วัคซีนโควิด-19 BBIBP-CorV ของซิโนฟาร์ม

วัคซีนเชื้อตายสำหรับโควิด-19 ของบริษัทซิโนฟาร์ม
(เปลี่ยนทางจาก BBIBP-CorV)

BBIBP-CorV หรือ วัคซีนโควิด-19 ของซิโนฟาร์ม[2] หรือ วัคซีน BIBP[2][3][4] เป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิดไวรัสโควิด-19 เชื้อตาย (inactivated) อย่างหนึ่งในสองอย่างที่หน่วยงานของซิโนฟาร์ม คือสถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพแห่งปักกิ่ง (Beijing Institute of Biological Products) เป็นผู้พัฒนา[5] เนื่องจากหน่วยงานมีชื่อภาษาอังกฤษอีกอย่างหนึ่งว่า Beijing Bio-Institute of Biological Products[6] จึงมีตัวย่อเป็นชื่อวัคซีนสองอย่าง คือ BBIBP และ BIBP แม้จะเป็นวัคซีนเดียวกัน วัคซีนได้ผ่านการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในประเทศอาร์เจนตินา บาห์เรน โมร็อกโก ปากีสถาน เปรู และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยรวม ๆ มีอาสาสมัครเกิน 60,000 คน[7] วัคซีนใช้เทคโนโลยีเดียวกันกับโคโรนาแว็ก (ซิโนแวค) และโคแว็กซิน (ภารัตไบโอเทค) ซึ่งเป็นวัคซีนไวรัสเชื้อตายที่ได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้สำหรับโควิด-19 เช่นกัน[8] ผลิตภัณฑ์มีป้ายชื่อว่า SARS-CoV-2 Vaccine (Vero Cell)[9][10][11] จึงไม่ควรสับสนกับป้ายชื่อของซิโนแวค[12][13] วัคซีนเชื้อตายอีกอย่างที่บริษัทพัฒนาขึ้นมีรหัสว่า WIBP-CorV

BBIBP-CorV
ขวดวัคซีนของซิโนฟาร์ม (BBIBP-CorV)
รายละเอียดวัคซีน
โรคที่เป็นข้อบ่งชี้SARS-CoV-2
ชนิดเชื้อตาย
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่ออื่นZhong'aikewei (จีน: 众爱可维), Hayat-Vax
ช่องทางการรับยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ตัวบ่งชี้
เลขทะเบียน CAS
DrugBank
สารานุกรมเภสัชกรรม

ในเดือนพฤษภาคม 2021 ผลการทดลองระยะที่ 3 ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และบาห์เรนได้ตีพิมพ์อย่างเป็นทางการในวารสารแพทย์ JAMA ซึ่งทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน ผลแสดงว่า วัคซีนมีประสิทธิศักย์ต้านการติดเชื้อแบบมีอาการที่ร้อยละ 78.1 และการติดเชื้อแบบมีอาการรุนแรงเต็มร้อย[14] ก่อนหน้านั้นในเดือนธันวาคม 2020 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ประกาศผลการทดลองในระหว่างที่แสดงประสิทธิศักย์ของวัคซีนที่ร้อยละ 86[15]

แม้วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ เช่นวัคซีนของไฟเซอร์และของโมเดอร์นา จะมีประสิทธิศักย์สูงกว่าคือเกินร้อยละ 90 แต่การแจกจำหน่ายก็เป็นปัญหาในบางประเทศ เพราะอาจต้องเก็บและขนส่งด้วยตู้แช่แข็งที่มีอุณหภูมิต่ำมาก วัคซีนของซิโนฟาร์มจึงอาจใช้ในประเทศกำลังพัฒนาได้ดีเพราะสามารถเก็บและขนส่งได้ด้วยตู้เย็นแช่ยาปกติ[16]

วัคซีนได้นำไปฉีดให้แก่ประชาชนในประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย[17][18] แอฟริกา[19][20][21] อเมริกาใต้[22][23][24] และยุโรป[25][26][27] บริษัทคาดว่าจะผลิตวัคซีนได้ 1,000 ล้านโดสในปี 2021[28] จนถึงเดือนพฤษภาคม 2021 บริษัทได้จัดส่งวัคซีนประมาณ 200 ล้านโดสแล้ว[29]

ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2021 องค์การอนามัยโลกได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้ในโปรแกรมโคแวกซ์[30][31] และโคแวกซ์ก็ได้เซ็นสัญญาสั่งซื้อวัคซีน 170 ล้านโดสในกลางเดือนกรกฎาคม[32]

สำหรับประเทศไทย ในปลายเดือนพฤษภาคม 2021 คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัคซีนนี้เป็นการฉุกเฉิน[33][34] ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะเป็นผู้นำเข้าวัคซีนนี้โดยเป็นวัคซีนทางเลือกที่มีค่าใช้จ่ายและไม่ซ้ำกับวัคซีนที่รัฐจัดฉีดให้แก่ประชาชนฟรี หน่วยงานต่าง ๆ สามารถซื้อต่อจากราชวิทยาลัยไปฉีดให้บุคคลเป้าหมายต่าง ๆ ได้[35][36] ในกลางเดือนมิถุนายน ราชวิทยาลัยได้เปิดให้องค์กร/หน่วยงานลงทะเบียนจองวัคซีนโดยมีราคาเข็มละ 888 บาท และรวมค่าขนส่ง ค่าเก็บรักษา กับการประกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากวัคซีนแล้ว[37] แล้วต่อมาปลายเดือน จึงเริ่มให้ฉีดวัคซีนพร้อมกันทั่วประเทศ[38] ในกลางเดือนกรกฎาคม ราชวิทยาลัยได้ให้บุคคลธรรมดาลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนนี้เป็นรอบแรกจำนวน 40,000 รายโดยมีค่าใช้จ่าย 1,554 บาท (โดสละ 777 บาท) โดยรวมค่าประกันผลข้างเคียงแล้วแต่ไม่รวมค่าบริการของ รพ. ที่ฉีดให้[39][38] ในวันที่ 1 สิงหาคม ราชวิทยาลัยเปิดเผยว่า ได้จัดสรรวัคซีนแล้ว 8.9 ล้านโดสรวมทั้งให้แก่บุคคลธรรมดาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[40] ในวันที่ 4 ต่อมา จึงได้เปิดให้บุคคลธรรมดาลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนนี้เป็นรอบที่ 2 จำนวน 75,000 รายโดยมีค่าใช้จ่ายเท่ากับที่ให้บุคคลธรรมดาจองในรอบแรก[41] ในวันที่ 27 ต่อมา กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า จะได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มปีนี้ทั้งหมด 11 ล้านโดส โดย 9 ล้านโดสจะส่งเสร็จสิ้นในเดือนสิงหาคม และอีก 2 ล้านโดสจะมาในเดือนต่อไป[42][43]

ใบรับรองการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มในประเทศจีน

การแพทย์

แก้

วัคซีนใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเดลทอยด์ ฉีดสองเข็มโดยเว้นระยะ และยังไม่มีหลักฐานให้ฉีดเป็นเข็มที่สาม องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เว้นระยะ 3-4 สัปดาห์ระหว่างโดส[44]

ประสิทธิภาพ

แก้

งานศึกษาสถานการณ์จริงโดยวิธี test-negative analysis[A] ในประเทศบาห์เรน (14 วันหลังได้โดสที่สอง) ระบุว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพที่ 90% (95% CI, 8891%) สำหรับผู้หใญ่อายุระหว่าง 18-59 ปี และที่ 91% (8794%) สำหรับผู้ใหญ่อายุ 60 ปีและยิ่งกว่า[46] แม้จะมั่นใจในประสิทธิศักย์ทั่วไปของวัคซีน แต่ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลกก็มั่นใจน้อยเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีนสำหรับบุคคลที่มีโรคเกิดร่วมกัน (เช่นโรคประจำตัว) หญิงมีครรภ์ และคนชราเพราะมีอาสาสมัครเช่นนั้นน้อยในงานศึกษา[47]


ในเดือนเมษายน 2021 งานศึกษาที่ศูนย์สาธารณสุขอาบูดาบีในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์พบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพป้องกันการติดโรคที่ต้องเข้า รพ. 93% ป้องกันการเข้าห้องไอซียู 95% งานศึกษานี้ไม่มีผู้เสียชีวิตเพราะโควิดสำหรับผู้ที่ได้วัคซีนทั้งสองโดส แต่ก็ไม่ชัดเจนว่ามีอาสาสมัครเป็นจำนวนเท่าไรในงานศึกษา[48]

ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2021 กระทรวงสาธารณสุขอาร์เจนตินารายงานว่าวัคซีนลดการเสียชีวิตประมาณ 62% หลังจากได้โดสแรก และ 84% หลังจากได้โดสที่สอง[49]

วันที่ 22 กรกฎาคม 2021 สถาบันสาธารณสุขแห่ชาติของเปรูรายงานว่า วัคซีนลดการเสียชีวิต 94% โดยเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลของคน 361,000 คน[50]

ในวันที่ 29 กรกฎาคม ผลเบื้องต้นจากงานศึกษาที่ไม่ได้จัดกลุ่มโดยสุ่มระบุว่า ระดับแอนติบอดีที่วัดได้จะลดลงตามอายุ คือ จากประมาณ 90% สำหรับผู้มีอายุน้อยกว่า 50 ปี จนถึง 50% สำหรับผู้มีอายุเกิน 80 ปี ซึ่งแสดงนัยว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพน้อยลงสำหรับคนสูงอายุ[51]

ประสิทธิศักย์

แก้

[[|thumb| คู่มือวัคซีนเป็นภาษาจีน ]] ในเดือนพฤษภาคม 2021 ผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และบาห์เรนที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันและตีพิมพ์ในวารสารแพทย์ JAMA แสดงว่าวัคซีนมีประสิทธิศักย์ต่อต้านการติดเชื้อโควิดทั้งแบบไม่แสดงอาการและแบบแสดงอาการ 74% (6182%) มีประสิทธิศักย์ต่อต้านการติดเชื้อที่แสดงอาการ 78% (95% CI, 6586%) และต่อต้านการติดเชื้อแบบมีอาการรุนแรงเกือบเต็มร้อย (ไม่พบในกลุ่มที่ได้วัคซีน พบ 2 รายในกรณีที่ได้ยาหลอก) มีอาสาสมัคร 12,726 คนที่ได้วัคซีน และ 12,737 คนที่ได้ยาหลอกในการทดลองนี้[14] ในเดือนธันวาคมปีก่อน กระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ประกาศผลการวิเคราะห์ในระหว่างการทดลองที่แสดงว่า วัคซีนมีประสิทธิศักย์ 86% ต่อต้านโรคโควิด-19 และมีประสิทธิศักย์เกือบเต็มร้อยในการป้องกันการติดเชื้อที่มีอาการปานกลางและรุนแรง[52]

สายพันธุ์ของโรค

แก้

ในเดือนกุมภาพันธ์ งานศึกษาในแหล็บกับเซรุ่ม 12 ตัวอย่างที่ได้มาจากผู้ที่ฉีดวัคซีนนี้กับวัคซีน ZF2001 ปรากฏว่ายังคงระดับการลบล้างฤทธิ์ไวรัสสายพันธุ์เบตาได้ แม้จะลดลงเมื่อเทียบกับไวรัสดั้งเดิมบ้าง[53] ค่าเฉลี่ยของภูมิคุ้มกัน (geometric mean titers) ของวัคซีนลดลง 1.6 เท่า คือจาก 110.9 เหลือ 70.9 ซึ่งน้อยกว่าของวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอที่ลดลงเป็น 6 เท่า[54] ข้อมูลการทดลองทางคลินิกเบื้องต้นแสดงว่าวัคซีนโนวาแวกซ์และจอนห์สันก็มีประสิทธิภาพการป้องกันโควิดลดลงในประเทศแอฟริกาใต้ที่สายพันธุ์ใหม่นี้ได้ระบาดไปทั่ว[53]

ในเดือนมิถุนายน งานศึกษากับผู้รับวัคซีน 282 คนในศรีลังกา เป็นงานที่ยังไม่ได้ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน พบว่า[55][56][57]

  • 95% เกิด seroconversion หลังจากได้วัคซีน 2 โดส ซึ่งเป็นอัตราใกล้กับที่พบเมื่อติดเชื้อตามธรรมชาติ คนอายุมากกว่า 60 ปีจะเกิด seroconversion น้อยกว่าที่ 93% เทียบกับคนอายุ 20-39 ปีที่เกิดในอัตราสูงสุดคือ 99%
  • 81% มีแอนติบอดีที่ลบล้างฤทธิ์ไวรัสได้ในสัปดาห์ที่ 6 โดยมีความเข้นข้นของแอนติบอดี (antibody titre) ในระดับเดียวกับที่พบเมื่อติดเชื้อตามธรรมชาติ
  • ระดับแอนติบอดีต่อต้านสายพันธุ์เดลตาและเบตาอยู่ในระดับเดียวกับที่พบในการติดเชื้อตามธรรมชาติ แต่สำหรับสายพันธุ์อัลฟาจะอยู่ในระดับต่ำกว่ามาก
  • ความเข้มข้นของแอนติบอดี (antibody titre) ลบล้างฤทธิ์สายพันธุ์เดลตาจะลดลง 1.38 เท่าเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม แต่แอนติบอดีลบล้างฤทธิ์สายพันธุ์เบตาจะลดลงถึง 10 เท่า
  • วัคซีนยังก่อการตอบสนองของ T cell และ memory B cell ด้วยแม้จะในระดับที่อ่อนกว่าวัคซีนบางชนิดอื่น 

การผลิต

แก้

BBIBP-CorV เป็นวัคซีนเชื้อตายเหมือนกับซิโนแว็คและโคแว็กซิน ซึ่งใช้เทคโนโลยีผลิตวัคซีนเดิมที่มีอยู่แล้วเช่นดังที่พบในวัคซีนโปลิโอเชื้อตาย การผลิตวัคซีนเริ่มต้นที่การเพาะเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ 19nCoV-CDC-Tan-HB02 (HB02) ซึ่งสามารถแพร่ขยายได้อย่างรวดเร็ว[58] โดยเพาะให้ได้เป็นจำนวนมาก ๆ ในวีโรเซลล์ แล้วจึงชุบไวรัสลงในสารประกอบอินทรีย์คือเบตาโพรพิโอแล็กโทน (β-Propiolactone) ซึ่งฆ่าเชื้อโดยเข้าเชื่อมกับยีนของไวรัสแต่ก็ไม่ได้ทำอะไรกับอนุภาคไวรัส ผลิตภัณฑ์ไวรัสที่ได้ก็จะเติมตัวเสริม (adjuvant) ซึ่งเป็นสารประกอบเชิงอะลูมิเนียม คือ อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์[8][46]

ในอัปเดตเดือนตุลาคม 2020 บริษัทกล่าวว่าอาจผลิตวัคซีนได้เกิน 1,000 ล้านโดสในปี 2021[59]

ในเดือนธันวาคม อียิปต์ประกาศข้อตกลงระหว่างไซโนฟาร์มกับบริษัทอียิปต์เพื่อผลิตวัคซีนในประเทศ[60]

ในเดือนมีนาคม 2021 บริษัท G42 Healthcare ในดูไบได้ตกลงกับไซโนฟาร์มเพื่อผลิตวัคซีนมากจนถึง 200 ล้านโดสต่อปีสำหรับดูไบและประเทศอื่น ๆ ในตะวันออกกลาง โดยจะมีตราสินค้าว่า Hayat-Vax[61]

ในเดือนมีนาคม เซอร์เบียประกาศแผนการผลิตวัคซีน 24 ล้านโดสต่อปีโดยจะเริ่มในเดือนตุลาคม[62]

ในเดือนเมษายน บังกลาเทศได้อนุมัติให้ผลิตวัคซีนนี้ในประเทศ[63]

ในเดือนกรกฎาคม บริษัท Sothema ของโมร็อกโกประกาศว่าจะผลิตวัคซีน 5 ล้านโดสต่อเดือน[64]

ประวัติ

แก้

งานวิจัยทางคลินิก

แก้

ระยะที่ 1 และ 2

แก้

ในเดือนเมษายน 2020 จีนได้อนุมัติให้ทำการทดลองทางคลินิกกับวัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพแห่งปักกิ่ง (Beijing Institute of Biological Products)[65] และสถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพแห่งอู่ฮั่น (Wuhan Institute of Biological Products) โดยทั้งสองเป็นส่วนของบริษัทไซโนฟาร์ม[66] วัคซีนทั้งสองเป็นวัคซีนที่ใช้ไวรัสโควิด-19 ที่ฆ่าด้วยสารเคมี (chemically inactivated)

ในวันที่ 15 ตุลาคม สถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพแห่งปักกิ่งได้ตีพิมพ์ผลที่ได้ในงานวิจัยระยะที่ 1 (มีอาสาสมัครผู้ใหญ่ 192 คน) และระยะที่ 2 (448 คน) สำหรับวัคซีน BBIBP-CorV โดยแสดงว่าปลอดภัยและคนไข้อดทนต่อผลต่าง ๆ ได้ดีสำหรับยาทุก ๆ ขนาดที่ใช้ในกลุ่มการทดลองแบ่งโดยอายุเป็น 2 กลุ่ม ผู้รับวัคซีนทั้งหมดเกิดสารภูมิต้านทานต่อไวรัสโควิด-19 (SARS-CoV-2) ในวันที่ 42 การทดลองเหล่านี้รวมผู้สูงอายุกว่า 60 ปี[65]

ในวันที่ 13 สิงหาคม สถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพแห่งอู่ฮั่นตีพิมพ์ผลการวิเคราะห์ในระหว่าง (interim) การทดลองระยะที่ 1 (ผู้ใหญ่ 96 คน) แลระยะที่ 2 (224 คน) รายงานนี้ได้ให้ข้อสังเกตว่า วัคซีนแบบไวรัสโควิด-19 ที่ฆ่าแล้วมีผลไม่พึงประสงค์ในอัตราต่ำ และแสดงว่าก่อปฏิกิริยาของระบบภูมิต้านทาน (immunogenicity) แต่ความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ก็ยังต้องประเมินด้วยการทดลองระยะที่ 3[66] วัคซีนนี้อาจมีคุณสมบัติหลาย ๆ อย่างที่สามารถให้แก่ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาได้ดี เช่น สามารถเก็บและขนส่งได้ด้วยตู้เย็นปกติ เทียบกับวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ เช่น วัคซีนของไฟเซอร์ ซึ่งแม้จะมีประสิทธิศักย์สูงกว่าคือเกินร้อยละ 90 แต่การแจกจำหน่ายก็เป็นปัญหาในบางประเทศ เพราะอาจต้องเก็บและขนส่งด้วยตู้แช่แข็งที่มีอุณหภูมิต่ำมาก[67] บริษัทไฟเซอร์และโมเดอร์นาเป็นผู้พัฒนาหนึ่ง ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีเอ็มอาร์เอ็นเออันใหม่เอี่ยม แต่ผู้ผลิตอื่น ๆ ก็มีประสบการณ์เป็นสิบ ๆ ปีกับเทคโนโลยีแบบไวรัสเชื้อตายเช่นของซิโนฟาร์ม[67]

การทดลองระยะที่ 3

แก้

แอฟริกาและเอเชีย

แก้

ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2020 ซิโนฟาร์มเริ่มทดลองวัคซีนในระยะที่ 3 กับอาสาสมัคร 31,000 คนในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์โดยร่วมมือกับบริษัท G42 Healthcare ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในเมืองอาบูดาบี[68] ในเดือนสิงหาคม อาสาสมัครทุกคนก็ได้รับวัคซีนโดสแรกแล้ว และจะได้รับโดสที่สองในอีกไม่กี่อาทิตย์ต่อมา[69] ในวันที่ 9 ธันวาคม กระทรวงสาธารณสุข (Ministry of Health and Prevention) ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ประกาศอนุญาตให้ใช้วัคซีนอย่างเป็นทางการ หลังจากผลการวิเคราะห์การทดลองระยะที่ 3 ในระหว่าง (interim) แสดงว่า วัคซีนมีประสิทธิศักย์ร้อยละ 86 ในการต้านโรค[52] วัคซีนมีอัตราสร้างแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ (sero-conversion, neutralizing antibodies) ที่ร้อยละ 99 และมีประสิทธิภาพเต็มร้อยในการป้องกันการเป็นโรคในระดับรุนแรงและปานกลาง[70] ในเดือนมิถุนายนปีต่อมา ซิโนฟาร์มเริ่มทำการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 กับเด็กและวัยรุ่นอายุระหว่าง 3-17 ปีโดยมีอาสาสมัคร 1,800 คนในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[71]

ในวันที่ 2 กันยายน 2020 บริษัทเริ่มทำการทดลองระยะที่ 3 กับอาสาสามัคร 600 คนในเมืองกาซาบล็องกาและราบัต (ทั้งสองในประเทศโมร็อกโก)[72][73] ในเดือนกันยายน ประเทศอียิปต์เริ่มการทดลองระยะที่ 3 ซึ่งจะดำเนินอยู่ปีหนึ่งและรับอาสาสมัคร 6,000 คน[74]

ในเดือนสิงหาคม 2020 ซิโนฟาร์มเริ่มทดลองวัคซีนระยะที่ 3 กับอาสาสมัคร 6,000 คนในประเทศบาห์เรน[75][76] จนถึงเดือนพฤศจิกายน ได้รับอาสาสมัครในการทดลองนี้แล้ว 7,700 คนโดยทั้งหมดได้วัคซีนโดสที่สองแล้ว[77] ในปลายเดือนสิงหาคม บริษัทก็ได้เริ่มการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในประเทศจอร์แดนกับอาสาสมัคร 500 คนด้วย[78][79]

อนึ่ง บริษัทยังทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยการาจีเพื่อทดสอบวัคซีนกับอาสาสมัคร 3,000 คน[80] ซึ่งถ้าสำเร็จ ปากีสถานจะได้รับวัคซีนต้น ๆ สำหรับประชาชนประมาณ 1/5 ของประเทศ[81] โดยในเดือนพฤศจิกายน รองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยได้แจ้งว่า วัคซีนจะมีใช้ในปากีสถานใน 6-8 สัปดาห์[80]

อเมริกาใต้

แก้

วันที่ 10 กันยายน ซิโนฟาร์มเริ่มทดลองวัคซีนระยะที่ 3 ในประเทศเปรูโดยมีแผนให้วัคซีนแก่คน 6,000 คนที่มีอายุระหว่าง 18-75 ปี[82] ในเดือนตุลาคม นักวิจัยประกาศว่าจะขยายการทดลองเพิ่มอาสาสมัครอีก 6,000 คน[83] ในวันที่ 12 ธันวาคม เปรูหยุดการทดลองวัคซีนชั่วคราวหลังจากมีอาสาสมัครคนหนึ่งอ่อนล้าที่ขาก่อนจะดำเนินการต่อในวันที่ 16[84] ในวันที่ 26 มกราคมปีต่อมา อาสาสมัครที่ได้รับยาหลอกคนหนึ่งในการทดลองได้เสียชีวิตจากปอดบวมเนื่องกับโควิด[85]

ในวันที่ 16 กันยายน 2020 ประเทศอาร์เจนตินาได้เริ่มการทดลองระยะที่ 3 กับอาสาสมัคร 3,000 คน[86]


การอนุมัติและสิทธิการได้ความช่วยเหลือจากโคแวกซ์
  อนุมัติอย่างสมบูรณ์
  อนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน
  ประเทศที่มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากโคแวกซ์[87]
ดูรายชื่อประเทศที่อนุมัติวัคซีนโควิด-19  [en]

การขึ้นทะเบียนในเบื้องต้น

แก้

ในเดือนกรกฎาคม 2020 วัคซีนนี้ได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉินในประเทศจีน[88] ในปลายเดือนธันวาคม จีนจึงได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้โดยทั่วไป[17]


ในต้นเดือนพฤศจิกายน บาห์เรนขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉินสำหรับบุคลากรด่านหน้า[77] ในกลางเดือนธันวาคม ก็ได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนของซิโนฟาร์ม โดยอ้างข้อมูลจากการทดลองระยะที่ 3 ซึ่งแสดงประสิทธิศักย์ในอัตราร้อยละ 86 ซึ่งบาห์เรนมีส่วนร่วมทดลอง[89]

ในต้นเดือนพฤษภาคม 2021 องค์การอนามัยโลกได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉินสำหรับโปรแกรมโคแวกซ์[30][31]

ในเดือนมิถุนายน ฟิลิปปินส์ได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[70]

กำหนดการส่งวัคซีนถึงไทย 11 ล้านโดส
(30 สิงหาคม 2021[40][42])
วัน จำนวน
(โดส)
รวม
(โดส)
รายเดือน
(โดส)
ส่งจริงรายเดือน
(โดส)
ส่งจริงรวม
(โดส)
20 มิ.ย. 1 ล้าน 1 ล้าน 1 ล้าน 1 ล้าน 1 ล้าน
4 ก.ค. 1 ล้าน 2 ล้าน
18 ก.ค. 1 ล้าน 3 ล้าน
25 ก.ค. 1 ล้าน 4 ล้าน 3 ล้าน 3 ล้าน 4 ล้าน
1 ส.ค. 1 ล้าน 5 ล้าน
15 ส.ค. 1 ล้าน 6 ล้าน
22 ส.ค. 2 ล้าน 8 ล้าน
29 ส.ค. 2 ล้าน 10 ล้าน 6 ล้าน 5 ล้าน 9 ล้าน
ก.ย. 2 ล้าน 11 ล้าน 2 ล้าน
การจัดสรรวัคซีน 10 ล้านโดส
(1 สิงหาคม 2021[40] )
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนคน จำนวนโดส หมายเหตุ
องค์กรนิติบุคคล 2,264,957 4,529,914 เริ่มฉีด 25 มิ.ย.
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1,965,944 3,931,888 เริ่มฉีด 28 ก.ค.
บุคคลธรรมดา 57,034 114,068 เริ่มฉีด 28 ก.ค.
ประชาชนผู้เปราะบาง
และผู้ด้อยโอกาส
175,523 351,047
รวมเป็นวัคซีนที่จัดสรรแล้ว 8.9 ล้าน
คงเหลือการจัดสรรอีก 1.1 ล้าน

ประเทศไทย

แก้

สำหรับประเทศไทย ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2021 คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัคซีนนี้เป็นการฉุกเฉินแล้ว[33][34] ในวันเดียวกัน เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์แจ้งว่า ราชวิทยาลัยจะเป็นผู้นำเข้าวัคซีนนี้ผ่านบริษัทไบโอจีนีเทค โดยเบื้องต้นจะนำเข้า 1 ล้านโดสในเดือนมิถุนายน มีราคาน่าจะไม่เกิน 1,000 บาทต่อโดส (ต้องฉีดสองโดส) ซึ่งรวมค่าประกันผลข้างเคียงแล้วและเป็นราคาไม่หวังกำไร เป็นวัคซีนทางเลือกที่มีค่าใช้จ่ายและไม่ซ้ำกับวัคซีนที่รัฐจัดฉีดให้แก่ประชาชนฟรี หน่วยงานต่าง ๆ สามารถซื้อต่อจากราชวิทยาลัยไปฉีดให้บุคคลเป้าหมายต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้ ราชวิทยาลัยได้เลือกวัคซีนนี้เหตุผลหนึ่งก็เพราะได้การรับรองจากองค์การอนามัยโลก จึงทำให้ อย. พิจารณาได้ง่าย[35][36]

ในวันที่ 14 มิถุนายน ราชวิทยาลัยได้เปิดให้องค์กร/หน่วยงานลงทะเบียนจองวัคซีน โดยมีราคาเข็มละ 888 บาท และรวมค่าขนส่ง ค่าเก็บรักษา กับการประกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากวัคซีนแล้ว[37] ต่อมาวันที่ 18 ราชวิทยาลัยจึงสรุปยอดว่ามีองค์กรทั้งหมด 17,071 องค์กรและรายชื่อผู้ฉีดวัคซีน 4,873,659 ราย โดยจะจัดสรรวัคซีนให้แก่ 5,199 องค์กร รวม 476,682 ราย ต่อมาวันที่ 23 ราชวิทยาลัยได้จัดสรรวัคซีนเพิ่มเติมให้แก่ 1,238 องค์กร รวม 302,618 ราย แล้วต่อมาวันที่ 25 จึงเริ่มฉีดวัคซีนพร้อมกันทั่วประเทศ[38]

ในวันที่ 9 กรกฎาคม ราชวิทยาลัยได้เปิดให้แพทย์ที่ยังไม่เคยรับวัคซีนป้องกันโควิดลงทะเบียนฉีดวัคซีนฟรี[90] ต่อมาวันที่ 18 ราชวิทยาลัยจึงได้เปิดให้บุคคลธรรมดาลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนนี้เป็นรอบแรกจำนวน 40,000 รายโดยมีค่าใช้จ่าย 1,554 บาทสำหรับ 2 โดสโดยรวมค่าประกันผลข้างเคียงแล้วแต่ไม่รวมค่าบริการของ รพ. ที่ฉีดให้[39][38] และได้เริ่มฉีดให้เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมทั่วประเทศ[40]

ในวันที่ 1 สิงหาคม ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เปิดเผยไทม์ไลน์การนำเข้าวัคซีน 10 ล้านโดสและแผนการจัดสรรและกระจายวัคซีน โดยมีใจความสำคัญรวมทั้ง[40]

  • สถาบันชีววัตถุแห่งกรุงปักกิ่ง (BIBP) เป็นผู้ผลิตวัคซีนซิโนฟาร์มที่ใช้ในประเทศไทย
  • ในการจัดสรร ราชวิทยาลัยพิจารณาความเร่งด่วนตามตามประเภทธุรกิจที่มีผลต่อการขับเคลื่อนประเทศ ระดับโอกาสความเสี่ยงในการแพร่เชื้อให้กับสังคม และระดับความเสี่ยงพื้นที่ของสถานประกอบการและที่พักอาศัย โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
    1. กลุ่มนิติบุคคล ซึ่งองค์กรเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้บุคคลต่าง ๆ ได้รับวัคซีนนี้ฟรี
    2. กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานราชการ ซึ่งองค์กรเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้ประชากรในพื้นที่ได้รับวัคซีนฟรี
    3. กลุ่มบุคคลธรรมดา
    4. กลุ่มประชาชนเปราะบางและผู้ด้อยโอกาส ซึ่งวัคซีนส่วนหนึ่งมาจากองค์กรที่ได้รับการจัดสรรวัคซีนระยะที่ 1 โดยร่วมบริจาคให้อย่างน้อย 10% ของจำนวนวัคซีนที่ได้ บวกกับที่ราชวิทยาลัยร่วมสมทบ “ครึ่งโดส” ต่อ 1 สิทธิ์การจองวัคซีนของบุคคลธรรมดา มีบุคคลที่จะได้วัคซีน 5 กลุ่มโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายคือ
      • ผู้พิการ
      • ผู้ด้อยโอกาส/ชุมชนแออัด
      • ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง/ผู้ป่วยเรื้อรัง
      • พระ/นักบวช
      • กลุ่มอาชีพต่าง ๆ ที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบนัดของวัคซีนหลักได้และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือแพร่เชื้อ
  • วัคซีนได้จัดสรรไปแล้ว 8.9 ล้านโดส คงเหลือการจัดสรรอีก 1.1 ล้านโดส
  • ราชวิทยาลัยมีแผนขยายฉีดวัคซีนให้แก่เด็กและวัยรุ่นอายุ 3-17 ปี โดยที่รัฐบาลจีนได้อนุมัติสำหรับเด็กกลุ่มนี้ไปแล้ว
  • เมื่อวัคซีนหลักและวัคซีนทางเลือกของประเทศเข้ามาเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 4 ราชวิทยาลัยจะลดการนำเข้าและจัดสรรวัคซีนนี้ลง
  • สำหรับการจัดสรรวัคซีนที่เหลือ 1.1 ล้านโดส ในเดือนสิงหาคม ราชวิทยาลัยจะเปิดให้บุคคลธรรมดาจองวัคซีนเพิ่มเติม และเปิดให้องค์กรนิติบุคคลลงทะเบียนเพื่อการจัดสรรวัคซีนระยะที่ 2 "โดยมีข้อกำหนดให้สำหรับองค์กรที่มีการยื่นขอเพื่อรับจัดสรรให้แก่พนักงานตั้งแต่ 100-2,000 คน"

ในวันที่ 4 สิงหาคม ราชวิทยาลัยได้เปิดให้บุคคลธรรมดาลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนนี้เป็นรอบที่ 2 จำนวน 75,000 ราย ค่าใช้จ่ายสำหรับวัคซีนสองโดสอยู่ที่ 1,554 บาทต่อคน (โดสละ 777 บาท) โดยราชวิทยาลัยจะบริจาคสมทบครึ่งโดสให้กับผู้ด้อยโอกาส[41] ในวันที่ 11 ต่อมา จึงได้เปิดให้บุคคลธรรมดาลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนนี้เป็นรอบที่ 3 จำนวน 100,000 รายโดยมีค่าใช้จ่ายเช่นกัน[91] ในวันที่ 27 ต่อมา กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า จะได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มปีนี้ทั้งหมด 11 ล้านโดส โดย 9 ล้านโดสจะส่งเสร็จสิ้นในเดือนสิงหาคม และอีก 2 ล้านโดสจะมาในเดือนต่อไป[42][43]

สังคมและวัฒนธรรม

แก้

เศรษฐกิจ

แก้

จนถึงเดือนพฤษภาคม 2021 บริษัทได้จัดส่งวัคซีนประมาณ 200 ล้านโดสแล้ว[29] ในเดือนกรกฎาคม กาวีได้สั่งจองให้ส่งวัคซีนแก่โครงการโคแวกซ์ 60 ล้านโดสในไตรมาสที่ 3 และอาจให้ส่งมากถึง 170 ล้านโดสในครึ่งแรกของปี 2022[92][32]

เอเชีย

แก้

ในต้นเดือนมิถุนายน อัฟกานิสถานได้รับวัคซีนบริจาค 700,000 โดสจากจีน[93]

ในเดือนกรกฎาคม อาร์มีเนียได้อนุมัติให้สั่งซื้อวัคซีน[94]

ในเดือนพฤษภาคม 2021 เพราะความเป็นห่วงเรื่องประสิทธิภาพ บาห์เรนมีแผนฉีดวัคซีนบูสต์เป็นโดสที่สามแก่กลุ่มเสี่ยงบางกลุ่ม[95]

ในเดือนเมษายน บังกลาเทศได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[96] จนถึงเดือนกรกฎาคม ก็ได้รับวัคซีนแล้ว 5.6 ล้านโดส จากที่จองซื้อ 15 ล้านโดสทั้งหมด[97]

ในเดือนกุมภาพันธ์ บรูไนได้รับวัคซีนที่จีนบริจาคให้เป็นล็อตแรก[98] ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[99]

ในเดือนกุมภาพันธ์ กัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[100] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในวันที่ 10 กุมภาพันธ์[101] จนถึงเดือนกรกฎาคม ก็ได้รับวัคซีน 5.2 ล้านโดสแล้ว[102]

จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2020 คนเกือบล้านคนในประเทศจีนก็ได้รับวัคซีนผ่านโปรแกรมให้ใช้เป็นการฉุกเฉินของจีน[7]

ในเดือนเมษายน อินโดนีเซียขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[103] ในเดือนพฤษภาคม จึงได้รับวัคซีนบริจาค 500,000 โดสจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[104] ในเดือนกรกฎาคม วัคซีน 7.5 ล้านโดสจากที่สั่งซื้อ 15 ล้านโดสได้มาถึงประเทศโดยจะใช้เป็นวัคซีนทางเลือก ที่บริษัทเอกชนสามารถซื้อวัคซีนเพื่อฉีดให้แก่พนักงานของบริษัทโดยไม่มีค่าใช้จ่าย[105]

ในเดือนกุมภาพันธ์ อิหร่านขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[106] ในกลางเดือนเมษายน ก็ได้รับวัคซีน 650,000 แล้วโดส โดย 400,000 โดสเป็นวัคซีนบริจาคจากสภากาชาดจีน[107]

ในเดือนมกราคม อิรักขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[108] ในต้นเดือนมีนาคม ก็ได้รับล็อตแรกเป็นวัคซีนบริจาคจากจีน โดยกระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่าจะสั่งซื้ออีก 2 ล้านโดส[109]

ในเดือนมกราคม 2021 จอร์แดนได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[110] จนถึงเดือนกรกฎาคม ประชาชน 1.37 ล้านคนได้รับวัคซีนโดสแรกและ 833,000 คนได้รับวัคซีนโดสที่สองแล้ว[111]

ในเดือนเมษายน 2021 คาซัคสถานได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[112] โดยได้สั่งจองวัคซีน 1 ล้านโดส[113]

ในเดือนมีนาคม 2021 ประเทศคีร์กีซสถานได้รับวัคซีนบริจาค 150,000 โดสจากจีน[114] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในปลายเดือน[115]

ในเดือนมกราคม 2021 ลาวได้เริ่มฉีดวัคซีนให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในกรุงเวียงจันทน์[116] แล้วได้รับวัคซีนอีก 300,000 โดสต้นเดือนกุมภาพันธ์[117]

ในเดือนเมษายน เลบานอนได้รับวัคซีนบริจาค 90,000 โดสจากจีน[118][119] หลังจากที่ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉินเมื่อต้นเดือนมีนาคม[120]

ในเดือนกุมภาพันธ์ มาเก๊าได้รับวัคซีน 100,000 โดสแรกจากที่สั่งไว้ 400,000 โดส[121]

ในเดือนมีนาคม มัลดีฟส์ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[122] และปลายเดือนมีนาคม ก็ได้รับวัคซีน 100,000 โดสจากที่ได้รับบริจาคทั้งหมด 200,000 โดสจากจีน[123]

จนถึงเดือนพฤษภาคม มองโกเลียได้รับวัคซีนแล้ว 4 ล้านโดส[124] โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับสูงที่ได้รับวัคซีนตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมแล้ว[125]

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 เนปาลได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[126] ในวันที่ 12 กรกฎาคม สำนักข่าวเอพีรายงานว่า จีนได้บริจาควัคซีนให้แล้ว 1.8 ล้านโดสและจะขายให้อีก 4 ล้านโดส[127]

ในเดือนมกราคม 2021 ปากีสถานขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[128] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในต้นเดือนกุมภาพันธ์[129] ประเทศได้ซื้อวัคซีนแล้วโดยอาจมากถึง 23 ล้านโดส[130] จนถึงเดือนกรกฎาคม ก็ได้รับแล้ว 6 ล้านโดสโดย 1 ล้านโดสเป็นวัคซีนบริจาคจากจีน[131]

ในเดือนมีนาคม 2021 ปาเลสไตน์ได้รับวัคซีน 100,000 โดสที่จีนบริจาคให้[132]

ในเดือนเมษายน 2021 ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ได้รับวัคซีนหลังจากที่องค์กรควบคุมอาหารและยาอนุมัติให้ใช้วัคซีนเป็นความกรุณา (compassionate use) จำนวน 10,000 โดสแก่ผู้รักษาความปลอดภัยของเขา[133]

ในเดือนกรกฎาคม 2021 สิงคโปร์เริ่มนำเข้าวัคซีนโดยเป็นวัคซีนทางเลือก (Special Access Route)[134]

ในเดือนเมษายน ซีเรียได้รับวัคซีน 150,000 โดสที่จีนบริจาคให้[135]

ในเดือนมีนาคม ศรีลังกาขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[136] ประเทศได้สั่งวัคซีน 14 ล้านโดสนอกเหนือจากที่ได้รับบริจาคจากจีนแล้ว 1.1 ล้านโดส[137]

ในเดือนเมษายน 2021 เติร์กเมนิสถานได้เริ่มฉีดวัคซีนนี้ให้แก่ครูและบุคลากรทางการแพทย์[138]

ในกลางเดือนกันยายน 2020 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็ได้อนุมัติให้ฉีดวัคซีนแก่เจ้าหน้าที่ด้านหน้าหลังจากได้ผลในระหว่างของการทดลองระยะที่ 3[68] หลังจากวิเคราะห์ผลการทดลองในระหว่าง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็ได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนนี้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม[52] ในวันที่ 14 ธันวาคม เมืองหลวงคืออาบูดาบีก็เริ่มให้วัคซีนนี้เป็นจำนวนมากแก่ประชาชนโดยให้สมัครใจเอง[139][140] ในเดือนมีนาคม 2021 คนจำนวนน้อยที่มีภูมิต้านทานอ่อนแอ มีโรคประจำตัว หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับวัคซีนบูสต์เป็นโดสที่สาม[141] ในเดือนพฤษภาคม เพราะความเป็นห่วงเรื่องประสิทธิภาพ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็ได้อนุญาตให้แก่ประชาชนที่ต้องการฉีดวัคซีนบูสต์เป็นโดสที่สามถ้าได้ฉีดวัคซีนครบเกิน 6 เดือนแล้ว[95]

ในเดือนมิถุนายน เวียดนามได้รับวัคซีนบริจาค 500,000 โดสจากจีน[142] แล้วต่อมาอนุมัติให้นำวัคซีนเข้า 5 ล้านโดส[143]

แอฟริกา

แก้

ในเดือนกุมภาพันธ์ แอลจีเรียได้รับวัคซีนบริจาค 200,000 โดสจากจีน[144]

ในเดือนมีนาคม แองโกลาได้รับวัคซีนบริจาค 200,000 โดสจากจีน[145]

ในเดือนเมษายน แคเมอรูนได้รับวัคซีนบริจาค 200,000 โดสจากจีน[146][147]

ในวันที่ 10 ธันวาคม วัคซีน BBIBP-CorV 50,000 โดสแรกได้ส่งมาถึงท่าอากาศยานนานาชาติไคโรตามรัฐมนตรีสาธารณสุข (Ministry of Health and Population) ของอียิปต์ บุคลากรทางการแพทย์ผู้ทำการใน รพ. ที่กักตัวคนไข้และคนไข้ที่มีปัญหาทางไต หัวใจ และโรคเรื้อรังเป็นบุคคลแรก ๆ ผู้จะได้วัคซีน[148] ภายในปลายเดือนธันวาคม อียิปต์จะได้วัคซีนทั้งหมด 500,000 โดส[149] ในเดือนมกราคม อียิปต์ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีน[150] แล้วสั่งจองวัคซีน 20 ล้านโดส โดย 1.5 ล้านโดสจะมาถึงภายในเดือนเมษายน[151] ประธานาธิบดีอียิปต์ประกาศว่าจะเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนเริ่มที่ปลายเดือนมกราคม[19]

ในเดือนมีนาคม เอธิโอเปียได้รับวัคซีนบริจาค 300,000 โดสจากจีน[152]

ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ อิเควทอเรียลกินีได้รับวัคซีนบริจาค 100,000 โดสจากจีน แล้วก็เริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนกลางเดือน[153]

ในเดือนมีนาคม กาบองได้รับวัคซีนบริจาค 100,000 โดสจากจีนโดยเป็นวัคซีนชนิดที่สองได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้ในประเทศ[154]

โมร็อกโกได้สั่งซื้อวัคซีน 40.5 ล้านโดส โดย 8.5 ล้านโดสได้ส่งแล้วภายในเดือนพฤษภาคม[155] และประเทศได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉินเมื่อปลายเดือนมกราคม[156]

ในเดือนมีนาคม มอริเตเนียได้รับวัคซีนบริจาค 50,000 โดสจากจีน[157] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในปลายเดือน[158]

ในเดือนเมษายน มอริเชียสได้รับวัคซีนบริจาค 100,000 โดสจากจีนแล้วสั่งเพิ่มอีก 500,000 โดส[159][160]

ในเดือนกุมภาพันธ์ โมซัมบิกได้รับวัคซีนบริจาค 200,000 โดสจากจีน[161] โดยจะเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในต้นเดือนมีนาคม[162]

ในเดือนมีนาคม นามิเบียได้รับวัคซีนบริจาค 100,000 โดสจากจีนแล้วประกาศการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนโดยเริ่มในเขตภูมิภาคบางเขตก่อน[163][164]

ในเดือนมีนาคม ไนเจอร์ได้รับวัคซีนบริจาค 400,000 โดสจากจีนแล้วเริ่มฉีดให้แก่ประชาชนในปลายเดือนมีนาคม[165]

ในเดือนกุมภาพันธ์ เซเนกัลได้รับวัคซีน 200,000 โดสที่ได้ซื้อ[166] แล้วเริ่มฉีดให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในปลายเดือน[167]

ในเดือนกุมภาพันธ์ เซียร์ราลีโอนได้รับวัคซีนบริจาค 200,000 โดสจากจีน[168] แล้วได้ขึ้นทะเบียนเป็นการฉุกเฉินและฉีดให้แก่ประชาชนในกลางเดือนมีนาคม[169]

ในเดือนมกราคม เซเชลส์เริ่มฉีดวัคซีน 50,000 โดสที่ได้รับบริจาคจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[170][171]

ในเดือนเมษายน โซมาเลียได้รับวัคซีนบริจาค 200,000 โดสจากจีน[172] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน[173][174]

ในเดือนมีนาคม ซูดานได้รับวัคซีนบริจาค 250,000 โดสจากจีน[175][176]

ในเดือนมีนาคม สาธารณรัฐคองโกได้รับวัคซีนบริจาค 100,000 โดสจากจีน ซึ่งจะจัดลำดับฉีดให้แก่ผู้เสี่ยงทางสุขภาพและผู้มีอายุเกิน 50 ปีก่อน[177]

ในเดือนกุมภาพันธ์ ซิมบับเวสั่งซื้อวัคซีน 600,000 โดสนอกเหนือจากที่ได้รับบริจาคจากจีน 200,000 โดส[178] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในกลางเดือนกุมภาพันธ์[21] ต่อมาจึงสั่งเพิ่มขึ้นอีก 1.2 ล้านโดส[179]

ยุโรป

แก้

ในเดือนกุมภาพันธ์ เบลารุสได้รับวัคซีนบริจาค 100,000 โดสจากจีน[180] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในกลางเดือนมีนาคม[27]

ในเดือนกรกฎาคม ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาได้สั่งวัคซีน 500,000 โดส[181]

ในเดือนพฤษภาคม ประเทศจอร์เจียได้เริ่มฉีดวัคซีนนี้ให้แก่ประชาชน[182] จนถึงเดือนกรกฎาคม ก็ได้รับวัคซีนแล้ว 1 ล้านโดส[183]

ในเดือนมกราคม ฮังการีก็เป็นประเทศสมาชิกแรกในสหภาพยุโรปที่ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้นี้ โดยสั่งจองวัคซีน 5 ล้านโดส[184] และนายกรัฐมนตรีฮังการีก็ได้เป็นผู้รับวัคซีนเป็นคนแรกเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์[185] 5.2 million doses were delivered to Hungary by May, fulfilling the contract.[186]

ในเดือนมีนาคม มอลโดวาได้รับวัคซีนบริจาค 2,000 โดสจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[187] ซึ่งจะใช้ฉีดให้แก่แพทย์เริ่มในปลายเดือน[188]

ในเดือนพฤษภาคม ประเทศมอนเตเนโกรได้รับวัคซีน 200,000 โดสซึ่งได้เริ่มฉีดให้แก่ประชาชนในต้นเดือน[189]

ในเดือนเมษายน ประเทศนอร์ทมาซิโดเนียได้รับวัคซีน 200,000 โดสแรกจากที่สั่งไว้ 800,000 โดส[190] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในต้นเดือนพฤษภาคม[191]

ในวันที่ 19 มกราคม เซอร์เบียได้เริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนโดยเป็นประเทศแรกในยุโรปที่ขึ้นทะเบียนวัคซีนนี้ จนถึงเดือนเมษายน ก็ได้รับวัคซีน 2.5 ล้านโดสแล้ว[192]

อเมริกาเหนือ

แก้

ในเดือนกุมภาพันธ์ สาธารณรัฐโดมินิกันได้สั่งซื้อวัคซีน 768,000 โดส[193]

ในเดือนมีนาคม ประเทศดอมินีกาได้รับวัคซีนบริจาค 20,000 โดสจากจีนแล้วก็เริ่มฉีดให้แก่ประชาชนตั้งแต่ต้นเดือน[194][195]

ในเดือนมีนาคม เม็กซิโกประกาศว่า จะสั่งวัคซีน 12 ล้านโดสหลังจากที่องค์กรของรัฐได้ขึ้นทะเบียนวัคซีน[196]

ในเดือนพฤษภาคม ประเทศตรินิแดดและโตเบโกได้รับวัคซีนบริจาค 100,000 โดสจากจีน ในเดือนกรกฎาคม จึงได้รับอีก 1 ล้านโดสที่สั่งซื้อ จึงรวมกันเป็น 1.1 ล้านโดส[197]

ในเดือนเมษายน ประเทศบาร์เบโดสประกาศว่า จะได้รับวัคซีนบริจาค 30,000 โดสจากจีน[198]

โอเชียเนีย

แก้

ในเดือนเมษายน หมู่เกาะโซโลมอนได้รับวัคซีนบริจาค 50,000 โดสจากจีน[199]

ในเดือนพฤษภาคม ประเทศปาปัวนิวกินีได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนนี้[200] ในต้นเดือนกรกฎาคม วัคซีนบริจาค 200,000 โดสจากจีนก็ได้มาถึงประเทศ[201]

อเมริกาใต้

แก้

ในเดือนกุมภาพันธ์ อาร์เจนตินาขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[202] แล้วขยายให้ใช้ในผู้มีอายุเกิน 60 ปีในปลายเดือนมีนาคม[22] จนถึงเดือนมิถุนายน วัคซีนได้มาถึงประเทศแล้ว 4 ล้านโดน โดยยังมีการสั่งเพิ่มอีก 6 ล้านโดส[203]

ในเดือนกุมภาพันธ์ โบลิเวียได้เริ่มฉีดวัคซีนนี้ให้แก่ประชาชน[24] ในเดือนมิถุนายน ก็ได้สั่งซื้อวัคซีนเพิ่มอีก 6 ล้านโดสนอกเหนือจาก 2.7 ล้านโดสที่ได้รับแล้ว[204]

ในเดือนมีนาคม กายอานาได้รับวัคซีนบริจาค 20,000 โดสจากจีน[205] แล้วต่อมาจึงสั่งซื้อเพิ่มอีก 100,000 โดส โดยได้เริ่มฉีดให้แก่ผู้สูงอายุและบุคลากรทางการแพทย์[206]

ในเดือนมกราคม เปรูสั่งซื้อวัคซีน 38 ล้านโดส[207] ขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉินในปลายเดือน[208] แล้วเริ่มฉีดให้แก่ประชาชนเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์[23]

ในเดือนมีนาคม เวเนซุเอลาได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[209] แล้วได้รับวัคซีนบริจาคจากจีนเป็นจำนวน 500,000 โดสในวันที่ 2 เดือนเดียวกัน[210]

ประเด็นขัดแย้ง

แก้

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 มีการเปิดเผยว่า ประธานาธิบดีคนก่อนของเปรูและนักการเมืองอาวุโสอื่น ๆ ได้รับวัคซีนในเดือนพฤศจิกายน 2020 ก่อนที่วัคซีนจะให้ฉีดแก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไป เป็นวัคซีนเหลือจากการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในกรุงลิมากับอาสาสมัคร 12,000 คน[211][212]

ในเดือนพฤษภาคม 2021 ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ โรดรีโก ดูแตร์เตขอโทษประชาชนเพราะได้รับวัคซีนนี้ในขณะที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน ต่อมาเขาจึงระบุว่า จีนควรจะส่งแต่วัคซีนของซิโนแวค ซึ่งเป็นวัคซีนที่ได้นอุมัติแล้ว เขาระบุว่าเขาได้วัคซีนโดยอาศัยมาตราย่อยให้ใช้เพื่อความการุณย์ตามกฎหมาย โดยแพทย์เป็นผู้แนะนำให้ฉีด[213] ต่อมาในเดือนมิถุนายน ประเทศจึงได้ขึ้นทะเบียนวัคซีน[70]

เชิงอรรถ

แก้
  1. การศึกษาแบบ test-negative design หมายถึงงานศึกษาที่จัดอาสาสมัครผู้มีอาการติดโรคเช่นเดียวกันเข้าในกลุ่มติดโรค (case) และกลุ่มควบคุม (control) โดยใช้ผลตรวจจากแหล็บ (ว่าได้ติดโรคจริง ๆ หรือไม่) เป็นเกณฑ์การจัดเข้ากลุ่ม ตัวอย่างคือ การรับอาสาสมัครคนไข้ที่มีอาการไข้หวัดใหญ่ แล้วซักประวัติคนไข้และประวัติการฉีดวัคซีน เก็บตัวอย่างจากคนไข้เพื่อไปตรวจ แล้วจึงประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนไข้หวัดใหญ่โดยเปรียบเทียบการฉีดวัคซีนของคนไข้ที่ตรวจพบว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ (ได้ผลบวก) หรือตรวจไม่พบ (ได้ผลลบ) ดังนั้น การรับอาสาสมัครเข้าเป็นกลุ่มควบคุมจึงต่างกับงานศึกษามีกลุ่มควบคุม (case-control study) ธรรมดา[45]

อ้างอิง

แก้
  1. "Covax Facility" (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). Federal government of Brazil. Brazilian Health Regulatory Agency. 25 June 2021. สืบค้นเมื่อ 20 November 2021.
  2. 2.0 2.1 "The Sinopharm COVID-19 vaccine: What you need to know". World Health Organization. 2021-05-10. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
  3. Nguyen, Sen (2021-06-05). "Coronavirus: Vietnam approves Sinopharm's vaccine, but will people take it?". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
  4. Lahiri, Tripti; Li, Jane (2021-06-16). "What we now know about the efficacy of China's Covid-19 vaccines". Quartz. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
  5. "WHO lists additional COVID-19 vaccine for emergency use and issues interim policy recommendations". World Health Organization. 2021-05-07. สืบค้นเมื่อ 2021-07-03.
  6. "WHO lists additional COVID-19 vaccine for emergency use and issues interim policy recommendations". World Health Organization. 2021-05-07. สืบค้นเมื่อ 2021-07-03.
  7. 7.0 7.1 Reuters Staff (2020-11-19). "China Sinopharm's coronavirus vaccine taken by about a million people in emergency use". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
  8. 8.0 8.1 Corum, Jonathan; Zimmer, Carl (2021-04-26). "How the Sinopharm Vaccine Works". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-04-29.
  9. "WHO lists additional COVID-19 vaccine for emergency use and issues interim policy recommendations". World Health Organization. 2021-05-07. สืบค้นเมื่อ 2021-06-13. The Sinopharm product is an inactivated vaccine called SARS-CoV-2 Vaccine (Vero Cell).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. Chen, W; Al Kaabi, N (2020-07-18). "A Phase III clinical trial for inactivated novel coronavirus pneumonia (COVID-19) vaccine (Vero cells)". Chinese Clinical Trial Registry. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-11. สืบค้นเมื่อ 2021-06-13.
  11. Yang, Y. "A Study to Evaluate The Efficacy, Safety and Immunogenicity of Inactivated SARS-CoV-2 Vaccines (Vero Cell) in Healthy Population Aged 18 Years Old and Above". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-13.
  12. "Sinovac's Coronavac™, SARS-CoV-2 Vaccine (Vero Cell), Inactivated, Announces Approval for Phase I/II Clinical Trial in Adolescents and Children" (Press release). Beijing: Bloomberg. Business Wire. 2020-09-23. สืบค้นเมื่อ 2021-06-13.
  13. "A Multi-center, Randomized, Double-blind, Placebo-controlled Phase II/III Clinical Trial to Evaluate the Safety and Immunogenicity of a SARS-CoV-2 Inactivated (Vero Cell) Vaccine in the Elderly 60-80 Years of Age, Coronovac ENCOV19 Study". registry.healthresearch.ph. Philippine Health Research Registry. สืบค้นเมื่อ 2021-06-13.
  14. 14.0 14.1 Kaabi, Nawal Al; Zhang, Yuntao; Xia, Shengli; และคณะ (2021-05-26). "Effect of 2 Inactivated SARS-CoV-2 Vaccines on Symptomatic COVID-19 Infection in Adults: A Randomized Clinical Trial". JAMA (ภาษาอังกฤษ). 326 (1): 35–45. doi:10.1001/jama.2021.8565. PMC 8156175. PMID 34037666.
  15. "UAE: Ministry of Health announces 86 per cent vaccine efficacy". gulfnews.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-13.
  16. "China State-Backed Covid Vaccine Has 86% Efficacy, UAE Says". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
  17. 17.0 17.1 Liu, R (2020-12-31). "China gives its first COVID-19 vaccine approval to Sinopharm". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2020-12-31.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. Turak, Natasha (2021-01-18). "The UAE is on track to have half its population vaccinated by the end of March". CNBC. สืบค้นเมื่อ 2021-01-21.
  19. 19.0 19.1 Reuters Staff (2021-01-24). "Sisi says Egypt to begin COVID-19 vaccinations on Sunday". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-01-24.
  20. Dumpis, Toms (2021-01-27). "Morocco Receives Half a Million Doses of Chinese Sinopharm Vaccine". Morocco World News. สืบค้นเมื่อ 2021-01-28.
  21. 21.0 21.1 "Zimbabwe starts administering China's Sinopharm vaccines". thestar.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-02-18. สืบค้นเมื่อ 2021-02-20.
  22. 22.0 22.1 "Argentina autoriza la vacuna china Sinopharm para mayores de 60 años". El Comercio. สืบค้นเมื่อ 2021-03-26.
  23. 23.0 23.1 Aquino, Marco (2021-02-10). "'The best shield': Peru launches inoculation drive with Sinopharm vaccine". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
  24. 24.0 24.1 "Bolivia begins inoculation with Sinopharm jabs | The Star". www.thestar.com.my. สืบค้นเมื่อ 2021-02-28.
  25. "Serbia Becomes First European Nation To Use China's Sinopharm Vaccine". RadioFreeEurope/RadioLiberty. สืบค้นเมื่อ 2021-01-21.
  26. "Hungary first EU nation to use China's Sinopharm vaccine against COVID". euronews (ภาษาอังกฤษ). 2021-02-24. สืบค้นเมื่อ 2021-02-26.
  27. 27.0 27.1 "Belarus begins COVID-19 vaccinations with Chinese shots". eng.belta.by (ภาษาอังกฤษ). 2021-03-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-18. สืบค้นเมื่อ 2021-03-16.
  28. "Which companies will likely produce the most COVID-19 vaccine in 2021?". Pharmaceutical Processing World (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-02-05. สืบค้นเมื่อ 2021-02-28.
  29. 29.0 29.1 "WHO approves Sinopharm vaccine in potential boost to COVAX pipeline". Reuters. 2021-05-07. สืบค้นเมื่อ 2021-05-14.
  30. 30.0 30.1 "WHO lists additional COVID-19 vaccine for emergency use and issues interim policy recommendations" (Press release). World Health Organization (WHO). 2021-05-07. สืบค้นเมื่อ 2021-05-07.
  31. 31.0 31.1 Taylor, Adam (2021-05-07). "WHO grants emergency use authorization for Chinese-made Sinopharm coronavirus vaccine". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2021-05-07.
  32. 32.0 32.1 "Chinese drugmakers agree to supply more than half a billion vaccines to COVAX". Reuters. 2021-07-12. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
  33. 33.0 33.1 "อย. อนุมัติทะเบียนวัคซีน COVILO (BIBP) ของ Sinopharm ที่นำเข้าโดย บริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด แล้ววันนี้ โดยวัคซีนนี้เป็นแบบชนิดเชื้อตาย กำหนดให้ใช้ 2 เข็มห่างกัน 21-28 วัน". สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2021-05-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-28. สืบค้นเมื่อ 2021-05-28.
  34. 34.0 34.1 "อย. อนุมัติขึ้นทะเบียน "วัคซีนซิโนฟาร์ม" ใช้ในภาวะฉุกเฉิน แล้ว". สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2021-05-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-28. สืบค้นเมื่อ 2021-08-28.
  35. 35.0 35.1 "สรุปข้อสงสัย วัคซีนซิโนฟาร์ม ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มาเมื่อไร - คาดราคาไม่เกิน 1 พัน". kapook. 2021-05-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-28.
  36. 36.0 36.1 "#วัคซีน #ซิโนฟาร์ม เบื้องต้นราคาเข็มละไม่เกิน 1,000 บาท รวมประกันและขนส่ง". tnamcot. 2021-05-28.
  37. 37.0 37.1 "ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดลงทะเบียนจองวัคซีน "ซิโนฟาร์ม" วันแรก!". ประชาชาติธุรกิจ. 2021-06-14.
  38. 38.0 38.1 38.2 38.3 "โควิด-19 : ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เริ่มฉีด "วัคซีนพระราชทาน" พร้อมเปิดวิธีลงทะเบียนจองซิโนฟาร์ม". BBC News ไทย. 2021-06-25.
  39. 39.0 39.1 "ลงทะเบียนฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม รอบประชาชนทั่วไป เริ่ม 18 ก.ค." ประชาชาติธุรกิจ. 2021-07-18.
  40. 40.0 40.1 40.2 40.3 40.4 "เปิดไทม์ไลน์ "วัคซีนซิโนฟาร์ม" 10 ล้านโดสนำเข้าไทย และแผนการจัดสรรและกระจายวัคซีนซิโนฟาร์มของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์". โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์. 2021-08-01.
  41. 41.0 41.1 "ลงทะเบียนจองฉีดซิโนฟาร์ม บุคคลธรรมดา วันนี้ (4 ส.ค.) ใครมีสิทธิ์บ้าง ?". ประชาชาติธุรกิจ. 2021-08-04.
  42. 42.0 42.1 42.2 "เปิดแผนจัดหาวัคซีน 140 ล้านโดสภายในสิ้นปี ยี่ห้อไหน ส่งมอบเมื่อไหร่". ประชาชาติธุรกิจ. 2021-08-27.
  43. 43.0 43.1 "โควิด-19 : สธ. เปิดกลยุทธ์ 5 เดือน สู่การ "ใช้ชีวิตแนวใหม่อย่างปลอดภัย" เผยจัดหาวัคซีนได้ 124 ล้านโดสในสิ้นปีนี้". BBC News ไทย. 2021-08-28.
  44. Interim recommendations for use of the inactivated COVID-19 vaccine BIBP developed by China National Biotec Group (CNBG), Sinopharm (Guidance). World Health Organization. 2021-05-07. WHO/2019-nCoV/vaccines/SAGE_recommendation/BIBP/2021.1.
  45. Chua, Huiying; Feng, Shuo; Lewnard, Joseph A.; Sullivan, Sheena G.; Blyth, Christopher C.; Lipsitch, Marc; Cowling, Benjamin J. (2020). "The Use of Test-negative Controls to Monitor Vaccine Effectiveness". Epidemiology. 31 (1): 43–64. doi:10.1097/EDE.0000000000001116. ISSN 1044-3983.
  46. 46.0 46.1 Evidence Assessment: Sinopharm/BBIBP COVID-19 vaccine (PDF) (Presentation). World Health Organization. 2021-04-29. สืบค้นเมื่อ 2021-07-10.
  47. Nebehay, Stephanie (2021-05-05). "WHO experts voice "very low confidence" in some Sinopharm COVID-19 vaccine data". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-05-18.
  48. "Coronavirus: Sinopharm vaccine more than 90 per cent effective at preventing hospitalisation, Abu Dhabi study says". The National (ภาษาอังกฤษ). 2021-04-19. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21.
  49. "Ministros de Salud de todo el país consensuaron redoblar esfuerzos para completar los esquemas de vacunación en mayores de 40 años" [Health ministers from all over the country agreed to redouble their efforts to complete vaccination schedules in people over 40 years of age] (ภาษาสเปน). Government of Argentina. Ministry of Health (Argentina). 2021-07-01. สืบค้นเมื่อ 2021-07-12.
  50. Acosta, Sebastián (2021-07-22). "INS: Vacuna de Sinopharm tiene efectividad de hasta 94% para reducir muerte por COVID-19". RPP (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2021-07-25.
  51. Ferenci, Tamás; Sarkadi, Balázs (2021-07-29). "Virus neutralizing antibody responses after two doses of BBIBP-CorV (Sinopharm, Beijing CNBG) vaccine". medRxiv (Preprint). doi:10.1101/2021.07.15.21260362. ISSN 2126-0362.
  52. 52.0 52.1 52.2 Reuters Staff (2020-12-09). "UAE says Sinopharm vaccine has 86% efficacy against COVID-19". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
  53. 53.0 53.1 Liu, Roxanne (2021-02-03). "Sinopharm's COVID-19 vaccine remained active against S.Africa variant, effect reduced - lab study". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-29.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  54. Huang, Baoying; Dai, Lianpan; Wang, Hui; Hu, Zhongyu; Yang, Xiaoming; Tan, Wenjie; Gao, George F. (2021-02-02). "Neutralization of SARS-CoV-2 VOC 501Y.V2 by human antisera elicited by both inactivated BBIBP-CorV and recombinant dimeric RBD ZF2001 vaccines". bioRxiv (ภาษาอังกฤษ): 2021.02.01.429069. doi:10.1101/2021.02.01.429069. S2CID 231834094.
  55. "Tests in Sri Lanka find Sinopharm vaccine very effective". Colombo Gazette (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-07-20. สืบค้นเมื่อ 2021-07-21.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  56. Jeewandara, Chandima; Aberathna, Inoka Sepali; Pushpakumara, Pradeep Dharshana; Kamaladasa, Achala; Guruge, Dinuka; Jayathilaka, Deshni; Gunesekara, Banuri; Tanussiya, Shyrar; Kuruppu, Heshan; Ranasinghe, Thushali; Dayarathne, Shashika (2021-07-19). "Antibody and T cell responses to Sinopharm/BBIBP-CorV in naive and previously infected individuals in Sri Lanka". medRxiv (ภาษาอังกฤษ): 2021.07.15.21260621. doi:10.1101/2021.07.15.21260621. ISSN 2126-0621.
  57. "Sinopharm vaccine effective against coronavirus Delta variant, study finds". The National. 2021-07-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-26.
  58. Wang, H; Zhang, Y; Huang, B; Deng, W; Quan, Y; Wang, W; และคณะ (2020-08-06). "Development of an Inactivated Vaccine Candidate, BBIBP-CorV, with Potent Protection against SARS-CoV-2". Cell. 182 (3): 713–721. doi:10.1016/j.cell.2020.06.008. ISSN 0092-8674. PMC 7275151. PMID 32778225. We therefore chose the HB02 strain for the further development of the inactivated SARS-CoV-2 vaccine (BBIBP-CorV).
  59. Liu, R (2020-10-20). "Sinopharm says may be able to make over one billion coronavirus vaccine doses in 2021". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-20.
  60. "Chinese COVID-19 vaccine effective: Egypt's MoH". EgyptToday. 2020-12-13. สืบค้นเมื่อ 2020-12-15.
  61. "Sinopharm Covid-19 shot dubbed Hayat Vax for local rollout after UAE-China deal". Arabian Business.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  62. "Serbia to produce 24 mln doses of China's Sinopharm vaccine annually - deputy PM". seenews.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-17.
  63. "Bangladesh OKs local production of Chinese, Russian vaccines". www.aa.com.tr. สืบค้นเมื่อ 2021-04-29.
  64. "Morocco's Sothema to produce China's Sinopharm vaccine". Reuters. 2021-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-07-06.
  65. 65.0 65.1 Xia, S; Zhang, Y; Wang, Y; Wang, H; Yang, Y; Gao, GF; และคณะ (October 2020). "Safety and immunogenicity of an inactivated SARS-CoV-2 vaccine, BBIBP-CorV: a randomised, double-blind, placebo-controlled, phase 1/2 trial". The Lancet. Infectious Diseases. doi:10.1016/s1473-3099(20)30831-8. PMID 33069281.
  66. 66.0 66.1 Xia, S; Duan, K; Zhang, Y; Zhao, D; Zhang, H; Xie, Z; และคณะ (September 2020). "Effect of an Inactivated Vaccine Against SARS-CoV-2 on Safety and Immunogenicity Outcomes: Interim Analysis of 2 Randomized Clinical Trials". Jama. 324 (10): 951–960. doi:10.1001/jama.2020.15543. PMID 32789505.
  67. 67.0 67.1 "China State-Backed Covid Vaccine Has 86% Efficacy, UAE Says". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
  68. 68.0 68.1 Maxwell, C. "Coronavirus: UAE authorises emergency use of vaccine for frontline workers" (ภาษาอังกฤษ). The National. สืบค้นเมื่อ 2020-09-14.
  69. "Coronavirus: 15,000 register as volunteers for Covid-19 vaccine trial in UAE". The National (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-13. สืบค้นเมื่อ 2020-08-15.
  70. 70.0 70.1 70.2 Aguilar, Krissy (2021-06-07). "PH approves Sinopharm COVID-19 vaccine for emergency use". Philippine Daily Inquirer.
  71. "Immuno-bridging Study of Inactivated SARS-CoV-2 Vaccine in Healthy Population Aged 3-17 vs Aged 18 Years Old and Above (COVID-19)". clinicaltrials.gov. United States National Library of Medicine. 2021-06-04. สืบค้นเมื่อ 2021-06-09.{{cite journal}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  72. "Morocco orders R-Pharm Covid-19 vaccine | The North Africa Post". northafricapost.com. สืบค้นเมื่อ 2020-10-07.
  73. "Chinese Clinical Trial Register (ChiCTR) - The world health organization international clinical trials registered organization registered platform". www.chictr.org.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-31. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
  74. "Egypt to start receiving volunteers for COVID-19 vaccine trials". Egypt Independent (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-09-12. สืบค้นเมื่อ 2020-09-21.
  75. "Bahrain starts Phase III trial of Sinopharm's Covid-19 vaccine". Clinical Trials Arena. 2020-08-24.
  76. Manama, TD. "Vaccine trial continues | THE DAILY TRIBUNE | KINGDOM OF BAHRAIN". DT News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-10-22.
  77. 77.0 77.1 Barrington, L (2020-11-03). "Bahrain allows Sinopharm COVID-19 vaccine candidate use in frontline workers". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2020-11-03.
  78. Liu, R (2020-09-05). "China's CNBG, Sinovac find more countries to test coronavirus vaccines". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-06.
  79. "Jordan starts phase 3 trial of China's COVID-19 vaccine". Jordan Times (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-30. สืบค้นเมื่อ 2020-10-22.
  80. 80.0 80.1 "Coronavirus vaccine should be available in Pakistan 'within 6-8 weeks'". www.geo.tv (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-11-14.
  81. "China to supply potential coronavirus vaccine to Pakistan: WSJ report". Dawn (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-14. สืบค้นเมื่อ 2020-08-15.
  82. "Third Phase of Human Trials for Coronavirus Vaccine Underway in Peru | Voice of America - English". www.voanews.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-11.
  83. "6,000 additional volunteers required for trials of Sinopharm's COVID-19 vaccine" (ภาษาสเปน). Andina. สืบค้นเมื่อ 2020-10-17.
  84. "Peru says China's Sinopharm may resume coronavirus vaccine trial after volunteer's illness". Reuters. 2020-12-16. สืบค้นเมื่อ 2020-12-17.
  85. Aquino, Marco (2021-01-27). "Peru volunteer in Sinopharm vaccine trial dies of COVID-19 pneumonia, university says". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-01-27.
  86. "Clinical Trial to Evaluate the Efficacy, Immunogenicity and Safety of the Inactivated SARS-CoV-2 Vaccine (COVID-19) - Full Text View - ClinicalTrials.gov". clinicaltrials.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-28.
  87. "Status of COVID-19 Vaccines within WHO EUL/PQ evaluation process". World Health Organization (WHO).
  88. "Sinovac's coronavirus vaccine candidate approved for emergency use in China - source". Reuters. 2020-08-29. สืบค้นเมื่อ 2020-08-30.
  89. "Bahrain approves Chinese COVID-19 vaccine for use". ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-13.
  90. "ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดทางหมอลงทะเบียนฉีดซิโนฟาร์มฟรี". ประชาชาติธุรกิจ. 2021-07-09.
  91. "เช็กด่วน! เงื่อนไขการจอง "ซิโนฟาร์ม" รอบที่ 3 วันพุธ 11 ส.ค.นี้". sanook. 2021-08-09.
  92. "Gavi signs agreements with Sinopharm and Sinovac for immediate supply to COVAX". www.gavi.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
  93. "Afghanistan gets 700,000 doses of a Chinese vaccine amid a Covid surge overwhelming Kabul". The New York Times. 2021-06-10.
  94. "Armenia to buy Sinopharm and Pfizer Covid-19 vaccines". arka.am. สืบค้นเมื่อ 2021-07-29.
  95. 95.0 95.1 Nair, Adveith (2021-05-18). "UAE, Bahrain Plan Sinopharm Booster Shots Amid Efficacy Concerns". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2021-05-26.
  96. Paul, Ruma (2021-04-29). "Bangladesh approves China's Sinopharm vaccine". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-29.
  97. "3 million more doses of Sinopharm Covid-19 vaccine to arrive on Thursday". Dhaka Tribune. 2021-07-29. สืบค้นเมื่อ 2021-07-29.
  98. "Vaccine donation from China arrives | The Star". www.thestar.com.my. สืบค้นเมื่อ 2021-02-12.
  99. "COVID-19: Brunei to begin mass vaccination on April 3". The Scoop (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-04-02. สืบค้นเมื่อ 2021-04-03.
  100. "Health Ministry grants Emergency Use Authorization to China's Sinopharm vaccine". Khmer Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-02-04. สืบค้นเมื่อ 2021-02-04.
  101. "Lt Gen Manet first to be inoculated today with the Sinopharm vaccine". Khmer Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-02-09. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
  102. "Cambodia calls for 21-day interval between first and second doses for Sinopharm and Sinovac Covid-19 vaccines - Khmer Times" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-07-14. สืบค้นเมื่อ 2021-07-30.
  103. "Indonesia approves Sinopharm vaccine for private COVID-19 inoculation scheme". CNA (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-30. สืบค้นเมื่อ 2021-05-01.
  104. "INDONESIA RECEIVES GIFT OF 500.000 DOSES OF COVID-19 VACCINES FROM THE UNITED ARAB EMIRATES". Ministry of Foreign Affairs Republic of Indonesia. 2021-05-01.
  105. antaranews.com. "1.5 million doses of Sinopharm vaccine arrive in Indonesia". Antara News. สืบค้นเมื่อ 2021-07-30.
  106. "Iran Launches Phase Two of Mass Inoculation Campaign". Financial Tribune (ภาษาอังกฤษ). 2021-02-22. สืบค้นเมื่อ 2021-02-23.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  107. "400k doses of Sinopharm COVID-19 vaccine arrives in Iran: Official". IRNA English (ภาษาอังกฤษ). 2021-04-15. สืบค้นเมื่อ 2021-04-15.
  108. Jangiz, Khazan. "Iraq approves the emergency use of two more COVID-19 vaccines". www.rudaw.net. สืบค้นเมื่อ 2021-01-21.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  109. "Iraq receives first Covid vaccines, gift from China". France 24. 2021-03-03.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  110. "Jordan approves China's Sinopharm Covid vaccine". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2021-01-09. สืบค้นเมื่อ 2021-03-07.
  111. "Sinopharm is most used vaccine in Jordan, Pfizer most coveted: study". en.royanews.tv (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-06. สืบค้นเมื่อ 2021-07-06.
  112. Satubaldina, Assel (2021-04-30). "Three Vaccines to Become Available to Kazakh Citizens". The Astana Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-01.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  113. "Kazakhstan rolls out its own COVID-19 vaccine". Reuters. 2021-04-27. สืบค้นเมื่อ 2021-05-01.
  114. KHARIZOV, Ruslan (2021-03-19). "150,000 doses of Sinopharm coronavirus vaccine delivered to Kyrgyzstan". 24.kg (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-03-20.
  115. "Kyrgyz health minister is vaccinated as rollout begins". Информационное Агентство Кабар (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  116. Thanabouasy, Phayboune (2021-01-27). "Laos Begins Vaccinations for Over 600 Medical Workers". Laotian Times. สืบค้นเมื่อ 2021-01-27.
  117. Limited, Bangkok Post Public Company. "Laos receives 300,000 vaccine doses from China". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
  118. "90,000 Sinopharm vaccines will join a trend in inoculations distributed outside the national vaccination plan". L'Orient Today. 2021-04-06. สืบค้นเมื่อ 2021-04-07.
  119. "UAE sends Syria aid to help it fight spread of coronavirus". The Independent. 2021-07-08.
  120. Naharnet Newsdesk (2021-03-02). "Lebanon Authorizes Use of Chinese Vaccine Sinopharm". Naharnet. สืบค้นเมื่อ 2021-03-07.
  121. "First Sinopharm Covid-19 vaccines to arrive today". Macau Business (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-02-06. สืบค้นเมื่อ 2021-02-07.
  122. "MFDA approves Pfizer, Sinopharm Covid-19 vaccines for emergency use". raajje.mv (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-15.
  123. "Maldives receives shipment of 100,000 Chinese Sinopharm doses". raajje.mv (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-25.
  124. Stevenson, Alexandra (2021-05-20). "Countries Are Scrambling for Vaccines. Mongolia Has Plenty". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-05-25.
  125. "Deputy PM and City Governor get the first dose of Sinopharm vaccine". MONTSAME News Agency (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 2021-03-15.
  126. "China's Shinopharm vaccine gets emergency use authorisation in Nepal". kathmandupost.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-19.
  127. "US doses arrive as Nepal struggles to vaccinate population". AP News. 2021-07-12.
  128. Shahzad, Asif (2021-01-19). "Pakistan approves Chinese Sinopharm COVID-19 vaccine for emergency use". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-01-21.
  129. Dawn.com (2021-02-02). "PM Imran kicks off Pakistan's Covid-19 vaccination drive". DAWN.COM (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-03.
  130. "Pakistan to receive 5m doses of Sinovac on July 5". Daily Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-07-03. สืบค้นเมื่อ 2021-07-03.
  131. "Over 20 million doses of Covid-19 vaccines transported from China to Pakistan". Daily Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-07-07. สืบค้นเมื่อ 2021-07-07.
  132. "Palestinians receive 100,000 Sinopharm COVID-19 vaccines donated by China". Al Arabiya English (ภาษาอังกฤษ). 2021-03-29. สืบค้นเมื่อ 2021-03-29.
  133. hermesauto (2021-05-03). "Philippines' Duterte receives first Sinopharm dose to encourage vaccine take-up". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-03.
  134. "11 Singapore private healthcare providers allowed to bring in Sinopharm COVID-19 vaccine". CNA (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-30. สืบค้นเมื่อ 2021-07-30.
  135. Reuters Staff (2021-04-24). "Syria gets donation of 150,000 COVID shots from China". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-24.
  136. "NMRA approves sinopharm vaccine for emergency use". Colombo Gazette (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-03-19. สืบค้นเมื่อ 2021-03-20.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  137. "The Latest: Sri Lanka gets 2nd vaccine donation from China". ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-28.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  138. "В Туркменистане от COVID бесплатно прививают китайской вакциной, российский "Спутник" можно купить". Радио Азатлык (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 2021-05-09.
  139. "Abu Dhabi starts COVID-19 vaccinations". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-14. สืบค้นเมื่อ 2020-12-17.
  140. Kumar, A (2020-12-12). "UAE Covid-19 vaccine: Private hospitals start giving the jab". Khaleej Times. สืบค้นเมื่อ 2020-12-19.
  141. Sircar, Nandini. "UAE Covid vaccine: Third dose to help those with weak immunity". Khaleej Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.
  142. "Vietnam receives 500,000 Sinopharm COVID-19 vaccine doses donation from China". CNA (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-20. สืบค้นเมื่อ 2021-06-22.
  143. "Vietnam licenses firm to import 5 mln doses of Sinopharm vaccine". Reuters. 2021-07-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-10.
  144. Presse, AFP-Agence France. "Algeria Receives 200,000 Coronavirus Jabs From China". www.barrons.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-02-26.
  145. "Angola recebeu doação chinesa de 200 mil doses de vacinas Sinopharm". Notícias ao Minuto (ภาษาโปรตุเกส). 2021-03-25. สืบค้นเมื่อ 2021-03-29.
  146. Kouagheu, Josiane (2021-04-11). "Cameroon receives 200,000 doses of Sinopharm COVID-19 vaccine". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-11.
  147. "Cameroon receives 200,000 doses of COVID-19 vaccines from China". Milken Institute. 2021-04-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-05. สืบค้นเมื่อ 2021-08-06.
  148. "Egypt Receives First 50,000 Batch of Chinese COVID-19 Vaccine". Egyptian Streets (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-12-11. สืบค้นเมื่อ 2020-12-11.
  149. "Egypt to obtain 0.5 M COVID-19 doses by end of December: Cabinet Spox". EgyptToday. 2020-12-17. สืบค้นเมื่อ 2020-12-17.
  150. "Egypt approves Chinese COVID vaccine, roll-out likely this month". www.aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ 2021-01-03.
  151. "Egypt to purchase 20 million doses of Sinopharm vaccine". Egypt Independent (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21.
  152. "Ethiopia gets 300,000 virus vaccine doses from China". www.aa.com.tr. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
  153. "Equatorial Guinea President receives 1st dose of Chinese COVID-19 vaccine". dailynewsegypt.com. สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  154. "Gabon receives 100,000 doses of Sinopharm's vaccine from China". Gabon 24 (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-03-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-19. สืบค้นเมื่อ 2021-03-13.
  155. "COVID-19: Morocco receives new batch of over 2 million Sinopharm doses | The North Africa Post". northafricapost.com. สืบค้นเมื่อ 2021-05-23.
  156. "Moroccan health ministry grants emergency approval to Sinopharm's Covid-19 vaccine". wam. สืบค้นเมื่อ 2021-01-27.
  157. "Mauritania receives first Covid-19 vaccines from China". Africanews (ภาษาอังกฤษ). 2021-03-24. สืบค้นเมื่อ 2021-03-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  158. "Mauritania begins COVID-19 vaccination campaign". www.aa.com.tr. สืบค้นเมื่อ 2021-03-26.
  159. "Mauritius receives 100,000 doses of Chinese vaccine". www.aa.com.tr. สืบค้นเมื่อ 2021-04-15.
  160. "Mauritius Receives 100 000 Doses of Sinopharm Vaccine". allAfrica. 2021-04-14.
  161. "China, Africa and the Vaccine Donations". Modern Ghana (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-05.
  162. Mucari, Manuel (2021-03-06). "Mozambique expects to vaccinate 16 million against coronavirus by 2022". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-07.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  163. Charmaine Ngatjiheue; Shelleygan Petersen (2021-03-16). "Khomas, Erongo first to get vaccinated". The Namibian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-10-01.
  164. "Zimbabwe gets another 400,000 doses of China's Covid-19 vaccine". The EastAfrican. 2021-03-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-31.
  165. "Covid-19 : Le Niger réceptionne 400.000 doses de vaccin SINOPHARM, un don de la Chine". Agence Nigérienne de Presse. สืบค้นเมื่อ 2021-03-21.
  166. Reuters Staff (2021-02-18). "Senegal takes delivery of China's Sinopharm vaccine". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-19.
  167. AfricaNews (2021-02-23). "Senegal begins covid-19 vaccination with doses from China's Sinopharm". Africanews (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-23.
  168. AFP. "Sierra Leone to receive 200,000 virus vaccine doses". ewn.co.za (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-26.
  169. Thomas, Abdul Rashid (2021-03-15). "Sierra Leone's President Bio leads the way in taking COVID-19 Vaccine". SIERRA LEONE TELEGRAPH (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-03-15.
  170. "Seychelles to start vaccinations with Chinese-made Sinopharm". AP NEWS. 2021-01-08. สืบค้นเมื่อ 2021-01-08.
  171. Reuters Staff (2021-01-11). "Seychelles rolls out COVID-19 vaccination using China's Sinopharm, says president's office". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-18.
  172. "Somalia receives vaccines from China". BusinessGhana. สืบค้นเมื่อ 2021-04-15.
  173. "Somalia rolls out Sinopharm vaccines to boost fight against COVID-19". News Ghana (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-04-15. สืบค้นเมื่อ 2021-04-15.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  174. Somalia Rolls Out Sinopharm Vaccines (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2021-04-15
  175. "China To Provide Sudan With 250,000 Doses Of Sinopharm Vaccine On Friday - Ambassador". UrduPoint (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-29.
  176. "China-donated Sinopharm COVID-19 vaccines arrive in Sudan". dailynewsegypt.com. สืบค้นเมื่อ 2021-03-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  177. "Covid-19: le Congo-Brazzaville reçoit des milliers de doses du vaccin chinois Sinopharm". RFI (ภาษาฝรั่งเศส). 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 2021-03-12.
  178. Banya, Nelson (2021-02-11). "Zimbabwe purchases 600,000 Sinopharm COVID-19 vaccinations -information minister". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-11.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  179. Reuters Staff (2021-02-24). "Zimbabwe to buy 1.2 million more COVID-19 vaccine doses from China". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-26.
  180. "China sends 100,000 coronavirus vaccines to Belarus". eng.belta.by (ภาษาอังกฤษ). 2021-02-19. สืบค้นเมื่อ 2021-02-19.
  181. "Finalized Contract for the Procurement of half a Million Doses of Sinopharm Vaccine". Sarajevo Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-07-02. สืบค้นเมื่อ 2021-07-03.
  182. "Georgia Starts COVID-19 Vaccination with Sinopharm". Civil.ge (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-05-04. สืบค้นเมื่อ 2021-05-09.
  183. "One mln doses of Sinopharm, Sinovac now in Georgia - mass vaccination to start on July 5". Agenda.ge. สืบค้นเมื่อ 2021-07-03.
  184. "Hungary signs deal for Chinese Sinopharm's COVID-19 vaccine, first in EU". nationalpost. สืบค้นเมื่อ 2021-01-29.
  185. "Hungary's PM Viktor Orbán vaccinated against COVID with Chinese Sinopharm vaccine". euronews. 2021-02-28.
  186. "Hungary takes last delivery of Sinopharm vaccine - BBJ". BBJ.hu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-22.
  187. "Emiratele Arabe Unite au donat Republicii Moldova un lot de vaccin împotriva COVID-19". TV8 (ภาษาโรมาเนีย). 2021-03-13.
  188. Cristina (2021-03-19). "O mie de studenți și medici-rezidenți din cadrul USMF vor fi imunizați anti-COVID cu vaccinul BBIBP-CorV, produs de către Sinopharm Beijing Institute of Biological Products". Ziarul de Gardă (ภาษาโรมาเนีย). สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.
  189. Trkanjec, Zeljko (2021-05-06). "1.5% of Montenegrin population vaccinated in one day". www.euractiv.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-05-09.
  190. "North Macedonia looks to Chinese vaccine to revive program". ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-01.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  191. "North Macedonia speeds up vaccinations as EU aid arrives". ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  192. "Serbia receives further 500,000 doses of China's COVID-19 vaccine". seenews.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-07.
  193. Lopez, Ezequiel Abiu (2021-02-16). "Dominican Republic launches COVID-19 vaccination campaign". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-28.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  194. "Dominica: Melissa Skerrit receives the Sinopharm COVID-19 vaccine". WIC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-03-05.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  195. "CITIZENS ENCOURAGED TO GET VACCINATED". Government Information Service, Government of the Commonwealth of Dominica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-18. สืบค้นเมื่อ 2021-08-05.
  196. Jorgic, Drazen (2021-03-10). "Mexico leans on China after Biden rules out vaccines sharing in short term". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  197. "[UPDATED] 800,000 vaccines arrive in Trinidad and Tobago". Trinidad & Tobago Newsday (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-07-13. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  198. "Barbados to get 30,000 doses of Chinese Sinopharm vaccine - PM Mottley". Barbados Today (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-04-01. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
  199. "China's Sinopharm Vaccine Arrives". Solomon Times Online (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-12.
  200. "Pacific: PNG and Solomon Islands to use China's Sinopharm vaccine". ABC Radio Australia (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2021-05-17. สืบค้นเมื่อ 2021-06-04.
  201. "Chinese COVID-19 vaccine is in PNG". National Control Center for COVID-19. 2021-07-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-05. สืบค้นเมื่อ 2021-08-06.
  202. Biannchi, Walter (2021-02-21). "Argentina approves Sinopharm COVID-19 vaccine for emergency use". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-22.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  203. "The Government signed a new contract with Sinopharm and ensures that 2 million doses will arrive in June". Market Research Telecast (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-06-11. สืบค้นเมื่อ 2021-06-15.
  204. "Bolivia se apoya en China para vacunas contra el COVID-19". Associated Press (ภาษาอังกฤษ). 2021-07-01. สืบค้นเมื่อ 2021-07-01.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  205. "China-donated Sinopharm vaccine received". Guyana Chronicle (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-03-03. สืบค้นเมื่อ 2021-03-03.
  206. "Gov't purchases 100,000 Sinopharm vaccines". Stabroek News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-06-09. สืบค้นเมื่อ 2021-06-11.
  207. Reuters Staff (2021-01-06). "Peru inks deals with Sinopharm, AstraZeneca for coronavirus vaccines -president". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-01-07.
  208. Aquino, Marco (2021-01-27). "Peru grants 'exceptional' approval for Sinopharm COVID-19 vaccine - government sources". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-01-28.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  209. Sequera, Vivian (2021-03-01). "Venezuela approves use of China's Sinopharm coronavirus vaccine". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-02.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  210. Sequera, Vivian (2021-03-02). "Venezuela receives donated coronavirus vaccine from China". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-02.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  211. Long, Gideon. "Peru's political elite ensnared in 'Vacuna-gate' scandal". www.ft.com. สืบค้นเมื่อ 2021-07-10.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  212. "6,000 additional volunteers required for trials of Sinopharm's COVID-19 vaccine" (ภาษาสเปน). Andina. สืบค้นเมื่อ 2020-10-17.
  213. "Philippines' Duterte apologises for taking unapproved China jab". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-05-06. สืบค้นเมื่อ 2021-07-10.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้