ยูฟ่ายูโรปาลีก

การแข่งขันฟุตบอลประจำปีของสโมสรฟุตบอลในทวีปยุโรป
(เปลี่ยนทางจาก UEFA Europa League)

ยูฟ่ายูโรปาลีก (อังกฤษ: UEFA Europa League) เป็นการแข่งขันฟุตบอลประจำปีระหว่างสโมสรฟุตบอลจากประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป จัดโดยสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรปหรือยูฟ่า ตั้งแต่ ค.ศ. 1971 รายการนี้เป็นการแข่งขันระดับที่สองของฟุตบอลสโมสรยุโรปรองจาก ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก และเหนือกว่า ยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก

ยูฟ่ายูโรปาลีก
ผู้จัดยูฟ่า
ก่อตั้งค.ศ. 1971; 53 ปีที่แล้ว (1971)
(เปลี่ยนชื่อในปี ค.ศ. 2009)
ภูมิภาคยุโรป
จำนวนทีม32 (รอบแบ่งกลุ่ม)[a]
58 (ทั้งหมด)
ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าซูเปอร์คัพ
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
การแข่งขันที่เกี่ยวข้องยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก (ระดับที่ 1)
ยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก (ระดับที่ 3)
ทีมชนะเลิศปัจจุบันอิตาลี อาตาลันตา (สมัยที่ 1)
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุดสเปน เซบิยา (7 สมัย)
ผู้แพร่ภาพโทรทัศน์รายชื่อผู้ถ่ายทอดสด
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2024–25

แต่เดิม การแข่งขันนี้เรียกว่า ยูฟ่าคัพ (อังกฤษ: UEFA Cup) โดยแทนที่อินเตอร์-ซิตีส์แฟส์คัพ ยูฟ่าคัพเป็นการแข่งขันระดับสามตั้งแต่ ค.ศ. 1971 ถึง 1999 ก่อน ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ จะถูกยกเลิก[1][2] สโมสรฟุตบอลมีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันในรายการนี้ จากผลงานของพวกเขาในลีกระดับประเทศและการแข่งขันฟุตบอลถ้วยในประเทศ

ใน ค.ศ. 1999 การแข่งขัน ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ ถูกยกเลิกและได้รวมเข้ากับยูฟ่าคัพ[3] ตั้งแต่ฤดูกาล 2004–05 มีการเพิ่มรอบแบ่งกลุ่ม ก่อนจะเข้าสู่รอบแพ้คัดออก ยูฟ่าคัพ เปลี่ยนชื่อเป็น ยูฟ่ายูโรปาลีก ตั้งแต่ ฤดูกาล 2009–10[4][5] หลังมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขัน[6] โดยได้รวมการแข่งขัน ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ ทำให้ ยูฟ่ายูโรปาลีก มีรูปแบบการแข่งขันที่ขยายใหญ่ขึ้น โดยมีกลุ่มในรอบแบ่งกลุ่มที่มากขึ้นและการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ในการผ่านเข้ารอบ ผู้ชนะเลิศ ยูฟ่ายูโรปาลีก สามารถเข้าไปแข่งขันในรายการ ยูฟ่าซูเปอร์คัพ และ ตั้งแต่ฤดูกาล 2014–15 สามารถเข้าไปแข่งขันในรายการ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบแบ่งกลุ่ม ในฤดูกาลถัดไป ยูฟ่า–คอนเมบอลคลับแชลลินจ์ การแข่งขันกระชับมิตรกับผู้ชนะเลิศคอนเมบอล โกปา ซูดาเมริกานา ตั้งแต่ ค.ศ. 2023

สโมสรจากสเปนเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด (14 สมัย) ตามมาด้วยสโมสรจากอังกฤษและอิตาลี (ประเทศละ 9 สมัย) มีสโมสรชนะเลิศรายการนี้ 29 สโมสร โดยมี 14 สโมสรชนะเลิศมากกว่าหนึ่งสมัย สโมสรที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือ เซบิยา โดยชนะเลิศ 7 สมัย ในฤดูกาลล่าสุด (2023-24) สโมสรที่ชนะเลิศ คือ อาตาลันตา ซึ่งคว้าแชมป์รายการนี้เป็นสมัยแรก โดยเอาชนะไบเออร์เลเวอร์คูเซิน ในนัดชิงชนะเลิศ

ประวัติ

แก้

ก่อนหน้าการแข่งขันยูฟ่าคัพ มีการแข่งขันชื่อว่า อินเตอร์-ซิตีส์แฟส์คัพ (อังกฤษ: Inter-Cities Fairs Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างสโมสรในยุโรป โดยแข่งขันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 ถึง 1971 การแข่งขันครั้งแรก (1955–58) นั้นมีสโมสรเข้าร่วม 11 สโมสร จนการแข่งขันครั้งสุดท้าย (1970–71) มีสโมสรเข้าร่วม 64 สโมสร การแข่งขันกลายสิ่งที่สำคัญมากในวงการฟุตบอลยุโรป จนในที่สุด ยูฟ่า ได้เข้ามาควบคุมดูแลและเปิดการแข่งขันใหม่ในชื่อ ยูฟ่าคัพ ในฤดูกาลถัดมา

ยูฟ่าคัพแข่งขันครั้งแรกในฤดูกาล 1971–72 โดยนัดชิงชนะเลิศ เป็นการพบกันระหว่างสองสโมสรจากอังกฤษ วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ กับ ทอตนัมฮอตสเปอร์ โดยสเปอร์เป็นผู้ชนะเลิศ ลิเวอร์พูล เป็นอีกหนึ่งสโมสรจากอังกฤษที่ชนะเลิศยูฟ่าคัพในปี ค.ศ. 1973 หลังเอาชนะ โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค ในนัดชิงชนะเลิศ กลัทบัค ชนะเลิศรายการนี้ในปี ค.ศ. 1975 และ 1979 และเข้าสู่นัดชิงชนะเลิศอีกครั้งในปี ค.ศ. 1980 ไฟเยอโนร์ด ชนะเลิศยูฟ่าคัพในปี ค.ศ. 1974 หลังเอาชนะ ทอตนัมฮอตสเปอร์ ด้วยผลประตูรวม 4–2 (2–2 ในลอนดอน, 2–0 ในรอตเทอร์ดาม) ลิเวอร์พูล ชนะรายการนี้เป็นครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1976 หลังเอาชนะ กลึบบรึค ในนัดชิงชนะเลิศ

ในทศวรรษ 1980 อีเอฟโค เยอเตอบอร์ (1982 และ 1987) และ เรอัลมาดริด (1985 และ 1986) ชนะเลิศรายการนี้สโมสรละสองครั้ง อันเดอร์เลคต์ เข้าสู่นัดชิงชนะเลิศสองปีติดต่อกัน โดยชนะเลิศในปี ค.ศ. 1983 และ แพ้ให้กับ ทอตนัมฮอตสเปอร์ ในปี ค.ศ. 1984 ต่อมาในปี ค.ศ. 1989 เริ่มมีสโมสรจากอิตาลีเข้ามาชนะเลิศในรายการนี้มากขึ้น หลัง นาโปลี ของ ดิเอโก มาราโดนา เอาชนะ ชตุทท์การ์ท

ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 มีนัดชิงชนะเลิศที่เป็นการพบกันเองของสโมสรจากอิตาลีสองครั้ง และในปี ค.ศ. 1992 โตรีโน แพ้ อายักซ์ ในนัดชิงชนะเลิศ ด้วย กฎประตูทีมเยือน ยูเวนตุส ชนะเลิศรายการนี้เป็นครั้งที่สามในปี ค.ศ. 1993 และ อินแตร์มิลาน ชนะเลิศรายการนี้ในปีถัดมา ในปี ค.ศ. 1995 มีนัดชิงชนะเลิศที่เป็นการพบกันเองของสโมสรจากอิตาลีเป็นครั้งที่สาม โดย ปาร์มา เป็นผู้ชนะเลิศรายการนี้ เพื่อพิสูจน์ความสม่ำเสมอของพวกเขา หลังชนะเลิศ ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ สองปีติดต่อกัน นัดชิงชนะเลิศนัดเดียวที่ไม่มีสโมสรจากอิตาลีคือในปี ค.ศ. 1996 อินแตร์มิลาน เข้าสู่นัดชิงชนะเลิศสองปีติดต่อกัน โดยแพ้ให้กับ ชัลเคอ 04 ในปี ค.ศ. 1997 ในการดวลจุดโทษ และชนะเลิศในนัดชิงชนะเลิศที่เป็นการพบกันเองของสโมสรจากอิตาลีเป็นครั้งที่สี่ ในปี ค.ศ. 1998 โดยเป็นการชนะเลิศสามครั้งของอินแตร์มิลานภายในแปดปี ปาร์มา ชนะเลิศในปี ค.ศ. 1999 เป็นการสิ้นสุดยุคที่อิตาลีครอบครองรายการนี้ และเป็นนัดชิงชนะเลิศสุดท้ายของ ยูฟ่าคัพ/ยูโรปาลีก ที่ไม่มีสโมสรจากอิตาลี จนกระทั่งอินแตร์มิลานเข้าสู่นัดชิงชนะเลิศ ในปี ค.ศ. 2020

 
การแข่งขันระหว่าง เลชพอซนาน กับ เดปอร์ติโบเดลาโกรุญญา ในฤดูกาล 2008–09

ลิเวอร์พูลชนะเลิศรายการนี้เป็นครั้งที่สามในปี ค.ศ. 2001 ไฟเยอโนร์ดชนะเลิศรายการนี้เป็นครั้งที่สองในปี ค.ศ. 2002 หลังเอาชนะ โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ ด้วยผลประตูรวม 3–2 ในสนามกีฬาของพวกเขาเอง (เดอเกยป์ ใน รอตเทอร์ดาม) โปร์ตู ชนะเลิศรายการนี้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 2003 และชนะเลิศอีกครั้งในปี ค.ศ. 2011 หลังเอาชนะ บรากา สโมสรจากโปรตุเกสด้วยกันเอง ในปี ค.ศ. 2004 เริ่มเห็นสโมสรจากสเปนกลับมาชนะเลิศในรายการนี้อีกครั้ง เริ่มต้นด้วย บาเลนเซีย ชนะเลิศในปี ค.ศ. 2004 และ เซบิยา ชนะเลิศติดต่อกันในปี ค.ศ. 2006 และ 2007 โดยในนัดชิงชนะเลิศในปี ค.ศ. 2007 เป็นการเอาชนะ อัสปัญญ็อล สโมสรจากสเปนด้วยกันเอง นอกจากนี้ ยังมีสโมสรจากรัสเซียสองสโมสร ซีเอสเคเอ มอสโก ชนะเลิศในปี ค.ศ. 2005 และ เซนิตเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ชนะเลิศในปี ค.ศ. 2008 ชัคตาร์ดอแนตสก์ ชนะเลิศในปี ค.ศ. 2009 โดยเป็นอดีตสโมสรฟุตบอลจากโซเวียตและจากยูเครนปัจจุบันที่ชนะเลิศในรายการนี้

ตั้งแต่ฤดูกาล 2009–10 การแข่งขันยูฟ่าคัพ ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น ยูฟ่ายูโรปาลีก[4][5] ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ การแข่งขันระดับที่สามของยูฟ่า ยกเลิกการแข่งขันและรวมเข้ากับยูโรปาลีกใหม่

อัตเลติโกเดมาดริด ชนะเลิศในรายการนี้สองครั้งในสามฤดูกาล ในปี ค.ศ. 2010 และ 2012 โดยในนัดชิงชนะเลิศในปี ค.ศ. 2012 เป็นการเอาชนะ อัตเลติกเดบิลบาโอ สโมสรจากสเปนด้วยกันเอง เชลซี ชนะเลิศในรายการนี้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 2013 กลายเป็นสโมสรแรกที่ชนะเลิศแชมเปียนลีกแล้วชนะเลิศยูฟ่าคัพ/ยูโรปาในปีถัดมา ในปี ค.ศ. 2014 เซบิยาชนะเลิศในรายการนี้เป็นครั้งที่สามในรอบแปดปี หลังเอาชนะ ไบฟีกา ในการดวลจุดโทษ เซบิยาชนะเลิศครั้งที่สี่ในปี ค.ศ. 2015, ครั้งที่ห้าในปี ค.ศ. 2016 หลังเอาชนะลิเวอร์พูลในนัดชิงชนะเลิศ และครั้งที่หกในปี ค.ศ. 2020 หลังเอาชนะอินแตร์มิลานในนัดชิงชนะเลิศ ทำให้เซบิยากลายเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในรายการนี้

ถ้วยรางวัล

แก้

ยูฟ่าคัพ หรือ รู้จักในชื่อ คูปยูฟ่า เป็นถ้วยรางวัลประจำปีโดยยูฟ่า ที่มอบให้กับสโมสรฟุตบอลที่ชนะเลิศในรายการยูฟ่ายูโรปาลีก ก่อนการแข่งขันในฤดูกาล 2009–10 การแข่งขันและถ้วยรางวัลมีชื่อว่า 'ยูฟ่าคัพ' เหมือนกัน

ก่อนการแข่งขันจะเปลี่ยนชื่อเป็น ยูฟ่ายูโรปาลีก ใน ฤดูกาล 2009–10 ข้อบังคับของยูฟ่าระบุว่า สโมสรสามารถเก็บถ้วยรางวัลไว้ได้หนึ่งปี ก่อนที่จะส่งคืนให้กับยูฟ่า หลังจากคืนถ้วยรางวัลแล้ว สโมสรสามารถเก็บแบบจำลองของถ้วยรางวัลที่มีขนาดสี่ในห้าไว้ได้ เมื่อสโมสรชนะเลิศติดต่อกันสามครั้งหรือชนะเลิศรวมกันห้าครั้ง สโมสรสามารถเก็บถ้วยรางวัลไว้ได้อย่างถาวร[7] อย่างไรก็ตาม ภายใต้กฎข้อบังคับใหม่ ถ้วยรางวัลยังคงอยู่ในการเก็บรักษาของยูฟ่าตลอดเวลา ถ้วยรางวัลจำลองขนาดเต็มจะมอบให้กับทุกสโมสรที่ชนะเลิศการแข่งขัน นอกจากนี้ สโมสรที่ชนะสามครั้งติดต่อกันหรือรวมกันห้าครั้ง จะได้รับตราที่บ่งบอกถึงจำนวนที่ชนะเลิศ[8] ในฤดูกาล 2016–17 เซบิยาเป็นสโมสรเดียวที่ใส่ตราที่บ่งบอกถึงจำนวนที่ชนะเลิศ หลังประสบความสำเร็จทั้งสองอย่างมาก่อนใน นัดชิงชนะเลิศ 2016[9]

ถ้วยรางวัลออกแบบและสร้างโดย เบอร์โตนี สำหรับ ยูฟ่าคัพ นัดชิงชนะเลิศ 1972 มีลักษณะเป็นถ้วยทรงสูงสีเงินบนฐานหินอ่อนสีเหลือง[10] มีความสูง 65 เซนติเมตร, กว้าง 33 เซนติเมตร, ลึกประมาณ 23 เซนติเมตรและมีน้ำหนัก 15 กิโลกรัม[11]

เพลงสรรเสริญ

แก้

เพลงสรรเสริญเป็นดนตรีที่เล่นก่อนการแข่งขันในรายการยูโรปาลีกทุกนัด ณ สนามกีฬาที่แข่งขันในรายการดังกล่าว และก่อนการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ทุกนัดของยูโรปาลีก โดยเป็นองค์ประกอบดนตรีของการเปิดการแข่งขัน[12]

เพลงสรรเสริญแรกของการแข่งขัน แต่งโดย ยวน ซวิก และบันทึกเสียงโดย แพริสโอเปรา ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2009 เพลงสำหรับยูโรปาลีกเปิดตัวครั้งแรกอย่างเป็นทางการที่ ไกรเมลดิฟอรัม เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 2009 ก่อนการจับสลากรอบแบ่งกลุ่ม ฤดูกาล 2009–10 เพลงสรรเสริญเพลงที่สอง แต่งโดย มิคาเอล คาเดิลบัก และบันทึกเสียงในเบอร์ลิน เป็นส่วนหนึ่งของการรีแบรนด์การแข่งขันใหม่ในฤดูกาล 2015–16[13] เพลงสรรเสริญเพลงที่สามสร้างโดย แมสซีฟมิวสิก สำหรับการแข่งขันในฤดูกาล 2018–19[14]

รูปแบบการแข่งขัน

แก้

การคัดเลือก

แก้

การคัดเลือกเข้ามาแข่งขันในรายการนี้ ใช้การอ้างอิงจากค่าสัมประสิทธิ์ยูฟ่า ประเทศที่ประสบความสำเร็จมากกว่าจะได้เข้าไปอยู่ในรอบที่ดีกว่า ในทางปฏิบัติ แต่ละสมาคมจะได้รับสิทธิ์ในการเข้ามาแข่งขันในรายการนี้จำนวนสามทีมเท่ากัน ยกเว้น:

ปกติแล้ว ทีมที่เข้าไปแข่งขันในยูฟ่ายูโรปาลีก มักจะเป็นทีมรองชนะเลิศจากลีกสูงสุดในแต่ละประเทศและผู้ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลถ้วยหลัก โดยทั่วไปแล้ว คือทีมที่อยู่ในอันดับสูงสุดที่ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก อย่างไรก็ตาม ใน เบลเยียมลีก การเข้าไปแข่งขันในรายการนี้ ต้องเพลย์ออฟระหว่างทีมจาก เฟิสต์ เอกับเฟิสต์ บี มีไม่กี่ประเทศที่มีการแข่งขันฟุตบอลถ้วยรอง แต่เฉพาะผู้ชนะเลิศฟุตบอลถ้วยรองของอังกฤษและของฝรั่งเศสเท่านั้น ที่ได้รับสิทธิ์เข้าไปแข่งขันในยูฟ่ายูโรปาลีก

การเข้ามาแข่งขันในรายการยุโรป สามารถเข้ามาได้มากกว่าหนึ่งเส้นทาง ในทุกกรณี ถ้าสโมสรมีสิทธิ์เข้าไปแข่งขันใน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก แล้ว จะไม่สามารถเข้าไปแข่งขันใน ยูฟ่ายูโรปาลีก ได้ เพราะสิทธิ์ของแชมเปียนส์ลีกมีความสำคัญมากกว่า สิทธิ์ของยูฟ่ายูโรปาลีกจะมอบให้กับสโมสรอื่นหรือปล่อยว่าง หากเกินขีดจำกัดสูงสุดของทีมที่มีสามารถเข้าไปแข่งขันในรายการยุโรป ถ้าทีมที่ผ่านเข้าไปแข่งขันในรายการยุโรป จากการชนะเลิศฟุตบอลถ้วยและตำแหน่งในลีก สิทธิ์ "สำรอง" ของยูฟ่ายูโรปาลีกจะย้ายไปที่อันดับสูงสุดในลีก ที่ยังไม่ได้ผ่านเข้าไปแข่งขันในรายการยุโรป ขึ้นอยู่กับกฎของสมาคมของแต่ละประเทศหรือปล่อยว่างหากถึงขีดจำกัดตามที่กล่าวไว้ข้างต้น

สมาคมฟุตบอลสามอันดับแรกอาจจะได้รับสิทธิ์ที่สี่ หากผู้ชนะเลิศแชมเปียนส์ลีกและยูโรปาลีกมาจากสมาคมดังกล่าว และไม่สามารถเข้าไปแข่งขันในรายการยุโรปได้จากผลงานในประเทศ ในกรณีนี้ ทีมอันดับที่สี่ในสมาคมดังกล่าวจะเข้าไปแข่งขันในยูโรปาลีกแทนที่แชมเปียนส์ลีก เพิ่มเติมจากทีมอื่นที่ผ่านเข้ารอบ

ทีมที่ตกรอบจากรอบคัดเลือกและรอบแบ่งกลุ่มในแชมเปียนส์ลีก สามารถเข้าแข่งขันในยูโรปาลีก ในรอบต่าง ๆ (ดูด้านล่าง) ในอดีต ทีมที่ชนะเลิศยูโรปาลีก สามารถเข้ามาแข่งขันในยูโรปาลีกเพื่อป้องกันแชมป์ แต่ตั้งแต่ ค.ศ. 2015 ทีมที่ชนะเลิศยูโรปาลีก จะเข้าไปแข่งขันในแชมเปียนส์ลีก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 ถึง 2015 สามลีกแรกที่มีคะแนน การจัดอันดับแฟร์เพลย์ของยูฟ่า สูงสุด จะได้รับหนึ่งสิทธิ์พิเศษเข้าไปแข่งขันในยูโรปาลีก

รูปแบบในอดีต

แก้

ในอดีต การแข่งขันมีรูปแบบเป็นแบบแพ้คัดออกอย่างเดียว โดยแข่งขันสองนัดในระบบเหย้า-เยือน ตั้งแต่รอบแรกจนถึงรอบชิงชนะเลิศ จนกระทั่งใน ฤดูกาล 1997–98 ได้เปลี่ยนแปลงการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ให้แข่งขันแค่นัดเดียว ส่วนรอบอื่น ๆ ยังคงเป็นแบบแข่งขันสองนัด

ก่อน ฤดูกาล 2004–05 การแข่งขันประกอบด้วย หนึ่งรอบคัดเลือกแล้วตามมาด้วยรอบแพ้คัดออก 16 ทีมที่ตกรอบจากรอบคัดเลือกสุดท้ายของแชมเปียนส์ลีก เข้าสู่รอบแรกของยูฟ่าคัพ ต่อมา ทีมที่จบอันดับสามในรอบแบ่งกลุ่มแรกของแชมเปียนส์ลีก เข้าสู่รอบสุดท้ายของยูฟ่าคัพ

ตั้งแต่ฤดูกาล 2004–05 การแข่งขันเริ่มต้นด้วยรอบคัดเลือกสองรอบ แข่งขันในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ทีมที่มาจากสมาคมอันดับที่ 18 และต่ำกว่า จะเข้าสู่รอบคัดเลือกรอบแรก ทีมที่มาจากสมาคมอันดับที่ 9–18 จะเข้าสู่รอบคัดเลือกรอบสอง ร่วมกับทีมที่ชนะจากรอบคัดเลือกรอบแรก นอกจากนี้ ยังมีสามสิทธิ์ในรอบคัดเลือกรอบแรกสำรองไว้ให้กับทีมที่มีคะแนนของ การจัดอันดับแฟร์เพลย์ของยูฟ่า สูงสุด (จนถึงฤดูกาล 2015–16) และสิบเอ็ดสิทธิ์ในรอบคัดเลือกรอบสอง สำหรับทีมที่ชนะเลิศ ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ

ทีมที่ชนะในรอบคัดเลือกจะเข้าร่วมในรอบแรก ร่วมกับทีมที่มาจากสมาคมอันดับที่ 1–13 นอกจากนี้ ยังมีทีมที่ตกรอบจากรอบคัดเลือกรอบสามในแชมเปียนส์ลีก เข้าร่วมในรอบนี้ ร่วมกับ ทีมที่ป้องกันแชมป์ (เว้นแต่พวกเขาจะผ่านเข้ารอบไปแข่งขันในแชมเปียนส์ลีกจากผลงานในลีกระดับประเทศ) รวมแล้วรอบแรกมีทีมทั้งหมด 80 ทีม

หลังผ่านรอบแพ้คัดออกรอบแรก 40 ทีมที่เหลือจะเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่ม โดยจับสลากแบ่งเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ทีม รอบแบ่งกลุ่มของยูฟ่าคัพไม่เหมือนกับแชมเปียนส์ลีก ในยูฟ่าคัพ แต่ละทีมจะแข่งขันพบกันแค่ครั้งเดียว, โดยแข่งขันเกมเหย้าสองนัดและเยือนสองนัด สามทีมแรกของแต่ละกลุ่ม จะผ่านเข้าไปในรอบแพ้คัดออกหลัก ร่วมกับ 8 ทีมที่จบอันดับสามในรอบแบ่งกลุ่มของแชมเปียนส์ลีก หลังจากนั้น เป็นการแข่งขันแบบแพ้คัดออกสองนัด ก่อนจะเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศหนึ่งนัด ซึ่งตามธรรมเนียมแล้ว จะแข่งขันในวันพุธในเดือนพฤษภาคม หนึ่งสัปดาห์ก่อนการแข่งขันแชมเปียนส์ลีกรอบชิงชนะเลิศ

รูปแบบปัจจุบัน

แก้
 
แผนที่ของประเทศในยูฟ่าที่ทีมเข้าถึงรอบแบ่งกลุ่มของยูฟ่ายูโรปาลีก
  ประเทศสมาชิกของยูฟ่าที่ได้เป็นตัวแทนในรอบแบ่งกลุ่ม
  ประเทศสมาชิกของยูฟ่าที่ไม่ได้เป็นตัวแทนในรอบแบ่งกลุ่ม

ใน ฤดูกาล 2009–10 การแข่งขันได้รับการรีแบรนด์ใหม่เป็น ยูฟ่ายูโรปาลีก โดยยูฟ่าต้องการให้การแข่งขันดูน่าสนใจมากขึ้น[4] โดยมีทีมเพิ่มขึ้นอีก 8 ทีมที่ผ่านเข้าไปในรอบแบ่งกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย 12 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม (แข่งขันโดยพบกันหมดเหย้า-เยือน) โดยทีมที่จบ 2 อันดับแรกในแต่ละกลุ่ม จะเข้ารอบถัดไป จากนั้นการแข่งขันจะดำเนินไปในลักษณะเดียวกับรูปแบบก่อนหน้านี้ ประกอบด้วย รอบแพ้คัดออกแบบพบกันเหย้า-เยือน สี่รอบและหนึ่งนัดชิงชนะเลิศ ที่จะแข่งขันในสนามกลางที่ผ่านคุณสมบัติการแบ่งประเภทสนามฟุตบอลของยูฟ่า นัดชิงชนะเลิศแข่งขันในเดือนพฤษภาคม ในวันพุธ สิบวันก่อนนัดชิงชนะเลิศของแชมเปียนส์ลีก

การคัดเลือกเข้าไปแข่งขันในรายการนี้ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ สมาคมอันดับที่ 7–9 ตามค่าสัมประสิทธิ์ของยูฟ่า ส่งทีมที่ชนะเลิศฟุตบอลถ้วยและอีกสามทีม (สองทีม ตั้งแต่ฤดูกาล 2015–16) เข้าแข่งขันในยูฟ่ายูโรปาลีก ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ส่งทีมที่ชนะเลิศฟุตบอลถ้วยและอีกสองทีม ยกเว้น อันดอร์ราและซานมารีโน ที่ส่งเฉพาะทีมชนะเลิศฟุตบอลถ้วยและทีมรองชนะเลิศ และ ลิกเตนสไตน์ ที่ส่งเฉพาะทีมที่ชนะเลิศฟุตบอลถ้วยเท่านั้น ตั้งแต่ยิบรอลตาร์ได้รับการยอมรับให้เป็นสมาชิกยูฟ่าเต็มตัว ในการประชุมยูฟ่าคองเกรสซึ่งจัดขึ้นในลอนดอนเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 ทีมที่ชนะเลิศฟุตบอลถ้วยของพวกเขา สามารถเข้าแข่งขันในรายการยูโรปาลีก โดยปกติแล้ว ทีมอื่น ๆ จะเป็นสโมสรที่มีอันดับสูงสุดถัดไปในแต่ละลีกในประเทศ ที่ไม่ได้เข้าไปแข่งขันในรายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก แต่ฝรั่งเศสและอังกฤษจะยังคงใช้หนึ่งสิทธิ์สำหรับทีมที่ชนะเลิศลีกคัพ หลังจากยกเลิกการแข่งขัน อินเตอร์โตโตคัพ ทีมที่จะเข้ามาแข่งขันในยูโรปาลีกต้องมาจากการแข่งขันภายในประเทศ โดยทั่วไปแล้ว สมาคมที่มีอันดับค่าสัมประสิทธิ์ของยูฟ่าที่สูงกว่า สโมสรจากสมาคมดังกล่าว จะได้แข่งขันในรอบคัดเลือกรอบหลัง ๆ อย่างไรก็ตามทุกทีม ยกเว้นทีมป้องกันแชมป์ (จนถึงฤดูกาล 2014–15) และทีมที่มีอันดับสูงสุด (โดยปกติจะเป็นทีมที่ชนะฟุตบอลถ้วย และ/หรือ ทีมที่ผ่านเข้ารอบยูโรปาลีกที่ดีที่สุด) จากสมาคมอันดับสูงสุด (6 ทีม ในฤดูกาล 2012–15, 12 ทีม ตั้งแต่ฤดูกาล 2015–16) ต้องเล่นรอบคัดเลือกอย่างน้อยหนึ่งรอบ

นอกเหนือจากทีมที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ทุกทีมที่ตกรอบเบื้องต้นของแชมเปียนส์ลีก, รอบคัดเลือกและรอบเพลย์-ออฟ จะถูกโอนไปยังยูโรปาลีก ทีมที่ชนะเลิศ 12 ทีม และรองชนะเลิศ 12 ทีม ในรอบแบ่งกลุ่ม จะเข้าสู่รอบแพ้คัดออก ร่วมกับ 8 ทีมที่จบอันดับสามในแชมเปียนส์ลีกรอบแบ่งกลุ่ม

ในปี ค.ศ. 2014 การจัดการแข่งขันได้มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อความน่าสนใจของการแข่งขันให้มากขึ้น โดยให้ทีมที่ชนะเลิศยูโรปาลีก ได้รับสิทธิ์เข้าไปแข่งขันในแชมเปียนส์ลีก ทีมส่วนใหญ่จะผ่านเข้าไปในรอบแบ่งกลุ่มโดยอัตโนมัติ ถ้าทีมที่ชนะเลิศฟุตบอลถ้วย ได้สิทธิ์ไปแข่งขันในรายการยุโรปผ่านผลงานของพวกเขาในลีกแล้ว สิทธิ์ดังกล่าวจะตกไปยังในลีกและมอบให้กับทีมที่อยู่ในอันดับที่ดีที่สุด ที่ไม่ได้ไปแข่งขันในรายการยุโรป หมายความว่า ทีมที่เป็นรองชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลถ้วย ไม่สามารถเข้าแข่งในรายการยูโรปาลีกได้อีกต่อไป จากสิทธิ์ของฟุตบอลถ้วย[15] กฎเหล่านี้มีผลบังคับใช้ในฤดูกาล 2015–16

การจัดสรร (ตั้งแต่ 2015–16 ถึง 2017–18)

แก้
ทีมที่เข้ามาในรอบนี้ ทีมที่ผ่านเข้ามาจากรอบก่อนหน้านี้ ทีมที่ย้ายมาจากแชมเปียนส์ลีก
รอบคัดเลือกรอบแรก
(104 ทีม)
  • 31 ทีมที่ชนะเลิศฟุตบอลถ้วยจากสมาคมอันดับที่ 24–54
  • 35 ทีมที่เป็นรองชนะเลิศของลีกภายในประเทศจากสมาคมอันดับที่ 18–53 (ยกเว้น ลิกเตนสไตน์)
  • 35 ทีมที่จบอันดับสามของลีกในประเทศจากสมาคมอันดับที่ 16–51 (ยกเว้น ลิกเตนสไตน์)
  • 3 ทีมที่มีคะแนนการจัดอันดับแฟร์เพลย์ของยูฟ่าสูงสุด
รอบคัดเลือกรอบสอง
(66 ทีม)
  • 6 ทีมที่ชนะเลิศฟุตบอลถ้วยจากสมาคมอันดับที่ 18–23
  • 2 ทีมที่เป็นรองชนะเลิศของลีกภายในประเทศจากสมาคมอันดับที่ 16–17
  • 6 ทีมที่จบอันดับสี่ของลีกในประเทศจากสมาคมอันดับที่ 10–15
  • 52 ทีมที่ชนะจากรอบคัดเลือกรอบแรก
รอบคัดเลือกรอบสาม
(58 ทีม)
  • 5 ทีมที่ชนะเลิศฟุตบอลถ้วยจากสมาคมอันดับที่ 13–17
  • 9 ทีมที่จบอันดับสามของลีกในประเทศจากสมาคมอันดับที่ 7–15
  • 5 ทีมที่จบอันดับสี่ของลีกในประเทศจากสมาคมอันดับที่ 5–9
  • 3 ทีมที่จบอันดับห้าของลีกในประเทศจากสมาคมอันดับที่ 4–6 (ทีมที่ชนะเลิศลีกคัพสำหรับฝรั่งเศส)
  • 3 ทีมที่จบอันดับหกของลีกในประเทศจากสมาคมอันดับที่ 1–3 (ทีมที่ชนะเลิศลีกคัพสำหรับอังกฤษ)
  • 33 ทีมที่ชนะจากรอบคัดเลือกรอบสอง
รอบเพลย์-ออฟ
(44 ทีม)
  • 29 ทีมที่ชนะจากรอบคัดเลือกรอบสาม
  • 15 ทีมที่ตกรอบจากแชมเปียนส์ลีกรอบคัดเลือกรอบสาม
รอบแบ่งกลุ่ม
(48 ทีม)
  • 12 ทีมที่ชนะเลิศฟุตบอลถ้วยจากสมาคมอันดับที่ 1–12
  • 1 ทีมที่จบอันดับสี่ของลีกในประเทศจากสมาคมอันดับที่ 4
  • 3 ทีมที่จบอันดับห้าของลีกในประเทศจากสมาคมอันดับที่ 1–3
  • 22 ทีมที่ชนะจากรอบเพลย์-ออฟ
  • 10 ทีมที่ตกรอบจากแชมเปียนส์ลีกรอบเพลย์-ออฟ
รอบแพ้คัดออก
(32 ทีม)
  • 12 ทีมที่ชนะเลิศจากรอบแบ่งกลุ่ม
  • 12 ทีมที่รองชนะเลิศจากรอบแบ่งกลุ่ม
  • 8 ทีมที่จบอันดับสามในแชมเปียนส์ลีกรองแบ่งกลุ่ม

ตารางข้างต้นคือแบบชั่วคราว เนื่องจากอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในกรณีต่อไปนี้:

  • ถ้าทีมที่ชนะเลิศแชมเปียนส์ลีกหรือยูโรปาลีก ผ่านเข้าไปแข่งขันในยูโรปาลีกจากผลงานของพวกเขาในลีกระดับประเทศ จะทำให้สิทธิ์ของยูโรปาลีกนั้นปล่อยว่าง (ไม่ได้ถูกแทนที่โดยทีมอื่นจากสมาคมเดียวกัน) และทีมที่ชนะเลิศฟุตบอลถ้วยในสมาคมที่มีอันดับสูงสุด จะถูกย้ายเข้าไปในรอบถัด ๆ ไป[16]
  • ในบางกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อทีมที่เข้าไปแข่งขันในแชมเปียนส์ลีก จำนวนทีมที่ตกรอบจากแชมเปียนส์ลีกรอบคัดเลือกรอบสาม ที่ย้ายไปยูโรปาลีกจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากจำนวนเริ่มต้นที่ 15 ซึ่งหมายถึง จะต้องเปลี่ยนแปลงรายชื่อทีมที่เข้าไปแข่งขันในยูโรปาลีกด้วย[17]
  • เนื่องจากแต่ละสมาคมสามารถส่งทีมเข้าร่วมยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้สูงสุดห้าทีม หากทั้งทีมที่ชนะเลิศแชมเปียนส์ลีกและทีมที่ชนะเลิศยูโรป้าลีกมาจากสมาคมเดียวกันที่อยู่ในสามอันดับแรก และจบนอกสี่อันดับแรกของลีกในประเทศของพวกเขา ทีมที่จบอันดับสี่ในสมาคมของพวกเขา จะถูกแทนที่ด้วยการย้ายไปแข่งขันในยูโรป้าลีกและเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่ม ซึ่งหมายความว่าอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อทีมที่เข้าไปแข่งขันในยูโรปาลีกด้วย[18]

การจัดสรร (ตั้งแต่ 2018–19 ถึง 2020–21)

แก้

เริ่มตั้งแต่การแข่งขันในฤดูกาล 2018–19 ทีมที่ชนะเลิศจากการแข่งขันภายในประเทศ ที่ตกรอบจากรอบคัดเลือกในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก จะถูกย้ายเข้ามาแข่งขันในยูโรปาลีก นอกเหนือจากทีมที่ตกรอบจากรอบคัดเลือกรอบสามและรอบเพลย์ออฟ ยูโรปาลีกรอบคัดเลือกจะมีเส้นทางแชมเปียนแยกต่างหาก ทำให้ทีมที่เป็นแชมป์ลีกของแต่ละประเทศ มีโอกาสที่จะแข่งขันกันเองมากขึ้น[19]

ทีมที่เข้ามาในรอบนี้ ทีมที่ผ่านเข้ามาจากรอบก่อนหน้านี้ ทีมที่ย้ายมาจากแชมเปียนส์ลีก
รอบเบื้องต้น
(16 ทีม)
  • 6 ทีมที่ชนะเลิศฟุตบอลถ้วยจากสมาคมอันดับที่ 50–55
  • 6 ทีมที่เป็นรองชนะเลิศของลีกภายในประเทศจากสมาคมอันดับที่ 49–54
  • 4 ทีมที่จบอันดับสามของลีกในประเทศจากสมาคมอันดับที่ 48–51
รอบคัดเลือกรอบแรก
(94 ทีม)
  • 25 ทีมที่ชนะเลิศฟุตบอลถ้วยจากสมาคมอันดับที่ 25–49
  • 30 ทีมที่เป็นรองชนะเลิศของลีกภายในประเทศจากสมาคมอันดับที่ 18–48 (ยกเว้น ลิกเตนสไตน์)
  • 31 ทีมที่จบอันดับสามของลีกในประเทศจากสมาคมอันดับที่ 16–47 (ยกเว้น ลิกเตนสไตน์)
  • 8 ทีมที่ชนะจากรอบเบื้องต้น
รอบคัดเลือกรอบสอง แชมป์เปียน
(20 ทีม)
  • 17 ทีมที่ตกรอบจากแชมเปียนส์ลีกรอบคัดเลือกรอบแรก
  • 3 ทีมที่ตกรอบจากแชมเปียนส์ลีกรอบเบื้องต้น
ไม่ใช่แชมป์เปียน
(74 ทีม)
  • 7 ทีมที่ชนะเลิศฟุตบอลถ้วยจากสมาคมอันดับที่ 18–24
  • 2 ทีมที่เป็นรองชนะเลิศของลีกภายในประเทศจากสมาคมอันดับที่ 16–17
  • 3 ทีมที่จบอันดับสามของลีกในประเทศจากสมาคมอันดับที่ 13–15
  • 9 ทีมที่จบอันดับสี่ของลีกในประเทศจากสมาคมอันดับที่ 7–15
  • 2 ทีมที่จบอันดับห้าของลีกในประเทศจากสมาคมอันดับที่ 5–6 (ทีมที่ชนะเลิศลีกคัพสำหรับฝรั่งเศส)
  • 4 ทีมที่จบอันดับหกของลีกในประเทศจากสมาคมอันดับที่ 1–4 (ทีมที่ชนะเลิศลีกคัพสำหรับอังกฤษ)
  • 47 ทีมที่ชนะจากรอบคัดเลือกรอบแรก
รอบคัดเลือกรอบสาม แชมป์เปียน
(20 ทีม)
  • 10 ทีมที่ชนะจากรอบคัดเลือกรอบสองสำหรับสายแชมป์เปียน
  • 10 ทีมที่ตกรอบจากแชมเปียนส์ลีกรอบคัดเลือกรอบสองสำหรับสายแชมป์เปียน
ไม่ใช่แชมป์เปียน
(52 ทีม)
  • 5 ทีมที่ชนะเลิศฟุตบอลถ้วยจากสมาคมอันดับที่ 13–17
  • 6 ทีมที่จบอันดับสามของลีกในประเทศจากสมาคมอันดับที่ 7–12
  • 1 ทีมที่จบอันดับสี่ของลีกในประเทศจากสมาคมอันดับที่ 6
  • 37 ทีมที่ชนะจากรอบคัดเลือกรอบสองสำหรับสายไม่ใช่แชมป์เปียน
  • 3 ทีมที่ตกรอบจากแชมเปียนส์ลีกรอบคัดเลือกรอบสองสำหรับสายไม่ใช่แชมป์เปียน
รอบเพลย์-ออฟ แชมป์เปียน
(16 ทีม)
  • 10 ทีมที่ชนะจากรอบคัดเลือกรอบสามสำหรับสายแชมป์เปียน
  • 6 ทีมที่ตกรอบจากแชมเปียนส์ลีกรอบคัดเลือกรอบสามสำหรับสายแชมป์เปียน
ไม่ใช่แชมป์เปียน
(26 ทีม)
  • 26 ทีมที่ชนะจากรอบคัดเลือกรอบสามสำหรับสายไม่ใช่แชมป์เปียน
รอบแบ่งกลุ่ม
(48 ทีม)
  • 12 ทีมที่ชนะเลิศฟุตบอลถ้วยจากสมาคมอันดับที่ 1–12
  • 1 ทีมที่จบอันดับสี่ของลีกในประเทศจากสมาคมอันดับที่ 5
  • 4 ทีมที่จบอันดับห้าของลีกในประเทศจากสมาคมอันดับที่ 1–4
  • 21 ทีมที่ชนะจากรอบเพลย์-ออฟ
  • 6 ทีมที่ตกรอบจากแชมเปียนส์ลีกรอบเพลย์-ออฟ
  • 4 ทีมที่ตกรอบจากแชมเปียนส์ลีกรอบคัดเลือกรอบสามสำหรับสายไม่ใช่แชมป์เปียน
รอบแพ้คัดออก
(32 ทีม)
  • 12 ทีมที่ชนะเลิศจากรอบแบ่งกลุ่ม
  • 12 ทีมที่รองชนะเลิศจากรอบแบ่งกลุ่ม
  • 8 ทีมที่จบอันดับสามในแชมเปียนส์ลีกรองแบ่งกลุ่ม

การแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ

แก้

รอบชิงชนะเลิศ (นัดเดียว)

แก้
ฤดูกาล ชนะเลิศ ผลคะแนน รองชนะเลิศ สนาม
ยูฟ่ายูโรปาลีก
2024-25 - สนามกีฬาซานมาเมส,
บิลบาโอ  
2023-24   อาตาลันตา 3 - 0   ไบเออร์ เลเวอร์คูเซิน อวีวาสเตเดียม,
ดับลิน  
2022-23   เซบิยา 1 - 1
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
4 - 1
(ดวลจุดโทษ)
  โรมา ปุชกาชออเรนอ,
บูดาเปสต์  
2021-22   ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท 1 - 1
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
5 - 4
(ดวลจุดโทษ)
  เรนเจอส์ สนามกีฬารามอน ซันเชซ ปิซฆวน,
เซบิยา  
2020-21   บิยาร์เรอัล 1 - 1
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
11 - 10
(ดวลจุดโทษ)
  แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สตาดิโอน มิเอจสกี,
กดัญสก์  
2019-20   เซบิยา 3 - 2   อินเตอร์มิลาน ไรน์เอแนร์กีชตาดีอ็อน,
โคโลญ  
2018-19   เชลซี 4 - 1   อาร์เซนอล สนามกีฬาโอลิมปิกบากู,
บากู  
2017-18   อัตเลติโกเดมาดริด 3 - 0   มาร์แซย์ ปาร์กออแล็งปิกลียอแน,
ลียง  
2016-17   แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 2 - 0   อายักซ์ เฟรนด์สอาเรนา,
ซอลนา  
2015-16   เซบิยา 3 - 1   ลิเวอร์พูล ซังคท์ยาค็อพ-พาร์ค,
บาเซิล  
2014-15   เซบิยา 3 - 2   ดนีโปรดนีโปรเปตรอฟสค์ สตาดียอนนารอดอวือ,
วอร์ซอ  
2013-14   เซบิยา 0 - 0
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
4 - 2
(ดวลจุดโทษ)
  ไบฟีกา ยูเวนตุส สเตเดียม,
ตูริน  
2012-13   เชลซี 2 - 1   ไบฟีกา อัมสเตอร์ดัม อารีนา,
อัมสเตอร์ดัม  
2011-12   อัตเลติโกเดมาดริด 3 - 0   อัตเลติกเดบิลบาโอ เนชั่นแนล อารีน่า,
บูคาเรสต์  
2010-11   โปร์ตู 1 - 0   บรากา อวีวา สเตเดียม,
ดับลิน  
2009-10   อัตเลติโกเดมาดริด 2 - 1   ฟูลัม ฟ็อล์คสพาร์คชตาดิโยน,
ฮัมบวร์ค  
ยูฟ่าคัพ
2008-09   ชัคตาร์โดเนตสค์ 2 - 1
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
  แวร์เดอร์เบรเมิน ซูครูซาราโคกลูสเตเดียม,
อิสตันบูล  
2007-08   เซนิตเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก 2 - 0   เรนเจอส์ สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์,
แมนเชสเตอร์  
2006-07   เซบิยา 2 - 2
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
3 - 1
(ดวลจุดโทษ)
  อัสปัญญ็อล แฮมป์เดนพาร์ก,
กลาสโกว์  
2005-06   เซบิยา 4 - 0   มิดเดิลส์เบรอ ฟีลิปส์สตาดีโยน,
ไอนด์โฮเวน  
2004-05   ซีเอสเคเอ มอสโก 3 - 1   สปอร์ติงลิสบอน เอสตาดิโอโชเซ่อัลวาลาด,
ลิสบอน  
2003-04   บาเลนเซีย 2 - 0   มาร์แซย์ แกน ยูวิล,
โกเธนเบิร์ก  
2002-03   โปร์ตู 3 - 2
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
  เซลติก เบนีโต บียามาริน,
เซบิยา  
2001-02   ไฟเยอโนร์ด 3 - 2   โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ เดอเกยป์,
รอตเทอร์ดาม  
2000-01   ลิเวอร์พูล 5 - 4
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
  อาลาเบส เว็สท์ฟาเลินชตาดีอ็อน,
ดอร์ทมุนท์  
1999-2000   กาลาทาซาไร 0 - 0
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
4 - 1
(ดวลจุดโทษ)
  อาร์เซนอล พาร์เคน สเตเดี้ยม,
โคเปนเฮเกน  
1998-99   ปาร์มา 3 - 0   มาร์แซย์ สนามกีฬาลุจนีกี,
มอสโก  
1997-98   อินเตอร์มิลาน 3 - 0   ลาซีโอ ปาร์กเดแพร็งส์,
ปารีส  

รอบชิงชนะเลิศ (สองนัด)

แก้
ฤดูกาล ทีมเหย้า ผลคะแนน ทีมเยือน สนาม
1996-97   ชัลเคอ 04 1 – 0   อินเตอร์มิลาน พาราคิสดอน สเตเดี้ยม,
เก็ลเซินเคียร์เชิน  
  อินเตอร์มิลาน 1 – 0   ชัลเคอ 04 ซานซีโร,
มิลาน  
รวมผลสองนัด ชัลเคอ 04 คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 1–1 (ชนะดวลจุดโทษ4–1)
1995-96   ไบเอิร์นมิวนิก 2 – 0   บอร์โด โอลิมปิค สเตเดียม มิวนิก,
มิวนิก  
  บอร์โด 1 – 3   ไบเอิร์นมิวนิก สตาร์ เดอ พาริ ลีซีอู,
บอร์โด  
รวมผลสองนัด ไบเอิร์นมิวนิก คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 5-1
1994-95   ปาร์มา 1 – 0   ยูเวนตุส เอนนีโอตาร์ดีนี,
ปาร์มา  
  ยูเวนตุส 1 – 1   ปาร์มา สตาดีโอเดลเลอัลปี,
ตูริน  
รวมผลสองนัด ปาร์มา คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 2-1
1993-94   เร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค 0 – 1   อินเตอร์มิลาน เอิร์นส์ท-แฮปเปิล-สตาดิโอน,
วัลส์-ไซเซินไฮม์  
  อินเตอร์มิลาน 1 – 0   เร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค ซาน ซิโร่,
มิลาน  
รวมผลสองนัด อินเตอร์มิลาน คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 2-0
1992-93   โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ 1 – 3   ยูเวนตุส เว็สท์ฟาเลินชตาดีอ็อน,
ดอร์ทมุนท์  
  ยูเวนตุส 3 – 0   โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ สตาดีโอเดลเลอัลปี,
ตูริน  
รวมผลสองนัด ยูเวนตุส คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 6-1
1991-92   โตริโน 2 – 2   อายักซ์ สตาดีโอเดลเลอัลปี,
ตูริน  
  อายักซ์ 0 – 0   โตริโน สนามกีฬาโอลิมปิก (อัมสเตอร์ดัม),
อัมสเตอร์ดัม  
รวมผลสองนัด อายักซ์ คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 2-2 (กฎประตูทีมเยือน)
1990-91   อินเตอร์มิลาน 2 – 0   โรมา ซาน ซิโร่,
มิลาน  
  โรมา 1 – 0   อินเตอร์มิลาน สตาดีโอโอลิมปีโก,
โรม  
รวมผลสองนัด อินเตอร์มิลาน คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 2-1
1989-90   ยูเวนตุส 3 – 1   ฟีออเรนตีนา สตาดีโอเดลเลอัลปี,
ตูริน  
  ฟีออเรนตีนา 0 – 0   ยูเวนตุส อาร์เตมีโอ ฟรังกี,
ฟลอเรนซ์  
รวมผลสองนัด ยูเวนตุส คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 3-1
1988-89   นาโปลี 2– 1   ชตุทท์การ์ท สตาดีโอซานเปาโล,
เนเปิลส์  
  ชตุทท์การ์ท 3 – 3   นาโปลี เมอซิเดส-เบนซ์ อารีนา,
ชตุทท์การ์ท  
รวมผลสองนัด นาโปลี คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 5-4
1987-88   อัสปัญญ็อล 3 – 0   ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน กูร์เน็ลยา-อัลปรัต,
บาร์เซโลนา  
  ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน 3 – 0   อัสปัญญ็อล เบอาเรนา,
เลเวอร์คูเซิน  
รวมผลสองนัด ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 3-3 (ชนะดวลจุดโทษ3–2)
1986-87   อีเอฟโค เยอเตอบอร์ 1 – 0   ดันดี ยูไนเต็ด แกน ยูวิล,
โกเธนเบิร์ก  
  ดันดี ยูไนเต็ด 1 – 1   อีเอฟโค เยอเตอบอร์ ไทนาคิดส์ ปาร์ค,
ดันดี  
รวมผลสองนัด อีเอฟโค เยอเตอบอร์ คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 2-1
1985-86   เรอัลมาดริด 5 – 1   เอฟเซ โคโลญจน์ ซานเตียโก เบร์นาเบว,
มาดริด  
  เอฟเซ โคโลญจน์ 2 – 0   เรอัลมาดริด โอลิมเปียชตาดิโยน,
เบอร์ลิน  
รวมผลสองนัด เรอัลมาดริด คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 5-3


1984-85   โมล วิดี 0 – 3   เรอัลมาดริด โซสโตอี สตาดิโอน,
เซแก็ชแฟเฮร์วาร์  
  เรอัลมาดริด 0 – 1   โมล วิดี ซานเตียโก เบร์นาเบว,
มาดริด  
รวมผลสองนัด เรอัลมาดริด คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 3–1
1983-84   อันเดอร์เลคต์ 1 – 1   ทอตนัมฮอตสเปอร์ คิง เบาดูอิน สเตเดี้ยม,
บรัสเซลส์  
  ทอตนัมฮอตสเปอร์ 1 – 1   อันเดอร์เลคต์ ไวต์ฮาร์ตเลน,
ลอนดอน  
รวมผลสองนัด ทอตนัมฮอตสเปอร์ คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 2-2 (ชนะดวลจุดโทษ4–3)


1982-83   อันเดอร์เลคต์ 1 – 0   ไบฟีกา คิง เบาดูอิน สเตเดี้ยม,
บรัสเซลส์  
  ไบฟีกา 1 – 1   อันเดอร์เลคต์ อิสตาจีอูดาลูซ,
ลิสบอน  
รวมผลสองนัด อันเดอร์เลคต์ คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 2–1
1981-82   อีเอฟโค เยอเตอบอร์ 1 – 0   ฮัมบวร์ค แกน ยูวิล,
โกเธนเบิร์ก  
  ฮัมบวร์ค 0 – 3   อีเอฟโค เยอเตอบอร์ ฟ็อลคส์พาร์คชตาดีอ็อน,
ฮัมบวร์ค  
รวมผลสองนัด อีเอฟโค เยอเตอบอร์ คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 4-0
1980-81   อิปสวิชทาวน์ 3 – 0   อาแซด อัลค์มาร์ พอร์ตแมนโรด,
อิปสวิช  
  อาแซด อัลค์มาร์ 4 – 2   อิปสวิชทาวน์ สนามกีฬาโอลิมปิก (อัมสเตอร์ดัม),
อัมสเตอร์ดัม  
รวมผลสองนัด อิปสวิชทาวน์ คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 5–4
1979-80   โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค 3 – 2   ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท โบรุสซีอา-พาร์ค,
เมินเชินกลัทบัค  
  ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท 1 – 0   โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค ค็อมแมทซ์บังค์-อาเรนา,
แฟรงก์เฟิร์ต  
รวมผลสองนัด ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 3-3 (กฎประตูทีมเยือน)
1978-79   เรดสตาร์ เบลเกรด 1 – 1   โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค เรดสตาร์ สเตเดี้ยม,
เบลเกรด  
  โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค 1 – 0   เรดสตาร์ เบลเกรด ไรท์สตาร์ ดีดอน,
เมินเชินกลัทบัค  
รวมผลสองนัด โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 2–1
1977-78   บัสตียา 0 – 0   ไอนด์โฮเฟิน สตาด แอมแมนเดนซารี,
บาสเตีย  
  ไอนด์โฮเฟิน 3 – 0   บัสตียา ฟีลิปส์สตาดีโยน,
ไอนด์โฮเฟิน  
รวมผลสองนัด ไอนด์โฮเฟิน คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 3-0
1976-77   ยูเวนตุส 1 – 0   อัตเลติกเดบิลบาโอ สตาดีโอโอลิมปีโกโตริโน,
ตูริน  
  อัตเลติกเดบิลบาโอ 2 – 1   ยูเวนตุส ซานมาเมส,
บิลบาโอ  
รวมผลสองนัด ยูเวนตุส คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 2-2 (กฎประตูทีมเยือน)
1975-76   ลิเวอร์พูล 3 – 2   คลับ บรูกก์ แอนฟีลด์,
ลิเวอร์พูล  
  คลับ บรูกก์ 1 – 1   ลิเวอร์พูล ยาน เบรเดล สเตเดี้ยม,
บรูช  
รวมผลสองนัด ลิเวอร์พูล คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 4–3
1974-75   โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค 0 – 0   ตแว็นเตอ ไรท์สตาร์ ดีดอน,
เมินเชินกลัทบัค  
  ตแว็นเตอ 1 – 5   โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค ดีเอกแมน สเตเดี้ยม,
แอ็นสเคอเด  
รวมผลสองนัด โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 5–1
1973-74   ทอตนัมฮอตสเปอร์ 2 – 2   ไฟเยอโนร์ด ไวต์ฮาร์ตเลน,
ลอนดอน  
  ไฟเยอโนร์ด 2 – 0   ทอตนัมฮอตสเปอร์ เดอเกยป์,
รอตเทอร์ดาม  
รวมผลสองนัด ไฟเยอโนร์ด คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 4-2
1972-73   ลิเวอร์พูล 3 – 0   โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค แอนฟีลด์,
ลิเวอร์พูล  
  โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค 2 – 0   ลิเวอร์พูล โบรุสซีอา-พาร์ค,
เมินเชินกลัทบัค  
รวมผลสองนัด ลิเวอร์พูล คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 3–2
1971-72   วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ 1 – 2   ทอตนัมฮอตสเปอร์ โมลีนิวส์,
วุลเวอร์แฮมป์ตัน  
  ทอตนัมฮอตสเปอร์ 1 – 1   วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ ไวต์ฮาร์ตเลน,
ลอนดอน  
รวมผลสองนัด ทอตนัมฮอตสเปอร์ คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 3–2

ทำเนียบผู้ชนะเลิศ

แก้

ผลงานจำแนกตามสโมสร

แก้
สโมสร ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ปีที่ชนะเลิศ ปีที่ได้รองชนะเลิศ
  เซบิยา 7 0 2006, 2007, 2014, 2015, 2016, 2020, 2023
  อินเตอร์มิลาน 3 2 1991, 1994, 1998 1997, 2020
  ลิเวอร์พูล 3 1 1973, 1976, 2001 2016
  ยูเวนตุส 3 1 1977, 1990, 1993 1995
  อัตเลติโกเดมาดริด 3 0 2010, 2012, 2018
  โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค 2 2 1975, 1979 1973, 1980
  ทอตนัมฮอตสเปอร์ 2 1 1972, 1984 1974
  ไฟเยอโนร์ด 2 0 1974, 2002
  ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท 2 0 1980, 2022
  อีเอฟโค เยอเตอบอร์ 2 0 1982, 1987
  เรอัลมาดริด 2 0 1985, 1986
  ปาร์มา 2 0 1995, 1999
  โปร์ตู 2 0 2003, 2011
  เชลซี 2 0 2013, 2019
  อันเดอร์เลคต์ 1 1 1983 1984
  ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน 1 1 1988 2024
  อายักซ์ 1 1 1992 2017
  แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 1 1 2017 2021
  ไอนด์โฮเฟิน 1 0 1978
  อิปสวิชทาวน์ 1 0 1981
  นาโปลี 1 0 1989
  ไบเอิร์นมิวนิก 1 0 1996
  ชัลเคอ 04 1 0 1997
  กาลาทาซาไร 1 0 2000
  บาเลนเซีย 1 0 2004
  ซีเอสเคเอ มอสโก 1 0 2005
  เซนิตเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก 1 0 2008
  ชัคตาร์โดเนตสค์ 1 0 2009
  บิยาร์เรอัล 1 0 2021
  อาตาลันตา 1 0 2024
  ไบฟีกา 0 3 1983, 2013, 2014
  มาร์แซย์ 0 3 1999, 2004, 2018
  อัตเลติกเดบิลบาโอ 0 2 1977, 2012
  อัสปัญญ็อล 0 2 1988, 2007
  โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ 0 2 1993, 2002
  อาร์เซนอล 0 2 2000, 2019
  เรนเจอส์ 0 2 2008, 2022
  วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ 0 1 1972
  ตแว็นเตอ 0 1 1975
  คลับ บรูกก์ 0 1 1976
  บัสตียา 0 1 1978
  เรดสตาร์ เบลเกรด 0 1 1979
  อาแซด อัลค์มาร์ 0 1 1981
  ฮัมบวร์ค 0 1 1982
  โมล วิดี 0 1 1985
  เอฟเซ โคโลญจน์ 0 1 1986
  ดันดี ยูไนเต็ด 0 1 1987
  ชตุทท์การ์ท 0 1 1989
  ฟีออเรนตีนา 0 1 1990
  โรมา 0 2 1991

2023

  โตริโน 0 1 1992
  เร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค 0 1 1994
  บอร์โด 0 1 1996
  ลาซีโอ 0 1 1998
  อาลาเบส 0 1 2001
  เซลติก 0 1 2003
  สปอร์ติงลิสบอน 0 1 2005
  มิดเดิลส์เบรอ 0 1 2006
  แวร์เดอร์เบรเมิน 0 1 2009
  ฟูลัม 0 1 2010
  บรากา 0 1 2011
  ดนีโปรดนีโปรเปตรอฟสค์ 0 1 2015

ผลงานจำแนกตามประเทศ

แก้
ประเทศ ชนะเลิศ รองชนะเลิศ จำนวน
  สเปน 14 5 19
  อิตาลี 10 8 18
  อังกฤษ 9 8 17
  เยอรมนี[A] 7 9 16
  เนเธอร์แลนด์ 4 3 7
  โปรตุเกส 2 5 7
  รัสเซีย 2 0 2
  สวีเดน 2 0 2
  เบลเยียม 1 2 3
  ยูเครน 1 1 2
  ตุรกี 1 0 1
  ฝรั่งเศส 0 5 5
  สกอตแลนด์ 0 3 3
  ออสเตรีย 0 1 1
  ฮังการี 0 1 1
  เซอร์เบีย[B] 0 1 1
หมายเหตุ

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. 8 ทีมจากในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรอบแบ่งกลุ่ม ซึ่งผู้ชนะของแต่ละกลุ่มจะได้เข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้าย ขณะที่ได้อันดับสองในแต่ละกลุ่มจะเริ่มเล่นตั้งแต่รอบ 32 ทีมสุดท้าย โดยจะมีทีมอันดับสาม 8 ทีมในรอบแบ่งกลุ่มแชมเปียนส์ลีก เข้าร่วมในรอบนี้

ดร.แหวนทอง ขุนนุศาตร์== อ้างอิง ==

Cherry

  1. Nakrani, Sachin (14 February 2018). "The Europa League is back and more than ever is a competition to savour". theguardian.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2019. สืบค้นเมื่อ 16 August 2018.
  2. "UEFA Europa Conference League: all you need to know". UEFA.com (Press release). Union of European Football Associations. 3 December 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2021. สืบค้นเมื่อ 22 February 2021.
  3. "UEFA Europa League History". UEFA.com (Press release). Union of European Football Associations. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 February 2010. สืบค้นเมื่อ 27 April 2008.
  4. 4.0 4.1 4.2 "UEFA Cup gets new name in revamp". BBC Sport (British Broadcasting Corporation). 26 September 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2008. สืบค้นเมื่อ 26 September 2008.
  5. 5.0 5.1 "UEFA Cup to become UEFA Europa League". UEFA.com (Press release). Union of European Football Associations. 26 September 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2020. สืบค้นเมื่อ 30 July 2020.
  6. "New format provides fresh impetus". UEFA.com (Press release). Union of European Football Associations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2011. สืบค้นเมื่อ 15 May 2010.
  7. "Regulations of the UEFA Cup 2007/08, page 6, II Cup and Medals, Article 4, Cup" (PDF). Union of European Football Associations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 มิถุนายน 2006. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2009.
  8. "Regulations of the UEFA Europa League 2009/10, page 7, III Trophies and medals, Article 5, Trophy" (PDF). Union of European Football Associations. สืบค้นเมื่อ 1 August 2009.
  9. "Sevilla make it three in row at Liverpool's expense". UEFA.com. Union of European Football Associations. 27 May 2015. สืบค้นเมื่อ 28 May 2015.
  10. "UEFA Europa League trophy". Union of European Football Associations. สืบค้นเมื่อ 12 May 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "อันเชลอตติ ฟันธง!ชึ้เหตุ โรม่า จะสอยแชมป์ ยูโรปา ลีก". สยามสปอร์ต.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. "UEFA Europa League anthem makes debut". UEFA.com. Union of European Football Associations. 28 August 2009. สืบค้นเมื่อ 12 September 2015.
  13. "UEFA Europa League anthem". UEFA.com. Union of European Football Associations. 1 September 2015. สืบค้นเมื่อ 12 September 2015.
  14. "UEFA Europa League launches edgier brand identity". UEFA.com. Union of European Football Associations. 30 May 2018. สืบค้นเมื่อ 2 June 2018.
  15. "New approach broadens Europa League appeal". UEFA. 29 August 2014. สืบค้นเมื่อ 11 August 2017.
  16. "Distribution details". UEFA.org. 23 March 2015.
  17. "UEFA Access List 2015/18 with explanations" (PDF). Bert Kassies.
  18. "How the Europa League winners will enter the Champions League". UEFA.com. 27 February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-18.
  19. "UEFA club competitions rights sales process for 2018-21 cycle kicks off". UEFA.com. 12 December 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้