กาวี
กาวี (อังกฤษ: GAVI หรือชื่อทางการคือ Gavi, the Vaccine Alliance[1] เคยเรียกว่า GAVI Alliance และก่อนหน้านั้น Global Alliance for Vaccines and Immunization[2]) เป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐ-เอกชนที่ทำการเกี่ยวกับสาธารณสุขระดับโลก มีจุดประสงค์เพิ่มการให้ยาคุ้มกันโรคแก่บุคคลต่าง ๆ ในประเทศยากจน[3]
โลโก้ปี 2014 ซึ่งเลียนตราของสหประชาชาติ | |
ก่อตั้ง | 2000 |
---|---|
ประเภท | หุ้นส่วนระหว่างรัฐ-เอกชน |
สถานะตามกฎหมาย | ดำเนินงานอยู่ |
จุดเด่น | วัคซีนป้องกันโรคในมนุษย์ |
ที่ตั้ง | |
บุคลากรหลัก | เซ็ท เบอร์กลีย์, Dagfinn Høybråten, Ngozi Okonjo-Iweala, Anuradha Gupta |
เว็บไซต์ | www |
องค์กรส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างประเทศกำลังพัฒนา, ประเทศที่ให้ทุนช่วยพัฒนา, องค์การอนามัยโลก[4], กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ[5], ธนาคารโลก[6], อุตสาหกรรมวัคซีนทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา, องค์การวิจัยและเทคโนโลยี, ประชาสังคม, มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์[7] และผู้ทำการกุศลอื่น ๆ กาวีมีสถานะผู้สังเกตการณ์ในสมัชชาสาธารณสุขโลก (World Health Assembly ตัวย่อ WHA) แห่งสหประชาชาติ
องค์กรได้รับคำยกย่องว่า มีวิธีทำการที่ก้าวหน้า มีประสิทธิภาพ มีกฎระเบียบจุกจิกน้อยกว่าสถาบันของรัฐที่ทำการระหว่างประเทศ เช่น องค์การอนามัยโลก โปรแกรมของกาวีมักให้ผลที่วัดได้ เป็นที่นิยมทางการเมือง อธิบายได้ง่ายโดยมีผลทันการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นเสน่ห์สำหรับกลุ่มการเมืองที่หาเสียงเป็นคาบ ๆ[8] แต่ก็ถูกวิจารณ์ว่าให้อำนาจแก่เอกชนผู้เป็นนายทุนในการตัดสินเป้าหมายทางสาธารณสุขในระดับโลกมากเกินไป[8], ให้ความสำคัญก่อนแก่วัคซีนใหม่ ๆ ซึ่งมีราคาสูง โดยให้ทุนและพยายามน้อยกว่าเพื่อขยายการใช้วัคซีนที่มีอยู่แล้วและมีราคาถูก[9] ซึ่งมีผลลบต่อระบบสาธารณสุขในพื้นที่ ๆ[8], ให้เงินอุดหนุนมากเกินไปแก่บริษัทยายักษ์ใหญ่ซึ่งมีกำไรอยู่แล้ว[10] โดยไม่ได้ทำให้ราคาของวัคซีนลดลง และมีการขัดกันแห่งผลประโยชน์เพราะมีบริษัทผลิตวัคซีนในคณะกรรมการขององค์กร[11]
องค์กรก็พยายามทำการเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้[8] การดำเนินการองค์กรจัดเป็นการทำแบบธุรกิจ เน้นเทคโนโลยี เล็งความต้องการของตลาด และมุ่งเน้นผลที่วัดได้ เป็นรูปแบบดำเนินการที่องค์กรทำเพื่อเป็นตัวอย่างโดยมีชื่อต่าง ๆ เช่น "วิธีการของ (บิล) เกตส์" หรือวิธีแบบอเมริกัน[12][8] ซึ่งต่างกับปฏิญญาแอลมาอะตา (Alma Ata Declaration) ซึ่งเน้นผลทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมที่เกิดจากสาธารณสุข[8]
แหล่งทุน
แก้จนถึงเดือนมีนาคม 2019 มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ได้บริจาคทุนประมาณ 1,560 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท) แก่หุ้นส่วนระหว่างปี 2016-2020[13]
ผู้บริจาคหลัก ๆ ของกาวีคือประเทศพัฒนาแล้ว โดยให้ทุนประมาณ 3/4 ของที่ได้ทั้งหมด มีผู้แทนรัฐของประเทศพัฒนาแล้ว 5 ประเทศในคณะกรรมการของกาวี ปกติเป็นเจ้าหน้าที่จากองค์กรการพัฒนาหรือจากกระทรวงการคลัง[14]
ประเทศนอร์เวย์และสหราชอาณาจักรก็เป็นผู้ให้ทุนสำคัญด้วย
วันที่ 12 พฤษภาคม 2020 เมื่อสภาผู้แทนรัฐบาลกลางแคนาดากำลังดำเนินไปอย่างกะโผลกกะเผลกในการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562-2563 รัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการนานาชาติได้เป็นตัวแทนของรัฐบาลกลางประกาศให้ทุน 600 ล้านดอลลาร์แคนาดา (ประมาณหมื่นสี่พันล้านบาท) แก่กาวี[15]
ประวัติและโปรแกรม
แก้กาวีได้จัดตั้งขึ้นในปี 2000 เป็นองค์กรสืบต่อจากโครงการริเริ่มวัคซีนสำหรับเด็ก (Children's Vaccine Initiative) ซึ่งตั้งขึ้นในปี 1990[16]
ผู้นำ
แก้จูเลียน ล็อบ-เลวิตต์ เป็นประธานบริหารของกาวีระหว่างปี 2004-2010 มีข่าวลือว่าเขาลาออกจากองค์กรเพราะความไม่เห็นด้วยในโปรแกรม health system strengthening (ตัวย่อ HSS คร่าว ๆ หมายถึงการปรับปรุงระบบสาธารณสุขของทั้งประเทศ)[8] เซ็ท เบอร์กลีย์ (Seth Berkley) ได้เป็นประธานบริหารตั้งแต่ปี 2011[17]
ในเดือนสิงหาคม 2014 กาวีได้เปลี่ยนชื่อจาก พันธมิตรกาวี (GAVI Alliance) แล้วสร้างโลโก้ใหม่ซึ่งเลียนตราขององค์การสหประชาชาติอย่างจงใจ แต่มีสีเขียวเป็นข้อต่าง[1]
เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้เชี่ยวชาญทางสาธารณสุขต่างก็มีข้อวิจารณ์ต่อกาวี และต่อโครงการริเริ่มทางสาธารณสุขโลก (global health initiatives ตัวย่อ GHIs) ที่มีผู้ดำเนินการจากทั้งภาครัฐและเอกชนอื่น ๆ ว่าองค์กรไม่ชอบด้วยกฎหมายทางประชาธิปไตย และไม่มีอำนาจในการตัดสินประเด็นทางสาธารณสุข ผู้ให้ทุนเอกชนสามารถใช้อิทธิพลกับหุ้นส่วนรัฐ-เอกชนเช่นกาวี ได้ง่ายกว่ากับองค์กรของรัฐแท้ ๆ มีข้อวิจารณ์ด้วยว่า เจ้าหน้าที่ของ GHIs มักรับมาทำงานสด ๆ จากสถาบันการศึกษาชั้นนำต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีประสบการณ์ในระบบสาธารณสุขโดยเฉพาะในประเทศยากจน[8]
เจ้าหน้าที่ขององค์การอนามัยโลกได้วิจารณ์กาวีลับหลังว่า ก้าวก่ายและบั่นทอนอาณัติ/อำนาจที่องค์การอนามัยโลกได้รับมอบหมาย[8]
ปัญหาเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบสาธารณสุขของทั้งประเทศ
แก้เจ้าหน้าที่ของกาวีได้อภิปรายกันอย่างเข้มข้นภายในองค์กรเกี่ยวกับบทบาทขององค์กรกับการให้วัคซีนและการปรับปรุงระบบสาธารณสุขของทั้งประเทศ (health systems strengthening ตัวย่อ HSS) ซึ่งเป็นส่วนของประเด็นทางสาธารณสุขเกี่ยวกับวิธีที่ "เจาะลึก" ซึ่งมักเล็งโรคหรือพฤติกรรมหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ หรือวิธีที่ "เจาะกว้าง" ซึ่งเล็งโปรแกรมกว้าง ๆ เช่นการรักษาในระดับปฐมภูมิ บางพวกกล่าวว่า การให้วัคซีนไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องโดยไม่ปรับปรุงระบบสาธารณสุข และอ้างโปรแกรมการให้วัคซีนของกาวีเอง ที่การขาดบุคลากร การฝึกหัด การขนส่ง และทุน เป็นตัวขัดขวางการให้วัคซีนและการรายงานถึงความทั่วถึงของการให้วัคซีน และจำนวนวัคซีนที่มีในคลัง ยังมีความกังวลด้วยว่า กาวีกำลังบ่อนทำลายหรือขัดขวางระบบสาธารณสุข พวกอื่นกล่าวว่า HSS เป็นเรื่องที่ทำให้จุดประสงค์โดด ๆ ของกาวีคือการให้วัคซีนไขว้เขว และ HSS ก็เป็นแนวคิดคลุมเครือที่ไม่สามารถนิยามหรือวัดได้[8]
ผู้ให้ทุนสำคัญขององค์กรคือประเทศนอร์เวย์และสหราชอาณาจักรสนับสนุน HSS ส่วนหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ (USAID) และมูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ (และบิล เกตส์โดยส่วนตัวเอง) ต่อต้าน HSS ผู้เชี่ยวชาญทางวัคซีนโดยมากมักชื่นชอบวิธีทางเทคโนโลยีมากกว่าวิธีตามแนวคิดของ HSS แต่อุตสาหกรรมยาก็สนับสนุน HSS โดยอาจเพราะเห็นว่าเป็นส่วนสำคัญเพื่อสร้างตลาดที่ยั่งยืน ในปี 2005 คณะกรรมการได้ยอมรับเป้าหมายเกี่ยวกับ HSS แม้จะมีเสียงข้างมากน้อย งบประมาณของกาวีเกือบ 1/4 ระบุจำเพาะเรื่องปรับปรุงสมรรถภาพของระบบสาธารณสุขแบบบูรณาการเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประชาชน[8] แต่จริง ๆ ก็ใช้เพียงราว ๆ ร้อยละ 10 เท่านั้น[12]
หลังปี 2010 งบประมาณส่วนนี้ได้ให้กับแพลตฟอร์มลงทุนร่วมคือ Health Systems Funding Platform โดยมีข้อแม้ว่า แพลตฟอร์มต้องดำเนินการให้ได้เป้าหมายการให้วัคซีนอย่างทั่วถึง[8] ในกลางคริสต์ทศวรรษ 2010 มีพนักงานขององค์กรน้อยคนที่ทำงานด้าน HSS ข้อวิจารณ์เช่นนี้ว่า องค์กรไม่พยายามแก้ไขภายในองค์กรเอง และการไร้การดำเนินการภายในองค์กรก็ถูกวิจารณ์เช่นกัน ความตกลงกันไม่ได้ค่อนข้างรุนแรง เช่น เมื่อบิล เกตส์มาเยี่ยมสำนักงานใหญ่ พนักงานก็จะซ่อนโปสเตอร์เกี่ยวกับ HSS เพื่อไม่ให้สะกิดใจเขาว่ากาวีก็มีเป้าหมายในเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน[8]
มีผู้อ้างว่า งบประมาณด้าน HSS ขององค์กรในต้นคริสต์ทศวรรษ 2010 ได้นำไปใช้รักษาโรคโดยเฉพาะ ๆ แต่เชิดว่าเป็นส่วนของ HSS[12] การสนับสนุน HSS ในช่วงนี้มักเล็งการเพิ่มสมรรถภาพการให้วัคซีน โดยเฉพาะการสร้างโซ่อุปาทานที่ควบคุมอุณหภูมิ (cold chain)[A] แต่กาวีก็วัดความก้าวหน้าของโครงการ HSS โดยใช้ความทั่วถึงของการให้วัคซีนเป็นค่าวัดอย่างเดียว องค์กรเป็นผู้กำหนดค่าวัดที่ผู้ได้รับทุนขององค์กรต้องรายงาน โดยไม่ยอมให้ประเทศต่าง ๆ ใช้ค่าวัดคล้าย ๆ กันที่เก็บอยู่แล้ว ข้อบังคับนี้ถูกวิจารณ์ว่าเพิ่มภาระและเปลี่ยนความมุ่งหมายของประเทศต่าง ๆ เอง แม้จะมีผู้แทนรัฐบาลในคณะกรรมการองค์กร แต่ก็ไม่มีอำนาจอะไร ผู้แทนรัฐบาลยุโรปท่านหนึ่งกล่าวถึงบรรยากาศการประชุมคณะกรรมการเมื่อกลางคริสต์ทศวรรษ 2010 ว่า "น่ากลัวมาก"[8]
งานวิเคราะห์งบประมาณปี 2016 ของเงินทุนที่องค์กรมอบให้พบว่า งบประมาณเกินครึ่งใช้เพื่อซื้อยา อุปกรณ์ เครื่องใช้สอย และอาคารสถานที่ (อัตราร้อยละ 3 ใช้สำหรับโบนัสและการให้ค่าจ้างเพิ่มเมื่อทำการได้ตามหรือเกินเป้าหมาย[B]) ซึ่งองค์การอนามัยโลกจัดว่าเป็นการลงทุนระยะสั้นและไม่ใช่ HSS ในประเทศที่มีระบบสาธารณสุขด้อยพัฒนา อัตราส่วนก็จะยิ่งสูงกว่านี้ โดยไม่ได้ใช้จ่ายในงานวิจัยดำเนินการ (เพื่อช่วยการตัดสินใจ) เพิ่มใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว หรือพัฒนานโยบายยาหรือวัคซีนประจำชาติ[12] ทุนที่ให้ในบางกรณีใช้สำหรับค่าดำเนินการประจำวัน โดยไม่มีแผนว่าจะทำอย่างไรจึงไม่ต้องขอทุนอีกต่อไป ต่อมาก่อนปี 2018 องค์กรจึงได้จัดงบประมาณสำหรับ HSS ไปใช้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและส่งเสริมปฏิญญาประสิทธิภาพการช่วยเหลือแห่งกรุงปารีส (Paris Declaration for Aid Effectiveness)[20]
การเปลี่ยนราคาและการวางตลาดของวัคซีน
แก้ในปี 2012 รายงานขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) ได้วิจารณ์กาวีว่า ให้ทุนมากเกินไปเพื่อวัคซีนใหม่ ๆ ที่แพงโดยละเลยไม่สนับสนุนวัคซีนราคาถูกที่มีอยู่แล้วแก่เด็ก ๆ ผู้ให้คำปรึกษาทางนโยบายวัคซีนของ MSF กล่าวว่า "เด็กในโลกร้อยละ 20 ไม่ได้แม้แต่วัคซีนพื้นฐาน"[9] องค์กรวิจารณ์แผนทำการวัคซีนโลก (Global Vaccine Action Plan ตัวย่อ GVAP) ซึ่งเป็นแผนการร่วมมือกันขององค์การอนามัยโลกที่กาวีจัดว่าเป็นผู้นำ ว่าไม่สมบูรณ์เพราะไม่ช่วยเด็กร้อยละ 20 เหล่านั้นรวมจำนวนราว ๆ 19 ล้านคน[21]
วัคซีนรวม 5 อย่าง (pentavalent vaccine)
แก้ในปี 2011 กาวีตั้ง "การกำหนดวิถีทางตลาดของวัคซีนและอุปกรณ์การสร้างภูมิคุ้มกันอื่น ๆ" เป็นเป็นเป้าหมายยุทธการขององค์กร องค์กรใช้เวลานานถึง 15 ปี (ระหว่างปี 2005-2020) กับโปรแกรมวัคซีนรวม 5 อย่าง (pentavalent vaccine) เพื่อปรับตลาดวัคซีนให้เสถียรและให้แข่งขันกันดี โดยราคาวัคซีนก็ได้ตกลงเมื่อแข่งขันกันเพิ่มขึ้น และการตั้งราคาแตกต่างกัน (แล้วแต่ประเทศ) ก็ได้ลดลง องค์กรจะประเมินว่าได้บรรลุเป้าหมายโดยตัวเลขหรือไม่ในปี 2020[22]
-
จำนวนผู้ผลิตวัคซีนรวม 5 อย่างที่ได้การรับรองได้เพิ่มขึ้น ทำให้แข่งขันกันเพิ่มขึ้น กราฟโดยกาวี ไม่แสดงชื่อผู้ผลิต
-
ราคาของวัคซีนรวม 5 อย่างได้ตกลง โดยการตั้งราคาแตกต่างกันก็ได้หายไปเกือบหมดจากตลาด กราฟโดยกาวี เป็นราคาที่ขายให้แก่กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติเท่านั้น
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส
แก้ในปี 2011 องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) แนะนำให้กาวีเปลี่ยนวิธีการซื้อวัคซีน ในเรื่องโปรแกรมการผูกมัดทางตลาดล่วงหน้า (Advance Market Commitment) สำหรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส (pneumococcal vaccine) ซึ่งเท่ากับว่าบริษัทแกล็กโซสมิธไคลน์ (GSK) และไฟเซอร์ได้ทั้งเงินอุดหนุนและค่าวัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสต่อหน่วยที่จำหน่าย MSF ได้วิจารณ์ว่าเป็น "สวัสดิการให้บริษัทที่แพงอย่างอื้อฉาวต่อทั้งผู้บริจาคและประชาชนผู้เสียภาษี"[23] (แต่ก็ผูกมัดบริษัทว่าต้องขายวัคซีนอย่างน้อย 30 ล้านหน่วยต่อปีเป็นเวลา 10 ปี[24])
โปรแกรมการผูกมัดทางตลาดล่วงหน้าทำให้องค์กรให้เงินแก่บริษัททั้งสองมากกว่าให้แก่ผู้ผลิตที่ขายของถูกกว่า โดยแลกเปลี่ยนกับการถ่ายโอนเทคโนโลยีและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ MSF กล่าวว่าบริษัทยายักษ์ใหญ่ข้ามชาติบวกกำไรสูงมาก วัคซีนที่ได้รับรองอย่างสากลสามารถผลิตได้โดยบริษัทเล็กกว่าในอินเดียและจีน โดยมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าร้อยละ 40 ถึงแม้จะมีปัญหาเกี่ยวกับสิทธิบัตร การผูกขาดโดยผู้ขายสองรายเช่นนี้ก่อการตั้งราคาแตกต่างกัน นอกจากจะขายวัคซีนให้กาวีในราคาสูงกว่าเล็กน้อยแล้ว บริษัทยังขายวัคซีนในราคาที่จ่ายไม่ไหว (คือประมาณ 10 เท่าที่ขายให้กาวี) แก่ประเทศด้อยพัฒนาแต่มีรายได้ปานกลาง (เช่น ประเทศไทย[C]) ที่มีรายได้เกินกว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากกาวี[23] MSF ยังชี้ที่ความสำแร็จของโปรแกรม adapted vaccine ซึ่งทำให้วัคซีนส่งไปยังเขตชนบทได้ง่าย (คือไม่ต้องมีโซ่อุปาทานที่รักษาอุณหภูมิวัคซีน[A]ไว้ได้ มีข้อจำกัดทางอายุน้อยกว่า ฉีดน้อยครั้งกว่า ราคาถูกกว่าเป็นต้น) MSF แนะนำให้กาวีใช้งบประมาณกับ adapted vaccine และในการเพิ่มการแข่งขัน แทนที่จะให้เงินอุดหนุนแก่บริษัทยายักษ์ใหญ่[10]
กาวีตกลงกับสิ่งที่ MSF กล่าว แต่รู้สึกเสียใจว่า MSF ได้พูดถึงเรื่องนี้อย่างเปิดเผยทั้ง ๆ ที่เป็นสมาชิกคณะกรรมการขององค์กรเอง กาวีแก้ว่า ราคาถูกต้องมีการซื้อขายจำนวนมากที่เสถียร และต้องได้ "การพิจารณาอย่างรอบคอบและการสนับสนุนของผู้สนับสนุนที่สำคัญ"[26]
ในเดือนมกราคม 2015 MSF ยังได้ร้องเรียกให้ทั้งบริษัท GSK และไฟเซอร์ลดราคาวัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสให้เหลือแค่ 5 ดอลลาร์สหรัฐต่อเด็กหนึ่งคน (ประมาณ 162 บาท) ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งองค์กรประเมินว่าพอสมควรแล้ว[27] ต่อมาวันที่ 27 มกราคม องค์กรตอบสนองต่อสัญญาของไฟเซอร์ว่าจะลดราคาร้อยละ 6 ให้เหลือ 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อเด็กหนึ่งคนโดยชี้ว่า บริษัททั้งสองได้รับเงิน 21 ดอลลาร์ (ประมาณ 682 บาท) ต่อเด็กหนึ่งคนถ้ารวมเงินอุดหนุนจากกาวี และการลดราคาตามที่บริษัทว่าก็ไม่ได้เปลี่ยนสมรรถภาพการซื้อวัคซีนอย่างสำคัญของประเทศที่มีรายได้เกินกว่าที่กาวีจะช่วยเหลือแต่จนเกินกว่าที่จะซื้อวัคซีน[28] และยังกล่าวว่า ไฟเซอร์ได้กำไร 16,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณห้าแสนล้านบาท) จากวัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสใน 4 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น บริษัทจึงสามารถลดราคายิ่งกว่านี้ได้[29] ในต้นปี 2016 MSF ได้ทำการรณรงค์มีชื่อว่า "A fair shot" (การฉีดยาที่ยุติธรรม) เพื่อกดดันให้บริษัททั้งสองลดราคา[30] ไฟเซอร์แก้ว่า ตนกำลังขายวัคซีนในราคาที่ต่ำกว่าทุนมาก ส่วน GSK กล่าวว่าราคาที่ขายประมาณเท่ากับทุนที่ผลิต และ "การลดราคายิ่งกว่านี้จะเป็นอันตรายต่อความสามารถของเราในการขายยาให้กับประเทศเหล่านี้ในระยะยาว"[31]
บิล เกตส์ตอบสนองต่อ MSF ว่า "ผมคิดว่า มีองค์กรที่เยี่ยมในเรื่องเกือบทุกเรื่อง แต่ทุกครั้งที่เราระดมทุนเพื่อช่วยชีวิตเด็กยากจน พวกเขาก็จะแถลงข่าวกล่าวว่า ราคาของสิ่งเหล่านี้ควรจะเป็นศูนย์" เขากล่าวว่า การวิจารณ์ราคาบริษัทยาเป็นการกีดกั้นบริษัทไม่ให้ลงทุนกับยาที่ผลิตสำหรับประเทศกำลังพัฒนา และจริง ๆ แล้ว ควรยกย่องบริษัทยาที่ตั้งราคายาแตกต่างกัน (แล้วแต่ลูกค้า) เพราะว่า "เราได้สิ่งเหล่านี้ที่ดีในราคาที่ดีอันตั้งเป็นชั้น ๆ... และนั่นเป็นวิธีที่เราสามารถลดการตายในวัยเด็กได้เป็นครึ่ง" เขายังสนับสนุนให้ปรับปรุงโซ่อุปาทานที่ควบคุมอุณหภูมิ[A]ในประเทศกำลังพัฒนา[32]
ในเดือนสิงหาคม 2019 MSF ก็ร้องเรียกให้กาวียุติให้เงินอุดหนุนตามโปรแกรมการผูกมัดทางตลาดล่วงหน้าแก่บริษัททั้งสองอีกซึ่ง MSF จัดว่าเป็นการผูกขาดโดยผู้ขายสองราย (duopoly) และให้ซื้อวัคซีนจากผู้ผลิตรายที่สามคือสถาบันเซรุ่มอินเดีย (Serum Institute of India) ซึ่งขายวัคซีนในราคา 2/3 ของที่บริษัททั้งสองขาย เพราะวัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสใช้งบประมาณซื้อวัคซีนของกาวีร้อยละ 40 การได้ลดราคาร้อยละ 33 ย่อมทำให้องค์กรประหยัดเงินเป็นพัน ๆ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประหยัดงบประมาณซื้อวัคซีนไปร้อยละ 13[D]) ปอดบวมเป็นโรคฆ่าเด็กเกิน 1/4 ก่อนอายุถึง 5 ขวบซึ่งเกือบถึงล้านคนต่อปี MSF อ้างว่า ราคาของบริษัททั้งสองเอารัดเอาเปรียบซึ่งทำให้เด็กเป็นล้าน ๆ คนเสี่ยงตาย[33] ในเดือนธันวาคม 2019 องค์กรก็ยืนยันร้องขอเช่นนี้อีก โดยชี้ว่า วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสของบริษัททั้งสองมักมีราคาถึง 80 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,500 บาท) สำหรับประเทศมีรายได้ปานกลางที่ไม่จนพอได้รับการสนับสนุนจากกาวี[34] (ในเดือนกรกฎาคม 2020 อยู่ที่ประมาณ 1,114 และ 2,357 บาทในประเทศไทย[35])
ในเดือนมกราคม 2020 MSF ก็ได้ร้องขอให้กาวีซื้อเหมาวัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสที่ราคาถูกกว่า และให้วัคซีนกับเด็กเกินกว่า 55 ล้านคนที่ยังไม่ได้วัคซีน[36] โดยยังร้องไปยังองค์การอนามัยโลก กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ และมูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ด้วย และกล่าวว่า กาวีควรจะทำการยิ่งกว่านี้เพื่อลดราคาวัคซีน[37]
การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา
แก้ประธานบริหารของกาวีคือเซ็ท เบอร์กลีย์ได้ให้ข้อสังเกตว่า การตอบสนองของโลกต่อการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562-2563 เริ่มต้นค่อนข้างดี แต่ก็เตือนว่าจำเป็นต้องประสานงานการผลิตสิ่งที่จำเป็นในระดับโลก เขาเสนอว่า การตอบสนองต่อโรคระบาดทั่วจำเป็นต้องมาจากทั่วโลก โดยสถานที่ที่ใช้อำนวยการส่วนต่าง ๆ ของกระบวนการควรจะรวมเข้าเป็นส่วนของโครงการระดับโลก เขาหวังว่า ประเทศกลุ่ม 20 ควรทำงานร่วมกันโดยมีงบประมาณเป็นหมื่น ๆ ล้านดอลลาร์สหรัฐ และประเทศแต่ละประเทศ ๆ ควรเตรียมตัวให้แบ่งวัคซีนส่งไปยังเขตที่จัดว่า จำเป็นมากที่สุด[38]
โปรแกรมวัคซีน
แก้กาวีสนับสนุนวัคซีนดังต่อไปนี้คือ[39]
วัคซีน | โรค |
---|---|
วัคซีนฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส | ฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส |
วัคซีนโรคโปลิโอ | โรคโปลิโอ |
วัคซีนไวรัสสมองอักเสบญี่ปุ่น | ไวรัสสมองอักเสบญี่ปุ่น (Japanese encephalitis) |
Meningococcal vaccine | Neisseria meningitidis (Meningitis A vaccine) |
วัคซีนโรคหัดและโรคหัดเยอรมัน | โรคหัด / วัคซีนโรคหัด, โรคหัดเยอรมัน / วัคซีนโรคหัดเยอรมัน |
วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส (pneumococcal vaccine) | Streptococcus pneumoniae |
วัคซีนไข้รากสาดน้อย | ไข้รากสาดน้อย |
วัคซีนอหิวาตกโรค | อหิวาตกโรค |
วัคซีนโรตาไวรัส | โรตาไวรัส |
วัคซีนไข้เหลือง | ไข้เหลือง |
วัคซีนรวม 5 อย่าง (pentavalent vaccine) | โรคคอตีบ, บาดทะยัก, โรคไอกรน, Haemophilus influenzae / haemophilus influenza vaccine (haemophilus influenza Type B), ตับอักเสบ บี |
เชิงอรรถ
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 โซ่อุปาทานที่ควบคุมอุณหภูมิ (cold chain) เป็นโซ่การปรับอุณหภูมิที่ไม่ขาดเริ่มตั้งแต่การผลิต การเก็บในคลังสินค้า การจำหน่ายสินค้า ซึ่งรวมอุปกรณ์และโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกัน เพื่อรักษาอุณหภูมิให้ต่ำในพิสัยที่ต้องการ มันใช้รักษาและยืดอายุคุณภาพสินค้าของผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์เกษตร[18] อาหารทะเล อาหารแช่แข็ง ฟิล์มถ่ายรูป สารเคมี และยา[19] ไม่เหมือนกับสินค้าและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ สินค้าเหล่านี้เสียได้ และจัดว่าเป็นสินค้ากำลังขนส่งหรือบรรทุกตลอดจนกระทั่งถึงที่หมาย แม้เมื่อเก็บไว้ชั่วคราวในห้องเย็น
- ↑ งบประมาณการพัฒนาบุคลากรและสมรรถนะการทำงานอยู่ที่อัตราร้อยละ 22 โดยอัตราร้อยละ 15.8 ใช้เป็นเงินโบนัส[12]
- ↑ จัดเป็นประเทศมีรายได้ปานกลางระดับสูง (เทียบกับระดับต่ำ) โดยธนาคารโลกสำหรับปี 2021[25]
- ↑ 1/3 ของ 40% เท่ากับ 13.3333...%
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Ravelo, Jenny Lei (2014-11-10). "The evolution of global health's 'best-kept secret'". Devex. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-21. สืบค้นเมื่อ 2017-01-25.
- ↑ "GAVI - The Global Alliance for Vaccines and Immunizations". WHO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-01-15.
- ↑ Boseley, Sarah (2011-11-17). "Green light from Gavi for cervical cancer vaccine". Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-16. สืบค้นเมื่อ 2014-04-29.
- ↑ "GAVI Alliance". WHO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-10. สืบค้นเมื่อ 2020-01-15.
- ↑ "Supplies and Logistics - GAVI". UNICEF. 2007-04-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-16. สืบค้นเมื่อ 2013-01-27.
- ↑ "The World Bank's Partnership with the GAVI Alliance". World Bank Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-15. สืบค้นเมื่อ 2020-01-15.
- ↑ "What We Do -VACCINE DELIVERY- Strategy Overview". Bill&Melinda Gates Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-06. สืบค้นเมื่อ 2020-01-15.
- ↑ 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 8.11 8.12 8.13 Storeng, Katerini T (2014-09-14). "The GAVI Alliance and the 'Gates approach' to health system strengthening". Global Public Health. 9 (8): 865–879. doi:10.1080/17441692.2014.940362. PMC 4166931. PMID 25156323.
- ↑ 9.0 9.1 Paulson, Tom (2012-05-15). "Doctors Without Borders criticizes Gates-backed global vaccine strategy". Humanosphere. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-13.
Twenty percent of the world’s children aren’t even getting the basic vaccines
- ↑ 10.0 10.1 "GAVI money welcome but could it be more wisely spent?". Médecins Sans Frontières (MSF) International (ภาษาอังกฤษ). 2011-06-14. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-15.
- ↑ "Pneumococcal Vaccine is Launched in Africa, But Are Donors Getting a Fair Deal from Companies?". Doctors Without Borders - USA (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-16.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 Tsai, Feng-Jen; Lee, Howard; Fan, Victoria Y (2016). "Perspective and investments in health system strengthening of Gavi, the Vaccine Alliance: a content analysis of health system strengthening-specific funding". International Health. 8 (4): 246–252. doi:10.1093/inthealth/ihv063. PMC 6281386. PMID 26612851.
- ↑ "The Bill & Melinda Gates Foundation". Gavi, The Vaccine Alliance. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-04. สืบค้นเมื่อ 2019-07-04.
- ↑ "Industrialised country governments". GAVI. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-20.
- ↑ Gilmore, Rachel (2020-05-12). "Feds pump more funds into global effort to increase vaccine access". CTV News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-30.
- ↑ "Gavi - About". gavi.org. GAVI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-29. สืบค้นเมื่อ 2017-10-24.
- ↑ "BACK TO GAVI SECRETARIAT Dr Seth Berkley". www.gavi.org. GAVI. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-21. สืบค้นเมื่อ 2020-01-15.
- ↑ Kohli, Pawanexh. "Fruits and Vegetables Post-Harvest Care: The Basics" (PDF). CrossTree techno-visors. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-14.
- ↑ Gyesley, S. W. (1991). "Total Systems Approach to Predict Shelf Life of Packaged Foods". ASTM STP 1113-EB.
- ↑ Mimche, Honoré; Squires, Ellen; Miangotar, Yodé; Mokdad, Ali; El Bcheraoui, Charbel (2018). "Resource Allocation Strategies to Increase the Efficiency and Sustainability of Gavi's Health System Strengthening Grants". The Pediatric Infectious Disease Journal. 37 (5): 407–412. doi:10.1097/INF.0000000000001848. PMC 5916462. PMID 29278610.
- ↑ "Global vaccine plan draws criticism". Nature News Blog. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-12.
- ↑ Malhame, Melissa; Baker, Edward; Gandhi, Gian; Jones, Andrew; Kalpaxis, Philipp; Iqbal, Robyn; Momeni, Yalda; Nguyen, Aurelia (2019-07-18). "Shaping markets to benefit global health - A 15-year history and lessons learned from the pentavalent vaccine market". Vaccine: X. 2: 100033. doi:10.1016/j.jvacx.2019.100033. PMC 6668221. PMID 31384748.
- ↑ 23.0 23.1 "Gavi must stop giving millions in subsidies to Pfizer and GSK for pneumococcal vaccine". Doctors Without Borders - USA (ภาษาอังกฤษ). 2019-12-03. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-12.
- ↑ "Pneumococcal Vaccine is Launched in Africa, But Are Donors Getting a Fair Deal from Companies?". Doctors Without Borders - USA (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-16.
- ↑ "World Bank Country and Lending Groups". ธนาคารโลก. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-11. สืบค้นเมื่อ 2020-07-04.
- ↑ "GAVI responds to MSF campaign". www.gavi.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-13.
- ↑ "Access: MSF calls on GSK and Pfizer to slash pneumo vaccine price to $5 per child for poor countries ahead of donor meeting". Médecins Sans Frontières (MSF) International (ภาษาอังกฤษ). 2015-01-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-12.
- ↑ "MSF responds to Pfizer announcement of pneumococcal vaccine price reduction". Médecins Sans Frontières (MSF) International (ภาษาอังกฤษ). 2015-01-27. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-13.
- ↑ Boseley, Sarah (2015-01-26). "Vaccine price cut pledge not enough, critics tell Pfizer". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-18.
- ↑ "A fair shot campaign". A fair shot. Médecins Sans Frontières (MSF) International. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-17.
- ↑ Boseley, Sarah (2015-01-20). "Pharmaceutical companies told to slash price of pneumococcal disease vaccine". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-17.
- ↑ Boseley, Sarah (2015-01-27). "Bill Gates dismisses criticism of high prices for vaccines". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-29.
- ↑ "Gavi should stop awarding special funds to Pfizer and GSK for pneumonia vaccine". MSF (ภาษาอังกฤษ). 2019-08-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-12.
- ↑ "Gavi must stop giving millions in subsidies to Pfizer and GSK for pneumonia vaccine". Doctors Without Borders - USA (ภาษาอังกฤษ). 2019-12-03. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-12.
- ↑ "Available vaccines in our clinic and Price list". Thai Travel Clinic Hospital for Tropical Diseases Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-24. สืบค้นเมื่อ 2020-07-14.
- ↑ "MSF urges Gavi to work for more children to a get new, more affordable pneumonia vaccine". MSF (ภาษาอังกฤษ). 2020-01-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-12.
- ↑ "Gavi must work to ensure more children get new, more affordable pneumonia vaccine". Médecins Sans Frontières (MSF) International (ภาษาอังกฤษ). 2020-01-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-22.
- ↑ Seth Berkley: interview BBC Radio 4 8:46 am 11 April 2020
- ↑ "Vaccine support". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-29. สืบค้นเมื่อ 2020-03-12.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้