ไฟเซอร์ (อังกฤษ: Pfizer Inc.) (NYSE:PFE เก็บถาวร 2008-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) เป็นบริษัทยาสัญชาติอเมริกัน มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เป็นผู้ผลิตยาลิปิเตอร์ (อะโทวาสแตติน) ซึ่งเป็นยาที่ขายดีที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง] (เป็นยาลดคอเลสเตอรอลในเลือด) ยาต้านเชื้อรา ไดฟลูแคน (ฟลูโคนาโซน-fluconazole) ยาปฏิชีวนะออกฤทธิ์นาน ไซโทรแมกซ์ (อะซิโทรมัยซิน-azithromycin) ยารักษาโรคย้อนสมรรถภาพทางเพศ (erectile dysfunction) ไวอะกรา (ซิลเดนาฟิลซิเตรต - sildenafil citrate) และยาบรรเทาปวด ซีลีเบรกซ์ (ซีลีโคซิบ-celecoxib)

ไฟเซอร์
ประเภทบริษัทมหาชน (NYSE: PFE)
ISINUS7170811035 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์
ก่อตั้งค.ศ. 1849
ผู้ก่อตั้งคาร์ล ไฟเซอร์
ชาร์ล เอฟ. เออร์ฮาร์ต
สำนักงานใหญ่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
บุคลากรหลักอัลเบิร์ต บัวร์ลา (ประธาน, CEO)
รายได้เพิ่มขึ้น 81.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] (ค.ศ. 2021)
รายได้สุทธิ
31,372,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2565) Edit this on Wikidata
สินทรัพย์154,229,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2563) Edit this on Wikidata
พนักงาน
79,000 คน (ค.ศ. 2021)[1]
เว็บไซต์www.pfizer.com

หุ้นของไฟเซอร์อยู่ในดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 2004 ในปี ค.ศ. 2019 ไฟเซอร์เป็นบริษัทยาที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลกจากการจัดอันดับของนิตยสาร ฟอบส์[2]

ประวัติ

แก้

ไฟเซอร์ตั้งชื่อตามคาร์ล ไฟเซอร์ (Karl Pfizer, ค.ศ. 1824–1906) นักเคมีชาวเยอรมัน

  • ค.ศ. 1849 เริ่มทำธุรกิจเคมีในวิลเลียมเบิร์ก บรูกลิน (Williamsburg, Brooklyn) ผลิตภัณฑ์เริ่มแรกคือยาต้านปรสิต (antiparasitic) ชื่อแซนโตนิน (santonin)
  • ค.ศ. 1880 ธุรกิจเริ่มประสบความสำเร็จเมื่อได้ผลิตกรดซิตริก
  • ค.ศ. 1910 บริษัทมียอดขายประมาณ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นผู้เชี่ยวชาญในเทคโนโลยีการหมัก (fermentation) ที่ใช้ในการผลิตยา เพนนิซิลิน (penicillin) ยาปฏิชีวนะตัวแรกที่มีบทบาทช่วยรักษาแผลที่เกิดจากการติดเชื้อในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง มันถูกเรียกว่าเป็นยามหัศจรรย์ ("the miracle drug") ในสมัยนั้น
  • ค.ศ. 1919 บริษัทผลิตกรดซิตริกสำหรับใช้ในการผลิตของตนด้วยกระบวนการหมัก จนพัฒนาเป็นการผลิตวัตถุดิบได้เอง ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้อย่างมหาศาล
  • ค.ศ. 1944 ไฟเซอร์ประสบความสำเร็จในการผลิตเพนิซิลินด้วยกระบวนการหมักแบบ deep-tank และกลายเป็นผู้ผลิตยาเพนิซิลินรายใหญ่ที่สุดของโลก ยาเพนิซิลินส่วนใหญ่ที่ใช้ในกองกำลังพันธมิตรผลิตโดยไฟเซอร์
  • ค.ศ. 1950 เทอราไมซิน (ออกซีเตตราไซคลีน) เป็นยาปฏิชีวนะที่มีขอบข่ายการออกฤทธิ์กว้าง เป็นผลงานการวิจัยชิ้นแรกของบริษัท ที่จำหน่ายภายใต้สิทธิบัตรของไฟเซอร์ จากนั้นไฟเซอร์ได้ขยายธุรกิจไปยังตลาดต่างประเทศและเปิดฝ่ายธุรกิจต่างประเทศขึ้น ไฟเซอร์ขยายธุรกิจไปสู่เบลเยียม, บราซิล, แคนาดา, คิวบา, เม็กซิโก, ปานามา, เปอร์โตริโกและอังกฤษ
  • ค.ศ. 1954 เริ่มวางตลาดเตตราไซคลีน ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง และเป็นยาปฏิชีวนะชนิดแรกที่สังเคราะห์และค้นพบโดยนักวิจัยของไฟเซอร์
  • ค.ศ. 1961 ไฟเซอร์ก้าวเข้าสู่ช่วงของการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและเปิดสำนักงานใหญ่แห่งใหม่กลางเมืองแมนฮัตตัน
  • ค.ศ. 1982 เฟลดีน (ไพรอกซิแคม) กลายเป็นยาแก้อักเสบตามใบสั่งแพทย์ที่ขายดีที่สุดในโลก และเป็นผลิตภัณฑ์แรกของไฟเซอร์ที่ทำยอดขายได้ถึงหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ค.ศ. 1988 แผนกเกษตรกรรมเปลี่ยนชื่อเป็นฝ่ายเวชภัณฑ์สัตว์ และมีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นความก้าวหน้าล่าสุดออกสู่ตลาด ได้แก่ แอดโวซิน (ดาโนฟ ลอกซาซิน) เอวิแอกซ์ (เซมดูราไมซิน) และเดคโทแมกซ์ (โดราเมคทิน) ในสองสามปีต่อมา
  • ค.ศ. 1989 วางตลาดผลิตภัณฑ์ใหม่ โพรคาร์เดียเอกซ์แอล (ไนเฟดิพีน) ยาเม็ดออกฤทธิ์ระยะยาวที่รับประทานวันละครั้ง สำหรับรักษาโรคหัวใจขาดเลือดและโรคความดันโลหิตสูง
  • ค.ศ. 1992 ไฟเซอร์วางตลาดยาใหม่ที่สำคัญ 3 ชนิด ได้แก่ โซลอฟต์ (เซอร์ทราลีนไฮโดรคลอไรด์) นอร์แวส (แอมโลดิพีนเบซีเลต) และซิโทรแมกซ์ (แอกซิโทรไมซิน)
  • ค.ศ. 1993 ริเริ่มโครงการ Sharing the Care ซึ่งเป็นโครงการบริจาคยา
  • ค.ศ. 1995 ไฟเซอร์ซื้อธุรกิจเวชภัณฑ์สัตว์ของสมิท ไคลน์ บีแชม ทำให้ไฟเซอร์กลายเป็นผู้นำรายหนึ่งของโลกด้านการค้นคว้า พัฒนาและผลิตเวชภัณฑ์สำหรับปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยง
  • ค.ศ. 1998 เปิดตัวไวอะกร้า (ซิลเดนาฟิลซิเตรต) ซึ่งเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการผลิตยาสำหรับรักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศในชาย บริษัทได้ลงทุนกว่า 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการวิจัย
  • ค.ศ. 1999 ไฟเซอร์ฉลองอายุครบ 150 ปี และได้รับการยกย่องให้เป็นบริษัทยาชั้นนำของโลก นิตยสารฟอร์บส์ยังได้ประกาศให้ไฟเซอร์เป็น "บริษัทชั้นนำแห่งปี" เนื่องจากความสำเร็จในการค้นคว้าและพัฒนายาใหม่สำหรับมนุษย์และสัตว์
  • ค.ศ. 2000 ไฟเซอร์ ควบรวมกิจการกับ วอร์เนอร์-แลมเบอร์ต (Warner-Lambert) เพื่อให้ได้สิทธิเต็มในการทำตลาด ลิปิเตอร์ (อะโทวาสแตติน) และก้าวสู่ไฟเซอร์ยุคใหม่ ซึ่งเป็นช่วงสำคัญและมีการเจริญเติบโตอย่างมาก การควบรวมกิจการครั้งนี้ทำให้ไฟเซอร์ยุคใหม่เป็น บริษัทยาที่ใหญ่ที่สุดและมีการเติบโตเร็วที่สุดในโลก
  • ค.ศ. 2002 ไฟเซอร์ควบรวมกิจการกับฟาร์มาเซีย (Pharmacia) กลายเป็นบริษัทยาที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเพื่อให้ได้สิทธิเต็มในการทำตลาด ยาบรรเทาปวด ซีลีเบรกซ์ (ซีลีโคซิบ)
  • ค.ศ. 2003 เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2546 บริษัทไฟเซอร์ และ บริษัทฟาร์มาเซียซึ่งเป็นสองบริษัทยาที่มีการเติบโตเร็วที่สุดและมีการค้นคว้าพัฒนามากที่สุดในโลกได้รวมการดำเนินธุรกิจเข้าด้วยกัน นอกจากนั้น ไฟเซอร์ ยังได้วางตลาดยา เรลแพกส์ (อิเล็กทริปทัน เอชบีอาร์) ซึ่งเป็นยาสำหรับบำบัดไมเกรนโดยเฉพาะ
  • ค.ศ. 2020 ไฟเซอร์และไบออนเทคเสร็จสิ้นการทดสอบวัคซีนไวรัสโคโรนาที่พัฒนาขึ้น โดยมีประสิทธิภาพโดยรวมในการต้านไวรัสโคโรนา 95% โดยที่ในขณะนั้นยังไม่พบผลข้างเคียง[3]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Pfizer Inc. 2021 Form 10-K Annual Report" (PDF). Pfizer.
  2. "The World's Largest Public Companies 2019 ranking". Forbes. สืบค้นเมื่อ 12 March 2020.
  3. Fox, Maggie; Sealy, Amanda (18 November 2020). "Pfizer and BioNTech say final analysis shows coronavirus vaccine is 95% effective with no safety concerns". CNN. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้