในตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ. อาทิตย์ เข้าสู่การเมือง โดยก่อตั้ง พรรคปวงชนชาวไทย สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2[11][12] ในขณะนั้นเกิดความตึงเครียดระหว่างรัฐบาล กับคณะนายทหารทั้งสามเหล่าทัพ ซึ่งนำโดยกลุ่มทหาร จปร. 5 พลเอกชาติชายจึงแต่งตั้ง พล.อ. อาทิตย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[13] เพื่อคานอำนาจโดยมีข่าวลือว่าพลเอกอาทิตย์จะปลดนายทหาร จปร. 5 ออกจากตำแหน่งทั้งหมดกลุ่มนายทหารจึงชิง รัฐประหาร เสียก่อน แต่ยังไม่ทันได้ปฏิบัติหน้าที่ก็ถูกจี้จับตัวโดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นำโดยพล.อ. สุจินดา คราประยูร ขณะกำลังเดินทางไปเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณตนที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534[10]

หลัง พฤษภาทมิฬ พรรคปวงชนชาวไทยของพลเอกอาทิตย์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น พรรคชาติพัฒนา โดยมีพล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าพรรคในปี พ.ศ. 2543 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาประจำจังหวัดเลย[14]

วาระสุดท้ายของชีวิต แก้

พล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก ป่วยและรักษาตัวมาระยะหนึ่ง จนเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 จึงเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้ามาเป็นระยะ ๆ แล้วมีอาการติดเชื้อที่ปอด จนเมื่อเวลา 06.20 น. วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558 ได้ถึงแก่อนิจกรรมด้วยวัย 89 ปี 141 วัน

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลารับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พร้อมทั้งพระราชทานโกศแปดเหลี่ยม ฉัตรเบญจา ตั้งประกอบเป็นเกียรติยศ ณ ศาลาร้อยปีปิยมหาราชอนุสรณ์ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร พร้อมนี้พระราชทานพวงมาลาหลวง และพวงมาลาของพระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งหน้าโกศศพ พร้อมทั้งรับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์มีกำหนด 7 คืน

และเมื่อถึงวาระพระราชทานเพลิงศพ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ พล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559 เวลา 17.00 น.

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้

เครื่องอิสริยาภรณ์สากล แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ได้รับพระราชทานยศนายพล
  2. แด่เธอผู้เป็นที่รัก พลเอกอาทิตย์ นิตยสารผู้จัดการ, กันยายน 2527
  3. ได้รับพระราชทานยศ ราชองครักษ์พิเศษ
  4. กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง
  5. "ตะวันลับฟ้า'พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-10. สืบค้นเมื่อ 2016-03-26.
  6. เสถียร จันทิมาธร. เส้นทางสู่อำนาจ มนูญ รูปขจร, อาทิตย์ กำลังเอก ใต้เงา เปรม ติณสูลานนท์. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. 306 หน้า. ISBN 974-323-825-5
  7. "ย้อนรำลึก พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก". ช่อง 9. 19 January 2015. สืบค้นเมื่อ 20 January 2015.
  8. 8.0 8.1 "ข่าวฟ้าวันใหม่ ถนอม-สำราญ 20 01 58 เบรก 1". ฟ้าวันใหม่. 20 January 2015. สืบค้นเมื่อ 20 January 2015.
  9. วีรชาติ ชุ่มสนิท. 24 นายกรัฐมนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ออลบุ๊คส์, 2549. หน้า 225. ISBN 974-94-5539-8
  10. 10.0 10.1 กองบรรณาธิการมติชน. 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน พ.ศ. 2521-2549. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2549. 424 หน้า. ISBN 974-323-889-1
  11. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
  12. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  13. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก รองนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อีกตำแหน่ง)
  14. "ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาประจำจังหวัดเลย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-07-07.
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๒๖
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๒๖๕๙, ๕ เมษายน ๒๕๓๓
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๘, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๘ ข หน้า ๒๔, ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๐
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๘๙๖, ๑ กรกฎาคม ๒๔๙๕
  22. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๑๑๙๕, ๖ เมษายน ๒๕๒๕
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๘, ๑๓ มกราคม ๒๕๒๖
  25. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๕, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
  26. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๒๔
  27. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม 51 ตอนที่ 69 หน้า 2579, 19 สิงหาคม 2495
  28. HEADQUARTERS DEPARTMENT OF THE ARMY WASHINGTON, DC, 27 January 1984
  29. SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1984
  30. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 102 ตอนที่ 60 ฉบับพิเศษ หน้า 12, 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2528
  31. https://www.parlament.gv.at/dokument/XXIV/AB/10542/imfname_251156.pdf
  32. 32.0 32.1 32.2 32.3 32.4 32.5 นายพลของแผ่นดิน พล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก

แหล่งข้อมูลอื่น แก้