การประกวดเพลงยูโรวิชัน

การประกวดร้องเพลงประจำปีของชาติสมาชิกสหภาพการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งยุโรป
(เปลี่ยนทางจาก ยูโรวิชัน)

การประกวดเพลงชิงชนะเลิศแห่งยุโรป เรียกโดยทั่วไปว่า การประกวดเพลงยูโรวิชัน (อังกฤษ: Eurovision Song Contest; ฝรั่งเศส: Concours Eurovision de la chanson) หรือ ยูโรวิชัน (อังกฤษ: Eurovision) คือการประกวดเพลงระดับนานาชาติประจำปีที่จัดขึ้นโดยสหภาพการแพร่สัญญาณวิทยุและโทรทัศน์แห่งยุโรป (อีบียู) แต่ละประเทศที่เข้าร่วมจะส่งเพลงเข้าประกวด และแล้วจะมีการแสดงสดต่อหน้าสาธารณชน โดยจะถ่ายทอดในสถานีโทรทัศน์ระดับชาติของประเทศสมาชิกผ่านเครือข่ายยูโรวิชันและยูโรเรดิโอ จากนั้นประเทศที่เข้าร่วมจะลงคะแนนให้เพลงของประเทศอื่นเพื่อตัดสินผู้ชนะ

การประกวดเพลงยูโรวิชัน
ประเภทประกวดเพลง
สร้างโดยมาร์แซล เบซ็องซง
เค้าโครงจากเทศกาลดนตรีซานเรโม
พิธีกรหลากหลายคน
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่องมาร์ก-อ็องตวน ชาร์ป็องตีเย
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดเต เดอุม: Prelude (Marche en rondeau)
ดนตรีแก่นเรื่องปิดเต เดอุม: Prelude (Marche en rondeau)
ประเทศแหล่งกำเนิดนานาชาติ
ภาษาต้นฉบับอังกฤษและฝรั่งเศส
จำนวนตอนการประกวด 68 ครั้ง
การถ่ายทอดสด 104 ครั้ง
การผลิต
ความยาวตอน~2 ชั่วโมง (รอบรองชนะเลิศ)
~4 ชั่วโมง (รอบชิงชนะเลิศ)
บริษัทผู้ผลิตสหภาพการแพร่สัญญาณวิทยุและโทรทัศน์แห่งยุโรป
ออกอากาศ
ออกอากาศ24 พฤษภาคม ค.ศ. 1956 (1956-05-24) –
ปัจจุบัน

การประกวดมีเค้าโครงมาจากเทศกาลดนตรีซานเรโม ซึ่งจัดที่ลิกูเรียนริเวียราตั้งแต่ปี ค.ศ. 1951 การประกวดเพลงยูโรวิชันมีการจัดขึ้นทุกปีตั้งแต่ ค.ศ. 1956 (ยกเว้นการประกวดปี 2020 เนื่องจากมาตรการป้องกันโควิด-19) ส่งผลให้เป็นการประกวดเพลงที่ถ่ายทอดทางโทรทัศน์และหนึ่งในรายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศยาวนานที่สุด ประเทศที่เป็นสมาชิกอีบียูปัจจุบันและประเทศที่เกี่ยวข้องมีสิทธิในการเข้าร่วม โดย ณ ค.ศ. 2024 มีประเทศที่เคยเข้าร่วมการประกวดอย่างน้อยหนึ่งครั้งทั้งหมด 52 ประเทศ นับตั้งแต่การประกวดครั้งแรก แต่ละประเทศสมาชิกจะส่งเพลงต้นฉบับความยาวไม่เกิน 3 นาที โดยจะต้องมีนักร้องหรือกลุ่มคนไม่เกิน 6 คนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไปมาแสดงสด แต่ละประเทศจะให้คะแนน 1–8, 10 และ 12 คะแนนแก่เพลง 10 เพลง โดยพิจารณาจากความคิดเห็นของกลุ่มนักดนตรีมืออาชีพและผู้ชมในประเทศนั้นๆ โดยเพลงที่ได้รับคะแนนมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ นอกจากนี้ยังมีการแสดงอื่นๆ ที่จะจัดขึ้นควบคู่ไปกับการแข่งขัน ได้แก่ การแสดงเปิด การแสดงช่วงพัก และการแสดงรับเชิญโดยนักดนตรีและบุคคลอื่นๆ โดยการแสดงในอดีตมีศิลปินเข้าร่วมแสดงมากมาย อาทิ ซีร์ก ดู ซอแลล มาดอนนา จัสติน ทิมเบอร์เลก มิคา ริตา ออรา และการแสดง ริเวอร์แดนซ์ ครั้งแรก เดิมการแข่งขันจะจัดขึ้นในช่วงเย็นของวันหนึ่งๆ เท่านั้น แต่ในปัจจุบันก็ได้มีการขยายตัวมากขึ้น (มีการเข้าร่วมของประเทศนอกทวีปยุโรป เช่น อิสราเอลและออสเตรเลีย) นำไปสู่การนำวิธีการเลื่อนตกชั้นในช่วงทศวรรษ 1990 และระบบรอบรองชนะเลิศในช่วงทศวรรษ 2000 ณ ค.ศ. 2024 เยอรมนีเป็นประเทศที่เข้าร่วมการประกวดเพลงยูโรวิชันมากที่สุด โดยเข้าร่วมทุกครั้งเว้นการประกวดปี 1996 เพียงครั้งเดียว ในขณะที่ไอร์แลนด์และสวีเดนเป็นประเทศที่ชนะการประกวดมากที่สุด โดยทั้งสองประเทศชนะไปเจ็ดครั้ง

การประกวดครั้งหนึ่งมักจัดขึ้นในประเทศที่ชนะการแข่งขันในปีก่อนหน้า โดยเป็นโอกาสในการนำเสนอประเทศและเมืองเจ้าภาพในฐานะจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว นอกเหนือจากสัญลักษณ์ยูโรวิชันหลักที่ใช้เป็นการทั่วไปแล้ว การแข่งขันแต่ละครั้งจะมีธีมการประกวดเฉพาะตัว การประกวดจะออกอากาศในประเทศต่างๆ ทั่วทุกทวีป และมีการออกอากาศทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ยูโรวิชันอย่างเป็นทางการตั้งแต่การแข่งขันปี 2001 การประกวดเพลงยูโรวิชันเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ไม่ใช่กีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลกทุกปี โดยมีผู้ชมหลายร้อยล้านคนทั่วโลกรับชมการประกวดสด การเข้าร่วมการแข่งขันของศิลปินมักเป็นจุดเริ่มต้นของสายอาชีพ ในบางกรณีก็ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติอย่างยาวนาน ศิลปินหลายคนจากศิลปินเพลงที่ขายดีที่สุดต่างเคยเข้าร่วมการประกวดเพลงยูโรวิชันมาก่อน เช่น แอ็บบา เซลีน ดิออน ฆูลิโอ อิเกลเซียส คลิฟฟ์ ริชาร์ด และ โอลิเวีย นิวตัน-จอห์น อีกทั้งซิงเกิลที่ขายดีที่สุดบางเพลงของโลกได้รับการแสดงในระดับนานาชาติเป็นครั้งแรกบนเวทียูโรวิชันนี้เอง

รูปแบบการประกวด

แก้

ประเทศที่ร่วมเข้าแข่งขันจะเลือกเพลงและนักร้อง ประเทศละหนึ่งชุดโดยใช้ผู้แสดงไม่เกินหกคน ที่จะแสดงสดทางโทรทัศน์ เพลงที่เข้าประกวดต้องเป็นเพลงที่แต่งขึ้นมาใหม่ทั้งเนื้อร้องและทำนอง โดยประเภทของเพลงในการแข่งขันมีความหลากหลาย

ในการตัดสินผู้ชนะ ตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา คะแนนจะถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญของแต่ละประเทศ และจากผู้ชมซึ่งเป็นประชากรในประเทศสมาชิก EBU รวมถึงผู้ชมใน "ส่วนอื่นของโลก" (เริ่มตั้งแต่ปี 2023) โดยแต่ละประเทศจะใช้คะแนนจากคณะกรรมการ (Jury Vote) และจากการโหวตของผู้ชมทางโทรศัพท์/การส่งเอสเอ็มเอส/การโหวตผ่านแอพ/การโหวตผ่านเว็บไซต์ (Televote) อย่างละครึ่งหนึ่ง ซึ่งแต่ละประเทศไม่มีสิทธิตัดสินหรือโหวตให้กับประเทศของตัวเอง ทุกประเทศมีโอกาสได้คะแนนเท่ากันโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ด้วยเหตุนั้นประเทศรัสเซียจึงมีโอกาสได้คะแนนเท่ากับโมนาโก

ประเทศที่ได้คะแนนมากที่สุดสองอันดับแรกจะได้ 12 และ 10 คะแนน ส่วนอันดับสามถึงสิบจะได้คะแนนตั้งแต่ 8 จนถึง 1 คะแนน โดยในการประกาศผลช่วงท้ายของการถ่ายทอดสดรอบชิงชนะเลิศ จะแบ่งเป็นสองช่วง ได้แก่

  • คะแนนจากคณะกรรมการ โดยประเทศที่ได้ 1-8 และ 10 คะแนน ตัวเลขจะปรากฏบนกระดานคะแนนดิจิทัล ส่วนประเทศที่ได้ 12 คะแนน (อังกฤษ: Twelve Points, ฝรั่งเศส: Douze Points) ตัวแทนของแต่ละประเทศจะเป็นผู้ประกาศ
  • คะแนนจากการโหวตของผู้ชม ทางโทรศัพท์ ข้อความสั้น และ แอพ พิธีกรจะเป็นผู้ประกาศเอง โดยในปี 2016-2018 จะประกาศเลขคะแนน ตามด้วยชื่อประเทศที่ได้คะแนนจากการโหวต เรียงจากต่ำสุดไปสูงสุด และตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นไป จะประกาศคะแนนจากผู้ชมของแต่ละประเทศ เรียงตามลำดับประเทศที่ได้คะแนนคณะกรรมการ จากต่ำสุดไปหาสูงสุด

ประเทศที่ได้คะแนนจากทั้งสองส่วนข้างต้นรวมกันมากที่สุด จะเป็นผู้ชนะของการประกวดปีนั้น ๆ หากเกิดกรณีที่มีประเทศที่มีคะแนนเท่ากัน จะตัดสินที่คะแนนรวมจากการโหวตของผู้ชม หากยังเท่ากันจะนับจำนวนคะแนนจากการโหวตของผู้ชมที่ได้รับ เรียงจากคะแนนสูงสุดที่ได้รับไปยังคะแนนต่ำสุด หากคะแนนเท่ากันอีก ประเทศที่มีลำดับการแสดงก่อนจะเป็นผู้ชนะ

ประเทศของผู้ชนะจะได้รับถ้วยหรือเหรียญรางวัล และเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดปีต่อไป โดยประเทศเจ้าภาพกับประเทศที่ออกค่าใช้จ่ายให้กับทาง EBU มากที่สุด ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน และ อิตาลี (ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า กลุ่มประเทศ "บิ๊กไฟว์") จะสามารถส่งทีมเข้าประกวดในรอบชิงชนะเลิศได้โดยอัตโนมัติ (ในปี 2015 ออสเตรเลียได้รับสิทธิ์เข้ารอบชิงชนะเลิศโดยอัตโนมัติเป็นกรณีพิเศษเพิ่มเติมอีกหนึ่งประเทศ ในโอกาสครบรอบ 60 ปีการประกวด) ส่วนประเทศที่เหลือทั้งหมดต้องเข้าประกวดรอบคัดเลือก ซึ่งมีสองวันและคัดประเทศเข้ารอบชิงชนะเลิศวันละสิบประเทศ ทำให้รอบชิงชนะเลิศมีประเทศเข้าประกวดทั้งหมด 26 ประเทศ ส่วนในปีที่ประเทศในกลุ่มบิ๊กไฟว์เป็นเจ้าภาพ จะมีชาติที่เข้าร่วมประกวดรอบชิงชนะเลิศรวม 25 ประเทศ

สำหรับในการประกวดปี 2023 ยูเครน ประเทศผู้ชนะการประกวดปีก่อนหน้า ไม่สามารถจัดงานได้เนื่องจากยังอยู่ในภาวะสงคราม สหราชอาณาจักรที่ได้ลำดับที่สองในการประกวดคราวเดียวกันนั้น จึงรับหน้าที่จัดประกวดแทน แต่ยูเครนก็ยังได้รับสิทธิ์เข้ารอบชิงชนะเลิศโดยอัตโนมัติตามธรรมเนียมเช่นเดิม ดังนั้นจึงมีชาติที่เข้าร่วมการประกวดในรอบชิงชนะเลิศปีดังกล่าวรวม 26 ประเทศ แม้จะมีหนึ่งในกลุ่มประเทศบิ๊กไฟว์เป็นเจ้าภาพก็ตาม

การออกอากาศ

แก้
 
นีโม ผู้ชนะเลิศคนล่าสุดในปี 2024

การประกวดเริ่มมีการออกอากาศทุกปีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1956 ถือเป็นรายการโทรทัศน์ที่มีต่อเนื่องยาวที่สุดในโลก และมีผู้ชมที่ไม่ใช่การแข่งขันกีฬามากที่สุด[1] โดยมีผู้ชมระหว่าง 100 ล้าน - 600 ล้านคน[2][3] ออกอากาศทั่วทั้งยุโรป และยังแพร่ภาพใน ออสเตรเลีย แคนาดา อียิปต์ ฮ่องกง อินเดีย จอร์แดน เกาหลี นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ และ สหรัฐอเมริกา ถึงแม้ประเทศเหล่านี้จะไม่ได้ร่วมแข่งขันก็ตาม

ตั้งแต่ปี 2000 การแข่งขันได้มีการแพร่ภาพทางอินเทอร์เน็ต[4] และในปี 2015 สหภาพฯ ได้เปิดช่องทางการถ่ายทอดสดผ่านยูทูบ[5]

ผู้มีชื่อเสียงจากการประกวด

แก้

ศิลปินดังที่ชนะเลิศจากรายการนี้ เช่น เซลีน ดิออน (สวิสเซอร์แลนด์) ปี 1988, แอ็บบ้า (สวีเดน) ปี 1974, ดานา อินเตอร์เนชันแนล (อิสราเอล) ปี 1998, ลอร์ดิ (ฟินแลนด์) ปี 2006, มาริยา เชริโฟวิช (Marija Šerifović) จากประเทศเซอร์เบีย ปี 2007, ดิมา บิลาน (Dima Bilan) จากรัสเซีย ปี 2008 และ อเล็กซานเดอร์ รืยบัค (Alexander Rybak) จากนอร์เวย์ ปี 2009 และเลนา เมเยอร์-ลันดรุท (Lena Meyer-Landrut) จากเยอรมนี ปี 2010

เจ้าภาพและผู้ชนะในแต่ละปี

แก้
 
ประเทศที่เคยเข้าร่วมแข่งขัน
ครั้งที่ วันที่แข่งรอบชิงชนะเลิศ ปี เครือข่ายที่ทำการถ่ายทอดสด สถานที่ เมือง จำนวนประเทศที่เข้าร่วม ประเทศที่เข้าร่วมใหม่ ประเทศที่ไม่เข้าร่วมในปีนี้ ประเทศที่กลับมาเข้าร่วมใหม่ ประเทศที่ชนะ
1 24 พฤษภาคม 1956 (2499)
 
Teatro Kursaal   ลูกาโน 7   เบลเยียม
  ฝรั่งเศส
  เยอรมนี
  อิตาลี
  ลักเซมเบิร์ก
  เนเธอร์แลนด์
  สวิตเซอร์แลนด์
- -   สวิตเซอร์แลนด์
2 3 มีนาคม 1957 (2500)
 
 
Großer Sendesaal   แฟรงก์เฟิร์ต 10   ออสเตรีย
  เดนมาร์ก
  สหราชอาณาจักร
- -   เนเธอร์แลนด์
3 12 มีนาคม 1958 (2501)
 
AVRO Studio   ฮิลเวอร์ซัม 10   สวีเดน   สหราชอาณาจักร -   ฝรั่งเศส
4 11 มีนาคม 1959 (2502)
 
Palais des Festivals   กาน 11   โมนาโก   ลักเซมเบิร์ก   สหราชอาณาจักร   เนเธอร์แลนด์
5 25 มีนาคม 1960 (2503)
 
Royal Festival Hall   ลอนดอน 13   นอร์เวย์ -   ลักเซมเบิร์ก   ฝรั่งเศส
6 18 มีนาคม 1961 (2504)
 
Palais des Festivals   กาน 16   ฟินแลนด์
  สเปน
  ยูโกสลาเวีย
- -   ลักเซมเบิร์ก
7 18 มีนาคม 1962 (2505)
 
Villa Louvigny   ลักเซมเบิร์ก 16 - - -   ฝรั่งเศส
8 23 มีนาคม 1963 (2506)
 
BBC Television Centre   ลอนดอน 16 - - -   เดนมาร์ก
9 21 มีนาคม 1964 (2507)
 
Tivoli Concert Hall   โคเปนเฮเกน 16   โปรตุเกส   สวีเดน -   อิตาลี
10 20 มีนาคม 1965 (2508)
 
RAI Television Centre   เนเปิลส์ 18   ไอร์แลนด์ -   สวีเดน   ลักเซมเบิร์ก
11 5 มีนาคม 1966 (2509)
 
Villa Louvigny   ลักเซมเบิร์ก 18 - - -   ออสเตรีย
12 8 เมษายน 1967 (2510)
 
Hofburg Imperial Palace   เวียนนา 17 -   เดนมาร์ก -   สหราชอาณาจักร
13 6 เมษายน 1968 (2511)
 
Royal Albert Hall   ลอนดอน 17 - - -   สเปน
14 29 มีนาคม 1969 (2512)
 
Teatro Real   มาดริด 16 -   ออสเตรีย -   สเปน
  สหราชอาณาจักร
  เนเธอร์แลนด์
  ฝรั่งเศส
15 21 มีนาคม 1970 (2513)
 
RAI Congrescentrum   อัมสเตอร์ดัม 12 -   ฟินแลนด์
  นอร์เวย์
  โปรตุเกส
  สวีเดน
-   ไอร์แลนด์
16 3 เมษายน 1971 (2514)
 
Gaiety Theatre   ดับลิน 18   มอลตา -   ออสเตรีย
  ฟินแลนด์
  นอร์เวย์
  โปรตุเกส
  สวีเดน
  โมนาโก
17 25 มีนาคม 1972 (2515)
 
Usher Hall   เอดินบะระ 18 - - -   ลักเซมเบิร์ก
18 7 เมษายน 1973 (2516)
 
Nouveau Théâtre Luxembourg   ลักเซมเบิร์ก 17   อิสราเอล   ออสเตรีย
  มอลตา
-   ลักเซมเบิร์ก
19 6 เมษายน 1974 (2517)
 
Brighton Dome   ไบรตัน 17   กรีซ   ฝรั่งเศส -   สวีเดน
20 22 มีนาคม 1975 (2518)
 
Stockholm International Fairs   สต็อกโฮล์ม 19   ตุรกี   กรีซ   ฝรั่งเศส
  มอลตา
  เนเธอร์แลนด์
21 3 เมษายน 1976 (2519)
 
Congresgebouw   เดอะเฮก 18   ลิกเตนสไตน์ แต่ภายหลังถอนตัว   มอลตา
  สวีเดน
  ตุรกี
  ออสเตรีย
  กรีซ
  สหราชอาณาจักร
22 7 พฤษภาคม 1977 (2520)
 
Wembley Conference Centre   ลอนดอน 18   ตูนีเซีย แต่ภายหลังถอนตัว   ยูโกสลาเวีย   สวีเดน   ฝรั่งเศส
23 22 เมษายน 1978 (2521)
 
Palais des Congrès   ปารีส 20 - -   เดนมาร์ก
  ตุรกี
  อิสราเอล
24 31 มีนาคม 1979 (2522)
 
International Convention Centre   เยรูซาเลม 19 -   ตุรกี -   อิสราเอล
25 19 เมษายน 1980 (2523)
 
Congresgebouw   เดอะเฮก 19   โมร็อกโก   อิสราเอล
  โมนาโก
  ตุรกี   ไอร์แลนด์
26 4 เมษายน 1981 (2524)
 
Royal Dublin Society   ดับลิน 20   ไซปรัส   อิตาลี
  โมร็อกโก
  อิสราเอล
  ยูโกสลาเวีย
  สหราชอาณาจักร
27 24 เมษายน 1982 (2525)
 
Harrogate International Centre   ฮาร์โรเกต 18 -   ฝรั่งเศส
  กรีซ
-   เยอรมนี
28 23 เมษายน 1983 (2526)
 
 
Rudi Sedlmayer Halle   มิวนิก 20 -   ไอร์แลนด์   ฝรั่งเศส
  กรีซ
  อิตาลี
  ลักเซมเบิร์ก
29 5 พฤษภาคม 1984 (2527)
 
Théâtre Municipal   ลักเซมเบิร์ก 19   ไอซ์แลนด์ แต่ภายหลังถอนตัว   กรีซ
  อิสราเอล
  ไอร์แลนด์   สวีเดน
30 4 พฤษภาคม 1985 (2528)
 
Scandinavium   กอเทนเบิร์ก 19 -   เนเธอร์แลนด์
  ยูโกสลาเวีย
  กรีซ
  อิสราเอล
  นอร์เวย์
31 3 พฤษภาคม 1986 (2529)
 
Grieg Hall   แบร์เกน 20   ไอซ์แลนด์   กรีซ
  อิตาลี
  เนเธอร์แลนด์
  ยูโกสลาเวีย
  เบลเยียม
32 9 พฤษภาคม 1987 (2530)
 
Centenary Palace   บรัสเซลส์ 22 - -   กรีซ
  อิตาลี
  ไอร์แลนด์
33 30 เมษายน 1988 (2531)
 
Royal Dublin Society   ดับลิน 21 -   ไซปรัส -   สวิตเซอร์แลนด์
34 6 พฤษภาคม 1989 (2532)
 
Palais de Beaulieu   โลซาน 22 - -   ไซปรัส   ยูโกสลาเวีย
35 5 พฤษภาคม 1990 (2533)
 
Vatroslav Lisinski Concert Hall   ซาเกร็บ 22 - - -   อิตาลี
36 4 พฤษภาคม 1991 (2534)
 
Studio 15 di Cinecittà   โรม 22 -   เนเธอร์แลนด์   มอลตา   สวีเดน
37 9 พฤษภาคม 1992 (2535)
 
Malmö Entertainment Centre   มัลเมอ 23 - -   เนเธอร์แลนด์   ไอร์แลนด์
38 15 พฤษภาคม 1993 (2536)
 
Green Glens Arena   มิลล์สตริต 25   บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
  โครเอเชีย
  สโลวีเนีย
  ยูโกสลาเวีย (เซอร์เบียและมอนเตเนโกร) -   ไอร์แลนด์
39 1 พฤษภาคม 1994 (2537)
 
Point Depot   ดับลิน 25   เอสโตเนีย
  ฮังการี
  ลิทัวเนีย
  โปแลนด์
  โรมาเนีย
  รัสเซีย
  สโลวาเกีย
  เบลเยียม
  เดนมาร์ก
  อิสราเอล
  อิตาลี
  ลักเซมเบิร์ก
  สโลวีเนีย
  ตุรกี
-   ไอร์แลนด์
40 13 พฤษภาคม 1995 (2538)
 
Point Depot   ดับลิน 23 -   เอสโตเนีย
  ฟินแลนด์
  ลิทัวเนีย
  เนเธอร์แลนด์
  โรมาเนีย
  สโลวาเกีย
  สวิตเซอร์แลนด์
  เบลเยียม
  เดนมาร์ก
  อิสราเอล
  สโลวีเนีย
  ตุรกี
  นอร์เวย์
41 18 พฤษภาคม 1996 (2539)
 
Oslo Spektrum   ออสโล 23 - -   เอสโตเนีย
  ฟินแลนด์
  เนเธอร์แลนด์
  สโลวาเกีย
  สวิตเซอร์แลนด์
  ไอร์แลนด์
42 3 พฤษภาคม 1997 (2540)
 
Point Depot   ดับลิน 25 -   เบลเยียม
  ฟินแลนด์
  อิสราเอล
  สโลวาเกีย
  อิตาลี   สหราชอาณาจักร
43 9 พฤษภาคม 1998 (2541)
 
National Indoor Arena   เบอร์มิงแฮม 25   อดีตสาธารณรัฐยูโกสลาฟมาซิโดเนีย   ออสเตรีย
  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
  เดนมาร์ก
  ไอซ์แลนด์
  อิตาลี
  รัสเซีย
  เบลเยียม
  ฟินแลนด์
  อิสราเอล
  โรมาเนีย
  สโลวาเกีย
  อิสราเอล
44 29 พฤษภาคม 1999 (2542)
 
International Convention Centre   เยรูซาเลม 23 -   ฟินแลนด์
  กรีซ
  ฮังการี
  อดีตสาธารณรัฐยูโกสลาฟมาซิโดเนีย
  โรมาเนีย
  สโลวาเกีย
  สวิตเซอร์แลนด์
  ออสเตรีย
  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
  เดนมาร์ก
  ไอซ์แลนด์
  ลิทัวเนีย
  สวีเดน
45 13 พฤษภาคม 2000 (2543)
 
Stockholm Globen Arena   สต็อกโฮล์ม 24   ลัตเวีย   บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
  ลิทัวเนีย
  โปแลนด์
  โปรตุเกส
  สโลวีเนีย
  ฟินแลนด์
  อดีตสาธารณรัฐยูโกสลาฟมาซิโดเนีย
  โรมาเนีย
  รัสเซีย
  สวิตเซอร์แลนด์
  เดนมาร์ก
46 12 พฤษภาคม 2001 (2544)
 
Parken Stadium   โคเปนเฮเกน 23 -   ออสเตรีย
  เบลเยียม
  ไซปรัส
  ฟินแลนด์
  อดีตสาธารณรัฐยูโกสลาฟมาซิโดเนีย
  โรมาเนีย
  สวิตเซอร์แลนด์
  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
  กรีซ
  ลิทัวเนีย
  โปแลนด์
  โปรตุเกส
  สโลวีเนีย
  เอสโตเนีย
47 25 พฤษภาคม 2002 (2545)
 
Saku Suurhall   ทาลลินน์ 24 -   ไอซ์แลนด์
  ไอร์แลนด์
  เนเธอร์แลนด์
  นอร์เวย์
  โปแลนด์
  โปรตุเกส
  ออสเตรีย
  เบลเยียม
  ไซปรัส
  ฟินแลนด์
  อดีตสาธารณรัฐยูโกสลาฟมาซิโดเนีย
  โรมาเนีย
  สวิตเซอร์แลนด์
  ลัตเวีย
48 24 พฤษภาคม 2003 (2546)
 
Skonto Hall   ริกา 26   ยูเครน   เดนมาร์ก
  ฟินแลนด์
  ลิทัวเนีย
  อดีตสาธารณรัฐยูโกสลาฟมาซิโดเนีย
  สวิตเซอร์แลนด์
  ไอซ์แลนด์
  ไอร์แลนด์
  เนเธอร์แลนด์
  นอร์เวย์
  โปแลนด์
  โปรตุเกส
  ตุรกี
49 15 พฤษภาคม 2004 (2547)
 
Abdi İpekçi Arena   อิสตันบูล 36   แอลบาเนีย
  อันดอร์รา
  เบลารุส
  เซอร์เบียและมอนเตเนโกร
-   เดนมาร์ก
  ฟินแลนด์
  ลิทัวเนีย
  อดีตสาธารณรัฐยูโกสลาฟมาซิโดเนีย
  โมนาโก
  สวิตเซอร์แลนด์
  ยูเครน
50 21 พฤษภาคม 2005 (2548)
 
Kiev Sports Palace   เคียฟ 39   บัลแกเรีย
  เลบานอน แต่ภายหลังถอนตัว
  มอลโดวา
-   ฮังการี   กรีซ
51 20 พฤษภาคม 2006 (2549)
 
Olympic Indoor Hall   เอเธนส์ 37   อาร์มีเนีย   ออสเตรีย
  ฮังการี
  เซอร์เบียและมอนเตเนโกร
-   ฟินแลนด์
52 12 พฤษภาคม 2007 (2550)
 
Hartwall Arena   เฮลซิงกิ 42   เช็กเกีย
  จอร์เจีย
  มอนเตเนโกร
  เซอร์เบีย
  โมนาโก   ออสเตรีย
  ฮังการี
  เซอร์เบีย
53 24 พฤษภาคม 2008 (2551)
 
Belgrade Arena   เบลเกรด 43   อาเซอร์ไบจาน
  ซานมารีโน
  ออสเตรีย -   รัสเซีย
54 16 พฤษภาคม 2009 (2552)
 
Olimpiyskiy Arena   มอสโก 42 -   จอร์เจีย
  ซานมารีโน
  สโลวาเกีย   นอร์เวย์
55 29 พฤษภาคม 2010 (2553)
 
Telenor Arena   ออสโล 39 -   อันดอร์รา
  เช็กเกีย
  ฮังการี
  มอนเตเนโกร
  จอร์เจีย   เยอรมนี
56 14 พฤษภาคม 2011 (2554)
 
 
Düsseldorf Arena   ดึสเซลดอร์ฟ 43 - -   ออสเตรีย
  ฮังการี
  อิตาลี
  ซานมาริโน
  อาเซอร์ไบจาน
57 26 พฤษภาคม 2012 (2555)
 
Baku Crystal Hall   บากู 42 -   อาร์มีเนีย
  โปแลนด์
  มอนเตเนโกร   สวีเดน
58 18 พฤษภาคม 2013 (2556)
 
Malmö Arena   มัลเมอ 39 -   บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
  โปรตุเกส
  สโลวาเกีย
  ตุรกี
  อาร์มีเนีย   เดนมาร์ก
59 10 พฤษภาคม 2014 (2557)
 
B&W Hallerne   โคเปนเฮเกน 37 -   บัลแกเรีย
  โครเอเชีย
  ไซปรัส
  เซอร์เบีย
  โปแลนด์
  โปรตุเกส
  ออสเตรีย
60 23 พฤษภาคม 2015 (2558)
 
Wiener Stadthalle   เวียนนา 40   ออสเตรเลีย   ยูเครน   ไซปรัส
  เช็กเกีย
  เซอร์เบีย
  สวีเดน
61 14 พฤษภาคม 2016 (2559)
 
Ericsson Globe   สต็อกโฮล์ม 42 -   โปรตุเกส
  โรมาเนีย
  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
  บัลแกเรีย
  โครเอเชีย
  ยูเครน
  ยูเครน
62 20 พฤษภาคม 2017 (2560)
 
International Exhibition Centre   เคียฟ 42 -   บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
  รัสเซีย
  โปรตุเกส
  โรมาเนีย
  โปรตุเกส
63 12 พฤษภาคม 2018 (2561)
 
Altice Arena   ลิสบอน 43 - -   รัสเซีย   อิสราเอล
64 18 พฤษภาคม 2019 (2562)
 
Tel Aviv Convention Center   เทลอาวีฟ 41 -   บัลแกเรีย
  ยูเครน
-   เนเธอร์แลนด์
ยกเลิก 16 พฤษภาคม
(ตามที่วางแผน)
2020 (2563)
 
 
 
Rotterdam Ahoy   รอตเทอร์ดาม 41
(ตามที่วางแผน)
-   ฮังการี
  มอนเตเนโกร

(ตามที่วางแผน)
  บัลแกเรีย
  ยูเครน

(ตามที่วางแผน)
ยกเลิกจัดการแข่งขัน เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19
65 18 พฤษภาคม 2021 (2564)
 
 
 
Rotterdam Ahoy   รอตเทอร์ดาม 39 -   อาร์มีเนีย
  เบลารุส
  ฮังการี
  มอนเตเนโกร
  บัลแกเรีย
  ยูเครน
  อิตาลี
66 14 พฤษภาคม 2022 (2565)
 
PalaOlimpico   ตูริน 40 -   รัสเซีย   อาร์มีเนีย
  มอนเตเนโกร
  ยูเครน
67 13 พฤษภาคม 2023 (2566)
 
Liverpool Arena   ลิเวอร์พูล 37 -   บัลแกเรีย
  มอนเตเนโกร
  นอร์ทมาซิโดเนีย
-   สวีเดน
68 11 พฤษภาคม 2024 (2567)
 
Malmö Arena   มัลเมอ 37 -   โรมาเนีย   ลักเซมเบิร์ก   สวิตเซอร์แลนด์
69 17 พฤษภาคม 2025 (2568)
 
St. Jakobshalle   บาเซิล รอประกาศ รอประกาศ รอประกาศ   มอนเตเนโกร ยังไม่มีการแข่งขัน

คำขวัญ

แก้
ปี ประเทศ เมือง คำขวัญ/ธีม คำแปลภาษาไทย
2002   เอสโตเนีย ทาลลินน์ A Modern Fairytale เทพนิยายสมัยใหม่
2003   ลัตเวีย รีกา Magical Rendezvous จุดนับพบต้องมนต์ขลัง
2004   ตุรกี อิสตันบูล Under The Same Sky ใต้ฟ้าเดียวกัน
2005   ยูเครน เคียฟ Awakening ปลุกให้ตื่น
2006   กรีซ เอเธนส์ Feel The Rhythm! สัมผัสถึงจังหวะดนตรี!
2007   ฟินแลนด์ เฮลซิงกิ True Fantasy จินตนาการที่เป็นจริง
2008   เซอร์เบีย เบลเกรด Confluence of Sound การชุมนุมของเสียงเพลง
2009   รัสเซีย มอสโก ไม่มี -
2010   นอร์เวย์ ออสโล Share The Moment! ร่วมแบ่งปันเรื่องราว
2011   เยอรมนี ดึสเซิลดอร์ฟ Feel Your Heart Beat! สัมผัสจังหวะหัวใจคุณ!
2012   อาเซอร์ไบจาน บากู Light Your Fire! เติมไฟในตัวคุณ!
2013   สวีเดน มัลเมอ We Are One เราเป็นหนึ่ง
2014   เดนมาร์ก โคเปนเฮเกน #JoinUs #มาร่วมกับเรา
2015   ออสเตรีย เวียนนา Building Bridges ก่อร่างสร้างสะพาน
2016   สวีเดน สต็อกโฮล์ม Come Together มาสนุกร่วมกัน
2017   ยูเครน เคียฟ Celebrate Diversity เฉลิมฉลองความหลากหลาย
2018   โปรตุเกส ลิสบอน All Aboard! มารวมตัวกัน!
2019   อิสราเอล เทลอาวีฟ Dare To Dream กล้าที่จะฝัน
2020   เนเธอร์แลนด์ รอตเทอร์ดาม ยกเลิก -
2021   เนเธอร์แลนด์ รอตเทอร์ดาม Open Up เปิดใจ
2022   อิตาลี ตูริน The Sound of Beauty มนต์เสน่ห์แห่งเสียงเพลง
2023   สหราชอาณาจักร ลิเวอร์พูล United by Music1 รวมใจกันด้วยเสียงดนตรี
2024   สวีเดน มัลเมอ
2025   สวิตเซอร์แลนด์ บาเซิล
1.^ นับแต่การแข่งขันในปี 2024 เป็นต้นมา รายการจะใช้คำขวัญนี้เป็นคำขวัญประจำรายการ

จำนวนครั้งที่แต่ละประเทศชนะการประกวด

แก้

ตารางด้านล่างแสดงจำนวนครั้งที่แต่ละประเทศชนะการประกวด เรียงตามจำนวนครั้งและปีที่ชนะล่าสุด ตามลำดับ โดยในการประกวดแต่ละปีจะมีผู้ชนะเพียงประเทศเดียว ยกเว้นปี 1969 ซึ่งแสดงเป็น ตัวเอียง ในตาราง ที่มีผู้ชนะ 4 ประเทศ

 
แผนที่แสดงจำนวนครั้งที่ชนะในแต่ละประเทศ
จำนวนครั้งที่ชนะ ประเทศ ปีที่ชนะ
7   ไอร์แลนด์ 1970, 1980, 1987, 1992, 1993, 1994, 1996
  สวีเดน 1974, 1984, 1991, 1999, 2012, 2015, 2023
5   เนเธอร์แลนด์ 1957, 1959, 1969, 1975, 2019
  ฝรั่งเศส 1958, 1960, 1962, 1969, 1977
  ลักเซมเบิร์ก 1961, 1965, 1972, 1973, 1983
  สหราชอาณาจักร 1967, 1969, 1976, 1981, 1997
4   อิสราเอล 1978, 1979, 1998, 2018
3   สวิตเซอร์แลนด์ 1956, 1988, 2024
  เดนมาร์ก 1963, 2000, 2013
  อิตาลี 1964, 1990, 2021
  นอร์เวย์ 1985, 1995, 2009
  ยูเครน 2004, 2016, 2022
2   ออสเตรีย 1966, 2014
  สเปน 1968, 1969
  เยอรมนี 1982, 2010
1   โมนาโก 1971
  เบลเยียม 1986
  ยูโกสลาเวีย 1989
  เอสโตเนีย 2001
  ลัตเวีย 2002
  ตุรกี 2003
  กรีซ 2005
  ฟินแลนด์ 2006
  เซอร์เบีย 2007
  รัสเซีย 2008
  อาเซอร์ไบจาน 2011
  โปรตุเกส 2017

รายชื่อผู้ชนะ

แก้
ปี ประเทศ เพลง ศิลปิน
1956   สวิตเซอร์แลนด์ Refrain Lys Assia
1957   เนเธอร์แลนด์ Net Als Toen Corry Brokken
1958   ฝรั่งเศส Dors, Mon Amour André Claveau
1959   เนเธอร์แลนด์ Een Beetje Teddy Scholten
1960   ฝรั่งเศส Tom Pillibi Jacqueline Boyer
1961   ลักเซมเบิร์ก Nous les amoureux Jean-Claude Pascal
1962   ฝรั่งเศส Un premier amour Isabelle Aubret
1963   เดนมาร์ก Dansevise Grethe & Jørgen Ingmann
1964   อิตาลี Non ho l'età (per amarti) Gigliola Cinquetti
1965   ลักเซมเบิร์ก Poupée de cire, poupée de son France Gall
1966   ออสเตรีย Merci Chérie Udo Jürgens
1967   สหราชอาณาจักร Puppet On A String Sandie Shaw
1968   สเปน La, la, la Massiel
1969   สเปน Vivo Cantando Salomé
  สหราชอาณาจักร Boom Bang-a-Bang Lulu
  เนเธอร์แลนด์ De Troubadour Lennie Kuhr
  ฝรั่งเศส Un jour, un enfant Frida Boccara
1970   ไอร์แลนด์ All Kinds Of Everything Dana
1971   โมนาโก Un banc, un arbre, une rue Séverine
1972   ลักเซมเบิร์ก Après Toi Vicky Leandros
1973   ลักเซมเบิร์ก Tu Te Reconnaîtras Anne-Marie David
1974   สวีเดน Waterloo ABBA
1975   เนเธอร์แลนด์ Ding-A-Dong Teach-In
1976   สหราชอาณาจักร Save Your Kisses For Me Brotherhood of Man
1977   ฝรั่งเศส L'Oiseau Et L'Enfant Marie Myriam
1978   อิสราเอล A-Ba-Ni-Bi Izhar Cohen & Alphabeta
1979   อิสราเอล Hallelujah Gali Atari & Milk and Honey
1980   ไอร์แลนด์ What's Another Year? Johnny Logan
1981   สหราชอาณาจักร Making Your Mind Up Bucks Fizz
1982   เยอรมนี Ein Bisschen Frieden Nicole
1983   ลักเซมเบิร์ก Si la vie est cadeau Corinne Hermès
1984   สวีเดน Diggi-Loo Diggi-Ley Herreys
1985   นอร์เวย์ La det swinge Bobbysocks
1986   เบลเยียม J'aime la vie Sandra Kim
1987   ไอร์แลนด์ Hold Me Now Johnny Logan
1988   สวิตเซอร์แลนด์ Ne partez pas sans moi Céline Dion
1989   ยูโกสลาเวีย Rock Me Riva
1990   อิตาลี Insieme: 1992 Toto Cutugno
1991   สวีเดน Fångad av en stormvind Carola
1992   ไอร์แลนด์ Why Me Linda Martin
1993   ไอร์แลนด์ In Your Eyes Niamh Kavanagh
1994   ไอร์แลนด์ Rock 'n' Roll Kids Paul Harrington & Charlie McGettigan
1995   นอร์เวย์ Nocturne Secret Garden
1996   ไอร์แลนด์ The Voice Eimear Quinn
1997   สหราชอาณาจักร Love Shine A Light Katrina and the Waves
1998   อิสราเอล Diva Dana International
1999   สวีเดน Take Me to Your Heaven Charlotte Nilsson
2000   เดนมาร์ก Fly On The Wings Of Love Olsen Brothers
2001   เอสโตเนีย Everybody Tanel Padar, Dave Benton & 2XL
2002   ลัตเวีย I Wanna Marie N
2003   ตุรกี Everyway That I Can Sertab Erener
2004   ยูเครน Wild Dances Ruslana
2005   กรีซ My Number One Elena Paparizou
2006   ฟินแลนด์ Hard Rock Hallelujah Lordi
2007   เซอร์เบีย Moltiva Marija Šerifović
2008   รัสเซีย Believe Dima Bilan
2009   นอร์เวย์ Fairytale Alexander Rybak
2010   เยอรมนี Satellite Lena Meyer-Landrut
2011   อาเซอร์ไบจาน Running Scared Eldar & Nigar
2012   สวีเดน Euphoria Loreen
2013   เดนมาร์ก Only Teardrops Emmelie de Forest
2014   ออสเตรีย Rise Like a Phoenix Conchita Wurst
2015   สวีเดน Heroes Måns Zelmerlöw
2016   ยูเครน 1944 Jamala
2017   โปรตุเกส Amar Pelos Dois Salvador Sobral
2018   อิสราเอล Toy Netta
2019   เนเธอร์แลนด์ Arcade Duncan Laurence
2020 ไม่มีผู้ชนะ1 ไม่มีผู้ชนะ1 ไม่มีผู้ชนะ1
2021   อิตาลี Zitti e buoni Måneskin
2022   ยูเครน Stefania Kalush Orchestra
2023   สวีเดน Tattoo Loreen
2024   สวิตเซอร์แลนด์ The Code Nemo
2025
1.^ ยกเลิกการจัดการแข่งขันเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19

อ้างอิง

แก้
  1. "Live Webcast". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-25. สืบค้นเมื่อ 2006-05-25.
  2. Finland wins Eurovision contestAljazeera.net (21 May 2006). เรียกดูเมื่อ 2007-05-08.
  3. Matthew Murray.Eurovision Song Contest - International Music Program. เก็บถาวร 2005-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน museum.tv. เรียกดูเมื่อ 2006-07-15.
  4. Philip Laven (July 2002).Webcasting and the Eurovision Song Contest. เก็บถาวร 2008-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนEuropean Broadcasting Union. เรียกดูเมื่อ 2006-08-21.
  5. Eurovision song contest 2006 - live streaming เก็บถาวร 2007-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนOctoshape (8 June 2006). เรียกดูเมื่อ 2006-08-21.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้