บริติชแอร์เวย์

สายการบินแห่งชาติของสหราชอาณาจักร
(เปลี่ยนทางจาก บริติช แอร์เวย์)

บริติชแอร์เวย์ (อังกฤษ: British Airways) เป็นสายการบินประจำชาติของสหราชอาณาจักร ที่มีฐานการบินที่ท่าอากาศยานฮีทโธรว์และท่าอากาศยานแกตวิกในลอนดอน[2][3] บริติชแอร์เวย์ถือเป็นเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่สองของประเทศ ตามหลังอีซี่ย์เจ็ต และเป็นลำดับที่สามของทวีปยุโรปตามหลังแอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็มและลุฟต์ฮันซ่า สายการบินให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทางกว่า 200 แห่งทั่วโลก

บริติชแอร์เวย์
IATA ICAO รหัสเรียก
BA BAW; SHT SPEEDBIRD; SHUTTLE
ก่อตั้ง
  • 25 สิงหาคม ค.ศ. 1919 (105 ปี) (ในขื่อ แอร์ทรานสปอร์ทแอนด์เทรเวล)
  • 31 มีนาคม ค.ศ. 1974 (50 ปี) (ในชื่อ บริติชแอร์เวย์)
AOC #441
ท่าหลักลอนดอน–แกตวิค
ลอนดอน–ฮีทโธรว์
สะสมไมล์เอ็กเซ็กคิวทีฟคลับ/เอวิออส
พันธมิตรการบินวันเวิลด์
บริษัทลูกบีเอซิตีฟลายเออร์
บีเอยูโรฟลายเออร์
ขนาดฝูงบิน257
จุดหมาย183
บริษัทแม่อินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์กรุ๊ป
สำนักงานใหญ่สหราชอาณาจักร วอเตอร์ไซด์ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร
บุคลากรหลักฌอน ดอยล์ (ประธานและซีอีโอ)
สตีเฟน วิลเลียม ลอว์เรนซ์ กันนิง (ซีเอฟโอและผู้อำนวยการ)
รายได้เพิ่มขึ้น 14.3 พันล้านปอนด์ (ค.ศ. 2023)[1]
กำไร
เพิ่มขึ้น 1,161 ล้านปอนด์ (ค.ศ. 2023)[1]
พนักงาน
37,401 คน (ค.ศ. 2023)
เว็บไซต์www.britishairways.com

ประวัติ

แก้

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1919 บริษัทแอร์ทรานสปอร์ทแอนด์เทรเวล (Aircraft Transport and Travel; AT&T) เริ่มเปิดบริการเที่ยวบินระหว่างประเทศระหว่างลอนดอนกับปารีส จนกระทั่งในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1974 สายการบินสัญชาติอังกฤษ 4 ราย ประกอบด้วย Instone, Handley Page, Daimler Airways [เดิมคือ AT&T] และ British Air Marine Navigation ได้ควบรวมกิจการเข้าด้วยกันเป็นอิมพีเรียลแอร์เวย์ (Imperial Airways)[4] ให้บริการเส้นทางจากอังกฤษไปยัง ออสเตรเลีย และแอฟริกา

ในระหว่างนั้นสายการบินขนาดเล็กอื่นๆ ของอังกฤษ ก็เริ่มเปิดให้บริการเช่นกัน ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1935 ก็ได้ควบรวมกิจการเข้าเป็น บริติช แอร์เวย์ จำกัด (British Airways Ltd.) และหลังจากนั้นไม่นานรัฐบาลอังกฤษจึงได้แปรรูปกิจการ อิมพีเรียล แอร์เวย์ และ บริติช แอร์เวย์ จำกัด เข้ามาเป็นรัฐวิสาหกิจบริติชโอเวอร์ซีส์แอร์เวย์สคอร์ปอเรชัน (British Overseas Airways Corporation: BOAC) ในปีค.ศ. 1939 และยังคงให้บริการเส้นทางบินระยะไกลอยู่ในช่วงหลังสงครามโลก ยกเว้นเพียงเส้นทางไปอเมริกาใต้ ที่ให้บริการโดย บริติชเซาท์อเมริกันแอร์เวย์ (British South American Airways) ซึ่งต่อมาในปีค.ศ. 1949 ก็ได้ยุบรวมเข้ากับ BOAC ส่วนในเส้นทางภายประเทศและเส้นทางระหว่างประเทศในทวีปยุโรป ให้บริการโดยสายการบินแห่งใหม่ บริติชยูโรเปียนแอร์เวย์ (British European Airways: BEA)

ในปีค.ศ. 1952 BOAC ให้บริการด้วยเครื่อง De Havilland Comet ไปยังโจฮันเนสเบิร์ก ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางได้ และมีบริการจัดเที่ยวบินพิเศษทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการบิน ในปีค.ศ. 1970 BEA จึงต้องสู้ด้วยการตั้ง BEA Airtours จนกระทั่งปีค.ศ. 1972 BOAC และ BEA ก็ควบรวมการบริหารโดยตั้งกรรมการบริติช แอร์เวย์ (British Airways Board) เข้ามาดูแลแต่ยังแยกกันดำเนินกิจการ ก่อนที่จะยุบรวมเข้าเป็นสายการบินเดียวกันคือ บริติช แอร์เวย์ ในปีค.ศ. 1974 ภายใต้การดูแลของเดวิด นิโคลสัน ประธานกรรมการในขณะนั้น

บริติช แอร์เวย์ เริ่มให้บริการเครื่องบินความเร็วเหนือเสียงครั้งแรกของโลก คองคอร์ด ไปพร้อมๆกับสายการบินแอร์ฟรานซ์ ในปีค.ศ. 1976

จากรัฐวิสาหกิจสู่บริษัทเอกชน

แก้

เซอร์จอห์น คิง ถูกแต่งตั้งให้เป็นประธานในการเตรียมพร้อมการแปรรูปกิจการไปเป็นบริษัทเอกชน ในปีค.ศ. 1981 คิงได้ว่าจ้าง โคลิน มาร์แชล มาเป็นประธานบริหาร ในปีค.ศ. 1983 คิงเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงด้านการปรับเปลี่ยนสายการบินที่ขาดทุนมหาศาลให้เป็นสายการบินที่สามารถทำกำไรได้มากที่สุดของโลกได้ ในขณะที่สายการขนาดใหญ่อื่นๆยังคงประสบปัญหาอยู่ ทั้งฝูงบินและเส้นทางบินได้ถูกปรับเปลี่ยนตั้งช่วงแรกที่คิงเข้ามาบริหาร ด้วยการทำการตลาดและระดมนักโฆษณามาสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับสายการบิน มีการปลดพนักงานกว่า 23,000 ตำแหน่งในช่วงปี 1980 แต่คิงก็มีวิธีการสร้างขวัญกำลังให้พนักกงานที่เหลือและได้ปรับเปลี่ยนขั้นตอนการดำเนินงานให้ทันสมัยมากขึ้นไปพร้อมๆกัน

สายการบินแห่งชาติอังกฤษก็ได้แปรรูปกิจการและเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน (London Stock Exchange) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1987 ในสมัยรัฐบาลพรรคอนุรักษนิยม ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1988 ผลของบริติช แอร์เวย์ ส่งไปถึงการเข้าครอบครองกิจการสายการบินอันดับสองของอังกฤษ บริติชแคลิโดเนียแอร์เวย์ (British Caledonian) และในปีค.ศ. 1992 ได้ซื้อสายการบินแดนแอร์ (Dan-Air) ซึ่งมีฐานอยู่ที่แกตวิค

การเปลี่ยนแปลงและสายการบินลูก

แก้

ในช่วงทศวรรษ 1990 บริติชแอร์เวย์ได้เป็นสายการบินที่มีผลกำไรมากที่สุดในโลก และได้เปิดสายการบินลูกดอยท์ช บีเอ ในปีค.ศ. 1992 เพื่อให้บริการในเยอรมนี จนกระทั่งเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2003 ก็ได้ขายกิจการออกไป ในขณะนั้นดอยท์ช บีเอ เป็นสายการบินให้บริการเส้นทางภายในประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเยอรมนี เป็นรองเพียงลุฟต์ฮันซา ขนาดของฝูงบินประกอบด้วยเครื่องบินโบอิง 737 ถึง 16 ลำ

ในปีค.ศ. 1993 โคลิน มาร์แชล ได้เข้ามาบริหารงานแทนที่ลอร์ดคิง ส่วนลอร์ดคิงก็ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกิตติมศักดิ์อาวุโสในปีค.ศ. 1995 เป็นตำแหน่งพิเศษที่ตั้งให้ท่านลอร์ดโดยเฉพาะ

เนื่องจากปัญหาทางการเมืองระหว่างจีนและไต้หวัน บริติช แอร์เวย์ จึงได้เปิดสายการบินลูกบริติชเอเชียแอร์เวย์ ขึ้นในปีค.ศ. 1995 มีฐานการบริการอยู่ที่ไต้หวัน สำหรับเส้นทางบินจากลอนดอนไปไทเป และได้เปลี่ยนเครื่องแบบให้เครื่องบินใหม่ โดยไม่ใช่ธงสหราชอาณาจักร แต่เปลี่ยนเป็นอักษรจีนแทน ซึ่งหลายสายการบินก็นำเอาวิธีการนี้ไปใช้ตามกัน เช่น แควนตัส ให้บริการในชื่อ ออสเตรเลีย เอเชีย แอร์เวย์ และเคแอลเอ็ม ให้บริการในชื่อ เคแอลเอ็ม เอเชีย จนกระทั่งปีค.ศ. 2001 บริติช เอเชีย แอร์เวย์ ก็หยุดกิจการเนื่องจากผลกำไรลดลง

กิจการองค์กร

แก้

สำนักงานใหญ่

แก้
 
สำนักงานใหญ่ของบริติชแอร์เวย์ที่ฮาร์มอนด์สเวิร์ธ, ลอนดอน

สำนักงานใหญ่ของสายการบินตั้งอยู่ในฮาร์มอนด์สเวิร์ธซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่ใกล้กับท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์[5] วอเตอร์ไซด์สร้างเสร็จในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1998 เพื่อแทนที่สำนักงานใหญ่เดิม, สปีดเบิร์ดเฮาส์[6][7] ซึ่งตั้งอยู่ในเทคนิคอลบล็อก ซี ของท่าอากาศยานฮีทโธรว์[8]

สายการบินลูก

แก้

สายการบินลูกในอดีต

แก้
 
โบอิง 757-200 ของโอเพนสกายที่ท่าอากาศยานฮันโนเฟอร์

แฟรนไชส์

แก้

บริติชแอร์เวย์ มีหุ้นอยู่ในสายการบินสัญชาติสเปน ไอบีเรีย อยู่ 10% โดยสัดส่วนหุ้นจาก 9 % เป็น 10% จากการซื้อหุ้นที่ถือโดยอเมริกันแอร์ไลน์ ทำให้บริติช แอร์เวย์สามารถแต่งตั้งกรรมการบอร์ดบริหารได้ 2 คน

บริติชแอร์เวย์ มีหุ้นในฟลายบี อยู่ 15% เนื่องจากขายบีเอคอนเนคให้กับฟลายบีเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550

บริติชแอร์เวย์ เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งเครือข่ายพันธมิตรสายการบินวันเวิลด์

จุดหมายปลายทาง

แก้

ข้อตกลงการบินร่วม

แก้

บริติชแอร์เวย์มีข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[9]

ฝูงบิน

แก้

ฝูงบินปัจจุบัน

แก้

ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2024 บริติชแอร์เวย์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[16][17][18]

ฝูงบินของบริติชแอร์เวย์
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร[19] หมายเหตุ
F J W Y รวม
แอร์บัส เอ319-100 29 40 83 123 หนึ่งลำสวมลวดลายย้อนยุคบีอีเอ
แอร์บัส เอ320-200 53 48 108 156 สามลำ (G-EUYP/R/S) สวมลวดลายวันเวิลด์[20]
แอร์บัส เอ320นีโอ 25 8[21] 48 108 156 สั่งซื้อเพิ่มเติม 28 ลำโดยไอเอจี ซึ่งยังไม่ได้มีการระบุผู้ให้บริการในกล่มสายการบิน[1]หนึ่งลำสวมลวดลาย บีเอเบ็ตเทอร์เวิลด์
แอร์บัส เอ321นีโอ 15 5[21] 56 136 192 สั่งซื้อเพิ่มเติม 23 ลำโดยไอเอจี ซึ่งยังไม่ได้มีการระบุผู้ให้บริการในกล่มสายการบิน[1]
แอร์บัส เอ350-1000 18 56 56 219 331 ส่งมอบพร้อมที่นั่งคลับสวีท ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดของรุ่นในยุโรป[21]
แอร์บัส เอ380-800 12 14 97 55 303 469
โบอิง 777-200อีอาร์ 43 8 49 40 138 235 การจัดเรียงแบบฮีทโธรว์ โดยใช้การจัดเรียงห้องโดยสารใหม่ มาพร้อมกับที่นั่งคลับสวีท[22]
G-YMML สวมลวดลาย เกรตเฟสติวัลออฟครีเอทิวิตี
สามลำ (G-YMMR/T/U) สวมลวดลายวันเวิลด์
48 40 184 272
14 48 40 134 236 การจัดเรียงแบบแกตวิก โดยใช้ที่นั่งคลับเลิด์ที่เก่ากว่า[ต้องการอ้างอิง]
32 52 252 336
48 332
โบอิง 777-300อีอาร์ 16 8 76 40 130 254 ทั้งหมดติดตั้งที่นั่งคลับสวีท (จากการปรับห้องโดยสาร 12 ลำ รับมอบใหม่ 4 ลำ)
โบอิง 777-9 18[23] 8 65 46 206 325 สั่งซื้อพร้อม 24 ตัวเลือก[23]
โบอิง 787-8 12 31 37 136 204 ปรับห้องโดยสารโดยติดตั้งที่นั่งคลับสวีท
35 25 154 214 ที่นั่งคลับเลิด์ที่เก่ากว่า
โบอิง 787-9 18 8 42 39 127 216
โบอิง 787-10 9 9[24] 8 48 35 165 256 ส่งมอบพร้อมที่นั่งคลับสวีท
สั่งซื้อพร้อม 6 ตัวเลือก
รวม 250 42

บริติชแอร์เวย์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 14.1 ปี

การจัดหา/ปลดระวาง

แก้
 
เครื่องบินคองคอร์ดที่ฮีทโธรว์

นับเรื่อยมาจนกระทั่งปลายทศวรรษ 1990 บริติชแอร์เวย์ป็นลูกค้าหลักของโบอิง ซึ่งเป็นข้อถกเถียงกันว่า สายการบินประจำชาติอังกฤษเองควรจะสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินของอังกฤษ หรือซื้อเครื่องบินจากแอร์บัส (ชิ้นส่วนปีกของแอร์บัสและชิ้นส่วนอีกหลายส่วน มีฐานการผลิตอยู่ในอังกฤษ) ทางบริษัทเองก็ออกแถลงการปกป้องตัวเองว่า นอกจากเครื่องบินโบอิง 777 28 ลำจากทั้งหมดแล้ว เครื่องบินโบอิงลำอื่นๆก็ใช้เครื่องยนต์ของโรลส์รอยซ์ ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติอังกฤษ ซึ่งคำสั่งซื้อแบบนี้ก็สามารถนับย้อนไปจนถึงการซื้อเครื่องบินโบอิง 707 ที่ให้ใช้เครื่องยนต์ของโรลส์รอยซ์ เมื่อช่วงปี 1960 (พ.ศ. 2503)

การเปลี่ยนแปลงฝูงบินที่มีเครื่องบินที่ไม่ใช่ของโบอิงมากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะมาจากการควบรวมกิจการกับสายการบินอื่นๆ ตัวอย่างเช่น การซื้อสายการบินบริติช ดาลโดเนียน แอร์เวย์ในช่วงปี พ.ศ. 2520 ซึ่งให้บริการเครื่องบินแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10 และแอร์บัส เอ320 ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 (พ.ศ. 2533) บริติช แอร์เวย์ จึงได้เริ่มสั่งเครื่องแอร์บัส เอ320/เอ319เป็นจำนวนกว่า 100 ลำ เพื่อแทนที่เครื่องบินโบอิง 737

บริติช แอร์เวย์ ยังเคยเป็นให้บริการเครื่องบินคองคอร์ด มีเที่ยวบินทุกวันระหว่างฮีทโธรว์และนิวยอร์ก (จากเดิมที่ให้บริการไปบาห์เรน) โดยแรกเริ่มนั้นคอนคอร์ดมีต้นทุนในการให้บริการสูงเกินควร และได้รับคำวิจารณ์เชิงลบว่าเป็นการลงทุนที่เปล่าประโยชน์ แต่บริติช แอร์เวย์ ก็สามารถดึงความสนใจจากผู้โดยสารได้

หลังจากอุบัติเหตุของเครื่องบินคอนคอร์ดของแอร์ฟรานซ์ และวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ทำให้ต้นทุนการดำเนินงานพุ่งสูงขึ้น ยิ่งทำให้อนาคตของคองคอร์ดริบหรี่ลงไปอีก จึงได้มีแถลงการณ์ (ในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2546) ว่าหลังจาก 24 ตุลาคม พ.ศ. 2546 จะเริ่มกระบวนการลดเที่ยวบินคองคอร์ดลง เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารที่ลดลง เที่ยวบินคองคอร์ดสุดท้ายของบริติช แอร์เวย์ ออกจากฮีทโธรว์ไปบาร์บาดอส ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2546 บริติช แอร์เวย์ ยังเป็นเจ้าของเครื่องคองคอร์ดอยู่ทั้งหมด 8 ลำ โดยทำสัญญาเช่ายืมระยะยาวกับพิพธภัณฑ์ต่างๆในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และบาร์เบดอส

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ

แก้
 
เที่ยวบินที่ 38 หลังจากเกิดอุบัติเหตุ
  • 10 กันยายน พ.ศ. 2519 เที่ยวบินที่ 476 เครื่องบินทรีเดนท์ 3บี จากฮีทโธรว์ไปยังเมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี และเครื่องบินดักลาส ดีซี 9 เที่ยวบินที่ 550 ของสายการบินไอเน็ก-เอเดรีย จากเมืองสปลิต ประเทศโครเอเชีย ไปยังเมืองโคโลญ ประเทศเยอรมนีตะวันตก เฉี่ยวชนกลางอากาศเหนือน่านฟ้าซาเกรบ ซึ่งก็คือประเทศยูโกสลาเวียในเวลาต่อมา ผู้โดยสารทั้งหมด 176 คน เสียชีวิต
  • 24 มิถุนายน พ.ศ. 2525 เที่ยวบินที่ 9 เครื่องบิน โบอิง 747-200 G-BDXH เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน City of Edinburgh บินผ่านกลุ่มเถ้าธุลีเหนือจากภูเขาไฟกาลุงกุง เป็นเหตุให้เครื่องเกิดความเสียหายขนาดหนัก เครื่องยนต์ทั้ง 4 ตัวไม่ทำงาน นักบินสามารถนำเครื่องออกจากกลุ่มเถ้าธุลีได้ และสามารถติดเครื่องยนต์ได้อีกครั้ง (มีการล้มเหลวเพียงครั้งเดียว ขณะพยายามจะไต่ระดับขึ้นเหนือยอดเขา) และสามารถลงจอดฉุกเฉินที่กรุงจาการ์ตา ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ
  • 10 มิถุนายน พ.ศ. 2533 เที่ยวบินที่ 5390 เครื่องบินบีเอซี 1-11 ขณะเดินทางจากเบอร์มิงแฮมไปมาลากา ถูกกระแสลมกระแทกเข้าใส่ จนนักบินกระเด็นออกจากห้องบังคับเครื่องบินแต่ลูกเรือช่วยไว้ได้ทัน ผู้ช่วยนักบินสามารถนำเครื่องลงจอดได้อย่างปลอดภัยที่ท่าอากาศยานเซาท์แธมตัน
  • 2 สิงหาคม พ.ศ. 2533 เที่ยวบินที่ 149 ลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติคูเวต 4 ชั่วโมงหลังจากที่อิรักได้บุกเข้ายึดคูเวต ผู้โดยสารและลูกเรือถูกจับตัว และเครื่องบินถูกทำลาย
  • 10 ตุลาคม พ.ศ. 2543 เครื่องบินโบอิง 757 จากลอนดอนไปยังอัมสเตอร์ดัม บินผ่ากลางพายุ 2 ลูก โดนฟ้าผ่าลงที่ใต้หน้าต่างนักบินคนที่ 1 ริชาร์ด แอดค็อก ทำให้โดยกระแสไฟฟ้าช็อตขณะจับหน้าปัดแผงควบคุมและทำให้แผงควบคุมใช้การไม่ได้ จึงได้เปลี่ยนการควบคุมให้กับผู้ช่วยนักบิน ไมค์ แทร์รี่ เครื่องสามารถบินต่อไปและลงจอดได้โดยไม่เกิดอุบัติเหตุอีก ผู้โดยสารทั้งหมด 157 คนไม่ได้รับบาดเจ็บใดๆ ยกเว้ยเพียงนักบินที่ 1 เป็นแผลไฟไหม้ที่หน้าอก
  • 29 ธันวาคม พ.ศ. 2543 เที่ยวบินที่ 2069 จากท่าอากาศยานลอนดอนแกตวิคไปยังไนโรบี ถูกจี้เครื่องบินขณะบินเหนือน่าฟ้าซูดาน พอล มูโกนยี นักเรียนชาวเคนยาและมีอาการป่วยทางจิต บุกเข้าในห้องบังคับการบิน ลูกเรือทั้ง 3 คน พยายามห้ามมูโกนยีไว้ ระบบการบินอัตโนมัติไม่ทำงาน ทำให้เครื่องบินดิ่งลดระดับไปประมาณ 10,000 ฟุต ผู้โดยสารทั้ง 398 คน ในจำนวนนั้นรวมถึงนักดนตรีร็อคชาวอังกฤษ ไบรอัน เฟอร์รี่ และ เจอมีมา คาน ด้วย เหตุการณ์นี้นักบินสามารถควบคุมเครื่องเอาไว้ได้ทันและสามารถลงจอดได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งสามารถจับตัวมูโกนยีใส่กุญแจมือไว้ได้
  • 5 กันยายน พ.ศ. 2544 เครื่องบินโบอิง 777-200 G-VIIK เกิดไฟไหม้ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเดนเวอร์ เมืองเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด เพลิงไหม้เกิดขณะที่เครื่องจอดอยู่ที่หลุมจอด กำลังระบายผู้โดยสารออกและเติมเชื้อเพลิงใหม่ ขณะเกิดเหตุมีนักบินและผู้ช่วงนักบินอีก 2 คน ลูกเรือ 13 คน และผู้โดยสารอีก 10 คน ยังอยู่บนเครื่องบิน แต่ไม่มีรายงานว่าได้รับบาดเจ็บ แต่หน่วยให้บริการภาคพื้นดินได้รับความเสียหายอย่างหนัก
  • 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 เกิดเหตุเครื่องยนต์เครื่องบินโบอิง 747-400ขัดข้อง และเสียหายภายในตัวเครื่อง หลังจากที่นำเครื่องขึ้นจากลอสแอนเจลิสเพื่อจะมุ่งหน้าไปฮีทโธรว์ โดยมีลูกเรือทั้งหมด 16 คน และผู้โดยสาร 351 คน นักบินได้ดับเครื่องยนต์ที่เสีย แต่ก็ยังไต่ระดับและตรวจสอบสมรรถภาพก่อนที่จะตัดสินใจบินต่อไป ตามมาตรการการบินของบริติช แอร์เวย์ ที่ใช้กับเครื่องบินแบบ 4 เครื่องยนต์ แต่เนื่องจากไม่สามารถทำความเร็วได้เท่ากับการใช้เครื่องยนต์ทั้ง 4 ตัว จึงได้เปลี่ยนเส้นทางการบินไปลงที่แมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร แทน ทั้งนี้องค์กรการบินสหรัฐอเมริกา (FAA) ได้ออกมาตำหนิการตัดสินใจของนักบิน[1] และระเบียบวิธีการบินของบริติช แอร์เวย์ ว่าไม่เหมาะสม จนกระทั่งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 หน่วนงานสอบสวนอุบัติเหตุทางอากาศของสหราชอาณาจักร ได้เสนอแนะให้หน่วยการที่ควบคุมการบินทั้งของสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรได้ตรวจสอบและปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติและแนวทางที่ชัดเจนสำหรับการตัดสินใจ ซึ่งก็ไม่มีหน่วยงานใดรับไปพิจารณา แต่องค์กรการบินสหรัฐอเมริกาก็ได้ออกมายอมรับการตัดสินใจของกรมการขนส่งทางอากาศของสหราชอาณาจักรในภายหลังว่าเหมาะสมแล้ว[2]
  • 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 เครื่องบินลำเดิม G-BNLG ได้เกิดเหตุและต้องดับเครื่องยนต์อีกครั้ง ในเที่ยวบินจากสิงคโปร์ไปลอนดอน และนักบินก็ยังคงตัดสินใจบินต่อไปเช่นเดิม และครั้งนี้ก็ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงใดๆเกิดขึ้น[3]
  • 10 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ได้มีการยกเลิกเที่ยวบินหลายเที่ยวบินที่จะออกจากท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ เนื่องจากข่าวการลอบวางระเบิดเพื่อจะทำลายเครื่องบินที่จะบินไปยังสหรัฐอเมริกา บริติช แอร์เวย์ ได้ออกแถลงข่าวในภายหลังว่าเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดความมสูญเสียเป็นมูลค่าถึง 40 ล้านปอนด์ และทำให้ 1,280 เที่ยวบินถูกยกเลิกในช่วงวันที่ 10 ถึง 17 สิงหาคม[4]
  • 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 บริติช แอร์เวย์ ได้ประกาศพักการบินของเครื่องบินโบอิง 767 3 ลำ เพื่อตรวจหาหลักฐานและกัมมันตภาพรังสี คดีการตายของอเล็กซานเดอร์ ลิทวิเนนโก เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านั้น มีเครื่องบิน 2 ลำ ที่ตรวจสอบที่ฮีทโธรว์ ส่วนอีกลำตรวจสอบที่ท่าอากาศยานนานาชาติโดโมเดโดโวของมอสโก[5] และมีข่าวปรากฏภายหลังว่าเครื่องบินที่จอดอยู่ที่มอสโก บินเครื่องเปล่ากลับมายังฮีโธรว์สำหรับการตรวจหลักฐาน ผลตรวจขั้นต้นไม่พบร่องรอยและกัมมันตภาพรังสีที่สำคัญบนเครื่องบิน 2 ใน 3 ลำ [6]

ข้อมูลเพิ่มเติม

แก้
  • บริติชแอร์เวย์ ได้รับใบอนุญาตจาก กรมขนส่งทางอากาศของสหราชอาณาจักร ประเภท เอ อนุญาตให้ดำเนินกิจการขนส่งผู้โดยสาร สินค้า และไปรษณีย์ บนเครื่องบินที่มีขนาด 20ที่นั่ง หรือมากกว่านั้น [7]
  • บริติชแอร์เวย์และแอร์ฟรานซ์ เป็นเพียงสองสายการบินเท่านั้นที่ให้บริการเครื่องบินคอนคอร์ด และบริติชแอร์เวย์ยังช่วยดำเนินการเครื่องคอนคอร์ดให้กับสายการบินบรานิฟอินเตอร์เนชันแนลแอร์เวย์และสิงคโปร์แอร์ไลน์ในช่วงระยะสั้นหนึ่งด้วย
  • โดยทั่วไปแล้วบริติชแอร์เวย์ จะใช้รหัสเรียกชื่อสายการบินว่า "Speedbird" แต่เที่ยวบินภายในประเทศที่ระหว่างฮีทโธรว์และแกตวิค จะใช้รหัสเรียกชื่อว่า "Shuttle" และเฉพาะเที่ยวบินเหมาลำในช่วงคริสต์มาส จะใช้รหัสเรียกชื่อว่า "Santa"
  • บริติชแอร์เวย์ ได้รับรางวัล สายการบินแห่งปี 2006 จากเวิลด์แอร์ไลน์อวาร์ด โดยสกายแทรกซ์
  • บริติชแอร์เวย์ เป็นสายการบินหลักของการแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดัน

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "BA Annual Report 2023" (PDF). IAG. สืบค้นเมื่อ 25 July 2024. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ ":0" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  2. "British Airways aims to mitigate strike effect | Labor content from ATWOnline". web.archive.org. 2017-01-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-12. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  3. "Get to know the flag carriers of the European countries - AirMundo". web.archive.org. 2018-04-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-09. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  4. Millward (2008), p. 83
  5. http://www.britishairways.com/travel/aboutba/public/en_gb
  6. http://www.flightglobal.com/pdfarchive/view/1997/1997%20-%200826.html?search=%22British%20Airways%2258
  7. "People and Business: Toy story is just a fable". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 1998-10-06.
  8. "British Airways to mothball £200m Heathrow HQ in cost-cutting move". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2020-07-29.
  9. "Profile on British Airways". CAPA. Centre for Aviation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2016. สืบค้นเมื่อ 1 November 2016.
  10. "British Airways Signs Codeshare Agreement With China Southern Airlines". mediacentre.britishairways.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2017. สืบค้นเมื่อ 20 December 2017.
  11. "British Airways Forms New Codeshare with Kenya Airways – AirlineGeeks.com". 24 October 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2021. สืบค้นเมื่อ 25 October 2021.
  12. "Rising number of flights spark fear that island airport will be overwhelmed with passengers". HeraldScotland. 17 August 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2017. สืบค้นเมื่อ 17 August 2017.
  13. "Loganair Lands BA Tie-up". Airliner World (October 2017): 5.
  14. "British Airways / Malaysia Airlines begins codeshare partnership from Oct 2019". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2020. สืบค้นเมื่อ 8 October 2019.
  15. Liu, Jim (18 April 2019). "British Airways expands S7 Airlines domestic Russia codeshare in S19". Routesonline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2019. สืบค้นเมื่อ 18 April 2019.
  16. "GINFO Search Results Summary". Civil Aviation Authority. 29 September 2017. สืบค้นเมื่อ 30 September 2017.[ลิงก์เสีย] Aircraft operated by AOC holder British Airways PLC
  17. "British Airways Fleet Details and History". www.planespotters.net.
  18. "Fleet facts". britishairways.com. Archived from the original on 30 August 2018. Retrieved 12 May 2018.
  19. "Seat maps". britishairways.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2016. สืบค้นเมื่อ 7 November 2018.
  20. aviationsourcenews.com - British Airways Airbus A320 in oneworld Livery Spotted in London 10 November 2023
  21. 21.0 21.1 21.2 Airbus Commercial Aircraft (June 2023). "Orders and Deliveries June 2023". Airbus S.A.S. / airbus.com. สืบค้นเมื่อ 3 August 2023.
  22. "I can confirm that the final LHR 777-200ER (G-YMMU) has now been refurbished with club suites". Twitter. British Airways. สืบค้นเมื่อ 23 May 2023.
  23. 23.0 23.1 "Boeing Signs Deal for Up to 42 777X Airplanes with International Airlines Group". MediaRoom. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2019. สืบค้นเมื่อ 28 February 2019.
  24. "Boeing 787 Orders and Deliveries". The Boeing Company. 30 June 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 August 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้