สตาร์อัลไลแอนซ์

(เปลี่ยนทางจาก Star Alliance)


สตาร์อัลไลแอนซ์ (อังกฤษ: Star Alliance) เป็นเครือข่ายพันธมิตรสายการบินรายแรกและขนาดใหญ่ที่สุดในโลก[1] ก่อตั้งเมื่อ14 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 โดยมีสายการบินก่อตั้ง 5 สายการบินคือ แอร์แคนาดา, ลุฟท์ฮันซ่า, ยูไนเต็ดแอร์ไลน์, สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม และการบินไทย ปัจจุบันมีสายการบินเข้าร่วมจำนวน 25 สายการบิน มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์ ประเทศเยอรมนี[4]

สตาร์อัลไลแอนซ์
Star Alliance
ก่อตั้ง14 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี)
สายการบินสมาชิก25
สมาชิกนอกเครือข่าย40
ท่าอากาศยานปลายทาง1,294
ประเทศปลายทาง195[1]
ปริมาณผู้โดยสาร (ล้าน)762[1]
ปริมาณขนส่งผู้โดยสาร (พันล้าน)1,739
ขนาดฝูงบิน5,033
สำนักงานใหญ่ฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์ ประเทศเยอรมนี
ผู้บริหารธีโอ พานาจิโอทูเลียส (ซีอีโอ)[2]
สกอตต์ เคอร์บี (ประธาน)[3]
คำขวัญวิธีที่โลกเชื่อมต่อกัน
(The Way the Earth Connects)
เว็บไซต์staralliance.com

ปัจจุบันเครือข่ายมีการให้บริการเที่ยวบินวันละ 21,555 เที่ยวต่อวัน ในท่าอากาศยาน 1,329 แห่ง ใน 195 ประเทศ มีอากาศยานรวมกันกว่า 4,570 ลำ มีปริมาณผู้โดยสารกว่า 678.5 ล้านคน ทั่วโลก

ประวัติ

แก้

ค.ศ. 1997-1999: การก่อตั้ง

แก้

ในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ.1997 ได้มีข้อตกลงระหว่างห้าสายการบิน ซึ่งคือ การบินไทย ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ลุฟท์ฮันซ่า สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม และแอร์แคนาดา เพื่อก่อตั้งเครือข่ายพันธมิตรสายการบินในชื่อ สตาร์อัลไลแอนซ์[5][6] โดยได้เลือกบริษัทยังแอนด์รูบิแคมสัญชาติอเมริกันในการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ด้านต้นทุน 25 ล้านเหรียญสหรัฐ (18 ล้านยูโร)[7] สตาร์อัลไลแอนซ์เลือกใช้สัญลักษณ์เป็นดาวห้าแฉก แสดงถึงห้าสายการบินผู้ก่อตั้ง พันธมิตร และใช้สโลแกน "เครือข่ายสายการบินเพื่อโลก"[5] โดยมีเป้าหมายที่จะพาผู้โดยสารไปยังเมืองสำคัญทุกแห่งบนโลก[6]

ในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1997 อดีตสายการบินสัญชาติบราซิลอย่างวาริกเข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์[5][8] ซึ่งเป็นสมาชิกที่เข้าร่วมหลังก่อตั้งเป็นรายแรก และเป็นสมาชิกรายแรกในอเมริกาใต้ ต่อมาอันเซตต์ออสเตรเลียและแอร์นิวซีแลนด์เข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์ เป็นการขยายเครือข่ายสู่ออสเตรเลียและแปซิฟิก[9] โดยหลังจากสองสายการบินนี้เข้าร่วม สตาร์อัลไลแอนซ์ทีเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทางต่างๆ กว่า 720 จุดหมายใน 110 ประเทศด้วยฝูงบินกว่า 1,650 ลำ ในวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1999 ออล นิปปอน แอร์เวย์สัญชาติญี่ปุ่นได้เข้าร่วมเครือข่าย นับเป็นสายการบินจากเอเชียแห่งที่สองที่เข้าร่วม[10][11]

คริสต์ทศวรรษที่ 2000: ทศวรรษแรกและการขยายตัว

แก้

ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 2000 ได้มีสายการบินหลายสายได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสตาร์อัลไลแอนซ์ โดยมีกลุ่มสายการบินออสเตรียนแอร์ไลน์ (ออสเตรียนแอร์ไลน์ ไทโลเรียนแอร์เวย์ และเลาดาแอร์) เข้าร่วมเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2000[12][13]สิงคโปร์แอร์ไลน์เมื่อวันที่ 1 เมษายน[14] และบริติชมิดแลนด์อินเตอร์แนชนัลกับเมฆิกานาเข้าร่วมเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม เพิ่มสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรเป็น 13 สายการบิน[15] ด้วยการเข้าร่วมของสิงคโปร์แอร์ไลน์ การบินไทยได้มีแผนที่จะออกจากเครือข่ายและเข้าร่วมวันเวิลด์แทน ต่อมาแผนนี้ก็ล้มเลิกไป[16] และการเข้าร่วมของบีเอ็มไอทำให้ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์เป็นท่าอกาาสยานแห่งเดียวในยุโรปที่มีสายการบินให้บริการจากสองกลุ่มพันธมิตร ในปีเดียวกันนั้น เอมิเรตส์ได้มีแนวคิดที่จะเข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์ แต่ก็ถูกคัดค้านไป[17] นอกจากนี้แล้วบีดับเบิลยูไอเอเวสต์อินดีสแอร์เวย์ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ก็ได้มีแนวคิดจะเข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์เช่นกัน แต่ก็ล้มเลิกไป[18] ในปี 2000 สตาร์อัลไลแอนซ์ได้เปิดสำนักงานสามแห่งแรกในลอสแอนเจลิส แฟรงก์เฟิร์ต และกรุงเทพมหานคร และประกาศการจัดตั้ง คณะบริหารพันธมิตร (AMT) ซึ่งเป็นคณะผู้บริหารกลุ่มพันธมิตร[19] ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2001 อันเซตต์ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นสมาชิกเดียวในออสเตรเลีย ได้ออกจากเครือข่ายหลังจากการประกาศล้มละลาย เป็นการเพิ่มสัดส่วนการตลาดให้แก่ควอนตัส (สมาชิกของวันเวิลด์) ในปีเดียวกันนั้นสตาร์อัลไลแอนซ์ได้แต่งตั้ง ยาน อัลเบรชท์ เป็นซีอีโอ[19]

เอเชียนาแอร์ไลน์เข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์เมื่อวันที่1 มีนาคม ค.ศ. 2003[20] ตามด้วยสแปนแอร์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2003[21] และลอตโปลิชแอร์ไลน์ สายการบินประจำชาติโปแลนด์ เข้าร่วมในเดือนตุลาคม[22] ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเมฆิกานาได้ออกจากเครือข่ายภายหลังตัดสินใจไม่ต่อข้อตกลงการบินร่วมกับยูไนเต็ดแอร์ไลน์ โดยต่อมาได้เข้าร่วมวันเวิลด์[19] ยูเอสแอร์เวย์เข้าร่วมเป็นสมาชิกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2004[23] เป็นสายการบินสัญชาติสหรัฐสายที่สอง ในเดือนพฤศจิกายนเอเดรียแอร์เวย์ บลูวัน และโครเอเชียแอร์ไลน์เข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์เป็นสมาชิกระดับภูมิภาคสามสายแรก[24]

แม้สตาร์อัลไลแอนซ์ได้เชิญอาเอโรลิเนอัสเอเรอัสอัซเตกาให้เข้าร่วมเครือข่ายในปี 2005 แต่สายการบินประกาศล้มละลายเสียก่อน ตัปแอร์ปูร์ตูกัลเข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 2005 เป็นการเพิ่มจุดหมายปลายทางในแอฟริกาสู่เครือข่าย[25][26] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2006 สวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์ และเซาท์แอฟริกันแอร์เวส์ เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 17 และ 18 โดยเอสเอเอได้เป็นสายการบินในแอฟริกาสายแรก[27]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007 ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 10 ปีของสตาร์อัลไลแอนซ์ สมาชิกทั้งหมดได้ให้บริการเที่ยวบิน 16,000 เที่ยวต่อวันสู่จุดหมายปลายทาง 855 แห่งใน 155 ประเทศทั่วโลก โดยให้บริการผู้โดยสาร 406 ล้านคนต่อปี ต่อมากลุ่มพันธมิตรได้เปิดตัวการเชื่อมโยงชีวมณฑล ซึ่งเป็นความร่วมมือกับยูเนสโก องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ และ อนุสัญญาแรมซาร์ในพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อนำเสนอความยั่งยืนทางชีวภาพ[28][29]

เมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2007 วาริกได้ออกจากเครือข่าย[30] และได้มีสายการบินสัญชาติจีนสองสาย ได้แก่ แอร์ไชนาและช่างไห่แอร์ไลน์เข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม[31]

เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2008 เตอร์กิชแอร์ไลน์เข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์ภายหลังกระบวนการระยะเวลา15เดือนที่เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 2006[32] อียิปต์แอร์ สายการบินประจำชาติอียิปต์เข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2008[33]

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 2009 คอนติเนนตัลแอร์ไลน์ได้เข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์เป็นสมาชิกลำดับที่ 25 ภายหลังการออกจากการเป็นสมาชิกของสกายทีมสามวันก่อนหน้า โดย ณ เวลานั้น ได้มี มีข่าวลือว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นการเคลื่อนไหวครั้งแรกของคอนติเนนตัลในการควบรวมกิจการกับยูไนเต็ดแอร์ไลน์[34] สองเดือนต่อมาบรัสเซลส์แอร์ไลน์เข้าร่วมเป็นสมาชิก[35]

คริสต์ทศวรรษที่ 2020: วาระครบรอบ 25 ปี และการปรับโครงสร้างสายการบินสมาชิก

แก้

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 การบินไทยสมายล์ สายการบินระดับภูมิภาคของการบินไทยได้เข้าร่วมพันธมิตรเป็นสมาชิกคอนเน็กติง[36] โดยในเดือนมกราคม ค.ศ. 2024 การบินไทยสมายล์ได้ถูกยุบรวมกับการบินไทยตามแผนการฟื้นฟูกิจการของสายการบิน[37]

ในวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020 เอเชียนาแอร์ไลน์ได้ประกาศที่จะออกจากเครือข่าย[38] ภายหลังการควบรวมกิจการมูลค่า 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐกับโคเรียนแอร์ สายการบินประจำชาติเกาหลีใต้และสมาชิกของสกายทีม[39] ในปี 2022 ลุฟท์ฮันซ่าประกาศจะเข้าซื้อหุ้น 40% ในอิตาแอร์เวย์ ซึ่งเป็นสมาชิกของสกายทีม เมื่อสำเร็จอิตาอาจเข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์แทน[40][41]

ในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 2023 สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ หนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งประกาศแผนที่จะออกจากสตาร์อัลไลแอนซ์และเข้าร่วมกับสกายทีมหลังการเข้าซื้อสายการบินของแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็ม ตามการฟื้นฟูกิจการของเอสเอเอส[42] โดยเอสเอเอสจะเป็นสตาร์อัลไลแอนซ์จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2024 และจะเข้าร่วมสกายทีมในวันที่ 1 กันยายน[43]

สมาชิกและสมาชิกในเครือ

แก้
แอร์แคนาดา ลุฟท์ฮันซ่า สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ การบินไทย และยูไนเต็ดแอร์ไลน์ สายการบินผู้ร่วมก่อตั้งสตาร์อัลไลแอนซ์

สายการบินสมาชิกและสมาชิกในเครือปัจจุบัน

แก้
สมาชิก วันที่เข้าร่วม สายการบินในเครือ
  อีเจียนแอร์ไลน์ 30 มิถุนายน 2010   โอลิมปิคแอร์
  แอร์แคนาดา[A] 14 พฤษภาคม 1997   แอร์แคนาดาเอกซ์เพรส[C]
  แอร์แคนาดารูจ
  แอร์ไชนา 12 ธันวาคม 2007   แอร์ไชนาอินเนอร์มองโกเลีย
  เป่ย์จิงแอร์ไลน์
  ต้าเหลียนแอร์ไลน์
  แอร์อินเดีย 11 กรกฎาคม 2014   แอร์อินเดียเอกซ์เพรส
  แอร์นิวซีแลนด์ 3 พฤษภาคม 1999
  ออล นิปปอน แอร์เวย์ 15 ตุลาคม 1999   แอร์เจแปน
  เอเอ็นเอวิงส์
  เอเชียนาแอร์ไลน์ 28 มีนาคม 2003
  ออสเตรียนแอร์ไลน์ 26 มีนาคม 2000
  อาเบียงกา 21 มิถุนายน 2012   อาเบียงกา คอสตาริกา
  อาเบียงกา เอกวาดอร์
  อาเบียงกา เอลซัลวาดอร์
  อาเบียงกาเอกซ์เพรส
  อาเบียงกา กัวเตมาลา
  บรัสเซลส์แอร์ไลน์ 9 ธันวาคม 2009
  โกปาแอร์ไลน์ 21 มิถุนายน 2012   โกปาแอร์ไลน์โคลัมเบีย
  โครเอเชียแอร์ไลน์ 18 พฤศจิกายน 2004
  อียิปต์แอร์ 11 กรกฎาคม 2008
  เอธิโอเปียนแอร์ไลน์ 13 ธันวาคม 2011
  อีวีเอแอร์ 18 มิถุนายน 2013   ยูนิแอร์
  ลอตโปลิชแอร์ไลน์ 26 ตุลาคม 2003
  ลุฟท์ฮันซ่า[A] 14 พฤษภาคม 1997   แอร์โดโลมีตี
  ลุฟท์ฮันซ่าซิตีไลน์
  เชินเจิ้นแอร์ไลน์ 29 พฤศจิกายน 2012
  สิงคโปร์แอร์ไลน์ 1 เมษายน 2000
  สกู๊ต
  เซาท์แอฟริกันแอร์เวส์ 10 เมษายน 2006
  สวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์ 1 เมษายน 2006   เอเดลไวส์แอร์
  ตัปแอร์ปูร์ตูกัล 14 มีนาคม 2005   ตัปเอกซ์เพรส[D]
  การบินไทย[A] 14 พฤษภาคม 1997
  เตอร์กิชแอร์ไลน์ 1 เมษายน 2008
  ยูไนเต็ดแอร์ไลน์[A] 14 พฤษภาคม 1997   ยูไนเต็ดเอกซ์เพรส[E]

Aสมาชิกแรกก่อตั้ง
Bสายการบินในเครือนี้ดำเนินงานให้กับสายการบินแม่ (ที่เป็นสมาชิก) ภายใต้ชื่ออื่น
Cเที่ยวบินของแอร์แคนาดาเอกซ์เพรสจะให้บริการโดยแจ๊สเอวิเอชันและพอลแอร์ไลน์
Dเที่ยวบินของตัปเอกซ์เพรสจะให้บริการโดยโปรตุกาเลียแอร์ไลน์
Eเที่ยวบินของยูไนเต็ดเอกซ์เพรส จะให้บริการโดยคอมมิวท์แอร์ โกเจ็ตแอร์ไลน์ เมซาแอร์ไลน์ รีพับลิคแอร์เวย์ และสกายเวสต์แอร์ไลน์
Fสแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์จะออกจากการเป็นสมาชิกของสตาร์อัลไลแอนซ์ในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2024

สมาชิกคอนเน็กติง

แก้
สมาชิก วันที่เข้าร่วม สมาชิกในเครือ
  การบินจี๋เสียง 23 พฤษภาคม 2017

สมาชิกขนส่งระหว่างรูปแบบ

แก้

ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2022 ด็อยท์เชอบาน บริษัทรถไฟหลักของเยอรมนีจะเข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์โดยเป็นสมาชิกในการขนส่งระหว่างรูปแบบ โดยในอนาคตสายการบินสมาชิกจะสามารถกำหนดหมายเลขเที่ยวบินของตนเองสำหรับการเดินทางรถไฟได้[44][45]

สมาชิกในอดีต

แก้
สมาชิก วันที่เข้าร่วม วันที่ออก สมาชิกในเครือ หมายเหตุ
  อันเซตต์ออสเตรเลีย 3 พฤษภาคม 1999 12 กันยายน 2001 แอโรเพลิแคนแอร์เซอร์วิส
เฮเซลตันแอร์ไลน์
เคนเดลล์แอร์ไลน์
สกายเวสต์แอร์ไลน์
ออกจากเครือข่ายในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 2001 จากขาดสภาพคล่องทางการเงิน[46] อันเซตต์กลับมาดำเนินงานอีกครั้งในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2001 แต่ต่อมาได้เลิกดำเนินงานถาวรในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 2002 เอเซลตันและเคนเดลล์ค่อมาจะควบรวมกิจการเป็นรีเจียนัลเอซ์เพรสแอร์ไลน์
  เมฆิกานา 1 กรกฎาคม 2000 31 มีนาคม 2004 อาเอโรการิเบ ออกจากเครือข่ายในปี 2004 หลังจากไม่ต่อข้อตกลงการบินร่วมกับยูไนเต็ดแอร์ไลน์ โดยไปทำข้อตกลงกับอเมริกันแอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสมาชิกของวันเวิลด์แทน เลิกดำเนินงานในวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 2010[47]
  วาริก 22 ตุลาคม 1997 31 มกราคม 2007 นอร์เดสเช
รีโอซัล
พลูนา
เลิกดำเนินงานในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 2006
  ช่างไห่แอร์ไลน์ 12 ธันวาคม 2007 31 ตุลาคม 2010 ไชนายูไนเต็ดแอร์ไลน์ ถูกซื้อโดยไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสมาชิกของสกายทีมในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2010[48]
  สแปนแอร์ 1 พฤษภาคม 2003 27 มกราคม 2012 อาเอบาล เลิกดำเนินงานในวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 2012[49]
  คอนติเนนตัลแอร์ไลน์ 27 ตุลาคม 2009 3 มีนาคม 2012 คอนติเนนตัลคอนเน็กชัน
คอนติเนนตัลเอกซ์เพรส
คอนติเนนตัล ไมโครนีเซีย
ควบรวมกิจการเข้ากับยูไนเต็ดแอร์ไลน์ในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2012[50]
  บริติชมิดแลนด์อินเตอร์แนชนัล 1 กรกฎาคม 2000 20 เมษายน 2012 บีเอ็มไอรีเจียนัล
บีเอ็มไอเบบี
ควบรวมกิจการเข้ากับบริติชแอร์เวย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์กรุ๊ปและสมาชิกของวันเวิลด์ในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 2012
  บลูวัน 3 พฤศจิกายน 2004 1 พฤศจิกายน 2012 ออกจากเครือข่ายในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ในภายหลังเอสเอเอส ได้เข้าควบคุมการดำเนินงานต่อ บลูวันเคยเป็นสมาชิกในเครือภายใต้เอสเอเอส โดยสายการบินผนวกกิจการเข้ากับซิตีเจ็ตในปี 2016[51]
  ตากาแอร์ไลน์ 21 มิถุนายน 2012 27 พฤษภาคม 2013 ตาการีเจียนัล ควบรวมกิจการเข้ากับอาเบียงกาในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 และเปลี่ยนชื่อเป็นอาเบียงกา เอลซัลวาดอร์
  ตัมแอร์ไลน์ 13 พฤษภาคม 2010 30 มีนาคม 2014 ตัม ปารากวัย ควบรวมกิจการเข้ากับลันแอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสมาชิกวันเวิลด์ในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2014 เพื่อก่อตั้งกลุ่มสายการบินลาตัม
  ยูเอสแอร์เวย์ 4 พฤษภาคม 2004 30 มีนาคม 2014 ยูเอสแอร์เวย์เอกซ์เพรส
ยูเอสแอร์เวย์ชัทเทิล
เมโทรเจ็ต
ควบรวมกิจการเข้ากับอเมริกันแอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสมาชิกวันเวิลด์ในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2014[52]
  อาเบียงกาบราซิล 22 กรกฎาคม 2015 31 สิงหาคม 2019 เลิกดำเนินงานในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2019
  เอเดรียแอร์เวย์ 18 พฤศจิกายน 2004 30 กันยายน 2019

ดาร์วินแอร์ไลน์

เลิกดำเนินงานในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2019
    สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม 14 พฤษภาคม 1997 31 สิงหาคม 2024 เอสเอเอสคอนเน็ก ถูกควบคุมกิจการโดยแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็ม สมาชิกของสกายทีมสองราย เอสเอเอสเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสตาร์อัลไลแอนซ์

อดีตสมาชิกในเครือของสมาชิกปัจจุบัน

แก้
สมาชิก อดีตสมาชิกในเครือ วันที่เข้าร่วม วันที่ออก หมายเหตุ
  แอร์แคนาดา   แอร์อัลไลแอนซ์
1997
1999
ยุบรวมเข้ากับแอร์แคนาดาเอกซ์เพรส[53]
  แอร์บีซี
1997
2001
ยุบรวมเข้ากับแอร์แคนาดาเอกซ์เพรส[53]
  แอร์แคนาดาแทงโก
2001
2004
ยุบรวมเข้ากับแอร์แคนาดา[54]
  แอร์โนวา
1997
2001
ยุบรวมเข้ากับแอร์แคนาดาเอกซ์เพรส[53]
  แอร์ออนแทรีโอ
1997
2001
  ซิป
2002
2004
ยุบรวมเข้ากับแอร์แคนาดา[55]
  แอร์อินเดีย   อัลไลแอนซ์แอร์
2014
2022
เดิมคือแอร์อินเดียรีเจียนัล โดยตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 2022 จะแยกตัวออกมาดำเนินงานอิสระภายใต้รัฐบาลอินเดีย เป็นการพ้นสภาพสมาชิกของสตาร์อัลไลแอนซ์
  เอไอเอ็กซ์คอนเน็ก
2014
2024
ควบรวมกิจการเข้ากับแอร์อินเดียเอกซ์เพรส
  แอร์นิวซีแลนด์   แอร์เนลสัน
1997
2019
ยุบรวมเข้ากับแออร์นิวซีแลนด์
  เมานท์คุกแอร์ไลน์
1999
2019
  ออล นิปปอน แอร์เวย์   แอร์เน็กซต์
2004
2010
ควบรวมกิจการกับเอเอ็นเอวิงส์[56]
  แอร์นิปปอน
1999
2012
  อาเบียงกา   อาเบียงกา เปรู
2012
2020
เลิกดำเนินงานหลังอาเบียงกาประกาศสภาวะล้มละลายในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19[57]
  ออสเตรียนแอร์ไลน์   เลาดาแอร์
2000
2013
ทดแทนด้วย ออสเตรียนมายฮอลิเดย์[58]
  ไทโลเรียนแอร์เวย์
2000
2015
ยุบรวมเข้ากับออสเตรียนแอร์ไลน์[59]
  บรัสเซลส์แอร์ไลน์   โครอนโกแอร์ไลน์
2009
2015
ยุบรวมเข้ากับบรัสเซลส์แอร์ไลน์[60]
  อียิปต์แอร์  อียิปต์แอร์เอกซ์เพรส
2006
2019
ควบรวมกิจการกับอียิปต์แอร์
  ลอตโปลิชแอร์ไลน์   เซนทรัลวิงส์
2004
2009
ยุบรวมเข้ากับลอตโปลิชแอร์ไลน์[61]
  ลุฟท์ฮันซ่า   ลุฟท์ฮันซ่าอิตาเลีย
2009
2011
ยุบรวมเข้ากับลุฟท์ฮันซ่า[62]
    สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม   บลูวัน
2012
2015
ยุบรวมเข้ากับซิตีเจ็ต[51]
  สิงคโปร์แอร์ไลน์   ซิลค์แอร์
1989
2021
ยุบรวมเข้ากับสิงคโปร์แอร์ไลน์ เส้นทางบินบางส่วนโอนย้ายให้กับสกู๊ต[63]
  ไทเกอร์แอร์
2003
2017
ควบรวมกิจการกับสกู๊ต[64]
  เซาท์แอฟริกันแอร์เวส์   เซาท์แอฟริกันเอกซ์เพรส
2006
2020
ยุบรวมเข้ากับเซาท์แอฟริกันแอร์เวส์
  สวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์   สวิสโกลบอลแอร์ไลน์
2007
2018
เลิกดำเนินงานและผนวกกิจการเข้ากับสวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์
  สวิสไฟรเวทเอวิเอชัน
2007
2011
ยุบรวมเข้ากับสวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์[65]
  การบินไทย   การบินไทยสมายล์
2011
2024
ยุบรวมเข้ากับการบินไทย[66]
  เตอร์กิชแอร์ไลน์   ไซปรัสเตอร์กิชแอร์ไลน์
2008
2010
ยุบรวมเข้ากับเตอร์กิชแอร์ไลน์[67]
  ยูไนเต็ดแอร์ไลน์   ยูไนเต็ดชัทเทิล
1997
2001
เป็นส่วนหนึ่งของยูไนเต็ดแอร์ไลน์[68]
  เท็ด
2004
2009
ยุบรวมเข้ากับยูไนเต็ดแอร์ไลน์[69]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 "Star Alliance Facts and Figures". สืบค้นเมื่อ 16 September 2019.
  2. "Star Alliance Management". www.staralliance.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2018. สืบค้นเมื่อ 18 April 2017.
  3. "Scott Kirby Elected New Chairman of Star Alliance Chief Executive Board". www.staralliance.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2021. สืบค้นเมื่อ 11 March 2021.
  4. "About". Star Alliance. สืบค้นเมื่อ 1 Feb 2024.
  5. 5.0 5.1 5.2 Bryant, Adam (14 May 1997). "United and 4 Others to Detail Air Alliance Today". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2013. สืบค้นเมื่อ 16 October 2010.
  6. 6.0 6.1 Tagliabue, John (15 May 1997). "5 Airlines Extend Limits of Alliances". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 16 October 2010.
  7. Meredith, Robyn (15 May 1997). "Airline Alliance Picks Y.& R." The New York Times. สืบค้นเมื่อ 16 October 2010.
  8. "5 Airlines In 'Global Branding' Alliance". Bloomberg News. nwsource.com. 14 May 1997. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2012. สืบค้นเมื่อ 16 October 2010.
  9. "Star Alliance Welcomes New Members of the Team" (PDF). SAS. SAS Press Release. 3 May 1999. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2015. สืบค้นเมื่อ 23 April 2014.
  10. "ANA boards Star Alliance". The Nation. Google Archive. 24 October 1998. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2016. สืบค้นเมื่อ 16 October 2010.
  11. "All Nippon Airways Joins Star Alliance air india tata airlines combined.Network" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2014.
  12. "Austrian Airlines". Star Alliance. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2015.
  13. "Austrian Airlines Group has joined Star Alliance" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2014.
  14. "Singapore Airlines". Star Alliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2015.
  15. "British Midland And Mexicana Airlines Welcomed to the Star Alliance Network". breakingtravelnews.com. 26 June 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2011. สืบค้นเมื่อ 16 October 2010.
  16. Schmeltzer, John (11 February 2000). "Thai Airways Considers Departing The Star Alliance". chicagotribune.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 November 2021. สืบค้นเมื่อ 2020-11-23.
  17. Reece, Damian (13 August 2000). "Emirates poised to join Star Alliance". London: Telegraph.co.uk. p. 11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2019. สืบค้นเมื่อ 16 October 2010.
  18. Lewis, Paul (16 May 2000). "BWIA seeks fleet renewal funds". Orlando: Flight International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2015. สืบค้นเมื่อ 5 December 2010.
  19. 19.0 19.1 19.2 "Star Alliance Chronological History". Star Alliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2015.
  20. "Asiana Airlines". Star Alliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2015.
  21. "Spanair". Star Alliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2011.
  22. "LOT Polish Airlines". Star Alliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2015.
  23. "US Airways Joins Star Alliance". The New York Times. 2 June 2004. สืบค้นเมื่อ 20 October 2010.
  24. "Croatia Airlines To Join Star Alliance". Star Alliance. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2016. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.
  25. "TAP brings Star Alliance new Africa destinations". The New York Times. 15 March 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2013. สืบค้นเมื่อ 22 October 2010.
  26. "TAP Air Portugal joins Star Alliance". AsiaTravelTips.com. 15 March 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 October 2010.
  27. "Press release 07.04.2006". Swiss.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2015. สืบค้นเมื่อ 9 October 2015.
  28. "Star Alliance Celebrates 10 Years" (Press release). Star Alliance. 14 May 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2015. สืบค้นเมื่อ 23 October 2010.
  29. "Star Alliance Partners with Global Environmental Organisations" (PDF). UNESCO. 14 May 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 August 2010. สืบค้นเมื่อ 22 October 2010.
  30. "VARIG to leave Star Alliance". Boarding.no. 31 January 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2015. สืบค้นเมื่อ 22 October 2010.
  31. "Air China". Star Alliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2015.
  32. "Turkish Airlines joins Star Alliance" (Press release). Turkish Airlines. 1 April 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2016. สืบค้นเมื่อ 8 October 2015.
  33. "Star Alliance soon to welcome Egypt Air". eTravel Blackboard. 13 June 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 October 2010.
  34. Frary, Mark (20 June 2008). "Continental plans United tie-up; will leave SkyTeam for Star Alliance". The Times. UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2011. สืบค้นเมื่อ 17 November 2010.
  35. [1]. Company.brusselsairlines.com. Retrieved on 8 October 2015.
  36. "Press – Star Alliance". www.staralliance.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2019. สืบค้นเมื่อ 31 July 2019.
  37. "THAI will cover Thai Smile's routes after budget airline shuts down in January". nationthailand (ภาษาอังกฤษ). 2023-11-05. สืบค้นเมื่อ 2023-11-12.
  38. "Asiana's exit from Star Alliance to bolster Korean Air, Delta JV". 20 August 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2021. สืบค้นเมื่อ 4 September 2021.
  39. Yonhap (November 16, 2020). "Korean Air to buy indebted Asiana, emerging as world's 10th-largest airline". The Korea Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2020. สืบค้นเมื่อ November 24, 2020.
  40. Bailey, Joanna (7 January 2022). "Lufthansa Could Buy up to 40% of ITA Airways". Simple Flying. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2022. สืบค้นเมื่อ 5 February 2022.
  41. Cusmano, Joe (February 2022). "MSC and Lufthansa Offer to Buy ITA Airways". Travel Daily. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2022. สืบค้นเมื่อ 5 February 2022.
  42. "SAS reaches major milestone in SAS FORWARD – announces the winning consortium, including details of the transaction structure". SAS Group (ภาษาอังกฤษ). 2023-10-03. สืบค้นเมื่อ 2023-10-03.
  43. Star Alliance Member Airline จาก เว็บไซต์ Star alliance (สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2555)
  44. "Star Alliance Intermodal Partnership". Star Alliance.
  45. "Deutsche Bahn joins Star Alliance". Aviation24.be. 29 June 2022.
  46. Cook, Terry (15 September 2001). "Australia's second biggest airline collapses". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2015. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
  47. "Mexicana airline leaves Star Alliance". USAToday.com. 14 November 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2016. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
  48. "Shanghai to end Star Alliance membership". ATWOnline.com. 29 July 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2016. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
  49. "Spanair collapses, stranding 200,000 passengers". BBC. 30 January 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2021. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
  50. "Two mega-airlines are United: Continental is no more". Houston News. 3 March 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2012. สืบค้นเมื่อ 29 May 2012.
  51. 51.0 51.1 "SAS Enters into Agreements with Cityjet for Wet Lease and Sale of Blue1" (Press release). 1 October 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2016. สืบค้นเมื่อ 13 March 2016.
  52. "US Airways leaves Star Alliance, joins Oneworld". Business Journals. 31 March 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2016. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
  53. 53.0 53.1 53.2 Deveau, Scott (26 April 2011). "Air Canada launches new regional brand". Financial Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2016. สืบค้นเมื่อ 4 January 2016.
  54. "Applying rouge". Airliner World: 88–96. March 2015.
  55. "Air Canada's Zip shut down". 8 September 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2016. สืบค้นเมื่อ 4 January 2016.
  56. "ANA Group History". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2016. สืบค้นเมื่อ 4 January 2016.
  57. "Avianca Perú anuncia cierre de operaciones y un proceso de disolución y liquidación". RPP Noticias. 10 May 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2020. สืบค้นเมื่อ 10 May 2020.
  58. "AUA-Ferienmarke, myHoliday ersetzt die Lauda Air". 1 October 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2016. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.
  59. "Austrian Bord unter Dach und Fach". 31 October 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.
  60. "Congo's Kornogo Airlines Throws in the Towel". 6 September 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2016. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.
  61. "LOT Polish Pulls the Plug on Centralwings". 3 April 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2016. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.
  62. "Lufthansa changes its Italy strategy". 23 May 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2017. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.
  63. "Singapore Airlines merges SilkAir into its parent company brand". sg.style.yahoo.com (ภาษาอังกฤษ). 5 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-09-22.
  64. Abdullah, Zhaki (26 July 2017). "After merger, Scoot adds 5 destinations". The Straits Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2020. สืบค้นเมื่อ 26 July 2017.
  65. "SWISS PrivateAviation – Home". Swiss Private Aviation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2011. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.
  66. Russell, Edward (2023-10-17). "Thai Airways to Complete Thai Smile Merger, Exit Bankruptcy in 2024". Airline Weekly (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-11-12.
  67. "Cyprus Turkish Airlines Goes Bankrupt". 22 October 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2016. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.
  68. "Bankrupt United to start West Coast shuttle service, reapply for loan". 13 December 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2021. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.
  69. "United Shut Down Ted Airlines". 13 December 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2016. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้