อักษรโรโงโรโง (ราปานูอี: rongorongo) มีจุดกำเนิดไม่แน่นอน ประชาชนบนเกาะอีสเตอร์อาจจะประดิษฐ์อักษรนี้หลังจากเห็นการเขียนของชาวสเปนที่เข้ามาถึงเกาะนี้เมื่อ พ.ศ. 2313 หรือก่อนหน้านั้น อักษรนี้ใช้มาจนถึง พ.ศ. 2403 หลังจากนั้น ความรู้เกี่ยวกับการใช้อักษรได้สูญไป ปัจจุบันชาวเกาะอีสเตอร์ใช้ภาษาสเปน และเขียนภาษาของตนด้วยอักษรละติน มิชชันนารีที่เข้ามาถึงเกาะอีสเตอร์เมื่อ พ.ศ. 2403 พยายามถอดความอักษรโรโงโรโงแต่ไม่ได้ผล

อักษรโรโงโรโง

คำว่าโรโงโรโงมีความหมายในภาษาราปานุยว่าบทสวด ค้นพบจารึกที่เขียนด้วยอักษรโรโงโรโงจำนวน 29 ชิ้น เขียนไว้บนแผ่นไม้โดยใช้ฟันฉลาม เศษหิน และกระดูกนกแก้ว ซึ่งมีการจารึกอักษรรวมกันถึง 14,000 ตัว จารึกที่บันทึกถ้อยคำที่ยาวที่สุดคือ ไม้เท้าแห่งซานติอาโกทำจากไม้ยาว 1.26 เมตร มีตัวอักษร 2,300 ตัว รองลงมาคือแผ่นจารึกทาฮัว ยาว 90.0 ซม. กว้าง 11.5 ซม. มีอักษร 1,825 ตัว ต้นกำเนิดของอักษรชนิดนี้มีนักวิชาการเสนอแนวคิดไว้สามประการคือ เริ่มต้นจากชาวโพลีเนเซียที่มาตั้งรกรากบนเกาะอีสเตอร์ ซึ่งตรงกับตำนานของเกาะอีสเตอร์ ชาวเกาะอีสเตอร์คิดอักขระนี้ขึ้นมาด้วยตัวเอง หรืออักษรนี้ประดิษฐ์ขึ้นหลังชาวยุโรปมาถึงเกาะอีสเตอร์ และชาวเกาะนำอักษรของชาวยุโรปไปดัดแปลง

อักษรนี้ค้นพบครั้งแรกโดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2407 ในช่วง พ.ศ. 2403 – 2413 บาทหลวงซาอุสเซนแห่งตาฮิติได้ชักชวนให้ชาวเกาะอีสเตอร์ขับร้องบทสวดโรโงโรโงให้ฟังเพื่อจะได้นำไปทำปทานุกรม แต่ก็ยังผิดพลาดอยู่มาก

ลักษณะ แก้

มีสัญลักษณ์ 120 ตัว ส่วนมากเป็นรูปนก ปลา เทพเจ้า ต้นไม้ และรูปเรขาคณิตต่างๆ ใช้ในการรักษาโรค และการพยากรณ์โดยพ่อมดหมอผี ทิศทางการอ่านอักษรโรโงโรโงต่างจากอักษรอื่นคือบรรทัดแรกอยู่ล่างสุด อ่านจากซ้ายไปขวา บรรทัดที่สองให้กลับหัวจารึกก่อนแล้วอ่านจากซ้ายไปขวาทำเช่นนี้จนจบแผ่น วิธีการอ่านแบบนี้คล้ายอักษรอีทรัสกันในบางยุคและคล้ายอักษรที่พบในตีฮัวนาโกในเปรูด้วย

ใช้เขียน แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้