ไฟ เป็นการออกซิเดชันของวัสดุอย่างรวดเร็วในกระบวนการเผาไหม้ชนิดคายความร้อนซึ่งปล่อยความร้อน แสงสว่าง และผลิตภัณฑ์มากมายจากปฏิกิริยา[1] กระบวนการออกซิเดชันที่ช้ากว่านั้น เช่น การขึ้นสนิม หรือการย่อยอาหาร ไม่นับรวมในนิยามนี้

ไฟ

ไฟร้อนเนื่องจากการแปลงพันธะคู่อ่อนของโมเลกุลของออกซิเจน (O2) ไปเป็นพันธะที่แข็งแกร่งกว่าทำให้เกิดคนเป็นผลิตภัณฑ์เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ปล่อยพลังงานออกมา (418 กิโลจูลต่อออกซิเจน 32 กรัม) พลังงานพันธะของเชื้อเพลิงมีส่วนเพียงเล็กน้อย[2] ที่ปฏิกิริยาเผาไหม้ เปลวไฟจะเกิดขึ้น ณ จุดจุดหนึ่งที่เรียกว่า จุดเผาไหม้ (Ignition point) เปลวไฟ คือไฟในส่วนที่มองเห็นได้ เปลวไฟมีส่วนประกอบหลัก ๆ คือ คาร์บอนไดออกไซด์ ไอน้ำ ออกซิเจน และไนโตนเจน เมื่อไฟร้อนเพียงพอ แก๊สชนิดต่าง ๆ อาจเปลี่ยนเป็นไอออนและผลิตเป็นพลาสมาได้[3] สีและความแรงของไฟอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสสารที่ทำให้เกิดแสง และมลทินภายนอก

ไฟในรูปแบบที่พบมากที่สุดสามารถกลายเป็นมหาอัคคีภัยได้ ซึ่งเป็นทำให้เกิดอันตรายจากการเผาไหม้ ไฟเป็นกระบวนการที่สำคัญที่มีผลต่อระบบนิเวศรอบโลก ผลกระทบในด้านดีคือการกระตุ้นการเจริญเติบโตและบำรุงรักษาระบบนิเวศได้หลากหลาย

การควบคุมไฟเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จก้าวสำคัญหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ ตั้งแต่ การทำอาหาร การผลิตสิ่งของ การฆ่าเชื้อโรค การแปลงพลังงานเป็นงาน และการดับไฟที่ไม่พึงปรารถนา เป็นต้น

อ้างอิง

แก้
  1. "Glossary of Wildland Fire Terminology" (PDF). National Wildfire Coordinating Group. November 2009. สืบค้นเมื่อ 2008-12-18. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  2. Schmidt-Rohr, K. (2015). "Why Combustions Are Always Exothermic, Yielding About 418 kJ per Mole of O2" J. Chem. Educ. 92: 2094-2099. http://dx.doi.org/10.1021/acs.jchemed.5b00333
  3. Helmenstine, Anne Marie. "What is the State of Matter of Fire or Flame? Is it a Liquid, Solid, or Gas?". About.com. สืบค้นเมื่อ 2009-01-21.