ประวัติศาสตร์โลก

เรื่องราวกล่าวถึงอดีตของมนุษยชาติ
(เปลี่ยนทางจาก ประวัติศาสตร์ของโลก)

ประวัติศาสตร์โลก หรือ ประวัติศาสตร์มนุษยชาติเริ่มต้นที่ยุคหินเก่า ประวัติศาสตร์โลกไม่รวมประวัติศาสตร์ธรรมชาติที่ไม่ใช่มนุษย์และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยา ยกเว้นตราบเท่าที่โลกธรรมชาตินั้นกระทบต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมากประวัติศาสตร์โลกประกอบด้วยการศึกษาทางโบราณคดีและหลักฐานลายลักษณ์อักษรตั้งแต่สมัยโบราณ ประวัติศาสตร์โบราณที่มีบันทึกเริ่มต้นจากการประดิษฐ์การเขียน ทว่า รากเหง้าแห่งอารยธรรมมีมาแต่ก่อนการประดิษฐ์การเขียน สมัยก่อนประวัติศาสตร์เริ่มต้นในยุคหินเก่า ต่อด้วยยุคหินใหม่และการปฏิวัติเกษตรกรรม (ระหว่าง 9000 ถึง 5000 ปีก่อนคริสตกาล) ในพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ (Fertile Crescent) การปฏิวัติเกษตรกรรมเป็นเครื่องหมายการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยมนุษย์เริ่มต้นทำการเกษตร คือ กสิกรรมและการเลี้ยงสัตว์อย่างเป็นระบบ[1][2][3] เมื่อเกษตรกรรมก้าวหน้าขึ้น มนุษย์ส่วนมากเปลี่ยนจากวิถีชีวิตเร่ร่อนมาเป็นตั้งถิ่นฐานเป็นเกษตรกรในนิคมถาวร การเร่ร่อนยังมีอยู่ในบางที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลซึ่งมีพืชที่เพาะปลูกได้ไม่กี่ชนิด[4] แต่ความมั่นคงสัมพัทธ์และผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นจากกสิกรรมทำให้ชุมชนมนุษย์ขยายเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่า ซึ่งความก้าวหน้าในการขนส่งก็มีส่วนช่วย

ประชากรโลกใน 10,000 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 2,000 (ระดับประชากรในแนวตั้งตามมาตราส่วนลอการิทึม)

เมื่อกสิกรรมพัฒนา การเพาะปลูกธัญพืชมีความซับซ้อนขึ้นและทำให้มีการแบ่งงานกันทำเพื่อเก็บอาหารระหว่างฤดูเพาะปลูก จากนั้นการแบ่งงานทำให้เกิดชนชั้นสูงที่สุขสบายและพัฒนาการนคร สังคมมนุษย์ที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้ระบบการเขียนและการบัญชีมีความจำเป็น หลายนครพัฒนาบนตลิ่งทะเลสาบและแม่น้ำ ตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล เกิดนิคมโดดเด่นและมีการพัฒนา เช่นในเมโสโปเตเมีย ริมตลิ่งแม่น้ำไนล์แห่งอียิปต์ และหุบแม่น้ำสินธุ อาจมีอารยธรรมคล้ายกันพัฒนาขึ้นตามแม่น้ำสำคัญในจีน แต่หลักฐานทางโบราณคดีของการสร้างเมืองอย่างกว้างขวางในที่นั้นชัดแจ้งน้อยกว่า

ประวัติศาสตร์โลกเก่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน) โดยทั่วไปแบ่งเป็นยุคโบราณ ถึง ค.ศ. 476, สมัยกลาง ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 15 ซึ่งรวมยุคทองของอิสลาม (ประมาณ ค.ศ. 750-1258) และยุคฟื้นฟูศิลปวิทยายุโรปตอนต้น (เริ่มต้นประมาณ ค.ศ. 1300), ยุคใหม่ตอนต้น ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งรวมยุคเรืองปัญญา และยุคใหม่ตอนปลาย นับแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมถึงปัจจุบัน รวมทั้งประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ตะวันออกใกล้โบราณ กรีซโบราณและโรมโบราณมีความโดดเด่นในยุคโบราณ ในประวัติศาสตร์ยุโรปตะวันตก การเสียกรุงโรมมักยึดเป็นการสิ้นสุดของยุคโบราณและการเริ่มต้นของสมัยกลาง ขณะที่ยุโรปตะวันออกมีการเปลี่ยนผ่านจากจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งรุ่งเรืองต่อมาอีกเป็นเวลานาน กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 การประดิษฐ์การพิมพ์สมัยใหม่ของโยฮันน์ กูเทนแบร์ก[5] ซึ่งใช้การสื่อสารแบบเคลื่อนที่ได้และเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง เป็นจุดสิ้นสุดของยุคกลางและนำไปสู่การปฏิวัติวิทยาศาสตร์[6] เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 การสะสมความรู้และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป ได้ถึงจำนวนวิกฤต (critical mass) อันนำมาซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม[7] ในส่วนอื่นของโลก เช่น ตะวันออกใกล้โบราณ จีนโบราณ และอินเดียโบราณ

เส้นเวลาทางประวัติศาสตร์ได้คลี่ออกต่างกัน อย่างไรก็ดี จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากการค้าโลกที่ขยายตัวและการล่าอาณานิคม ทำให้ประวัติศาสตร์ของอารยธรรมโลกส่วนมากสานเข้าด้วยกันอย่างแน่นหนา ในช่วงสองร้อยกว่าปีล่าสุด การเติบโตของความรู้ เทคโนโลยี การพาณิชย์ และศักยภาพการทำลายล้างของสงครามได้เร่งให้เกิดขึ้น ก่อให้เกิดโอกาสและอันตรายซึ่งปัจจุบันกำลังเผชิญชุมชนมนุษย์ที่อยู่อาศัยบนดาวเคราะห์ดวงนี้[8][9]

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

แก้
 
โครงกระดูกของ "ลูซี่" หรือ ออสตราโลพิเทคัส อะฟาเรนซิส ซึ่งมีความสูงเพียง 1.06 เมตร[10]

วิวัฒนาการของมนุษย์

แก้

มนุษย์วิวัฒนาการมาจากแอฟริกาจากเอพยักษ์ (great apes) ผ่านสายวิวัฒนาการของ โฮมินิน (hominins) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 7-5 ล้านปีก่อน[11] ความสามารถในการเดินสองขา เกิดขึ้นหลังจากแยกตัวออกจากชิมแปนซี ใน ออสตราโลพิเทคัส (Australopithecus) ซึ่งเป็นโฮมินินยุคแรก เนื่องจากการปรับตัวที่อาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงจากป่าไปสู่แหล่งที่อยู่อาศัยแบบสะวันนา[12] โฮมินินเริ่มใช้ เครื่องมือหินแบบง่าย ๆ (rudimentary stone tools) เมื่อประมาณ 3.3 ล้านปีก่อน [a] ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคหินเก่า[16]

มนุษย์ยุคแรก

แก้

มนุษย์โฮโมเซเปียนส์ หรือมนุษย์ปัจจุบันเริ่มปรากฏครั้งแรกบนโลกในช่วง 400,000 ถึง 250,000 ปีทีผ่านมา ระหว่างยุคหินเก่า หลังจากวิวัฒนาการยาวนานของมนุษย์ ทักษะการประดิษฐ์เครื่องมือของมนุษย์นั้นมีมาตั้งแต่มนุษย์ยุคก่อนอย่างโฮโม อีเร็กตัสแล้ว มนุษย์ยังรู้จักใช้ไฟในการให้ความร้อน และปรุงอาหาร นอกจากนั้นแล้วมนุษย์ยุคปัจจุบันยังได้พัฒนาภาษา และยังมีพิธีกรรมหลังความตาย และเริ่มดำรงชีวิตด้วยการไล่ล่า-หาเก็บและเป็นสังคมเร่ร่อน

มนุษย์ในยุคปัจจุบันหรือโฮโมเซเปียนส์เริ่มกระจายตัวจากแอฟริกา ไปยังบริเวณยุโรปและเอเชียซึ่งยังไม่มีน้ำแข็งปกคลุมอย่างรวดเร็ว และขยายถิ่นฐานไปยังอเมริกาเหนือและโอเชียเนีย ในช่วงที่ยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุดกำลังเข้าสู่ช่วงสูงสุด เมื่ออุณหภูมิของอาณาเขตระหว่างซีกโลกร้อนกับขั้วโลก (Temperate Zone) เริ่มลดต่ำลงจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ มนุษย์จึงหยุดขยายตัวไปทางเหนือและใต้ แต่เน้นกระจายในอาณาเขตที่ไม่มีน้ำแข็งจนครอบคลุมโลกทั้งใบในช่วง 12,000 ปีที่แล้ว

กำเนิดการเกษตรกรรม

แก้

การปฏิวัติเกษตรกรรมเริ่มขึ้นครั้งแรกในราว ๆ 10,000 ปีก่อนคริสตกาล การปฏิวัติยุคหินใหม่นับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาการเกษตรกรรม ซึ่งเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์ไปอย่างสิ้นเชิง[17] เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดระบบการจัดการ และสร้างอาหารส่วนเกิน (surplus) จากการบริโภคทำให้เกิดการค้าขายได้ การเกษตรสร้างระบบเมืองในยุคแรก ทำให้เกิดการค้าขาย การผลิต และอำนาจทางการเมือง สำหรับผู้ไม่ได้ผลิตในภาคการเกษตร[18][19][20]

 
อักษรคูนิฟอร์มซึ่งเป็นระบบการเขียนแรกสุด

การพัฒนาระบบเมืองยังทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านภาษา และความรุ่งเรืองของอารยธรรมตามมา ดังจะเห็นได้จากในช่วง 40,000 ปีก่อนคริสตกาลก่อนจะมีเมืองเกิดขึ้น มีหลักฐานการสร้างที่อยู่อาศัยที่มนุษย์สร้างขึ้นในตอนเหนือของแคว้นปัญจาบ และเอเชียกลาง (Bactria) ในช่วง 7,000 ปีก่อนคริสตกาล มีหลักฐานว่ามนุษย์เริ่มปลูกข้าวบาร์เลย์ และเลี้ยงแกะกับแพะ ในบริเวณดังกล่าว ในช่วงนั้น คนเริ่มอาศัยอยู่ในหมู่บ้านซึ่งสร้างโดยอิฐและดินเหนียว ซึ่งบางส่วนยังคงเหลือให้เห็นในปัจจุบัน แหล่งอารยธรรมแรกเป็นแหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียตอนล่างของชาวสุเมเรียน ในช่วง 3500 ปีก่อนคริสตกาล[21][22] ตามมาด้วยอารยธรรมอียิปต์ บริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ ในช่วง 3300 ปีก่อนคริสตกาลและอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ในช่วงเดียวกัน [23][24] ระบบเมืองเริ่มซับซ้อนมากขึ้นจากระบบทางสังคมและเศรษฐกิจ แต่ละอารยธรรมมีความแตกต่างจากอารยธรรมอื่นเนื่องจากอารยธรรมต่าง ๆ ยังไม่สัมพันธ์กัน เริ่มมีระบบการเขียน และการค้าขาย

ความเชื่อทางศาสนาในช่วงนี้ให้ความเคารพในโลก ท้องฟ้า ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์[25] และการเปรียบปรากฏการณ์หรือสิ่งไม่มีชีวิตต่าง ๆ ให้เป็นเทพเจ้า หรือเปรียบเหมือนมนุษย์ มีการสร้างปูชนียสถานไว้เคารพสักการะ นำไปสู่การสร้างเทวสถาน และระบบนักบวช ในที่สุด

ยุคโบราณ

แก้

อู่อารยธรรม

แก้
 
ชาวอียิปต์โบราณสร้างมหาพีระมิดแห่งกีซา

ยุคสำริดเป็นหนึ่งยุคตามการแบ่งระบบสามยุค ซึ่งได้แก่ ยุคหิน ยุคสำริด และยุคเหล็ก ซึ่งอธิบายประวัติศาสตร์ยุคต้นของอรรยาธรรมในบางส่วนของโลกได้เป็นอย่างดี เราจะเริ่มเห็นระบบเมือง และการเติบโตของอารยธรรมของบริเวณพื้นที่อุดมสมบูรณ์ในยุคเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ เช่นลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟติสในเมโสโปเตเมีย ลุ่มแม่น้ำไนล์ในอียิปต์ ลุ่มแม่น้ำสินธุ ในอินเดีย และลุ่มแม่น้ำฮวงโหในจีน

เราเริ่มเห็นความรุ่งเรืองของเมโสโปเตเมียในช่วงสังคมของชาวสุเมเรียน ชาวสุเมเรียนมีระบบการเขียนโดยใช้อักษรคูนิฟอร์ม ซึ่งเป็นอักษรภาพที่มีลักษณะคล้ายลิ่มราว ๆ 3000 ปีก่อนคริสตกาล และตัวอักษรก็ค่อยถูกพัฒนาให้เรียบง่ายและเป็นนามธรรมมากขึ้น การเขียนอักษรคูนิฟอร์มนั้นต้องเขียนในแผ่นดินเหนียวด้วยต้นกก การเขียนช่วยในการบริหารเมืองที่ใหญ่ขึ้นได้ง่ายขึ้นมาก และในยุคนี้ยังได้เห็นพัฒนาการทางด้านการทหารเช่นรถม้าและทหารม้า ทำให้เคลื่อนพลได้เร็วขึ้น

การพัฒนาเหล่านี้นำไปสู่การสร้างจักรวรรดิ โดยจักรวรรดิแรกที่ควบคุมดินแดนขนาดใหญ่และประกอบไปด้วยหลายเมืองเกิดขึ้นในอียิปต์ด้วยการรวมกันของอียิปต์ตอนล่างและตอนบนในช่วง 3100 ปีก่อนคริสตกาล ในอีกพันปีต่อมาก็เกิดจักรวรรดิอาคาเดียนในเมโสโปเตเมียก็เจริญรุ่งเรืองขึ้น[26] พร้อม ๆ กับการสถาปนาราชวงศ์เซี่ยของจีนในช่วง 2200 ปีก่อนคริสตกาล

ยุคแกนหลักความคิด (Axial Age)

แก้
 
พระพุทธเจ้า (สิทธัตถะโคดม)
 
นักปราชญ์ชาวกรีก โสคราตีส

ตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาลมีการพัฒนาแนวคิดทางศาสนาและปรัชญาครั้งใหญ่ในหลาย ๆ แหล่งอารยธรรมอย่าง ลัทธิขงจื๊อในจีน ศาสนาพุทธและเชนในอินเดีย ศาสนาโซโรอัสเตอร์ในเปอร์เซีย ศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนายิวในอียิปต์โบราณ และในช่วงคริตศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โสกราตีส และ เพลโตก็ได้วางรากฐานของปรัชญากรีกโบราณ

ทางด้านจีนเองก็ได้รับอิทธิพลการคิดมาจากสามสำนักสำคัญจนถึงปัจจุบันได้แก่ ลัทธิเต๋า,[27] ลัทธิกฎหมาย[28] และ ลัทธิขงจื๊อ.[29]ซึ่งแพร่หลายไปยังทั้งเกาหลีและญี่ปุ่น

ทางด้านยุโรปเองได้รับอิทธิพลมาจากปรัชญากรีกโบราณอย่าง โสกราตีส[30] เพลโต,[31] และอริสโตเติล,[32][33] ซึ่งแพร่หลายไปยังทั่วทั้งยุโรปและตะวันออกกลางในศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาลจากการพิชิตดินแดนของอเล็กซานเดอร์มหาราช[34][35][36]

ยุคจักรวรรดิ (Regional empires)

แก้
 
วิหารพาร์เธนอนแสดงถึงความรุ่งเรืองของอารยธรรมกรีกโบราณ

ช่วงพันปีระหว่าง 500 ปีก่อนคริสตกาลจนถึง ค.ศ. 500 เกิดจักรวรรดิที่กว้างใหญ่อย่างไม่เคยมีมาก่อน กองทัพที่ถูกฝึกมาอย่างดี อุดมการณ์ที่เป็นหนึ่งเดียว และการปกครองที่เป็นระบบทำให้จักรพรรดิสามารถปกครองประชากรภายใต้อาณัติถึงหลายสิบล้านคน

ประวัติศาสตร์โลกช่วงนี้เป็นช่วงที่เทคโนโลยีก้าวหน้าค่อนข้างช้าแต่มั่นคง พัฒนาการครั้งสำคัญอย่างโกลนและคันไถจะเกิดขึ้นทุก ๆ สองสามศตวรรษ อย่างไรก็ตามในบางภูมิภาคกลับมีช่วงพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วมากเช่นแถบเมดิเตอร์เรเนียนในช่วงเฮเลนมีสิ่งประดิษฐ์คิดค้นจำนวนมาก [37] [38] [39] ช่วงพัฒนาดังกล่าวตามมาด้วยช่วงการถดถอยทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นระหว่างการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันและช่วงยุคกลางตอนต้นที่ตามมา

อำนาจของจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่เกิดจากการผนวกดินแดนโดยใช้กำลังทหารและการตั้งถิ่นฐานเพื่อปกป้องศูนย์กลางทางการเกษตร[40] สันติภาพชั่วคราวที่เกิดจากระบบจักรวรรดิก่อให้เกิดเส้นทางการค้าขายระหว่างประเทศ เส้นทางที่โดดเด่นที่สุดได้แก่เส้นทางการค้าหลายสายในแถบเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งเกิดในยุคเฮเลนิสต์และเส้นทางสายไหม

 
แผนที่โลกของทอเลมี สร้างขึ้นตามหนังสือ Geographia

จักรวรรดิทุกแห่งต่างเผชิญกับปัญหาเดียวกันคือการจัดการกองกำลังทหารขนาดใหญ่และการสร้างการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ ความยุ่งยากในการปกครองประชากรทั้งหมดทำให้เจ้าของที่ดินขนาดใหญ่เริ่มมีอำนาจมากขึ้นและท้าทายระบบการรวมศูนย์อำนาจ การโจมตีจากชนเผ่าอนารยชนต่าง ๆ ตามขอบชายแดนทำให้การปกครองส่วนกลางเริ่มระส่ำระสาย เกิดสงครามกลางเมืองในจักรวรรดิฮั่นของจีนในคริสต์ศตวรรษที่ 220 ในขณะเดียวกันก็เกิดการแบ่งขั้วและแยกศูนย์อำนาจขึ้นในจักรวรรดิโรมัน

ในโลกตะวันตก ชาวกรีกได้สร้างอารยธรรมซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของอารยธรรมตะวันตกในปัจจุบัน จนหลายศตวรรษต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ชาวโรมันเริ่มขยายเขตแดนด้วยการใช้กำลังทหารและการล่าอาณานิคม ในยุคสมัยจักรพรรดิออกัสตัส(ปลายศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล) โรมยึดครองอาณาเขตทั้งหมดรอบเมดิเตอเรเนียน ในยุคสมัยจักรพรรดิทราจัน(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2) โรมยึดครองอาณาเขตส่วนใหญ่ของอังกฤษและเมโสโปเตเมีย

ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล อาณาเขตส่วนใหญ่ของเอเชียใต้ถูกรวบรวมเป็นจักรวรรดิโมริยะโดยพระเจ้าจันทรคุปต์เมารยะ และรุ่งเรืองที่สุดในยุคพระเจ้าอโศกมหาราช คริสตวรรษที่ 3 จักรวรรดิคุปตะเข้าครอบครองอาณาเขตนี้และเข้าสู่ยุคทองของอายธรรมอินเดียโบราณ มีราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาครองครองเอเชียใต้จำนวนมากทั้งจาลุกยะ ราษฏรกูฏ ฮอยซาลา และวิชัยนคร ท่ามกลางความรุ่งเรืองของวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม ศิลปกรรม วรรณกรรม และปรัชญาซึ่งอุปถัมภ์โดยกษัตริย์องค์ต่าง ๆ

ในขณะเดียวกัน ราชวงศ์ฮั่นได้ยึดครองเอเชียตะวันออกเป็นจักรวรรดิจีนที่เก่าแก่ ราชวงศ์ฮั่นได้รับยกย่องว่าเป็นโรมตะวันออก (Rome of China) ซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่งของเส้นทางสายไหม ในขณะที่แสนยานุภาพทางทหารของโรมันแทบไม่สามารถเอาชนะได้ จีนฮั่นได้พัฒนาการทำแผนที่ การต่อเรือ และการเดินเรือ โลกตะวันออกได้สร้างเตาหลอมโลหะ ทำให้สามารถผลิตเครื่องมือจากทองแดงที่สามารถปรับแต่งได้อย่างละเอียด เช่นเดียวกับพื้นที่อื่น ๆ ในยุคโบราณ จีนฮั่นพัฒนาระบบการปกครอง การศึกษา คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด

อารยธรรมอเมริกาเริ่มต้นเมื่อประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตกาลในแถบเมโสอเมริกา [41] เกิดสังคมก่อนยุคโคลัมเบียนอย่างแหล่งอารยธรรมมายาและจักรวรรดิแอซเท็ก หลังจากการล่มสลายของวัฒนธรรมเริ่มต้นอย่าง วัฒนธรรมโอเมก [42] อารยธรรมมายาเริ่มขยายตัวในแถบยูกาตัง และจักรวรรดิแอซเท็ก ก็ได้รับเอาวัฒนธรรมข้างเคียง และกวาดต้อนเอาชนเผ่าต่าง ๆ เช่น ชนเผ่าทอลเต็ก

ในอเมริกาใต้ คริสตวรรษที่ 14 และ 15 มีการขยายตัวของจักรวรรดิอินคา จักรวรรดิอินคาแห่งตาวันตินซูยู ได้ตั้งเมืองกุสโกเป็นเมืองหลวง และขยายตัวไปตามเทือกเขาแอนดีส เป็นแหล่งอารยธรรมวงกว้างที่สุดอันหนึ่งก่อนยุคโคลัมเบียน[43][44] จักรวรรดิอินคามีความรุ่งเรืองและทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดระบบถนนของชาวอินคาและการก่ออิฐอย่างไม่มีใครเทียบได้

การถดถอย การล่มสลาย และการเกิดใหม่ของจักรวรรดิ

แก้

จักรวรรดิในแถบยูเรเชียส่วนใหญ่ตั้งอยู่แถบที่ราบชายฝั่งทะเล ดังนั้นชนเผ่าเร่ร่อนซึ่งใช้ม้าเป็นพาหนะหลัก เช่นพวกมองโกลและพวกเติร์ก จึงเริ่มยึดครองพื้นที่โดยเริ่มจากแถบเอเชียกลาง ประกอบกับการประดิษฐ์โกลนและการเพาะเลี้ยงม้าให้แข็งแรง ทำให้ม้าสามารถรับน้ำหนักกำลังพลพร้อมชุดเกราะได้ และทำให้ชนเผ่าเร่ร่อนกลายเป็นภัยคุกคามต่อแหล่งอารยธรรมในระยะยาว

การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันอย่างช้า ๆ [45][46] กินเวลายาวนานจากคริสต์ศตวรรษที่ 2 ไปอีกหลายศตวรรษ ประกอบกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของศาสนาคริสต์จากดินแดนตะวันออกกลางสู่ดินแดนตะวันตก ทำให้จักรวรรดิโรมันตะวันตกตกอยู่ภายใต้การนำของอนารยชนชาวเยอรมันในคริตศตวรรษที่ 5 ในที่สุด[47] องค์กรทางการเมืองต่างแตกกระจายเป็นรัฐจำนวนมาก ซึ่งต่างก็มีความสัมพันธ์กับคริสตจักรโรมันคาทอลิกไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง จักรวรรดิโรมันบางส่วนบริเวณเมดิเตอเรเนียนตะวันออกแตกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์[48] อีกหลายศตวรรษต่อมามีการสถาปนาจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปีค.ศ. 962 ทำให้ยุโรปตะวันตกกลับมารวมตัวกันได้อย่างชั่วคราว[49] ซึ่งกินบริเวณประเทศเยอรมนี ออสเตรีย สวิสเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม อิตาลี และฝรั่งเศสบางส่วนในปัจจุบัน

ในจักรวรรดิจีน ราชวงศ์ต่าง ๆ ผลัดกันขึ้นมาปกครองดินแดนแถบนี้[50][51] หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก[52] และสิ้นสุดลงของยุคสามก๊ก ชนเผ่าเร่ร่อนทางตอนเหนือเริ่มคุกคามจีนในช่วงคริสศตวรรษที่ 4 ยึดจีนตอนเหนือบางส่วนและสร้างเป็นอาณาจักรเล็ก ๆ หลายอาณาจักร ราชวงศ์สุยรวมจีนขึ้นมาใหม่อีกครั้งในปี 581 และภายใต้การปกครองของราชวงศ์ถัง (618-907) จักรวรรดิจีนก้าวเข้าสู่ยุคทองเป็นครั้งที่สอง แต่ราชวงศ์ถังก็ล่มสลายนำไปสู่ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร ราชวงศ์ซ่งก็รวมจีนอีกครั้งในปี 982 แต่โดยแรงกดดันจากชนเผ่าเร่ร่อนทางตอนเหนือ ตอนเหนือของจีนจึงตกเป็นของชนเผ่าแมนจูในปี 1141 และจักรวรรดิมองโกลเข้าครองครองประเทศจีนทั้งประเทศในปี 1279 รวมผืนแผ่นดินยูเรเชียเกือบทั้งหมด ยกเว้นก็แต่ยุโรปกลาง ยุโรปตะวันออก เอเชียใต้ส่วนใหญ่ และเกาะญี่ปุ่น

ยุคกลาง

แก้

ยุคคลาสสิกมักนับว่าจบลงในปี ค.ศ. 476 หลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก เป็นการเริ่มต้นยุคหลังคลาสสิก หรือ ยุคโพสต์คลาสสิก (Post-classic era) และจบลงในช่วงปี ค.ศ. 1500 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเรเนสซองส์ (Renaissance) หรือ ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา ในยุคนี้ความรุ่งเรืองทางศิลปะวัฒนธรรมและวิทยาการของยุโรปที่มีมาตั้งแต่กรีกโบราณเสื่อมถอยลง วิทยาศาสตร์และศิลปะได้หยุดชงักลง คริสตจักรมีอำนาจทางศาสนาและการเมืองเหนือทวีปยุโรป เรียกอีกชื่อหนึ่งว่ายุคมืด (Dark age) หรือยุคกลางในยุโรป จบลงหลังการฟื้นฟูภูมิปัญญากรีกโรมันโบราณขึ้นมาในเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี

ตะวันออกกลาง

แก้

ยุโรป

แก้

แอฟริกา

แก้

เอเชียใต้

แก้

เอเชียตะวันออก

แก้

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แก้
 
นครวัดในกัมพูชาสร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 12 ภายใต้อาณาจักรขอม

จุดเริ่มต้นของยุคกลางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกิดเหตุการณ์การล่มสลายของอาณาจักรฟูนัน (ค.ศ. 550) ต่อด้วยการเกิดขึ้นของอาณาจักรเจนละ ซึ่งต่อมาถูกแทนที่ด้วยอาณาจักรขอม (ค.ศ. 802) "พระนคร"เมืองหลวงของอาณาจักรขอม เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกก่อนยุคอุตสาหกรรม มีวัดศาสนาฮินดูและพุทธนิกายมหายานมากกว่าพันแห่ง ซึ่งที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ "นครวัด"

 
อาณาจักรอยุธยา อดีตศูนย์กลางการค้าของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในอดีตเคยมีผู้อยู่อาศัยมากกว่า 1 ล้านคน มีอีกชื่อหนึ่งว่า "เวนีสแห่งตะวันออก" เพราะเป็นเมืองที่มีแม่น้ำล้อมรอบ

อาณาจักรสุโขทัย (ค.ศ. 1238) และอาณาจักรอยุธยา (ส.ศ. 1351) เป็นอาณาจักรที่มีอำนาจสำคัญของชาวไทซึ่งได้รับอิทธิพลจากขอม

ต้นศตวรรษที่ 9 อาณาจักรพุกามขึ้นมามีอำนาจในดินแดนพม่าในปัจจุบัน การล่มสลายของอาณาจักรพุกามทำให้เกิดความแตกแยกทางการเมือง ซึ่งลงเอยด้วยการเติบโตของอาณาจักรตองอูในศตวรรษที่ 16

อาณาจักรที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ในยุคนั้น ได้แก่ อาณาจักรศรีวิชัย (คาบสมุทรมาลายูและอินโดนิเซีย), อาณาจักรละโว้ (ภาคกลางของประเทศไทย โดยอาณาจักรทั้งสองมีความสำคัญในศตวรรษที่ 7), อาณาจักรจามปา (เวียดนามในปัจจุบัน), อาณาจักรหริภุญไชย (ภาคเหนือของไทย ประมาณ ค.ศ. 750), อาณาจักรไดเวียต (เวียดนาม ค.ศ. 968), อาณาจักรล้านนา (ภาคเหนือของไทย ศตวรรษที่ 13), อาณาจักรมัชปาหิต (อินโดนีเซีย ค.ศ. 1293), อาณาจักรล้านช้าง (ลาวในปัจจุบัน ค.ศ. 1354) และ อาณาจักรอังวะ (พม่า ค.ศ. 1364) ในยุคนี้มีการแพร่กระจายของศาสนาอิสลามไปยังประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน (เริ่มในศตวรรษที่ 13) และการเกิดขึ้นของรัฐมลายู รวมถึงรัฐสุลต่านมะละกาและอาณาจักรบรูไน ในฟิลิปปินส์มีอาณาจักรเล็ก ๆ หลายอาณาจักรบนหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เช่น แคว้นเมย์นิลา แคว้นเซบู แคว้นบูตูอัน

โอเชียเนีย

แก้
 
รูปปั้นโมอายบนเกาะอีสเตอร์ สร้างโดยชาวราปานุย

ในภูมิภาคโอเชียเนีย จักรวรรดิตูอีโตงา (Tuʻi Tonga empire) ก่อตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 10 และขยายตัวระหว่าง ค.ศ. 1200 ถึง 1500 วัฒนธรรมภาษาและอำนาจทางการเมืองของเกาะตองกาแพร่กระจายอย่างกว้างขวางไปทั่วเมลานีเซียตะวันออก, ไมโครนีเซีย และโพลินีเซียตอนกลางในช่วงเวลานี้ จักรวรรดิตองกามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของเกาะอูเวอา (East 'Uvea), เกาะโรตูมา (Rotuma), เกาะฟูตูนา (Futuna), เกาะซามัว (Samoa) และเกาะนิอูเอ (Niue) ตลอดจนบางส่วนของกลุ่มหมู่เกาะไมโครนีเซีย (คิริบาส (Kiribati), ปอห์นเปย์ (Pohnpei) และอื่น ๆ ) เกาะวานูอาตู และเกาะนิวแคลิโดเนีย

ในช่วงเวลาเดียวกันอาณาจักรทางทะเลที่ทรงพลังปรากฏตัวขึ้นในโพลินีเซียตะวันออกซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่หมู่เกาะโซไซตี้ (Society Islands) โดยเฉพาะที่ตาปูตาปูอาเตอา มาราเอ (Taputapuatea marae) สถานที่ทางจิตวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์บนเกาะไรอาเตอา (Raiatea) ซึ่งดึงดูดชาวอาณานิคมโพลีนีเซียตะวันออกจากสถานที่ไกล ๆ เช่น หมู่เกาะฮาวาย หมู่นิวซีแลนด์ (อาโอเตอาโรอา Aotearoa) และเกาะตูอาโมตู (Tuamotu) ด้วยเหตุผลทางการเมือง ทางจิตวิญญาณ และทางเศรษฐกิจ จนกระทั่งการหายไปของการเดินทางไกลทางทะเลของชาวเกาะแปซิฟิกในทะเลแปซิฟิกตะวันออก เพียงไม่กี่ศตวรรษก่อนที่ชาวยุโรปจะเริ่มสำรวจพื้นที่ และยังคงเป็นปริศนาจวบจนปัจจุบัน ว่าทำไมชาวโพลินีเซียถึงเลิกเดินทางไปมาหาสู่กันด้วยการเดินทางทางทะเล

บันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรของชนพื้นเมืองในช่วงเวลานี้แทบจะไม่มีอยู่เลย เพราะชาวเกาะแปซิฟิกเกือบทั้งหมด (ยกเว้นชาวราปานุย (Rapa Nui) บนเกาะอีสเตอร์ ซึ่งมีระบบการเขียนที่เรียกกันว่า "อักษรโรโงโรโง (Rongorongo)" ซึ่งไม่มีใครสามารถถอดรหัสได้จวบจนปัจจุบัน) ไม่มีระบบการเขียนใด ๆ เลย จนกระทั่งการมาถึงของชาวยุโรป อย่างไรก็ตามชนพื้นเมืองบางส่วนมีประวัติศาสตร์แบบบอกเล่าปากต่อปาก ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเพณีพื้นเมือง ตำนาน ประวัติศาสตร์แบบคาดเดา อีกทั้งยังสามารถคาดคะเนประวัติศาสตร์การเดินทางของชาวเกาะแปซิฟิกผ่านการศึกษาชาติพันธุ์วิทยา โบราณคดี มานุษยวิทยา กายภาพ และการวิจัยภาษาศาสตร์ของชาวเกาะแปซิฟิกซึ่งมีความเชื่อมโยงกัน

อเมริกา

แก้
 
Inca มัมมี่
 
มาชูปิกชู สัญลักษณ์ความรุ่งเรืองของจักรวรรดิอินคา

สมัยใหม่

แก้

สมัยใหม่ (Modern era) เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1500 จนถึงปัจจุบัน แต่นับจาก ค.ศ. 1945 จนถึงปัจจุบันจะนับว่าเป็น "ยุคปัจจุบัน (Contemporary era)"

ยุคใหม่ตอนต้น

แก้

ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา

แก้

การขยายอาณานิคมของชาวยุโรป

แก้

การพัฒนา

แก้

ยุคใหม่ตอนปลาย

แก้

ค.ศ. 1750 - ค.ศ. 1914

แก้

ค.ศ. 1914 - ค.ศ. 1945

แก้

ค.ศ. 1945 - ปัจจุบัน

แก้
ศตวรรษที่ 21
แก้
 
ประเทศจีนเป็นประเทศที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดในศตวรรษที่ 21 ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดบนโลกในทศวรรษที่ 2030 (ภาพเมืองเซี่ยงไฮ้ ค.ศ. 2017)

ในศตวรรษที่ 21 บนโลกได้เกิดกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) และการบูรณาการทางเศรษฐกิจ (Economic integration) ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมาก เศรษฐกิจ แนวคิด และ ภูมิปัญญาของโลกทั้งใบเชื่อมต่อเข้าด้วยกันอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์อย่างรวดเร็วกว่าที่เคยมีมา มีการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ล้ำสมัยและชาญฉลาดกว่าที่เคยมีมา ชีวิตในศตวรรษที่ 21 นี้มีความสะดวกสบายที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประวัติศาสตร์โลกก่อนหน้านี้ โดยหลักแล้วเกิดจากการพัฒนาและการแพร่หลายของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต  และการสื่อสารด้วยโทรศัพท์มือถือ อันเป็นความเปลี่ยนแปลงทางสังคมขั้นพื้นฐาน ทั้งธุรกิจ การเมือง และ ชีวิตส่วนตัวของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตามซึ่งผลที่ตามมาก็คือความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเศรษฐกิจของโลกที่เชื่อมโยงกันดัง ตัวอย่างเช่น วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ (การถดถอยทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในช่วงปลายทศวรรษที่ 2000 - ต้นทศวรรษที่ 2010) และภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงต้นทศวรรษที่ 2020 จากโรคระบาดโควิด-19

ในยุคนี้เกิดการตื่นด้านการสำรวจอวกาศอีกครั้ง มีโครงการสำรวจดาวเคราะห์ในระบบสุริยะหลายโครงการ มีการคิดค้นโทรศัพท์สมาร์ตโฟน รถยนต์ไร้คนขับ และความก้าวหน้าทางพันธุวิศวกรรมที่เพิ่มสูงขึ้น โลกเริ่มมีการตื่นตัวในปัญหาภาวะโลกร้อนซึ่งทำให้ภูมิอากาศทั่วโลกเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มสูงขึ้นจากในอดีต เนื่องจากการทิ้งขยะและการปล่อยของเสียสู่สิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมากของมนุษย์

ศตวรรษที่ 21 มีการแข่งขันด้านทรัพยากรทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น จากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในอินเดีย จีน และ บราซิล ความต้องการที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมเพิ่มขึ้นและภาวะโลกร้อน อีกทั้งความตึงเครียดระหว่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น จากความพยายามในการชักนำเกาหลีเหนือและอิหร่านให้เลิกพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์

ในปี ค.ศ. 2020 การระบาดของโรคโควิด-19 ได้กลายเป็นโรคระบาดใหญ่แรกในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลกระทบต่อการซื้อขายทั่วโลกและทำให้เศรษฐกิจโลกถดถอย

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Tudge, Colin (1998). Neanderthals, Bandits and Farmers: How Agriculture Really Began. London: Weidenfeld & Nicolson. ISBN 0-297-84258-7.
  2. Bellwood, Peter. (2004). First Farmers: The Origins of Agricultural Societies, Blackwell Publishers. ISBN 0-631-20566-7
  3. Cohen, Mark Nathan (1977) The Food Crisis in Prehistory: Overpopulation and the Origins of Agriculture, New Haven and London: Yale University Press. ISBN 0-300-02016-3.
  4. See Jared Diamond, Guns, Germs and Steel.
  5. "What Did Gutenberg Invent?". BBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-13. สืบค้นเมื่อ 2008-05-20.
  6. Grant, Edward. The Foundations of Modern Science in the Middle Ages: Their Religious, Institutional, and Intellectual Contexts. Cambridge: Cambridge Univ. Pr., 1996.
  7. ดูเพิ่มใน Charles. Understanding the Industrial Revolution (2000) online edition เก็บถาวร 2011-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. Reuters – The State of the World เก็บถาวร 2009-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The story of the 21st century
  9. "Scientific American Magazine (September 2005 Issue) The Climax of Humanity". Sciam.com. 2005-08-22. สืบค้นเมื่อ 2009-04-18.
  10. Jungers 1988, pp. 227–231
    • Bulliet et al. 2015a, p. 1, "Human beings evolved over several million years from primates in Africa."
    • Christian 2011, p. 150, "But it turned out that humans and chimps differed from each other only by about 10 percent as much as the differences between major groups of mammals, which suggested that they had diverged from each other approximately 5 to 7 million years ago."
    • Dunbar 2016, p. 8, "Conventionally, taxonomists now refer to the great ape family (including humans) as hominids, while all members of the lineage leading to modern humans that arose after the split with the [Homo-Pan] LCA are referred to as hominins. The older literature used the terms hominoids and hominids respectively."
    • Wragg-Sykes 2016, pp. 183–184
    • Dunbar 2016, pp. 8, 10, "What has come to define our lineage – bipedalism – was adopted early on after we parted company with the chimpanzees, presumably in order to facilitate travel on the ground in more open habitats where large forest trees were less common....The australopithecines did not differ from the modern chimpanzees in terms of brain size."
    • Lewton 2017, p. 117
  11. Harmand 2015, pp. 310–315
  12. McPherron et al. 2010, pp. 857–860
  13. Domínguez-Rodrigo & Alcalá 2016, pp. 46–53
    • de la Torre 2019, pp. 11567–11569
    • Stutz 2018, pp. 1–9, "The Paleolithic era encompasses the bulk of the human archaeological record. Its onset is defined by the oldest known stone tools, now dated to 3.3 Ma, found at the Lomekwi site in Kenya."
  14. Lewin 2009, p. 247
  15. Stearns & Langer 2001.
  16. Chandler, T. Four Thousand Years of Urban Growth: An Historical Census. Lewiston, NY: Edwin Mellen Press, 1987.
  17. Modelski, G. World Cities: –3000 to 2000. Washington, DC: FAROS 2000, 2003.
  18. Ascalone, Enrico. Mesopotamia: Assyrians, Sumerians, Babylonians (Dictionaries of Civilizations; 1) . Berkeley: University of California Press, 2007 (paperback, ISBN 0-520-25266-7).
  19. Lloyd, Seton. The Archaeology of Mesopotamia: From the Old Stone Age to the Persian Conquest.
  20. Allchin, Bridget (1997). Origins of a Civilization: The Prehistory and Early Archaeology of South Asia. New York: Viking.
  21. Allchin, Raymond (ed.) (1995). The Archaeology of Early Historic South Asia: The Emergence of Cities and States. New York: Cambridge University Press.
  22. Turner, Patricia, and Charles Russell Coulter,Dictionary of Ancient Deities, New York, Oxford University Press, 2001.
  23. Wells, H. G. (1921), 'The Outline of History: Being A Plain History of Life and Mankind', New York, Macmillan Company, p. 137.
  24. Miller, James. Daoism: A Short Introduction (Oxford: Oneworld Publications, 2003). ISBN 1-85168-315-1
  25. "Chinese Legalism: Documentary Materials and Ancient Totalitarianism". Worldfuturefund.org. สืบค้นเมื่อ 2009-04-18.
  26. "Confucianism and Confucian texts". Comparative-religion.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-29. สืบค้นเมื่อ 2009-04-18.
  27. "Socrates". 1911 Encyclopaedia Britannica. 1911.
  28. Stanford Encyclopedia of Philosophy: Plato
  29. "The Catholic Encyclopedia". Newadvent.org. 1907-03-01. สืบค้นเมื่อ 2009-04-18.
  30. "The Internet Encyclopedia of Philosophy". Utm.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-08. สืบค้นเมื่อ 2009-04-18.
  31. PDF: A Bibliography of Alexander the Great by Waldemar Heckel
  32. Alexander III the Great, entry in historical sourcebook by Mahlon H. Smith
  33. "Trace Alexander's conquests on an animated map". Ac.wwu.edu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-15. สืบค้นเมื่อ 2009-04-18.
  34. Camp, J. M., & Dinsmoor, W. B. (1984). Ancient Athenian building methods. Excavations of the Athenian Agora, no. 21. [Athens]: American School of Classical Studies at Athens.
  35. Drachmann, A. G. (1963). The mechanical technology of Greek and Roman antiquity, a study of the literary sources. Copenhagen: Munksgaard.
  36. Oleson, J. P. (1984). Greek and Roman mechanical water-lifting devices: the history of a technology. Phoenix, 16 : Tome supplémentaire. Dordrecht: Reidel.
  37. Morgan, L. H. (1877). Ancient society; or, Researches in the lines of human progress from savagery, through barbarism to civilization. New York: H. Holt and Company.
  38. "Central America เก็บถาวร 2009-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". MSN Encarta Online Encyclopedia 2006. 2009-10-31.
  39. "Olmec Origins in The Southern Pacific Lowlands". Authenticmaya.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-02. สืบค้นเมื่อ 2009-04-18.
  40. History of the Inca Empire เก็บถาวร 2008-08-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Inca history, society and religion.
  41. Map and Timeline เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of Inca events
  42. "Detailed history of the Roman Empire". Roman-empire.info. สืบค้นเมื่อ 2009-04-18.
  43. Edward Gibbon.http://www.fordham.edu/halsall/source/gibbon-fall.html "General Observations on the Fall of the Roman Empire in the West"], from the Internet Medieval Sourcebook. Brief excerpts of Gibbon's theories.
  44. Gibbon, Edward (1906). in J.B. Bury (with an Introduction by W.E.H. Lecky): [[The History of the Decline and Fall of the Roman Empire|The Decline and Fall of the Roman Empire]] (Volumes II, III, and IX). New York: Fred de Fau and Co..
  45. Bury,John Bagnall (1923). http://penelope.uchicago.edu/Thayer/E/Roman/Texts/secondary/BURLAT/home.html History of the Later Roman Empire]. Macmillan & Co., Ltd..
  46. Bryce, J. B. (1907). The Holy Roman empire. New York: MacMillan.
  47. Gascoigne 2003.
  48. Gernet, Jacques (1982). A history of Chinese civilization. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-24130-8.
  49. "Han Dynasty by Minnesota State University". Mnsu.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-10. สืบค้นเมื่อ 2009-04-18.

บรรณานุกรม

แก้

บทความ

แก้

หนังสือ

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ

แก้


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน