ยูเอสแอร์เวย์ เป็นสายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติอเมริกัน และยังเป็นสายการบินที่มีขนาดใหญ่อันดับ 5 ของสหรัฐอเมริกา ให้บริการ 241 จุดหมายปลายทาง ไปยังแคริบเบียน, ยุโรป , อเมริกากลาง, อเมริกาเหนือ และฮาวาย

ยูเอสแอร์เวย์
US Airways
IATA ICAO รหัสเรียก
US
HP
USA
AWE
USAir
Cactus
ก่อตั้งพ.ศ. 2482 (ในชื่อของ ออล-อเมริกัน อวิเอชั่น)
เลิกดำเนินงาน17 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (ควบรวมกิจการกับอเมริกันแอร์ไลน์)
ท่าหลักท่าอากาศยานนานาชาติชาร์ล็อตต์/ดักลาส
ท่าอากาศยานนานาชาติฟิลาเดลเฟีย
ท่าอากาศยานนานาชาติฟีนิกซ์สกายฮาร์เบอร์
ท่าอากาศยานนานาชาติแมคคาร์แรน
ท่ารองท่าอากาศยานนานาชาติพิตส์เบิร์ก
เมืองสำคัญท่าอากาศยานแห่งชาติวอชิงตัน โรนัลด์ เรแกน
ท่าอากาศยานลากวาเดีย
ท่าอากาศยานนานาชาติโลแกน
สะสมไมล์Dividend Miles
พันธมิตรการบินสตาร์อัลไลแอนซ์ (พ.ศ. 2547-2557)
ขนาดฝูงบิน360
จุดหมาย241
บริษัทแม่ยูเอสแอร์เวย์กรุ๊ป อินคอร์ปอเรชั่น
สำนักงานใหญ่เทมปี รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา
บุคลากรหลักDoug Parker (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)
Derek Kerr (ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน)
Scott Kirby (ประธาน)
เว็บไซต์www.usairways.com

ยูเอสแอร์เวย์ มีท่าอากาศยานหลักอยู่ที่ชาร์ล็อตต์, ฟิลาเดลเฟีย, ฟีนิกซ์ และลาสเวกัส และยังมีท่าอากาศยานรองอยู่ที่พิตส์เบิร์ก รวมถึงเมืองสำคัญอย่างนิวยอร์ก-ลากวาเดีย, วอชิงตัน-เรแกน และบอสตัน

ยูเอสแอร์เวย์ยังให้บริการในชื่อยูเอสแอร์เวย์ชัตเทิล และยูเอสแอร์เวย์เอ็กซ์เพรส และเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2548 ยูเอสแอร์เวย์กรุ๊ปได้ควบรวมกิจการกับ อเมริกาเวสต์โฮลดิง เจ้าของสายการบินอเมริกาเวสต์แอร์ไลน์ และประกาศตัวเป็นสายการบินต้นทุนต่ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ฝูงบิน

แก้
ฝูงบินของสายการบินยูเอสแอร์เวย์
เครื่องบิน จำนวน ชั้นบิน
(ชั้นหนึ่ง/ประหยัด)
เส้นทาง หมายเหตุ
แอร์บัส เอ 319 93
(สั่งซื้อ 13 รายการ)
124 (12/112)
แอร์บัส เอ 320 75
(สั่งซื้อ 69 รายการ)
150 (12/138)
แอร์บัส เอ 321 28
(สั่งซื้อ 15 รายการ)
169 (26/143)
แอร์บัส เอ 330-200 (สั่งซื้อ 10 รายการ) เริ่มให้บริการ พ.ศ. 2552
แอร์บัส เอ 330-300 9 293 (30/263)
แอร์บัส เอ 350 XWB (สั่งซื้อ 22 รายการ) เริ่มให้บริการ พ.ศ. 2556
โบอิง 737-300 55 126 (12/114)
134 (8/126)
จะปลดระหว่างช่วงปีพ.ศ. 2551 - 2555
โบอิง 737-400 40 144 (12/132) จะปลดระหว่างช่วงปีพ.ศ. 2551 - 2555
โบอิง 757-200 43 193 (8/185)
190 (14/176)
โบอิง 767-200ER 10 203 (24/179)
เอ็มเบรเออร์ 190 4
(สั่งซื้อ 53 รายการ)
(ระหว่างตัดสินใจ 50 รายการ)
99 (11/88)  

อุบัติเหตุ

แก้

เหตุการณ์ต่อไปนี้ เป็นอุบัติเหตุที่เกิดกับยูเอสแอร์เวย์และยูเอสแอร์เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงอุบัติเหตุของสายการบินดั้งเดิมของยูเอสแอร์เวย์ หรือสายการบินลูกใดๆ

  • 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 เครื่องบินแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9-31 เที่ยวบิน 499 ไถลออกนอกทางวิ่งที่มีหิมะปกคลุมอยู่ ที่อีรี่ เพนซิลเวเนีย มีผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยเพียง 1 คน[1]
  • 20 กันยายน พ.ศ. 2532 เครื่องบินโบอิง 737-400 เที่ยวบิน 5050 หางเสือเครื่องบินขัดข้องขณะที่กำลังนำเครื่องขึ้นจากท่าอากาศยานลากวาเดีย นิวยอร์กซิตี จนนักบินต้องยกเลิกเที่ยวบิน แต่เนื่องจากระยะของทางวิ่งที่เหลือไม่เพียงพอที่จะหยุดเครื่องได้ จึงพุ่งลงไปในแม่น้ำอีส มีผู้โดยสาร 2 คนที่เสียชีวิต และอีก 3 คนที่บาดเจ็บสาหัส[2]
  • 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เครื่องบินโบอิง 737-300 เที่ยวบิน 1493 เส้นทางจากท่าอากาศยานนานาชาติซีราคูส แฮนค็อก รัฐนิวยอร์ก ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ชนกับเครื่องบินแฟร์ไชล์ด เมโทร 3 ของสกายเวสต์ เที่ยวบิน 5569 ขณะนำเครื่องลงจอดที่ลอสแอนเจลิส จนเกิดการระเบิดลุกไหม้ ผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 12 คนของสกายเวสต์ รวมทั้งผู้โดยสาร 20 คน นักบิน 1 คน และลูกเรือ 1 คน ของยูเอสแอร์เสียชีวิต มีผู้รอดชีวิตเพียง 77 คน[3]
  • 22 มีนาคน พ.ศ. 2535 เครื่องบินฟอกเกอร์ 28-4000 เที่ยวบิน 405 เนื่องจากเกิดความล่าช้า เครื่องจึงจอกอยู่ที่หลุดมจอดเป็นเวลานาน ทำให้มีน้ำแข็งเกาะอยู่ตามปีกและลำตัวเครื่อง ขณะนำเครื่องขึ้นจากท่าอากาศยานลากวาเดีย เครื่องจึงพุ่งลงอ่าวฟรัชชิง มีผู้เสียชีวิต 37 คน[6]
  • 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 เครื่องบินแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9-32 เที่ยวบิน 1016 บินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติชาร์ล็อตต์/ดักลาส รัฐนอร์ทแคโรไลนา ซึ่งเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง มีกระแสลมไหลลงพื้นดิน (en:wind shear windshear) ทำให้เครื่องลดระดับลงอย่างรวดเร็ว และชนกับรั้วสนามบิน เครื่องแตกออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 37 คน บาดเจ็บสาหัสอีก 16 คน และบาดเจ็บเล็กน้อยอีก 4 คน[4]
  • 8 กันยายน พ.ศ. 2537 เครื่องบินโบอิง 737-300 เที่ยวบิน 427 จากท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์ ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติพิตส์เบิร์ก เกิดเหตุหางเสือของเครื่องบินขัดข้อง ทำให้เครื่องพุ่งลงพื้นดิน ผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 132 คนเสียชีวิต[5]
  • 16 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เครื่องบินแอร์บัส เอ 319-100 ขณะขับเครื่องอยู่บนทางวิ่งที่แทมป้า รัฐฟลอริดา ระบบห้ามล้อทำงานขัดข้อง มีเพียงลูกเรือ 1 คนที่บาดเจ็บสาหัส และมีผู้โดยสาร 2 คนที่บาดเจ็บเล็กน้อย[7]
  • 15 มกราคม พ.ศ. 2552 เครื่องบินแอร์บัส เอ 319-214 เที่ยวบินที่ 1549 ได้ร่อนลงสู่แม่น้ำฮัดสัน หลังจากการร่อนขึ้นจากพื้นดินได้เพียง 6 นาที ขณะที่ไต่สู่ระดับความสูงที่ 3,200 ฟุต (980 ม.) หลังจาก 2 นาทีหลังจากร่อนขึ้นจากพื้นดิน เครื่องบินได้ชนกับฝูงนก ก่อให้เกิดเครื่องยนต์ดับทั้ง 2 เครื่อง ลูกเรือและผู้โดยสารรอดทุกคน [6]

อ้างอิง

แก้
  1. [1]
  2. [2]
  3. [3]
  4. [4]
  5. [5]
  6. Passenger jet plunges into Hudson River16 มิ.ย. 2552(อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้