ประเทศไทยใน พ.ศ. 2489
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 165 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นปีที่ 12 และเป็นปีสุดท้ายในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และเป็นปีแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
ผู้นำ
แก้- พระมหากษัตริย์:
- สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (จนถึง 9 มิถุนายน)
- สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (ตั้งแต่ 9 มิถุนายน)
- ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์:
- พระสุธรรมวินิจฉัย (ชั่วคราว) (9 – 16 มิถุนายน)
- พระยานลราชสุวัจน์ (ชั่วคราว) (9 – 16 มิถุนายน)
- สงวน จูฑะเตมีย์ (ชั่วคราว) (9 – 16 มิถุนายน)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร (ตั้งแต่ 16 มิถุนายน)
- พระยามานวราชเสวี (ตั้งแต่ 16 มิถุนายน)
- นายกรัฐมนตรี:
- หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (เสรีไทย) (จนถึง 31 มกราคม)
- ควง อภัยวงศ์ (คณะราษฎร) (31 มกราคม – 24 มีนาคม)
- ปรีดี พนมยงค์ (คณะราษฎร) (24 มีนาคม – 23 สิงหาคม)
- ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (แนวรัฐธรรมนูญ) (ตั้งแต่ 23 สิงหาคม)
- สภาผู้แทนราษฎร: ชุดที่ 4 (เริ่ม 6 มกราคม)
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร:
- พระยามานวราชเสวี (แต่งตั้ง) (26 มกราคม – 3 มิถุนายน)
- เกษม บุญศรี (แต่งตั้ง) (เริ่ม 4 มิถุนายน)
- พฤฒสภา: ชุดที่ 1 (เริ่ม 24 พฤษภาคม)
- ประธานพฤฒสภา:
- วิลาศ โอสถานนท์ (แต่งตั้ง) (4 มิถุนายน – 24 สิงหาคม)
- พระยาศรยุทธเสนี (แต่งตั้ง) (ตั้งแต่ 31 สิงหาคม)
- ประธานศาลฎีกา: พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์
- เจ้าผู้ครองประเทศราช
- นครจัมปาศักดิ์: เจ้ายุติธรรมธร (จนถึง 2 มีนาคม)
เหตุการณ์
แก้มกราคม
แก้- 1 มกราคม - หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากเสร็จภารกิจเจรจากับประเทศอังกฤษ
- 6 มกราคม - การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489
กุมภาพันธ์
แก้มีนาคม
แก้- 24 มีนาคม
- ปรีดี พนมยงค์ ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ของประเทศไทย เพราะรัฐบาลควง อภัยวงศ์ แพ้เสียงในสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายฯ
- ควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เมษายน
แก้- 5 เมษายน - ควง อภัยวงศ์ ได้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ โดยการประชุมรวมตัวกันของนักการเมืองกลุ่มหนึ่งที่บริษัทของควง อภัยวงศ์ ที่ย่านเยาวราช แต่ทางพรรคถือเอาวันที่ 6 เมษายน เป็นวันก่อตั้งพรรค เพื่อให้ตรงกับวันจักรี
พฤษภาคม
แก้- 9 พฤษภาคม
- มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 ของประเทศไทย หรือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489
- สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชพิธีประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489
- 24 พฤษภาคม - การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489
มิถุนายน
แก้- 4 มิถุนายน - เกษม บุญศรี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 6 ถือเป็นประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง
- 9 มิถุนายน
- สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตด้วยต้องพระแสงปืน ภายในห้องพระบรรทม ณ พระที่นั่งบรมพิมาน เวลาประมาณ 09.20 น.
- สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
- 18 มิถุนายน - รัฐบาลปรีดี พนมยงค์ ประกาศจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
- 21 มิถุนายน - เริ่มทำการชันสูตรพระบรมศพของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
กรกฎาคม
แก้สิงหาคม
แก้- 5 สิงหาคม - การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป สิงหาคม พ.ศ. 2489
- 23 สิงหาคม
- ปรีดี พนมยงค์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
- พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
กันยายน
แก้ตุลาคม
แก้พฤศจิกายน
แก้- 19 พฤศจิกายน - รัฐบาลไทยประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสงขลา
ธันวาคม
แก้วันเกิด
แก้มกราคม
แก้- 1 มกราคม - ทิพาวดี เมฆสวรรค์ นักการเมือง
- 19 มกราคม - สุเชาว์ พงษ์วิไล นักแสดง
กุมภาพันธ์
แก้- 7 กุมภาพันธ์ - กรุง ศรีวิไล นักแสดง
- 12 กุมภาพันธ์ - ประยงค์ ชื่นเย็น ศิลปินแห่งชาติ
- 15 กุมภาพันธ์ - ดุสิต ศิริวรรณ นักการเมือง
มีนาคม
แก้- 17 มีนาคม - รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส ศิลปินแห่งชาติ
เมษายน
แก้- 1 เมษายน - ชินกร ไกรลาศ ศิลปินแห่งชาติ (ถึงแก่กรรม 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560)
- 12 เมษายน - ชูชาติ หาญสวัสดิ์ นักการเมือง
- 24 เมษายน - อาชว์ เตาลานนท์ นักการเมือง
- 25 เมษายน - ชาญชัย ลิขิตจิตถะ อดีตองคมนตรี (ถึงแก่อนิจกรรม 18 มกราคม พ.ศ. 2560)
พฤษภาคม
แก้- 30 พฤษภาคม - ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี
มิถุนายน
แก้- 2 มิถุนายน - นาท ภูวนัย นักแสดง
- 9 มิถุนายน - สุทิศา พัฒนุช นักแสดง
- 10 มิถุนายน - พีรพันธุ์ พาลุสุข นักการเมือง (ถึงแก่อนิจกรรม 30 เมษายน พ.ศ. 2557)
กรกฎาคม
แก้- 23 กรกฎาคม - เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
สิงหาคม
แก้- 13 สิงหาคม - ชิดชัย วรรณสถิตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- 15 สิงหาคม - จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ นักการเมือง
- 17 สิงหาคม - ศรีสว่างวงศ์ บุญจิตราดุลย์
- 29 สิงหาคม - สมบัติ ศรีสุรินทร์ นักการเมือง
- 30 สิงหาคม - พิจิตต รัตตกุล นักการเมือง
กันยายน
แก้- 4 กันยายน - อุเทน บุญยงค์ นักแสดง (ถึงแก่กรรม 12 สิงหาคม พ.ศ. 2566)
ตุลาคม
แก้- 2 ตุลาคม - สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- 16 ตุลาคม - นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ศิลปินแห่งชาติ (ถึงแก่อนิจกรรม 21 มกราคม พ.ศ. 2560)
ธันวาคม
แก้- 1 ธันวาคม - สฤต สันติเมทนีดล นักการเมือง
- 16 ธันวาคม - อิสสระ สมชัย นักการเมือง
- 25 ธันวาคม - อดุล จันทรศักดิ์ ศิลปินแห่งชาติ
ผู้เสียชีวิต
แก้มีนาคม
แก้- 2 มีนาคม - เจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์พระองค์ที่ 12 และผู้ว่าราชการเมืองจำปาศักดิ์ (ประสูติ พ.ศ. 2417)
พฤษภาคม
แก้- 19 พฤษภาคม - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา พระโอรสพระองค์แรกในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (ประสูติ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2447)
- 27 พฤษภาคม - เจริญ พาทยโกศล นักร้องนักแต่งเพลงชาวไทย (เกิด กรกฎาคม พ.ศ. 2419)
มิถุนายน
แก้- 9 มิถุนายน - พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี (พระราชสมภพ 20 กันยายน พ.ศ. 2468) สวรรคต ณ พระที่นั่งบรมพิมาน
- 11 มิถุนายน - พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉิดโฉม พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (ประสูติ 12 เมษายน พ.ศ. 2399)
กรกฎาคม
แก้- 24 กรกฎาคม - เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย (เกิด 6 มิถุนายน พ.ศ. 2418)
สิงหาคม
แก้- 22 สิงหาคม - พระยาสุรเสนา (หม่อมราชวงศ์ชิต กำภู) อดีตองคมนตรีไทย (เกิด 18 ธันวาคม พ.ศ. 2427)
กันยายน
แก้- 20 กันยายน - พระครูวรเวทมุนี (อี๋ พุทธสโร) ภิกษุชาวไทย (เกิด 1 ตุลาคม พ.ศ. 2408)
ตุลาคม
แก้- 9 ตุลาคม
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสุดสวาดิ พระราชธิดาในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (ประสูติ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2427)
- พระศาสนโศภน (ภา ภาณโก) สังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครอง ประธานกรรมการคณะธรรมยุต กรรมการมหาเถรสมาคม (เกิด 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2423)
พฤศจิกายน
แก้- 22 พฤศจิกายน - พระครูสังวรโสภณ (สาย ติสสโร) ภิกษุชาวไทย (เกิด มีนาคม พ.ศ. 2397)
- 23 พฤศจิกายน - เจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) อดีตเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ (เกิด 21 กันยายน พ.ศ. 2420)
ไม่ทราบเดือน
แก้- ไม่ทราบ - หลวงพ่อไปล่ ฉนฺทสโร ภิกษุชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2403)
- ไม่ทราบ - เสือฝ้าย หรือ ฝ้าย เพ็ชนะ จอมโจรชาวไทย (ไม่ทราบวันที่เกิด)