กลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์

กลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ หรือ เครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน หรือที่นิยมเรียกกันว่า กลุ่มคนเสื้อหลากสี เป็นการรวมตัวของประชาชนเพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553 จากการชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์[1] และให้กำลังใจรัฐบาลที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี และทหาร โดยการชุมนุมเป็นไปในลักษณะไม่มีสีเสื้อเป็นสัญลักษณ์อย่างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน (นปช.) มี ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ เป็นผู้นำการชุมนุม[2]

การรวมตัว แก้

กลุ่มคนเสื้อหลากสี รวมตัวกันครั้งแรกโดยผู้ใช้เฟซบุ๊ก โดย นายภัคเดช ปรีชาชนะชัย โดยใช้ชื่อว่า กลุ่มมั่นใจคนไทยเกิน 1 ล้าน ต่อต้านการยุบสภา ซึ่งเป็นการรวมตัวกันแสดงความเห็นของผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553 และข้อเสนอที่เรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา

โดยเริ่มครั้งแรกที่เคลื่อนไหวในเฟซบุ๊กนี้เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553 และมีจำนวนผู้เข้าร่วมด้วยวันหนึ่งจำนวนมากประมาณ 2,000 คน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละวัน[3]

นอกจากนี้แล้วกลุ่มคนเสื้อหลากสียังผนวกรวมกับกลุ่มสหเครือข่ายภาคประชาชน หรือกลุ่มคนเสื้อสีชมพู ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เป็นคณาจารย์หรือศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่รวมตัวกันก่อนหน้านั้นที่สวนลุมพินีหรือในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553 จากนั้นได้มารวมตัวกันราว 500 คน ที่สวนเบญจกิติ ข้างศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2553 หลังการปะทะกันระหว่างทหารและกลุ่ม นปช. หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ที่แยกคอกวัว เพียงหนึ่งวัน เพื่อแสดงถึงความไม่เห็นด้วยของการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง นำโดย พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์[4]

กิจกรรม แก้

กลุ่มคนเสื้อหลากสี รวมตัวกันทำกิจกรรมครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553 ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยมีผู้เข้าร่วมเริ่มแรกเพียง 20 คนเท่านั้น[3] ก่อนที่จะมีกิจกรรมเดียวกันนี้อีกในวัดถัดมา ณ สถานที่เดียวกัน และมีผู้เข้าร่วมกันมากขึ้น เริ่มตั้งแต่เวลา 16.00 จนถึง 18.00 น. ของทุกวัน และร้องเพลงชาติไทย, เพลงสดุดีมหาราชา และสรรเสริญพระบารมี ก่อนยุติชุมนุม

วันที่ชุมนุม, สถานที่และกิจกรรมพิเศษ แก้

วันที่ชุมนุม สถานที่ กิจกรรมพิเศษ
13 เมษายน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
14 เมษายน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
15 เมษายน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
16 เมษายน กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ให้กำลังใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และทหาร
ตั้งแต่เวลา 09.00 - 14.00 น.
17 เมษายน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
18 เมษายน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เดิมมีแผนเดินไปสวนสันติภาพด้วย แต่ได้ยกเลิกไป[5]
19 เมษายน สวนจตุจักร
20 เมษายน ลานพระบรมรูปทรงม้า
21 เมษายน วงเวียนใหญ่
22 เมษายน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
23 เมษายน ลานพระบรมรูปทรงม้า
24 เมษายน สวนหลวง ร.9 (ช่วงเช้า) [6]
สวนจตุจักร (ช่วงบ่าย)
25 เมษายน วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ช่วงเช้า) [7]
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ช่วงบ่าย)
ในช่วงเช้ารวมตัวกันสวดมนต์ขอพรให้ประเทศไทย
26 เมษายน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
27 เมษายน วงเวียนโอเดียน (หลัก)
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
จัดชุมนุมพร้อมกันถึง 2 ที่
28 เมษายน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
29 เมษายน งด
30 เมษายน กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ มอบดอกไม้ให้กำลังใจทหาร
1 พฤษภาคม งด เดิมจะจัดเป็นการชุมนุมใหญ่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า
แต่ติดกิจกรรมในวันแรงงานจึงเลื่อนไป
2 พฤษภาคม ลานพระบรมรูปทรงม้า
3 พฤษภาคม อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
4 พฤษภาคม อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
5 พฤษภาคม งด วันฉัตรมงคล
6 พฤษภาคม อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
7 พฤษภาคม อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
8 พฤษภาคม วงเวียนใหญ่
9 พฤษภาคม อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
10 พฤษภาคม อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
11 พฤษภาคม อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
12 พฤษภาคม อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
13 พฤษภาคม อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
14 พฤษภาคม-29 พฤษภาคม งด งดชุมนุมจนกว่าเหตุการณ์จะเป็นปกติ
30 พฤษภาคม พระราชวังพญาไท ทำบุญเลี้ยงพระเพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่ผู้ที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ
31 พฤษภาคม รัฐสภา เข้ายื่นรายชื่อประชาชนจำนวน 20,000 รายชื่อ ต่อประธานวุฒิสภาเพื่อถอดถอน ส.ส.พรรคเพื่อไทยทั้งหมด 3 คน

งดชุมนุม แก้

หลังเหตุการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารและกลุ่ม นปช.ที่ถนนวิภาวดีรังสิตเมื่อวันที่ 28 เมษายน จนทำให้มีทหารเสียชีวิตหนึ่งนาย ในการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิวันเดียวกันนั้น ได้ยุติการชุมนุมเร็วกว่าปกติ และทาง ผศ.นพ.ตุลย์ ผู้นำการชุมนุมก็ได้ยกเลิกการชุมนุมทั้งหมดเพื่อความปลอดภัยจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น[8] และกลับมาชุมนุมอีกครั้งในวันที่ 2 พฤษภาคม ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า

ก่อนงดชุมนุมอีกครั้ง หลังเหตุการณ์ลอบสังหาร พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ที่แยกศาลาแดง และหลังรัฐบาลใช้กำลังสลายการชุมนุมกลุ่ม นปช.[9]

กลับมาชุมนุมอีกครั้ง แก้

หลังรัฐบาลใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมในวันที่ 19 พฤษภาคม แล้ว ก็กลับมาดำเนินกิจกรรมอีกครั้ง ในเช้าวันที่ 30 พฤษภาคม ที่หน้าพระราชวังพญาไท โดยทำบุญเลี้ยงพระเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ที่เสียชีวิตและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทุกคนจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา ทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้ชุมนุม อีกทั้งได้มอบเงินจำนวน 1,200,000 บาทที่ได้รับจากการบริจาคให้แก่ครอบครัวเจ้าหน้าที่ที่ได้รับาดเจ็บและเสียชีวิตด้วย[10]

จากนั้นในวันที่ 31 พฤษภาคม ก็ได้นำรายชื่อประชาชนจำนวน 20,000 ชื่อ ยื่นหนังสือถึงประธานวุฒิสภา (นายประสพสุข บุญเดช) เพื่อถอดถอน ส.ส.พรรคเพื่อไทยซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ประกอบด้วย นายจตุพร พรหมพันธุ์, พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายการุณ โหสกุล รวมทั้งยื่นหนังสือเรียกร้องต่อ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการ ผบ.ตร. ให้สอบสวนดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายภายในพื้นที่การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงรวมถึงการอำนวยความสะดวกในการคุมขังแกนนำ นปช.บางคน เช่น นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ และ น.พ.เหวง โตจิราการ เกินสิทธิของผู้ต้องหาทั่วไปอีกด้วย[11]

การแสดงออกและกิจกรรมทางภูมิภาค แก้

กลุ่มคนเสื้อหลากสี จะแสดงออกโดยการใช้ธงชาติไทยโบกไปมาระหว่างการชุมนุมและการทำป้ายที่มีข้อความต่าง ๆ เช่น ใครคิดล้มในหลวง มึงต้องผ่านศพกูก่อน, ตระกูลกู ลูกหลานอำมาตย์ ขอพิทักษ์ชาติ ราชบัลลังก์, หลงแดงเสียเวลา หลงยุบสภาเสียอนาคต[12] เป็นต้น

ในส่วนของภูมิภาคตามจังหวัดต่าง ๆ ก็มีกลุ่มคนเสื้อหลากสีนี้เคลื่อนไหวคู่ไปกับการเคลื่อนไหวที่กรุงเทพมหานครด้วยเช่นกัน อาทิ พิษณุโลก[13], สงขลา[14], ขอนแก่น[15], ตรัง[16], พัทยา, [17]

บุคคลที่มีชื่อเสียงที่เข้าร่วม แก้

นอกจาก ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ผู้นำการชุมนุม และ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ แล้ว ยังมีดารานักแสดง นักร้องและบุคคลที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ เข้าร่วมกิจกรรมด้วย เช่น เจตริน วรรธนะสิน, ถกลเกียรติ วีรวรรณ, สินเจริญ บราเธอร์ส, ญาณี จงวิสุทธิ์, ปวันรัตน์ นาคสุริยะ[18], ยศวดี หัสดีวิจิตร[19], โอซา แวง[20], เทพ โพธิ์งาม[21], ลีโอ พุฒ, ศิริลักษณ์ ผ่องโชค, หรั่ง ร็อคเคสตร้า[22], วัลลภ ตังคณานุรักษ์[23][24] เป็นต้น

การเคลื่อนไหวในช่วงปลายรัฐบาลพรรคเพื่อไทย แก้

กลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ได้เคยเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงปลายรัฐบาลพรรคเพื่อไทย โดยได้ออกมาเคลื่อนไหวค้ดค้านในหลายเรื่อง อาทิ การคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราที่จะช่วยนิรโทษกรรมผู้กระทำผิดในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองที่ผ่านมา [25] หรือการรวบรวมรายชื่อเพื่อกล่าวโทษนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น จากกรณีให้ความเท็จแก่ศาลในคดีจงใจปกปิดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้น[26]

โดยมีกิจกรรมการปราศรัยและรวบรวมรายชื่อคัดค้านแก้ไขรัฐธรรมนูญ และคัดค้านการนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยมีกิจกรรมประจำทุกวันศุกร์ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และออกไปจัดกิจกรรมและรวบรวมรายชื่อเหล่านี้ตามที่ต่าง ๆ ด้วย อาทิ วงเวียนใหญ่, ถนนสีลม, สวนหลวง ร.9 เป็นต้น[27][28] โดยในครั้งนี้ มี บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ เข้าร่วมด้วย[29]

ในระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม–1 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ได้กลับมาชุมนุมอีกครั้งหนึ่งที่อาคารรัฐสภา ร่วมกับกลุ่มพันธมิตรฯ เพื่อยับยั้งการลงมติ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรองดองแห่งชาติ ที่เสนอโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน โดยเฉพาะในวันที่ 1 มิถุนายนนั้น ได้ชุมนุมปิดแยกการเรือน บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ตั้งแต่เวลาเช้าตรู่[30] [31] และเข้าร่วมชุมนุมกับ องค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) ในวันที่ 28 ตุลาคม ที่สนามม้านางเลิ้ง[32] และที่ลานพระบรมรูปทรงม้า รวมถึงสะพานมัฆวานรังสรรค์ ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555[33]

ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 กลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ก็ได้กลับมาชุมนุมอีกครั้ง ในการชุมนุมของเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ที่แยกอุรุพงษ์ จากนั้นเมื่อการชุมนุมได้ขยายขึ้นที่สถานีรถไฟสามเสน ก็ได้เข้าร่วมชุมนุมด้วย[34]และการมาเป็นการชุมนุมของกปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข)[35]

อ้างอิง แก้

  1. คนหลากสีจี้รัฐหากนิ่งเฉยจะเข้าจัดการเสื้อแดงเองจากโพสต์ทูเดย์
  2. หมอตุลย์ยันเสื้อหลากสีไม่ยกเลิกชุมนุม4โมงเย็น[ลิงก์เสีย]จากกรุงเทพธุรกิจ
  3. 3.0 3.1 รายการลงเอยอย่างไร ช่อง 11 : 21 เมษายน พ.ศ. 2553
  4. กลุ่มเสื้อชมพูและประชาชนรวมกลุ่มที่สวนเบญจกิติ[ลิงก์เสีย]จากครอบครัวข่าว 3
  5. ม็อบหลากสีร้องม็อบแดงเลิกชุมนุม จากเดลินิวส์
  6. คนเสื้อหลากสีรวมพลังสวนหลวง ร.9 เก็บถาวร 2010-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากโพสต์ทูเดย์
  7. "กลุ่มคนเสื้อหลากสี ร่วมสวดพาหุงมหากาและขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และบูรพมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ให้ปกป้องแผ่นดินไทย "[ลิงก์เสีย]จากกรมประชาสัมพันธ์
  8. กลุ่มเสื้อหลากสีประกาศยุติชุมนุมผวาความปลอดภัย[ลิงก์เสีย]จากกรุงเทพธุรกิจ
  9. กลุ่มเสื้อหลากสีประกาศงดชุมนุมในกรุงเทพฯ จนกว่าเหตุการณ์สงบ[ลิงก์เสีย]จากสำนักข่าวไทย
  10. หมอตุลย์นำเสื้อหลากสีทำบุญรพ.พระมงกุฏ[ลิงก์เสีย]
  11. กลุ่มคนเสื้อหลากสียื่นถอดถอน3ส.ส.เพื่อไทย เก็บถาวร 2010-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากกรุงเทพธุรกิจ
  12. สีสันของหลากสี เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากผู้จัดการออนไลน์
  13. เสื้อหลากสีพิษณุโลกรวมพลต่อเนื่อง-ต้านม็อบหางแดง เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากผู้จัดการออนไลน์
  14. เสื้อหลากสีหาดใหญ่ ร้องเพลงแสดงพลังสามัคคี เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเนชั่น แชนแนล
  15. หลากสีขอนแก่น600คนชุมนุมต้านนปช.-ยุบสภา เก็บถาวร 2010-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากคมชัดลึก
  16. เสื้อหลากสีตรังหนุนจัดการแดงตามกฎหมาย จากเดลินิวส์
  17. เสื้อหลากสีพัทยา 500 คน ชุมนุมต้านนปช.-ค้านยุบสภา [ลิงก์เสีย]จากเนชั่น แชนแนล
  18. ตอกคนบันเทิง ไม่หนุนผลงาน ตุ๊ก-เหมี่ยว-บอย
  19. “โย” รวมกลุ่มเสื้อหลากสี ออกตัวเชียร์มาร์ค วอนคนไทยทำเพื่อประเทศชาติ[ลิงก์เสีย]
  20. “เป็ด อภิชาติ” จวกวงการแฟชั่นเพิ่งสำนึกเรื่องการเมือง สับ “ดารุณี” อีกไม่นานคงไปลงนรก[ลิงก์เสีย] จากผู้จัดการออนไลน์
  21. ""เทพ โพธิ์งาม"โผล่ร่วมแจมม็อบหลากสีหน้าราบ11". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-21. สืบค้นเมื่อ 2015-03-22.
  22. "หรั่งร็อคเคสตร้า"ขึ้นเวทีคนหลากสีพิจิตรร่วมร้องเพลงชาติ จากมติชน
  23. "เหล่าศิลปิน"จอย-ลีโอ พุฒ-โย" รวมพลังรักในหลวงแสดงตัวในม็อบหลากสี เคน-สินจัย แสดงตัวในfb-twต่อต้านการยุบสภา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-25. สืบค้นเมื่อ 2015-03-22.
  24. "ครูหยุย"เตือนแกนนำกลุ่มเสื้อหลากสีอย่ารวมพธม. [ลิงก์เสีย]จากเนชั่น แชนแนล
  25. [ลิงก์เสีย] "หมอตุลย์" จ่อล่ารายชื่อต้าน กม.นิรโทษกรรม ผ่านเฟสบุ๊ค-อีเมล เริ่มเที่ยงคืนวันนี้ จากเดลินิวส์
  26. [1]เก็บถาวร 2012-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หมอตุลย์ร้องกล่าวโทษ"เจ๊ปู"ซุกหุ้นชินฯ จากคมชัดลึก
  27. [2]เก็บถาวร 2011-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หมอตุลย์ ล่าชื่อ ค้านฎีกา ทักษิณ เล็งส่งรายชื่อนายกฯ 18 ตุลาฯ นี้ จากเอ็มไทย
  28. หมอตุลย์แนะเลี่ยงปฏิวัติต้องไม่แตะทหาร จากประชาไท
  29. "บิณฑ์ร่วมชุมนุมต้านแก้ไขมาตรา112". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-02-11.
  30. 'เสื้อหลากสี'ปิดแยกการเรือน ขวาง ส.ส.เข้าสภา จากไทยรัฐ
  31. รวมเหตุการณ์ พันธมิตรชุมนุม ในสภาถก พ.ร.บ.ปรองดองประท้วงวุ่น จากมติชน
  32. 'หมอตุลย์' ฟุ้งม็อบตามเป้า นัดอีกสัปดาห์หน้า จากไทยรัฐ
  33. "'อพส.'เชื่อยิงแก๊สแค่ขู่ไม่ให้คนร่วมม็อบ จากคมชัดลึก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-01. สืบค้นเมื่อ 2015-03-22.
  34. 'หมอตุลย์'ขึ้นเวทีม็อบสามเสน เรียกร้องไทยเฉยผนึกกำลังจากแนวหน้า
  35. ตุลย์นัดเสื้อหลากสีต้านพ.ร.บ.นิรโทษ5พ.ย. จากสนุกดอตคอม

แหล่งข้อมูลอื่น แก้