สายการบินสกู๊ต

(เปลี่ยนทางจาก สกู๊ต)

สายการบินสกู๊ต (อังกฤษ: Scoot) เป็นสายการบินราคาประหยัดในเครือสิงคโปร์แอร์ไลน์ โดยมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์ โดยวางตัวเป็นสายการบินต้นทุนต่ำระยะไกล และมีเส้นทางบินระยะกลางถึงระยะไกลจาก ท่าอากาศยานนานาชาติจางี สาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยมีแผนการบินที่จะเปิดเส้นทางบินไปยัง ประเทศออสเตรเลีย และ ประเทศจีน ใดยใช้เครื่องบินแบบโบอิ้ง 777 สายการบินสกู๊ตเป็นอีกหนึ่งความพยายามของบริษัทแม่อย่างสิงคโปร์แอร์ไลน์ส ที่จะจับกลุ่มลูกค้าซึ่งต้องการบินในราคาประหยัด โดยสามารถบรรเทาปัญหาค่าเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงลิบไปพร้อมๆ กัน โดยเริ่มให้บริการเที่ยวบินแรกจากสิงคโปร์ไปยังนครซิดนีย์ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2555

สายการบินสกู๊ต
Scoot
IATA ICAO รหัสเรียก
TR[1] TGW SCOOTER
ก่อตั้ง1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011 (12 ปี)
เริ่มดำเนินงาน4 มิถุนายน ค.ศ. 2012 (12 ปี)
ท่าหลักสิงคโปร์
เมืองสำคัญไทเป–เถา-ยฺเหวียน
สะสมไมล์คริสฟลายเออร์
พันธมิตรการบินแวลูอัลไลแอนซ์
ขนาดฝูงบิน53
จุดหมาย68
บริษัทแม่สิงคโปร์แอร์ไลน์
สำนักงานใหญ่สิงคโปร์ ท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์ สิงคโปร์
บุคลากรหลักLeslie Thng (ซีอีโอ)[2]
รายได้ลดลง 212.3 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (FY 2020/21)[3]
รายได้จากการดำเนินงาน
ลดลง −569.7 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (FY 2020/21)[3]
พนักงาน
1,976 (FY 2020/21)[3]
เว็บไซต์www.flyscoot.com

ประวัติ

แก้

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ส ประกาศความตั้งใจที่จะสร้างสายการบินใหม่ในเครือ โดยจะเป็นสายการบินต้นทุนต่ำระยะไกล [4][5] เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางในเส้นทางปกติ แต่จ่ายน้อยกว่าสายการบินทั่วไปสูงสุดถึง 40%

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ส ประกาศให้นาย Campbell Wilson เป็นผู้บริหารของสายการบินที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่[6]

วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ได้ประกาศชื่อสายการบินใหม่นั้น คือชื่อ "สกู๊ต" [7]

วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555 สายการบินสกู๊ตเปิดตัวชุดยูนิฟอร์มของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน, ออกแบบโดย ESTA [1] เก็บถาวร 2013-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โทนสีเหลือง-ดำ ซึ่งออกมาในแนวเดียวกันกับสีของโลโก้ ของสายการบินที่เน้นความสดใส ร่าเริง[8][9]

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 สายการบินได้รับเครื่องลำแรก โดยรับจากสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ส เป็นเครื่องบินแบบ โบอิ้ง 777-200ER โดยทาสีกราฟิกเหลืองขาวข้อความ FlyScoot.com[10] และเปลี่ยน IATA code (ตัวอักษรที่สายการบินใช้นำหน้ารหัสเที่ยวบิน) จาก OQ เป็น TZ ด้วย

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2555 เริ่มให้บริการเที่ยวบินแรก จากสิงคโปร์สู่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ต่อมาในวันที่ 12 มิถุนายน 2555 เริ่มให้บริการเที่ยวบิน จากสิงคโปร์สู่โกลด์โคสต์ ประเทศออสเตรเลีย และเป็นเส้นทางบินที่ 2 สู่ประเทศออสเตรเลีย

ในปี พ.ศ. 2557 สายการบินสกู๊ตร่วมทุนกับนกแอร์ ก่อตั้งสายการบินนกสกู๊ต

ในปี พ.ศ. 2559 สายการบินสกู๊ตได้เข้าร่วมเป็นสายการบินสมาชิกของพันธมิตรสายการบิน แวลูอัลไลแอนซ์ (Value Alliance)

สายการบินสกู๊ตได้ควบรวมกิจการเข้ากับไทเกอร์แอร์ และไทเกอร์แอร์ถูกเปลี่ยนเป็นสกู๊ตทั้งหมด โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560[11] โดยในช่วงแรกนั้นเครื่องบินของไทเกอร์แอร์บางลำจะยังคงมีโลโก้เดิมติดอยู่ และจะทยอยเปลี่ยนเป็นสกู๊ตจนครบทุกลำ พร้อมกันนี้สกู๊ตได้เปลี่ยน IATA code อีกครั้ง จาก TZ เป็น TR ซึ่งก่อนหน้านี้ TR เป็นตัวอักษรนำหน้ารหัสเที่ยวบินของไทเกอร์แอร์นั่นเอง สำหรับการบินในประเทศไทยนั้น ส่วนของไทเกอร์แอร์เดิมที่เปลี่ยนชื่อไปเป็นสกู๊ตแล้วยังคงเปิดทำการที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิตามเดิม และส่วนของสกู๊ตดั้งเดิมยังคงเปิดทำการที่ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองตามเดิม ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความสับสนได้เนื่องจากสกู๊ตยังคงใช้งานทั้งสองสนามบินดังกล่าว

เส้นทางการบิน

แก้

สายการบินสกู๊ต เริ่มเปิดเส้นทางบินจาก อาคารผู้โดยสาร อาคาร 2 ท่าอากาศยานจางีสิงคโปร์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ไปยัง ประเทศออสเตรเลีย และ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีเส้นทางบินดังนี้

ฝูงบิน

แก้
 
แอร์บัส เอ320-200 ของสกู๊ต
 
โบอิง 787-8 ของสกู๊ต
 
โบอิง 787-9 ของของสกู๊ต

ฝูงบินปัจจุบัน

แก้

ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2024 สายการบินสกู๊ตมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[12][13]

ฝูงบินของสายการบินสกู๊ต
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
J Y รวม
แอร์บัส เอ320-200 15 180 180
แอร์บัส เอ320นีโอ 6 12 186 186[14] ส่งมอบภายในปี 2025[15]
แอร์บัส เอ321นีโอ 9 7 236 236[16]
โบอิง 787-8 11 2[17] 18 311 329
21 314 335
โบอิง 787-9 10 4[17] 35 340 375 สองลำโอนย้ายมาจากสิงคโปร์แอร์ไลน์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2023[18]
เอ็มบราเออร์ อี190-อี2 2 7 118 118 เริ่มส่งมอบในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2024[19][20]
รวม 53 29

สายการบินสกู๊ตมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 7.3 ปี

ฝูงบินในอดีต

แก้

สายการบินสกู๊ตเคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:

ฝูงบินในอดีตของสายการบินสกู๊ต
อากาศยาน รวม ใช้งาน เกษียณ ทดแทน หมายเหตุ
แอร์บัส เอ319-100 2 2017 2019 แอร์บัส เอ320นีโอ
โบอิง 777-200อีอาร์ 6 2012 2015 โบอิง 787 ดรีมไลเนอร์

อ้างอิง

แก้
  1. "Scoot and Tigerair to Operate Under Scoot Brand from 25 July 2017" (PDF). Scoot (Press release). สืบค้นเมื่อ 15 June 2017.
  2. "Leslie Thng appointed new CEO of Scoot". Asian Aviation. 14 May 2022. สืบค้นเมื่อ 11 February 2023.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Annual Report FY2020-21" (PDF). Singapore Airlines.
  4. Singapore Airlines announces low-cost carrier - Business Traveller
  5. "SIA forms new subsidiary company for proposed low-cost airline". 17 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 2012-10-03.
  6. Lee, Stella. "SIA names Campbell Wilson as CEO of new low-cost carrier". Channel News Asia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-29. สืบค้นเมื่อ 18 July 2011.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ SIA unveils long-haul budget carrier
  8. "Budget carrier Scoot unveils new cabin crew uniform". Asiaone. 11 January 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-10-03.
  9. "Scouting Around Singapore!". flyscoot.com. 11 January 2012.
  10. Scoot 9V-OTA (Boeing 777 - MSN 28507) (Ex 9V-SQA ) | Airfleets aviation
  11. "Tigerair to operate under Scoot brand from July". Channel News Asia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-07. สืบค้นเมื่อ 2017-08-08.
  12. "Singapore Aircraft Registry". Civil Aviation Authority of Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-06. สืบค้นเมื่อ 2021-12-04.
  13. "Scoot Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2024-02-26.
  14. "Singapore LCC sector: Scoot emerges as clear market leader". CAPA - Centre for Aviation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2 May 2018.
  15. "Tigerair orders up to 50 A320neos". Flightglobal.com. 24 March 2014. สืบค้นเมื่อ 24 March 2014.
  16. "Singapore's Scoot to convert 6 Airbus orders to larger A321neos, lease 10". CNA (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-30. สืบค้นเมื่อ 29 July 2019.
  17. 17.0 17.1 "787 Model Summary". active.boeing.com. 2013-07-25. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2013. สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
  18. "Singapore Airlines transfers two Boeing 787 orders to Scoot". MainlyMiles. 8 June 2021. สืบค้นเมื่อ 13 June 2021.
  19. Singh, Sumit. "Singapore's Scoot To Receive 9 Embraer E190-E2 Aircraft". Simple Flying. สืบค้นเมื่อ February 18, 2023.
  20. Alfred Chua (10 November 2023). "Scoot to take first E2 in March; five jets by end-2024". FlightGlobal (ภาษาอังกฤษ).

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Scoot