เจเอเอ็มเอ

วารสารการแพทย์ที่ตรวจสอบโดยพิชญพิจารณ์
(เปลี่ยนทางจาก JAMA)

วารสารของสมาคมการแพทย์อเมริกัน, จามา หรือ JAMA (The Journal of the American Medical Association) เป็นวารสารการแพทย์ ตรวจสอบโดยผู้ชำนาญในระดับเดียวกัน พิมพ์ 48 ครั้งต่อปี ของสมาคมการแพทย์อเมริกัน (American Medical Association) มีเนื้อหาเกี่ยวกับทุก ๆ ด้านของชีวเวชหรือวิทยาศาสตร์ชีวเวช พิมพ์เนื้อหาหลักเป็นงานวิจัยดั้งเดิมหรืองานปริทัศน์ (หรือการทบทวนวรรณกรรม) และเนื้อหารองอื่น ๆ เช่น รายงานสัปดาห์ของความเจ็บป่วยและการตาย (Morbidity and Mortality Weekly Report) เป็นวารสารที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) หัวหน้าบรรณาธิการปัจจุบันตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 คือ น.พ. Howard Bauchner ผู้เป็นรองประธานคณะกุมารเวชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยบอสตัน[1] วารสารมีทั้งฉบับภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาสเปน[2]

จามา
JAMA
alt = Cover
สาขาวิชาการแพทย์
ภาษาภาษาอังกฤษ
บรรณาธิการคริสเทน บิบบินส์-โดมิงโก
รายละเอียดการตีพิมพ์
ชื่อเดิมTransactions of the American Medical Association; Councilor's Bulletin; Bulletin of the American Medical Association; Journal of the American Medical Association
ประวัติการตีพิมพ์2426-ปัจจุบัน
ผู้พิมพ์
ความถี่ในการตีพิมพ์48 ครั้ง/ปี
ปัจจัยกระทบ157.335 (2564)
ชื่อย่อมาตรฐาน
ISO 4JAMA
การจัดทำดรรชนี
CODENJAMAAP
ISSN0098-7484
1538-3598
LCCN82643544
OCLC1124917
จนถึง ค.ศ. 1960:
ISSN0002-9955

การเชื่อมโยง

ประวัติ แก้

สมาคมการแพทย์อเมริกันเริ่มพิมพ์วารสารในปี 2426 โดยทดแทนวารสาร Transactions of the American Medical Association[3] ต่อมาปี 2503 วารสารจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่อปัจจุบันคือ "JAMA: The Journal of the American Medical Association"[4][2] แต่มักจะเรียกโดยสามัญว่า JAMA

การศึกษาต่อเนื่องทางการแพทย์ แก้

Continuing Education Opportunities for Physicians (โอกาสในการศึกษาต่อเนื่องสำหรับแพทย์) เป็นหัวข้อที่พิมพ์ทุกครึ่งปีที่มีรายการการศึกษาต่อเนื่องทางการแพทย์ (continuing medical education ตัวย่อ CME) ในระดับพื้นที่หรือในระดับชาติ โดยระหว่างปี 2480 ถึงปี 2498 รายการนี้ตีพิมพ์ทุก 3 เดือนหรือครึ่งปี แต่ต่อมาระหว่างปี 2498-2524 รายการเปลี่ยนมาทำทุกปี เนื่องจากว่า จำนวนรายการ CME เพิ่มขึ้นจาก 1,000 รายการ (2498) มาเป็น 8,500 รายการ (2524) เว็บไซต์ของสมาคม (JAMA Network) ระบุว่า มีรายการ CME ที่ทำในรูปแบบของ webinar (สัมมนาทางเว็บ) จากเนื้อหาของวารสารของสมาคม 12 ฉบับที่รวมทั้งวารสาร จามา ในชื่อ JN Learning CME & MOC ซึ่งให้เครดิตการเรียนของ CME และ MOC ด้วย[5]

การเผยแพร่บทความโดยบารัก โอบามา แก้

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 วารสารจามา ตีพิมพ์บทความโดยบารัก โอบามา ในชื่อ "การปฏิรูปการดูแลสุขภาพของสหรัฐ: ความคืบหน้าจนถึงปัจจุบันและขั้นตอนต่อไป (United States Health Care Reform: Progress to Date and Next Steps)"[6] ซึ่งเป็นบทความวิชาการชิ้นแรกที่ตีพิมพ์โดยประธานาธิบดีสหรัฐซึ่งอยู่ในตำแหน่งในขณะนั้น บทความนี้ไม่ได้อยู่ภายใต้การพิชญพิจารณ์โดยการสุ่ม ซึ่งเป็นที่ถกเถียงในการเป็นนโยบายเฉพาะ ที่ประธานาธิบดีในอนาคตสามารถดำเนินการเพื่อปรับปรุงการดำเนินนโยบาย "การปฏิรูปการดูแลสุขภาพแห่งชาติ" ดังกล่าว[7]

การเปลี่ยนนโยบาย แก้

หลังจากที่มีการไล่ออกหัวหน้าบรรณาธิการในปี 2542 ที่ก่อให้เกิดการโต้แย้ง วารสารจึงได้ก่อตั้งกระบวนการเพื่อรักษาอิสรภาพของบรรณาธิการ และตั้งคณะกรรมการควบคุมดูแลมีสมาชิก 7 คนเพื่อประเมินหัวหน้าบรรณาธิการ โดยเป็นคณะที่ประชุมกันอย่างน้อยปีละครั้ง ในปัจจุบัน วารสารกำหนดให้อ้างที่มาไปยังผู้เขียนไม่ใช่มาที่วารสาร[8][9][10][11]

ภาพศิลปะประกอบ แก้

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 ถึง 2556 วารสารจามา ใช้ภาพงานศิลปะบนหน้าปกและมีข้อความแสดงความคิดเห็นของบทความบนภาพงานศิลปะนั้น[12] อ้างอิงจากอดีตบรรณาธิการจอร์จ ลุนด์เบิร์ก (George D. Lundberg) วิธีนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเชื่อมโยงมนุษยศาสตร์กับการแพทย์[13] ในปี 2556 การออกแบบรูปแบบใหม่ได้ย้ายส่วนภาพศิลปะไปเป็นหน้าภายใน และแทนที่ภาพงานศิลปะบนหน้าปกด้วยรายการสารบัญ[12] วัตถุประสงค์ของการออกแบบใหม่คือการสร้างมาตรฐานให้กับรูปลักษณ์ของวารสารทั้งหมดในเว็บไซต์ของสมาคม[14]

การสร้างบทคัดย่อและดัชนี แก้

ปัจจุบัน มีการสร้างบทคัดย่อและดัชนีสำหรับวารสารในเว็บต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • Academic OneFile[3]
  • Academic Search[3]
  • BIOSIS Previews[15]
  • Biological Abstracts[3]
  • CAB Abstracts[16]
  • Chemical Abstracts[17]
  • CINAHL[18]
  • Current Index to Statistics[3]
  • Current Contents/Clinical Medicine[15]
  • Current Contents/Life Sciences[15]
  • Elsevier BIOBASE[3]
  • Embase[3]
  • Global Health[19]
  • Index Medicus/MEDLINE/PubMed[4]
  • PsychINFO[20]
  • Science Citation Index[15]
  • Scopus[3]
  • Tropical Diseases Bulletin[21]

ในปี 2562 วารสารมีปัจจัยกระทบ (impact factor) ที่ 45.540 เป็นอันดับ 3 ในบรรดาวารสาร 165 ฉบับภายใต้หมวดหมู่ "การแพทย์ทั่วไปและอายุรศาสตร์ (Medicine, General & Internal)" ต่อจากวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ และเดอะแลนซิต[22]

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "New Editor in Chief Named at Journal of the American Medical Association". Chronicle of Higher Education. 10 มีนาคม 2011.
  2. 2.0 2.1 "JAMA: The Journal of the American Medical Association". Library of Congress Catalog. หอสมุดรัฐสภา. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2014.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 "JAMA: The Journal of the American Medical Association". Ulrichsweb. ProQuest. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2014.
  4. 4.0 4.1 "JAMA". NLM Catalog. National Center for Biotechnology Information. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2014.
  5. "Continuing Education Opportunities for Physicians". JAMA. American Medical Association. 257 (1): 97–121. 2 มกราคม 1987. doi:10.1001/jama.1987.03390010101048. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2010.
  6. Obama, Barack (11 กรกฎาคม 2016). "United States Health Care Reform - Progress to Date and Next Steps". JAMA. 316 (5): 525–532. doi:10.1001/jama.2016.9797. PMC 5069435. PMID 27400401.
  7. Kelly Dickerson (13 กรกฎาคม 2016). "#ObamaJAMA: Obama Just Became the First Sitting President to Publish an Academic Paper". Mic.com.
  8. Holden, Constance (15 มกราคม 1999). "JAMA Editor Gets the Boot". Science Now. Science.
  9. Kassirer, Jerome P. (27 พฤษภาคม 1999). "Editorial Independence". The New England Journal of Medicine. 340 (21): 1671–2. doi:10.1056/NEJM199905273402109.
  10. "JAMA & Archives Conditions of Use". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 ธันวาคม 2007.
  11. Signatories of the Editorial Governance Plan (16 มิถุนายน 1999). "Editorial Governance for JAMA". JAMA. 281 (26): 2240–2. doi:10.1001/jama.281.23.2240.
  12. 12.0 12.1 Levine, Jefferey M. (6 พฤศจิกายน 2013). "JAMA removes cover art, and why that matters". KevinMD.com.
  13. Showalter E (1999). "Commentary: An inconclusive study". BMJ. 319 (7225): 1603–1605. doi:10.1136/bmj.319.7225.1603. PMC 28304. PMID 10600956.
  14. Henry R, Bauchner H (2013). "JAMA gets a new look!". JAMA. 310 (1): 39. doi:10.1001/jama.2013.7053.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 "Master Journal List". Intellectual Property & Science. Thomson Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2014.
  16. "Serials cited". CAB Abstracts. CABI. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2014.
  17. "CAS Source Index". Chemical Abstracts Service. American Chemical Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 มีนาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2014.
  18. "CINAHL Complete Database Coverage List". CINAHL. EBSCO Information Services. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2014.
  19. "Serials cited". Global Health. CABI. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2014.
  20. "PsychINFO Journal Coverage". American Psychological Association. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2014.
  21. "Serials cited". Tropical Diseases Bulletin. CABI. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2014.
  22. "Journals Ranked by Impact: Medicine, General & Internal". 2019 Journal Citation Reports. Web of Science. Clarivate Analytics. 2020.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้