โรคไอกรน (อังกฤษ: pertussis) เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อได้ง่ายมากโรคหนึ่ง[10][1] อาการแรกเริ่มมักคล้ายคลึงกับหวัด โดยผู้ป่วยจะมีไข้ น้ำมูกไหล และไอเล็กน้อย จากนั้นจึงมีอาการไอรุนแรงต่อเนื่องหลายสัปดาห์ และมีไอเสียงสูงหรือหายใจเฮือกขณะจะมีอาการไอ อาการไอในระยะนี้อาจเป็นต่อเนื่องได้ถึง 10 สัปดาห์หรือมากกว่า บางครั้งจึงเรียกโรคนี้ว่า "โรคไอ 100 วัน"[11] ผู้ป่วยอาจมีอาการไอรุนแรงมากจนอาเจียน ซี่โครงหัก หรืออ่อนเพลียอย่างมากจากการไอได้[1][2] ผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปีอาจมีอาการไอเพียงเล็กน้อยหรือไม่ไอเลย แต่มีอาการหยุดหายใจชั่วขณะแทน[1] ระยะฟักตัวของโรคนี้มักอยู่ที่ 7-10 วัน ผู้ที่รับวัคซีนแล้วก็อาจป่วยด้วยโรคนี้ได้ แต่อาการอาจรุนแรงน้อยกว่า[1]

โรคไอกรน
ชื่ออื่นWhooping cough, pertussis, 100-day cough
A young boy coughing due to pertussis.
สาขาวิชาInfectious disease
อาการRunny nose, fever, cough[1]
ภาวะแทรกซ้อนVomiting, broken ribs, very tired[1][2]
ระยะดำเนินโรค~ 10 weeks[3]
สาเหตุBordetella pertussis (spread through the air)[4]
วิธีวินิจฉัยNasopharyngeal swab[5]
การป้องกันPertussis vaccine[6]
การรักษาAntibiotics (if started early)[7]
ความชุก16.3 million (2015)[8]
การเสียชีวิต58,700 (2015)[9]

โรคคอตีบเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis[4] สามารถติดต่อกันได้ผ่านละอองฝอยจากการไอหรือการจามของผู้ป่วย[4][12] ระยะที่สามารถติดต่อได้เริ่มตั้งแต่ระยะที่เริ่มมีอาการไปจนถึงระยะที่ไอต่อเนื่องกันมาแล้ว 3 สัปดาห์[7] ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะจะพ้นระยะติดต่อเมื่อเวลาผ่านไป 5 วัน[7] การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจสารคัดหลั่งจากโพรงจมูกหรือคอหอย[5] แล้วนำไปเพาะเชื้อหรือตรวจสารพันธุกรรมด้วยวิธีพีซีอาร์[5]

การป้องกันทำได้โดยการฉีดวัคซีนโรคคอตีบ[6] แนะนำให้เริ่มฉีดครั้งแรกตั้งแต่อายุ 6-8 สัปดาห์ และควรจะได้ 4 ครั้ง ภายในอายุ 2 ปีแรก[13] ภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบที่เกิดจากการฉีดวัคซีนจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นจึงมีการแนะนำให้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในเด็กโตและผู้ใหญ่[14] ในผู้สัมผัสโรคที่มีความเสีย่งต่อการป่วยรุนแรงอาจให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคได้[15] สำหรับผู้ป่วยโรคคอตีบ การให้ยาปฏิชีวนะจะมีประโยชน์ชัดเจนก็ต่อเมื่อได้เริ่มให้ยาภายใน 3 สัปดาห์ นับตั้งแต่เริ่มมีอาการ ถ้าไม่เช่นนั้นก็จะได้ประโยชน์เพียงเล็กน้อย[7] สำหรับผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี หรือสตรีตั้งครรภ์ ยังแนะนำให้ได้รับยาปฏิชีวนะหากป่วยมาเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 สัปดาห์[7] ยาปฏิชีวนะที่ใช้ได้ เช่น อีริโทรมัยซิน อะซิโทรมัยซิน คลาริโทรมัยซิน และไทรเมโทพริม/ซัลฟาเมทอกซาโซล[7] การรักษาอื่นที่มีเป้าหมายเพื่อควบคุมอาการไอนอกเหนือไปจากการใช้ยาปฏิชีวนะนั้นยังไม่มีหลักฐานที่ดีมาสนับสนุนการใช้[16] ผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ประมาณ 50% จะมีอาการรุนแรงถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และประมาณ 0.5% จะเสียชีวิต[1][2]

มีข้อมูล ค.ศ. 2015 ซึ่งประมาณไว้ว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคคอตีบประมาณ 16.3 ล้านคน[8] ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา โดยพบได้ทุกช่วงอายุ[6][16] จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงจาก 138,000 คนใน ค.ศ. 1990 เหลือ 58,700 คนใน ค.ศ. 2015[9][17] มีบันทึกกล่าวถึงการระบาดของโรคนี้ย้อนกลับไปจนถึงคริสตศตวรรษที่ 16[18] แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคถูกค้นพบเมื่อ ค.ศ. 1906[18] และวัคซีนก็มีใช้ตั้งแต่คริสตทศวรรษ 1940[18]

อาการและอาการแสดง แก้

อาการตามแบบฉบับของโรคไอกรนคืออาการไอมากเป็นชุดๆ หายใจเข้าเสียงดัง (วู้ป/whoop) บางครั้งอาจไอมากจนอาเจียนหรือหมดสติได้[19]

สาเหตุ แก้

โรคไอกรนเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis ติดจากคนสู่คนผ่านการหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อซึ่งถูกปล่อยออกมาจากคนป่วยที่มีอาการไอหรือจาม[4]

การวินิจฉัย แก้

การวินิจฉัยจากอาการ แก้

การประเมินผู้ป่วยในภาพรวมโดยแพทย์เป็นวิธีการวินิจฉัยเบื้องต้นที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด[20]

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ แก้

การวินิจฉัยด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการสามารถทำได้โดยการเพาะเชื้อจากการป้ายสารคัดหลั่งจากโพรงจมูกในสารเพาะเชื้อ BG, การทำ PCR, การตรวจแอนติบอดีด้วยวิธีฟลูออเรสเซนท์, และการตรวจภูมิคุ้มกันในเลือด[21]

การวินิจฉัยแยกโรค แก้

มีโรคที่มีอาการคล้ายกันแต่รุนแรงน้อยกว่า เกิดจากการติดเชื้อ B. parapertussis[22]

การป้องกัน แก้

วิธีป้องกันโรคที่สำคัญที่สุดคือการได้รับวัคซีน[23]

วัคซีน แก้

วัคซีนป้องกันโรคไอกรนเป็นวัคซีนที่ได้ผลดีในการป้องกันโรค[24]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "Pertussis (Whooping Cough) Signs & Symptoms". May 22, 2014. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Pertussis (Whooping Cough) Complications". cdc.gov. August 28, 2013. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ CDC2015Facts
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "Pertussis (Whooping Cough) Causes & Transmission". cdc.gov. 4 September 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2015. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Pertussis (Whooping Cough) Specimen Collection". cdc.gov. 28 August 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2015. สืบค้นเมื่อ 13 February 2015.
  6. 6.0 6.1 6.2 Heininger U (February 2010). "Update on pertussis in children". Expert Review of Anti-Infective Therapy. 8 (2): 163–73. doi:10.1586/eri.09.124. PMID 20109046. S2CID 207217558.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 "Pertussis (Whooping Cough) Treatment". cdc.gov. 28 August 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2015. สืบค้นเมื่อ 13 February 2015.
  8. 8.0 8.1 Vos, Theo; Allen, Christine; Arora, Megha; Barber, Ryan M.; Bhutta, Zulfiqar A.; Brown, Alexandria; Carter, Austin; Casey, Daniel C.; Charlson, Fiona J.; Chen, Alan Z.; Coggeshall, Megan; Cornaby, Leslie; Dandona, Lalit; Dicker, Daniel J.; Dilegge, Tina; Erskine, Holly E.; Ferrari, Alize J.; Fitzmaurice, Christina; Fleming, Tom; Forouzanfar, Mohammad H.; Fullman, Nancy; Gething, Peter W.; Goldberg, Ellen M.; Graetz, Nicholas; Haagsma, Juanita A.; Hay, Simon I.; Johnson, Catherine O.; Kassebaum, Nicholas J.; Kawashima, Toana; และคณะ (October 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990–2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282.
  9. 9.0 9.1 Wang, Haidong; Naghavi, Mohsen; Allen, Christine; Barber, Ryan M.; Bhutta, Zulfiqar A.; Carter, Austin; Casey, Daniel C.; Charlson, Fiona J.; Chen, Alan Zian; Coates, Matthew M.; Coggeshall, Megan; Dandona, Lalit; Dicker, Daniel J.; Erskine, Holly E.; Ferrari, Alize J.; Fitzmaurice, Christina; Foreman, Kyle; Forouzanfar, Mohammad H.; Fraser, Maya S.; Fullman, Nancy; Gething, Peter W.; Goldberg, Ellen M.; Graetz, Nicholas; Haagsma, Juanita A.; Hay, Simon I.; Huynh, Chantal; Johnson, Catherine O.; Kassebaum, Nicholas J.; Kinfu, Yohannes; และคณะ (October 2016). "Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980–2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1459–1544. doi:10.1016/s0140-6736(16)31012-1. PMC 5388903. PMID 27733281.
  10. Carbonetti NH (June 2007). "Immunomodulation in the pathogenesis of Bordetella pertussis infection and disease". Curr Opin Pharmacol. 7 (3): 272–8. doi:10.1016/j.coph.2006.12.004. PMID 17418639.
  11. "Pertussis (Whooping Cough) Fast Facts". cdc.gov. February 13, 2014. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
  12. "Pertussis". WHO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2015. สืบค้นเมื่อ 23 March 2016.
  13. "Revised guidance on the choice of pertussis vaccines: July 2014" (PDF). Relevé Épidémiologique Hebdomadaire. 89 (30): 337–40. July 2014. PMID 25072068. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2015.
  14. "Pertussis vaccines: WHO position paper". Relevé Épidémiologique Hebdomadaire. 85 (40): 385–400. October 2010. PMID 20939150.
  15. "Pertussis (Whooping Cough) Prevention". cdc.gov. 10 October 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2015. สืบค้นเมื่อ 13 February 2015.
  16. 16.0 16.1 Wang K, Bettiol S, Thompson MJ, Roberts NW, Perera R, Heneghan CJ, Harnden A (September 2014). "Symptomatic treatment of the cough in whooping cough". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 9 (9): CD003257. doi:10.1002/14651858.CD003257.pub5. PMC 7154224. PMID 25243777.
  17. GBD 2013 Mortality Causes of Death Collaborators (January 2015). "Global, regional, and national age-sex specific all-cause and cause-specific mortality for 240 causes of death, 1990–2013: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2013". Lancet. 385 (9963): 117–71. doi:10.1016/S0140-6736(14)61682-2. PMC 4340604. PMID 25530442. {{cite journal}}: |author1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  18. 18.0 18.1 18.2 Atkinson W (May 2012). Pertussis Epidemiology and Prevention of Vaccine-Preventable Diseases (12th ed.). Public Health Foundation. pp. 215–230. ISBN 9780983263135. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2017.
  19. Cornia PB, Hersh AL, Lipsky BA, Newman TB, Gonzales R (August 2010). "Does this coughing adolescent or adult patient have pertussis?". JAMA. 304 (8): 890–6. doi:10.1001/jama.2010.1181. PMID 20736473. S2CID 14430946.
  20. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Eb2017
  21. Pedro-Pons, Agustín (1968). Patología y Clínica Médicas (ภาษาสเปน). Vol. 6 (3rd ed.). Barcelona: Salvat. p. 615. ISBN 84-345-1106-1.
  22. Finger H, von Koenig CH (1996). "Bordetella". ใน Baron S, และคณะ (บ.ก.). Bordetella–Clinical Manifestations. In: Barron's Medical Microbiology (4th ed.). Univ of Texas Medical Branch. ISBN 0-9631172-1-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2007.
  23. "Pertussis | Whooping Cough | Vaccination | CDC". www.cdc.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2017. สืบค้นเมื่อ 27 May 2017.
  24. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Cochrane2014