ไอนด์โฮเฟิน

(เปลี่ยนทางจาก ไอนด์โฮเวน)

ไอนด์โฮเฟิน (ดัตช์: Eindhoven) เป็นเทศบาลและเมืองในจังหวัดนอร์ทบราบรันต์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศและใหญ่ที่สุดในจังหวัดนอร์ทบราบันต์ เดิมทีตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ ดมเมล (Dommel) และแม่น้ำเคนเดอร์ (Gender)[1] ปัจจุบัน มีประชากร 231,469 คน (ค.ศ. 2019) แต่หากรวมเมืองข้างๆทั้งมหานครแล้วจะมีประชากรรวม 419,045 คน

ไอนด์โฮเฟิน
Municipality/City
เส้นขอบฟ้าของเมือง
เส้นขอบฟ้าของเมือง
ธงของไอนด์โฮเฟิน
ธง
ตราราชการของไอนด์โฮเฟิน
ตราอาร์ม
ที่ตั้งของไอนด์โฮเฟิน
พิกัด: 51°26′N 5°28′E / 51.433°N 5.467°E / 51.433; 5.467
ประเทศเนเธอร์แลนด์
จังหวัดจังหวัดนอร์ทบราบันต์
การปกครอง
 • MayorRob van Gijzel (PvdA)
พื้นที่(2006)
 • Municipality/City88.84 ตร.กม. (34.30 ตร.ไมล์)
 • พื้นดิน87.75 ตร.กม. (33.88 ตร.ไมล์)
 • พื้นน้ำ1.09 ตร.กม. (0.42 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (01 มกราคม 2010)
 • Municipality/City217,192 คน
 • ความหนาแน่น2,407 คน/ตร.กม. (6,230 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง400,000 คน
 • รวมปริมณฑล720,000 คน
 Source: CBS, Statline.
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
เว็บไซต์http://www.eindhoven.eu/

ชื่อ

แก้

ชื่อของไอนด์โฮเฟิน อาจมาจากการผสมคำระหว่างคำว่า ไอนด์ (eind) ที่หมายถึงจุดสิ้นสุด และ โฮฟ (hove) ที่เป็นหน่วยวัดพื้นที่ขนาดราวๆ 14 เฮกเตอร์ ไอนด์เป็นคำที่มักใช้นำหน้าสถานที่และถนนต่างๆ ส่วนโฮฟเป็นหน่วยวัดพื้นที่ที่ได้รับความนิยมในสมัยโบราณโดยมักหมายถึงขนาดพื้นที่ที่เจ้าของที่ดินปล่อยเช่าให้กับบุคคลอื่น เช่นชาวนา และเป็นหน่วยที่ใช้กันมากในแถบเมืองโบราณที่ชื่อ วูนเซล (Woensel) ดังนั้น ชื่อเมืองไอนด์โฮเฟิน น่าจะหมายถึง พื้นที่โฮฟสุดท้ายของเมืองวูนเซล นั่นเอง

ประวัติ

แก้

คริสต์ศตวรรษที่ 13-15

แก้

บันทึกทางประวัติศาสตร์ชี้ว่าไอนด์โฮเฟินมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1232 เมื่อ ดยุค เฮนดริค ที่ 1 แห่งบราบันต์ยกฐานะไอนด์โฮเฟินขึ้นเป็นเมือง ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงแค่หมู่บ้านเล็กๆที่เป็นจุดบรรจบกันของแม่น้ำดมเมลและแม่น้ำเคนเดอร์ มีบ้านเรือนเพียง 170 หลังที่อยู่หลังกำแพงเมือง หลังจากยกระดับเป็นเมืองแล้ว เมืองสามารถมีตลาดนัดรายสัปดาห์ได้ ดึงดูดให้ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงเดินทางมายังไอนด์โฮเฟินเพื่อซื้อขายสินค้า กลายเป็นจุดส่งผ่านสินค้าที่สำคัญ ที่เชื่อมระหว่างแผ่นดินฮอลแลนด์และเมืองลีแอจ (ในเบลเยียม ปัจจุบัน)

ราวปี ค.ศ. 1388 ได้มีการสร้างกำแพงเมืองที่แข็งแรงขึ้นมาอีกชั้น แต่ไม่รอดพ้นกับการถูกปล้นและเผาเมืองในปี ค.ศ. 1486

คริสต์ศตวรรษที่ 16-18

แก้

ไอนด์โฮเฟินได้รับการบูรณะซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ แล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1502 โดยมีกำแพงเมืองที่แข็งแรงขึ้น และปราสาทใหม่ แต่กลับถูกโจมตีอีกครั้งในปี ค.ศ. 1543 เพราะระบบการป้องกันเมืองไม่ได้รับการทำนุบำรุงเนื่องจากขาดงบประมาณ

ต่อมา ในปี ค.ศ. 1554 เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ทำให้พื้นที่ราว 75 เปอร์เซ็นต์ของเมองได้รับความเสียหาย ก่อนที่จะถูกบูรณะขึ้นมาอีกครั้งด้วยความช่วยเหลือของพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งราชวงศ์ออเรนจ์

ในช่วงสงครามปฏิวัติของดัตช์ ไอนด์โฮเฟินตกอยู่ในมือของชาวดัตช์และสเปนสลับไปมาหลายครั้ง ก่อนจะถูกทหารสเปนบุกยึดได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1583 และได้ทำลายกำแพงเมืองลงโดยสิ้นเชิง

แต่เมื่อเนเธอร์แลนด์ประกาศเอกราชได้สำเร็จ ราวๆ ค.ศ. 1629 ไอนด์โฮเฟินกลับไม่ได้ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งเนเธอร์แลนด์ ต่อมาเมื่อถูกฝรั่งเศสยึดครอง กองกำลังฝรั่งเศสได้ทำลายบ้านเมืองลงอย่างมาก ทำให้ไอนด์โฮเฟินกลายเป็นเพียงแค่เมืองรอง จนถึงช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม

คริสต์ศตวรรษที่ 19

แก้

การปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงศตวรรษที่ 19 นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองอย่างมากแก่ไอนด์โฮเฟิน มีการขุดคลอง สร้างถนน ทางรถไฟเพื่อเชื่อมต่อไอนด์โฮเฟินเข้ากับเมืองใหญ่อย่าง ติลบืร์ค เซร์โทเคนบอส เวนโล และเบลเยียม ระหว่าง ค.ศ. 1866 ถึง 1870

ในช่วงแรก อุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับเมืองคือ ยาสูบและสิ่งทอ ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นอุตสาหกรรมหลอดไฟ เมื่อบริษัทฟิลิปส์ ยักษ์ใหญ่ในวงการการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าจะเริ่มตั้งโรงงานผลิตหลอดไฟขึ้นในปี ค.ศ. 1891

การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้จำนวนประชากรในไอนด์โฮเฟินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเมื่อมีการสถาปนาราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ใน ค.ศ. 1815 ไอนด์โฮเฟินมีประชากรเพียง 2,310 คนเท่านั้น

คริสต์ศตวรรษที่ 20

แก้

จำนวนประชากรของไอนด์โฮเฟินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก 47,946 คนในปี 1920 เป็น 63,870 คนในปี 1925 และพุ่งขึ้นเป็น 103,030 คน ในปี 1935 [2] อุตสาหกรรมที่เติบโตขึ้นทำให้ผู้ทำงานในโรงงานมีความต้องการบ้านที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น จากที่เคยมีการพัฒนาจำกัดแค่ในรัศมีกำแพงเมืองในยุคกลาง ได้มีการสร้างบ้านขึ้นมาใหม่ในเขตเทศบาลโดยรอบ ไม่ว่าจะเป็น วูนเซล (ทางเหนือ) ทงเคลเรอ (ทางตะวันออก) สตราตรัม (ทางตะวันออกเฉียงใต้) เคสเทล เอน บลาร์เธม (ทางตะวันตกเฉียงใต้) และสไตรป์ (ทางตะวันตก) รวมกลายเป็นนครบาลไอนด์โฮเฟินใหญ่ (Groot-Eindhoven) แต่คำว่าใหญ่ได้ถูกตัดทิ้งในภายหลัง

ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 อุตสาหกรรมยานยนต์ได้ก้าวเข้ามาสู่ไอนด์โฮเฟินหลังจากมีการตั้งบริษัทประกอบรถยนต์ฟานโดร์น (Van Doorne's Automobiel Fabriek หรือ DAF) ขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และวิศวกรรม รวมทั้งยาสูบและสิ่งทอ กลายเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจมาจนถึงราว ค.ศ. 1970

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไอนด์โฮเฟินได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการโจมตีของกองทัพอากาศของอังกฤษและของเยอรมนี เมื่อสงครามสิ้นสุดลง ได้มีการบูรณะฟื้นฟูเมืองขึ้นมาอีกครั้งแต่สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ไม่ได้รับการซ่อมแซมเท่าไหร่หนัก แต่มักจะถูกทำลายและสร้างขึ้นมาเป็นอาคารสมัยใหม่ตามแผนบูรณะของเมืองเสียมากกว่า ทำให้ปัจจุบัน ไอนด์โฮเฟินมีมรดกทางประวัติศาสตร์หลงเหลืออยู่น้อย

ราวทศวรรษที่ 1970 ถึง 1990 มีการสร้างบ้านขึ้นมาจำนวนมากในเขตวูนเซล ส่งผลให้ไอนด์โฮเฟินกลายมาเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 5 ของเนเธอร์แลนด์ และมีแผนขยายพื้นที่อยู่อาศัยไปทางทาอาศยานแห่งเก่าทางตะวันตกของไอนด์โฮเฟินอีกด้วย ส่วนท่าอากาศยานแห่งใหม่ถูกย้ายไปยังพื้นที่ปัจจุบัน

อ้างอิง

แก้
  1. Schippers, Hans (2009), "Stadsrechten en een stadswapen, 1232: het vroege Eindhoven", ใน Lintsen, Harry; และคณะ (บ.ก.), De canon van Eindhoven (ภาษาดัตช์), 's-Hertogenbosch: Heijnen, pp. 29–34, ISBN 9789086801275
  2. "Eindhoven - Groei van Eindhoven (inwoners)". Eindhoven.nl. 30 เมษายน 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มีนาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2017.