แอร์เจแปน
แอร์เจแปน (ญี่ปุ่น: 株式会社エアージャパン) เป็นสายการบินราคาประหยัดสัญชาติญี่ปุ่น ที่มีฐานการบินและสำนักงานใหญ่ที่ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะในนครนาริตะ จังหวัดชิบะ แอร์เจแปนก่อตั้งขึ้นในปี 1990 เป็นสายการบินเช่าเหมาลำ[3] ต่อมาได้เริ่มดำเนินการอีกครั้งในปี 2022 ในฐานะสายการบินต้นทุนต่ำ-ระยะไกลของเอเอ็นเอกรุ๊ป[4]
| |||||||
ก่อตั้ง | 29 มิถุนายน ค.ศ. 1990 (34 ปี) (ในชื่อ เวิล์ดแอร์เน็ตเวิร์ก) 8 มีนาคม ค.ศ. 2022 (2 ปี) (ในชื่อ แอร์เจแปน) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ท่าหลัก | โตเกียว-นาริตะ | ||||||
สะสมไมล์ | ANA Mileage Club | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 76 | ||||||
จุดหมาย | 2 | ||||||
บริษัทแม่ | ออล นิปปอน แอร์เวย์ | ||||||
สำนักงานใหญ่ | นาริตะ, จังหวัดชิบะ, ประเทศญี่ปุ่น | ||||||
บุคลากรหลัก | ฮิเดกิ มิเนกุจิ (ซีอีโอ) | ||||||
พนักงาน | 903 คน (มิถุนายน 2023) | ||||||
เว็บไซต์ | www www |
ประวัติ
แก้ช่วงแรก
แก้แอร์เจแปนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 1990 ในชื่อ เวิล์ดแอร์เน็ตเวิร์ก และได้ถูกเอเอ็นเอควบคุมกิจการและเปลี่ยนการดำเนินงานเป็นสายการบินเช่าเหมาลำ ก่อนเลิกดำเนินงานในเดือนกันยายน ค.ศ. 1995 ต่อมาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2000 สายการบินได้เปลี่ยนชื่อเป็นแอร์เจแปนดังปัจจุบัน โดยทำการบินให้กับสายการบินแม่ ก่อนที่จะเริ่มให้บริการอีกครั้งเป็นสายการบินตามกำหนดเวลาในปี 2001 โดยมีเที่ยวบินแรกออกเดินทางจากโอซากะไปยังกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ด้วยเครื่องบินโบอิง 767-300 ที่โอนย้ายมาจากเอเอ็นเอ[5][6][7]
เอเอ็นเอได้ประกาศควบรวมกิจการของเอเอ็นเอแอนด์เจพีเอกซ์เพรสเข้ากับแอร์เจแปนเมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 2010[8][9] ในปี 2018 สายการบินได้เริ่มให้บริการเครื่องบินโบอิง 787 ให้กับเอเอ็นเอ
การพัฒนา
แก้เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 2022 เอเอ็นเอเปิดเผยแผนการเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานของแอร์เจแปนให้เป็นสายการบินต้นทุนต่ำ-ระยะไกล โดยจะมีเที่ยวบินเปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023 พร้อมสโลแกน "Fly Thoughtful"[10][4] ก่อนหน้านี้แอร์เจแปนได้ใช้รหัสเรียกขานเดียวกันกับออล นิปปอน แอร์เวย์ในทุกเที่ยวบิน ยกเว้นเส้นทางไปและกลับจากโซล-อินช็อน ฮ่องกง ไทเป และโฮโนลูลู ซึ่งใช้รหัสเรียกขานของแอร์เจแปน[6]
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 2022 เอเอ็นเอประกาศว่าแอร์เจแปนจะให้บริการเที่ยวบินไปและกลับจากจุดหมายปลายทางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024 จะเริ่มดำเนินเที่ยวบินหกเที่ยวต่อสัปดาห์สู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นที่แรก[11][12] ด้วยเครื่องบินโบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ที่จัดเรียงด้วยที่นั่งชั้นประหยัดทั้งหมด[13][14] โดยเป็นการแข่งขันกับซิปแอร์ โตเกียวของเจแปนแอร์ไลน์[15]
จุดหมายปลายทาง
แก้ณ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2024 แอร์เจแปนดำเนินเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลายทางดังนี้:[16]
ประเทศ | เมือง | ท่าอากาศยาน | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
ญี่ปุ่น | โตเกียว | ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ | ฐานการบิน | |
สิงคโปร์ | สิงคโปร์ | ท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์ | [17] | |
เกาหลีใต้ | โซล | ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน | [16][18][19] | |
ไทย | กรุงเทพมหานคร | ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | [16][20] |
ฝูงบิน
แก้ฝูงบินปัจจุบัน
แก้ณ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2024 แอร์เจแปนมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[21][22]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
J | W | Y | รวม | ||||
โบอิง 787-8 | 2 | — | — | — | 297 | 297 | โอนย้ายจากเอเอ็นเอ
สำหรับการปฏิบัติการแบบต้นทุนต่ำ |
34 | 12 | — | 323 | 335 | ปฏิบัติการให้กับเอเอ็นเอ[23] | ||
32 | 14 | 138 | 184 | ||||
42 | — | 198 | 240 | ||||
46 | 21 | 102 | 169 | ||||
— | — | 324 | 324 | ||||
โบอิง 787-9 | 37 | — | 40 | 14 | 192 | 246 | |
48 | 21 | 146 | 215 | ||||
โบอิง 787-10 | 3 | — | 38 | 21 | 235 | 294 | |
รวม | 76 | — |
แอร์เจแปนมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 8.4 ปี
ฝูงบินในอดีต
แก้แอร์เจแปนเคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:
- โบอิง 767-300 จำนวน 39 ลำ
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Air Japan". ch-aviation. สืบค้นเมื่อ 30 January 2017.
- ↑ Airline Codes เก็บถาวร 2008-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 16 April 2006
- ↑ "Directory: World Airlines". Flight International. 2007-03-27. p. 58.
- ↑ 4.0 4.1 "ANA Holdings Unveils AirJapan, a New International Airline Brand Taking off in the Second Half of Fiscal 2023". www.anahd.co.jp. March 8, 2022. สืบค้นเมื่อ 2023-12-28.
- ↑ Japanese. "Company Information", Air Japan official site เก็บถาวร 2012-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, accessed on 30 April 2007.
- ↑ 6.0 6.1 Curran, Andrew (2022-03-09). "AirJapan: What To Know About ANA's New Boeing 787 Subsidiary". Simple Flying (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-12-28.
- ↑ "About Us". Air Japan (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-12-28.
- ↑ ANA & JP and Air Japan Merger
- ↑ Yeo, Ghim-Lay (2010-09-09). "ANA to announce new low-cost carrier today". Flight Global (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-12-28.
- ↑ Villamizar, Helwing (2023-08-03). "ANA Shares New Details on Subsidiary AirJapan". Airways (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-12-28.
- ↑ "AirJapan Unveils Inaugural Products and Services". All Nippon Airways. 9 March 2023. สืบค้นเมื่อ 19 March 2023.
- ↑ "Air Japan unveils inaugural products and services". Business Traveller. 9 March 2023. สืบค้นเมื่อ 19 March 2023.
- ↑ Schlappig, Ben (2023-08-02). "AirJapan, ANA's New Boeing 787 Low Cost Carrier". One Mile at a Time (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-12-28.
- ↑ Brophy, Selene (13 March 2023). "Japan's ANA Unveils Features of New Carrier Air Japan". Skift (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-12-28.
- ↑ Brophy, Selene (13 March 2023). "Japan's ANA Unveils Features of New Carrier Air Japan". Skift (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-12-28.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 "Flight routes". www.air-japan.co.jp (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-11-06.
- ↑ "NRT-SIN route will begin on Fri, April 26th, 2024" (Press release) (ภาษาอังกฤษ). Air Japan. สืบค้นเมื่อ 26 January 2024.
- ↑ "Air Japan adds Tokyo-Seoul service from late-Feb 2024". aeroroutes.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 November 2023.
- ↑ "NRT-ICN route will begin on Thu, February 22nd, 2024" (Press release) (ภาษาอังกฤษ). Air Japan. สืบค้นเมื่อ 15 November 2023.
- ↑ "NRT-BKK route will begin on Fri, February 9, 2024" (Press release) (ภาษาอังกฤษ). Air Japan. สืบค้นเมื่อ 10 October 2023.
- ↑ "AirJapan". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2024-01-18.
- ↑ "Air Japan Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2024-01-18.
- ↑ "Air Japan Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-12-28.